4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุไชยา
สุราษฎร์ธานี
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
วัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประวัติความเป็นมาของวัด
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดที่สร้างมาเก่าแก่
โบราณกาลสมัยที่พระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองอยู่ในสุวรรณภูมิ
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อพระโสณะ กับพระอุตตระเถระ ได้มาเผยแพร่พุทธศาสนา
สังเกตได้จากโบราณวัตถุที่ปรากฏอยู่หลายสมัย
แสดงถึงความเจริญและความเสื่อม
บางครั้งทิ้งร้างไปแล้วฟื้นฟูขึ้นใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังหลักฐานที่เหลืออยู่
ดังนี้
1. สมัยทวารวดี
พบพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคนและย่อมกว่าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
หน้าตักกว้าง 74 ซม. สูง 104 ซม. ลักษณะประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกัน พระเกศาขมวดเป็นต่อมโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด
จีวรห่มบางแนบพระองค์ คลุมอังสะชัยไม่มีพระอุระมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
อีกองค์เป็นพระพุทธรูปยืน
ประทับบนฐานบัว จีวรห่มคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคตมีลวดลาย
ไม่มีพระรัศมีเม็ดพระศกกลมใหญ่ ทำด้วยศิลาสูง 142 ซม.
ปัจจุบันทั้งสององค์ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
จากหลักฐานนี้เชื่อว่าวัดนี้หรือสถานที่แห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยทราวดี ระหว่าง พ.ศ.
1000-1200
2. สมัยศรีวิชัย
ในสมัยนี้ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก
สังเกตได้จากองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย ด้วยเป็นสถานที่เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์
จึงยังคงรูปแบบของศิลปศรีวิชัยไว้ได้ โดยไม่ได้รับการดัดแปลง
เว้นแต่ตอนส่วนยอดที่หักพังลงมา และหายสาบสูญไป
จึงได้ซ่อมแซมส่วนยอดมาเป็นแบบศิลปะไทย
โบราณวัตถุที่พบเป็นหลักฐานที่ถือเป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดของไทยในสมัยศรีวิชัย
คือ พระพุทธ รูปสัมฤทธิ์พระโพธิสัตว์โลกิเตศวรขนาดใหญ่ พบที่ไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระพุทธรูปศิลาจำนวนมากกว่าที่พบในที่ใดในประเทศไทย
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพสมัยศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองระหว่าง
พ.ศ. 1200-1500
3. สมัยสุโขทัย
พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
พ่อขุนรามคำแหงได้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จดคาบสมุทรมาลายูมีการส่งทูตไปลังกาทวีป
นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงค์มาที่นครศรีธรรมราช และสุโขทัย
พุทธศิลป์สมัยนี้เป็นแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราชหลักฐานทีปรากฏอยู่มีใบเสมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบ
ๆ เขตพระอุโบสถเดิมของวัด
4. สมัยอยุธยา
หลักฐานที่ปรากฏมากมาย เพราะมีการบำรุงรักษาและสร้างขึ้นใหม่
มีการสร้างพระพุทธรูปมากมายกว่าสมัยใด มีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทรายแดงขนาดโตกว่าคน
ลงมีถึงขนาดเท่าคนและย่อมกว่าคน ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยนั้นในไชยา
5. สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
โบราณวัตถุในสมัยกรุงธนบุรีมรน้อยมาก
แต่วัดยังเจริญรุ่งเรืองมีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่ทั่ว ๆ ไป
พระบรมธาตุไชยาได้ถูกทำลายร้างโดยพม่าในสงครามระหว่างไทยกับพม่า
หลังจากกรุงศรีอยุธยา แตกลง มาจนถึงพระเจ้าตากสินมหาราชมาตีเมืองนครศรีธรรมราช
ตอนรวมประเทศใหม่ ๆ จนถึงศึกเก้าทัพในรัชกาลที่ 1 ประชาชนต่างหนีภัยสงคราม
พระบรมธาตุคงถูกทำลายและทิ้งร้างไปในที่สุด
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบและบูรณะขึ้นมาใหม่ในรัชกาลที่ 5 โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้วเจ้าคณะเมืองไชยา
ระหว่าง พ.ศ. 2439-2453 ให้วัดคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง
มีการบูรณะตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ฉาบปูนผิวบาง ๆ ทั่วทั้งองค์พระบรมธาตุ
พร้อมทั้งเสริมยอดที่หักหล่นหายไป มีการสร้างพระวิหารหลวงใหม่ในฐานเดิม
รวบรวมพระพุทธรูปที่เกลื่อนกลาดเข้าประดิษฐานในพระวิหารคด จนเรียบร้อย
ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุไชยา
วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร
ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เดิมเป็นวัดร้างต่อมาเมื่อมีราษฎรมาจับจองบูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดราษฎร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานขึ้นเป็นอารามหลวงชั้นตรี
ชนิดสามัญเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา
แล้วต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 6
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
วัดพระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยาประมาณ 2
กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟไชยาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร
ตั้งอยู่ห่างจากถนนทางหลวงแผ่นดินสายเอ 41 ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร
วัดพระบรมธาตุไชยา มีเนื้อที่ 42 ไร่ 1 งาน
ด้านหน้าวัดหันไปทางทิศเหนือ จดถนนรักษ์นรกิจ ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกจดคลองไชยา
ทิศตะวันออกจดถนนหลวง อาณาเขตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส
เขตพุทธาวาส มีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือและทิศใต้
มีแพงยาว 127 เมตร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีกำแพงยาว 66 เมตร ภายในเขตพุทธาวาส
ประกอบด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ไชยาพระวิหารคดหรือระเบียงพระเวียน พระเจดีย์
พระอุโบสถ พระวิหารหลวง พระพุทธรูปศิลาทรายแดง ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพลับพลาที่ประทับ
เขตสังฆาวาส อยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก
ประกอบด้วยกุฏิที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ กุฏิปัสสนากรรมฐาน ศาลาการเปรียญ
โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาบูรพาจารย์ ห้องสมุด และหอฉัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
มีโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา สอนเด็กชั้นเล็ก ถึงชั้นประถมปีที่ 6 ด้านทิศตะวันออก
มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
ลำดับเจ้าอาวาส
เนื่องด้วยวัดพระบรมธาตุไชยา เดิมเป็นวัดร้าง
ถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานาน จนราษฎรมาบุกเบิกใหม่
เป็นวัดราษฎร์ไม่สามารถสืบหาลำดับเจ้าอาวาสได้แน่นอนได้ยินแต่คำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่
ก่อนที่พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสฺโส) มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา
เมื่อ พ.ศ. 2439 มีลำดับเจ้าอาวาสดังนี้คือ
1. พระอธิการดำ
หรือพ่อท่านดำ
2. พระอธิการชู หรือพ่อท่านชู
3. พระอธิการเจิง หรือพ่อท่านเจิง
4. พระวินัยธรรมยวด สุริโย
5. พระมหาเคลื่อน อนุภาโส ป.ธ.3
6. พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อน อินฺปณฺโญ) (พุทธทาสภิกขุ) พ.ศ.
2492-2536
7. พระศรีธรรมเมธี (สังข์ ภูริปญฺโญ ป.ธ.9) พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน
ด้วยความสำคัญของพระบรมธาตุไชยา
ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นที่เคารพ
กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นพุทธสถานแห่งเดียวในประเทศไทยที่รักษาความเป็นเอกลักษณ์ของช่างศิลปกรรม
สมัยศรีวิชัยไว้ไดอย่างสมบูรณ์ วัดพระบรมธาตุไชยา
จึงเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวไชยาและชาวสุราษฎร์ธานีมาแต่โบราณกาล
รัฐบาลให้ความสำคัญแก่วัด
ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระบรมธาตุเจดีย์เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477