4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราช
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
จากเมืองพะเวียง มาเป็นเมืองนครศรีธรรมราช
จากหลักฐานที่มีผู้สำรวจพบว่า
การย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่เมืองพะเวียง หรือเมืองโคกกระหม่อม
ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองท่าเรือลงมาทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่
17 ก่อนถูกทำลายภายในคูน้ำและกำแพงดินที่ล้อมรอบตัวเมือง
มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย ส่วนใหญ่อยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18
มีการพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองอันเป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดีในจังหวัดนครสวรรค์ที่กล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
โปรดให้กัลปนาที่ดินเข้าพระและสิ่งของถวายเป็นพระบูชาแด่พระเจดีย์ที่บรรจุอิฐิของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์ก่อนที่สวรรคตไปแล้ว
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของเมืองทั้งสอง
ตำน่านเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระบรมธาตุ ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ได้นำไพร่พลหนีไข้ยุบล (โรคห่า) มาสร้างเมืองใหม่บนหาดทรายทะเลรวม
จนเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาและเมืองท่าค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า
มีพระราชอำนาจและบารมีมาก จนเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทั่วคาบสมุทรแหลมมลายู
มีหัวเมืองปกครองถึง 12 หัวเมือง ที่เรียกว่าเมือง 12 นักษัตร ในยุคนั้น
เมืองตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช ยังได้ยกทัพไปตีเมืองลังกาถึง 2 ครั้ง
ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ของแคว้นล้านนา
ก็กล่าวถึงกษัตริย์จากเมืองนครศรีธรรมราชยกกองทัพมายึดเมืองละโว้
ในระหว่างเมืองละโว้และเมืองหริภุญไชยทำสงครามกัน
นครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองอยู่เป็นเวลากว่าร้อยปี
มีพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปกครองสืบต่อกันมาอีก 5 พระองค์ จากนั้นก็เริ่มเสื่อมโทรมลง
หลังจากยกกองทัพไปตีเมืองลังกาแล้วโจรชวาเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้ง
ซ้ำยังเกิดข้าห่าระบาดอีก ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก
เป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้างไปในที่สุดอีกครั้งหนึ่ง
ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มเป็นปึกแผ่นนี้ ได้ส่งขุนอินทรามารวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายให้เข้ามาช่วยหักร้างถางพงบูรณะซ่อมแซมพระบรมธาตุเจดีย์
และสร้างเมืองขึ้นใหม่บริเวณที่ตั้งเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน เรียกชื่อว่า
นครดอนพระ
ตั้งแต่นั้นมานครศรีธรรมราชก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาแต่ทางกรุงศรีอยุธยาก็ยังคงยกย่องเมืองนครศรีธรรมราชให้เป็นหัวเมืองเอกฝ่ายใต้
เพราะเป็นศูนย์กลางในการขยายอำนาจไปตลอดแหลมมลายู สำหรับตำแหน่งเจ้าเมืองนั้น
ทางกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้งลงไปโดยตรง
แม้นครศรีธรรมราชจะอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาโดยสิ้นเชิง
แต่เพราะนครศรีธรรมราชเป็นเมืองใหญ่ เป็นศูนย์กลางเมืองท่าค้าขายของภาคใต้
จึงมีอิทธิพลเหนือหัวเมืองอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้
ครั้งใดที่ส่วนกลางอ่อนแอหรือเกิดการแตกแยกเกิดแย่งชิงอำนาจในราชสำนัก
นครศรีธรรมราชก็มักดิ้นรนที่จะตั้งตนให้เป็นอิสระ เช่น
คราวที่พยายามก่อการกบฏร่วมกับเมืองปัตตานีในช่วยต้นแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง
หลังจากพระนารายณ์เสด็จสวรรคต
เกิดการแตกแยกแก่งแย่งชิงอำนาจในราชสำนัก
พระเพทราชายึดอาจและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เจ้าพระยารามเตโซ
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สมคบกับเจาพระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา
ถือโอกาสแข็งเมือง แต่ก็ถูกปราบราบคาบ
เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เจ้าเมืองถูกลดตำแหน่งเป็นผู้รั้งเมือง
แต่เนื่องจากนครศรีธรรมราชมีความสำคัญในฐานะหัวเมืองเอกฝ่ายใต้
ไม่ช้าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จึงได้ยกฐานะเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระปลัด (หนู)
ผู้รักษาเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้น ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ เรียกว่า ชุมนุมเจ้านคร
มีหัวเมืองฝ่ายใต้มารวมเข้าด้วยเป็นอันมาก ทั้ง ชุมพร ปะทิว หลังสวน ไชยา กระบุรี
ระนอง ตะกั่วป่า พังงา ตรัง กระบี่ ถลาง สตูล กาญจนดิษฐ์ และปะลิศ
พระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาถึงสามปี จึงตีเมืองเหล่านี้ได้สำเร็จ
นำตัวพระปลัดหนูไปไว้ที่กรุงธนบุรี และทรงแต่งตั้งพระเจ้าหลานเธอ เจ้าราสุริยวงศ์
ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช แล้วยกฐานะอีกครั้ง
เมื่อเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้าตากสิน
ทรงโปรดเกล้าให้พระปลัดหนูกลับไปปกครองเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม
พระราชทานยศเป็นพระเจ้าขัตติราชนิคมสมมุติมไหสวรรค์
พระเจ้านครศรีธรรมราชเจ้าขัณฑสีมา
แล้วได้โปรดเกล้าให้ทำนุบำรุงบ้านเมืองโดยถือธรรมเนียมขนบประเพณี
ตามแบบราชสำนักมีแบ่งฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ทั้งยังพระราชทานบรมราชานุญาติ
ให้มีคณะละครหญิง ซึ่งแต่เดิมเป็นสิทธิ์ที่สงวนไว้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
สาเหตุหนึ่งที่ทรงให้เกียรติเจ้านครถึงเพียงนี้
น่าจะเป็นเพราะเจ้านครหนู เป็นบิดาของคุณฉิมหรือกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์พระสนมเอก
อนึ่ง คุณปรางน้องสาวคุณฉิม
ก็ได้รับราชการเป็นพระสนมของพระเจ้าตากสินอยู่ระยะหนึ่งด้วย แต่ต่อมาได้พระราชทาน
คุณปรางซึ่งขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ 2-3 เดือนแล้ว แก่เจ้านคร (พัฒน์)
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองนคร
ภายหลังคุณปรางคลอดบุตรเป็นชายชื่อ น้อย
ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ครองเมืองนครต่อจากเจ้านคร (พัฒน์) มีสมญานามว่า
เจ้าพระยาน้อยคืนเมือง ด้วยถือว่าเป็นเชื้อสายของเจ้านครหนูโดยตรง
และเชื่อว่าเป็นโอรสของพระเจ้าตากสินอีกด้วย
เจ้าพระยาน้อย เป็นผู้มีความสามารถทั้งในด้านการปกครอง การรบ
และการทูต บุตรของท่านหลายคนได้เป็นผู้ปกครองหัวเมือง ทางใต้ทั้งเมือง ไชยา กาญจนดิษฐ์
เกาะสมุย พังงา ตะกั่วป่า ตรัง พัทลุง และไทรบุรี
ตระกูล ณ นคร นี้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาน้อยนี้เอง
ในสมัยเจ้าพระยานคร (น้อย)
นครศรีธรรมราชได้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็เพียงระยะเวลาอันสั้น
เพราะถึงสมัยพระยาสุธรรมมนตรี หลานปู่ของเจ้าพระยานคร (น้อย)
ได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ก็พอดีเป็นสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่ เป็นการปกครองแบบมณฑล
ตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจึงถูกยกเลิก
ทรัพย์สินของเจ้าเมืองนครถูกแบ่งส่วนมอบให้กับลูกหลานเจ้านครบ้าง คืนให้หลวงบ้าง
อำนาจของสกุลเจ้านครหมดไป เมืองนครศรีธรรมราชถูกยุบรวมกับหัวเมืองอื่น ๆ
และอยู่ภายใต้การปกครองของข้าหลาวงเทศาภิบาล คือ พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม)
ในสมัยการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล
เมืองนครศรีธรรมราชได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน
พ.ศ.2475 นครศรีธรรมราชได้กลายเป็นจังหวัดหนึ่งภายใต้การบริหารของส่วนกลาง
แม้นฐานะทางการปกครอง เศรษฐกิจ และศาสนาของนครศรีธรรมราช
จะลดความสำคัญลง แต่มรดกทางขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรมที่สั่งสมมาจากอดีตที่เคยเจริญรุ่งเรือง และจิตวิญญาณของปัญญาชน และคนช่าง
ชาวเมืองนครก็ยังคงอยู่และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้