ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตไชยา สุราษฎร์ธานี : ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (5)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระบรมธาตุไชยา   สุราษฎร์ธานี

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระบรมธาตุไชยา  สุราษฎร์ธานี (5)

ไทยชะวา ในยวาทวีป (สุวรรณภูมิ)

                ดินแดนสุวรรณภูมิหรือดินแดนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับอิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียใต้ ไม่ว่าจะเป็นอักขระภาษา การก่อสร้าง ประติมากรรม การรู้จักใช้เหล็ก การปั่นฝ้าย การแต่งกาย ศาสนา

                ทางชมพูทวีปเรียกดินแดนนี้ว่า อินเดียนอก ได้รับวัฒนธรรมจากพวกลิงค์ ปัลลวะ และโจฬะ จากอินเดียใต้ ดินแดนเอเชียใต้มีชนหลายชาติอพยพมาอาศัยอยู่จากจีน อินเดีย นักเผชิญภัย พ่อค้าเดินทางมาทางเรือมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินปะปนกัน

                พวกไทยชะวา นักโบราณคดีว่าเป็นชนชาติโบราณชาติหนึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบภูเขาหิมาลัย ยูนาน อินโดจีน มาลายู และหมู่เกาะต่าง ๆ ภาษาพูดคล้ายภาษามอญ เขมร และจาม

                หนังสือโบราณคดีของอินเดียเรียกนิกริโตและอินเดียใต้ว่ามิลักขะ เรียกพวกอินโดจีนว่าพวกนาค เรียกดินแดนแถบคามสมุทรมาลายูตอนเหนือว่า ยวาทวีป เรียกคาบสมุทรมาลายูตอนใต้ว่ามาลายูทวีป

                ตำราของพราหมณ์ ได้กล่าวถึง ทวีปต่าง ๆ ในโลกประกอบด้วยทวีป 7 ทวีป คือ ชมพูทวีป สกะทวีป กุสะทวีป สัลมาสะทวีป กรันจะทวีป โกเมทะทวีป และปุษกระทวีป มีมหาสมุทรทั้งเจ็ดล้อมรอบ

                คำว่า ทวีป นักโบราณคดีมักตีความหมายถึงดินแดนที่มีน้ำล้อมรอบ เป็นเกาะกลางน้ำ คำว่าทวีปในภาษาอินเดียเรียกชมพูทวีป หมายถึงดินแดนที่มีน้ำทั้งสองด้าน ทางตอนเหนือมีเขาพระสุเมรุ (ภูมิหิมาลัย) คำว่าทวีปย่อจากคำว่า ทิวและอปะ หมายถึงพื้นดินที่มีน้ำอยู่สองด้าน หมายถึงคาบสมุทรหรือดินแดนระหว่างน้ำสองสาย ในหนังสือพงศาวดารจีนใช้คำว่า จิว แทนเกาะหรือดินแดนบนคาบสมุทร

                ในคัมภีร์รามายณะ มีการกล่าวถึงการข้ามทะเลจากอินเดียมายังนอกแดนอินเดีย กล่าวถึง สุครีพส่งกองเรือออกค้นหาผู้ลักนางสีดา การค้นหาเริ่มไปทางทิศตะวันออกแล้วลงใต้กลับมาทางทิศตะวันตกจึงวกกลับขึ้นทางเหนือ

                การไปยังยวาทวีป ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศทั้งเจ็ดทวีปที่อุดมไปด้วยแร่เงินแร่ทอง เต็มไปด้วยบ่อทอง

 

                ใน วยุ ปุราณะ กล่าวถึงประเทศต่าง ๆ ในชมพูทวีปอีกหกประเทศ คือ อังควาทีป ยมทีป (ยวาทวีป) มลัยทวีป สังขทวีป กุสทวีป และวราหทวีป

                ในอังคาทวีป มีพวกมิลักขะเผ่าต่าง ๆ มีแต่น้ำ ต้นไม้ ป่าไม้ ภูเขาอุดมสมบูรณ์มาก มีบ่อทองและกัลปังหาซึ่งอยู่ใกล้ทะเลหลวงในใจกลางนาคเทศ (ประเทศของพวกนาค) มีภูเขาชื่อจักรคีรี มีน้ำตกและถ้ำมากมาย สองข้างแผ่นดินเป็นทะเลลวง

                ยมทวีป มีบ่อแร่มากมาย มีภูเขาชื่อทยุติมาน ที่กำเนิดของแม่น้ำสายต่าง ๆ และบ่อทองคำ

                มลัยทวีป มีบ่อแร่เพชรบ่อพลอย มีแร่เงิน มีภูเขาที่เลื่องชื่อ เช่น ภูเขาหิมาลัย เป็นภูเขาที่สวยงามมากเต็มไปด้วยดอกไม้ผลไม้เป็นที่อยู่ของเทวริส (พระผู้เป็นพระอรหันต์) เป็นที่อยู่ของ อัสตยะ ผู้ที่เป็นที่เคารพของเทพและอสูร

                นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า อังคทวีป คือ นครจัมปา ยมทวีปคือยวาทวีป ประเทศพนมคือภาคอิสานของไทย ในสมัยที่ประเทศพนมรุ่งเรืองมีดินแดนตลอดอินโดจีน อังคทวีปจึงควรเป็นอินโดจีนจากประเทศมอญไปจดจัมปา ซึ่งเป็นประเทศของไทยชะวาและไทยจุฬนี ยวาทวีปควรจะเป็นคาบสมุทรมาลายูส่วนเหนือ ส่วนมลัยทวีปควรเป็นคาบสมุทรมาลายูส่วนใต้

                ในตำนานพระบรมธาตุจอมทอง ในสมัยพุทธกาลกล่าวไว้ว่า “ดอยจอมทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา ห่างประมาณ 27 โยชน์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเมือง ๆ หนึ่ง ชื่อเมืองอังครัฏฐ (อังคนคร) ห่างจากเมือง 500 วา มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อสมิงคนที (แม่น้ำปิง) มาจากทางเหนือไหลผ่านดอยจอมทองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 15 วา มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อสักการะนที (แม่น้ำแม่กลอง) ไหลจากดอยลูกหนึ่งชื่ออังคสักการะ (ดอยอังกาหรือดอยอินทนนท์) ผ่านดอยจอมทองทางทิศตะวันตก ห่างจากเชิงดอย 300 วา แล้วไหลลงแม่น้ำสมิงคนที ที่ตำบลสบเตียะทางทิศใต้ดอยจอมทอง

                เมืองอังครัฏฐะมีเจ้าผู้ครองนครชื่อพระยาอังครัฏฐะ มีบุญญาธิการอำนาจมากนัก มีเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริวาร พลโยธาตั้งบ้านเรือนอยู่สองข้างแม่น้ำทั้งสองสาย มีหมู่บ้านแปดหมื่นตระกูล...”

                บันทึกของภิกษุฮวนเจียง พ.ศ. 1172 กล่าวถึงประเทศแถบอินโดจีนว่า “ต่อจากศรีเกษตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรมีประเทศกามลังกะ ต่อไปทางทิศตะวันออกมีประเทศทวาราปติ (ทวาราวดี) ไปทางตะวันออกอีกมีประเทศอิศาณปุระ (เขมร) ต่อไปทางตะวันออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ คือประเทศเยม โมนาจิว (ยมนทวีป คือยมทวีป หรือ ยวาทวีป)

                การขนส่งอินเดียข้ามคาบสมุทรมาลายูสมัยโบราณ เรือที่ใช้บรรทุกส่วนมากเป็นเรือขนาดเล็กไม่สามารถบรรทุกสินค้าได้มากการเดินทางข้ามช่องแคบต้องผจญล้มมรสุมเรืออาจอับปางได้ง่ายและภัยจากพวกโจรสลัดที่มีอยู่ชุกชุมในช่องแคบมะละกา การขนส่งจึงต้องใช้ขนถ่ายขึ้นบกทางคาบสมุทรมาลายูตอนเหนือ

                การค้าขายสมัยโบราณในสุวรรณภูมิ พ่อค้ามักจะมาซื้อขายกันในชายฝั่งเหนือคาบสมุทรมาลายู สมัยก่อนด่าวไทยเว้ากว้าง มีผู้พบพวกเปลือกหอยจำนวนมากในแผ่นดินที่วัดเจดีย์หอย ปทุมธานี และพวกเปลือกหอยใต้เชิงเขาสมรคอนในจังหวัดลพบุรี

                การข้ามคาบสมุทรนี้แต่เดิมอยู่ทางตอนเหนือของนครปฐม มีการขุดค้นโคมโรมันที่พงตึกอำเภอบ้านโป่งในจังหวัดราชบูรี การขุดค้นตะเกียงโรมันที่นครปฐม

                แสดงว่าแถบนี้เคยเป็นเมืองท่าเก่าแก่มาก่อน พ่อค้าที่ขนเครื่องเคลือบดินเผาจากประเทศจีน ขนขึ้นฝั่งไทยแล้วมีพ่อค้าจากทางตะวันตก พ่อค้าอินเดียอาหรับ เปอร์เซีย กรีก ขนข้ามช่องแคบ  ๆ ที่สุด บรรทุกไปอินเดีย เปอร์เซีย สู่ทะเลแดง ไปยังเมืองไคโรของอียิปต์ คอนสแตนติโนเปิลของตุรกี เวนิชของอิตาลี และอังกฤษ

                ต่อมาเมื่อมีเรือกำปั่นขนาดใหญ่มากขึ้น ก็กล้าที่จะเดินข้ามมาทางช่องแคบมะละกา การเดินเรือใน พ.ศ. 600-1000 จึงมาขึ้นที่ท่าตะโกลา (ตะกั่วป่า) และซาบา (ไชยา)

                ต่อเมื่อ พ.ศ. 1000-1700 การเดินเรือจึงมาอยู่ที่โมโลยู (กลันตัน) กาจา (ไทรบุรี) ปัจจุบันความเจริญของเมืองที่ท่าสำคัญอยู่ที่สิงคโปร์ โดยที่ไม่ต้องข้ามคาบสมุทรตอนบนอีกต่อไป

                คาบสมุทรแดนทอง ตลาดเมืองท่า

                จดหมายเหตุโรมันและกรีก กล่าวถึงดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนว่าเป็นแดนทอง อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของโลก ตรงกับที่พระอาทิตย์ขึ้น

                ดินแดนนี้มีสินค้าอย่างดีที่สุดที่หาได้ตลอดดินแดนมหาสมุทรอินเดีย เรียกแดนทองว่า (ไครเส) คือดินแดนตะวันออกของอ่าวมะตะบัน คาบสมุทรทองหรือแดนทอง คือคาบสมุทรมลายูในบันทึกว่า ไครเส อยู่ทางตอนใต้ของอารจีรา (อารกัน) อยู่ใกล้อ่าวมะตะบัน ดินแดนอารจีรามีบ่อเงินทอง ส่วนไครเสมีบ่อทองมาก

                คาบสมุทรทองเริ่มมีเมืองท่าตะโกลา (ตะกั่วป่า) ต่อจากทางแหลมเบราไบ (วิคตอเรีย ปอยน์) มาถึงเมืองบลังกา (ลังเกียใกล้ชุมพร) ต่อจากนั้นถึงดินแดนพวกเลสไต

                ในคาบสมุทรทองที่เรือของเปอร์เซีย กรีก จีน อินเดีย มาแวะคือตะโกลา (ตะกั่วป่า) ปลันดา (ประเหลียน) โคสิ (กลันตัน) เปอริเมาลา (นครศรีธรรมราช) ซาบา (ไชยา) ตะโกรา (ตะโกใกล้สวี) บลังกา (ชุมพร)

                ทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรทองที่เรือเปอร์เซีย กรีก จีน อินเดีย มาแวะคือ ตะโกลา (ตะกั่วป่า) ปลันดา (ปะเหลียน) โคลิ (กลันตัน) เปอริเมาลา (นครศรีธรรมราช) ซาบา (ไชยา) เป็นเมืองที่สำคัญมากเป็นตลาดค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ระยะทางจากซาบาไปยังคัตติการา (ฮานอย) 20 วัน

 

ประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (5)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี (5)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์