ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ประวัติศาสตร์เชียงใหม่


| ย้อนกลับ |


ผ้าทอ
ในล้านนาและเชียงใหม่ แม้จะทอผ้ากันได้เกือบทุกครัวเรือน แต่ทุกท้องที่ก็ไม่สามารถปลูกฝ้ายได้ จะปลูกกันเฉพาะที่ราบค่อนข้างแห้งแล้งเท่านั้น เพื่อนำไปแลกสินค้าหรือข้าว รวมทั้งนำมาทอเป็นผ้าใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม หรือผ้าทอที่ใช้ทำบุญ เช่น ทอและย้อมผ้าสบง จีวร ตุง ผ้าห่อคัมภีร์
ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าพื้น ไม่มีลวดลาย หรืออาจเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายตาราง ส่วนการทอผ้าที่มีลวดลายสวยงาม ส่วนใหญ่เป็นลายเฉพาะของกลุ่มคน เช่น ลายน้ำไหล ของไทลื้อ ซิ่นลัวะ ซิ่นยาง เป็นต้น ทำให้ผ้าทอของเชียงใหม่มีหลากหลาย จนยากที่จะกำหนดว่าผ้าแบบใด ลายอย่างไรเป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริงของเชียงใหม่ ปัจจุบันผ้าทอของเชียงใหม่ที่เป็นที่นิยมมีอยู่หลายแห่ง คือ ตีนจกแม่แจ่ม ผ้าทอบ้านไร่ไผ่งาม และผ้าไหมสันกำแพง เป็นต้น
ผ้าทอตีนจกแม่แจ่ม
ผ้าทอตีนจกแม่แจ่มมีอายุกว่า 200 ปีมาแล้ว เป็นผ้าซิ่นตีนจกทอแทรกด้วยไหมเงินไหมทอง
ผ้าทอบ้านไร่ไผ่งาม
ผ้าทอของบ้านไร่ไผ่งาม ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง เป็นผ้าทอด้วยมือจากฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง แล้วย้อมด้วยสีธรรมชาติของพืชพรรณต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น มะเกลือ คราม ดอกไม้ และใบไม้
ผ้าไหมสันกำแพง
เป็นงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่ เกือบศตวรรษมาแล้ว ซึ่งเดิมนั้นเป็นงานฝีมืชั้นสูงที่ทำกันในหมู่เจ้านายผู้หญิง ด้วยเจ้าหลวงเป็นผู้ผูกขาดการค้าผ้าไหหม และสามัญชนยังถือจารีตประเพณีไม่ใช้ผ้าไหมเช่นเดียวกับเจ้านาย จนกระทั่งปี 2453 จึงได้มีพ่อค้าเริ่มทอผ้าไหมขายแก่คนทั่วไป

เครื่องปั้นดินเผา
การผลิตเครื่องปั้นดินเผาของล้านนาและเชียงใหม่ รุ่งเรืองมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 และผลิตโดยใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น มีทั้งแบบไม่เคลือบและแบบเคลือบ สำหรับสินค้าเครื่องปั้นดินเผาที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในอดีต ได้แก่ เครื่องถ้วยจากเตาสันกำแพง ที่มีลายสัญลักษณ์ คือ "ปลาคู่" คล้ายกับเครื่องถ้วยสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วยจากเตา เวียงกาหลง และในสันป่าตองยังพบเศษเครื่องปั้นดินเผาแบบหริภุญไชย เป็นอันมาก
หม้อดินเผาที่ใช้ในครัวเรือนของชาวเชียงใหม่ ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด เช่น หม้อนึ่ง หม้อแจ่ง (เป็นหม้อทรงสูงใช้ต้มน้ำ) หม้อต่อม (หม้อใบเล็กใช้ต้มหรือแกง) หม้อต้มยา หม้อข้าวพม่า น้ำต้น (คนโท) โดยมีแหล่งการผลิตอยู่หลายแห่ง เช่น บ้านกวน หารแก้ว บ้านเหมืองกุง และเครื่องถ้วยเตาขุนเส เป็นต้น


ร่มบ่อสร้าง
ร่มบ่อสร้าง ได้มีการเริ่มทำขึ้นเมื่อ 100 ปี มาแล้ว มีพระภิษณุจากสำนักวัดบ่อสร้าง ชื่อพระอินถา ได้เดินธุดงค์ไปถึงชายแดนพม่า ได้พบกลดลักษณะแปลกคล้ายร่ม จึงเดินทางไปศึกษาวิชาทำร่มที่พม่า แล้วกลับมาสอนวิชาที่บ้านบ่อสร้าง ซึ่งจะใช้ไม้บง (ไม้ไผ่) หัวและตุ้ม (จุกร่ม) ใช้ไม้สัมเห็ด คันร่มใช้ไม้รวก เมื่อประกอบเป็นร่มแล้ว จึงใช้ยางตะโกเป็นกาว แล้วใช้น้ำมันยางทาบนกระดาษสา กันแดด กันฝน
ปัจจุบันได้ใช้กระดาษจีน มีลวดลายพิมพ์จากโรงงาน และราคาถูกกว่า แทนกระดาษสา คงใช้แต่กระดาษสารองชั้นแรกเท่านั้น

กระดาษสา
การทำกระดาษสาที่เชียงใหม่ ทำกันมากที่หมู่บ้านต้นเปา ซึ่งมีอายุการทำมาประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่พระอินถา นำวิชาทำร่ม และมีการดาษสาเป็นส่วนสำคัญ จากพม่ามาสอนแก่ชาวบ่อสร้าง
เดิมบ้านต้นเปา มีต้นปอสาในป่ามากมาย จึงทำให้ชาวบ้านต้นเปา ยึดอาชีพ ทำเยื่อกระดาษสาเป็นอาชีพรองจากการทำนา และการทำอาชีพนี้จะทำกันในฤดูแล้ง เมื่อว่างจากงานไร่นา



| ย้อนกลับ | บน |

ความรุ่งเรือง การล่มสลาย อิสระจากพม่า ประเพณี วัด หัตถกรรม

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ประวัติศาสตร์เชียงใหม่


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์