4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระธาตุพนม นครพนม (7)
การยกฉัตรทองคำบนยอดองค์พระธาตุพนม
ภายหลังจากลอกแผ่นเงินแผ่นทองที่หุ้มยอดของเก่าองค์พระธาตุพนมออกนำมาหลอมเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
ด้วยองค์พระธาตุพนมนั้นอยู่ใกล้ชิดพรมแดนมาก
ต่อเมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบแล้วล่วงมาได้ร่วม 10 ปี
การทำยอดฉัตรพระธาตุพนมจึงแล้วเสร็จรวมน้ำหนักทองคำหนักประมาณ 7.24 กก.
ส่วนทองคำและเงินที่เหลือจากการทำฉัตรใหม่
ได้มอบให้เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมเก็บรักษาไว้ต่อไป
พิธียกฉัตร พลโทหลวงสวัสดิสรยุทธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ)
ได้มาเป็นประธานยกยอดฉัตรทองให้แก่องค์พระธาตุดังเดิมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2497 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ตัวฉัตรนั้นสูง 4.50 เมตร
เมื่อรวมความสูงทั้งหมดขององค์พระธาตุพนมในขณะนั้นสูง 57.50 เมตร
หลังจากการบูรณะองค์พระธาตุพนมเสร็จสิ้น
องค์พระประมุขของชาติในราชวงศ์จักรี สมเด็จพระสังฆราชก็ล้วนเสด็จมาทรงประกอบศาสนกิจ
นมัสการ พระธาตุพนมทั้งสิ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จมาทำพิธีสมโภชองค์พระธาตุ
เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2498 ทรงถวายสักการะที่ลานพระบรมธาตุด้านทิศตะวันออก
และทรงได้ถวายผ้าสีชมพูห่มองค์พระธาตุถวายต้นไม้เงินทองและแจกันปักดอกไม้คู่หนึ่งเป็นพุทธบูชา
ปี พ.ศ. 2506 ทั้งสองพระองค์ก็ทรงเสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ทรงพระสุหร่ายสรงพระสุคนธ์ องค์พระบรมธาตุ
แล้วทรงปลูกต้นราชพฤกษ์
สมเด็จพระอริยวงศาคต ญาณ สมเด็จพระสังฆราช (กิตติโสภณ)
เสด็จนำผ้ากฐินพระราชทานมาทรงทอด ณ วัดพระธาตุพนมในวันที่ 1 พ.ย. 2503
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ก็ได้ทรงเสด็จมา นมัสการพระบรมธาตุ
เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2507
ในปี พ.ศ. 2511 วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม
ได้ทำการลงรักปิดทองลวดลาย พระธาตุช่วงบน ตั้งแต่ชั้นที่ 2 ขึ้นไป
และใช้สีขาวทาทับส่วนที่ฉาบปูนของเก่า ส่วนยอดสูงสุดประมาณ 5 เมตร
ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วลงรักปิดทอง