4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (2)
การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 1
สมัยพญาสุมิตร ธรรมวงศา
เมื่อสิ้นสมัยพญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตรบูรกับผู้ร่วมงานท้าวพญาทั้ง 4
ผู้ร่วมสร้างพระธาตุพนมประดิษฐานพระอุรังคธาตุ เมื่อ พ.ศ. 8 แล้ว
เสมาอำมาตย์ก็พากันย้ายข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองใหม่ที่ดงไม้รวก
เหนือภูกำพร้าขึ้นไป 8 กิโลเมตร แล้วใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า มรุกขนคร มีพญามรุกขนครพระอนุชาพญา
นันทเสนเป็นผู้ครองเมืององค์แรก
เมื่อสมัยพญามรุกขนครแล้ว พญาสุมิตตธรรมวงศาพระโอรสได้ครองเมืองแทนในปี
พ.ศ. 500 ทรงมีพระปรีชาสามารถมาก ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปกว้างไกล มีเมืองขึ้นมากมาย
เช่น เมืองสาเกตนคร (เมืองร้อยเอ็ดโบราณ) เมืองสุวรรณภูมิ เมืองจันทรบุรี
(เวียงจันทร์หรือเมืองหนองคันแทเสื้อน้ำ)
ฝ่ายพระมหากัสสปะ เมื่อกลับมาชมพูทวีปถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้บวชสามเณร 3 รูป
จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง 3 องค์ เป็นพระภิกษุนาม พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต
และพระสงฆ์รักขิต
พระอรหันต์ทั้ง 3 ได้เดินทางมาแคว้นศรีโคตรบูร เพื่อนำเอากุมารทั้ง 5 องค์
ซึ่งชาติก่อนเป็นท้าวพญาที่สร้างอูบมุงประดิษฐานพระอุรังคธาตุ คือ
พญานันทเสน เกิดเป็นสังขวิชชากุมาร
พญาสุววณภิงคาร เกิดเป็นเจ้ามหารัตนกุมาร
พญาคำแดง เกิดเป็นเจ้ารัตนกุมาร
พญาอินทปัฐนคร เกิดเป็นเจ้ามหาสุวรรณปราสาท
ส่วนพญาจุลณี ไปเกิดเป็นเจ้าจุลสุวรรณปราสาท
พระอรหันต์ทั้ง 3 ได้นำเอากุมารทั้ง 5 มาบวชอยู่ในเมืองจันทรบุรี (หนองคันแทเสื้อน้ำ)
จนกุมารทั้ง 5 บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ทั้ง 3
ก็นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาให้พระยาจันทบุรี
สร้างเจดีย์เพื่อเป็นที่สักการะของชาวพุทธศาสนาไว้ตามที่ต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง
เช่น ที่พระธาตุหนองคาย พระธาตุบังพวน พระธาตุที่เวียงคุก เป็นต้น
ครั้นเมื่อพระอรหันต์ทั้ง 5
ระลึกชาติปางก่อนได้มีจิตปฏิสนธิปรารถนาจะสร้างพระธาตุพนม
จึงไปขอความอนุเคราะห์อุปถัมภ์จากพญาสุมิตตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนครซึ่งเป็นชาติกำเนิดใหม่ของพญาศรีโคตรบูร
ผู้มีความผูกพันกับพระพุทธองค์ในอดีตชาติเป็นผู้มีจิตศรัทธาต่อพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
บุคคลทั้งหลายจึงได้ร่วมมือกันสถาปนาพระอุรับคธาตุแต่นั้นเป็นต้นมา
ระหว่างทำการก่อสร้างอยู่นั้น พญาจุลอินทปัฐนคร และพญาปุตตจุลณีพรหมทัต
เสด็จมาพร้อมกับเทวีอมรฤษีและโยธิกฤษีได้ร่วมกันสรงน้ำพระธาตุ
โดยพญาทั้งสามเป็นผู้นำขึ้นไปสรงองค์พระธาตุซึ่งบรรจุอยู่ในเจดีย์หิน (ยอดภูเพ็ก)
การบูรณะครั้งนี้ เป็นการบูรณะพระธาตุพนมเป็นครั้งแรก ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกแล้ว
ก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบ
ได้ก่อต่อเติมส่วนยอดให้สูงขึ้นไปอีก 24 เมตร
หลังจากการบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว พญาสุมิตตธรรมวงศาได้ให้มีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร
ซึ่งพระอุรับคธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์อัศจรรย์ยิ่ง
พญาสุมิตตธรรมวงศาบังเกิดความปิติโสมนัสมาก
ได้ทำกัลปนานอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้วยังได้มอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง
8 แห่ง ในเขตแดนนั้นจำนวน 3,000 คน เป็นข้าพระธาตุดูแลรักษาองค์พระธาตุ
หลังจากนั้นพระองค์ได้สร้าง พระธาตุอิงฮัง ที่เมืองสุวรรณเขต
ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุส่วนสันหลังไว้ในอูบมุง ณ บริเวณที่พระพุทธเจ้า
เมื่อครั้งได้เสด็จมาพักใต้ต้นรับคราวเสด็จมาทรงบาตรที่แคว้นโคตรบูรด้วย
เมื่อสิ้นสมัยพญาสุมิตตธรรมวงศาแล้ว มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์
ผู้ครองเมืององค์ต่อ ๆ มาไม่เลื่อมใสในพุทธศาสนารื้อถอนเขตแดน
ตลอดจนข้าพระธาตุผู้ดูแลจนหมดสิ้น องค์พระธาตุพนมมิได้มีผู้บำรุงรักษาจนทิ้งร้างลง
แล้วก็เกิดเหตุอาเพศภัยแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรเป็นเหตุให้บ้านเมืองล่มจมจนกลายเป็นเมืองขึ้นผู้คนก็อพยพหนีไปอยู่ที่อื่น
ส่วนหนึ่งขึ้นไปรวมอยู่กับชาวหนองหานหลวงและหนองหานน้อยที่ห้วยเก้าเลี้ยว
อีกส่วนหนึ่งก็หนีลงไปอยู่แคว้นอินทปัฐนคร (เมืองเขมร)
เรื่องราวของแคว้นศรีโคตรบูรก็เงียบหายไป
จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1800 ลูกหลานแหลนโหลนของชาวศรีโคตรบูรตามตำนามว่า
เป็นกษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตนามว่า พระเจ้ารามบัณฑิต ได้โปรดให้โอรส
เจ้าศรีโคตร มีความเข้มแข็งในการศึกสงครามมาก เมื่อพระชนม์อายุได้ 28 พรรษา
พระบิดาโปรดให้อภิเษกสมรสกับเจ้านางคำมวน
แล้วให้มาตั้งเมืองใหม่ในแคว้นมรุกขนครเดินทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ตรงบริเวณเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขก หรือเมืองดำม่วนประเทศลาว
(อยู่ตรงข้ามบ้านหนองจันทร์ อ.นครพนม จ.นครพนม) ในปัจจุบันนี้ให้ชื่อเมืองว่า
มรุกขนคร สร้างเสร็จแล้วก็ได้ครองเมืองนั้นสืบมา
ถึงสมัยพระเจ้าโพธิสารราชวงศ์ล้านช้างครองเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์ในปี
พ.ศ.2073-2103 ได้ธิดาเจ้ากัมพูชามาเป็นสะใภ้
ปู่ของนางได้ถวายตำนานพระอุรังคธาตุให้บูชาจึงทรงเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้เสด็จมาทำกัลปนาสร้างวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นวัดทางพุทธศาสนาหินยานกับสร้างหอพระแก้วอุทิศข้าทาสให้อยู่ดูแลบำรุงพระธาตุและได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราชบุตรเจ้าพระยานคร
ได้วางกฎระเบียบไว้ว่าให้เจ้าเมืองจะต้องมาทอดกฐินที่วัดพระธาตุทุกปี
ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงเจ้าเมืองรุ่นหลัง
จนเมื่อเปลี่ยนระบบการปกครองประเทศในพระราชอาณาจักรเป็นแบบจังหวัด อำเภอ แล้ว
จึงได้ล้มเลิกประเพณีนี้ไป
ครั้งต่อมาถึงสมัย สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2101-2114) แห่งเมืองเวียงจันทน์
เป็นกษัตริย์ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก
ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญมากองค์หนึ่ง พระองค์ได้เสด็จมานมัสการองค์
พระธาตุและวางระเบียบปฏิบัติแก่ข้าวัดพระธาตุที่พระบิดา (พระโพธิสาร) ได้ทรงถวายไว้
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระองค์เป็นโอรสมีพระมารดาเป็นชาวเชียงใหม่เคยครองเมืองเชียงใหม่มาระยะหนึ่งแล้วมาครอง
เมืองนครหลวงพระบาง
เมื่อพระราชบิดาสวรรคตพระองค์ทรงย้ายเมืองจากหลวงพระบาง
มาสร้างเมืองใหม่ในอาณาเขตเดิมของนครจันทบุรีและตั้งชื่อว่า
นครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต เรียกชื่อย่อว่า เวียงจันทน์ มาจนทุกวันนี้
ทรงนำสถาปัตยกรรมของภาคเหนือไทยมาก่อสร้าง เช่น อุโบสถ
ด้านหลังคามีช่อฟ้าแทรกกึ่งกลางลักษณะคล้ายวัดทางเชียงใหม่เก่า ๆ ของเมืองลาว
ถือว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชคือรัชกาลที่ 1
ของนครเวียงจันทน์หรือต้นราชวงศ์เวียงจันทน์