4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
รูปทรงลักษณะขององค์พระธาตุพนม
จากการขุดค้นหลักฐานหลังจากองค์พระธาตุพนมล้มลง เมื่อ พ.ศ.
2518-2519 พบหลักฐานอย่างแน่ชัดว่า
องค์พระธาตุพนมนั้นได้สร้างทับกันมาอย่างสลับซับซ้อน
รูปทรงที่จัดว่าสร้างในช่วงแรกนั้น น่าจะเป็นตรงกลางเรือนธาตุชั้นใน
และเรือนธาตุชั้นนอก (ชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างราว พ.ศ.
1200
ลักษณะการสร้างด้วยอิฐสุกไม่ขัดสอดิน
กำแพงก่อนหนามากมีทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก กรอบใช้แบบประตูหิน
ช่องประตูมีขนาดกว้าง 1.16 เมตร สูง 2.33 เมตร
มีรางโสมสูตรหินฝังออกทางด้านทิศเหนือ
จากรูปแบบแผนผังการก่อสร้างภายในเคยใช้เป็นเทวสถานมาก่อน ในช่วงที่อารยธรรมขอมเรืองอำนาจแผ่ขยายอำนาจอารยะธรรมสถาปัตยกรรมทั้งแดนสุวรรณภูมิและล้านช้าง
มีสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเรืองอำนาจขอมอยู่ทั่วไป
สิ่งก่อสร้างที่สร้างร่วมสมัยกับทวาลัยนี้ก็มีปราสาทภูมิโพน
ในจังหวัดสุรินทร์ที่ใกล้เคียงกันมาก
มีการสร้างอิฐที่คล้ายคลึงกันไม่มีการขัดอิฐเหมือนกับการพัฒนาการสถาปัตยกรรมของเขมรรุ่น
ต่อมา อาคารอิฐพระธาตุพนมเป็นแบบเขาร่องเดือยง่าย ๆ
ไม่มีการเข้าเดือยแบบบากของปราสาทภูมิโพน ถ้าพิจารณารูปแบบของการพัฒนาการช่าง
กรอบประตูหินของเทวาลัยอิฐน่าจะสร้างมาก่อน
แต่มีความล้าหลังทางการช่างในสภาพท้องถิ่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงยุคเดียวกัน
รูปทรงที่สร้างในยุคสองสมัยแรก เป็นเรือนอิฐที่สร้างทับเทวาลัยอิฐ
ในช่วงแรกฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นขององค์พระธาตุที่รองรับยอดอยู่ภายนอก
มีแผนผังรูปจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 16 เมตร
สูงจากระดับลานประทักษิณขึ้นไปจรดขอบบัวคว่ำชั้นแรก 8 เมตร
ต่อจากนั้นจึงเป็นเรือนธาตุชั้นที่สองสูงขึ้นไป 12 เมตร
ลักษณะของการใช้เชิงบัวคว่ำมาเสริมต่อเรือนอาคารทั้งสองขนาดให้เข้ากันนี้
อาจจะเป็นการดัดแปลงให้อาคารเดิมที่มีมาก่อนต่อยอดทรงรุ้งครั้งแรกสุด
กลายเป็นรูปทรงเจดีย์ในคติ รสนิยมในสมัยประวัติศาสตร์ยุคล้านช้าง
การออกแบบทรงอาคารในส่วนเรือนธาตุนั้น จะถือระบบแกนอย่างเคร่งครัด
โดยการใช้แกนด้านทิศตะวันออกกับตะวันตกเป็นแกนประธานหลัก
ถึงแม้นแผนผังอาคารจะเป็นรูปจัตุรัสก็ตาม
สถาปนิกจะออกแบบรูปด้านอาคารในลักษณะของโครงสร้างใหญ่เหมือนกันหมดทุกด้าน
เว้นแต่โครงสร้างแผงภาพสลักอิฐแต่ละด้านที่ใช้แบบลายสลักแตกต่างกันไปตามคติที่กำหนด
ตรงกลางจะมีซุ้มประตูซุ้มวงเดือนอยู่กลางทุกด้านทั้ง 4 ด้าน
ถัดออกมาทั้งสองข้างจะเป็นแถบลายสลักสลับกับเสากลมหัวเม็ดจำนวน 3 ต้น
ท้ายสุดเป็นแผงภาพขนาบทั้งสองข้าง
ซุ้มประตูของเรือนธาตุชั้นล่าง
จะมีแถบลายทางดิ่งกับเสากลมรับปลายซุ้มข้างละต้นยอดจั่วหรือซุ้มวงเดือนจะแนบชิดติดผนัง
ส่วนวงโค้งสี่หยิบของตัวซุ้มจะไปหนุนออกมาจากระนาบของผนัง
ปลายวงโค้งจะขมวดเป็นกันหอยกลม
ในตำแหน่งที่ปลายวงโค้งจรดกับปลายขมวดนั้นจะสลักรูปสิงห์ประดับไว้คู่หนึ่งหันหน้าเข้าหากัน
ส่วนในตำแหน่งของช่อประตูจะวางรูปเป็นกรอบดัดจากริ้วแถบลายเข้ามา
เนื้อที่ส่วนที่เหลือจะจัดคล้ายประตูจริง มีอกเลาเป็นสันกลาง
กลางอกเลาจะใช้ลายรูปขนมเปียกปูน วางห่างกันเป็นระยะ ๆ
ส่วนเนื้อที่ตำแหน่งบานประตูจะสลักลายเต็มทั้งสองข้าง
การวางตำแหน่งโครงภาพทั้งหมดจะถูกกำหนดจากความเชื่อในสมัยโบราณภาพในซุ้มจรนำในตำแหน่งกึ่งกลางด้านจะเป็นรูปเทพประจำทิศตามคติศาสนาพราหมณ์รูปในด้านทิศตะวันออก
เชื่อกันว่าเป็นรูปพระอินทร์ ภายในซุ้มนี้ได้ถูกปูนโบกทับไปแล้ว
รูปในซุ้มจะนำด้านทิศตะวันตกตรงข้ามเป็นรูปพระวรุณทรงหงส์ ในหมู่พราหมณ์และเทวดา
ด้านทิศเหนือเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ (ครุฑ)
และทางด้านทิศใต้เป็นรูปพระยมทรงมหิงสาในหมู่เข้าเฝ้า นอกจากรูปเทพประธานภายในซุ้มหน้าบัณยังมีตัวประกอบอื่น
ๆ ตามประเพณีนิยม เช่น เทวดาเหาะ พราหมณ์เทพเข้าเฝ้าฯ เป็นต้น
ลักษณะของลายสลักภาพในผนังแต่ละด้านจะมีระเบียง ลักษณะคล้ายคลึงกัน
โดยจะใช้รูปฤาษีนั่งชันเข่าพนมมือเป็นขอบภาพ บน-ล่างของผนังทุกด้าน
องค์ประกอบสำคัญของแผนภาพในแต่ละแผงก็จะใช้ตัวรูปสำคัญอยู่ในตำแหน่งส่วนบน
และส่วนล่างของแผงภาพ แล้วอาศัยลวดลายก้านขดทั้งแผงเป็นฉากของท้องเรื่อง
องค์ประกอบทั้งหมดประสานกันเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
โดยที่มีการกำหนดรูปและทิศทางของแผงภาพในแต่ละด้านไว้อย่างแน่นอน
ตัวรูปภาพลายสลักแต่ละด้านจึงมีรายละเอียดในส่วนดังกล่าวแตกต่างกันไป
แผงภาพด้านซ้าย (ทิศใต้)
ของรูปทางด้านทิศตะวันออกตัวรูปด้านบนจะทรงม้าตัวรูปด้านล่างจะทรงช้าง
ระเบียบการทรงช้างทรงม้าของแผงภาพด้านขวา (ทิศเหนือ)
จะสลับระเบียบกันแต่จะหันหน้าเข้าหาแกนกลางด้วยกัน
ระเบียบการทรงช้างทรงม้า ของตัวรูปในแผงภาพด้วยทิศเหนือ
ก็เป็นระเบียบเดียวกันกับทางทิศตะวันออก
แต่ทิศทางของตัวรูปและสัตว์พาหนะจะหันหน้าทางเดียวกันมาทางทิศตะวันออกซึ่งก็มีระเบียบเดียวกันกับระเบียบขององค์ประกอบแผงภาพด้านทิศใต้
และหันหน้ามาทางทิศตะวันออกด้วย
ระเบียบขององค์ประกอบในแผงภาพด้านทิศตะวันตก
ก็ใช้ระเบียบเดียวกันกับผนังด้านอื่น ๆ
แต่จะหันทิศทางของตัวรูปไปทางทิศเหนือต่อเนื่องกับทิศทางของตัวรูปในทิศนั้นเข้าหาแกนตะวันออกทั้งหมด
ระเบียบที่ต่อเนื่องในลักษณะไขว้ทะแยงซึ่งทยอยไล่กันมาสู่แกนทิศตะวันออกพร้อมกันนั้น
เกิดจากระเบียบง่าย ๆ ที่ประสานกัน คือ จะเป็นระบบไขว้ทะแยงสลับตำแหน่งของตัวรูปในแผงภาพแต่ละด้านทิศทางของตัวรูปจะมีแบบที่หันหน้าเข้าหากันและแบบที่ไล่ไปในทิศทางเดียวกันและทิศทางของตัวรูปทั้งหมดจะมุ่งเข้าหาแกนตะวันออก
แต่จะยึดทิศเหนือเป็นแนวร่วมที่สำคัญกว่าทางด้านทิศใต้ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากคติทักษิณาวรรคก็เป็นได้
ต่อขึ้นไปเป็นเรือนธาตุชั้นที่สองนั้น
ลดชั้นเข้าไปจากองค์ธาตุเรือนธาตุชั้นล่าง แต่ก็ใช้ระเบียบเดียวกัน
แผงภาพผนังด้านตะวันออกส่วนทิศเหนือ และแผงภาพผนังด้านทิศเหนือส่วนตะวันออก
ก็ยังเป็นภาพสลักบายอิฐเดิมอยู่เป็นตัวรูปค่อนข้างใหญ่ประมาณหนึ่งในสามของเนื้อหาโดยมีกลุ่มลายเป็นพื้นฉากหลังทั้งหมด
ภาพสลักลายทั้งหมดของผนังเรือนธาตุทั้งสองชั้น สลักบนผนังอิฐสุก
องค์ประกอบบางส่วนที่นูนมากก็เตรียมเป็นเค้าโครงมาแต่ต้น เช่น
เสากลมและสันลายบางส่วน เทคนิคการก่อสร้างแบบนี้ เป็นการขัดอิฐให้เรียบคมทุกส่วน
แล้วจึงนำมาก่อให้ชิดผิวเสมอให้สนิทกัน โดยการใช้สอดินบาง ๆ เป็นตัวสาน
ความนูนของภาพลายสลักอิฐจากผิวในนั้นอย่างน้อยตั้งแต่นิ้วครึ่งถึงสองนิ้วขึ้นไป
ฝีมือการสลักลายทำได้ดีมาก
เข้าใจธรรมชาติของอิฐที่มักจะเปราะแตกง่ายในระหว่างการสลัก
เข้าใจว่าคงจะใช้น้ำหล่อในขณะสลัก ในขณะเดียวกันรายละเอียดของตัวลายต่าง ๆ
จะเดินเส้นขอบทั้งหมด
และปลายลวดลายจะขมวดเพื่อที่จะแก้ปัญหามิให้ขอบลายแตกไปได้ง่าย ๆ
รูปลักษณ์ของการก่อสร้าง
เรือนอิฐแบบนิยมใช้กันมากในสถาปัตยกรรมสกุลช่างขอม และเทคนิคการก่อสร้างแบบนี้
สกุลช่างจามในอินโดจีนก็นิยมใช้ด้วย
ส่วนแบบของซุ้มประตูทิศนั้น ไม่มีในศิลปะขอม
มีพบแต่งานสถาปัตยกรรมจาม
ที่ชอบสลักลายสิงห์ประดับอยู่ที่ชายซุ้มมากกว่าสิงห์ของขอม
ในขณะที่พวกเสากลมและแถบภาพสลักลายประดับผนังพื้น
จะเป็นระเบียบที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานสถาปัตยกรรมจามด้วยเช่นกัน
ถึงแม้ว่าแบบของเสากลม จะค่อนมาทางสถาปัตยกรรมของทวารวดีอยู่มาก
ก็เป็นไปได้ว่าแบบส่วนท้องถิ่นได้รับอิทธิพลอยู่ร่วมสมัยกับทวารวดี
ในกลุ่มใบเสมาภาพชาดกเมืองฟ้าแดดกาฬสินธุ์ รุ่นภาพพระนางพิมพาพิลาป
ซึ่งมีอายุอยู่ราว พ.ศ. 1400
อีกประการหนึ่ง ระเบียบของการสลักลายลงบนแถบท้องไม้เชิงผนัง
ก็เป็นระเบียบในงานสถาปัตยกรรมจามอีก เช่น งานสถาปัตยกรรมจามในรุ่นปี พ.ศ.1418
ในกลุ่มดงเดืองเมืองควงนาม ภาคกลางของเวียตนาม
แต่ระเบียบแบบนี้ก็ใช้ในงานสถาปัตยกรรมสมัยก่อนพระนคร อาทิเช่น ปราสาทภูมิ
ปราสาทที่กำพงธม แบบกำพงพระ อายุอยู่ในปี พ.ศ. 1249
แต่ลายดอกสี่กลีบมีใบดอกรองรับในแถบลายของพระธาตุพนมนี้
เป็นลายแบบเก่าที่ไม่เคยใช้ในงานศิลปกรรมของขอมและจามโดยตรงที่มีลักษณะลาย
(มิใช่ระเบียบ) ใกล้เคียงที่สุดนั้น อาทิเช่น ลายดอกสีกลีบประจำยามของฐานศิวะลึงค์
ศิลปะจามแบบมิเซินอีก 1 ราวปี พ.ศ. 1250 ลงมา
ในลักษณะของระเบียบและแบบของลวดลายสลักตามแผงภาพทุกด้านนั้นก็ไม่ใช่ลายแบบขอมแต่มีเค้าโครงของจามมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวรูปคนที่ทรงม้าหรือทรงช้างนั้น
ภาพจะเหมือนพระราชาหัวหน้าเผ่าของชุมชนพื้นเมืองแถบนั้นหน้าตาพื้น ๆ
อย่างคนพื้นเมือง ไม่ใส่เสื้อเปลือยอกตามแบบประเพณี คนในแถบเมืองร้อนโดยทั่วไป
มิได้ทรงเครื่องอาภรณ์อลังการ
แต่จะเห็นประเพณีการรับวัฒนธรรมแบบอินเดียของชนชั้นสูงของสังคมที่ข้าราชบริพารจะต้องอัญเชิญเครื่องสูงตามเสด็จไปด้วย
ถ้าตัดยอดเจดีย์ทรงรุ้งและเชิงบัวคว่ำออกไปแล้วรูปทรงลักษณะของทรงอาคาร
ในช่วงนี้คือรูปทรงที่ซ้อนกันของเรือนธาตุที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมของขอมและจามในช่วงระหว่าง
พ.ศ. 1250-1420
ฉะนั้นรูปแบบเรือนธาตุอังคารช่วงที่สองในสมัยแรกของพระธาตุพนมนี้
สัญนิษฐานว่าคงสร้างในระหว่าง พ.ศ. 1300-1400
อันเป็นระยะที่อาณาจักรจามกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคกลางของอินโดจีน
และขอมกำลังเริ่มสร้างอาณาจักรใหม่ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1345-1393)
ซึ่งงานสถาปัตยกรรมขอมที่พนมกุเลนในช่วงนั้นได้รับอิทธิพลจามมาก
(บางทีอาจใช้ช่างจามสร้างก็เป็นได้) เช่น ปราสาทดำไรกราบ
ซึ่งมีเค้าโครงแบบเดียวกันกับพระธาตุพนมในช่วงนั้น
นอกจากกรุงเทพในลัทธิพราหมณ์ของศาสนาฮินดูตามหน้าบันประตูทิศแล้วการอ่านภาพเรื่องราวต่าง
ๆ ของแฝงภาพยากมาก
เพราะเป็นแบบแผนที่เน้นระเบียบของแบบในเรื่องเดียวกันคือการออกล่าสัตว์ในป่าใหญ่ของพระราชา
จะมีสัตว์จำพวกต่าง ๆ อาทิ เนื้อทราย กวาง หมู่ป่า ฯลฯ
ต้องคุมอาวุธอยู่ในลวดลายในขบวนเสด็จของท้าวพญาทุกแผงภาพ
ส่วนตัวรูปในแผงภาพชั้นเรือนธาตุชั้นที่สองนั้น
อาจจะเป็นรูปยักษ์เฝ้าองค์พระธาตุตามคติอินเดียก็ได้
เมื่อนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ
สถาปัตยกรรมมาเทียบกับในตำนานพระธาตุพนมแล้ว จะเห็นว่ามีอายุต่างกันมาก
ความในตำนานไม่ใช่อายุจริงทางประวัติศาสตร์
ส่วนมากเป็นเรื่องเล่าขาน
แต่งเรื่องตามเจตนาเพื่อสร้างเงื่อนไขการสืบสานพระศาสนาตามคติพื้นเมืองในขณะนั้น
และผู้แต่งตำนานพระธาตุก็ได้เห็นพระธาตุพนมอย่างติดตา
จึงนำภาพไปจิตนาการผูกเป็นเรื่องขึ้นแม้แต่รายละเอียดของตัวรูปที่เข้าใจว่าเป็นยักษ์นั้น
ก็ผูกให้เป็นรูปเทวดาผู้มีส่วนสลักภาพทั้งหมดได้ นับว่าผู้แต่ง (พระยาศรีไชยชมพู
ในสมัยเจ้าสุริยวงศา) มีจิตนาการสูงมาก งานแต่งตำนานอุรังคธาตุ
ถือเป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่ามาก
รูปทรงขององค์พระธาตุในช่วงประวัติศาสตร์
ไม่สามารถแจกแจงในลักษณะของการพัฒนาเป็นขั้นตอนได้เพราะการพัฒนาขององค์พระธาตุพนมเป็นช่วง
ๆ รูปสุดท้ายของการพัฒนาการ คือผลงานของสร้างเจดีย์ต่อยอดเป็นทรงเสร็จสมบูรณ์
ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กนี้เอง
การต่อชั้นบัวคว่ำระหว่างเรือนธาตุทั้งสองจะมีมาก่อนหน้าหรือไม่ก็ตาม
การนำทรงเจดีย์แบบหลวง ในส่วนยอดของพระธาตุหลวงเวียงจันทน์
มาสวมให้เข้ากับรูปทรงเดิมขององค์พระธาตุพนม
จนลงตัวเป็นเจดีย์องค์ใหม่แนวศิลปะสถาปัตยกรรมล้านช้างของลาวอีสานนั้น
จัดว่าเป็นพฤติกรรมในชั้นสูง ที่วางรากฐานให้แก่สถาปัตยกรรมแบบไทยอีสานในเวลาต่อมา
มาถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่
รูปทรงองค์พระธาตุพนมที่เราเห็นจนติดตามอยู่ในทุกวันนี้
เป็นรูปแบบการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างเสริมในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล
ท่านทำการถากถางรกพงให้สะอาด ทำนุบำรุงองค์พระธาตุให้มั่นคงถาวร
ท่านพระครูเป็นช่างมีฝีมือมีจินตนาการประดับใส่อาภรณ์องค์พระธาตุได้สวยงาม
ตกแต่งประดับด้วยกระจกสีเป็นดอกดวงในส่วนยอดและแถบลายหน้ากระดานผนังเรือนธาตุทั้ง 4
ด้าน
ท่านพยายามอนุรักษ์ลายสลักเก่าขอบแผงภาพของเรือนธาตุชั้นที่ 2
หรือลายสลักในส่วนบานประตูใต้ซุ้มหน้าบัณ บางครั้งพยายามที่จะนำปูนที่โบกทับออก
แม้แต่การปฏิสังขรณ์ครั้งสุดท้ายในสมัยหลวงวิจิตรวาทการ พ.ศ.
2483-2484 ก็เว้นอาคารส่วนนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ได้มีการต่อยอดหุ้มยอดเดิมขึ้นไปอีก 10 เมตร รูปทรงเปรียวชะลูดเสียดฟ้า
เพื่อมุ่งสร้างเอกลักษณ์ใหม่ทั้งทางสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมและการเมืองให้วัฒนาถาวรต่อไป
จนเป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลต่อพระธาตุเรณู พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเชิงชุม
ให้มีแบบอย่างที่คล้ายคลึงกัน