4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ
พระบรมธาตุไชยา ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์
หลายครั้งตั้งแต่สมัยศรีวิชัยลงมา แต่ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานแน่นอน
พระบรมธาตุได้รับการซ่อมแซมตกแต่งเพิ่มเติมซับซ้อนกัน
จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ที่พระพุทธศาสนาลัทธิกาวงศ์ (เถรวาท)
แผ่เข้ามามีการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์พระบรมธาตุไชยาได้เปลี่ยนยอดเจดีย์ทิศหรือยอดเจดีย์บริวารเป็นหินทรายแดง
โดยทำเป็นหน้าเทวดาจตุรพักตร์เข้าใจว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ครั้งที่ 2 มีการบันทึกในสมัยพระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส)
เจ้าคณะเมืองไชยา อยู่ที่วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง ในตำนานกล่าวไว้ว่า ในพ.ศ. 2438
มีชายหนุ่มคนหนึ่งอายุ 15-16 ปี รูปร่างผอมแคระเกร็ง นุ่งห่มผ้าขาวเป็นประจำ
บ้านเดิมไม่ปรากฏหลักฐานว่าอยู่ที่ใด ได้มาพักอาศัยอยู่ที่วัดหัวเขา อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชอบช่วยเหลือทำงานช่วยวัดอยู่ทั่วไป
วันหนึ่งขณะทำการถางหญ้าแผ้วถางบริเวณเจดีย์ที่รกร้างจากการถูกวาตภัย
บังเอิญทำขื่อได้ตกลงมาชายผู้นี้ได้นำขื่อขึ้นไปตั้งไว้ที่เดิม แต่ผู้เดียว
เป็นที่น่าอัศจรรย์ ชาวบ้านพากันนับถือและเรียกชายผู้นี้ว่า ตาปะขาวนุ้ย
ครั้นนั้นมีนางคงแก้ว บ้านตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎ์ธานี
ที่ไปค้าขายทางเรือแถบนั้นมารับตัวตาปะขาวนุ้ยไปอยู่วัดดอนสะท้อน อำเภอท่าฉาง
ตาปะขาวนุ้ยก็ช่วยบูรณะซ่อมแซมวัดดอนสะท้อนจนเรียบร้อย
วันหนึ่ง ตาปะขาวนุ้ย พูดว่าอยากบูรณะซ่อมแซมพระบรมธาตุไชยา
เพราะถูกทิ้งรกร้างมานาน มีวัชพืชและต้นไม้ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด ประชาชนชาวไชยา
ชาวบ้านวัดนบทราบข่าวยินดีเข้าร่วมบูรณะด้วยชวนพรรคพวกมี นายแจ้ง นางแดง นางพลัก
นางยวง รวมกันประมาณ 10 คน ไปรับตัวตาปะขาวนุ้ย
ระหว่างเดินทางมาถึงบ่อหินหรือป่าไสเพชร ตาปะขาวนุ้ยถามผู้เดินทางว่าหิวไหม
แล้วเดินเข้าป่านำอาหารมาให้รับประทานแต่ไม่มีผู้ใดรับประทานจึงนำกลับไปไว้ที่เดิม
เหตุการณ์นี้เป็นที่น่าอัศจรรย์
ทำให้ทุกคนมีความเชื่อมั่นเลื่อมใสตาปะขาวนุ้ยยิ่งขึ้น ครั้นเดินทางมาถึงบ้านวัดนบ
ตำบลเสม็ด อำเภอไชยา ตะปะขาวนุ้ยก็พักอาศัยอยู่บ้านนายสังข์ นางหีต
แล้วพูดว่าจะขอพบหลวงแขวงคล้าย
เมื่อไปพบหลวงแขวงคล้ายก็พักอาศัยอยู่บ้านหลวงแขวงคล้าย
ระหว่างที่พักอาศัยนั้นก็ได้ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านด้วยน้ำมนต์ให้หายจากป่วยไข้หลายราย
จนเป็นนับถือของชาวบ้านมากยิ่งขึ้น
จากนั้นอีก 2-3 วัน
ตาปะขาวนุ้ยได้ชักชวนหลวงแขวงคล้ายกับชาวบ้านไปดูพระบรมธาตุไชยา
ระหว่างทางตาปะขาวนุ้ยได้หายตัวไป ชายบ้านหลายคนคิดกลับบ้าน
แต่หลวงแขวงคล้ายทัดทานไว้จนเดินทางถึงจุดหมาย
เมื่อเดินเข้าใกล้พระบรมธาตุเจดีย์ได้ยินเสียงตาปะขาวนุ้ยร้องเรียกอยู่ข้างบนพระธาตุเจดีย์
ประชาชนที่อยู่ใกล้พระบรมธาตุได้ทราบข่าวพากันมาเป็นจำนวนมาก
เมื่อตาปะขาวนุ้ยลงมาจากเจดีย์ก็ให้ไปเอามีดพร้าหัวงอที่บ้านนายกลับ
โดยที่ตาปะขาวนุ้ยไม่เคยรู้จักนายกลับเลย เมื่อมีคนไปเอามีดพร้าหัวงอ
ปรากฏว่ามีจริงตามคำบอกเล่า เมื่อตาปะขาวนุ้ยได้มีดพร้าหัวงอแล้ว ก็พูดว่า
นี่เป็นมีดพร้าหัวงอของเรา แล้วก็เริ่มโค่นตัดฟันต้นไม้ ตัดเถาเครือต่าง ๆ
บางครั้งเอาเถาตำแยเที่ยวฟาดให้ถูกผู้อื่นแต่ก็ไม่เกิดอาการคัน
ฝูงต่อแตนที่อยู่บนต้นไม้แตกรังลงมาก็ไม่ทำอันตรายกับผู้ใด
ชาวบ้านเห็นเป็นอภินิหารเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ตอนเย็นกลับมาที่พักบ้านหลวงแขวงคล้าย
ชาวบ้านที่ทราบข่าวมีความนับถือเลื่อมใส พากันมาขอน้ำมนต์จำนวนมาก
ตาปะขาวนุ้ยได้เป็นผู้นำในการปราบต้นไม้เครือเถาต่างๆ ที่รกบริเวณเจดีย์พระธาตุ
ใช้เวลาหนึ่งเดือนจึงสำเร็จ
ในการบูรณะพระบรมธาตุ
จะต้องมีทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าอาหารเลี้ยงดูคนที่มาช่วยบูรณะ
หลวงแขวงคล้ายถามว่าจะนำทุนทรัพย์มาจากใด ตาปะขาวนุ้ยบอกว่ามีอยู่ตะรางหนึ่ง (1
เล่มเกวียน) สมบัตินี้เขาฝังอยู่ใต้พระบรมธาตุมีอิฐหน้าวัวปิดอยู่ข้างบน 3 แผ่น
ถ้าขุดทรัพย์สมบัติขึ้นมาจะมีเหตุร้าย
เพราะรามีบุญบารมีน้อยไม่สามารถจะปกครองหรือห้ามปรามคนได้
แต่ก็ถูกพวกชาวบ้านรบเร้าจึงจำเป็นต้องขุด มีคนมามุงดูเป็นจำนวนมาก
ก่อนจะชุดตาปะขาวนุ้ยกับหลวงแขวงคล้ายพร้อมกับพรรคพวกประมาณ 30 คน
มาถึงวัดพระบรมธาตุ
ตาปะขาวนุ้ยได้เข้าไปในวิหารหลวงยืนข้างพระพุทธรูปด้านทิศใต้
เพ่งดูมาทิศตะวันออก
สักครู่หนึ่งจึงออกมาเอาไม้ขีดบนพื้นดินหน้าพระวิหารหลวงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส
แล้วบอกให้ขุดตรงนั้นเมื่อขุดลึกลงได้ 3 ศอกเศษ ก็พบกรุที่ปิดด้วยอิฐหน้าวัว 3 แผ่น
กรุนั้นกว้างประมาณหนึ่งเมตร สี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยอิฐดินเผา
พอจะเริ่มรื้ออิฐขึ้นมาเท่านั้น ยังไม่ทราบว่าภายใต้อิฐนั้นมีอะไรบ้าง
ฝูงชนที่เบียดเสียดกันก็ตกลงไปในหลุม
ตาปะขาวนุ้ยได้แกว่งกิ่งโพธิ์ไล่คนให้ออกไปจากกรุ
บังเอิญกิ่งโพธิ์ไปถูกศีรษะของภิกษุแตกเลือดไหล ตาปะขาวนุ้ยรักษาให้ด้วยน้ำมนต์
แต่ก็ไม่หาย ถูกเจ้าอาวาสตำหนิ พรรคพวกของภิกษุรูปนั้นก็รวมกันทำร้ายตาปะขาวนุ้ย
แต่นายแทน บ้านเจะเก ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา
เข้ามาอุ้มตาปะขาวนุ้ยออกจากสถานที่นั้นไปยังบ้านตนเอง ประชาชนก็พากันกลับบ้าน
ต่อมาศาลจังหวัดที่ตั้งอยู่ตำบลพุมเรียงได้นำตัวตาปะขาวนุ้ยมาชำระความหลวงแขวงภาพจัด
หลวงแขวงคล้ายเป็นผู้นำส่งศาลได้ตัดสินจำตรวนตาปะขาวนุ้ยอยู่สองสามวันจึงปลดปล่อยออกมา
ส่วนพรรคพวกไม่มีผู้ใดถูกลงโทษเลย ต่อจากนั้นตาปะขาวนุ้ยก็หายสาบสูญไป
การขุดหาสมบัติก็ไม่รู้ว่าภายใต้อิฐนั้นมีอะไรบ้าง
ก็ยุติแต่เพียงเท่านั้นไม่มีการขุดหาทรัพย์สมบัติจนกระทั่งปัจจุบันนี้
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่นับเป็นครั้งที่ 3
ตั้งแต่ พ.ศ. 2439-2453 พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส) วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง
อำเภอไชยา เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้วเจ้าคณะเมืองไชยา
ได้ชักชวนเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ มาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุไชยา
ขณะนั้นมีแต่ชีดำอายุประมาณ 70 ปี ไม่ทราบว่ามาจากที่ใด
ดูท่าทางแข็งแรงได้มาเข้าพวกกับหลวงแขวงคล้าย
มีการปลูกโรงครัวและที่พักอยู่ที่วัดพระบรมธาตุเจดีย์
มีประชาชนมาดูมากยิ่งกว่าตาปะขาวเสียอีก แต่ส่วนมากเป็นพวกผู้หญิง
ทั้งสาวแก่แม่ม่าย คนเฒ่าคนแก่ ได้นำสิ่งของมาบริจาคเข้าโรงครัวทำอาหารเลี้ยงกัน
มีที่พักผ่อนหลับนอนอย่างสบาย
คนพวกนี้เป็นกำลังสำคัญยิ่งในการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์
พระชยาภิวัฒน์และเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ เป็นกำลังแรงงานในการก่อสร้าง
แม่ชีดำและพรรคพวกเป็นฝ่ายจ่ายทรัพย์และเลี้ยงดูผู้ที่มาช่วยบูรณะ
ต่อมาแม่ชีดำเกิดมีความขัดแย้งกับพระชยาภิวัฒน์ความทราบถึงเจ้าเมืองไชยา
จึงจับแม่ชีดำและพรรคพวกมาชำระความที่พุมเรียง แล้วให้หลวงแขวงสอบสวนอยู่ 2-3 วัน
เมื่อไม่พบความผิดจึงปล่อยตัวออกมาจากนั้นแม่ชีดำก็หายสาปสูญไป
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ก็ดำเนินไปจนสำเร็จ
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยาครั้งนี้ได้ขุดพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์แบบศรีวิชัยองค์หนึ่ง
ขนาดหน้าตัก 9 ซม. สูง 11.3 ซม. จากฐานเจดีย์พระบรมธาตุ พระชยาภิวัฒน์เก็บรักษาไว้จนมรณภาพ
นอกจากนั้นยังขุดพบซากเตาเผาอิฐนอกกำแพงระเบียงหลายเตา
การบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ใหม่
การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นตามเค้าเดิมของเก่าดัดแปลงให้แปลกไปบ้าง
เพิ่มเติมของใหม่บ้างจากของเก่า คือได้ต่อบัวคอระฆัง ขยับยอดให้สูงขึ้นไป
ทำฉัตรใส่ยอดทำเป็น 3 ชั้น ก้านและใบฉัตรภายในรองด้วยเงินและหุ้มด้วยทองคำ
ทองที่เหลือจากการหุ้มฉัตรยังนำไปหุ้มตลอดลงมาถึงลูกแก้วและปลียอดสิ้นทองคำหนัก 82
บาท 3 สลึง ต่อจากปลีลงมาปิดด้วยทองคำเปลว ตลอดคอระฆังและบัว
พื้นฐานของเจดีย์ที่จมดินอยู่ได้ขุดเป็นสระโดยรอบถึงเชิงดินลึก 2
ศอก กว้างศอกเศษ ๆ แล้วก่อด้วยอิฐโบกปูน ได้ทำลายรากโจทย์ของต้นไม้ออก
แล้วเอาอิฐมาก่อเสริมโบกโดยรอบ ส่วนลวดลายต่าง ๆ ทำเพิ่มเติมใหม่เกือบหมด
ในระเบียงของพระเวียน เดิมใช้เสาไม่แก่นเปลี่ยนเป็นก่อด้วยอิฐ
หลังคามุงกระเบื้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ตลอดฝาผนังกำแพงชั้นในและพื้นอาสน์ตามที่พระเวียน
ได้ซ่อมแซมและโบกปูนใหม่ ลานระหว่างพระระเบียงกับองค์พระธาตุปูด้วยอิฐปูนสะเม็นเต็น
เจดีย์เล็ก ๆ ตกแต่งของเก่าบ้าง ก่อขึ้นใหม่บ้าง
ได้ก่อพระเจดีย์สวมพระพุทธองค์ใหญ่สูง 9 วาเศษ
พระพุทธรูปที่อยู่ในระเบียงวิหารตลอดไปถึงวิหารหลวงหรืออยู่ในเจดีย์ต่าง ๆ
ก็ช่วยกันตกแต่งของเก่าบ้าง สร้างใหม่บ้าง แล้วปิดทองรวมทั้งสิ้น 218 องค์
แล้วเรี่ยไรทองเหลืองส่งไปหล่อระฆังที่กรุงเทพฯ ขนาดศอกเศษ 1 ใบ
กำแพงชั้นนอก ก่ออิฐใหม่เป็นร่องคล้ายลูกกรงสูง 3 ศอก
ซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกเดิมเป็นช่องกูปเปลี่ยนทำเป็นยอดพระวิหารหลวง เครื่องไม้ต่าง
ๆ ทำใหม่ หลังคาลดอกไก่ 2 ชั้น ใส่ช่อฟ้านาคสะดุ้ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องสงขลา
หน้าจั่วลวดลายสลักลายดอกไม้เทศ พื้นประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ
ตามลวดลายปิดทับด้วยทองคำเปลว ฝาผนังของวิหารโดยรอบโบกปูนใหม่ตลอด