4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (1)
พระธาตุพนมเริ่มจากการก่ออิฐดิบ ก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม ยอดเป็นรูปฝาชีสูง 1 วา
ภายในขุดลึกลง 2 ศอก ใช้ไม้คันธรส ชมพู นิโครธ ไม้รัง เผาอยู่ 3 วัน 3 คืน
แล้วจึงนำหินหมากคอม ก้อนกรวดในแม่น้ำมาถมหลุม อัญเชิญพระอุรังคธาตุประดิษฐาน เมื่อ
พ.ศ. 8
ประวัติพระธาตุพนมจากตำนานพระอุรังคธาตุ กล่าวถึงสมัยพุทธกาล พระพุทธองคืพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ
ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในบริเวณเมืองดอยนันทกังรี (หลวงพระบาง) ค้นแทเสื้อน้ำ
(เวียงจันทร์) ท่าแขก เมืองรุกขนคร (บ้านหลักศิลา ต.พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม)
หนองหานหลวง (สกลนคร) และอุดรธานี
พระองค์ได้ทรงทำนายถึงการเกิดเมืองต่าง ๆ เหล่านี้
ซึ่งจะเป็นชุมชนที่ค้ำชูพระพุทธศาสนา เป็นที่สักการะของปวงชนสืบไปในภายภาคหน้า
พระพุทธอง๕ได้ทรงทำนายถึงการกลับชาติมาเกิดของพญาศรีโคตรบูร
ซึ่งเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธเจ้าไปรับบาตรในเมืองของตน
เมื่อเสร็จแล้วก็ถือบาตรมาส่งพระพุทธเจ้าถึงดอย กัปปนคีรีหรือภูกำพร้า
สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในขณะนั้น ด้วยอานิสงส์ผลบุญนี้เอง เมื่อพญาศรีโคตรบูร
ได้กลับชาติมาเกิดในเมืองสาเกตนคร ที่อยู่ทางทิศใต้มีนามว่า สุริยกุมาร
แล้วกลับชาติมาเกิดครั้งที่สองเป็นพญาสุมิตตธรรม เจ้าเมืองมรุกขนคร
(นครที่อยู่ในป่าไม้รวก) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ฝักใฝ่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก
ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น
พระพุทธองค์ทรงทำนายต่อไปว่าจักย้ายไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่ของพญาปลา
(ตรงที่พระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้เรียกว่า รอยพระบาทเวินปลาปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งตรงข้ามตัวเมืองนครพนม)
แต่เมืองนั้นมิอาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน
จักเป็นเมืองน้อยขึ้นต่อเมืองใหญ่ ที่เจ้าพญาผู้มีอาจบุญญาธิการเสวยราชสมบัติครอบครองนั้นแล
พญาสมิตตธรรมเจ้าเมืองมรุกขนคร จะเป็นผู้มีโอกาสสถาปนาพระอุรังคธาตุ
(กระดูกหน้าอกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ณ ภูกำพร้าริมฝั่งแม่น้ำโขง
อันจะเป็นผลบุญให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารไปได้
พระพุทธองค์ได้เรียกพระมหากัสสปะ มาจากนครราชคฤห์มาสั่งเสียว่า
เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้วให้นำพระอุรังคธาตุของพระองค์มาไว้เหนือภูกำพร้า
ในขณะเดียวกันที่พุทธองค์เสด็จไปในที่ต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ
พระองค์ก็ทรงประทับรอยพระพุทธบาท ไว้เป็นสัญลักษณ์ของการสถาปนาพระพุทธศาสนา
ที่พระบาทโพนฉัน พระบาทเวินปลา พระธาตุเชิงชุม และดอยนันทกังรีด้วย (บริเวณหนองคาย
นครพนม สกลนคร และหลวงพระบาง)
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว ล่วงเข้าในปี พ.ศ. 8 พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์
500 องค์ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุจากแคว้นกุสินารายณ์แห่งชมพูทวีปมาที่ดอนแท่น (อ.พรรณานิคม
สกลนคร)
เพื่อจะเดินทางต่อไปยังภูกำพร้าตามที่พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ขณะเดินทางพญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงกับพญาคำแดงเจ้าเมืองหนองหานน้อย
พระญาติออกมาต้อนรับ
พญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงใต้ ขอพระมหากัสสปะประดิษฐานพระอุรังคธาตุไว้ ณ
องค์เจดีย์ที่ได้สร้างเตรียมไว้ล่วงหน้า คือพระธาตุภูเพ็กและพระธาตุนารยณ์เจงเวง
(พระนางนารายณ์เจงเวงพระมเหสีสร้างไว้)
แต่เมื่อได้รับฟังเหตุผลด้วยเป็นการฝืนคำสั่งของพระพุทธเจ้าจากพระมหากัสสปะเถระเจ้าแล้วก็เชื่อฟังโดยดี
และยังนำทางไปสู่ภูกำพร้าแคว้น ศรีโคตรบูร
แต่อย่างไรก็ตามพระมหากัสสปะก็ได้ให้พระอังคารธาตุบรรจุไว้ ณ พระธาตุนาเวงหรือนารายณ์เจงเวงที่เมืองหนองหานหลวง
ที่ในคราวพระพุทธเจ้ามาโปรด
พญาสุวรรณภิงคารและพระมเหสีก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ให้รอยพระพุทธบาท
มอบเพื่อมเหสีพระองค์ไว้ให้สักการบูชาพญาสุวรรณภิงคารได้สร้างพระเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาททั้งสี่ไว้เป็นที่สักการบูชา
คือ พระธาตุเชิงชุม วัดธาตุศาสดาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
ปัจจุบันและยังได้พระอังคารธาตุไว้สักการบูชาอีก
เมื่อพระมหากัสสปะมาถึงบริเวณภูกำพร้าแล้วพญานันทเสนเจ้าเมืองศรีโคตรบูร
(เป็นเจ้าเมืองสืบต่อจากพระเจ้าศรีโคตรบูรผู้เป็นพระเชษฐา)
ได้ให้การต้อนับเป็นอย่างดี ก็มีท้าวพญาจากแว่นแคว้นสำคัญ 5 แคว้น
ในภูมิภาคนั้นมาขอร่วมบุญสร้างอูบมุงประดิษฐานพระอุรังคธาตุด้วย
โดยก่อกำแพงองค์ละด้านในทิศที่แคว้นของตนตั้งอยู่ ดังนี้
1. พญาจุลณีพรหมทัติ ผู้ครองแคว้นบริเวณหลวงพระบางสิบสองจุไทย ก่อด้านทิศตะวันออก
2. พญาคำแดง ผู้ครองแคว้นหนองหานน้อย ก่อด้านทิศตะวันตก
3. พญานันทเสน ผู้ครองแคว้นโคตรบูร ก่อด้านทิศเหนือ
4. พญาอินทปัฐนคร ผู้ครองแคว้นเขมรโบราณ ก่อด้านทิศใต้
พระมหากัสสปะได้ผู้นำการก่อสร้าง
โดยใช้อิฐดิบขนาดเท่าฝ่ามือของท่านเป็นเกณฑ์มาตรฐาน
ท้าวพญาทั้งหลายจึงให้ขุนนางที่ตามเสด็จ จัดการปั้นอิฐดิบขนาดมาตรฐานขึ้น
ก่อเป็นรูปตาสี่เหลี่ยม ก่อกำแพงอูบมุงกว้างด้านละ 2 วา สูงขึ้นมาด้านละ 1 วา
ส่วนพญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวงได้เป็นผู้ก่อยอดรูปฝาชีสูงขึ้นอีก 1 วา
ส่วนในอูบมุงนั้น ขุดลึกลงไปอีก 2 ศอก เช่นกัน
ข้างในอูบมุงเป็นโพรง มีประตูเปิดปิดทั้ง 4 ด้าน ผนังของ อูบมุงเปิดประตูไว้ทุกด้าน
เมื่อก่อเสร็จเป็นสถูปแล้วจึงสามารถเอาไม้ฟืนพวกไม้คันธรส ชมพู
นิโครธและไม้รังมาใส่ทุกประตู แล้วเผาอยู่เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน อูบมุงจึงสุกดี
จึงนำหินหมากคอม ก้อนกรวดในแม่น้ำมาถมหลุม
หลังจากนั้นท้าวพญาทั้ง 5
จึงได้บริจาคสิ่งของข้าวของเงินทองของมีค่าจำนวนมากบรรจุไว้ภายในอูบมุงเพื่อเป็นพุทธบูชา
ต่อจากนั้นพระมหากัสสปะจึงอัญเชิญพระอังคธาตุประดิษฐานไว้ในอูบมุงปิดประตูไว้ทั้งสี่ด้าน
ขณะนั้นเององค์พระธาตุก็คลี่ผ้ากัมพลที่ห่อหุ้มออก เสด็จมาประดิษฐานบนฝ่ามือของพระมหากัสสปะ
เป็นนิมิตเตือนพระมหากัสสปะให้รู้ว่า พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้นำพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานหรือบรรจุไว้
ณ ภูกำพร้าเท่านั้น มิได้ตรัสสั่งให้สถาปนา
เสด็จแล้วพระธาตุจึงกลับไปสู่ที่ประดิษฐานในอูบมุงตามเดิม
เมื่อสร้างพระสถูปอูบมุงเสร็จแล้ว ท้าวพญาทั้ง 5
ได้ให้ข้าราชบริพารไปนำเอาหลักหินจากเมืองสำคัญ ๆ
ที่เป็นเมืองพุทธประวัติจากอินเดียและลังกา (เมืองกุสินารายณ์ เมืองพาราณสี
เมืองตักศิลา เมืองลังกา) นำมาปักไว้ที่มุมทั้งสี่ทิศ ทั้งยังสร้างรูปสัตว์อัจมูขี
(สัตว์ประหลาด) ไว้ที่มุมทิศตะวันออก-ตกด้านเหนือ-ใต้ด้วย
ส่วนพญาสุวรรณภิงคาร ให้สร้างรูปม้าอาชาไนยโดยให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าพระธาตุเสด็จมาทางทิศเหนือ
และพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้
ส่วนพระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่งตั้งคู่กันให้หันหน้าไปทางทิศเหนือเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า
ต่อไปภายหน้าพญาศรีโคตรบูร (องค์ที่ถือบาตรให้พระพุทธเจ้าเมื่อกลับชาติมาเกิด)
จะได้สถาปนาองค์พระธาตุ เพื่อสืบสานศาสนาต่อไปในอนาคต
เมื่อพระมหากัสสปะ พระอรหันต์ และท้าวพญาทั้ง 5 เสด็จกลับไปแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวง
ก็เสด็จลงมาฉลองพระธาตุเป็นการใหญ่ พระอินทร์ได้มอบหมายให้พระวิสสุกรรมเทวบุตรและพระธรรมกถิกเทวบุตร
ลงมาสลักลายผนังอูบมุงทั้งสี่ด้าน โดยใช้มีดควักสลักลาย ด้ามแก้วมรกตยาว 9 วา
ส่วนพระธรรมกถิกเทวบุตร ถือขวดแก้วน้ำทิพย์ลงมาด้วย
เทพทั้งสองสลักผนังอูบมุงภายนอกตั้งแต่เวลาค่ำถึงเที่ยงคืน
โดยเริ่มสลักจากผนังด้านทิศตะวันออกก่อน ก่อนสลักลายได้ใช้น้ำมันร่างลวดลายก่อน
แล้วจึงสลักเป็นรูปและความหมายดังต่อไปนี้
ด้านทิศตะวันออก สลักรูปพญา จุลณีพรหมทัติทรงช้างรูปราชบุตรทรงม้า
ด้านทิศตะวันตก สลักรูปพญาคำแดงทรงช้าง รูปเสมาอำมาตย์ขี่ม้า รูปบริวารในหมู่ลายดอกมันทวลี
ด้านทิศเหนือ สลักรูปพญานันทเสนทรงช้างพระอนุชาทรงม้า รูปบริวารในหมู่ลายดอกไม้
ด้านทิศใต้ สลักรูปพญาสุวรรณภิงคารไว้ในผนังทุกด้าน ที่ผนังส่วนบน สลักรูปสีสุนันทเทวบุตร
สีมหามายาเทวบุตรและวิสาขาเทวบุตร ผู้ซึ่งลงมาทำความสะอาดอูบมุงครั้งแรกก่อนการสลักมีส่วนร่วมในกระบวนการสลักเรียงรายไว้ทุกด้าน
มีการสลักรูปของพญาสุวรรณภิงคารไว้ในผนังทุกด้าน ที่ผนังส่วนบน สลักรูปสีสุนันทเทวบุตร
สีมหามายาเทวบุตรและวิสาขาเทวบุตร ผู้ซึ่งลงมาทำความสะอาดอูบมุงครั้งแรกก่อนการสลักมีส่วนร่วมในกระบวนการสลักเรียงรายไว้ทุกด้าน
หลังจากนั้นได้สั่งให้พระวิสสุกรรมเทวบุตร สลักประวัติพระธาตุพนมไว้ในผนังห้องอูบมุงทั้งหมด
และผนังด้านทิศตะวันออก ก็สลักรูปพระอินทร์ นางสุชาดา นางสุจิตรา นางสุนันทา นางสุธรรมา
นางโรหิณี นางสาววัตติเกสี นางปติบุปผา นางคันธาลวดี
เทพเหล่านั้นอยู่ในท่วงท่านำดอกไม้เสด็จมาบูชาองค์พระธาตุพนม
ผนังภายในด้านเหนือ จะเป็นรูปบุคคลทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในการบรรจุพระอังคธาตุในครั้งนั้น
คือ พญาทั้งหกเริ่มจากพญาศรีโคตรบรูมาจนถึงพญาทั้งห้ารวมทั้งรูปของนางศรีรัตนเทวีมเหสี
ของพญาศรีโคตรบูรด้วย ข้างบนสลักเป็นรูปพระมหากัสสปะและรูปพระอรหันต์ทั้งห้า (แทพระอรหันต์
500 องค์ สะพายบาตรพนมมือ)
ผนังด้านใต้ จะเป็นรูปพระวิสสุกรรมเทวบุตร รูปพระธรรมกถิก เทวรูป รูปพระสีสุนันทเทวบุตรและรูปสีมหามายาเทวบุตรเทพผู้ร่วมสลักลายทั้งหมด
ซึ่งอยู่ในท่วงท่าประนมหัตถ์สักการะองค์พระธาตุเช่นเดียวกัน
ผนังด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปหมู่เทพและเทพธิดาที่เสด็จลงมาบูชาพระธาตุ รูปสุริยะ
และจันทเทวบุตร รูปท้าวจตุโลกบาล รูปพระวิสสุกรรมเทวบุตรที่ลงมาที่ภูกำพร้า
งานสลักภายในอูบมุงทั้งหมดสลักตั้งแต่ยามค่ำจนถึงเที่ยงคืนจึงเสร็จสมบูรณ์