4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระบรมธาตุซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุไชยาในตำบลเวียง
อำเภอพุมเรียง เมืองไชยาเก่า
พระบรมธาตุสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณนับได้กว่าพันปี
ตามหลักฐานศิลาจารึกพระพุทธรูป ต่าง ๆ
ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างเพราะไม่มีการบันทึกไว้ถึงจะมีการซ่อมแซมเมื่อองค์พระบรมธาตุชำรุดทรุดโทรมก็ไม่ได้มีการจารึกให้รู้ไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งล่วงมาเป็นเวลานาน ชนชั้นหลังไม่สามารถจดจำบันทึกการเริ่มต้นเพื่อชนรุ่นต่อ ๆ
ไป
การสร้างพระบรมธาตุถึงจะเป็นองค์พระธาตุไม่ใหญ่โตนักอยู่ในตำบลที่ห่างไกลจากตัวเมือง
แต่เมื่อดูศิลปของช่างโบราณที่สร้างขึ้นอย่างวิจิตร ประณีตสวยงามมาก
คงเป็นเจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้นที่มีบารมีกำลังไพร่พล พาหนะมากมาย
จึงสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง
ความสามารถของช่างโบราณที่ทำพระเจดีย์
ไม่ได้ใช้ปูนเป็นบายสอผูกอิฐเลย
เขาใช้ป่นอิฐให้ละเอียดใส่ไปตามช่องระหว่างแผ่นอิฐอย่างใช้ปูน แต่อิฐก็แข็งตัวได้ดี
ในที่หมิ่น ๆ ไม่หลุดและเคลื่อนได้ง่าย ๆ ถึงตอนแรกจะใช้ของเหนียว ๆ เจือปน
แต่กาลเวลาล่วงเลยมานานของเหนียวหมดอายุลงแต่ไม่ว่าตรงที่ใดถึงจะมีรากไม้ขึ้นเบียดเบียนทำให้แตก
ก็ไม่ค่อยมีอันตรายเท่าใดการใช้บายสอทำยากมากแต่ก็ทนดีกว่าปูน
อิฐที่ใช้เผาไฟมีความคงทน
ภายหลังเมื่อมีการซ่อมแซมใช้อิฐใหม่เข้าไปแต่ก็ผุพังอิฐเดิมยังมั่นคงอยู่ในสภาพดี
วิธีก่อองค์พระบรมธาตุ จะเอาอิฐเข้าก่อปรับถูรอยเหลี่ยมให้เท่ากัน
และนำเอาศิลามาใช้แทนอิฐในที่สำคัญ ๆ เช่น วงกรอบ ซุ้มประตูและยอด เป็นต้น
ที่รอยต่อของศิลาต่อศิลายังใช้ศิลาเป็นแกนอีกด้วย
การทำลวดลายไม่ได้ใช้พอกหรือปั้นปูนเลย หรือการปั้นลายในขณะดินเปียกแล้วเผา
การสลักลวดลายสลักลงในอิฐเมื่อก่ออิฐเสร็จเป็นรูปร่าง จากนั้นก็ขัดทั่วทั้งองค์
แล้วลงรักปิดทองปัจจุบันยังมีร่องรอยของรักและทองติดอยู่กับอิฐหลายแห่ง
รูปลักษณะของพระธาตุ
องค์พระธาตุเท่าที่วัดได้สูงจากฐานใต้ดินถึงยอดสุด 24 เมตร
ความกว้างของฐาน 13 เมตร ยาว 18 เมตร
ตอนต่อจากพื้นขึ้นไปถึงองค์หอระฆังลดชั้นมีหน้าบันหน้ามุข และมีบราลีทุก ๆ ชั้น
แต่บราลีมักทำเป็นรูปเจดีย์เล็กๆ ตลอดทรวดทรงของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์นี้
คนทั่วไปต่างชมว่าพระบรมธาตุนี้สวยงามวิจิตรกว่าที่อื่น
ถึงจะเป็นเจดีย์ที่ไม่สูงใหญ่แต่ก็มีลวดลายลดหลั่นชั้นเชิงชดช้อย
กำแพงพระระเบียงเป็นรูป4 เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 19 วา
ต่อมาเป็นกำแพงชั้นนอกยาว 50 วา กว้าง 27 วา สูง 3 ศอก
ตามระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปศิลา ล้อมรอบพระบรมธาตุส่วนมากชำรุดนับได้ 180 องค์
พระพุทธรูปเหล่านี้ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน
ฐานเจดีย์ระหว่างพระเวียนเดิมโบราณเคยปูด้วยอิฐหน้าวัว
ปัจจุบันยังเหลืออยู่บางส่วนเจดีย์เล็กส่วนมากยอดพังเสียหายหมดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
มีวิหารเรียกว่าวิหารปาก ก็หักพังเหลือแต่พระพุทธรูปศิลาแดง
ปางสะดุ้งมารหน้าตักกว้าง 7 ศอก
ส่วนวิหารต่าง ๆ มี
วิหารทางทิศตะวันออก เรียกว่า วิหารหลวง
อยู่ในเขตระเบียงมีพระพุทธรูปใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก
หลายองค์ทั้งพระพุทธรูปขนาดใหญ่และย่อม
นอกกำแพงชั้นนอกทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีโบสถ์ พรหมณ์
มีพระพุทธรูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์ พระอิศวรปัจจุบันได้นำมาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
ทิศตะวันตกของพระบรมธาตุ มีพระอุโบสถ ติดต่ออกไปจากกำแพงระเบียง
องค์พระธาตุไชยา เป็นเจดีย์สมัยศรีวิชัย สร้างตามลัทธิมหายาน
ประมาณปี พ.ศ.1300 สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจ แผ่ปกครองตั้งแต่เมืองไชยา
จนตลอดแหลมมาลายู องค์พระบรมธาตุตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารหลวง
มีระเบียงคดล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ตรงฐานพระบรมธาตุขุดเป็นสระกว้างประมาณ 50 ซม.
ลึกประมาณ 60-70 ซม. จนมองเห็นฐานเดิม การสร้างด้วยอิฐโบกปูน
ก่อนที่จะทำการบูรณะในสมัยพระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)
ฐานของพระบรมธาตุจมอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน จะมีน้ำขังอยู่โดยรอบฐานตลอดทั้งปี
บางปีหน้าแล้งน้ำแห้งจะมีตาน้ำผุผุดขึ้นมา
ชาวบ้านแตกตื่นพากันมาตักน้ำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
เพราะถือว่าเป็นน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์
ต่อมาทางวัดเกรงว่าน้ำจะซึมมากัดเซาะฐานพระบรมธาตุอาจได้รับความเสียหาย
จึงเอาปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำนั้นเสีย
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรมุขย่อมุม
มุขด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเปิด มีบันไดขึ้นไปด้านในมีพระพุทธรูปภายในเจดีย์
เมื่อเข้าไปด้านในจะเห็นองค์เจดีย์กลวง มุขทั้งสามด้านทึบหมด
ผนังอิฐที่ก่อขึ้นไปแบบไม่สอ เรียงลดหลั่นขึ้นไปจนถึงยอดเจดีย์
ที่มุมฐานของพระบรมธาตุ มีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่
หลังคาทำเป็นสามชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป
ในแต่ละชั้นประดับวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลอง 24 องค์
เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดเดิมหักชำรุดพังลงมาหมด
การซ่อมแปลงใหม่ในรัชกาลที่ 5 ได้ขยายยอดให้สูงขึ้นกว่าเดิม
เริ่มที่คอระฆังทำเป็นดอกบัวขนาดใหญ่ องค์ระฆังเป็นรูป 8
เหลี่ยมเหนือถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์บัวกลุ่ม และปลียอดตามลำดับ
เฉพาะที่ปลียอดเดิมหุ้มด้วยเงิน
เหนือปลียอดขึ้นไปประดับด้วยทองคำปรุ 3 ชั้น ฉัตรนี้ของเดิมหุ้มด้วยทองคำหนัก 82
บาท 3 สลึง แต่ได้ถูกคนร้ายลักลอบเอาไป ทางวัดจัดทำขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2481
เป็นทองวิทยาศาสตร์ขึ้นประดิษฐานแทน
ปัจจุบันได้ทำฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานแทนของเก่าแล้ว
ลวดลายที่ปะดับเจดีย์ที่ซุ้มจรนำหรือซุ้มวงโค้งรูปเกือกม้า (กุฑุ)
ประดับอยู่ส่วนบนหลังคาของพระบรมธาตุสลับกับรูปสถูปจำลอง
ของเดิมสลักในแผ่นอิฐเป็นรูปหน้าคน มีลายรูปมังกรหรือหน้ากาลประดับ
การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5
มีการซ่อมแปลงซุ้มด้วยปูนปั้น ลวดลายที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นของใหม่ผสมของเก่า
พระยาธนกิจรักษาได้พรรณนาถึงลักษณะเจดีย์พระบรมธาตุ
ไว้ในหมายเหตุการณ์เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ รัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2458
ไว้ดังนี้
พระธาตุองค์นี้เป็นเจดีย์ย่อมกว่าที่เมืองนครศรีธรรมราช
และฐานอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน
เป็นฐานสี่เหลี่ยมมีน้ำขังอยู่รอบฐานแต่ก่ออิฐถือปูนไว้เป็นเขื่อนกั้นไว้โดยรอบบนฐานมีซุ้มปั้นลาย
ซุ้มด้านหน้ามีพระพุทธรูปแลตราแผ่นดินรัชกาลที่ 5
ด้านหลังเป็นเทพประนมด้านข้างเป็นช้าง 3 เศียรและนกยูง มีรูปสิงห์รูปเหรา
รูปผีเสื้อ ดูลายเก่าทับลายใหม่ปนกัน ตอนบนเป็นพระเจดีย์กลม ยอดปลีหุ้มทองคำ มีฉัตร
3 ชั้น
เจดีย์พระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่กลางลานล้อมรอบด้วยระเบียบคด
ที่มุมลานมีเจดีย์รายรวม 4 องค์ พื้นลานเจดีย์ระหว่างเจดีย์ถึงวิหารคด
เดิมโบราณปูด้วยอิฐหน้าวัว การซ่อมแซมในรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องซีเมนต์
ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องดินเผา
พระวิหารคด
พระระเบียงหรือวิหารคด รอบเจดีย์พระบรมธาตุไชยา
มีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 39 เมตร สูง 4 เมตร
ภายในระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ขนาดและปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 180
องค์ มีพระเจดีย์ หอระฆัง และมณฑปภายในวิหารคด
ที่ภายในประดิษฐานรูปปั้นทองเหลืองของพระไชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)
ผู้บูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา ในสมัยรัชกาลที่ 5
พระวิหารหลวง
พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา
สร้างยื่นล้ำเข้าไปในพระวิหารคด
ภายในพระวิหารหลวงมีพระรูปน้อยใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์
ด้านหลังพระวิหารหลวงด้านตะวันตก เดิมเป็นห้องลับแล สำหรับนมัสการพระบรมธาตุ
ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี
(วัดพระบรมธาตุไชยา) สำหรับแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ
แล้วยังใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและประชุมคณะสงฆ์
พระอุโบสถ
พระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุไชยาอยู่นอกกำแพงวิหารคด
สันนิษฐานว่าสร้างใน พ.ศ. 1330 สมัยอาณาจักรศรีวิชัย เขตพันธสีมากว้าง 13.15 เมตร
ยาว 18.80 เมตร แต่เดิมมีใบพันธสีมาใบเดียว เรียงรายรอบพระอุโบสถ จนถึง พ.ศ. 1800
พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาได้แผ่เข้ามา
พระสงฆ์ลังกาได้ทำพิธีผูกพันธสีมาซ้ำในอุโบสถที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้พุทธศาสนามีความบริสุทธิ์มั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ใบพัทธสีมาจึงปักเป็นคู่แฝดโดยมากมักจะเป็นพระอารามหลวง
ด้วยเหตุนี้วัดพระบรมธาตุไชยา จึงมีใบพัทธสีมา 2 ใบ
ภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา
พระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งผิดกับพระอุโบสถทั่วไป
ที่นิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกทั้งนี้อาจเป็นเพาะเมื่อกราบไหวพระประธานในโบสถ์แล้วก็กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังไปพร้อม
ๆ กัน
พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์
พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
บนลานภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างในสมัยอยุธยา
โดยฝีมือสกุลช่างไชยา อาสน์ที่นั่งเป็นของใหม่เพื่อยกให้พระพุทธรูปสูงขึ้น
สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งพระพุทธรูปศิลาทรายแดง เดิมเป็นวิหาร
แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ชำรุดทรุดโทรมหรือจากภัยสงคราหรือภัยธรรมชาติ
จนปัจจุบันไม่มีวิหารหลงเหลืออยู่อีกแล้ว นอกจากพระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์
เศียรหักไป 2 องค์ จนกระทั่งท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ (หนู) กับพระวินัยธรรมยวด
สุริโย ได้บูรณะพระพุทธรูปทั้ง 3 จนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2478
ดังที่เห็นในปัจจุบัน
รูปปั้นหล่อ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)
พระราชทินนามเต็มว่า พระชยาภิวัฒน์ สุภัทรสังฆปาโมกข์
เป็นชาวบางมะเดื่อ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน (แม่น้ำพุมดวง) สุราษฎร์ธานี
เคยแสดงตลกหลวงหน้าพระที่นั่งในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง ได้อุปสมบทเมื่อายุ 20
ปีบริบูรณ์
ท่าได้ปกครองคณะสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผลงานที่เป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาคือ
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยา
และเสนาสนะของวัดจนสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาบูรณะ 14 ปี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลภาคใต้
นมัสการพระบรมธาตุไชยา ทรงโปรดให้พระชยาภิวัฒน์เจริญชัยมงคลคาถา
ทรงถวายน้ำมนต์ที่ฝ่าพระหัตถ์ และปะพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ลูกเสือป่า
ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลา 40 ปี จนถึง พ.ศ. 2473
จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด เพราะชราภาพ และถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 3
กรกฎาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุได้ 86 ปี พรรษา 66
เหลือแต่คุณงามความดีที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวสุราษฎร์ธานี
จึงมีการหล่อรูปเหมือนทองเหลืองของท่าน พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)
ประดิษฐานอยู่ในมณฑปวิหารคด เพื่อเป็นที่สักการบูชาของอนุชนรุ่นหลังสืบไป