4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราช
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
(3)
สมัยสุโขทัย
เมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์สามพี่น้องแห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์คือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระแล้ว นครศรีธรรมราชและเมืองต่าง ๆ
ในสุวรรณภูมิแถบคาบสมุทรแหลมมลายู ก็รวมตัวกันขึ้นเป็นประเทศมีพระราชาปกครองการบูรณะปฏิสังขรณ์สร้างเสริมครั้งใหญ่
ๆ จะกระทำต้องอาศัยพระบารมีของพระราชา มีการบูรณะเสริมสร้างขึ้นใหม่แทบทุกศตวรรษ
การบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงกษัตริย์กรุงสุโขทัย ในปี
พ.ศ.1815-1865 ได้มีพระราชโองการให้นายศรีธนู มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ได้มีพระมหาเปรียญทศศรีและพระสงฆ์ทั้งหลายนำเรื่องราวเข้าไปกราบทูลถวายได้มีรับสั่งให้หล่อทองแดงยอดพระมหาธาตุแล้วปิดทอง
ตรัสให้สามราชหงส์ออกมาทำบัญชีมอบหมายให้ญาติโยมภิกษุพระสงฆ์
และเจ้าเมืองสิบสองนักษัตรมีเมืองกลันตัน เมืองพัทลุง เมืองตรัง เป็นต้น
รับไปทำเป็นพวกสร้างพระระเบียงโดยรอบและมหาธาตุเจดีย์พวกละหนึ่งหรือสองห้อง,
สามถึงห้าห้องบ้างหรือทำห้องมากน้อยตามกำลังความสามารถได้รวม 165 ห้อง พระพุทธรูป
165 องค์ แล้วทำกำแพงขึ้นทั้ง 4 ด้าน จากนั้นสร้างวิหารติดกับเจดีย์องค์ใหญ่ 1 หลัง
เรียกว่าวิหารสามจอม ต่อมาได้สร้างพระพุทธรูป พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ไว้ในวิหารหลังนี้ บางคนก็เรียกวิหารหลังนี้ว่า วิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
มาถึงสมัยพ่อขุนเลอไท
ได้รับสั่งให้พระศรีมหาราชมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมีการบูรณะซ่อมสร้างวิหารหลวงจนสำเร็จแล้วให้นายสามจอมทำบัญชีแบ่งที่ดินป่าบริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระบรมธาตุเจดีย์
ให้ราษฎร์ทำเป็นสวนเป็นนา เป็นสวนทุเรียน มังคุด และลางสาด หลายร้อยไร่
พระราชโองการยกให้ไว้เป็นที่กลับนาสำหรับวัดพระบรมธาตุเจดีย์
ไว้เพื่อเก็บผลประโยชน์ ดอกผลที่เกิดจากที่นาที่สวน
นำมาบำรุงรักษาเจดีย์วิหารโบราณสถานต่าง ๆ ภายในวัด
ห้ามมิให้ข้าราชการทั้งปวงเข้าไปเกี่ยวข้อง
ต่อมาเมื่อรัฐบาลใช้กฎหมายเก็บภาษีอากรจากประชาชน
ทางรัฐบาลได้จัดสรรเงินบำรุงวัดพระบรมธาตุส่วนหนึ่งมาบำรุงวัดตลอดมาจนปัจจุบันนี้
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยพระนารายณ์
ได้มีการบูรณะเสริมสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์และยังได้ให้หล่อระฆังสัมฤทธิ์ใบใหญ่ไว้ที่หน้าประตูของวิหารพระม้า
ในรัชกาลของพระเพทราชา ประมาณ พ.ศ.2224
ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารทับเกษตรและวิหารต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม
มีการสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยขึ้นองค์หนึ่งเรียกกันว่า พระเพทราชา
ในรัชกาลของพระบรมโกษ โปรดให้ซ่อมแซม
และประยุกต์ศิลปะปูนปั้นพุทธประวัติสำคัญที่ชำรุดเสียหายลง คือ
ตอนพระพุทธองค์เสด็จออกบรรพชาในวิหารพระทรงม้าหรือวิหารพระมหาภิเนษกรณ์ด้วย
ภาพจึงมองคล้ายฝีมือคนไทยทำมาดั้งเดิม
สมัยกรุงธนบุรี
มาถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสิน
ทรงพระกรุณาให้ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนรวมทั้งประชาชนผู้มีความศรัทธาช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์
วิหารทับเกษตร ก่ออิฐถมทรายลาดปูน รอบองค์พระธาตุเจดีย์ แล้วยกพื้นสูง 75 ซม.
กว้างประมาณ 1 เมตร เรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ทางพระเจ้าตาก
นอกนั้นยังบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวิหารการเปรียญ และพระระเบียงวิหารคด ศาลากุฏิ
ในพระอารามใหญ่น้อยรวมหลายพระอาราม สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก
เมื่อสำเร็จแล้วก็ให้มีการมหรสพสมโภชเวียนเทียนรอบองค์พระมหาธาตุเจดีย์ในเมืองนครศรีธรรมราช
เป็นเวลาสามวันสามคืน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรัชกาลที่
4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2413
ทรงได้เมล็ดพันธุ์ต้นโพธิ์มาจากเมืองลังกา
โปรดรับสั่งให้เพาะพันธุ์เมล็ดส่งไปปลูกตามจังหวัด ต่าง ๆ เช่น
ที่นครศรีธรรมราชได้นำมาปลูกที่วัดพระเดิม (ต่อมารวมเข้ากับวัดพระบรมธาตุเจดีย์)
และในวิหารโพธิ์ลังกา
ในรัชกาลที่ 5 ได้มีการชักชวนชาวเมืองในหัวเมืองต่าง ๆ
บริจาคเงินทองสิ่งของและกำลังแรง บูรณะ ปฏิสังขรณ์ในบริเวณพระบรมธาตุทั่วไป
มีการบูรณะเจดีย์เล็กที่รวบรวมพระบรมธาตุและมีการบูรณะวิหารสามจอมที่อยู่ในบริเวณลานพระบรมธาตุ
มีเจดีย์ใหญ่ที่ต่อมาจากวิหาร
ในรัชกาลที่ 6 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรง
พระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ยามมกุฎราชกุมาร
ได้สร้างประตูเข้าวัดตรงวิหารธรรมศาลาเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่
มีลายปูนปั้นประดับยอดทำเป็นมหามงกุฎ เมื่อปี พ.ศ.2452
ในรัชกาลปัจจุบัน การบูรณะปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุเจดีย์ที่เริ่มชำรุดทรุดโทรมตามอายุขัยสิ่งก่อสร้างไว้นับเป็นเวลาร้อยปีพันปีมีการบูรณะต่อเติมเสริมสร้างมาตลอด
ดังต่อไปนี้
ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2497 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์
พระวิหารเขียนและพระวิหารโพธิ์ลังกา
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2499 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระวิหารธรรมศาลา
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2513-2514 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์
วิหารพระระเบียงและพระวิหารหลวง (โบสถ์) ช่อฟ้าใบระกา
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2520 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์
พระวิหารทับเกษตร
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2536 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระบรมธาตุเจดีย์
มีการยกยอดฉัตร หุ้มทองคำตรงปลียอดใหม่
ได้ขอรับบริจาคทุนทรัพย์จากประชาชนผู้มีความเลื่อมใสทั่วประเทศจนสำเร็จเมื่อ ปี
พ.ศ. 2538