4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (4)
สุวรรณภูมิตลาดค้าขาย ศูนย์กลางของนานาชาติ
ในแถบถิ่นสุวรรณภูมิ ที่เป็นเมืองท่าค้าขายของชนชาติต่าง ๆ ทั้ง
จีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย และกรีก ตั้งแต่ พ.ศ. 200-800 สมัยพระเจ้าอโศก
จัดส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา พระองค์ได้ส่งพระอรหันต์ชื่อ พระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ
เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิอันประกอบด้วยดินแดนของประเทศไทย มอญ เขมร
ญวน ตลอดคาบสมุทรมาลายู
สุวรรณภูมิ คำนี้หมายถึงดินแดนที่มีทองอุดมสมบูรณ์
ส่วนคำภาษาจีนคือกิมหลิน
หมายถึงดินแดนที่มีทองอุดมเหมือนกับพงศาวดารจีนโบราณเรียกสุวรรณภูมิว่า กิมหลิน
เรียกสุวรรณทวีปว่า กิมจิว
ดินแดนสุวรรณภูมิโบราณมีการศึกษาชนชาติต่าง ๆ
ที่อยู่ในสุวรรณภูมิว่าเป็นชนเชื้อชาติใด
นักโบราณคดีต่างอ้างหลักฐานของกลุ่มชนเชื้อชาติเดิม
ที่ขุดค้นโครงซากกระดูกของคนโบราณสมัยยุคหินที่บ้านเก่ากาญจนบุรี ที่บ้านเชียง
อุดรธานี อายุหลายพันปี
ชนชาติที่อพยพมากจากอินเดียใต้ มีผิวดำเชื้อชาตินิกริโตและพวกมาจากทางเหนือของจีน
เชื้อชาติมงโกลอยด์ มีผิวเหลืองและขาวจากดินแดนยูนาน
ในวรรณคดีอินเดียเรียกพวกชาติพันธุ์ดำว่ามิลักขะ
เรียกชนผิวขาวที่ลงมาจากยูนานว่าพวกนาค
ชนทั้งสองเชื้อชาติได้ผสมพันธุ์กันเป็นพวกเชื้อชาติออสโตรเนเซียน
อินโดเนเซียน มอญ เขมร พวกจาม ละว้า ไทยใต้ ชะวาบางพวก สุมาตราบางพวก บาลี
และฟิลิปปินส์บางพวก
สุวรรณภูมิในสมัย พ.ศ.200-800 วรรณคดีอินเดียกล่าวว่า
ดินแดนสุวรรณภูมิอันกว้างใหญ่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป
บางสมัยแบ่งแยกออกเป็นหลายประเทศ บางสมัยรวมเป็นประเทศใหญ่สองสามประเทศ
ประเทศในสุวรรณภูมิเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า
ที่ตะโกลา (ตะกั่วป่า) ทางด้านตะวันตกของทะเลอันดามันกับเมืองซาบา (ไชยา)
ทางด้านตะวันออกอ่าวไทย
มีการขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรมาอีกฝั่งหนึ่งเป็นการสะดวกปลอดภัยกว่า
ที่จะเดินทางอ้อมช่องแคบมะลากา แหลมมาลายูซึ่งมีโจรสลัดชุกชุม
ประเทศพนม ในราว พ.ศ. 700 ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในอินโดจีน
ทางตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละ (เขมร) ถัดจากเจนละคือประเทศกิมหลิน
ทางทิศเหนือของประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน
พระเจ้ากรุงพนมได้ยกทัพเรือมาตีประเทศทางคาบสมุทรมาลายูได้ ประเทศกิมหลินราว พ.ศ.
973 ประเทศเหล่านี้ก็ขึ้นเป็นประเทศราชของประเทศพนม
หลังจากเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ประมาณ 500 ปี
จากเรื่องศรีวิชัย ยวา แอนด์ กตาหะของเจ แอลโมนส์ เขียนไว้ว่า
พงศาวดารจีนได้แยกสุวรรณภูมิคาบสมุทรมาลายูเป็นสองส่วน ตอนเหนือเรียกกิมหลินเหนือ
อ่าวไทยและส่วนใต้กิมจิว (สุวรรณทวีป) หมายถึงคาบสมุทรมาลายูส่วนเหนือและส่วนใต้
คาบสมุทรนี้ถูกเรียกว่าเกาะเงินเกาะทอง
แร่เงินที่ขนไปประเทศจีนมาจากที่นี่
มีการขนแร่เงินไปอินเดียทางทิศตะวันตก
ข้ามคาบสมุทรไปอินเดียโดยใช้ช้างซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นพาหนะขนส่ง
คาบสมุทรนี้บางทีก็เรียกยวาทวีปหรือสุวรรณทวีป ชื่อนี้ภายหลังเรียกสุมาตรา
เมื่อขุดพบทองคำที่สุมาตรา
ในจารึกของสุวรรณภูมิ พ.ศ. 1829
สุวรรณภูมิหมายถึงแดนทองที่ไหนก็ได้ จึงได้เรียกหมายถึงสุมาตราดังจารึก ใน พ.ศ.
1829 ปฏิมาอโมขมาศ พร้อมด้วยสาวกสิบสามองค์ได้นำจากชะวามาสู่สุวรรณภูมิ (สุมาตรา)
คระอำมาตย์ทั้งสี่ได้รับคำสั่งจากพระมหาราชาธิราช ศรีกรตนาคร วิกรมธรร โมตุงคเทวะ
ของขวัญนี้ก่อให้เกิดความปิติดีใจใหญ่หลวงแก่บรรดาชาวเมืองมาลายู พราหมณ์ กษัตริย์
ไวศย และศูทร และเหนือผู้อื่นใดแก่พระมหาราชศรีมัต ไตรภูวนราช เมาฬิวรมเทวะ
พระพุทธรูปปฏิมานี้ประดิษฐานในธรรมมาศรัย
พระเจ้าธรรมเจดีย์ (ปีฏกธร) กษัตริย์มอญใน พ.ศ. 2019
ได้จารึกในศิลาจารึกกัลยาณีในประเทศมอญไว้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ 236
พระวัสสา พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในรามัญประเทศ
(ประเทศสุวรรณภูมิของพระเจ้าศิริมาโศก)
ประวัติศาสตร์มอญและพม่าจึงอ้างสุวรรณภูมิคือประเทศมอญ
หลังจากพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระเผยแพร่ศาสนาในสุวรรณภูมิ
กาลต่อมาดินแดงแห่งนี้ยังรักษาความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาการปฏิบัติธรรมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
ในสมัยพระเจ้าอโศก ยังไม่มีการคิดทำพระพุทธรูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นบูชา
มีแต่การสร้างสถูปเจดีย์ และศิลาจำหลักเป็นภาพชาดก
ภาพพุทธประวัติรอยพระพุทธบาทธรรมจักรมีรูปกวาง พระแท่นแทนพระพุทธองค์มีเสมา
เป็นเครื่องหมายของพระพุทธศาสนา
สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ทรงให้เหตุผลในโบราณวัตถุของนครปฐม
นครปฐมเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิในสมัยพระเจ้าอโศก
พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิในสมัยพระเจ้าอโศก
พระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์แห่งแรกในภูมิภาคนี้
นครปฐมมีโบราณวัตถุที่เก่าแก่กว่าที่อื่นใด เช่น ศิลาธรรมจักร ศิลปะอมราวดี
จากดินแดนอมราวดีแห่งลุ่มแม่น้ำกฤษณากับแม่น้ำโคธาวารีในอินเดียใต้
ที่เป็นศูนย์กลางแพร่พุทธศาสนาได้เข้ามาในสุวรรณภูมิแถบนครปฐมในสมัย พ.ศ. 663-675
มีผู้พบศิลาจำหลักเป็นภาพเรื่องปฐมเทศนาขนาดใหญ่ที่นครปฐมสองภาพ
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่นครปฐมในพระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปโปรดสัตว์ที่พงตึก
นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ที่นครราชสีมา ศิลปแบบอมราวดีพระพุทธรูปจีวรทำเป็นริ้ว
ๆ พระพุทธรูปอมราวดีนี้ยังพบที่อินโดจีน สุมาตรา ชะวา และเก่าะซีลีบีส
แสดงให้เห็นว่าศิลปอมราวดีวัฒนธรรมอินเดียได้แพร่หลายไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ