4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
การสถาปนาพระธาตุพนมขึ้นใหม่
การบูรณะองค์พระธาตุพนมให้ฟื้นคืนสภาพเดิมนั้น
มีความเห็นพ้องกันว่าจะนำเอาส่วนที่แตกหักทั้งหมดมาประติดประต่อก่อรูปขึ้นใหม่
แต่เมื่อได้ไปสำรวจซากสลับปรักพัง
ประกอบกับเงื่อนไขของเวลาสภาพการณ์ทางการเมือง และวัฒนธรรมแล้ว
จึงได้เปลี่ยนแนวความคิดให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยวัสดุและโครงสร้างที่แข็งแรงใหม่ทั้งองค์
ตามแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2484 ก่อนพระธาตุพนมหักพังลงมา
เพราะเป็นแบบที่เห็นติดตาคุ้นเคยอยู่แล้ว
ถ้าเป็นแบบอื่นอาจทำให้ความศรัทธาคลายลงได้ ส่วนลายอิฐประดับต่าง ๆ
ถ้าเก็บของเดิมได้มากก็ให้นำไปประดับตำแหน่งเดิมอีก
ส่วนที่เหลือบางส่วนจะนำไปใส่ในองค์เจดีย์ที่สร้างใหม่บางส่วนเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์
อย่างไรก็ตามอัฐสลักลายทั้งหมดนี้เมื่อนำมาจัดเรียงจึงได้อิฐสลักลายส่วนที่เป็นลวดลายกรอบผนังทั้ง
8 กรอบ ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่สำคัญที่สุดขององค์พระธาตุพนมได้เกือบจะสมบูรณ์ถึง 7
กรอบ
โดยสภาพส่วนหน้าของอิฐสลักลายยังแข็งแกร่ง ลวดลายคมชัดดี
ส่วนอิฐสลักลายอื่น ๆ นอกเหนือจากลายกรอบผนังนั้น
ได้ชิ้นส่วนไม่มากพอที่จะประกอบได้ เพราะของเดิมชำรุดมาก
แต่เมื่อนำมาจัดเรียงประกอบก็พอใช้ประโยชน์ในการวัดสัดส่วนและเป็นตัวอย่างในการปั้นใหม่ต่อไปได้
การก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่
นอกจากจะคำนึงถึงหลักทางวิศวกรรมคติความเชื่อตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์
และสถาปัตยกรรมแล้ว ก็เป็นงานอุทิศถวายแก่องค์พระธาตุ โดยไม่คิดค่าตอบแทนหรือผลกำไร
ไม่ว่าจะเป็นงานตรวจฐานชั้นดิน การออกแบบองค์พระธาตุ
การรับเหมาก่อสร้างโดยไม่คิดผลกำไร
การบริจาคทรัพย์ของประชาชนสมทบทุนสร้างองค์พระธาตุพนมนับเป็นการร่วมแรงร่วมใจอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ขององค์พระธาตุ
เพื่อสืบสานพระศาสนาตามคติและเจตนาเดิมอย่างแท้จริง
ในส่วนโครงสร้างขององค์พระธาตุนั้น
มีการสำรวจฐานรากโดยมีการขุดเจาะศึกษาชั้นดินลึกลงจนถึงชั้นกรวด
ผู้ออกแบบจึงใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงยาวประมาณ 20 เมตร ฝังลงไปจนถึงชั้นกรวด
อันเป็นหลักประกันความมั่นคงแข็งแรงใต้ฐานอย่างสมบูรณ์
ส่วนโครงสร้างขององค์พระธาตุใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กตามขนาดใกล้เคียงกับของเดิม
ตามแบบของกรมศิลปากรฐานเรือนธาตุส่วนล่างสร้างคร่อมอาคารในเรือนธาตุชั้นที่ 1 ไว้
ทั้งหมด และบรรจุอิฐบางส่วนขององค์พระธาตุไว้ด้วย
ในส่วนระหว่างฐานบัลลังก์กับเรือนธาตุชั้นที่ 2 ในตำแหน่งของอูบมุงบรรจุพระธาตุเดิม
ก็จะอัญเชิญองค์พระธาตุใส่อูบมุงโลหะอันใหม่บรรจุไว้ในตำแหน่งเดิมด้วย
การก่อสร้างในส่วนโครงสร้างได้แล้วเสร็จ
หลังจากนั้นหน่วยงานของกรมศิลปากรจึงเข้าดำเนินงานประดับตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ
กองโบราณคดีดำเนินการในส่วนฐานเรือนธาตุชั้นที่ 1
โดยนำเอารูปสลักอิฐเดิมประกอบกับอิฐเสริมใหม่ ประดับตามตำแหน่งเก่าเข้าด้วยกัน
วิทยาลัยช่างศิลปะของกรมศิลปกรรับดำเนินงานในส่วนที่สองคือเรือนธาตุที่ 2 ทั้งหมด
ซึ่งเป็นงานปั้นลายอิฐปั้นดินนำไปเผาแล้วนำมาประดับใหม่
งานประดับลายในส่วนยอดทั้งหมดเป็นงานหล่อลายปูนประดับปิดทอง ส่วนยอดฉัตรนั้น กรมธนารักษ์กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการ
ลายประดับต่าง ๆ กรมศิลปกรใช้แนวเดิมที่ได้ดำเนินการมาในปี
พ.ศ.2483-2483 คือ เป็นลายภาคกลางประดิษฐ์เป็นพื้นเพไทยอีสาน
ช่างที่เคยทำงานในครั้งนั้นก็ได้มีโอกาสมาร่วมงานนี้ด้วย
นอกจากจะบูรณะองค์พระธาตุแล้ว
ยังได้สร้างกำแพงแก้วขึ้นในลานวัดรอบองค์พระธาตุ งานบูรณ
ปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
งานสถาปนาองค์พระธาตุพนมได้บูรณะขึ้นใหม่ ได้ทำเป็นทางการ
โดยสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาเป็นประธานในพิธียกฉัตรทอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.
2522 ในมงคลฤกษ์ระหว่าง 14.19 น. ถึง 14.49 น.
ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมฉัตรทองคำแล้วทรงถือสายสูตรยกเชิญฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดองค์พระธาตุพนม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
เสด็จมาบรรจุพระบรมธาตุในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในเวลา 14.19 น.
อันเป็นมงคลฤกษ์ ทรงจับสายสูตรทุกพระองค์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุอุรังคธาตุ
ขึ้นประดิษฐานทางทิศตะวันออกในตำแหน่งเดิม
องค์พระธาตุพนม
ก็สถิตเป็นศรีสง่าและมิ่งขวัญให้ปวงชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงได้สักการบูชา
ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลสูงสุดในชีวิตตราบชั่วกาลนาน