4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (2)
สมัยศรีวิชัย
อาณาจักรสัมโพธิ์ หรือศรีวิชัย (พ.ศ. 1300-1700)
นครโพธิ์เจริญรุ่งเรืองมาก ในพุทธศตวรรษที่ 14
มีเมืองขึ้นประเทศเล็ก ๆ ตอลดแหลมมาลายู สุมาตรา ชะวา ตะวันตก เจนละ (เขมร)
ตอลดไปจนดินแดนจัมปาทางตะวันออก เป็นเมืองท่าค้าขายของชนชาติต่าง ๆ ทั้งจีน อินเดีย
อาหรับ เปอร์เซีย มีความเจริญทางพระพุทธศาสนา
พระราชาทรงพระพิพิธราชธรรม
บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขทั่วทั้งแว่นแคว้น ตลอดจนประเทศราชอาณาจักรนี้
พระพุทธศาสนารุ่งเรืองจนเรียกกันว่า สัมโพธิ์ หรือ ศรีโพธิ์
จากจดหมายเหตุของจีนเรียกเพี้ยนไปว่า สัมฮุดซี ส่วนที่พบในศิลาจารึกเรียกว่า
ศรีวิชัย
อาณาจักรนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา
มีกำลังเข้มแข็งด้วยเป็นเมืองท่าที่สำคัญมีการติดต่อค้าขายทั้งกับจีน อินเดีย
อาหรับ ทั่วตลอดจนแหลมมาลายู มีการสร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป
เจดีย์พระพิมพ์จำนวนมากทั้งฝ่ายหินยานและมหายาน
พระราชายุคต่อมาได้ส่งเสริมศาสนาลัทธิมหายาน
เพราะต้องติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ
ทำเลที่ตั้งอาณาจักรอยู่ย่านกลางติดต่อระหว่างจีนทางตะวันออกกับอินเดียทางตะวันตก
พระราชาก็ได้ส่งกำลังรักษาความปลอดภัยของเรือสินค้าต่าง ๆ
ที่เดินทางผ่านช่องแคบมะละกา ให้เดินทางคมนาคมได้สะดวก เมืองกาจา (ไทรบุรี)
มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นเมืองท่าค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ทำให้ผู้ขนานนามประเทศนี้ว่าชวกะ พวกชาวอาหรับเพี้ยนไปว่า ซาบะคะ พวกเขมรเรียก ชวะ
จากพงศาวดารจีนราชวงศ์สูง (พ.ศ.1503-1822) เรียกอาณาจักรนี้ว่า
อาณาจักรสัมฮุดซี เป็นอาณาจักรยังไม่เจริญเท่าประเทศจีนยังป่าเถื่อนอยู่
อาณาจักรนี้อยู่ทางใต้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย อยู่ระหว่างเจนละ (เขมร) เฉโป
(ชะวา) มีประเทศในปกครองมากกว่า 15 ประเทศ สินค้าจำนวนหวาย ยาง ไม้หอม หมาก มะพร้าว
เครื่องเทศ การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าใช้เงินและทอง
ภูมิอากาศ ร้อนมากมีฝนตกชุก ฤดูหนาวไม่หนาวประชาชนนิยมปลูกข้าวเจ้า
ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มีการกลั่นเหล้าจากดอกไม้ ข้าว มะพร้าว หมาก และน้ำผึ้ง
ภาษาที่ใช้ อักษรสันสกฤต
พระราชาของอาณาจักรใช้แหวนของพระองค์ประทับตรา
มีการรู้หนังสือจีนในการส่งบรรณาธิการไปจีน
ระยะทางนครนี้ไปกวางตุ้งใช้เวลายี่สิบวัน
ใน พ.ศ. 1546 ทูตจากสัมฮุดซีมากราบทูลว่าได้สร้างวัดพุทธศาสนาขึ้นวัดหนึ่ง
เพื่ออุทิศกุศลให้พระจักรพรรดิให้มีพระชนม์ยืนยาว
พระจักรพรรดิได้พระราชทานนามวัดว่า เช็งเตียนวันชู
และพระราชทานระฆังหล่อพิเศษให้ลูกหนึ่ง
(นักโบราณคดีจีนมาอ่านอักษรจีนบนระฆังจีนที่วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นข้อความตรงกัน)
การเดินทางค้าขายทางช่องแคบมะละกามีความปลอดภัยมาก
การค้าขายจึงเจริญรุ่งเรืองที่เมืองกาจา (ไทรบุรี)
พวกอาหรับเรียกเมืองท่านี้ว่ากาลา ส่วนเมืองหลวงยังอยู่ที่นครโพธิ์
พวกชาวอาหรับเรียกประเทศชวกะว่า ชาบะคะ
และเรียกประเทศเมืองขึ้นทางใต้ประเทศศรีโพธิ์ว่า ศรีบูชา ชาวอาหรับเล่าถึงประเทศซาบะคะว่าพระราชานครนี้เก็บภาษีเป็นทองคำวันละ
200 มันน์ พระองค์ให้หลอมทางอให้เป็นแท่ง ๆ เท่าอิฐ
แล้วเอาทิ้งไว้ที่สระน้ำหน้าพระที่นั่งทุกวัน
สระนี้นำทะเลขึ้นถึงเวลาน้ำลงจะเห็นทองเหลืองอร่าม
การโยนทองคำแท่งลงสระน้ำหน้าพระที่นั่ง
เป็นประเพณีที่พระราชาทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา
ภาษีอากรส่วนหนึ่งได้จากการชนไก่ของราษฎร ตัวไหนชนะจะต้องถวายทองคำแท่งแก่พระราชา
ภาษีชนไก่เก็บได้วันละประมาณ 50 มันน์
เมื่อพระราชาองค์ใดสิ้นพระชนม์ พระราชาองค์ใหม่สืบราชสมบัติต่อมา
จะนำเอาทองแท่งมาหลอมแจกจ่ายให้แก่พระราชวงศ์และข้าราชบริพาร
ที่เหลือก็จะนำมาแจกทาน พระราชาองค์ใดสะสมทองแท่งไว้มาก จะเสวยราชย์ได้เป็นเวลานาน
อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองมากระหว่าง พ.ศ. 1300-1700
ในตอนปลายรัชสมัยประมาณ พ.ศ.1656-1695 มีพระราชาองค์หนึ่งนามว่า ชีวกราช
(หรือชวกราชา หมายถึงพระราชาแห่งชาวชวกะเมืองหลวงแห่งอาณาจักรสัมโพธิ์)
มีกำลังพลโยธาเข้มแข็ง ได้ยกมาตีเมืองศิริธรรมนคร โดยมีกองทัพเรือจำนวนมาก
ยึดเมืองลพบุรีไว้ได้
นักโบราณคดีเชื่อกันว่า พระชีวกราชนี้เป็นบิดาของพระเจ้าสุริยวรมันที่
2 ประเทศเขมรภายใต้อำนาจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
เจริญรุ่งเรืองขึ้นมามีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันออกประเทศจัมปา
ไปจดทิศตะวันตกจดประเทศพุกาม ทางตอนใต้จดเมืองครหิ (มีจารึกของพระนาคปรก
ที่ฐานความว่า พ.ศ. 2736 พระมหาราชสรีมัตไตร โลกราชเมาลิภสนวร มเทวะให้มหาเสนาบดี
ตลาในผู้รักษาเมือง ครหิ หล่อขึ้น คนเก่าแก่ในไชยาเล่าให้ฟังว่า
พระนาคปรกองค์นี้อยู่ในนา ชาวบ้านลากขึ้นมาเพื่อนำไปไว้ในวัด
ถ้าลากไปไว้วัดอื่นไม่ยอมไป
ต่อเมื่อลากมาวัดเวียงจึงไปอยู่ในโบสถ์วัดเวียงจนกระทั่งส่งมาไว้ในพิพิธภัณฑ์ปัจจุบันนี้)
เมืองทางเหนือของไชยาแถบคอคอดกระในสมัยนี้
ต่อมานครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย
ได้ย้ายจากเมืองไชยามาตั้งอยู่ที่เมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)
เมืองตามพรลิงค์เป็นนครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย แทนเมืองไชยา
ตลอดมาจนมารวมเป็นอาณาจักรไทยในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
ในสมัยพระเจ้าโรจราช (หมายถึงพระร่วง องค์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปรารถนาจะทอดพระเนตรมหาสมุทรจึงเสด็จพร้อมเหล่าเสนาหลายหมื่นคน
ไปทางใต้ตามแม่น้ำนานนที จนถึงศิริธรรมนคร (นครศรีธรรมราชา) พระนครนี้มีพระเจ้าศิริธรรมราชาปกครองอยู่
เมื่อได้ทราบข่าวก็เสด็จออกมาต้อนรับ
ถวายบังคมทูลถึงความอัศจรรย์ของพระสีหลปฏิมาในลังกาทวีป
ต่อมาพระราชาทั้งสองได้ส่งทูตไปขอพระสีหลปฏิมาและพระเจ้าโรจราชได้
เสด็จไปเชิญพระสีหลจากศิริธรรมนครยังกรุงสุโขทัย
พ.ศ. 1773 กษัตริย์ผู้ครองนครตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราชา)
ทรงพระนามว่า จันทรภานุศรีธรรมราช ได้สร้างศิลาจารึกขึ้นหลังหนึ่ง
(ศิลาจารึกวัดเสมาเมือง) กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในสมัยของพระองค์
ในสมัยเดียวกัน พงศาวดารลังกาได้บันทึกไว้ว่าพระราชาแห่งชวกะชื่อจันทรภานุได้ยกทัพเรือมารุกรานเกาะลังกาสองครั้งใน
พ.ศ. 1779 และ 1799 การยกทัพเรือมาตีเกาะลังกาครั้งที่สอง พระเจ้าจันทรภานุ
พ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในสงคราม
ใน พ.ศ.1800 พ่อขุนรามคำแหงขึ้นเสวยราชย์
ในศิลาจารึกของพระองค์จารึกใน พ.ศ. 1835 อาณาเขตของพระองค์ทางตอนใต้ จดศรีธรรมราช
ฝั่งทะเล อาณาจักรของสัมโพธิ์ซึ่งเป็นชนชาติผิวเหลืองคล้ายจีน
ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย
ได้เข้ามารวมกับอาณาจักรสุโขทัยของพ่อขุนรามคำแหงซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกัน
ในจดหมายของจีนใน พ.ศ. 1768 กล่าวถึงอาณาจักรสัมฮุดซีไว้ว่า รัฐของสัมฮุดซี
มี 15 รัฐ คือ 1. ปวงฟอง (ปาหัง) 2. ตองยานอง (ตรังกานู) 3. ลิงยาสิเกีย (ลังกสุกะ)
4. กิลันตัน (กลันตัน) 5. โพโลอัน 6. ยิโลติง 7. เซียนมาย 8. ปะตา 9. ตั้งพรลิง
(ตามพรลิงค์) 10. เกียโลหิ (ครหิ) 11. ปลิงฟอง (ปาเลมบัด) 12. สินโต (ซุนดา) 13.
เกียนปี 14. ลันวูลิ (ลามูริ-อัทเจ) 15. สิลัน (ซีลอน) อาณาจักรสัมฮุดซีคงความรุ่งเรืองมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่
18