4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราช
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
เมืองท่า
มหานครแห่งคาบสมุทรทะเลใต้
เมื่อการเดินเรือค้าขายระหว่างสองฝั่งมหาสมุทร
ขอบข่ายการเดินเรือขยายกว้างไกลออกไป ชาวอินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย
จากแถบดินแดนทะเลตะวันตก เดินทางมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวจีน
จากดินแดนทะเลตะวันออก คาบสมุทรคั่นระหว่างน่านน้ำทั้งสองฝ่าย
มีอ่าวที่เหมาะแก่การนำเรือเข้าจอดเทียบท่า
เพื่อหลบพายุฝนหน้ามรสุมทั้งทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก
เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมขนส่งสินค้าที่สะดวก
บริเวณที่เป็นอ่าวจอดเรือจะเกลายเป็นชุมชนและคนท้องถิ่นอาศัยอยู่ร่วมกัน
จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เช่น พังงา ตะกั่วป่า กระบี่
และพังงาทางฝั่งทะเลตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย
ส่วนทางฝั่งตะวันออกแถบอ่าวบ้านดอน
บนสันทรายที่ทอดยาวขนานกับฝั่งทะเลในเขตนครศรีธรรมราช
มีที่ราบกว้างใหญ่จึงการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นกลายเป็นเมืองท่าค้าขายขนาดใหญ่ในยุคแรก
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณอ่าวบ้านดอน เมืองไชยา
ต่อมาเมื่อตามพรลิงค์เติบโตขึ้นมีเจ้าผู้ครองนครที่มีความ สามารถ
คือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช นครตามพรลิงค์จึงเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับเมืองต่าง ๆ
นครตามพรลิงค์
เป็นเมืองท่าค้าขายทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ในบันทึกการเดินเรือของชาติ ๆ มักมีการกล่าวถึงนครนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน
เอกสารของอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบคือ มิลินทปัญหา
เขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 5 เรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า ตมะลิงเกศวร
แต่พงศาวดารลังกาเรียกเมืองนี้ว่า ตัมพรัฏฐะ ชวกะ สิริธรรมนคร และศรีธรรมราช
ส่วนพ่อค้าอาหรับจากตะวันออก เรียกดินแดนนี้ว่า ซาบากะ หรือซาบัก ราวพุทธศตวรรษที่
9-10 เอกสารของจีนกล่าวถึงดินแดนแถบนี้ในนามตั้งมาหลิ่ง ตันมาลิง โฮลิง โพลิง โชโป
นักโบราณคดีเชื่อว่า
ศูนย์กลางของนครตามพรลิงค์ในยุคแรกน่าจะอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเมืองท่าเรือ
บนสันทรายปากอ่าวนครศรีธรรมราช ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง
ซึ่งเป็นบริเวณที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
มีการค้นพบเครื่องมือหินขัดกลองมโหระทึก เทวสถานและโบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์
ตลอดจนพระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย นอกจากนี้บริเวณที่มีลำน้ำ
(คลองท่าเรือ)
ไหลออกทะเลในอดีตน่าจะเป็นร่องน้ำลึกที่เรือเดินทะเลสามารถเล่นเข้ามาจอดได้
เพราะว่าได้มีการพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย
และเงินตราต่างชาติที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า
ในซากเรือบรรทุกสินค้าที่จมอยู่บริเวณปากอ่าว
และในลำคลองแห่งนี้พบเครื่องถ้วยชามของจีนสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง
จำนวนหลายลำด้วยกัน
ชาวอินเดียที่เข้ามาในยุคแรกราวพุทธศตวรรษที่ 8 หรือก่อนหน้านั้น
ได้นำเอาอิทธิพลศาสนาพราหมณ์มาเผยแพร่ที่นครตามพรลิงค์และเมืองใกล้เคียง
จากร่องรอยของชุมชนโบราณที่ได้รับอิทธิพลมีปรากฏให้เห็นแท่งตามแนวสันทรายธรรมชาติ
ที่เป็นผืนยาวจากภาคเหนือของสุราษฏร์ธานีจนถึงแนวต่อสงขลาจากภูเก็ต ตะกั่วป่า
อ่าวบ้านดอน จากตรังมาตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช
เป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากฝั่งทะเลตะวันตกมาตะวันออก
อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์นอกจากสถาปัตยกรรมและสระน้ำโบราณที่สร้างขึ้นตามคติพราหมณ์แล้ว
ยังมีศิลาจารึกและประติมากรรมของเทพเจ้าต่าง ๆ
ในศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 23
แต่ที่พบมากที่สุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-14
แสดงว่าอิทธิพลศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในช่วงนี้
พุทธศตวรรษที่ 14-16 พุทธศาสนาได้แพร่หลายมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
ในยุคสมัยของอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ครหิ ไชยา
และแผ่อิทธิพลมาเมืองใกล้เคียงเมืองตามพรลิงค์ลงมาจนตลอดแหลมมลายู
แคว้นตามพรลิงค์ มีความเจริญรุ่งเรือง การปกครองในพุทธศตวรรษที่
17-18 ผู้ครองแคว้นได้สถาปนาราชวงค์ปทุมวงศ์หรือปัทมวงศ์
ขึ้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
แผ่พระราชอำนาจตอลดคาบสมุทรมลายู ตลอดจนเมืองสิบสองนักกษัตร หัวเมืองเกาะแก่งต่าง ๆ
ในสมัยนั้นแคว้นตามพรลิงค์มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเมืองลังกา
จนนครตามพรลิงค์เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนั้น
แล้วเผยแพร่ไปสู่แคว้นอื่น ๆ
คัมภีร์ปูปวลิยาของลังกา
ได้กล่าวถึงแคว้นตามพรลิงค์ในสมัยนั้นว่ามีพระสงฆ์เรียนพระธรรมวินัยถึง 12,000
องค์ทางเมืองลังกาครั้งหนึ่งเคยอาราธนาพระธัมมกิตติเถระผู้มีวิชาแก่กล้าจากแคว้นตามพรลิงค์ไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังจากบ้านเมืองถูกพวกมคะ
ยึดครองอยู่ถึง 41 ปี
ในสมัยกรุงสุโขทัย
มีการติดต่อกับแคว้นตามพรลิงค์ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ทรงยอมรับว่าพระสงฆ์ของตามพรลิงค์มีความรอบรู้
ได้มีการนำพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาในราชสำนัก
ดังเห็นได้ในศิลาจารึกของเมืองสุโขทัย ที่จารึกไว้ว่า
พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอนทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฏกไตร
หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุก แต่เมืองศรีธรรมราชมา... (หลวก
=
เก่ง ลุก = มาจาก)
และเมื่อทรงมีพระราชประสงค์จะนำพระพุทธสิหิงค์ อันศักดิ์สิทธิ์จากลังกา
ก็ต้องทรงติดต่อผ่านแคว้นตามพรลิงค์เมื่อได้พระพุทธสิหิงค์มาแล้วแคว้นตามพรลิงค์ได้หล่อจำลองพระพุทธสิหิงค์ต้นแบบสกุลช่างเมืองนครศรีธรรมราช
ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา
สิ่งที่ยืนยันในความเป็นเมืองพระของแคว้นตามพรลิงค์ที่เด่นชัดที่สุด คือ
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่จนตราบปัจจุบันนี้ ตามตำนานกล่าวว่า
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ทรงสร้างสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุขึ้น
ในครั้งนั้นมีผู้คนจากทั่วสารทิศ แว่นแคว้นต่าง ๆ
ธนสมบัติทรัพย์สินเงินทองมาช่วยสร้างด้วยแรงศรัทธา แต่บางคนเดินทางมาไม่ทัน
จึงจำต้องฝังทรัพย์สินสมบัติไว้กลางทาง
บ้างก็นำมาสร้างวัดหรือสถูปเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาไม่ได้นำกลับไป
ถือว่าได้ตั้งใจนำมาถวายพระบรมธาตุแล้ว
ท้องถิ่นหลายแห่งในภาคใต้มีตำนานเกี่ยวกับเรื่องเหตุการณ์ดังกล่าว
จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกทั่วภาคใต้ที่นำสิ่งของมีค่าหายากมาถวายเป็นเครื่องบูชา
แก่องค์พระบรมธาตุ เรื่อยมาตราบจนปัจจุบันนี้
เมืองพระเวียง
เมืองพระเวียง หรือเรียกกันว่าเมืองโคกกระหม่อม
เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของเมืองตามพรลิงค์
หรือนครศรีธรรมราช
ด้วยเป็นศูนย์กลางที่มีความเจริญสูงสุดของอาณาจักรตามพรลิงค์ระหว่างพุทธศตวรรษที่
17-18 เมืองพระเวียงอยู่ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชเล็กน้อย
เคยมีผู้บันทึกสภาพก่อนถูกทำลายไว้ว่า ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 600
เมตร ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร
ทิศใต้ จดคลองคูพายและโรงพยาบาลนครศรีธรรมราช
ทิศเหนือ จดคลองสวนหลวง
ทิศตะวันออก มีคูเมืองสองชั้น คูเรียงด้านนอกกว้าง 3 เมตร
กำแพงเมืองก่อด้วยดิน ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถานมากมาย เช่น
ร่องรอยของฐานเจดีย์และวิหาร 11 แห่ง ศิลปวัตถุแบบเขมร เช่น พระพิมพ์ ตะเกียง
กำไลสัมฤทธิ์ มีการพบเศษเครื่องถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์ซ้อง
ราชวงศ์หมิง และพวกหม้อดินเผาที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น
โบราณสถาน และวัดที่ยังมีร่องรอยปรากฏอยู่ เช่น
ที่วัดสวนหลวงตะวันตก ปัจจุบันมีพระสงฆ์พำนักอยู่ ส่วนวัดสวนหลวงตะวันออก
(ที่แยกออกจากวัดสวนหลวงตะวันตก) เป็นวัดร้าง เพราะมีถนนราชดำเนินตัดผ่าน
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมศิลปากร หน่วยที่ 8
ถัดจากวัดสวนหลวงตะวันออกไปทางใต้เป็นวัดเสด็จ เป็นวัดร้าง
ปัจจุบันเป็นที่ของกรมศิลปากร วัดบ่อโพง วัดกุฏิ ก็เป็นวัดร้าง
อยู่ถัดจากวัดสวนหลวงตะวันตกไปทางทิศใต้ ปัจจุบันมีพระสงฆ์พำนักอยู่
วัดเพชรจริกตะวันออก เป็นวัดร้าง ปัจจุบันเป็นที่ของกรมศิลปากร ส่วนวัดพระเวียง
ปัจจุบันคือบ้านศรีธรรมราช ของกรมประชาสงเคราะห์
บริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นพระราชวังหรือบ้านพะเวียงคือบริเวณที่พักตำรวจจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพราะบริเวณนี้เป็นเนินสูง
ประกอบด้วยอิฐและหินเป็นชั้นลึกลงไป 3-4 เมตร อยู่เต็มบริเวณเนื้อที่หลายไร่
เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบันโบราณสถานภายในเมืองพะเวียงได้สูญสลายไปหมดสิ้นแล้ว
เพราะพื้นที่ส่วนมากได้กลายเป็นสถานที่ราชการ