4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุพนม นครพนม
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
ชั้นและที่ตั้งของวัด
วัดพระธาตุพนมเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่เลขที่ 183 ถนนชยางกูร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดธาตุพนม
เป็นที่ตั้งของเจดีย์พระธาตุพนม จากตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 8
โดยพระมหากัสสปะ กับพระอรหันต์ 500 รูป ร่วมกับท้าวพญาทั้ง 5 คือ พญานันทเสน
พญาสุวรรณภิงคาร พญาคำแดง พญาจุลณีพรหมทัต และพญาอินทปัฐนคร
จากนั้นมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมมาหลายยุคหลายสมัย ต่อมาถึง พ.ศ. 2493
วัดพระธาตุพนมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิด วรวิหาร
อาณาเขตและอุปจารของวัด
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านเรือนราษฎร และโรงเรียนประจำอำเภอธาตุพนม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนพนมพนารักษ์และถนนชยางกูร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านเรือนราษฎร
หมู่บ้านดอนกลางและหมู่บ้านชาวญวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ สุดเขตกำแพงโรงเรียนอนุบาลพนมวิทยาคาร
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป
บริเวณที่ตั้งวัดเป็นเนินดินเตี้ยเรียกว่าภูกำพร้า บริเวณทั้ง 4
ด้านเอียงลาดต่ำลงถ้ามองไกล ๆ จะเห็นเป็นเขาเล็ก ๆ ลูกหนึ่ง
เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุพนม
เนื้อที่วัดพระธาตุพนมทั้งหมด 60 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา โฉนดเลขที่
132 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และสำนักวิปัสสนากรรมฐาน
เขตพุทธาวาส
อยู่ส่วนหน้าวัด คือ
บริเวณพื้นที่ตอนที่เป็นเนินดินสูงซึ่งเรียกว่าภูกำพร้า
มีวิหารคดสี่เหลี่ยมล้อมรอบถึงกำแพงแก้ว กั้นแยกเขตแดนออกจากเขตพุทธาวาส
มีองค์เจดีย์พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ใจกลางล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว 3 ชั้น
กำแพงแก้วแต่ละชั้นมีซุ้มประตูทางเข้าประทักษิณอยู่ตอนกลางทุกด้านและมีซุ้มหน้ามุขทรงมณฑปที่มุมกำแพงทั้ง
4 ทุกชั้น ด้านหน้าองค์พระธาตุมีพุทธสถานที่สำคัญ คือ โรงธรรมสภา หรือศาลาการเปรียญ
หอพระแก้วหรือในสมัยโบราณเรียกว่า พระวิหารหลวง ถัดไปทางขวา คือ พระอุโบสถ
เขตสังฆาวาส
อยู่ถัดจากเขตพุทธวาสไปทางเหนือ ทางตะวันตกและทางใต้
เป็นส่วนที่ลาดต่ำปลูกสร้างเสนาสนะ กุฏิสงฆ์ สำนักชี และเป็นบริเวณสนามหญ้าและสวน
เขตสำนักวิปัสสนากรรมฐาน
อยู่ด้านหลังวัดมีรั้วกั้นเป็นแนวแยกออกเป็นสัดส่วนเฉพาะไม่ปนกับเขตสังฆวาส
พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางปลูกศาลาไม้ขนาดใหญ่ สำหรับอบรมบรรยายธรรม
และฝึกปฏิบัติกรรมฐานแก่ผู้ที่เข้ามาศึกษา
มีกุฏิพระและกุฏิชีอยู่ทางด้านเหนือและใต้ ตามลำดับ
ที่ธรณีสงฆ์
ที่ธรณีสงฆ์ มีทั้งหมด 3 แปลง มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 93 ไร่ 3 งาน
96 ตารางวา อยู่ที่ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งหมด คือ
(1) เนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา โฉนดเลขที่ 131
(2) เนื้อที่ 24 ไร่ 2 ตารางวา โฉนดเลขที่ 133
(3) เนื้อที่ 57 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา โฉนดเลขที่ 183
ลำดับเจ้าอาวาส วัดพระธาตุพนม
วัดพระธาตุพนมมีเจ้าอาวาสครองวัด แบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
1. สมัยแรกตั้งวัด พญาสุมิตตธรรมวงศา สั่งให้พระเทวะอำมาตย์
สร้างวิหารให้พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์ อาศัยจำพรรษา ดังนี้
(1) เจ้าสังขวิชชาเถระอยู่ด้านเหนือ (หอพระพุทธไสยาสน์)
(2) เจ้ามหารัตนะเถระ และเจ้ารัตนะเถระ
อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระธาตุ
(3) เจ้ามหาสุวรรณปราสาทเถระ และเจ้าจุลสุวรรณปราสาทเถระ
อยู่ด้านใต้ข้างกุฏิศิลาภิรัตรังสฤกฎิ์
2. สมัยเวียงจันทน์
เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก มาซ่อมพระธาตุพนม 9 ปี พ.ศ. 2236-2245
ปัจจุบันอนุสาวรีย์ของท่านอยู่นอกกำแพงแก้วชั้นที่ 2
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(1) พระครูพรหมมา พ.ศ. 2390-2410
(2) พระครูพรหม พ.ศ. 2410-2425
(3) พระครูก่ำ พ.ศ. 2425-2430
(4) พระครูฮุบ พ.ศ. 2430-2438
(5) พระครูอุปัชฌาย์ทา พ.ศ.2438-2458
(6) พระครูศิลาภิรัต (หมี บุบผาชาติ) พ.ศ. 2458-2479
(7) พระครูเทพรัตนโมลี (แก้ว อุทุมมาลา)
(8) พระเทพรัตนโมลี (แก้ว กนฺโตภาโส)
(9) พระเทพปริยัติมุนี ปัจจุบัน