4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
พระธาตุพนมล้ม
องค์พระธาตุพนมตั้งตระหง่านสูงเด่นเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาเป็นเวลา
นานนับพันปี จากหลักฐานโบราณคดี องค์พระธาตุพนมสถาปนาขึ้นมาราวพุทธศตวรรษที่ 12-14
ตอลดเวลาที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง หลายยุค หลายสมัย
วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
ประกอบกับมีการบูรณะเสริมสร้างโดยการต่อยอดหลายครั้ง
ไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างส่วนฐานแต่อย่างใดทำให้ฐานส่วนล่างต้องรับน้ำหนักจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะในการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ
พ.ศ. 2483-2484 ได้มีการทำรูระบายอากาศรอบด้านในส่วนยอดองค์พระธาตุ
รูอากาศนี้ทำให้ฝนไหลเข้ามาแต่ส่วนล่างไม่มีทางระบายน้ำออก
ส่วนยอดองค์พระธาตุจึงกลายสภาพเป็นที่เก็บน้ำแล้วค่อย ๆ
ซึมเซาะอิฐภายในให้เปื่อยยุ่ยองค์พระธาตุได้รับการกระทบกระเทือนมาก
เมื่อได้เกิดแผ่นดินไหวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย
ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน องค์พระธาตุพนมก็เริ่มเอียงจากแกนเดิม
ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน
และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น
วันที่ 11 สิงหาคม ตอนเช้าฐานพระธาตุพนมด้านทิศตะวันออก
ผนังปูนตรงลวดลายประตูจำหลักซึ่งอยู่
กึ่งกลางของด้านตลอดถึงส่วนที่เป็นซุ้มทรงบายศรี ปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมาทั้งแผ่น
เป็นระยะ ๆ และมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนมองเห็นเศษปูนกองอยู่ที่พื้นฐานเจดีย์ทั่วไปรอยแตกแยกเริ่มขยายกว้างมากขึ้น
ล่วงมาถึงเวลาเย็น
บริเวณที่อิฐร่วงหล่นลงมาในตอนเช้าก็เริ่มหลุดร่วงอีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นเรื่อย
ๆ อิฐที่หลดเป็นรอยลึกเข้าไปในฐาน
เมื่ออิฐหลุดร่วงจะได้ยินเสียงครืดคราดออกมาจากภายในองค์พระธาตุส่วนฐานนั้นเป็นระยะ
มองดูอิฐที่ร่วงลงมาแล้วใจหาย
แม้แต่เสียงที่ได้ยินจะเป็นสัญญาณอันตรายเตือนให้รู้ล่วงหน้าว่า
องค์พระธาตุพนมอาจะโค่นล้มลงมาเวลาหนึ่งเวลาใดก็ตามผู้คนผลัดเวียนมาดูกันมาก
เฝ้าสังเกตการณ์องค์พระธาตุอย่างใจจดใจจ่อ วิตกวิจารณ์คาดการณ์กันไปต่าง ๆ นานา
ทุกคนหวั่นวิตกต่อเหตุการณ์เบื้องหน้า
แต่ก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดกล้าคิดว่าพระธาตุพนมที่สูงตะหง่านจะโค่นล้ม
ทั้งนี้เพราะต่างมีความมั่นใจว่า องค์พระธาตุพนมนี้เป็นปูชนียสถานของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองย่อมมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองปกปักรักษาถึงจะชำรุดทรุดโทรม
ตามกาลเวลา แต่ก็คงสามารถซ่อมแซมให้ดีขึ้นดังเดิมได้
ขณะนั้นเมื่ออิฐร่วงลงมาเป็นระยะ ๆ
ทะลวงลึกเข้าไปเป็นช่องเหมือนถูกคว้านให้เป็นโพรงอยู่ภายในฐาน
การหลุดร่วงของอิฐในตอนนี้มีทั้งอิฐและดินหล่นลงมา
จนกระทั่งมองเห็นหินแท่งยาวแบนอยู่ภายในแท่งหินทำให้เข้าใจว่า
ส่วนฐานขององค์พระธาตุพนมภายในเป็นดินมากกว่าอิฐหรือหิน
องค์พระธาตุเอียงไปทางทิศตะวันออกจนเห็นได้ชัด
ครั้นถึงเวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์
สาเหตุการพังทลายขององค์พระธาตุพนม จึงเป็นสาเหตุสร้างสมมากกว่า
เหตุที่เกิดขึ้นในทันทันใด อาการพังทลายไม่ได้ทรุดที่ฐาน
หากเริ่มจากยอดที่เป็นน้ำหนักในแนวดิ่งที่หนักมาก มากดคอบัวฐานชั้นที่ 1 และชั้นที่
2 ให้บิออกเป็นแนวฉีกลึกไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปียกยุ่ยจากฝนตกติดต่อกันอย่างหนัก
ต่อจากนั้นอิฐผนังที่ยุ่ยอยู่แล้วก็ค่อย ๆ ทลายลงเป็นแถบ ๆ ยอดเจดีย์กด
พุ่งลงมาตามแนวดิ่งหักลงเป็นท่อน ๆ องค์พระธาตุได้ล้มฟาดลงมาทางทิศตะวันออก
แตกหักออกเป็นท่อน มีลักษณะเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 คือฐานชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐแดงจำหลักลวดลายสูง 8 เมตร
คือดอนที่เก่าที่สุด สร้างด้วยอิฐเรียงสอด้วยวัตถุเหนียวแตกทับตัวเอง
หลุดร่วงและล้มเป็นกองเศษอิฐแตกกระจายออกทั้ง 4 ด้าน พูนขึ้นเป็นกองอิฐขนาดใหญ่
ตอนที่ 2 ระหว่างเรือนธาตุชั้นที่ 2
กับฐานบัลลังก์เป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะในภายหลังแตกออกเป็น 2 ท่อน
ท่อนล่างละเอียดหมด ท่อนบนยังดีอยู่ ล้มกองไปตามทางทิศตะวันออก
ตอนที่ 3 คือส่วนยอดที่สร้างครอบยอดเดิมไว้เมื่อครั้ง พ.ศ. 2483
เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยาวประมาณ 20 เมตร (ความสูงใหญ่ 10 เมตร
ระยะของความสูงเดิมจากฐานบัลลังก์ขึ้นไป) หักล้มไปทางทิศตะวันออก
ทับศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาแหลกละเอียด
และหอพระแก้วราบทะลายลงไปทั้งสองหลังเฉพาะหอพระแก้วเหลือแต่เพียงมุขด้านหน้าไว้เท่านั้น
ส่วนฉัตรที่ทำด้วยทองคำสวมยอดพระธาตุนั้น เอนปะทะพิงอยู่กับผนังหอพระแก้ว
ความเสียหายของฉัตรบุบสลายเพียงเล็กน้อย
สำหรับอาคารที่เป็นศาสนาสถานที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากพระธาตุพนมล้มมีดังนี้
1. กำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุพนมชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
2. หอข้าวพระทรงปราสาทยอดมณฑป
ซึ่งสร้างในสมัยเจ้าพระยานครหลวงพิชิตทศทิศราชธานีศรีโคตรบูรหลวง
บูรณะพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. 2153
3. ศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2466
4. วิหารหอพระแก้ว หรือวิหารหลวง แรกสร้างในสมัยพระเจ้าโพธิสารได้บูรณะพระธาตุพนม
เมื่อราว พ.ศ. 2073
5. หอพระด้านทิศเหนือและทิศใต้
ส่วนพระอุโบสถซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของหอพระแก้ว
รอดพ้นอันตรายไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะอาคารทั้งสองสร้างอยู่ใกล้ชิดกันมาก
(ระยะห่างเพียง 5 เมตรเท่านั้น)
จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการเพื่อรักษาสภาพเดิมขององค์พระธาตุพนม
และบริษัทวิศวกรรมที่เข้ามาศึกษาหาสาเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้คือ
1. ฐานรากขององค์พระธาตุทรุดตัวไม่เท่ากัน
ทำให้อาคารเสียการทรงตัว
2. วัสดุก่อสร้างซึ่งสร้างมานาน
เป็นอิฐบางส่วนเสื่อมสภาพไม่สามารถรับน้ำหนักดีเท่าด้านอื่น ทำให้เสียศูนย์
จึงล้มพังทลาย
3. เกิดจากแรงกดน้ำหนักภายในของวัสดุในองค์พระธาตุพนม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความชื้น จนผนังอิฐบางส่วนทนรับน้ำหนักไม่ไหว
แตกร้าวล้มในที่สุด
จากการศึกษาของบริษัทวิศวกรรมได้ขุดศึกษาชั้นดินลงมาพบชั้นกรวดในระดับความลึก 20
เมตร ซึ่งจัดว่าเป็นชั้นรากฐานที่ดีมาก และไม่มีการทรุดตัวของชั้นดินโดยรอบเลย
ประเด็นในข้อที่ 1 จึงตกไป
ส่วนในข้อที่ 2 และ 3 นั้น มีเค้าความเจริญอยู่มาก
แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในกรณีทั่วๆ ไป
เป็นพฤติกรรมต่อเนื่องที่สร้างสมติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าสามสิบปี กล่าวคือ
เมื่อมีการต่อยอดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ.
2483-2484 นั้น ไม่มีการเสริมความแข็งแรงฐานเรือนธาตุทั้งสองชั้นใหม่
ทั้งที่ฐานทั้งสองต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล
ความแข็งแรงมั่นคงเท่าที่มีอยู่ได้กลับเป็นความรอบคอบของท่านราชครูหลวงโพนสะเม็ก
การต่อยอดครั้งนั้นได้อัดอิฐดินภายในโพรงอาคารเดิมจนทึบตันรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดีและลำพังอิฐก่อสร้างอาคารในส่วนที่ดีอยู่นั้น
(อยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1300-1400) มีความแข็งแรงเกือบเท่าคอนกรีต
ความแข็งแรงทั้งหมดนี้จึงแยกน้ำหนักของยอดอาคารองค์พระธาตุได้เป็นอย่างดียิ่ง
ต่อเมื่อมีการต่อยอดเสริมขึ้นใหม่นั้นเปิดช่องระบายอากาศทุกด้าน
ช่องเหล่านี้เป็นทางให้น้ำฝนสาดเข้าไปได้ แต่ไม่ได้เปิดทางระบายน้ำไว้
เมื่อน้ำเข้าไปช่องเหล่านี้ก็จะไหลไปกองอยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งที่ไม่ได้ระดับ
น้ำเหล่านี้ค่อย ๆ ซึมเซาะอิฐให้เสื่อมสภาพไปอย่างช้า ๆ
จนฐานรากไม่สามารถรับน้ำหนักท่อนบนไหว พังทะลายลงมาทั้งองค์