4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (3)
เมืองไชยา นครหลวงอาณาจักรศรีวิชัย
ในสมัยก่อนที่การค้นหาประวัติศาสตร์
ของอาณาจักรศรีวิชัยมักคิดกันว่าอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ในเกาะสุมาตราแต่จากหลักฐานโบราณคดีการค้นพบศิลาจารึก
พระพุทธรูปต่าง ๆ ชี้ชัดว่า ไชยาคือที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัย
จากบันทึกพงศาวดารจีน ราชวงศ์หมิงว่า คันโทลี เป็นชื่อเก่าขอสัมฮุดซี
พงศาวดารเหลียงกล่าวถึงการส่งฑูตจากประเทศคันโทลีใน พ.ศ. 1106
(ปัจจุบันยังมีชื่อตำบลคันโทลี (คันทลี) อยู่ทางตอนเหนือของอำเภอไชยา
คันโทลีเป็นประเทศเล็ก ๆ แถบไชยา ก่อนสมัยศรีวิชัย)
พงศาวดารเหลียงนับเมืองคันโทลีตามหลังจัมปาและกัมโพชา มาตวนหลิน แต่นับพานพาน
หลั่งยะสิวและโปลิ ใกล้เคียงยุคเดียวกับคันโทลีในยุคสมัยพานพาน มีเมืองเล็ก ๆ
ที่ค้นโทลี แต่เมืองนครโพธิ์เกิดขึ้นมาใน พ.ศ. 1200 คันโทลีก็ไม่มีแล้ว
นักโบราณคดีชาวอินเดีย ชื่อ มชุมธาร
ได้รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องของสุวรรณทวีป
กล่าวว่าสุวรรณทวีปคือคาบสมุทรมาลายูตอนเหนือตลอดจนหมู่เกาะมาลายู
อาณาจักรศรีวิชัยเมืองหลวงอยู่ทางตอนเหนือคือที่ไชยา
โบราณวัตถุและโบราณสถานต่าง ๆ ที่ค้นพบว่า
เมืองไชยาคือเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยจากศิลาจารึกหลักที่ 23
ที่ได้จากเมืองไชยา ส่วนศิลาจารึกที่ 24 ที่ได้จากวัดเสมาเมือง
นครศรีธรรมราชกล่าวถึงพระเจ้าจันทรภานุ ศรีธรรมราชครองกรุงตามพรลิงค์
(นครศรีธรรมราช)
ในศิลาจารึก เป็นหลักฐานสำคัญมากของที่ตั้งอาณาจักรศรีวิชัย
ในอักษรที่จารึกพระเจ้ากรุงศรีวิชัยได้รบมีชัยชนะขยายอาณาเขตไปได้กว้างไกล
จึงได้สร้างปราสาทอิฐขึ้นมาสามปราสาทเพื่อเป็นพุทธบูชาแก่พระโพธิสัตว์ผู้ผจญพญามาร
พระโพธิสัตว์ปัทมปานี พระโพธิสัตว์วัชรปามี
ปราสาททั้งสามนี้กล่าวกันว่าสวยงามมาก ยังกับปราสาทเทพในสรวงสวรรค์
พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธแพร่หลายไปประเทศใกล้เคียง
เจ้าผู้ครองนครศรีวิชัยได้สร้างศิลาจารึกและปราสาทอิฐที่ไชยาเมื่อ พ.ศ. 1318
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1322
พระเจ้ากรุงศรีวิชัยได้ไปรบชนะชะวา
จึงได้สร้างเจดีย์กาลาสันซึ่งมีรูปแบบเจดีย์คล้ายกับปราสาทอิฐที่วัดแก้ว
ไชยาพร้อมกับสร้างศิลาจารึกไว้ด้วย
โบราณสถานที่แสดงว่าไชยาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย
มีการสร้างปราสาทอิฐเจดีย์ที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยสร้างไว้ในชะวาทางใต้และยังได้สร้างเจดีย์จามที่จัมปาทางตะวันตกเหมือนกับปราสาทอิฐวัดแก้วซึ่งเป็นปราสาทที่สร้างถวายพระโพธิสัตว์ถือวัชระ
นอกจากนั้นพระเจ้ากรุงศรีวิชัย ยังไดสร้างปราสาทอิฐวัดเวียง
และปราสาทอิฐวัดหลวงซึ่งแบบอย่างการก่อสร้างสวยงามประณีต
อิฐที่ใช้ต่อกันสนิทโดยไม่ใช้ปูนติด สร้างแบบเดียวกับที่เจดีย์วัดแก้ว
ที่เจดีย์วัดหลงพบนามดารารัศมีสัมฤทธิ์ ซึ่งคู่กับพระโพธิสัตว์อยู่ในปราสาทนี้ด้วย
โบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยที่พบในไชยามีมากกว่าแหล่งอื่น ๆ
รูปแบบลักษณะของศิลปวัตถุมีความงดงามในพุทธศิลป์ พบอยู่ทั่วไปในเขตไชยา
พระโพธิสัตว์เอวโลกิเตศวรสัมฤทธิ์สององค์กล่าวกันว่าสวยงามหาที่ติมิได้
ลักษณะงามควรค่าแก่นครหลวงศรีวิชัย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรศิลาพบที่วัดบรมธาตุ
อีกองค์หนึ่งพบที่วัดศาลาทึง พระพุทธรูปศิลาสัมฤทธิ์
พระพุทธรูปนาคปรกสัมฤทธิ์พบที่วัดเวียง นางดารารัศมีสัมฤทธิ์พบที่วัดหลง พระพิมพ์เทวรูปพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยพบอีกจำนวนมาก
ซากโบราณสถานต่าง ๆ ในไชยา ที่ยังเหลือหลักฐานอยู่มีซากกแพงเมือง
หลักเมือง วัดเวียง และซากอิฐทั่วเมืองไชยา
มีผู้พบทองคำแท่งหนักแท่งละยี่สิบห้าบาทสองสลึก
จำนวนสามแท่งอยู่ในดินลึก ซึ่งตรงกับพงศาวดารจีนที่บันทึกว่าอาณาจักรประเทศสัมฮุดซีใช้แท่งเงินแท่งทองในการค้าขายพระราชาให้เก็บภาษีแล้วหลอมเป็นทองแท่งโยนใส่บ่อน้ำหน้าพระที่นั่ง
และยังมีการพบเงินเฟื้องลักษณะก้อนกลม มีตัวอักษร น. เหมือนในศิลาจารึกหลักที่ 23
ที่พบที่ไชยากล่าวไว้เงินเฟื้องพบในที่ต่าง เช่น บ้านเวียง บ้านท่าโพธิ์
บ้านพุมเรียง เสวียต
คนที่สืบเชื้อสายพราหมณ์จากสมัยศรีวิชัยยังมีตระกุลพราหมณ์ที่บ้านท่าทุ่น
ทายาทของพราหมณ์สืบทอดการทำหน้าที่พราหมณ์ในพิธีหลวงจนทุกวันนี้
ส่วนชื่อไชยาคงใช้เรียกย่อมาจากคำหลังว่า
ศรีวิชะยะด้วยสำเนียงของคนพูดภาษาทางภาคใต้คำนำหน้ามักขาดหายไป เช่น
พูดคำว่าเมืองนครเป็นเมืองคร พูดคำเมืองพัทลุงเป็นลุง ในอำเภอพุนพิน
ยังมีภูเขาซึ่งภูเขาศรีวิชัยอยู่ในเขตเมืองไชยา
ทำให้เรารู้ถึงความรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัย
ที่เมืองไชยาว่ามีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตเป็นมาอย่างไร