4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)
การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 6
สมัยหลวงวิจิตรวาทการ
การบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมครั้งสำคัญ
หลังจากพระครูวิโรจน์รัตโนบลอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2483-2484
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยรัฐบาลจากส่วนกลางกรุงเทพฯ
ในขณะนั้นเกิดกรณี พิพาทดินแดนสงครามบูรพา
ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ยึดครองดินแดนฝั่งขวาของลุ่มแม่น้ำโขง
ชายแดนฝั่งโขงตึงเคียดด้วยภัยสงคราม
รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งโขง
หากรัฐบาลบูรณะขึ้นแล้ว
จะเป็นการชักจูงจิตใจประชาชนแถบอินโดจีนให้เข้ากับราชอาณาจักรไทยได้จำนวนมาก
จึงได้มอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการซึ่งเป็นอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นดำเนินการบูรณะ
หลวงวิจิตรวาทการ ได้ทำการต่อยอดครอบยอดเดิมขึ้นใหม่ตามศิลปะไทย
หุ้มยอดเดิมเป็นศิลปะแบบล้านช้าง (ของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก) ขึ้นไปอีก 10 เมตร
คือตั้งแต่บัวบนขึ้นไปถึงยอดรวม 23 เมตร จากเดิมซึ่งสูงอยู่แล้ว 43 เมตร
ได้ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเสริมเป็นโครงสร้างสูงขึ้นไป
ลวดลายที่ติดองค์พระธาตุต้องหล่อด้วยซีเมนต์ ฝังคานคอนกรีตเป็นระยะช่วงละ 1 เมตร
และมีคานคอนกรีตรัดรวบส่วนยอดกลวงมีบันไดเหล็กขึ้นไปจนถึงปลายยอด
ทำประตูวงกลมศูนย์กลาง 70 ซม. ทั้ง 4 ด้าน ผนังด้านนอกติดลายพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นช่อขึ้นไป
จนสุดคอระฆังทุกด้าน เฉพาะชั้นบนที่เสริมให้สูงขึ้นอีก 10 เมตรนั้น ทำเป็นบัวกลุ่ม
3 ชั้น ลอกทองและเงินหุ้มยอดเก่าออกนำมาหลอมเป็นรูปแผ่นอิฐ คือ
ทองรูปแผ่นอิฐหนัก 8,600 กรัม 1 ก้อน
เงินรูปแผ่นอิฐหนัก 3,500 กรัม 1 ก้อน
เศษทองห่อไว้รวมกันหนัก 250 กรัม 1 ก้อน
แล้วนำลงมาเก็บไว้เพื่อทำยอดฉัตรปีกบนยอดพระธาตุแทนองค์เดิมต่อไป
แต่มีปัญหายืดเยื้อเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองทางชายแดนภาคอิสานขณะนั้นจึงให้ชลอไว้ก่อน
การต่อยอดองค์พระธาตุพนมให้สูงตะหง่านปิดทองอร่ามในครั้งนี้
ทำให้เกิดรูปทรงองค์พระธาตุขึ้นใหม่เป็นรูปสัญลักษณ์หรือมโนภาพขององค์พระธาตุ
ที่ติดตรึงเป็นมโนภาพอยู่ในความทรงจำคนเดินทางมาห่างสักพันเส้นก็แลเห็นส่วนตอนล่างของพระธาตุ
ไม่แตะต้องให้สงวนไว้ตามเดิมเพื่อรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของโบราณอันมีค่าสูงสุดไว้
ในครั้งที่พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
เป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพอังกฤษ
และได้นำพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย มาไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
กรุงเทพฯ และได้ขอต้นพระศรีมหาโพธิ์มา 5 ต้น ในปี พ.ศ. 2486 นำมาจากพุทธคยา อินเดีย
นำมาโดยสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ สังฆนายกรูปแรก นำมาปลูกไว้ที่วัดพระธาตุพนม 1 ต้น
ภาคกลางปลูกที่วัดพระศรีมหาธาตุ 2 ต้น ภาคเหนือที่พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ 1 ต้น
ภาคใต้ ที่วัดบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช 1 ต้น
ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม
พ.ศ. 2493 รัฐบาลในสมัย จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
เห็นความสำคัญของพระธาตุพนมซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทางภาคอีสาน
องค์ธาตุพนมเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาลจึงได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิด
วรมหาวิหาร ตั้งแต่นั้นมา