4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราช
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
นครศรีธรรมราช
มหานครใต้ นครตามพรลิงค์
สถานที่ตั้งเมืองนคร
นับเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์
ในคาบสมุทรแหลมมลายูเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำหรับทำมาหากิน
เลี้ยงชีพแห่งนี้ค่อยพัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่า
ที่แลกเปลี่ยนสินค้าเชื่อมโยงการค้าระหว่างน่านน้ำตะวันตกของชนชาติอินเดีย
เปอร์เซีย และอียิบป์ กับตะวันนอกของชนชาติจีน
เมื่อถึงยุคที่พระพุทธศาสนาแพร่เข้ามาอย่างมั่นคง
ดินแดนแห่งนี้สืบสานพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์จนได้ฉายาว่าเป็นเมืองพระเมืองตามพรลิงค์
(ชื่อเดิมของเมืองนครศรีธรรมราช) ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมั่นคง
เป็นนครรัฐหนึ่งแห่งอาณาจักรเมืองบนคาบสมุทรแหลมมลายู ดินแดนสุวรรณภูมิ
มีเมืองขึ้นทั้งสิบสองเมือง เรียกเมือง 11 นักกษัตร
ก่อนจะรวมเข้าเป็นอาณาจักรไทยเมื่อประมาณ 700 ปีก่อน
อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ อดีตกาลสมัยทวาราวดีสมัยศรีวิชัย
ที่สั่งสมไว้มากมายทำให้เมืองนครพรตามลิงค์เป็นแหล่งวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทยที่สำคัญแห่งหนึ่ง
จากอดีตมาจนปัจจุบัน
ดินแดนตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตร บนคาบสมุทรมลายู
ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก อารยะธรรมอินเดีย และจีนได้เข้ามามีอิทธิพล
ก่อให้เกิดอารยะธรรมประเพณีความเป็นอยู่ ดินแดนแห่งเมืองนครศรีธรรมราช (ตามพรลิงค์)
ตั้งอยู่บนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ ด้วยระบบนิเวศน์ที่สมดุล
และสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ
จากเทือกเขาตะนาวศรี
ยาวต่อกับเทือกเขาธงชัยจากประเทศจีนลงมาพม่า จนถึงระนอง ตะกั่วป่า พังงา
ลงมาทางใต้มีเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นขวางกลางตอนใต้
เทือกเขานครศรีธรรมราชสูงเสียดฟ้าเป็นแกนกลางมหาสมุทรห่างจากชายฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันตก
มียอดเขาหลวง รายล้อมด้วยยอดเข้าอื่นๆ มากมาย เช่น เขากะทูน เขากะเบียด เขาช่องลม
เขากล้วยไม้ เขานัน เขาแมน เป็นต้น พื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน
ปกคลุมด้วยป่าดงดิบด้วยร่องมรสุมฝนตกตลอดปี
พฤกษาพืชพันธุ์และสรรพสัตว์อันหลากหลายนับหมื่นแสนชนิด
ได้อยู่อาศัยในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่นี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ลำธาร
ที่ส่งผ่านอาหาร สมุนไพร และปุ๋ยธรรมชาติลงสู่เบื้องล่างทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก
ฝั่งตะวันตก
มีภูเขาสลับซับซ้อนลาดเทลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี
ไหลไปรวมออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี
ลาดเขาทางฝั่งตะวันออก
มีสายน้ำไหลหล่อเลี้ยงนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่ที่สุดของภาคใต้
คือที่ราบลุ่มปากพนัง และที่ราบลุ่มรอบอ่าวเมืองนคร
ชายฝั่งทะเลตั้งแต่ชุมพรลงมา ถึงปากแม่น้ำบริเวณปากนคร
ปากพนัง ปากน้ำสิชล และปากน้ำขนอมนั้น
มีป่าชายเลนผืนใหญ่อันอุดมสมบูรณ์มีต้นโกรกกราก ต้นแสมขึ้นปกคลุมหนาแน่น เป็นวัฏจักรชีวิต
ผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้เป็นที่พักพิง สืบสานวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม ศิลปพิธีกรรมต่าง
ๆ ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน
การสำรวจทางโบราณคดีในบริเวณนครศรีธรรมราชปัจจุบันมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว
เครื่องมือหิน อาวุธ ที่ทำด้วยหินกะเทาะหยาบ ๆ และได้รับการขัดแต่งอย่างประณีตบรรจง
มีให้เห็นกระจัดกระจายอยู่ตามถ้ำและภูเขาลึกเข้าไปในแผ่นดิน
ต่อกับแนวเขตที่พบหลักฐานอื่น ๆ อีกมาก ทั้งที่บ้านหินเก้า กาญจนบุรี และไปถึงอิสานฝั่งโขงที่ผาแต้ม
อุบลราชธานี มีการพบภาพวาดสีบนผนังถ้ำและเครื่องมือ
เครื่องใช้ในสมัยมนุษย์หินจำนวนมาก การพบภาพวาดสีตามผนังถ้ำ
และแหล่งลูกปัดโบราณตามฝั่งตะวันตก และทางใต้ ในพื้นที่แถบจังหวัดกระบี่ พังงา
เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า มนุษย์รุ่นแรก ๆ ที่อยู่อาศัย
ยังชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า ไม่ได้ตั้งหลักแหล่งถาวร
อาศัยอยู่กินหลบแดดและฝนตามหลืบถ้ำ และเพิงผา
ต่อมาเมื่อเริ่มรู้จักการเพาะปลูกทำไร่
จึงลงจากที่สูงมาตั้งถิ่นฐานในแถบที่ราบและเริ่มเดินทางติดต่อกับชุมชนอื่น
แลกเปลี่ยนสิ่งของ จนตลอดถึงแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้ากับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป
สิ่งที่แสดงให้เห็นหลักฐานสำคัญคือ กลองมโหระทึกสำริด
ที่ค้นพบแสดงว่า
ดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนที่เคยติดต่อกับชุมชนโพ้นทะเลที่อยู่ห่างไกลออกไป
กลองชนิดนี้ผลิตในดินแดนจาม (เวียตนาม) และแพร่หลายไปกว้างไกล
ตั้งแต่ตอนใต้ของจีนไปจนถึงหมู่เกาะ อินโดนีเซีย นักโบราณคดีเชื่อกันว่า
กลองชนิดนี้ใช้สำหรับพิธีขอฝน เพราะกลองมักประดับด้วยกบหรือหอยขม
ที่เป็นสัตว์ชอบฝนและความชื่นแฉะอยู่ในน้ำ เนื่องจากเป็นสิ่งที่หายาก
จึงมักพบในชุมชนผู้นำ ในเมืองนครศรีธรรมราช พบว่ามีกลองชนิดนี้ในอำเภอสิชล
อำเภอฉวาง และตำบลท่าเรือในอำเภอเมือง รวม 3 ใบ
แสดงว่าดินแดนแห่งนี้ในสมัยพุทธกาลหรือก่อนพุทธกาล
ผู้คนที่อาศัยอยู่ดินแดนแหล่งนี้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมเมือง
มีหัวหน้าปกครองอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สะดวกในการติดต่อทั้งตะวันออก
ตะวันตกจึงมีการติดต่อกับกลุ่มสังคม
วัฒนธรรมอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกมุมหนึ่งของโลก เช่น
มีการพบเครื่องถ้วยชามดินเผาของดินแดนตะวันนออกไปยังดินแดนตะวันตกที่เวนิสและอังกฤษโดยอาศัยพ่อค้าที่เดินทางไปมาค้าขายในคาบสมุทรแหลมมลายูแต่กาลก่อน