www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
สารานุกรมไทยฉบับย่อ
เล่ม
๑๑ เชียงรุ้ง - ดีดขัน
ลำดับที่ ๑๗๘๔ - ๒๐๑๐ หน้า ๖๕๒๕ - ๗๑๘๔
๑๗๘๔. เชียงรุ้ง
เป็นชื่อเมืองในแคว้นสิบสองปันนา มีชื่อเรียกเป็นหลายอย่างต่าง ๆ กันไปเช่น
ในพงศาวดารโยนก มีเรียกว่าอาฬวีรัฐ เป็นต้น
แคว้นสิบสองปันนาแยกกันเป็นหลายเมือง ต่างมีเจ้านายปกครอง แต่อยู่ในเครือญาติวงศ์เดียวกัน
มีเจ้าเมืองเชียงรุ้งเป็นหัวหน้า มีอาณาเขตอยู่ระหว่างแดนจีน แดนพม่า กับแคว้นลานนาไทย
เมืองเชียงรุ้งปรากฎในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นเมื่อรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ว่าเป็นเมืองหนึ่งใน ๒๐ เมือง ที่ได้ถวายดอกไม้ทองเงิน เมืองทั้ง ๒๐ เมืองนั้นคือ
เมืองนครหลวง เมืองศรีสัตนาคนหุต เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองเชียงไกร
เมืองเชียงกราน เมืองเชียงแสน เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงราย เมืองแสนหวี เมืองเขมราช
เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองใต้ทอง เมืองโคตรบอง เมืองเรวแกว ๑๖ เมืองนี้ ฝ่ายเหนือ
เมืองฝ่ายใต้มีเมืองอุยองตะหนะ เมืองมลากา เมืองมลายู เมืองวรวารี
ชาวเมืองเชียงรุ้งในไทยลื้อ ภาษาและสำเนียงคล้ายชาวนครศรีธรรมราช ที่เป็นดังนี้เพราะปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า
เมื่อ พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระรามเมศวรยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ กวาดครอบครัวอพยพผู้คนลงมาแล้วให้ส่งไปไว้เมืองพัทลุง
เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองจันทบุรี ไทยที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ที่กวาดต้อนอพยพมานั้น
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่าคงจะเป็นพวกลื้อนี้โดยมาก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เกิดเหตุจลาจลในเมืองลื้อ อาณาเขตสิบสองปันนา
จีนอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พม่าอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พวกเจ้านายผู้ใหญ่เมืองเชียงรุ้ง
จึงเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นขย้าของขัณฑสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยเอาสิบสองปันนามาเป็นเมืองขึ้น จะต้องตัดกำลังพม่าทางเมืองเชียงตุงเสียก่อน
แต่การตีเชียงตุงไม่เป็นผลสำเร็จ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เจ้าเมืองเชียงรุ้งได้แต่งทูตให้เชิญศุภอักษรกับต้นไม้ทองเงิน
เครื่องบรรณาการลงมากรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยตีเมืองเชียงรุ้งได้ พม่าก็ทำอะไรแก่เมืองเชียงรุ้งไม่ได้
จึงโปรดให้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง แต่ไม่สำเร็จ
หน้า ๖๕๒๕
๑๗๘๕. เชียงสือหรือองเชียงสือ
เป็นพระนามของพระเจ้าเวียดนามยาลอง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ยาลอง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศเวียดนาม
ก่อนจะตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อพวกขบถไตเซินยึดเมืองไซง่อนได้ องเชียงสือซึ่งเป็นเจ้าเมืองไซง่อน
ได้หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดให้ยกทัพไปตีช่วยองเชียงสือตีเมืองญวนถึงสองครั้ง
ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ และ พ.ศ.๒๓๒๗ แต่ทำการไม่สำเร็จ องเชียงสือเองก็ได้พาสมัครพรรคพวกโดยเสด็จไปช่วยรบพม่าหลายครั้ง
ต่อมาได้หลบหนีจากพระนครไป เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ เพื่อไปกู้บ้านเมืองของตน โดยได้รับการสนับสนุนจากไทย
และทหารอาสาสมัครหลายร้อยคน มีทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ ไอริช ได้ทำลายทัพเรือของพวกไตเซินลงในปี
พ.ศ.๒๓๓๕ เมื่อจัดระเบียบการปกครองญวนใต้ให้มั่นคง แล้วก็ยกทัพไปตีเมืองเว้
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๓ แล้วได้ส่งดอกไม้เงินทองมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
ฯ ถึงหกครั้งด้วยกัน และเมื่อตีเมืองฮานอยได้ องเชียงสือก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์แห่งอาณาจักรเวียดนามที่เมืองเว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕
หน้า ๖๕๓๐
อาณาจักรเวียดนามในครั้งนั้น ประกอบด้วยดินแดนสามภาคคือ ญวนกลาง อยู่ที่เมืองเว้
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ญวนเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอย และญวนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน
หน้า ๖๕๓๐
๑๗๘๖. เชียงแสน
อ.ขึ้น จ.เชียงราย ภูมิประเทศตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นที่สูงค่อนลาดลงมาทางใต้
มีลักษณะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ที่ลุ่มราบทำนาได้ ส่วนที่เป็นเนินมีป่าไม้เตี้ย ๆ
อ.เชียงแสน เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองเชียงแสน
พระเจ้าแสนภู ทรงสร้างขึ้นตรงซากเมืองรอยเก่า
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๕๑ พระเจ้าสามฝั่งแกน โปรดให้สร้างกำแพงเมือง
ก่อด้วยอิฐมีป้อมปราการ ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๔๗ กองทัพไทยยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน
ซึ่งเวลานั้นกองทัพพม่ายึดอยู่ เมื่อตีได้แล้วก็ให้รื้อกำแพงเมือง และเผาเมืองเสียสิ้น
เพราะไม่ต้องการให้ข้าศึกใช้อีกต่อไป และให้อพยพชาวเมืองไปไว้เมืองอื่น เมืองเชียงแสนจึงร้างแต่นั้นมา
แล้วได้ตั้งเป็นอำเภอ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ แล้วยุบเป็นกิ่งอำเภอ
ต่อมาเรียกว่า กิ่ง อ.เชียงแสน จากนั้นเปลี่ยนเป็น กิ่ง อ.เชียงแสน อีก เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๘๑ และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐
หน้า ๖๕๓๕
๑๗๘๗. เชียงใหม่
จังหวัดภาคเหนือ มีอาณาเขตทิศเหนือจดประเทศพม่า ทิศตะวันออกจด จ.เชียงราย
จ.ลำปาง ทิศใต้จด จ.ลำพูน จ.ตาก จ.แม่ฮ่องสอน ทิศตะวันตกจด จ.แม่ฮ่องสอน ภูมิประเทศเป็นที่สูง
เป็นป่า และภูเขาโดยมาก มีเทือกเขาใหญ่ ๆ หลายแห่ง เช่น ดอยอินทนน ดอยสุเทพ
ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว มีที่ราบตามหุบเขา และพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง
จ.เชียงใหม่ เคยเป็นราชธานีของแคว้นลานนาไทยมาแต่โบราณ พระยาเม็งรายทางสร้างขึ้น
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๙ เลือกได้ที่เมืองเป็นชัยภูมิอยู่ถัดไปทางใต้ ซากเมืองเก่าซึ่งในตำนานกล่าวว่า
เคยเป็นเมืองระมิง ในสมัยพระเจ้าอนุรุทธ แห่งกรุงพุกาม
เมื่อสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังไม่ยกเป็นราชธานี ถึงรัชกาลพระเจ้าผายู กษัตริย์องค์ที่สี่
ในราชวงศ์เม็งราย จึงย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองเชียงใหม่ เมืองพะเยา ซึ่งมีกษัตริย์สืบต่อจากพระยางำเมือง
มาสององค์ ก็ตกอยู่ในอาณาเขตของพระเจ้าผายู เมืองเชียงใหม่จึงเป็นราชธานี
แห่งอาณาจักรลานนาไทยโดยสมบูรณ์
ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช
เป็นที่เลื่องลือว่ามีอานุภาพมาก สามารถรุกแดนอาณาจักรอยุธยาเนือง ๆ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องยกทัพไปปราบปราม
จนได้ชายอาณาเขตคืน
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๘๖ เชียงใหม่ขาดกษัตริย์จึงเชิญพระนางจิรประภา
ผู้เป็นเชื้อพระวงศ์เดียวกัน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการก่อน แล้วเชิญพระเจ้าชัยเชษฐา
รัชทายาทเมืองหลวงพระบางมาครองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ แต่อยู่ได้ไม่นานก็ไปครองเมืองล้านช้าง
ทางเชียงใหม่จึงไปเชิญท้าวเมกุฎิ เจ้าแห่งไทยใหญ่ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์พระยาเม็งรายมาครอง
เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๔
ในปี พ.ศ.๒๑๐๑ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ยกทัพมาตีเชียงใหม่ พระเจ้าเมกุฎิยอมอ่อนน้อมเชียงใหม่ก็ตกเป็นของพม่ามอญ
นับแต่นั้นมา สมเด็จพระนเรศวร ฯ ยกไปตีเมืองเชียงใหม่ไว้ได้ชั่วคราว ก็กลับตกไปเป็นของพม่าอีก
สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ยกไปตีได้แต่ก็อยู่ไม่นาน กลับไปเป็นของพม่า
ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไปตีเชียงใหม่เป็นครั้งสุดท้าย
เชียงใหม่จึงเข้ามารวมกับไทย มาจนถึงทุกวันนี้
หน้า ๖๕๓๗
๑๗๘๘. เชียงใหญ่
อำเภอ ขึ้น จ.นครศรีธรรมราช
หน้า ๖๕๔๖
๑๗๘๙. เชื้อ - โรค
เชื้อโรคเป็นจุลินทรีย์ จำพวกหนึ่งซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์แล้ว
ทำให้มนุษย์หรือสัตว์ แล้วทำให้เกิดโรคหรือมีการเจ็บไข้ แสดงอาการของพยาธิสภาพ
ที่เกิดขึ้นจากเชื้อโรคนั้น ๆ มีความรุนแรงต่างกัน
เชื้อโรคแบ่งออกได้เป็นหลายพวก โดยถือเอาขนาดรูปร่าง และสมบัติที่แตกต่างกันไปเป็นหลัก
ดังนี้
๑. ไวรัส
เป็นเชื้อโรคขนาดเล็กที่สุด ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อีเล็คตรอน ส่องดูจึงจะเห็นรูปร่างได้
ได้แก่ เชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้เกิดไข้ทรพิษ เป็นต้น
๒. พวกริกเกตต์เซีย
มีขนาดโตกว่าไวรัส แต่มักมีสมบัติและความเป็นอยู่คล้าย ๆ ไวรัส ได้แก่ เชื้อริกเกตต์เซีย
ที่ทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นต้น
๓. เชื้อกลุ่ม ซิตตาโคซัส ทราโคมา และลิมโฟแกรนูโลมา
เวเนเรียม พวกนี้มีขนาดใกล้เคียงกับพวกริกเกตต์เซีย
แต่มีสมบัติบางอย่างแตกต่างกันไป กลุ่มนี้ประกอบด้วยเชื้อที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงตา
และที่ทำให้เกิดกามโรค ชนิดหนึ่ง
๔. เชื้อบักเตรี
เป็นพวกที่มีเซลล์เดียว จัดอยู่ในตระกูลพืชขนาดเล็ก ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ส่องขยาย
จึงเห็นได้มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กันไปได้แก่ เชื้อที่ทำให้เกิดอหิวาตกโรค
เป็นต้น
๕. เชื้อรา
เป็นพวกที่จัดอยู่ในตระกูลพืช มีทั้งชนิดเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ต่อ ๆ กัน
ทำให้เกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดกลาก เกลื้อน เป็นต้น
๖. ไมโคร พลาสมา
เป็นพวกที่คล้ายบักเตรี แต่ต่างกันตรงที่จะไม่มีผนังหุ้มเซลล์ ได้แก่ เชื้อรา
ที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม เป็นต้น
๗. ปรสิต
เป็นพวกที่จะอยู่ในตระกูลสัตว์ มีทั้งชนิดเซลล์เดียวหรือหลาย ๆ เซลล์ ที่จะต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ขยายดูจึงจะเห็น
หรือที่มีขนาดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มากได้แก่
ปรสิต ที่ทำให้เกิดโรคบิดหรือพยาธิลำไส้ต่าง ๆ เป็นต้น
หน้า ๖๕๔๖
๑๗๙๐. เชือก
เป็นชื่อเรียกพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ในบางท้องถิ่นเรียกไม้นี้ว่า รกฟ้า รกฟ้ากอง
เชือก ไม้นี้เป็นไม้ทิ้งใบขนาดกลาง สูง ๒๐ - ๓๐ เมตร พบขึ้นทั่วไปในป่าเบณจพรรณ
ป่าแดงที่แห้งแล้ง มีช่อดอกสั้น ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกดอกหนึ่งสีเหลืองด้าน
ๆ ผลรูปรี ๆ ยาว ๓ - ๕ ซม. มีพู ๕ พู คล้านยผลมะเฟือง เนื้อไม้แข็ง หนัก สีน้ำตาลแก่
ไม่ทนทาน หน้า
๖๕๕๐
๑๗๙๑. แช่งน้ำ
เป็นพิธีทำน้ำให้ศักดิ์สิทธิ์ในการถือน้ำ ประเพณีการถือน้ำเรียกชื่อเด็มในพงศาวดารว่า
"ฎพระราชพิธีสัจปานกาล" เรียกกันเป็นสามัญว่า "ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา"
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ถือน้ำ" เป็นพระราชพิธีเกี่ยวด้วยการดื่มน้ำสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดินหน้าที่นั่ง
เพื่อแสดงความจงรักภักดี เป็นพระราชพิธีใหญ่ สำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณ กำหนดมีปีละสองครั้ง
คือในเดือนห้าขึ้นห้าค่ำและเดือนสิบแรมสิบสามค่ำ
หน้า ๖๕๕๒
๑๗๙๒. แช่อิ่ม
เป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่ง ใช้อาหารประเภทพืชผัก หรือผลไม้แช่ในน้ำตาลที่ข้นมาก
จนแบคทีเรียไม่อาจเจริญได้ แช่จนอิ่มตัวและแห้งเก็บไว้ได้นานวัน
หน้า ๖๕๕๘
๑๗๙๓. โชค
หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย ตามปรกติคำโชคนี้ถ้าใช้เป็นคำโดด
ๆ มักนิยมหมายในทางดี
โชค ในหลักโหราศาสตร์ว่าหมายยถึง ตำแหน่งสัมพันธ์ของดวงดาว ที่มีอิทธิพลให้เกิดผลดีผลร้าย
มีจำแนกไว้หลายโชคด้วยกัน
หน้า ๖๕๕๘
๑๗๙๔. โชคชัย
อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมา ภูมิประเทศเป็นป่าดงและภูเขา มีที่ราบสำหรับทำนาอยู่บ้าง
เดิมเรียกว่า อ.กระโทก เคยเป็นด่านเรียกว่า ด่านกระโทก
เปลี่ยนชื่อเป็น อ.โชคชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒
หน้า ๖๕๖๐
๑๗๙๕. โชงโลง
เป็นเครื่องมือวิดน้ำชนิดหนึ่ง (ดูชงโลง - ลำดับที่ ๑๕๙๒)
หน้า ๖๕๖๒
๑๗๙๖.โชฎีกราชเศรษฐี
เป็นตำแหน่งเจ้ากรมท่าซ้าย ถือศักดินา ๑,๔๐๐ มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุข และควบตุมกิจการของชาวต่างประเทศ
ที่มีบ้านเรือนทางฝั่งซ้ายของคุ้งทะเลไทย ได้แก่ ลูกค้าที่มาจากเมืองจีนและญวน
เจ้ากรม ปลัดกรม และพนักงานของกรมท่าซ้าย ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนและญวน ส่วนกรมท่าขวามีหน้าที่ดูแลลูกค้าที่มาจากอินเดีย
อาหรับ ชวา และมลายู ที่มีบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาของคุ้งทะเลไทย กรมท่าทั้งซ้ายและขวานี้ขึ้นอยู่กับพระคลัง
หน้า ๖๕๖๒
๑๗๙๗. โชติกะหรือโชตกะ
เป็นชื่อเศรษฐี ที่มั่งมีทรัพย์คนหนึ่งในห้าคน ในเมืองราชคฤห์ และในรัชสมัยพระเจ้าพิมพิสาร
โชติกะเศรษฐีมีบ้านอยู่ในเมืองราชคฤห์ ในบั้นปลายแห่งชีวิตก็ออกบวชในพระพุทธศาสนา
และได้บรรลุอรหัตมีชื่อว่า พระโชติกเถระ
หน้า ๖๕๖๓
๑๗๙๘. โชยฺติษ
คือดาราศาสตร์ว่าด้วยวิธีคำนวณการโคจรของดวงดาวต่าง ๆ เพื่อทราบถึงฤดูกาลและฤกษ์ยามสำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง
ๆ ตามคัมภีร์พระเวท บางทีเรียกวิชานี้ว่า นักษัตรศาสตร์คือ วิชาดูดาว
หน้า ๖๕๖๖
๑๗๙๙. ไชมินิ
เป็นนักปราชญ์ผู้มีชื่อผู้หนึ่งของอินเดีย เป็นสานุศิษย์ของท่าน วฺยาส เกิดเมื่อประมาณ
พ.ศ.๑๔๓ กล่าวกันว่า ไชมินิได้รับคัมภีร์สามเวทจากครูของท่าน และได้เป็นผู้เผยแพร่หรือเป็นผู้สอนคัมภีร์นั้นด้วย
สามเวท เป็นคัมภีร์ประมวลบทสวด (มันตระ) ต่าง ๆ จากคัมภีร์ฤกเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์แรกของพระเวท
นอกจากคัมภีร์สามเวทแล้ว ไชมินิยังได้แต่งคัมภีร์ทางปรัชญาชื่อ มีมางสาสูตร
เป็นคัมภีร์ขยายความในกรรมกาณฑ์ของพระเวท ถือกันว่าเป็นคัมภีร์ทางปรัชญาที่ใหญ่ที่สุด
มีหัวข้อเรื่องถึง ๑,๐๐๐ หัวข้อ เริ่มด้วยการนิยามคำว่า "ธรรม"
หน้า ๖๕๖๘
๑๘๐๐. ไชยเชษฐ์
เป็นชื่อตัวพระในบทละคอนนอกเรื่องไชยเชษฐ์ พระราชนิพนธิ์ในรัชกาลที่สอง กรุงรัตนโกสินทร์
เนื้อเรื่องเดิมคงจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เรื่องไชยเชษฐ์ มีเนื้องเรื่องบางตอนตรงกับเนื้อเรื่องวนาวนชาดกในปัญญาสชาดก
มีเรื่องย่อคือ
พระไชยเชษฐ์ เป็นพระโอรสของกษัตริย์ เมืองเหมันต์ มีพระสนมเจ็ดนาง ต่อมาพระอินทร์ได้ช่วยเหลือให้มาพบนางสุวิญชา
และได้อภิเษกกับนางที่เมืองสิงหล นางสุวิญชาถูกสนมทั้งเจ็ดนางอิจฉา หาทางกลั่นแกล้งจนพลัดพรากจากพระไชยเชษฐ์
ในที่สุดพระไชยเชษฐ์ออกติดตามนางจนได้พบและคืนดีกัน หน้า ๖๕๗๒
๑๘๐๑. ไชยปราการ - เมือง
เมืองนี้เรียกเป็นเวียงไชยปราการก็มี เดิมเข้าใจกันว่า เป็นเมืองเดียวกับเมืองฝาง
แต่ผลการตรวจค้นเมืองโบราณทางภาคเหนือ ในระยะต่อมาปรากฎว่าเมืองฝางกับเมืองไชยปราการเป็นคนละเมือง
และเมืองไชยปราการเป็นเมืองอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งอยู่ในท้องที่ของ อ.ฝาง ยังมีซากอยู่ที่
ต.ปงคำ อยู่ใต้เมืองฝางลงมาประมาณ ๑๒ กม. บางท่านเรียก ปงเวียงไชย หรือเวียงไชย
ผู้สร้างเมืองไชยปราการ ยุติกันว่าเป็นเจ้าพรหมราช ราชโอรสของพระองค์พังคราช
กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนคร ผู้สืบเชื้อสายมาแต่พระยาสิงหนวติราช ประสูติเมื่อปี
พ.ศ.๑๔๖๔ ได้สร้างเมืองไชยปราการ เมื่อปี พ.ศ.๑๔๘๐ ทรงครองเมืองนี้จนสิ้นพระชนม์
เมื่อปี พ.ศ.๑๕๔๑ พระองค์ชัยสิริ ราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อมาได้ประมาณ ๖ ปี
จึงเสียเมืองแก่ข้าศึก (ดูชัยสิริ - ลำดับที่ ๑๖๗๔)
หน้า ๖๓๗๒
๑๘๐๒. ไชยพฤกษมาลา - วัด
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ประเภทราชวรวิหาร ซึ่งมีอยู่ ๑๖ วัดด้วยกัน วัดนี้ตั้งอยู่ปากคลองมหาสวัสดิ์
อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นวัดโบราณสร้างสมัยอยุธยา แต่ได้มาร้างไปก่อนสร้างกรุงเทพ
ฯ เมื่อเริ่มสร้างกรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ ได้นำเอาอิฐจากวัดนี้ไปสร้าง
แต่การเอาของวัดมาใช้เช่นนี้ จะต้องทำการผาติกรรมคือ มีการสร้างทดแทนหรือใช้หนี้
จึงได้เริ่มให้มีการบูรณะวัดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๘ การบูรณะได้ทำมาตามลำดับจนเสร็จสมบูรณ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ
หน้า ๖๕๗๕
๑๘๐๓. ไชยา
อำเภอ ขึ้น จ.สุราษฎร์ธานี ภูมิประเทศเป็นที่ราบในตอนกลาง นอกนั้นบางแห่งเป็นป่าสูง
มีเขาเล็ก ๆ
อ.ไชยา เป็นเมืองโบราณ เรียกกันว่า เมืองไชยา
ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ศักราชกลียุค ๔๓๓๒ (พ.ศ.๑๗๗๓) มีชื่อเมือง ครฺหิ
ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเมืองไชยา เดิมเขตเมืองนี้ตกทะเลทั้งสองด้านคือ ด้านตะวันออกทางอ่าวบ้านดอน
ทางตะวันตก ทางตะกั่วป่า
ในรัชกาลที่หนึ่ง โปรดให้ยกเมืองนี้ไปขึ้นกลาโหม เมืองนี้เคยถูกพม่าเผา ในสมัยที่พม่ายกไปตีหัวเมืองปักษ์ใต้
ในปี พ.ศ.๒๓๔๒ โปรดให้รวมเมืองไชยา กับเมืองกาญจนดิษฐ์ เข้าเป็นเมืองเดียวกัน
เรียกว่า เมืองไชยา ส่วนเมืองไชยาเปลี่ยนเป็น อ.พุมเรียง ครั้นปี พ.ศ.๒๔๕๘
โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา เป็นสุราษฎร์ธานี และให้เรียก อ.พุมเรียง เป็น
อ.ไชยา ตามเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น อ.ไชยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ มีพระธาตุไชยา
เป็นเจดีย์โบราณแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ในวัดมหาธาตุ เมืองไชยา
หน้า ๖๕๘๕
๑๘๐๔. ไชยานุภาพ
เป็นนามพระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวร ฯ ที่ทรงในวันทำสงครามยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา
แห่งกรุงหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๕ ชื่อเดิมก่อนขึ้นระวางคือ "พลายภูเขาทอง"
จากชัยชนะครั้งนี้จึงได้รับการยกย่อง พระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"
หน้า ๖๕๘๗
๑๘๐๕. ไชโย ๑
อำเภอขึ้น จ.อ่างทอง ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ทำนาได้ทั่วไป อ.ไชโย ชาวบ้านเรียก
อ.บ้านมะขาม มีสิ่งสำคัญคือ พระพุทธปฎิมากร ที่วัดไชโย ต.ไชโย หน้าตักกว้าง
๑๖ เมตร สูง ๒๒ เมตร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
ฯ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) ที่สมุหนายก สร้างพระอุโบสถ และพระวิหาร
สวมภายหลัง
หน้า ๖๕๘๙
๑๘๐๖. ไชโย ๒
เป็นคำเปล่งเสียงแสดงความมีชัย คำนี้น่าเชื่อว่ามีใช้มานานแล้ว โดยมีชื่อวัดและชื่อตำบลอยู่ใน
จ.อ่างทอง เป็นหลักฐานอยู่
หน้า ๖๕๘๙
๑๘๐๗. ไชโย ๓ - วัด
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
ริมฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้เดิมเป็นวัดราษฎร์ เริ่มปรากฎเป็นวัดสำคัญ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ วัดนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นโท
ชนิดวรวิหาร
หน้า
๖๕๙๓
๑๘๐๘. วัดไชยวัฒนาราม
เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์
พระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๓
พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ใช้วัดนี้เป็นที่พระราชทานเพลิงศพเจ้านายชั้นสูง
มาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ในคราวพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๘ ทางด้านตะวันตก กรมอาสาหกเหล่า
กำลัง ๒,๐๐๐ คน เศษ ยกออกไปตั้งค่ายอยู่ที่วัดแห่งนี้
วัดไชยวัฒนาราม กลายเป็นวัดร้างนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐
หน้า ๖๕๙๘
ซ
๑๘๐๙. ซ พยัญชนะตัวที่สิบเอ็ด
เป็นตัวที่สี่ในวรรคที่สอง นับเป็นพวกอักษรต่ำ คู่กับสำเนียง ส. มีใช้เฉพาะในคำไทยไม่มีในบาลี
และสันสกฤต
ซ. เป็นพยัญชนะอโฆษะคือ ไม่ก้อง และเป็นพยัญชนะเสียดแทรกคือ พยัญชนะที่อวัยวะในปากมีลิ้น
และริมฝีปาก เป็นต้น ปิดกักลมไว้ไม่สนิท ปล่อยให้ลมมีโอกาสเสียดแทรกออกมา
ถ้าลิ้นกักลมที่ฟัน เสียงที่หลุดออกมาก็เป็นเสียง ซ ถ้าริมฝีปากกักลมเสียงที่หลุดเสียดแทรกออกมา
ก็เป็นเสียง ฟ
หน้า ๖๖๐๙
๑๘๑๐. ซอ
เป็นเครื่องดนตรี ที่มีสาย และใช้เส้นหางม้าหลาย ๆ เส้นรวมกันสีไปมาที่สาย
แล้วเกิดเป็นเสียง มีรูปร่างลักษณะและชื่อหลายอย่างต่าง ๆ กัน อยู่ในประเภทเครื่องสี
ซอมีอยู่หลายเสียง เรียกชื่อตามลักษณะบ้าง ตามเสียงบ้าง นอกจากจะใช้บรรเลงเป็นเอกเทศแล้ว
ยังใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงดนตรีต่าง ๆ เช่น วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงปี่พาทย์
บางอย่าง ลักษณะนามของซอเรียกว่า "คัน"
ซอด้วง
เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ลักษณะของส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง ให้เกิดเสียงกังวานเรียกว่า
"กระบอก" มีคันยาวเรียกว่า "ทวน" กลมสอดปักที่กระบอก และตั้งขึ้นไปตอนบนที่เป็นสี่เหลี่ยม
ปลายโอนช้อยไปข้างหลัง มีลูกบิดสองลูกเสียบคันทวน ตอนบนสำหรับผูกพันปลายสาย
และขึ้นเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ มีสายสองสายทำด้วยไหม หรือเอ็น ฟั่นเป็นเกลียว
ผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ขึงผ่านหน้าซอขึ้นไปตามคัน (ทวน) ปลายสายข้างบนผูกพันกับปลายลูกบิดลูกละสาย
สายที่มีเสียงสูงเรียกว่า "สายเอก"
สายที่มีเสียงต่ำเรียกว่า "สายทุ้ม"
คันชักทำด้วยไม้ หรืองาช้าง ใช้เส้นหางม้าประมาณ ๒๕๐ เส้น รวมกันขึงให้ตึงคล้ายคันกระสุน
สำหรับชักเข้าชักออก ให้เส้นหางม้าถูกับสายซอ ซึ่งเรียกว่า "สี" เนื่องจากรูปร่างของซอชนิดนี้
คล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ด้วง จึงเรียกว่า ซอด้วง
ซอด้วงนี้ บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี เวลาบรรเลงอยู่ในวงเครื่องสาย
มีหน้าที่เป็นผู้นำวง และดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง แต่เวลาบรรเลงอยู่ในวงมโหรี
มีหน้าที่เพียงดำเนินเนื้อเพลง เท่านั้น
ซอสามสาย
เป็นซออีกชนิดหนึ่งของไทย ส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดขวางลูก
เรียกว่า กะโหลก สายที่มีเสียงสูงเรียก "สายเอก"
สายรองลงมาเรียก "สายกลาง"
และสายที่มีเสียงต่ำเรียก "สายทุ้ม"
หน้า ๖๖๑๐
ซอสามสายนี้บรรเลงรวมอยู่ในวง "ขับไม้"
ทำหน้าที่คลอเสียงขับ และบรรเลงเพลงแทรก (ดูขับไม้ - ลำดับที่ ๗๒๒) วงมโหรีโบราณ
ซึ่งมีผู้บรรเลงสี่คนก็มีซอสามสายอยู่ด้วย หน้าที่ของซอสามสายในวงมโหรีคือ
คลอเสียงคนร้องและบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ
ซออู้
เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ลักษณะทั่วไปคล้ายซอด้วง แต่ส่วนประกอบบางส่วนที่ต่างกัน
ส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียงเรียกว่า กะโหลก เพราะทำด้วยกะลามะพร้าว
ซออู้ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายมโหรีปี่พาทย์ไม้นวม และปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
มีหน้าที่หยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง กระตุ้นอารมณ์ให้สนุกสนาน
ซอโอ๊ก
เป็นซอที่สร้างพิเศษ รูปร่างเหมือนซออู้ทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่า
๑๘๑๑. ซอง
เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกระบอก ยาว ๗๐ ซม. แต่ปากบาน
กว้าง ๘.๕ ซม. กรวยยาว ๒๐ ซม. ใส่ทางปาก ก้นมีฝาไม้ไผ่เจาะรูปิดก้นกว้าง ๕
ซม. มีใช้ในจังหวัดนครราชสีมา
หน้า ๖๖๑๗
๑๘๑๒. ซ้อง
เป็นชื่อราชวงศ์หนึ่งของจีน ก่อนสิ้นราชวงศ์ถัง ประเทศจีนแบ่งแยกออกเป็นห้าก๊ก
เรียกว่า ยุคอู่ไต้
ต่อมาราวปี พ.ศ.๑๕๐๓ เจ้าควงเอี้ยน นายพลราชองครักษ์ของกษัตริย์จิว ได้รับการร้องขอของบรรดาทหารให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
ซ่งไท้จู่
นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ้อง แล้วเริ่มปราบปรามก๊กต่าง ๆ และจัดการปกครองแบบบริหารจากศูนย์กลาง
พระเจ้าซ่งไท่จู่ครองราชย์ได้ ๑๗ ปีก็สวรรคต พระอนุชาได้ครองราชย์สืบต่อมา
ประเทศจีนเริ่มเข้าสู่สภาพปรกติ และมีเอกภาพอีกระยะหนึ่ง แต่ภาคใต้และภาคเหนือของจีน
ยังมีชนเผ่าที่ไม่ยอมอ่อนน้อม เช่น มณฑลยูนนานขึ้นต่อน่านเจ้าอันนัมยังตั้งตนเป็นเอกราช
ช่วงระยะเวลานับแต่พระเจ้าซ่งไท่จู่ถึงพระเจ้าซ่งจินจงรวมกษัตริย์แปดองค์
ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เหอหนาน
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๖๗๐ เมืองเหอหนานถูกพวกกิมยกทัพมาตีแตก (ดูคำงักฮุย - ลำดับที่
๑๒๑๗ ประกอบ) จึงไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองหางโจว
มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกแปดพระองค์ ตามประวัติศาสตร์เรียกช่วงหลังนี้ว่า หนานซ่ง
(ซ้องใต้) และเรียกช่วงแรกว่า เป่ยซ่ง (ซ้องเหนือ)
เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่งในราชวงศ์ซ้องคือ ความคิดริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงรัฐประศาสโนบาย
โดยได้มอบหมายให้หวางอันซี
ผู้เป็นเสนาบดีในรัชสมัยพระเจ้าซ่งเสิงจง เป็นผู้ดำเนินการปรับปรุง หวางอันซีได้เสนอแนวทางปรับปรุงรวม
๑๔ ประการ เช่น ควรแต่งตั้งข้าราชการเพื่อบริหารงานการคลัง ซึ่งจะสามารถตัดทอนรายจ่ายลงได้ราวร้อยละเจ็ดสิบ
ควรสำรวจที่ดินเพื่อการเกษตรทั่วราชอาณาจักร ควรสะสมเสบียงอาหารไว้ให้พรักพร้อม
ควรให้ประชาชนกู้ยืมเงินจากรัฐได้ ชายฉกรรจ์จะได้รับยกเว้นการเป็นทหารเมื่อส่งเงินจำนวนหนึ่งแก่รัฐ
รัฐบาลควรตั้งศูนย์การค้าของรัฐ และมีหน้าที่รับจำนองจำนำ ควรตัดทอนงบประมาณการทหารในยามว่างศึก
เพราะรัฐต้องใช้งบประมาณเพื่อการทหารถึงสองในสามของรายจ่ายทั้งหมด ควรปลดทหารออกจากกองประจำการ
คงเหลือแต่ทหารตระเวนชายแดน และทหารรักษาดินแดนเฉพาะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
ควรคัดเลือกทหารที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นนั้น แต่สายการบังคับบัญชายังคงขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง
ให้ทหารประจำการทำหน้าที่เป็นตำรวจของท้องที่ด้วย ควรเปลี่ยนแปลงระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการ
จากเดิมที่ยึดถือความสามารถในการประพันธ์ มาเป็นความสามารถด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ให้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลเพิ่มขึ้นทุกอำเภอ จัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยขึ้นอีกสามแห่งในเมืองหลวง
ควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยการทหาร นิติศาสตร์และแพทยศาสตร์
ในทางปรัชญา ราชวงศ์ซ้องนี้นักปราชญ์ได้นำเอานิกายเซ็นของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมาประกอบกับลัทธิขงจื๊อ
ปรัชญาดังกล่าว ได้เผยแพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่น ในราชวงศ์เหม็ง
ในปี พ.ศ.๑๘๒๕ เมืองหลวงของราชวงศ์ซ้องถูกพวกมองโกลยึดได้ และสิ้นราชวงศ์ซ้องในที่สุด
รวมระยะเวลาที่ราชวงศ์ซ้อง ปกครองประเทศจีนประมาณ ๓๒๓ ปีเศษ
หน้า ๖๖๑๗
๑๘๑๓. ซ้องกั๋ง
เป็นขุนโจรผู้ขึ้นชื่อในรัชสมัยพระเจ้าซ่งเฟยจงแห่งราชวงศ์ซ้อง (ราว พ.ศ.๑๖๖๔)
ซ้องกั๋งมีสมุนฝีมือเยี่ยมในการรบพุ่งอยู่ ๓๖ คน ได้ทำการปล้นสะดมทั่วบริเวณสิบจังหวัดแถบแคว้นเหอเป่ย
และซันตุง กองทัพรัฐบาลไม่อาจจะปราบได้
ชีวประวัติของซ้องกั๋งได้มีผู้นำมาดัดแปลง และประพันธ์เป็นนวนิยายอันนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของจีน
ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมจีนในสมัยนั้น เช่น สภาพความคับแค้นอันสืบเนื่องจากถูกข้าราชการเบียดเบียนบีฑา
และความไร้ประสิทธิภาพของข้าราชการ เป็นต้น
หน้า ๖๖๒๕
๑๘๑๔. ซอเจ้ง
เป็นเครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสำหรับดีดคล้ายจะเข้ (ดูจะเข้และเจ้ง -
ลำดับที่ ๑๒๙๔ และ ๑๔๖๓)
หน้า ๖๖๒๗
๑๘๑๕. ซ่อน
เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่หรือใบมะพร้าวสาน มีลักษณะคล้ายกรวย
ยาว ๑.๑๐ เมตร กว้าง ๙ ซม. การใช้ซ่อนจะขุดคันนาเป็นช่อง สำหรับวางจับปลาดุก
ปลาไหล มีใช้ทั่วไป
๑๘๑๖. ซ่อนกลิ่น
เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เป็นพันธุ์มีหัวแล้วแตกหน่อพุ่งเป็นยอดขึ้นจากพื้นดิน
ดอกออกเป็นช่อตั้งตรงกลางหน่อ ก้านช่อกลมยาว มีดอกมากเรียงติดกันไปจากกึ่งกลางช่อ
จนถึงปลายสุดช่อ สีขาว กลีบค่อนข้างหนามีกลิ่นหอมแรงทน ปลูกเป็นไม้ตัดดอก
ใช้ตกแต่งประดับ
หน้า
๖๖๒๗
๑๘๑๗. ซองแมว ซ้องแมว - ต้น
(ดูซ้องแมว ลำดับที่ ๑๖๓๖)
หน้า ๖๖๒๘
๑๘๑๘. ซ่อนหา
เป็นการเล่นอย่างหนึ่ง มีวิธีการเล่นสองวิธี
หน้า ๖๖๒๘
วิธีที่ ๑
ผู้เล่นมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้ที่เป็นผู้หาจะต้องหลับตา หรือใช้ผ้าผูกตาไม่ให้เห็นผู้ซ่อน
เมื่อผู้ซ่อนได้ซ่อนตัวเรียบร้อยแล้วก็ให้อาณัติสัญญาณ ผู้หาลืมตาขึ้นแล้วออกเที่ยวหาผู้ซ่อน
เมื่อพบผู้ซ่อน ให้ใช้คำพูดว่า "โป้ง" พร้อมกับเรียกชื่อผู้นั้น ถ้าเรียกชื่อผิด
ผู้หาจะต้องเป็นผู้หาต่อไป ถ้าเรียกชื่อถูก ผู้หาจะต้องหาต่อไปจนครบจำนวนผู้เล่น
แล้วผู้ซ่อนคนแรกที่ถูกพบ จะเป็นผู้หาต่อไป
วิธีที่ ๒
แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองพวกเท่า ๆ กัน พวกหนึ่งเป็นผู้ซ่อน อีกพวกหนึ่งเป็นผู้หา
ผู้หาต้องนั่งรวมอยู่ในวงกลม ที่ขีดไว้แล้วหลับตา เมื่อผู้หาพบผู้ซ่อนแล้ว
ต้องพยายามจับให้ได้ ผู้ซ่อนพยายามหนีเข้าวงกลมที่ขีดกำหนดไว้ ถ้าเข้าได้ก็ปลอดภัย
๑๘๑๙. ซ่อม
เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กมีสองง่าม มีด้ามเหล็กเสียบติดกับด้ามไม้
ใช้แทงปลาไหล มีใช้ในจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
หน้า ๖๖๓๐
๑๘๒๐. ซอสามสาย
(ดู ซอ - ลำดับที่ ๑๘๑๔)
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๑. ซออู้
(ดู ซอ - ลำดับที่ ๑๘๑๔)
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๒. ซอโอ๊ก
(ดู ซอ - ลำดับที่ ๑๑๔)
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๓. ซักส้าว
เป็นการเล่นพื้นเมืองแบบหนึ่งของไทย ส่วนใหญ่เป็นการเล่นของเด็ก และเล่นในร่ม
การเล่นผู้เล่นจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ยื่นมือทั้งสองมายึดกันไว้ แล้วแกว่งไปแกว่งมา
โดยไม่ให้หลุดจากกัน พร้อมกับร้องเพลงเป็นทำนองของชาวบ้าน มีเนื้อร้องว่า
"ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง จะเล่นซักส้าว มือใครยาวสาวได้สาวเอา
มือใครสั้นเอาเถาวัลย์ต่อเข้า"
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๔. ซังแซว
เป็นชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวดำ หางยาว โตขนาดนกเอี้ยง (ดู แซงแซว - นก ลำดับที่
๑๘๘๓) หน้า
๖๖๓๑
๑๘๒๕. ซัด (ซักซ้าว) ๑ - ลูก
เป็นชื่อใช้เรียกเมล็ดถั่วชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอมแรงมาก อินเดีย จีน ปลูกและเก็บเมล็ดใช้ปรุงอาหาร
ยารักษาโรค และบางครั้งในพิธีกรรมทางศาสนา ในเมืองไทยนิยมใช้อบร่ำ เครื่องนุ่งห่มให้มีกลิ่นหอม
มักเอาผ้าต้มกับน้ำลูกซัด เรียกว่า ย้อมลูกซัด
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๖. ซัด ๒
เป็นท่ารำตามแบบนาฎศิลป์ไทยอย่างหนึ่ง ที่ทอดแขนเหยียดตึงออกไปทั้งสองข้าง
เสมอระดับไหล่ ตั้งมือแบเหยียดนิ้วทั้งสี่ขึ้นข้างบน ให้ตึงทั้งสี่นิ้ว ส่วนหัวแม่มือหักข้อเข้าหาฝ่ามือนิดหน่อย
แต่พองาม แล้วผลัดกันหย่อนตรงข้อศอก เวลาแขนซ้ายตึง ก็หย่อนแขนขวา เวลาแขนขวาตึงก็หย่อนแขนซ้าย
สลับกันตามจังหวะเพลง บางทีก็เพิ่มกระทบไล่ผสม ในเวลาซัดแขนทั้งสองนี้ด้วยคือ
เยื้องไหล่ ทางแขนที่ตึงมาข้างหลังเล็กน้อย สลับกันตามแขน การรำอย่างนี้เรียกว่า
"ซัด" หรือ "ซัดแขน"
หน้า ๖๖๓๑
๑๘๒๗. ซัด ๓
เป็นการรำตอนเบิกโรงในการแสดงโนห์รา หรือชาตรี การแสดงละครแบบนี้ เมื่อโหมโรงจบกระบวนแล้ว
ตัวนายโรง (หรือยืนเครื่อง) จะออกมานั่งที่เตียง หรือกระบอกไม้ ที่ทำเป็นราวสำหรับนั่งร้อบบทไหว้ครูอาจารย์
เสร็จแล้วจึงลุกขึ้นรำแสดงท่าต่าง ๆ การรำในตอนนี้เรียกว่า รำซัด
ซึ่งมีแบบแผนต่าง ๆ กัน
หน้า ๖๖๓๒
๑๘๒๘. ซัดน้ำ
เป็นการสาดน้ำในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวของพระสงฆ์ เมื่อถึงบทขึ้นชยนฺโต ก็ตีฆ้องชัย
พระเถระผู้เป็นประธานก็สาดน้ำมนต์รดบ่าวสาวและพวก การซัดน้ำนี้ซัดกันจนน้ำในบาตรหมด
การซัดน้ำตามประเพณีโบราณดังกล่าว ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพิธีหลั่งน้ำรดน้ำ
หน้า ๖๖๓๘
๑๘๒๙. ซันซี
เป็นชื่อมณฑลหนึ่งของประเทศจีนในสมัยเลียดก๊ก เป็นที่ตั้งของแคว้นจิ้น มีเมืองไท่เหวียนเป็นศูนย์กลางการปกครอง
ในอดีต ด่านย่านเหยินกวานในมณฑลซันซีเป็นด่านยุทธศาสตร์ที่สำคัญด่านหนึ่ง
กล่าวคือถ้าข้าศึกสามารถยึดด่านนี้ได้ ราชธานีก็จะตกเป็นของข้าศึก
มณฑลซันซี เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของจีน มีภูเขาชื่ออู่ไถซัน
ตามประวัติพุทธศาสนาของจีนกล่าวว่า พระบัญชุโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ภูเขาแห่งนี้
นอกจากภูเขาอู่ไถซันแล้วยังมีภูเขาหวินกัง หินต่าง ๆ ภายในถ้ำของภูเขาแห่งนี้
แกะสลักศิลาเป็นพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์และพระอรหันต์อย่างวิจิตรพิสดาร สันนิษฐานว่ารูปสลักต่าง
ๆ ดังกล่าวสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐
หน้า ๖๖๗๒
๑๘๓๐. ซันตุง
เป็นชื่อมณฑลหนึ่งในประเทศจีน มีแม่น้ำฮวงโหไหลผ่าน มีเมืองจี้หนาน
เป็นศูนย์กลางการปกครอง มีเมืองชิงเตา
เป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในสมัยราชวงศ์เช็ง เยอรมันเคยเช่าเมืองชิงเตาจากรัฐบาลจีน
และญี่ปุ่นก็เคยยึดเมืองนี้ได้ในสมัยก๊กมินตั๋ง มณฑลซันตุงในสมัยเลียดก๊ก
เป็นที่ตั้งของแคว้นฉี่และหลู่
มณฑลซันตุง มีภูเขาไท่ซัน
เป็นหนึ่งในห้าของภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศจีน
ขงจื้อเกิดที่เมืองจูฟู ในมณฑลซันตุง
หน้า ๖๖๔๔
๑๘๓๑. ซัวเถา
เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของจีน ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของปากแม่น้ำฮั่น
ทางภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง
เมืองซัวเถา แต่เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ต่อมาได้ขนยายตัวกลายเป็นเมืองท่าสำคัญ
และเปิดการค้ากับชาวต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๑ เป็นเมืองหนึ่งในบรรดาเมืองท่าต่าง
ๆ ที่จีนต้องถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญากับประเทศตะวันตก เปิดให้ชาวต่างประเทศเข้ามาทำการค้าได้
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองนี้ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองจนถึงปี
พ.ศ.๒๔๘๘
หน้า
๖๖๔๖
๑๘๓๒. ซาก - ไม้
เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันสองชนิด
ชนิดแรก เป็นไม้ต้นสูง ๑๕ - ๒๐ เมตร ลำต้นสูงเปลา เรือนยอดพุ่มทึบ ใบเป็นช่อ
แยกแขนงเป็นสองชั้น ช่อดอกเดี่ยว ๆ หรือสองช่อ ตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวอยู่ชิดติดกันบนช่อ
ผลเป็นฝักแบน ๆ
ชนิดหลัง ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านช่อใบยาว ๓๐ ซม. ผลยาว ๑๓ - ๑๕ ซม.
พันธุ์ไม้ทั้งสองชนิดนี้ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไป ชนิดแรกมีมากในภาคอีสาน
เนื้อไม้แข็งมากนิยมใช้เผาถ่าน สำหรับหลอมทอง
หน้า ๖๖๔๗
๑๘๓๓. ซาไก, สะไก
เป็นคนป่าพวกหนึ่งในแหลมมลายูที่เรียกกันว่า เงาะ
อีกพวกหนึ่ง จากพวกเงาะซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิม พวกซาไกมีผิวดำคล้ำ ผมหยิกเป็นลูกคลื่น
ภาษาที่พูดมีคำในตระกูลภาษามอญ - เขมร ปนอยู่ไม่น้อย มีความรู้เรื่องกสิกรรมน้อยมาก
คนป่าเผ่านี้ต่างกับพวกเซมัง ในตระกูลอินโดนีเซียน ซึ่งเรียกว่า เงาะ เหมือนกัน
ซาไก เป็นคำมลายู แปลว่า คนใช้ หรือทาส เหมือนกับคำว่า ข่า ในประเทศไทยตอนเหนือ
บางท่านว่า ลูกผสมของเซมังกับซาไก เรียกว่า เซนอย พวกนี้กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
ซาไก เรียกตัวเองว่า กอย
หน้า ๖๖๔๘
๑๘๓๔. ซาง ๑ - ไม้
เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป ของไม้ไผ่ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและภาคกลางตามที่ชุ่มชื้น
ลำต้นขึ้นตรงเป็นกอใหญ่ ๆ เนื้อหนา ขนาดลำกล้องเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ - ๘ ซม.
สำหรับไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เนื้อบาง รูปล้องโต เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕ - ๑.๐ ซม.
มีช่วงลำปล้องยาวประมาณ ๗๐ - ๙๐ ซม. ใช้ทำเป็นลำกล้องเป่าลูกกระสุน และลูกดอกนั้น
ทางกรุงเทพ ฯ เรียกว่า ไม้ซาง ด้วยเหมือนกัน
หน้า ๖๖๔๙
๑๘๓๕. ซาง ๒ - โรค
โรคจำพวกซาง เป็นโรคของเด็กเล็ก มีอาการได้หลายอย่าง มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือ
มีเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า แสดงให้เห็นว่ามีการผิดปกติ เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารร่วมอยู่
หน้า ๖๖๕๐
๑๘๓๖. ซาง
มีคำนิยามว่า "ที่ยกพื้นไว้สูงสำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่สี่มุมเมรุ"
แต่เดิมเรียกว่า ส้างหรือสร้าง
หน้า ๖๖๕๒
๑๘๓๗. ซาด พันซาด
ต้นไม้ชนิดหนึ่ง (ดู ซาก - ต้น ลำดับที่ ๑๘๓๕)
หน้า ๖๖๕๖
๑๘๓๘. ซาร์ นิโคลาสที่ ๒
เป็นชื่อจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ และองค์สุดท้ายของระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช
ของประเทศรุสเซีย (ดู โรมานอฟ - ลำดับที่...)
คำว่า ซาร์ แปลว่า จักรพรรดิ์ เป็นชื่อเรียกจักรพรรดิ์รุสเซียทุกพระองค์ (ซารินา
- พระมเหสีของซาร์ และซาร์เรวิช - มกุฎราชกุมาร)
พระเจ้าซาร์ องค์นี้เคยเสด็จประพาสเยี่ยมประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ สมัยดำรงพระอิสริยยศเป็น
มกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระสหายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ
ซาร์ นิโคลาสที่ ๒ ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๓ - ๒๔๓๔ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศตะวันออก
เริ่มตั้งแต่ประเทศกริซ อียิปต์ อินเดีย ลังกา ญี่ปุ่น และประเทศไทย เมื่อเสด็จกลับจากประเทศไทย
ไม่ถึงห้าปี ก็ได้ทรงเป็นจักรพรรดิ์รุสเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗
จากการปกครองที่เข้มงวด จนกลายเป็นโหดร้าย เกิดความไม่พอใจของพลเมือง ด้านต่างประเทศดำเนินนโยบายพลาดพลั้ง
ต้องทำสงครามกับญี่ปุ่น และพ่ายแพ้ญี่ปุ่น อำนาจพระเจ้าซาร์เริ่มเสื่อม ในปี
พ.ศ.๒๔๔๗ - ๒๔๔๘ เกิดการจลาจลขึ้นในหัวเมืองใหญ่ ๆ พระเจ้าซาร์พยายามแก้ไข
โดยประกาศตั้งสภาการประชุมของชาติ เรียกว่า สภาดูมา
เป็นการผ่อนผันให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทน เข้ามามีอำนาจการปกครองบ้านเมือง ประกาศให้เสรีภาพหลายอย่าง
เช่น การเขียน การพิมพ์ การประชุม และการออกความคิดเห็น แล้วให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ ได้พวกพ่อค้าและกรรมกร เข้ามาไม่เป็นที่พอใจ จึงให้ยุบสภาเสีย
ได้พรรคพวกที่พอใจเข้ามา แล้วเปิดสภาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ ปีต่อมาก็มีการเลือกตั้งใหม่
ก็ได้คนของพระเจ้าซาร์อย่างเดิม
เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความไม่พอใจในหมู่ราษฎร ประกอบกับรัสปูติน
ผู้เป็นอลัชชี เข้ามามีอำนาจในราชสำนัก จากการสนับสนุนของพระมเหสี พระเจ้าซาร์ทรงว่ากล่าวมิได้
ทำให้ประชาชนเกลียดชัง
ท่ามกลางความยุ่งยากทางการเมืองและครอบครัว รุสเซียต้องร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ - ๒๔๖๐ ในการรบด้านยุโรปตะวันออก กองทัพรุสเซียเพลี่ยงพล้ำแก่กองทัพเยอรมัน
พวกนักการเมืองและกรรมกร มีเลนินเป็นหัวหน้า
ประกาศตั้งพรรคการเมืองบอลเชวิกส์ ก่อการปฎิวัติขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้สำเร็จ
พระเจ้าซาร์ พระมเหสี และพระราชธิดา ถูกประหารเป็นอันสิ้นซาร์ และราชวงศ์โรมานอฟ
หน้า ๖๖๕๖
๑๘๓๙. ซาร์ดิน - ปลา
เป็นปลาหลังเขียว มีหลายชนิดด้วยกัน ปลาซาร์ดีนแท้ เกิดในน่านน้ำยุโรป ในประเทศสหรัฐอเมริกาตะวันออก
ลูกปลาหลังเขียวธรรมดา หรือปลาเมนเฮเด็น ก็เรียกกันว่า ปลาซาร์ดีน
หน้า ๖๖๖๐
๑๘๔๐. ซาล์มอน - ปลา
เป็นปลาครีบอ่อนขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลอ่อน ข้างบน ด้านข้างเป็นสีน้ำเงิน มีแต้มจุดดำ
อาศัยอยู่ในทะเลแถบชายฝั่ง และจะขึ้นไปตามแม่น้ำของยุโรป และอเมริกา ที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ
มากสายด้วยกัน เพื่อวางไข่ ปลาซาล์มอนมีน้ำหนักเฉลี่ยราว ๗ กิโลกรัม
ปลาซาล์มอน จะเข้าไปในแม่น้ำต่าง ๆ เฉพาะฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูร้อน แต่จะวางไข่ในฤดูใบไม้ร่วง
และลูกอ่อนจะอยู่ในน้ำจืดราว ๑ ปี สีและรูปร่างเปลี่ยนไปมากสุดแต่อายุ ถิ่นที่อาศัยและฤดูกาล
ปลาที่จัดอยู่ในวงศ์ซาล์มอน มีปลาไวต์ฟิส และเทร้า ที่อาศัยและว่ายขึ้นตามแม่น้ำทางมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ
มีอยู่ราว ๖ ชนิด ปลาซาล์มอนสกุลนี้ จะวางไข่เพียงครั้งเดียว แล้วก็ตายโดยไม่มีโอกาสกลับไปยังทะเลอีก
หน้า ๖๖๖๑
๑๘๔๑. ซ่าหริ่ม
เป็นขนม (น้ำ) ชนิดหนึ่ง คล้ายลอดช่อง ทำด้วยแป้งถั่วเขียว เช่นเดียวกับวุ้นเส้น
(ดู วุ้น - ลำดับที่...)
หน้า ๖๖๖๒
๑๘๔๒. ซำ
เป็นชื่อเมืองสองเมือง ในแขวงหัวพันของประเทศลาวคือ เมืองซำเหนือ
กับเมืองซำใต้
ตอนต้นของประวัติศาสตร์เมืองซำเหนือ และเมืองซำใต้ มีชื่อปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณพลเมืองส่วนใหญ่คือ
ชาวผู้ไทยดำ
พูดภาษาไทย
หน้า ๖๖๖๓
๑๘๔๓. ซิก
เป็นชื่อศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาหนึ่ง เกิดขึ้นในแคว้นปัญจาบเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๒๐๑๒ โดยถือปีอุบัติของศาสดาองค์แรกเป็นเกณฑ์เริ่มต้น
คำว่า ซิก ที่ใช้เป็นชื่อศาสนานี้ มีผู้เขียนต่างออกไปเป็นซิกข์ ศิกข์ สิกข์และสิข
แต่ในที่นี้เขียนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ในศาสนาซิกมีศาสดาสิบองค์คือ คุรุนานัก คุรุอังคัท คุรุอมรทาส คุรุรามราส
คุรุอรชุน คุรุหริโคสินท์ คุรุหริไร คุรุหริกฤษณะ คุรุเตฆะพาหาทุระ และคุรุโควินท์สิงห์
ตามตำนานกล่าวว่า นานัก ผู้ตั้งศาสนาเดิมเป็นศิษย์ของกพีร์ เจ้าลัทธิกพีรปันตี
เป็นคนสงบเสงี่ยม มีเมตตาธรรม มีความเพียรกล้า และอุทิศตนเพื่อความเจริญแห่งลัทธิที่ตนนับถืออย่างยิ่งยวด
ในสมัยนั้น พวกอิสลามมีอำนาจเหนืออินเดีย แคว้นปัญจาบก็ตกอยู่ในอำนาจของพวกอิสลามด้วย
พวกอิสลามได้ใช้วิธีเผยแพร่ศาสนาของตนเป็นหลักใหญ่สองประการคือ
๑. ใช้กำลังปราบปรามและบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม
๒. บัญญัติภาษีประเภทหนึ่งชื่อชิเชีย เก็บภาษีจากผู้ไม่นับถือศาสนาอิสลามด้วยอัตราสูง
จึงเกิดความเดือดร้อนในหมู่ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามเป็นอย่างยิ่ง
นานักจึงดำเนินกุศโลบายรวมศาสนา โดยถือว่าผู้นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตามนับว่าเป็นศิษย์ผู้ดำเนินตามศาสโนวาทของศาสดาทั้งนั้น
ไม่ควรแบ่งแยกว่าเป็นผู้นับถือศาสนานั้นศาสนานี้ และควรรวมกันเป็นศาสนาเดียวกันเรียกกันว่าศาสนาซิก
หมายความว่า ศาสนาของผู้เป็นศิษย์ของศาสดา กุศโลบายของนานักประสบความสำเร็จมาโดยลำดับ
จนถึงปี พ.ศ.๒๐๗๑ จึงถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ ๗๙ ปี
ศาสนาซิกต้นเดิมนั้นเป็นศาสนาของผู้ไม่ถือนิกายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อมาถึงสมัยคุรุโคสินทสิงห์
ได้บัญญัติศีล ๒๑ ข้อขึ้นใหม่ โดยยึดหลักสำคัญของศาสนาแต่เดิม ผสมกับหลักที่เพิ่มขึ้นใหม่
และตั้งแต่นั้นมา ชาวซิกใช้นามสกุลว่าสิงห์ ต่อท้ายชื่อของตนทุกคน
คัมภีร์ทางศาสนาซิกได้มารวบรวมขึ้นในสมัยคุรุอรชุน ศาสดาองค์ที่ห้า
ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงทรงจำต่อ ๆ กันมาเรียกคัมภีร์ที่รวบรวมไว้ครั้งแรกว่า
อาทิครันถ์
ถึงสมัยคุรุโควินทสิงห์ ได้แต่งคัมภีร์เพิ่มขึ้นอีกด้วย คัมภีร์ของศาสนาซิกใช้ภาษาถึงหกภาษาคือ
ภาษาปัญจาบ ภาษามุลตานี ภาษาเปอร์เซียน ภาษาปรากฤต ภาษาฮินดีและภาษามราถี
คัมภีร์ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ ณ อมฤตสระ การปฏิบัติต่อคัมภีร์เหมือนกับการปฏิบัติต่อศาสดาที่ยังมีตัวตนอยู่
เดิมศาสนาซิกไม่มีนิกาย ต่อมาจึงเกิดมีขึ้น ชั้นแรกแบ่งออกเป็นนิกายใหญ่กับนิกายย่อย
นิกายใหญ่มีสองนิกายคือ นิกายสิงห์นับถือคุรุโควินทสิงห์ กับนิกายสหิชธารี
(หรือนัมธารี) นับถือจงรักภักดีต่อเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนนิกายย่อยนั้นมีถึง
๒๐ นิกาย
เดิมศาสนาซิกไม่มีการจัดตั้งกำลังทหาร แต่เมื่อมาถึงสมัยคุรุโควินทสิงห์ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องชาวซิกไม่ให้ถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิม
ชาวซิกได้ช่วยอังกฤษปราบปรามจลาจลซีปอยซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙
อย่างเข้มแข็ง และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้ช่วยอังกฤษอย่างเข้มแข็งเช่นเดียวกัน
หน้า ๖๖๗๐
๑๘๔๔. ซิกัง
เป็นชื่อบุคคลในเกร็ดพงศาวดารจีน เป็นบุตรของซิเตงซัน
ผู้เป็นบุตรชายของซิยินกุ้ย
ตามประวัติศาสตร์จีนปรากฏว่า ซิยินกุ้ยเป็นทหารเอกของพระเจ้าถังไท่จง มีฝีมือในการรบพุ่ง
หน้า ๖๖๗๖
๑๘๔๕. ซิ่น - ผ้า
เป็นผ้าถุงสำหรับผู้หญิงนุ่ง เมื่อราวปี พ.ศ.๑๕๙๖ เมื่อกองทหารจีนตีไทยแตก
ไทยก็ยังคงมีความเป็นไทยอยู่ ผู้หญิงยังนุ่งผ้าถุงลาย ไทยพวกต่าง ๆ
ที่อยู่ในมณฑลยูนนาน กวางสี ไกวเจาและกวางตุ้ง จีนเชื่อว่าพวกไทยต่าง ๆ เหล่านี้มาจากตาลี
ประมาณ ๓๐ ชั่วอายุคน มีชื่อย่อย เช่น ไทยลาย เพราะผู้หญิงไทยพวกนี้นุ่งผ้าซิ่นลาย
ต่อมาไทยได้เคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ แตกออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้แก่ไทยยวนหรือเหนือ
อีกกลุ่มได้แก่ลาวเวียงหรืออีสาน ไทยยวนหรือเหนือนั้น เข้าไปอยู่ในมณฑลพายัพ
และมหาราษฎร์อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่านและแพร่ ซึ่งผู้หญิงได้นุ่งผ้าซิ่นลายเป็นทางขวางตัว
ส่วนลาวเวียงหรืออีสานนั้น ได้เข้ามาสู่ภาคอีสานของไทย ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นเป็นลายพาดตามแนวตั้งเป็นลายดิ่งลงมา
มีเชิงเป็นลวดลาย
หน้า ๖๖๗๗
๑๘๔๖. ซินเกียง
เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นซินเกียงแบ่งออกเป็นแคว้นต่าง
ๆ ๓๖ แคว้น ส่วนมากพวกฮั่นปกครองอยู่ ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ซินเกียงอยู่ในการปกครองของพวกเหลียว
ในรัชสมัยพระเจ้าเฉียงหลงแห่งราชวงศ์เช็ง ได้รวมดินแดนซินเกียงเป็นของประเทศจีน
และในรัชสมัยพระเจ้ากวงสู่ กำหนดให้ซินเกียงเป็นมณฑลหนึ่งสืบต่อมาจนปัจจุบัน
ซินเกียงมีอาณาเขตทิศเหนือจดมองโกเลีย ทิศตะวันออกจดมณฑลกังซู่ ทิศตะวันออกเฉียงใต้จดมณฑลชิงไห่
ทิศตะวันตกเฉียงใต้จดแคว้นแคชเมียร์ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศรุสเซีย
ทิศตะวันตกจดปามีร์น็อต ทิศใต้จดทิเบต มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑.๖ ล้านตารางกิโลเมตร
หน้า ๖๖๗๘
๑๘๔๗. ซินนามิก - กรด
เป็นกรดที่พบได้ตามธรรมชาติอย่างอิสระหรือผสมกับสิ่งอื่น นอกจากนั้นอาจสังเคราะห์ขึ้นทางเคมีได้ด้วยวิธีต่าง
ๆ
กรดนี้ใช่มากในทางอุตสาหกรรม ทำเครื่องสำอาง น้ำหอม สบู่ และชิวอิงกันในทางยา
อาศัยฤทธิ์ในการระงับเชื้อ เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ
หน้า ๖๖๗๙
๑๘๔๘. ซิฟิลิส
เป็นชื่อกามโรคชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดพยาธิสภาพได้กับอวัยวะทุกระบบของร่างกาย
เชื้อโรคชนิดนี้หากตกหล่นอยู่ภายนอกร่างกาย จะตายอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากอาศัยอยู่ในเนื้อ
จะมีชีวิตคงทนอยู่นาน
โรคนี้ประมาณร้อยละ ๙๔ ติดต่อโดยการร่วมประเวณี อีกประมาณร้อยละ ๖ ติอต่อโดยการสัมผัสด้วยวิธีอื่น
ๆ เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางแผลถลอกเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามบริเวณปากหรือลิ้น
หน้า ๖๖๘๐
๑๘๔๙. ซิเมนต์ - ปูน
คำว่าซิเมนต์ โดยทั่ว ๆ ไปหมายถึง การยึดเหนี่ยวเข้าด้วยกัน สารที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวนี้เรียกว่า
เป็นซิเมนต์
คำว่าปูนซิเมนต์ มีความหมายเฉพาะของวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกเต็มว่า
ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีสมบัติที่สามารถก่อตัว และแข็งตัวในน้ำได้ เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับส่วนประกอบของปูนนั้น
หน้า ๖๖๘๖
๑๘๕๐. ซิยินกุ้ย
เป็นชื่อของทหารเอกคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์ถัง ในสมัยของพระเจ้าถังไท่จง จนถึงรัชสมัยพระเจ้าถังเกาจง
ซิยินกุ้ยได้เป็นแม่ทัพ ยกทัพไปปราบเกาหลี จนได้มาเป็นประเทศราช ซิยินกุยถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้
๗๐ ปี
หน้า
๖๖๙๐
๑๘๕๑. ซิโรซีส - โรค
เป็นโรคตับชนิดหนึ่ง ทำให้ตับแข็งกว่าธรรมดา จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคตับแข็ง
บางรายตับจะมีไขมันมากด้วย ทำให้ตับมีสีเหลืองจึงเรียกว่า ซิโรซีส แปลว่าสีเหลืองหรือสีส้ม
ตับที่เป็นโรคนี้ในตอนแรกอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ต่อมาอาจจะเล็กลงหรือเหี่ยว
บางคนจึงว่าเป็นโรคตับเหี่ยว ผู้ป่วยโรคนี้บางคนจะมีอาการดีซ่าน เห็นตัวเหลือง
ตาเหลือง ตับที่เป็นโรคนี้พบว่า มีมะเร็งของตับเกิดร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก
หน้า ๖๖๙๒
๑๘๕๒. ซิว - ปลา
เป็นปลาขนาดเล็ก ปลาเหล่านี้รวบรวมกันเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งเรียกว่าวงศ์ย่อยปลาซิว
ปลาซิวมีมากทั้งสกุลและชนิดในน่านน้ำจืดของไทย และมีจำนวนมากด้วย
หน้า ๖๖๙๓
๑๘๕๓. ซีก
เป็นชื่อของเหรียญทองแดง ราคาครึ่งเฟื้อง ตรามงกุฎและตรา จปร. เหรียญซีกตรามงกุฎทำออกใช้ในรัชกาลที่
๔ ปี พ.ศ.๒๔๐๘ ส่วนเหรียญซีกตรา จปร. ทำออกใช้ในรัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ.๒๔๑๙
หน้า ๖๖๙๗
๑๘๕๔. ซีกเดียว - ปลา
เป็นปลาพวกหนึ่งซึ่งมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากปลาธรรมดา เพราะนัยตาทั้งสองของปลานี้ไปรวมกันอยู่ข้างหนึ่ง
ทำให้เป็นปลาซีกเดียว
ปลาอันดับนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันเช่น ปลาลิ้นหมา
ลิ้นควาย ลิ้นเสือ และอื่น ๆ
หน้า ๖๗๐๓
๑๘๕๕. ซี่โครง
เป็นกระดูกแบน ยาวและโค้ง คนเรามีซี่โครง ๑๒ คู่ อยู่ในทรวงอก ซี่โครงเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกทรวงอก
ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายในช่องอก ซึ่งมีหัวใจและปอดเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังป้องกันอวัยวะในช่องท้องส่วนบนเช่น
ตับ ม้าม และกระเพาะอาหาร เป็นต้น กระดูกทรวงอกยังมีบทบาทสำคัญในการหายใจ
หน้า ๖๗๐๓
๑๘๕๖. ซีดาร์ - ไม้
ไม้ซีดาร์ ประกอบด้วยไม้มากมายหลายชนิดจากพันธุ์ไม้ ในวงศ์และสกุลต่าง ๆ กัน
เช่น ไม้ยมหอม ก็มีชื่อเรียกในทางการค้าว่า ไม้ซีดาร์ อินเดียตะวันตก
เป็นต้น
ไม้ซีดาร์แท้ มีสามชนิดหลักด้วยกัน พบบนเขาแอตลาสในประเทศแอลจิเรีย แอฟริกาเหนือ
บนเขาเลบานอนในประเทศเลบานอน ประเทศอัฟานิสถาน และบนภูเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
นอกนั้นเป็นพันธุ์ย่อย
ซีดาร์เป็นไม้ใหญ่ สูง ๓๐ เมตร พุ่มเรือนยอดเป็นรูปกรวย ไม่ทิ้งใบ ใบสีเขียวแก่
เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้สีเหลืองซีด ๆ กลิ่นหอม มีความทนทาน และเป็นที่นิยมในการทำเครื่องเรือนและก่อสร้างมาก
ในประเทศไทย มีพันธุ์ไม้ที่ใกล้เคียงกับไม้ซีดาร์แท้อยู่ชนิดหนึ่ง พบในระดับสูง
๑,๒๐๐ เมตร บนภูหลวง จังหวัดเลยเท่านั้น
หน้า ๖๗๑๕
๑๘๕๗. ซีป่าย
เป็นคำเลียนเสียงมาจากภาษาอังกฤษ หมายถึง ทหารพื้นเมืองชาวอินเดีย ซึ่งมีระเบียบวินัยตลอดถึงการแต่งตัวแบบทหารชาวยุโรป
มูลเหตุที่จะเกิดทหารซีป่ายขึ้นในเมืองไทยนั้น มีเรื่องว่า เมื่อรัชกาลที่
๒ รัฐบาลอินเดียแต่งให้ข้าราชการอังกฤษชื่อครอฟอร์ด เข้ามาขอทำสัญญา ในบรรดาเครื่องราชบรรณาการที่ส่งเข้ามาทูลเกล้า
ฯ ถวายนั้น มีเครื่องแบบทหารซีป่ายอยู่ด้วย เมื่อสมเด็จ ฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์คือ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงจัดบุตรหมู่ญวนเป็นทหารได้เอาเครื่องแต่งตัวซีป่ายนั้นมาใช้
จึงเรียกกันว่า ทหารซีป่าย
หน้า ๖๗๑๗
๑๘๕๘. ซีเมนต์ - ปูน
(ดูซิเมนต์ - ลำดับที่ ๑๘๗๑)
หน้า ๖๗๑๘
๑๘๕๙. ซีก - ต้น
เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นพันธุ์ไม้ในต่างประเทศ เป็นไม้ สกุลใหญ่
มีมากชนิดอยู่ตามเขตร้อนทั่วโลก ส่วนใหญ่แบ่งอยู่ระหว่างออสเตรเลีย และแอฟริกา
ในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดรวมทั้งส้มป่อย (ที่ใช้ฟอกผมและขัดล้างเครื่องเงิน
เครื่องทอง) ชะอม และสีเสียด
หน้า ๖๗๑๘
๑๘๖๐. ซึง
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ นับอยู่ในประเภทเครื่องดีด รูปร่างลักษณะคล้ายกระจับปี่
(ดูกระจับปี่ - ลำดับที่ ๖๑)
ในสมัยโบราณ ซึงเป็นเครื่องดนตรีของชายหนุ่มชาวไทยภาคเหนือ ใช้เป็นสื่อสำหรับเกี้ยวสาวในเวลาค่ำคืนเดือนหงาย
หน้า ๖๗๑๙
๑๘๖๑. ซื้อขาย
คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคล
อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่า จะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
สัญญาซื้อขายมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อ ต่างตกลงยินยอมคือ มีคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน
จึงทำให้เกิดสัญญาซื้อขายขึ้น และโดยทั่วไปไม่มีแบบ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้
ในบางกรณีกฎหมายเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับตัวทรัพย์ จำต้องบัญญัติเกี่ยวกับตัวทรัพย์
จำต้องบัญญัติแบบและวิธีการขึ้น จึงได้บัญญัติแบบของสัญญาซื้อขาย ทรัพย์สินบางประเภทไว้ดังนี้
๑. การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้
ท่านว่าเป็นโมฆะ
๒. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือกำปั่น หรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป
เรือกลไฟหรือเรือยนต์ มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพ (เรือนแพ)
และสัตว์พาหนะ (ได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ฬา ล่อ) ต้องทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้คือ
ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นท่านว่าเป็นโมฆะ
เช่นกัน
๓. สัญญาจะขายหรือจะซื้อทรัพย์ใด ๆ ดังกล่าวมาในข้อ ๑ และข้อ ๒ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด
ลงลายมือชื่อข้างฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
๔. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ซึ่งคู่สัญญาตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทขึ้นไป
ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
หน้า ๖๗๒๒
๑๘๖๒. ซุนกวน
เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น เป็นน้องชายของซุนเซ็ก
ผู้ครองดินแดนแถบกังตั๋ง ในสมัยพระเจ้าเหียนตี้
เมื่อซุนเซ็กสิ้นชีพ ซุนกวนได้รับมอบอำนาจต่อจากซุนเซ็ก โจโฉได้ทูลพระเจ้าเหี้ยนตี้ให้แต่งตั้งซุนกวน
เป็นเจ้าเมืองไกวกี เพื่อเอาใจซุนกวน
เมื่อโจโฉ ตีได้เมืองเก็งจิ๋ว โจโฉได้เคลื่อนทัพมายังกังตั๋ง และเกลี้ยกล่อมซุนกวน
ให้ยอมจำนน แต่ในที่สุดซุนกวน ก็ร่วมมือกับเล่าปี่ รบชนะโจโฉได้ เป็นเหตุการณ์ตอนโจโฉแตกทัพเรือ
เมื่อสิ้นโจโฉ โจผีผู้เป็นบุตรโจโฉ ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน โจผีได้บังคับให้พระเจ้าเหี้ยนตี้สละราชสมบัติ
และโจผีได้ขึ้นครองราชย์แทน ซุนกวนจึงถือโอกาสสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ โดยครองดินแดนแถบกั่งตั๋ง
และเล่าปี่ก็สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ที่เสฉวน และทั้งสามฝ่ายได้สู้รบกันต่อไป
ซุนกวน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๙๑ ปี
หน้า ๖๗๓๘
๑๘๖๓. ซุ่นจื๊อ
(ก่อน พ.ศ.๘๕๓ - ๗๗๓ ) ชื่อจริงว่า ซุ่นจิง เป็นปราชญ์และเจ้าลัทธิของจีน
สมัยราชวงศ์จิว ได้เขียนคัมภีร์ไว้ ๓๓ บท ว่าด้วยปรัชญาการศึกษา ซุ่นจื๊อกล่าวว่า
มนุษย์เป็นคนเลวมาแต่กำเนิด และจะเป็นคนดี เมื่อรับการอบรมศึกษา ซึ่งตรงข้ามกับคำกล่าวของเม่งจื๊อที่ว่า
มนุษย์เป็นคนดีมาแต่กำเนิด และสิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว ซุ่นจื๊อมีแนวความคิดคล้ายคลึงกับขงจื๊อ
ซุนจื๊อ เห็นว่าสังคมมนุษย์นั้น จำเป็นต้องมีข้อบังคับกฎเกณฑ์ และบทลงโทษ
เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข และระเบียบเรียบร้อยแก่สังคมมนุษย์ แนวความคิดของซุ่นจื๊อเป็นต้นกำเนิดของกฎหมายต่างๆ
ของประเทศจีน ในสมัยต่อมา
หน้า ๖๗๔๐
๑๘๖๔. ซุนยัตเซ็น
เป็นชาวกวางตุ้ง เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙ ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์
และศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และประกอบอาชีพแพทย์ แต่มีความคิดที่จะปฎิวัติล้มการปกครองของราชวงศ์แมนจู
หรือไต้เช็ง
ในปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้มีส่วนทำการขบถ ที่เมืองกวางตุ้ง แต่ประสบความล้มเหลว ต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ
ภายหลังการจลาจลบอกเซอร์ (พ.ศ.๒๔๔๓ - ๒๔๔๔) ได้รวบรวมพรรคพวกทำการขบถอีกครั้งหนึ่ง
ที่เมืองกวางตุ้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จอีก
ขณะที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ก่อตั้งสมาคมตุงเม่งฮุย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วเดินทางไปประเทศอื่น
เพื่อโฆษณาคุณค่าของสมาคม และขอเรี่ยไรเงิน
ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ดร.ซุนยัตเซ็น เดินทางเข้ามากรุงเทพ ฯ ยังผลให้มีการจัดตั้งโรงเรียนจีนแห่งแรกของสมาคม
ในประเทศไทย
สมาคมตุงเมงหวย มีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกับสมาคมลับอื่น ๆ ของจีนเพื่อก่อการปฎิวัติล้มราชวงศ์แมนจู
บังคับพระเจ้าซวนท้ง หรือปูยี พระเจ้ากรุงจีนองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์แมนจู
สละราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ ประเทศจีนก็กลายเป็นสาธารณรัฐตั้งแต่นั้นมา
ระหว่างนั้น ดร.ซุนยัตเซ็น ได้จัดตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง
หรือเก็กเหม็ง
ดร.ซุนยัตเซ็น ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว ตามมติรัฐสภาแห่งประชาชาติจีน
ต่อมาได้สละตำแหน่งนี้ให้ยวนซีไข
ซึ่งตั้งรัฐบาลที่กรุงปักกิ่ง ต่อมาเมื่อเห็นว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งไม่ปกครองตามระบอบสาธารณรัฐอย่างแท้จริง
ดร.ซุนยัตเซ็น ก็นำพรรคก๊กมินตั๋ง ทำการขบถเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ และ พ.ศ.๒๔๖๐
ดร.ซุนยัตเซ็น ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลที่เมืองกวางตุ้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓
ดร.ซุนยัตเซ็น ได้ประกาศหลักสามประการ หรือลัทธิไตรราษฎร์
ซึ่งได้แก่ ลัทธิชาตินิยม ระบอบประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม จึนจะต้องมีอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพของอาณาเขตทั่วประเทศ
เรียกร้องให้ยุบเขตเช่า เขตอิทธิพล และเมืองท่า ตามสนธิสัญญาให้หมดสิ้นไป
ในชั้นแรก รัฐบาลก๊กมินตั๋งพยายามรวมจีนให้เป็นปึกแผ่นด้วยสันติวิธี แต่ ดร.ซุนยัดเซ็นถึงแก่กรรม
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ การเจรจากับรัฐบาลที่กรุงปักกิ่ง ของจอมพลจางซูหลินล้มเหลว
รัฐบาลก๊กมินตั๋งจึงตกลงใช้กำลังทหารปราบปรามขุนศึกตามมณฑลต่าง ๆ มอบให้นายพลเจียงไคเช็กเป็นแม่ทัพยกกองทัพ
รุกจากกวางตุ้งไปทางเหนือ ยึดกรุงปักกิ่งได้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑
หน้า ๖๗๔๑
๑๘๖๕. ซุนวู
เป็นชื่อนายทหารผู้ชำนาญการสงครามในสมัยราชวงศ์จิว ซุนวูได้เขียนตำราพิชัยสงคราม
มี ๑๓ บท เป็นตำราที่ว่าด้วยยุทธวิธี กลยุทธ ตลอดจนหลักการปกครองบังคับบัญชาทหาร
นับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามฉบับสำคัญที่สุดของจีน
ต่อมาโจโฉได้ให้คำอรรถาธิบายตำราเล่มนี้ด้วย กล่าวกันว่าตำราเล่มนี้เป็นอมตะ
นำไปดัดแปลงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ก็ได้อ่านตำราเล่มนี้ฉบับแปลเป็นภาษาเยอรมัน
ฮิตเลอร์แสดงความเสียใจที่ตนอ่านตำราเล่มนี้ช้าไป มิฉะนั้นคงไม่ประสบความปราชัยในสงครามครั้งนี้
หน้า ๖๗๔๔
๑๘๖๖. ซุ้มกระต่าย
เป็นพันธุ์ไม้ใช้ประดับตามขอบสนาม ตามทางเดิน และปลูกคลุมดินแทนหญ้า เพราะมีความทนทานในที่ร้อนแห้งแล้ง
ที่ร่มและที่ยากอื่น ๆ ได้ดีกว่าหญ้า
หน้า ๖๗๔๕
๑๘๖๗. ซูสีไทเฮา
เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนสมัยปลายราชวงศ์เช็ง
ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในประเทศจีน จนทำให้ราชวงศ์เช็งต้องถูกโค่นล้มในที่สุด
เดิมทีพระนางซูสีไทเฮาเป็นเพียงนางกำนัลในพระเจ้าเสียนฟงแห่งราชวงศ์เช็ง ต่อมาได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเสียนฟง
จนได้รับสถาปนาเป็นพระสนม เมื่อพระเจ้าเสียนฟงสวรรคต พระเจ้าถงจือพระโอรสขึ้นครองราชย์สืบแทน
และได้ทรงสถาปนาพระนางซูสีผู้เป็นมารดาเป็น "ไทเฮา"
ทั้งนี้เพราะพระนางซูอัน พระราชินีไม่มีพระราชโอรส
ขณะที่พระเจ้าถงจือขึ้นครองราชย์นั้นยังทรงพระเยาว์ พระนางซูสีไทเฮาจึงถือโอกาสยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน
และสถาปนาตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการ เมื่อพระเจ้าถงจือสวรรคต พระนางทรงสถาปนาพระเจ้ากวงซู่เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบต่อมา
และเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นของพระนางเท่านั้น พระนางได้ใช้เงินของแผ่นดิน ไปในทางที่บำรุงความสุขส่วนพระองค์จนการคลัง
และเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะที่เลวร้าย
ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ญี่ปุ่นยกกองทัพเรือมารุกรานจีน กองทัพเรือจีนแพ้ ทำให้จีนต้องสูญเสียสิทธิต่าง
ๆ แก่ญี่ปุ่นในครั้งนี้
ได้มีคณะนักมวยได้รวมกำลังกันขึ้นโดยอ้างว่าจะขับไล่ชนต่างชาติที่เข้ามาข่มเหงชาวจีน
พวกขบถนักมวยได้ฆ่านักบวชชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ประเทศต่าง ๆ
แปดประเทศอันมีอังกฤษ รุสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อิตาลีออสเตรียและญี่ปุ่น
ถือโอกาสรวมกำลังกันยกเข้าตีกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน และยึดกรุงปักกิ่งได้
ในปี พ.ศ.๒๔๔๑ พระเจ้ากวงซู่ทรงตั้งพระทัยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
แต่พระนางซูสีไทเฮาไม่ทรงยินยอม จึงได้จับพระเจ้ากวงซู่ไปจองจำไว้แล้วพระนางทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนทุกประการ
ในปีเดียวกันนี้ ดร.ซุนยัดเซ็นได้ก่อตั้งพรรคการเมืองและบัญญัติลัทธิไตรราษฎร์
พระนางซูสีไทเฮาได้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้ากวงซู่ด้วยยาพิษ และถัดจากวันนั้น
พระนางก็สิ้นพระชนม์ด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ รวมชนมายุได้ ๗๔ ปี และทรงครองอำนาจอยู่
๔๗ ปี หน้า
๖๗๔๖
๑๘๖๘. เซกา
อำเภอขึ้น จ.หนองคาย ภูมิประเทศทางทิศตะวันออกเป็นดงทึบ ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง
เมื่อแรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๐๒ ขึ้น อ.บึงกาฬ ยกฐานะเป็นอำเภอ
เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๐๒
หน้า ๖๗๕๑
๑๘๖๙. เซ่ง
เป็นไม้พุ่มที่ค่อนข้างมีเนื้อน้อย เปลือกของลำต้นเป็นเส้นใย เคยมีรายงานว่าได้ราคาเท่ากับปอใบของต้นเซ่งใช้เป็นอาหารได้
หน้า ๖๗๕๓
๑๘๗๐. เซน
เป็นชื่อวิธีปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ถือการเข้าฌานเพื่อเข้าถึงพุทธิภาวะ
คือความไม่มีสิ่งใด ความมีจิตว่างเป็นหลัก ได้กลายเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนา
ตั้งต้นในประเทศอินเดียแล้วแพร่เข้าสู่ประเทศจีนและญี่ปุ่นโดยลำดับ
พุทธศาสนิกชนนิกายนี้ถือว่า พระมหากัสสปเถระเป็นปฐมาจารย์
ต่อจากนั้นได้มีการสืบต่อกันมาอีก ๒๘ รูป ก่อนแพร่เข้าสู่ประเทศจีน โดยพระโพธิธรรม
อาจารย์องค์ที่ ๒๘ ได้เดินทางไปประเทศจีนเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๐๐ ในรัชสมัยพระเจ้าบูเต้
หรือปูตี่แห่งราชวงศ์เหลียง สั่งสอนหลักการบำเพ็ญฌาน โดยลักษณะสองอย่างคือ
หลักการตรัสรู้โดยลำดับ
และหลักการตรัสรู้โดยฉับพลัน
เมื่อสิ้นพระโพธิธรรมแล้ว คณาจารย์ได้เล่าเรียนสั่งสอนสืบต่อกันมาอีกหลายชั่วอายุคนจนถึงอาจารย์ฮวยเล้ง
(ฮวยหล่าง) ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ตามประวัติกล่าวว่า สมัยนั้นนิกายเซนในเมืองจีนแตกแยกออกเป็นนิกายฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้
นิกายฝ่ายเหนือมีอาจารย์ชื่อว่า สิ่งซิ่ว
(ยินซู) ถือหลักการปฏิบัติเพื่อตรัสรู้ธรรมเป็นไปโดยลำดับ นิกายฝ่ายใต้มีอาจารย์ฮวยเล้ง
(เอนิน) ถือหลักการเข้าถึงพุทธภาวะโดยฉับพลัน ทั้งสองคนเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันคือฮงยิบ
(โคนิน)
อุดมคติของเซนคือการมุ่งทำงาน (ตามหน้าที่) ให้ดีที่สุด การทำงานนั้นไม่ต้องการอะไร
ใจเมื่อถึงภาวะนี้เมื่อใด เข้าถึงซาโตริ ภาวะว่ารู้แล้วเห็นแล้วเมื่อนั้น
หน้า ๖๗๕๓
๑๘๗๑. เซนติเกรด
เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิแบบหนึ่ง หน่วยนี้เรียกว่าองศาเซนติเกรด มาตราส่วนขององศาเซนติเกรดจัดให้จุดน้ำแข็งเป็น
๐ องศา และจุดน้ำเดือดเป็น ๑๐๐ องศา ๑ องศาเซนติเกรดหมายถึง อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงของน้ำ
๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นหรือลดลง จำนวนความร้อนมีค่า
๑ แคลอรี
หน้า
๖๗๖๖
๑๘๗๒. เซนอย
เป็นคนป่าพวกหนึ่งในแหลมมลายูที่เรียกว่า เงาะ
ว่าเป็นลูกผสมของพวกเซมังกับสะไก พวกนี้มีผิวดำคล้ำ ผมเป็นคลื่นคดไปคดมา ว่าเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลออสโตรเนเซียน
หรืออินโดนีเซีย ซึ่งมีพวกบาตักในเกาะสุมาตรา พวกดยักในเกาะบอร์เนียว และพวกข่าบางเหล่าทางตอนใต้ของประเทศจีน
ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม
หน้า ๖๗๖๗
๑๘๗๓. เซมัว
เป็นชื่อเงาะอีกพวกหนึ่งในแหลมมลายู ทางรัฐบาลกลันตันเรียกว่าพะงัน (ดูพะงัน
- ลำดับที่...) เป็นพวกเร่ร่อนไปตามแหลมมลายูด้านตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไปทางใต้ไปถึงรัฐเประตอนเหนือ
และทางด้านตะวันออกของแหลมมลายู ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และปาหัง เป็นพวกที่ไม่รู้จักสร้างบ้านเรือน
ได้แต่อาศัยนอนตามเชิงผา ป่าไม้เป็นทับที่อยู่ สร้างเป็นเพลิงมุ่งและกรุด้วยใบไม้
มีขนาดพอนอนได้
ตามทางสันนิษฐานว่า เป็นมนุษยย์พวกนิกริโต อพยพเข้ามาในดินแดนแหลมมลายูก่อนมนุษย์พวกออสโตรเนเซียน
คือสะไก จากุน และพวกชาวน้ำ
หน้า ๖๗๖๗
๑๘๗๔. เซรุ่ม ๑
เป็นส่วนน้ำที่ได้ภายหลังการหดตัวของลิ่มเลือดซึ่งเกิดเมื่อเลือดไหลออกมาภายนอกหลอดเลือด
เซรุ่มนี้ทางการแพทย์นำเอามาใช ้เพื่อตรวจหาสาร หรือวัตถุเคมี ใช้ประกอบในการวินิจฉัยโรค
หน้า ๖๗๖๘
๑๘๗๕. เซรุ่ม ๒
หมายถึงยาที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือรักษาโรค ได้มาจากสัตว์ ปรกติจากม้า
ซึ่งเตรียมเป็นพิเศษ โดยการฉีดวัคซีน หรือทอกซอยด์ของเชื้อโรค หรือพิษของสัตว์
เช่น งู เข้าไปในสัตว์ทีละน้อย เพื่อทำให้สัตว์นั้นมีภูมิคุ้มกันขึ้น แล้วต่อมาเพิ่มขนาดของวัคซีนหรือพิษให้มากขึ้น
ทำเป็นลำดับขั้นดังกล่าวจนสัตว์นั้นมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในร่างกายที่ระดับสูงมากพอ
ก็เจาะเอาเลือดจากสัตว์นั้นแล้วแยกเอาเซรุ่มมาเตรียมและทดสอบหาความแรงของภูมิคุ้มกันนั้น
ๆ ให้แน่นอน บรรจุหลอดหรือขวดเก็บรักษาไว้ เพื่อนำไปใช้ต่อไป
การให้เซรุ่มที่เตรียมไว้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเกิดมีภูมิคุ้มกันขึ้นทันทีและจะคงอยู่ในตัวระยะเวลาหนึ่ง
หน้า ๖๗๖๙
๑๘๗๖. เซลล์
ในทางชีววิทยาหมายถึง หน่วยชิพที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบเป็นโครงสร้างและทำงานได้โดยลำพัง
สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ อาจประกอบด้วยเซลเพียงเซลเดียวเช่น อมีบา พารามีเซียม
บัคเตรี และเชื้อหมัก เป็นต้น
เซลล์มีขนาดตั้งแต่ ๒ - ๓ ไมครอน จนกระทั่งใหญ่เท่าไข่นกกระจอกเทศ เซลล์ประสาทอาจยาวมากกว่า
๑ เมตร จากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ที่ขยายได้มากกว่าแสนเท่า ความรู้ทางเคม
ทางฟิสิกส์ และทางไฟฟ้า ทำให้เห็นรูปร่างและเข้าใจการทำงานของส่วนประกอบแต่ละส่วนของเซลล์ดีขึ้น
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่รู้อย่างสมบูรณ์ทีเดียว
หน้า ๖๗๗๑
๑๘๗๗. เซา
คำนี้เคยเป็นชื่อเมืองเก่าของเมืองหลวงพระบาง
เคยเป็นชื่อเก่าของอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และเคยเป็นชื่อตำบล ตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านหมี่
หน้า ๖๗๗๖
๑๘๗๘. เซี่ยงไฮ้
เป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญมากเมืองหนึ่งของจีนในแคว้นเจียวโซ ชื่อนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง
ในตอนปลายของราชวงศ์เช็ง ดินแดนของเซี่ยงไฮ้ แบ่งเป็นเขตเช่าของชนต่างชาติ
ก่อให้เกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขตขึ้น
เซี่ยงไฮ้เป็นทางเข้าของแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่สำคัญของจีน
และเป็นหนึ่งในสี่ของเมืองท่าสากล ทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เป็นหนึ่งในสี่ของตลาดโลก
(โตเกียว เซี่ยงไฮ้ นิวยอร์ก และลอนดอน) และเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของจีน ภาษีอากรที่จัดเก็บได้มีจำนวนเท่ากับหนึ่งในสามของประเทศ
เฉพาะภาษีศุลกากรได้ราวหนึ่งในสองของประเทศ
หน้า ๖๗๘๑
๑๘๗๙. เซียน
เป็นมนุษย์ผู้บำเพ็ญตนตามแนวทาง และบทบัญญัติที่กำหนดไวในศาสนาเต๋า
จนประสบผลแห่งการบำเพ็ญในระดับใดระดับหนึ่ง และมีอิทธิฤทธิ์นานาประการ ศาสนาเต๋านั้นนับว่าเป็นศาสนาใหญ่หนึ่งในสาม
(พุทธ เต๋า ขงจื๊อ) ของจีน มีคัมภีร์มากพอ ๆ กับพุทธและขงจื๊อ
เซียนมีมาแต่ครั้งโบราณกาล เต๋าเจริญรุ่งเรืองมากในรัชสมัยพระเจ้าถังเฉวียนจง
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ถัง และซ้อง ก็มีเซียนปรากฎมากขึ้น เซียนที่ชาวจีนนับถือกันมากคือ
โป๊ยเซียน
ผู้ที่จะเป็นเซียนต้องบำเพ็ญตนเป็นเต้าหยินคือ
ผู้ปฏิบัติเต๋า ต้องบำเพ็ญพรหมจรรย์ มีการปฏิบัติสมาธิ เพื่อให้ขันธ์ห้าคงมีอายุคู่ฟ้าดิน
เซียนจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้สามประเภทคือ
๑. เทียนเซียน
เป็นเซียนที่มีอิทธิฤทธิ์มาก อาศัยอยู่บนสวรรค์
๒. ตี้เซียน
เป็นเซียนที่ยังเป็นมนุษย์ มีอิทธิฤทธิ์น้อยกว่าเทียนเซียน
๓. กุ่ยเซียน
เป็นเต้าหยินที่ปฏิบัติตนเพื่อเป็นเซียน
หน้า ๖๗๘๒
๑๘๘๐. เซียมไซ
เป็นชื่อมณฑลสำคัญของจีน มีด่านสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่น ด่านก่งกวน ลักษณะภูมิประเทศของมณฑลนี้
ทางทิศตะวันออกสามารถควบคุมประเทศจีนทั้งประเทศ ทางตะวันตกเฉียงเหนือสามารถต่อต้านการรุกรานของข้าศึกภายนอก
จึงเหมาะสำรับเป็นที่ตั้งราชธานี
การคมนาคมทางบกของมณฑลนี้ ทิศตะวันตกสามารถติดต่อกับอินเดียและปากีสถาน
หน้า ๖๗๘๕
๑๘๘๑. เซี่ยวกาง
เป็นชื่อเรียกรูปภาพที่เขียน หรือสลักติดไว้ตามประตูศาสนสถาน และที่เขียนหรือสลักไว้ตามบานพระทวารพระที่นั่งก็มี
ความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นผู้รักษาประตู เชื่อว่าเป็นคติมาจากจีน
หน้า ๖๗๘๖
๑๘๘๒. แซง
เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในวงศ์กก พบตามเขตร้อนของโลก กกชนิดนี้มีลำต้นแข็งและตรง
ขึ้นรวมเป็นหมู่ในพวกของตัวเอง และขยายพันธุ์ไปตามใต้ดิน ในเมืองไทยพบทั่วไปตามทุ่งนา
หน้า ๖๗๙๑
๑๘๘๓. แซงแซว - นก
นกแซงแซว ในโลกมีอยู่ ๒๐ ชนิด เฉพาะในประเทศไทยมี ๗ ชนิด เกือบทุกชนิดมีสีดำเหลือบเขียว
หรือน้ำเงิน ส่วนมากหางแฉก
หน้า ๖๗๙๒
๑๘๘๔. โซ่ ๑
เป็นเครื่องมือที่ใช้วิดน้ำ (ดู คันโซ่ - ลำดับที่ ๙๙๒)
หน้า ๖๗๙๕
๑๘๘๕. โซ่ ๒
หรือกะโซ์ เป็นข่าเผ่าหนึ่ง ผิวคล้ำ บางทีเกือบเป็นสีดำ คำพูดคล้ายมอญเจือเขมร
เมื่อประมาณ ๑๕๐ ปี มาแล้ว ได้ข้ามมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาอยู่ในเขตไทยหมู่หนึ่ง
ได้ตั้งรกรากระหว่างหนองหาน สกลนครและนครพนม อีกหมู่หนึ่งอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำสงคราม
และด้านเหนือของภูพาน การแต่งกายคล้ายลาว
หน้า ๖๗๙๕
๑๘๘๖. โซ่ง
เป็นคำเรียกชื่อคนไทยสาขาหนึ่ง อยู่ในท้องที่บางส่วนของจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี
เดิมมาจากดินแดนอันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาวในปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนใหญ่ที่ยังปฎิบัติอยู่คล้ายกับผู้ที่
อยู่ในประเทศลาวจึงเรียกว่า ลาวโซ่ง
แต่จะเรียกเฉพาะผู้ที่อยู่ใน จ.ราชบุรี และ จ.เพชรบุรี เท่านั้น แต่ไปอยู่ที่อื่น
ไม่ค่อยเรียกว่า โซ่ง
มีบันทึกของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ตอนหนึ่งโต้เถียงกับ
ม.ปาวี ผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศสในกรณีพิพาทเกี่ยวกับดินแดน อ้างถึงเรื่องโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี
มีความว่า เมืองแถงนี้เป็นพระราชอาณาเขตไทย มาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
ฯ ผู้คนในเมืองแถงเป็นไทยดำ เมื่อให้ไปอยู่ ณ เพชรบุรี ก็ได้ชื่อว่า ลาวซ่ง
ลาวซ่งผู้ไทยดำนั้น ใช้แซ่อย่างจีนแต่อักษรที่ใช้เป็นอักษรสยาม มีพยัญชนะอย่างโบราณ
พวกลาวหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองนอกเป็น สองฝ่ายฟ้า
คือ ขึ้นกับลาว และญวนเมืองสิบสองจุไทย และสิบสองปันนา เรียกว่า สามฝ่ายฟ้า
ขึ้นอยู่กับลาว ญวนและจีน เมืองเหล่านี้ อยู่ในพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น
โซ่ง มีภาษาพูดของตนเองโดยเฉพาะ แต่คล้ายกับพวกเวียงจันทน์และพวกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ตัวหนังสือคล้ายกับตัวหนังสือลาว หลักภาษาเป็นแบบเดียวกับไทย
หน้า ๖๗๙๘
๑๘๘๗. โซงโขดง
มีคำนิยามว่า การเกล้าผมของหญิงไทย ซึ่งรวบขึ้นไปไว้บนขม่อม เป็นห่วงยาว ๆ
โดยมากมีเกี้ยว หรือพวงมาลัยสวมอีก
หน้า ๖๘๑๔
๑๘๘๘. โซเชียลิสต์
เป็นชื่อของผู้ที่นิยมลัทธิโซเชียลิสต์ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศในภาคตะวันตกของทวีปยุโรป
ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๒ - ๒๓๙๑ อันเป็นสมัยการปฎิวัติครั้งใหญ่ ในประเทศฝรั่งเศส
ในปี พ.ศ.๒๓๓๒ และการปฎิวัติในประเทศฝรั่งเศสกับประเทศอื่น ๆ ในปี พ.ศ.๒๓๗๓
และ พ.ศ.๒๓๙๑ ลัทธิดังกล่าวมีหลายแบบ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ.๒๔๕๗ - ๒๔๖๑) ได้แบ่งพวกโซเชียลิสต์ ออกเป็นฝ่ายขวา
และฝ่ายซ้าย พวกโซเชียลิสต์ฝ่ายขวาสนับสนุนประเทศของตน ให้เข้าร่วมสงคราม
แต่พวกโซเชียลิสต์ฝ่ายซ้าย เป็นฝ่ายคัดค้าน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๖๑ - ๒๔๘๒) พรรคโซเชียลิสต์ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศในยุโรป
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๘) พวกโซเชียลิสต์ได้ครองอำนาจโดยจัดตั้งรัฐบาล
ในประเทศต่างๆ หลายประเทศในทวีปยุโรป
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวโซเชียลิสต์
ต่อมาบุคคลกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งพรรคสังคมนิยม ซึ่งถือว่าเป็นพรรคโซเชียลิสต์ของไทย
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ แต่พรรคนี้ได้เลิกล้มไป เพราะไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวไทย
หน้า ๖๘๑๗
๑๘๘๙. โซดา
คำนี้ใช้กับสารประกอบของโซเดียม เช่น โซดาแอช คือ โซเดียมคาร์บอเนต โซดาซักผ้า
เบกกิงโซดา และโซดาไฟ
หน้า ๖๘๒๐
๑๘๙๐. โซเดียม
เป็นโลหะที่อ่อนใช้มีดตัดได้ และรอยตัดมีเงาสีขาวคล้ายเงิน ทำปฎิกิริยากับออกซิเจน
ในอากาศได้ทันที ทำปฎิกิริยารุนแรงกับน้ำ ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ใต้น้ำมันก๊าด
เดวี ค้นโซเดียม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๐
โซเดียมในธรรมชาติเกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์ เช่น ในมหาสมุทร ทะเล หรือเกิดเป็นโซเดียมไนเตรท
หรือโซเดียมบอเรต โซเดียมคาร์บอเนต และโซเดียมซังเฟรต
หน้า ๖๘๒๐
๑๘๙๑. โซเดียมคลอเรต
เป็นของแข็งสีขาวละลายน้ำได้ เป็นออกซิไดซิงเอเจนด์ อย่างแรง โซเดียมคลอเรต
เตรียมได้โดยการอิเล็กโตรลิซิส สารละลายโซเดียมคลอไรด์
โซเดียมคลอเรต ใช้เป็นสารฆ่าวัชพืช ใช้ทำหัวไม้ขีดไฟ และใช้ในการทำอุตสาหกรรมสิ่งทอ
และเครื่องหนัง
หน้า ๖๘๒๒
๑๘๙๒. โซเดียม คาร์บอเนต
คือ โซดาแอช หรือโซดาซักผ้า เป็นเกร็ดของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ให้ความร้อนมาก
และสารละลายที่ได้จะมีฤทธิ์เป็นด่าง
โซเดียม คาร์บอเนต ใช้ในการซักฟอก ล้างภาชนะถ้วยชาม ทำความสะอาดและทำสบู่
หน้า ๖๘๒๒
๑๘๙๓. โซเดียมไบคาร์บอเนต
บางทีเรียก เบกกิงโซดา เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ สารละลายมีฤทธิ์เป็นด่าง
เมื่อทำให้ร้อนจะได้โซเดียมคาร์บอเนต
โซเดียมไบคาร์บอเนต มีประโยชน์หลายประการด้วยกันคือ ใช้ทำสารใส่เชื้อหมักแป้งฟูในการทำขนม
ใช้เป็นผงทำให้ขนมปังฟู ใช้ใส่ทำให้เครื่องดื่มเป็นฟอง มีรสคล้ายโซดา ใช้ทำยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
หน้า ๖๘๒๓
๑๘๙๔. โซเดียมไฮดรอกโซด์
บางทีเรียกคอสติกโซดาหรือโซดาไฟ เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ มีประโยชน์
ใช้ในอุตสาหกรรมการทำสบู่ แพรเทียม (เรยอง) และกระดาษ ใช้ในการทำให้น้ำมันปิโตรเลียม
และน้ำมันพืชบริสุทธิ์ ใช้ในอุตสาหกรรมการทำยาง สิ่งทอ และฟอกหนัง และใช้ในการเตรียมเกลือต่าง
ๆ ของโซเดียม
หน้า ๖๘๒๔
๑๘๙๕. โซโรอัสเตอร์
เป็นชื่อของศาสดา ชาวเปอร์เซีย มีชีวิตระหว่าง ๑๑๗ ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. ๑ ชื่อนี้ภายหลังเป็นชื่อของศาสนา
บางทีเรียกว่า ศาสนาปาร์ซี
บางทีเรียกว่า ศาสนาบูชาไฟ
คำสอนของโซโรอัสเตอร์ สาวกได้รวบรวมไว้เป็นคัมภีร์ที่แปลว่าความรู้ ตรงกับคำว่าเวทะ
ชื่อคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์
โซโรอัสเตอร์ ยอมรับผลแห่งกรรมที่บุคคลกระทำ ยอมรับความไม่สูญแห่งดวงวิญญาณ
ตามผลแห่งกรรม
ปัจจุบันศูนย์กลางศาสนาโซโรอัสเตอร์อยู่ในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ศาสนาโซโรอัสเตอร์เสื่อมสิ้นไปจากประเทศเปอร์เซีย
(อิหร่าน) เมื่อประเทศนั้น มีศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่อยู่
หน้า ๖๘๒๕
๑๘๙๖. ไซ0 ๑ - หญ้า
เป็นหญ้าชนิดหนึ่งชอบขึ้นในน้ำ ริมน้ำ และที่ชื้อแฉะ มีใบเรียวยาวแคบ ปลายใบแหลม
ลำต้นเล็ก มักทอดพิงกับพืชหรือหญ้าใกล้เคียง
หน้า ๖๘๓๖
๑๘๙๗. ไซ ๒ - งู
ชอบอยู่ในที่น้ำจืด พบในคลองและนาที่มีน้ำท่วมถึง หัวกลม เป็นกระสวย ตัวยาวไม่เกิน
๑ เมตร สีเทา - เหลือง ท้องสีเหลืองอ่อน เป็นงูไม่มีพิษ หน้า
๖๘๓๖
๑๘๙๘. ไซ ๓
เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีรูปหัวสอบท้ายสอบ ก้นสอบ ปากมีฝาปิด
ปากกว้าง ๒๐ ซม. ลำตัวยาว ๑.๒๐ เมตร ช่องดักปลา กว้าง ๗ ซม. มีงาแซงติดภายใน
ยาว ๙ ซม. ช่องดาไซห่างกัน ๕ ซม.
วิธีใช้ ขุดคันนาเป็นช่องสำหรับใส่ไซ ให้ช่องปากดักปลาอยู่ข้างล่าง
หน้า ๖๘๓๖
๑๘๙๙. ไซ่ง่อน
เดิมเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ ไซ่ง่อนตรงที่บรรจบกับแม่น้ำดอนไน
ไซ่ง่อนแต่เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ เพิ่งมาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภายหลังที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕
บริเวณที่ตั้งเมืองไซ่ง่อนแต่เดิม เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรโบราณ และได้เปลี่ยนมือมาเป็นของญวนในพุทธศตวรรษที่
๒๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๒ คณะทูตฝรั่งเศสได้เดินทางมาถึงไซ่ง่อนเป็นครั้งแรก
และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๐๒ ก็ได้เข้ายึดเมืองนี้ไว้ ญวนพยายามแย่งคืน แต่ไม่สำเร็จ
จึงได้ทำสัญญายกเมืองนี้ให้ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕
ไซ่ง่อน มีฐานะเป็นเมืองหลวงของอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๐ จนถึงปี
พ.ศ.๒๔๔๕ จึงเปลี่ยนไปเป็นเมืองฮานอย ต่อจากนั้นไซ่ง่อนจึงเป็นเพียงเมืองหลวงของแคว้นโคจินจีน
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสถาปนาประเทศเวียดนามขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน
ตามข้อตกลงของอนุสัญญาเจนีวา พ.ศ.๒๔๙๗ ไซ่ง่อน จึงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม
หน้า ๖๘๔๒
๑๙๐๐. ไซซี
เป็นชื่อของหญิงคนหนึ่งในสมัยเลียตก๊ก เป็นบุตรีของคนขายฟืน ในนครอ๊วก ในเวลานั้นนครอ๊วกแพ้สงครามแก่นครโจ้วอยู่เนือง
ๆ เจ้าครองนครอ๊วกรู้ว่าเจ้าครองนครโง้วเป็นผู้มักมากในกามคุณ จึงสรรหาสตรีงามไปเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้านครโง้ว
นางไซซีได้รับเลือกไปเพื่อการนี้ เจ้านครโง้วหลงไหลนางไซซีจนละเลยในด้านการปกครองและการทหาร
เสนาบดีได้ทักท้วงแต่ไม่เป็นผลและถูกสั่งให้ฆ่าตัวตาย
ฝ่ายเจ้าครองนครอ๊วกเห็นเป็นโอกาส จึงยกทัพมาตีนครโง้วไว้ได้ หว่นฉี่เสนาบดีนครอ๊วกผู้พานางไซซีไปถวายเจ้าครองนครโง้ว
ได้พานางไซซีหนีไป และได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยา ได้ตระเวณไปอยู่แถบทะเลสาบทั้งห้า
หน้า ๖๘๔๔
๑๙๐๑. ไซอิ๋ว
เป็นชื่อนวนิยายที่แพร่หลายมากที่สุดของจีน ผู้เขียนชื่อโหง่วเส่งอึง
(พ.ศ.๒๐๖๓ - ๒๑๒๓) ในสมัยราชวงศ์เหม็ง
พระถังซัมจั๋งในเรื่องไซอิ๋วนี้
ตามหลักฐานประวัติศาสตร์จีนเป็นพระภิกษุ ที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียเป็นเวลา
๑๗ ปี และนำเอาพระไตรปิฏกกลับมาประเทศจีน การเดินทางของพระถังซัมจั๋งมีเหตุการณ์ต่าง
ๆ ปรากฎในจดหมายเหตุการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง และลูกศิษย์ของท่าน
ก็เขียนประวัติของท่านอีกด้วย ซึ่งต่างก็เป็นเอกสารสำคัญทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของจีน
สำหรับเห้งเจียคือ โป๊ยก่ายและซัวเจ๋ง ในเรื่องไซอิ๋ว ต่างก็เป็นตัวบุคคลสมมติขึ้น
หน้า ๖๘๔๕
๑๙๐๒. ไซฮั่น
เป็นชื่อราชวงศ์หนึ่งของจีน (๓๓๗ ปี ก่อน พ.ศ.) พระเจ้าจิ้นซีฮ่องเต้ ทรงปกครองประเทศจีนอย่างเหี้ยมโหด
ทารุณ เป็นเหตุให้ประชาชนก่อการกบถขึ้น ในที่สุดคงเหลือแต่เล่าปัง และฌ้อปาอ๋อง
เล่าปังรบชนะฌ้อปาอ๋อง
และได้สถาปนาตนเองเป็นฮั่นอ่อง นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โซฮั่น ตั้งราชธานีที่เมืองเฉียงอัง
ในมณฑลเซียมไซ (ดูเซียมไซ ลำดับที่ ๑๘๗๖)
หน้า ๖๘๔๖
ฌ
๑๙๐๓. ฌ พยัญชนะตัวที่สิบสองของพยัญชนะไทย
เป็นตัวที่ห้าในวรรคที่สอง นับเป็นพวกอักษรต่ำ อ่านออกเสียงเช่นเดียวกับตัว
ช จึงบัญญัติให้เรียกชื่อว่า ฌ เฌอ
หน้า ๖๘๔๖
ฌ เป็นพยัญชนะเสียงไม่ก้อง หรืออโฆษะ แต่ในภาษาบาลี และสันสกฤตถือว่าเป็นธนิต
- โฆษะ คือมีเสียงหนักและก้อง ถือว่าเป็นพยัญชนะเกิดที่เพดานเรียกว่า ตาลุชะ
เหตุนี้ในตำราสัทศาสตร์บางทีก็เรียกว่า พยัญชนะหน้าคู่กับพยัญชนะวรรค ก ซึ่งเป็นพยัญชนะหลัง
และถือว่าเป็นพยัญชนะวรรค ต ผสมด้วยเสียง ย เช่น ฌาน เป็น ธฺยาน
ตัว ฌ มักจะใช้เฉพาะคำบาลีและสันสกฤตเท่านั้น แต่ก็มีน้อย
๑๙๐๔. ฌ้อ
เป็นชื่อนครใหญ่นครหนึ่งของจีนในสมัยเลียดก๊ก ปลายราชวงศ์จิว นับเป็นหนึ่งในเจ็ดนครใหญ่ในยุคนั้น
เมืองหลวงอยู่ที่มณฑลหูไป่ มีอาณาเขตจดมณฑลต่าง ๆ เช่น กุ้ยจิว โอวน้ำ อังฮุย
กังโซ เสฉวน
ในปลายราชวงศ์จิว เมืองและนครต่าง ๆ รบพุ่งกัน ในที่สุดนครฌ้อก็ถูกจิ๋นซีฮ่องเต้ยึดได้
นับเวลาที่เจ้าครองนครฌ้อสืบสกุลได้ ๔๑ สมัย
หน้า ๖๘๔๗
๑๙๐๕. ฌ้อปาอ๋อง
เดิมชื่อฮันอู้ เกิดในรัชสมัยพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฉิน ได้ศึกษาตำราพิชัยสงครามจากผู้เป็นอา
แต่ศึกษาไม่จบ ฮันอู้เป็นผู้มีพลังกายมาก
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการก่อขบถขึ้นทั่วไป ฮันอู้สมัครเป็นทหารของฌ้ออ๋อง
ร่วมขบวนครั้งนี้ด้วย ฌ้ออ๋องได้แต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพ ยกเข้าตีเมืองห่ำเอียง
เมืองหลวงของฉินได้ แล้วสถาปนาตนเองเป็นฌ้อปาอ๋อง แล้วได้รบกับเล่าปัง ซึ่งตั้งตนเป็นฮั่นอ๋อง
แต่แพ้จึงฆ่าตัวตายในมณฑลอังฮุย การรบระหว่างฌ้อปาอ๋องกับเล่าปัง ได้มีผู้นำมาดัดแปลงแต่งเติมเป็นเกร็ดพงศาวดารปรากฏอยู่ในหนังสือภาคภาษาไทยชื่อไซ่ฮั่น
หน้า ๖๘๔๘
๑๙๐๖. ฌาน
โดยรูปคำแปลว่าเผา คือเผาธรรมอันเป็นข้าศึก มีนิวรณ์เป็นต้น และแปลว่าเพ่งหรือคิด
คือเพ่งคิดอารมณ์คือ กสิณ และเพ่งลักษณะสภาวธรรม มีอนิจลักษณะเป็นต้น (ดูกสิณ
- ลำดับที่ ๒๒๙ และวิปัสสนากรรมฐาน - ลำดับที่ )
เมื่อว่าโดยปริยาย ฌานคือธรรมเป็นเครื่องสลัดทิ้ง (ออก) จากกามทั้งหลาย เรียกเป็นเฉพาะว่า
"เนกขัมฌาน" เมื่อว่าโดยองค์ธรรมที่เป็นตัวฌานได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข
เอกัคตา ที่ประกอบกับจิตให้มีกำลังมากกว่าปรกติจิต จนสามารถละกาม และอกุศลกรรมทั้งหลายอันเป็นปฏิปักษ์โดยเด็ดขาดได้
เรียกเป็นเฉพาะว่าองค์ประกอบของฌาน
ฌานจัดโดยประเภทที่เพ่งอารมณ์เป็นสองอย่างคือ รูปฌาน และอรูปฌาน
รูปฌาน
แบ่งออกเป็นสี่ชั้นบ้าง ห้าชั้นบ้าง เรียกชื่อตามลำดับที่หยาบ และประณีตขึ้นกว่ากัน
โดยลำดับคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน
ปฐมฌาน
มีองค์ประกอบห้าคือ มีตรึกซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรองซึ่งเรียกว่า วิจารณ์ เหมือนอารมณ์จิตคนสามัญ
แต่ไม่ประกอบด้วย กิเลสกาม และอกุศลธรรม มีปิติคือ ความอิ่มใจและสุขคือ ความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือ
ความเงียบกับประกอบด้วยอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา
ทุติยฌาน
มีองค์สาม ละวิตก วิจารณ์เสียได้ คงอยู่แต่ปิติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา
ตติยฌาน
มีองค์สอง ละปิติเสียได้ คงเหลือแต่สุขกับเอกัคตา
จตุตถฌาน
มีองค์สอง ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือ เฉย ๆ กับเอกัคตา
ฌานสี่นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ
อรูปฌานก็จัดเป็นสี่ชั้นเหมือนกัน โดยประเภทอารมณ์สี่เรียกว่า อรูปสี่คือ
อรูปฌานที่หนึ่ง อากาสาปัญจายตนะฌาน
ยึดหน่วงเอาอากาศนิมิตอันหาที่สุดฝ่ายข้างเกิดและข้างดับมิได้ เป็นอารมณ์
เป็นบ่อเกิด
อรูปฌานที่สอง วิญญานัญจายตนฌาน
ยึดหน่วงเอาจิตที่นึกเอาอากาศตั้งอยู่ในอากาศอันหาที่สุดฝ่ายข้างเกิด และฝ่ายข้างดับมิได้
เป็๋นอารมณ์ เป็นบ่อเกิด
อรูปฌานที่สาม อากิญจัญญายตนะฌาน
ยึดหน่วงเอาความที่ไม่มีของจิตที่ตั้งอยู่ในอากาศเป็นอารมณ์ เป็นบ่อเกิด
อรูปฌานที่สี่ เนวสัญญาสัญญายตนฌาน
ยึดหน่วงเอาอรูปฌานที่สามอันสัญญา เวทนาและสัมปยุตธรรมทั้งสิ้นละเอียดประณีตนัก
มีอยู่เหมือนอย่างไม่มี เป็นอารมณ์ เป็นบ่อเกิด
อีกนัยหนึ่ง อรูปฌานสี่เป็นชื่อแห่งภพ คือผู้ที่ได้อรูปฌานนั้นล้วนเป็นโลกียะ
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดในพรหมภพ มีประเภทเป็นสี่ มีชื่อเหมือนอย่างนั้น
ตามกำลังฌานของตน อรูปฌานทั้งสี่นี้มีองค์สมบัติ หรือองค์ประกอบสองคือ อุเบกขา
และเอกัคตา เป็นอรูปสมาบัติ มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในอรูปาวจรภูมิทั้งสี่ชั้นเหมือนกันหมด
ฌานเกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน ๓๐ ในกรมฐาน ๔๐ ถึงขั้นอัปปนาภาวนา กรรมฐาน
๓๐ นั้นคือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อาณาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑
พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔
หน้า ๖๘๔๙
ญ
๑๙๐๗. ญ พยัญชนะตัวที่สิบสามของพยัญชนะไทย
เป็นตัวที่หกและเป็นตัวสุดท้ายของวรรคที่สอง นับเป็นพวกอักษรต่ำ เป็นพยัญชนะนาสิกคือ
มีเสียงระเบิด และก้อง หรือเรียกตามบาลีว่า พยัญชนะอมุนาสิก
ตำแหน่งที่เกิดของเสียงที่เกิดที่เพดานเรียกว่า ตาลุชะ เช่นเดียวกับ ฌ
เมื่อเป็นตัวต้นออกเสียงเป็น ย แต่เมื่อเป็นตัวสะกดกลายเป็นเสียง น
ถือเป็นตัวสะกดในแม่กน
เสียง ญ (ที่เป็นเสียงนาสิก) ในไทยกลางสูญไปแล้ว ส่วนภาษาถิ่นยังมีอยู่
หน้า ๖๘๕๕
๑๙๐๘. ญวน ๑ - ปลา
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลาขนุน สาบขนุน อานัมฮื้อ (ดู ขนุน - ปลา ลำดับที่
๖๗๗ ประกอบ) พบอยู่ตามแถบทะเลอินเดีย อินโดออสเตรเลีย และออสเตรเลีย
มีรูปร่างป้อม แบนข้าง ปากกว้าง และเฉลียงมาก เกล็ดกลม หลุดง่าย มีครีบหลังสองอัน
หน้า ๖๘๕๗
๑๙๐๙. ญวน ๒ - ชาติ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนัม เวียดนาม
ญวน นั้น เข้าใจว่าเดิมเป็นชนชาติไทยพวกหนึ่ง คือพวกที่ลงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแคว้นตังเกี๋ย
ครั้งจีนแผ่อาณาจักรออกมาถึงไทยเดิมในมณฑลฮุนหนำ กุยจิ๋ว กวางตุ้ง และกวางไส
จึงมีอำนาจถึงตังเกี๋ย ไทยชาวตังเกี๋ยต้องขึ้น และสมาคมกับจีนยิ่งกว่าไทยใหญ่
และไทยน้อย เมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน ความนิยมของพวกตังเกี๋ย ก็ใกล้ไปทางจีนมากเข้าทุกที
จึงเกิดเป็นชนชาติหนึ่งที่เราเรียกว่า ญวน
ญวน แต่ก่อนนี้จัดอยู่ในตระกูลมอญ - เขมร เพราะในภาษาญวนมีคำในตระกูลดังกล่าวอยู่มากคำ
บัดนี้มีทฤษฎีใหม่ว่า ญวนควรจะเป็นพวกในตระกูลอินโดนิเซียนมากกว่า
หน้า ๖๘๕๘
๑๙๑๐. ญ่อ ย่อ ย้อ
เป็นไทยเผ่าหนึ่งที่ข้ามมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี
รอบเมืองสกลนคร เหนือนครพนม และบางตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่งตัวเหมือนลาว
แต่ภาษาพูดมีเสียงกระด้าง
ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีดงย้อ เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา กับพระยานครราชสีมา
ได้กวาดต้อนครอบครัวทางเวียงจันทน์ และพวกย้อให้เข้ามาตั้งภูมิลำเนา อยู่ทางหัวเมืองภายใน
หน้า ๖๘๖๐
๑๙๑๑. ญัตติ
มีคำนิยามว่า คำประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน เรียกกันว่า
คำเผดียงสงฆ์ ข้อเสนอ เพื่อปรึกษาหรือเพื่อลงมติ
ญัตติ เดิมเป็นภาษาวินัย มีปรากฎในคัมภีร์พระวินัยปิฎกหลายแห่ง ในพระวินัยพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ใช้คำนี้
ในสังฆกรรมสามประเภทคือ ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ญัตติกรรม หมายความว่า
ตั้งญัตติ คือ ตั้งประเด็นที่จะขอปรึกษา หรือคำวินิจฉัยขาด หรือขอมติ ที่เรียกว่า
ตั้งญัตติ เมื่อตั้งญัตติขึ้นแล้วไม่ต้องประกาศซ้ำอีก ถือว่าที่ประชุมรับรองตามข้อเสนอนั้น
การทำในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม
คือ ตั้งญัตติแล้ว ประกาศซ้ำอีกครั้งหนึ่ง คำประกาศซ้ำนี้เรียกว่า อนุสาวนา
คือ คำประกาศให้รับรู้ทั่วกัน
ญัตติจตุตถกรรม
คือ เมื่อตั้งญัตติแล้ว ประกาศซ้ำอีกสามครั้ง
ต่อมาได้มีการนำคำนี้มาใช้เป็นภาษาสภา เรียกว่า ญัตติ หมายถึง ข้อเสนอให้รู้
ใช้คำนี้ในความหมายว่า ข้อเสนอเพื่อปรึกษา หรือเพื่อลงมติ
หน้า ๖๘๖๐
๑๙๑๒. ญาณ
มีคำนินามว่า ความรู้ ปัญญา ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ โดยความคือ ความรู้แท้
ความรู้จริง ตามเป็นจริง
ความรู้จริงตามเป็นจริง ในส่วนที่เป็นคดีโลกอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยคาดไม่ถึง
แต่ในคดีธรรม ความรู้ที่ได้ชื่อว่า ญาณนี้ เป็นความรู้ที่แน่นอน ไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น
ในคัมภีร์ทสกนิบาต อังคุตรนิกาย สุตตันตปิฎก (ข้อ ๒๔ หน้า ๒๒๖) ท่านแสดงถึงพระปรีชาญาณ
ที่เป็นคุณสมบัติทำให้ได้ชื่อว่า ตรัสรู้ ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุในคืนตรัสรู้นั้น
ท่านเรียกว่า วิชชา
กำหนดประเภทไว้สามคือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
หยั่งรู้ระลึกชาติได้ และรู้ละเอียดว่าในชาติก่อน ๆ เหล่านั้นมีชื่อ มีตระกูล
มีชาติ มีผิวพรรณ มีสุข มีทุกข์ มีเพศ มีอายุ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ เมื่อตายจากชาตินั้น
ๆ แล้ว ได้เกิดในชาตินั้น ๆ ได้เป็นอย่างนั้น ๆ แล้วมาเกิดในชาตินี้ เป็นอย่างนี้
นี่คือ ระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ
หยั่งรู้จุติและเกิด คือ มีตาทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุคนสามัญ เห็นเหล่าสัตว์กำลังจุติ
กำลังเกิด เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีรูปพรรณสัณฐานสมส่วนก็มี ไม่สมส่วนก็มี ได้ดีก็มี
ตกยากก็มี และรู้ละเอียดลงไปว่า ที่เป็นไปตามกรรมที่ทำไว้นั่นเอง นี่คือรู้จุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ
รู้จักทำอาสวะให้สิ้น คือ รู้สัจธรรมว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค
รู้ว่าเหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
เมื่อรู้อย่างนี้ได้ก็พ้นจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอันต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก
หน้า ๖๘๖๒
๑๙๑๓. ญาติ
คือ คนในวงศ์วานที่เนื่องถึงกัน ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสาย เช่น สายพ่อ หรือสายแม่
ในทางพระวินัยของพระสงฆ์ ท่านกำหนดเพียงตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก เขยและสะใภ้ ท่านไม่นับว่าเป็นญาติ
แต่มีคำเรียกเป็นเฉพาะว่า เกี่ยวดองกัน
หน้า ๖๘๗๑
๑๙๑๔. ญี่ปุ่น
เป็นคำที่คนไทยเรียกประเทศและคนชาติหนึ่ง ซึ่งอยู่ในประเทศนี้
เกาะญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ด้านใต้ตกทะเลจีน อยู่ในส่วนตะวันออกสุดของโลก
(ทวีปเอเชีย - เพิ่มเติม)
เป็นเกาะเล็กเกาะน้อยหลายพันเกาะ เกาะใต้มี ๙ เกาะ รวมพื้นที่ประมาณ ๓๗๕,๖๐๐
ตารางกิโลเมตร
ต้นกำเนิดของประเทศญี่ปุ่น ปรากฎตามเทพนิยายว่า มีบุรุษกล้าหาญออกจากแผ่นดินส่วนใต้รุกไล่ปราบคนถิ่นเดิม
คือ คนเผ่าไอนู
รวมแผ่นดินตั้งเป็นอาณาจักรยามาโต
(ญี่ปุ่น) ขึ้น (ที่จังหวัด นารา ปัจจุบัน) เมื่อ ๑๑๗ ปีก่อน พ.ศ. เป็นจักรพรรดิ์พระองค์แรก
สืบสันตติวงศ์สวรรค์ ครองประเทศเป็นวงศ์เดียวกันมา ไม่ขาดสายเป็นเวลากว่าสองพันปี
จนถึงจักรพรรดิ์ฮิโรฮิโต องค์ที่ ๑๒๔
ประวัติศาสตร์การสร้างประเทศญี่ปุ่นกำหนดไว้ เมื่อสมัยจักรพรรดิ์เคอิโต
องค์ที่ ๒๖ ระหว่างปี พ.ศ.๑๐๕๐ - ๑๐๗๗ สังคมดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น เป็นสังคมก่อขึ้นจากการนับถือศาสนา
บนที่ดินคือ พระภูมิเจ้าที่ อันเนื่องมาจากการนับถือดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษตามคำสอนในศาสนาชินโต
สมัยปฎิรูป
การเกษตรกรรมเป็นอาชีพสำคัญมาแต่เดิม หัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าตำบล และหัวหน้าเมือง
มีอำนาจครอบครองพื้นที่เกษตรกรรมเหล่านั้นด้วย ลูกบ้านกลายเป็นบริวาร เกิดการปกครองแบบเจ้ามูลนายขึ้น
ความไม่เสมอภาคในสังคมขยายกว้างออกไป แผ่นดินถูกแบ่งแยกตกเป็นสมบัติของคนมั่งมีของราชวงศ์และขุนนาง
ในปี พ.ศ.๑๑๘๘ - ๑๑๙๘ สมัยจักรพรรดิ์โคโตกุ
องค์ที่ ๓๖ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ โดยวิธีนำเอาหลักศาสนา
และหลักปกครองของราชวงศ์สุย และราชวงศ์ถัง ในประเทศจีนมาเป็นแบบฉบับ มีหลักสำคัญของการปฎิรูปคือ
ก. นำที่ดินส่วนบุคคลทั้งหมดเข้ามาเป็นสาธารณสมบัติ
ข. แบ่งที่ดินทั้งหมดให้แก่ประชาชน จัดทำสำรวจสำมะโนครัว และกำหนดอัตราภาษีอากร
จากที่ดินนั้นโดยสมควร
ค. จัดแบ่งประเทศออกเป็นแคว้นมณฑล จังหวัด และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปกครอง มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จักรพรรดิ์พระองค์เดียว
ในสมัยนี้ ญี่ปุ่นได้รับวัฒนธรรมทางศาสนาของจีนคือ ลัทธิเต๋า ขงจื้อ ศิลปกรรม
และจารีตประเพณี จากจีน และเกาหลีมาก พุทธศาสนาที่ได้รับมาภายหลัง ผสมกับศาสนาของจีน
และศาสนาดั้งเดิมของญี่ปุ่น นำความเจริญทางการปกครอง ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง
สมัยขุนนาง
ระหว่างปี พ.ศ.๑๓๒๔ - ๑๓๔๔ ในรัชสมัยพระจักรพรรดิ์คัมมุ ได้ย้ายราชธานีจากเมืองนารา
ไปตั้ง ณ นครเกียวโต
จักรพรรดิ์ทรงดำรงตำแหน่งอันศักดิ์สิทธิ์ แต่มีตระกูลขุนนางตระกูลหนึ่งชื่อ
ฟูจิวารา มีตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ได้ค่อย ๆ ดึงอำนาจจากราชสำนัก มาบริหารเสียเอง ฐานะส่วนพระองค์ของจักรพรรดิ์ตกต่ำลงถึงที่สุด
ตระกูลฟูจิวาราบริหารประเทศตามควมพอใจ พลเมืองกลายเป็นคนเกียจคร้าน เป็นทาสอบายมุข
พวกตระกูลต่าง ๆ ตามหัวเมืองเกิดความไม่พอใจ ไม่ยอมรับคำสั่งของรัฐบาลกลาง
บรรดาเจ้าของที่ดินตามหัวเมืองจำต้องจ้างชาวนาผู้กล้าหาญ ฝึกหัดวิชารบเอาไว้ป้องกันผลประโยชน์ของตนเอง
กลายเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่ขึ้นแก่กันต่างปกครองเขตแดนของตน ตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองนคร
บรรดาชาวนาที่กลายเป็นนักรบ ของผู้ครองนครเรียกว่า ซามูไร
แปลว่า นักรบผู้ตามรักษาเจ้านาย กลายเป็นนักรบยิ่งใหญ่ขึ้น
สมัยซามูไร - รัฐบาลทหาร
มีตระกูลขุนศึกสองตระกูล ช่วยกันกอบกู้พระราชอำนาจได้ปราบปรามตระกูลฟูจิวารา
ลงได้ในปี พ.ศ.๑๖๙๙ ขุนศึกทั้งสองตระกูลได้รับยกย่องอย่างสูง ในประวัติศาสตร์แต่ต่อมาเกิดแย่งอำนาจกัน
ตระกูลมินาโมโต
เป็นฝ่ายชนะในที่สุด และได้ตั้งรัฐบาลทหาร อันประกอบด้วยซามูไรขึ้นที่เมืองคามาคูรา
ได้อำนาจทั้งหมดในบ้านเมือง
สมัยนั้น จักรพรรดิ์โงชิคาวารา องค์ที่ ๗๗ ทรงพระปรีชาสามารถทรงแต่งตั้งโยริโมโตขึ้นเป็นโชกุน
ตำแหน่งจอมพลพิเศษของประเทศ
โชกุนแห่งคามากูรา
ได้อำนาจเป็นรัฐบาลกลางของญี่ปุ่นอยู่ประมาณ ๑๕๐ ปี ในสมัยนี้มีเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
อยู่สองเรื่องคือ ความเจริฐของพุทธศาสนานิกายเซน
(ดู เซน - ลำดับที่ ๑๘๖๖) และลัทธิบูชิโด
อันเป็นศีลของซามูไร โยริโมโต เคร่งครัดในศาสนาพุทธ และบังคับให้ซามูไรทุกคนปฎิบัติตามหลักธรรมนั้นด้วย
ผลแห่งการอบรมด้วยลัทธิบูชิโด ทำให้นักรบญี่ปุ่นเคารพเกียรติยศรุนแรงขึ้น
จงรักภักดีต่อประเทศชาติ และองค์จักรพรรดิ์มากขึ้น เกิดลัทธิชาตินิยมคือ ความเชื่อมั่นว่า
ญี่ปุ่นเป็นแผ่นดินที่พระเจ้า หรือสวรรค์ประทานมา ได้กลายเป็นอุดมคติประจำชาติ
สมัยปิดประตูเมือง
รัฐบาลทหารที่คามากุราสิ้นอำนาจลง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๘๑ แต่ศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา
และซามูไร ยังมั่นคงอยู่ รัฐบาลโชกุนสมัยต่อมาย้ายมาตั้งที่นครหลวงเกียวโต
การติดต่อกับเกาหลีและจีนกว้างขวางออกไป ทั้งการค้าและวัฒนธรรม คริสตศาสนาที่แพร่เข้ามาในระยะนี้
เป็นอันตรายแก่ญี่ปุ่น กลุ่มพุทธศาสนากับคริสตศาสนา เกิดต่อสู้กัน พวกสนับสนุนคริสต์ศาสนามีอาวุธดีกว่าคือ มีอาวุธปืน เอาชนะพวกซามูไร ผู้มีแต่ดาบและธนู จึงเกิดความคิดอ่านในการปิดประเทศขึ้น
ล่วงมาถึงสมัยเยโด
(ชื่อเมืองหลวงโตเกียวเก่า) ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๔๕ - ๒๔๑๐ โชกุนตระกูลโตกูงาวา
ได้ย้ายที่ทำการปกครอง (แบบขุนนาง) จากเกียวโต มาอยู่โตเกียว (เยโด)
ระหว่างนี้อิทธิพลของศาสนาคริสต์กับชาวตะวันตก มีกว้างขวางมาก โชกุนต้องออกกฎหมายปิดประเทศลงเป็นบางส่วนก่อน
จนถึงสมัยโชกุนโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ ขุนศึกของญี่ปุ่น ตีทัพจีนและเกาหลีแตก และได้ออกกฎหมายห้ามสอนศาสนาคริสต์
ไล่นักบวชคาทอลิกออกนอกประเทศ และห้ามคนญี่ปุ่นออกนอกประเทศ (พ.ศ.๒๑๕๕ - ๒๑๗๖)
สมัยฟื้นฟู
ญี่ปุ่นปิดประเทศมาจนถึงปี พ.ศ.๒๓๘๗ พระเจ้าวิลเลียมที่ ๒ กษัตริย์ฮอลันดา
ได้ส่งพระราชสาสน์ลับมายังโชกุน ทรงเตือนให้ระหว่าง อย่าได้ปฎิบัติการอันน่าสลดใจ
เช่นที่ประเทศจีนได้ทำมาแล้ว (จีนรบแพ้อังกฤษ เพราะปิดประเทศ) โชกุนจึงยอมให้นักสอนศาสนาชาวฮอลันดา
เข้าประเทศได้อีกเป็นครั้งแรก และเปิดให้อเมริกัน เมื่อ พลเรือจัตวา
เปอรี นำขบวนเรือรบสี่ลำเข้ามายังอ่าวเมืองเยโด
ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๑๑ จักรพรรดิ์เมยี
(เมยี เทนโน) ก็ได้ขึ้นครองราชย์
เมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศยอมติดต่อกับนานาประเทศแล้ว ความเจริญก็หลั่งไหลเข้าสู่ญี่ปุ่น
อำนาจโชกุนเริ่มอ่อนแอลง สุดท้ายก็พากันถวายพระราชอำนาจคืนแก่จักรพรรดิ์ สถาบันโชกุนก็สิ้นสุดลง
หลังจากได้สืบสกุลกันมา ๒๖๕ รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น ๖๗๕ ปี
สมัยเมยี เทนโน เป็นสมัยเริ่มรวมชาติ รัฐบาลญี่ปุ่นลงมือสร้างชาติทุกทางอย่างเต็มกำลัง
เริ่มต้นเปลี่ยนระบอบสังคมใหม่ ปรับปรุงการศึกษา การยุติธรรม การทหาร เศรษฐกิจและการเมืองใหม่
ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้พลเมือง ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเข้มแข็ง
และก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทำสงครามใหญ่กับจีนในปี
พ.ศ.๒๔๓๗ และทำสงครามกับรัสเซียในปี
พ.ศ.๒๔๔๗ ญี่ปุ่นได้ชัยชนะทั้งสองครั้ง ความสัมพันธ์กับไทยที่ขาดกันมาประมาณ
๒๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยาก็เริ่มขึ้นใหม่ในสมัยนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๔๑ รัฐบาลสยามกับรัฐบาลญี่ปุ่น
ได้ลงนามในสัญญาพระราชไมตรีทางการค้า และการเดินเรือต่อกันเป็นครั้งแรก
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามมหาเอเซียบูรพา
(พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญปกครองประเทศใหม่ เข้าสู่ยุคใหม่เป็นประชาธิปไตยทุกทาง
หน้า ๖๘๗๓
๑๙๑๓. ไญยธรรม เญยธรรม ญายธรรม
๑. เหตุอันสมควร
เช่นสมควรแก่การเป็นอริยสาวก ความหมายนี้มีที่มาในสักปัญหสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. อริยมรรค
ทางอันประเสริฐแปดประการ อริยมรรคชื่อว่าญายธรรมโดยอรรถาธิบายว่า ก้าวไปสู่นิพพานโดยความเป็นทางดำเนินที่ไม่ผิด
๓. นิพพาน
ธรรมอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา นิพพานนี้มีชื่อเรียกหลายอย่าง อย่างหนึ่งว่า
"อมตะ" แปลว่าไม่ตาย เป็นสภาพอันหนึ่งที่ไม่มีเกิดไม่มีดับ และเพราะมิได้เกิด
ฉะนั้นจึงไม่ตาย แต่ก็เป็นอายตนะที่มีอยู่เรียกว่า อสังขตธาตุ แปลว่าธาตุอันปัจจัยอะไร
ๆ มิได้ปรุงขึ้นสร้างขึ้น และว่านิพพานนั้นแปลว่า ปราศจากเครื่องร้อยรัดและเครื่องร้อยรัดนั้นคือตัณหา
หน้า ๖๘๘๔
ฎ
๑๙๑๔. ฎ พยัญชนะตัวที่สิบสี่ของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวต้นของวรรคที่สาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด โดยมากในคำที่มาจากบาลี
และสันสกฤต ที่ใช้เป็นตัวหน้าในภาษาไทย มีอยู่เพียงคำเดียวคือ ฎีกา
ตัว ฎ เป็นพยัญชนะพวกโฆษะคือมีเสียงก้องและออกเสียงเช่นเดียวกับตัว ด
หน้า ๖๘๘๙
๑๙๑๕. ฎีกา ๑
คำนี้ในภาษาบาลีเป็นต้นคำแปลว่าชี้แจง ถ้อยคำ วาจา เป็นเครื่องกำหนดมีคำนิยามว่า
หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ ใบเบิกเงิน ใบบอกบุญเรี่ยไร คำร้องทุกข์ ถวายพระเจ้าแผ่นดิน
คำร้องหรือคำคัดค้านที่ยื่นต่อศาลสูงสุด ชื่อศาลสำหรับตัดสินความชั้นสูงสุด
เรียกว่า ศาลฎีกา
อีกนัยหนึ่ง ยื่นคำร้องหรือคัดค้านต่อศาลสูงสุด ทูลเกล้า ฯ ถวายฎีการ้องทุกข์เรียกว่า
ร้องฎีกา
ในครั้งพุทธกาล เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในวงการของคณะสงฆ์ก็ต้องกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ
เมื่อได้ทรงสอบสวนโดยละเอียด แล้วทรงวินิจฉัยอย่างไร คำวินิจฉัยของพระพุทธเจ้านั้นก็เรียกว่า
พระพุทธฎีกา
รวมถึงคำสอนด้วยที่พระพุทธเจ้าทางแสดงก็เรียกว่าพุทธฎีกา
อีกนัยหนึ่งที่เรียกใบเบิกเงินโดยเฉพาะของทางราชการว่าฎีกา ข้อนี้น่าจะเนื่องมาแต่เดิมของที่ทางราชการจ่ายให้เป็นของพระราชาทั้งนั้น
จึงต้องตั้งฎีกาเบิก
อีกนัยหนึ่งในภาษาบาลีใช้คำนี้เป็นชื่อของสำนวนหนังสือของภาษาบาลีที่แก้ไขอรรถกถา
ซึ่งจัดเป็นชั้นที่สาม สำนวนภาษาบาลีมีอยู่สี่สำนวนด้วยกันคือ บาลี อรรถกถา
แก้บาลี ฎีกา แก้อรรถกถา หรือแก้ทั้งบาลีทั้งอรรถกถา สัททาวิเศษ คำอธิบายศัพท์ของภาษาบาลีที่เรียกกันว่า
ไวยากรณ์
คำว่าฎีกานี้ ยังเป็นชื่อประกอบกับคำอื่นว่า ใบฎีกา
ใช้ในชื่อสมณศักดิ์ชั้นฐานานุกรมว่าพระใบฎีกา พระครูใบฎีกา
หน้า ๖๘๘๙
๑๙๑๖. ฎีกา ๒
เป็นศาลสำหรับตัดสินความชั้นสูงสุด คำพิพากษาหรือคำสั่งใดที่ศาลฎีกาได้พิพากษา
หรือสั่งแล้วให้ถือว่าเป้นที่สุด
หน้า ๖๘๙๓
ฏ
๑๙๑๗. ฎ พยัญชนะตัวที่สิบห้าของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวที่สองในวรรคที่สาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาบาลี
และสันสกฤต จัดเป็นพยัญชนะอโฆษะ คือมีเสียงไม่ก้องและออกเสียงเช่นเดียวกับตัว
ต
เมื่อแบ่งตามตำแหน่งที่เกิดของเสียงในภาษาบาลี และสันสกฤต ตัว ฏ เป็นพยัญชนะเกิดที่ส่วนสูงของเพดานปาก
โดยโค้งลิ้นกดเข้าไปให้ลึก ซึ่งไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย เรามีไว้เพื่อแบ่งอักษรของบาลีสันสกฤตในวรรคนี้เท่านั้น
หน้า ๖๘๙๙
ฐ
๑๙๑๘. ฐ พยัญชนะตัวที่สิบหกของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรสูง เป็นตัวที่สามของวรรคสาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด เฉพาะคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต
หน้า ๖๙๐๐
๑๙๑๙. ฐาน
คือพื้นสำหรับรองรับสิ่งใด ๆ ในสถาปัตยกรรมไทย มีหกอย่างคือ ฐานเขียง ฐานปัทม์
ฐานสิงห์ ฐานเชิงบาตร ฐานบังกลุ่ม ฐานลูกฟัก
๑. - ฐานเขียง
คือฐานที่ด้านข้าง ตั้งตรงเป็นรูปฉาก แต่เพื่อความงามในทางศิลปะ ทางด้านตั้งทำเป็นลายเส้นลวดให้เข้าไป
ถ้าเป็นฐานซึ่งซ้อนกันหลายชั้น ฐานเขียงจะเป็นฐานเบื้องต่ำที่สุดของฐานอื่น
ๆ ถ้าฐานเขียงมีเนื้อที่กว้างเดินได้รอบก็เรียกว่า ฐานทักษิณ
๒. - ฐานปัทม์
บางทีเรียกว่า ฐานบัวคว่ำบัวหงาย หรือเรียกแต่ฐานบัวเฉย ๆ ก็ได้ส่วนนี้อยู่เบื้องที่สุดของฐานทั้งข้างบน
และข้างล่างเรียกว่า หน้ากระดานบน
หน้ากระดานล่าง
ตอนกลางของฐานด้านข้างอยู่ระหว่างบัวหงายบัวคว่ำ เป็นแนวยาวแบน ๆ เกลี้ยง
ๆ เรียกว่า ท้องไม้
บางทีก็เรียกว่าคอฐานบน และคอฐานล่าง โดยมีรัดเอวแบ่งกลาง
ฐานปัทม์นั้นใช้ซ้อนฐานเขียง แต่ถ้าเห็นสูงเกินไป ก็ลดฐานเขียงเสียเหลือแต่ฐานปัทม์
๓. - ฐานสิงห์หรือฐานเท้าสิงห์
เป็นฐานทำเป็นรูปเท้าสิงห์อยู่ที่มุมสุดทั้งสองด้าน ส่วนต่าง ๆ ของฐานสิงห์ก็มีอย่างเดียวกับฐานปัทม์
ฐานสิงห์ถือเป็นของสูงต้องนั่งบนฐานปัทม์ หรือฐานเขียงเสมอ เว้นไว้แต่ทรงเตี้ย
ๆ เช่น เตียงตั้งลอย ๆ เป็นต้น
๔. - ฐานเชิงบาตร
ตรงใต้หน้ากระดานบน ทำเป็นรูปเว้าเข้าไปอย่างเชิงบาตร ใต้หน้ากระดานมักทำเป็นรูปบัวแวงคือ
ทำบัวเป็นลายกลีบยาว ๆ ยืดขึ้นไป ข้าง ๆ จะได้ตั้งรูปเทพพนมได้ ฐานเชิงบาตรมักไว้ในที่สูง
๕. - ฐานบัวกลุ่ม
อยู่ถัดฐานเชิงบาตรขึ้นไป เดิมทำเป็นกลีบบัวซ้อนๆ เป็นกลุ่ม ๆ ขึ้นไป ไม่มีหน้ากระดานบน
เพราะปาดเป็นบัวกลุ่มแล้ว
๖. - ฐานลูกฟัก
คือ ฐานปัทม์แต่ยืดท้องไม้มากไปเป็นอย่างลูกฟัก ดูไม่งามจึงต้องมีลูกแก้ว
อยู่ใต้บัวหงาย และเหนือบัวคว่ำ ลูกแก้วเรียกว่า บัวปากปลิง มักทำลายริ้วเข้มขาบ
หรือบัวแวงประกอบ
ฐานซ้อนกับอย่างเต็มชุดมีห้าชั้นคือ ฐานเขียง ฐานปัทม์ ฐานสิงห์ ฐานเชิงบาตร
และฐานบัวกลุ่ม ฐานนั้นจะย่อมุมเป็นไม้สิบสอง หรือไม้อะไรก็ได้แล้วแต่จะเห็นงาม
หน้า ๖๙๐๑
๑๙๒๐. ฐานกรณ์
คือ ที่ตั้งและเครื่องทำให้เกิดเสียงในการพูด มีอยู่หกประการคือ คอ เพดาน
ศีรษะ หรือปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก และจมูก
อักขระบางเหล่าเกิดในฐานเดียว บางเหล่าเกิดในสองฐาน
หน้า ๖๙๐๙
๑๙๒๑. ฐานันดร
หมายถึง ลำดับแห่งยศบรรดาศักดิ์ ยศเจ้านายในราชสกุลมีสองประเภทคือ สกุลยศ
คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้านายชั้นใด และอิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้ง
ส่วนฐานันดรข้าราชการเป็นการจัดระเบียบลำดับยศ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการบังคับบัญชา
ระเบียบยศศักดิ์ของไทยมีตำราอยู่ในกฎหมาย ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนที่เรียกว่า
"ทำเนียบศักดินา"
ซึ่งตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีบรรดาศักดิ์ขุนนางชั้นสูงสุดเป็นเจ้าพระยาอยู่ห้าคน
คือ เจ้าพระยามหาอุปราช ฯ เจ้าพระยาจักรี ฯ เจ้าพระยามหาเสนาบดี
ฯ เจ้าพระยาสุรศรี ฯ เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช ขุนนางชั้นรองลงมาเป็น "ออกญา"
บรรดาศักด์พระยาไม่มีในทำเนียบ มาเพิ่มในภายหลัง เมื่อใช้คำพระยามากขึ้นคำ
ออกญา จึงสูญไป
หน้า
๖๙๑๒
๑๙๒๒. ฐานานุกรม
เป็นคำเรียกรวมตำแหน่งสมณศักดิ์โดยปรกติเป็นชั้นประทวน มีคำนิยามว่า "ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์
ที่พระราชคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ ตั้งให้ตามทำเนียบ"
ตำแหน่งสมณศักดิ์ ฐานานุกรมมาปรากฎในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หน้า ๖๙๓๐
ฑ
๑๙๒๓. ฑ พยัญชนะตัวที่สิบเจ็ดของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรต่ำ เป็นตัวที่สี่ของวรรคที่สาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด เฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลี
และสันสกฤต เท่านั้น
หน้า ๖๙๓๐
๑๙๒๔. ฑากินี
๑. ในลัทธิศักติฮินดู หมายถึง พวกนางปีศาจร้ายจำพวกหนึ่ง ถือว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กาลี
ชอบกินเลือดเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร
๒. ในลัทธิพุทธตันตระของนิกายลามะในทิเบต หมายถึง เทวีหรือศักติ ซึ่งในที่บางแห่งว่า
เป็นชายาของธรรมบาล ผู้มีหน้าที่คุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนา
หน้า ๖๙๓๘
๑๙๒๕. เฑียรราชา
คือพระนามเจ้านายแห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา
ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่สอง
และเป็นพระอนุชาต่างพระชนนี ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตในปี
พ.ศ.๒๐๘๙ พระแก้วฟ้า
หรือพระยอดฟ้าพระราชโอรส ซึ่งเกิดด้วยพระสนมเอกฝ่ายซ้ายคือ ท้าวศรีสุดาจันทร
พระชันษา ๑๑ ปี ได้ขึ้นครองราชย์ พระเฑียรราชาได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ท้าวศรีสุดาจันทรไม่พอใจพระเฑียรราชา หาเรื่องใส่ร้ายจนทรงสละตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ
แล้วออกทรงผนวช พระแก้วฟ้าครองราชย์อยู่ได้ ๒ ปี ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ พระศรีศิลป์ได้ขึ้นครองราชย์
เมื่อมีพระชันษาเพียง ๗ ปี ขุนวรวงศาธิราชได้เป็นผู้สำเร็จราชการ
เป็นเหตุให้บรรดาข้าราชการไม่พอใจ ต่อมาขุนวรวงศาธิราชได้ขึ้นครองราชย์ ขุนพิเรนทรเทพ
และพวกได้ร่วมมือกันวางแผน กำจัดขุนวรวงศา ฯ โดยเชิญพระเฑียรราชาให้ลาผนวชมาครองราชย์
เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ขุนพิเรนทรเทพได้รับสถาปนาเป็น พระมหาธรรมราชาโปรดให้ไปครองเมืองพิษณุโลก
และพระราชทานพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาองค์ใหญ่ ให้เป็นพระมเหสี
พระเจ้าตะเบงชเวตี้ เห็นเป็นโอกาสจึงยกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี
พ.ศ.๒๐๙๑ หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ครองราชย์ได้เจ็ดเดือน ศึกครั้งนี้สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
ถูกพระแปรฟันสิ้นพระชนม์ กองทัพไทยต้องถอยทัพกลับมาตั้งมั่นอยู่ในพระนคร ทางกองทัพพม่าต้องถอยทัพกลับไป
ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง หาเหตุที่ไทยไม่ยอมให้ช้างเผือก
ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาไทยต้องยอมให้ ช้างเผือกสี่เชือก พร้อมทั้งพระราเมศวร
พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงคราม ไปไว้เมืองพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๑๑ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง
ระหว่างนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้ประชวรสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๑๒ ภายหลังที่ได้ครองราชย์อยู่
๒๐ ปี สมเด็จพระมหินทร์ได้ครองราชย์สืบต่อมา กรุงศรีอยุธยาก็เสียเอกราชแก่พม่า
หน้า ๖๙๔๖
ฒ
๑๙๒๖. ฒ พยัญชนะตัวที่สิบแปดของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรต่ำ เป็นตัวที่ห้าของวรรคสาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด เฉพาะคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
ที่ใช้เป็นตัวต้นมีเพียงสองคำคือ เฒ่า และเฒ่าแก่ เป็นพยัญชนะพวกอโฆษะคือ
มีเสียงไม่ก้อง และออกเสียงเช่นเดียวกับตัว ท
หน้า ๖๙๕๑
๑๙๒๗. เฒ่าแก่
มีคำนิยามว่า "ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายใน ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการหมั้น และขันหมาก
เถ้าแก่ก็ใช้"
หน้า
๖๙๕๑
ณ
๑๙๒๘. ณ พยัญชนะตัวที่สิบเก้าของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรต่ำ เป็นตัวสุดท้ายของวรรคที่สาม ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน จัดเป็นพยัญชนะพวกอโฆษะคือ
มีเสียงก้องและออกเสียงเช่นเดียวกับตัว น เมื่อแบ่งตามตำแหน่งที่เกิดของเสียงในภาษาบาลีและสันสกฤต
ณ เป็นพยัญชนะเกิดที่ส่วนสูงของเพดานปาก และเป็นพยัญชนะนาสิก ซึ่งมีอยู่ด้วยกันห้าตัวคือ
ง ญ ณ น ม
หน้า ๖๙๕๔
๑๙๒๙. เณร
มีคำนิยามว่า เป็นคำละมาจากสามเณร คือผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ
แต่สมาทานศีล ๑๐
ในยุคปฐมโพธิกาล พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ได้เสด็จยังกรุงกบิลพัสด์
ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้โปรดให้พระสารีบุตร จัดการบวชพระราหุลกุมาร ผู้เป็นโอรสซึ่งมีชนมายุยังไม่ถึง
๒๐ ปีบริบูรณ์ จะบวชเเป็นพระภิกษุยังไม่ได้ ในการนี้ได้โปรดให้ยกเอาวิธีที่พระสาวก
รับคนเข้าบวชนั้นมาใช้แก่พระราหุลกุมาร และโปรดให้ทำต่อหน้าพระสงฆ์คือ ให้มีผู้รู้เห็น
เรียกวิธีที่โปรดให้บวชพระราหุลกุมารนี้ว่า สามเณร หรือเณร สามเณรราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
และโปรดให้ใช้วิธีนี้ บวชกุลบุตรผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี และเด็กที่จะบวชเณรนี้
ควรจะต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป เมื่อโปรดให้ยกเอาวิธีให้สรณาคมน์มาใช้บวชเณรแล้ว
ก็โปรดให้ยกเลิกวิธีที่เคยใช้บวชพระภิกษุเสีย
การบวชเณรที่ปฎิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ผู้จะบวชนำผ้าไตรและเครื่องสักการะ
เข้าไปหาพระอุปัชฌายะ กราบพระสงฆ์แล้ว กล่าวคำขอบรรพชา พระอุปัชฌายะจะสอนให้รู้จักพระรัตนตรัย
และเรื่องการบวช สอนกรรมฐานเบื้องต้น มอบผ้าไตรให้ออกไปครอง แล้วกลับมากล่าวคำขอสรณะและศีล
ท่านกล่าวนำให้ตั้งนโม นมัสการพระรัตนตรัย แล้วให้ว่าตาม แล้วท่านจะให้ไตรสรณาคมน์
เป็นอันสำเร็จภาวะเป็นสามเณร ต่อจากนั้นพระอุปัชฌายะจะให้สมาทานศีล ๑๐ ให้แยกออกเป็นทัณฑกรรม
๑๐ มาสนังคะ ๑๐ คือ องค์เป็นเหตุให้ถูกกำจัดออกจากหมู่สามเณร ต่อมาโปรดให้นำเสขียวัตร
อีก ๗๕ ให้ประพฤติปฎิบัติ รวมสิกขา หรือศีลของสามเณร
มี ๙๕ ข้อ จบแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี
ด
๑๙๓๐. ด พยัญชนะตัวที่ยี่สิบของพยัญชนะไทย
นับเป็นพวกอักษรกลางเป็นตัวต้นของวรรคที่สี่ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด จัดเป็นพยัญชนะพวกโฆษะคือ
มีเสียงก้อง
หน้า
๖๙๕๘
๑๙๓๑. ดงบังอี่
เป็นดงใหญ่กว่าดงอื่น ๆ หมดในมณฑลอีสาน มณฑลอุดร และมณฑลนครราชสีมา มีอาณาเขตทิศเหนือจด
จ.มุกดาหาร จด อ.อำนาจเจริญ ลงไปถึง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ทิศตะวันออก
จด อ.เขมราฐ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จด อ.ชานุมาน ทิศตะวันตก อ.เลิงนกทา มีเทือกภูเขาผ่านตามแนวดงคือ
ภูกอง ภูโล้น และภูแฝกเนียว เป็นดงที่ช้างเถื่อนชุม
หน้า ๖๙๕๙
๑๙๓๒. ดงพญาไฟ
ทิวเขา (ดู ดงพญาเย็น - ลำดับที่ ๑๙๓๓)
หน้า ๖๙๖๔
๑๙๓๓. ดงพญาเย็น
เป็นทิวเขาเริ่มจากถนนสุรนารายณ์ ต่อจากทิวเขาเพชรบูรณ์ ลงไปทางทิศใต้ ผ่านทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ระหว่างสถานีปางอโศก กับสถานีบันไดม้า แล้วข้ามถนนมิตรภาพในแนวหลัก กม.ที่
๑๗๐ ทิวเขาดงไปทางทิศใต้ ตลอดไปถึงเขาอินทนีและเขาแก้ว รวมยาว ๑๔๔ กม.
หน้า ๖๙๖๔
๑๙๓๔. ดงรัก
เป็นทิวเขาเริ่มจากช่องตะโก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่าง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
กับ อ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี ยาวเป็นทิวไปทางทิศตะวันอออก เมื่อถึงหลักเขตแดนที่
๒๘ ทิวเขานี้จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา จนถึงห้วยเซลำเภา
ทิวเขาจะหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๕๔ กม. แล้วหักไปทางเหนือ จนถึงปากแม่น้ำมูลฝั่งขวา
ในเขต อ.บ้านด่าน จ.อุบลราชธานี เป็นที่สุดของทิวเขา
หน้า ๖๙๖๕
๑๙๓๕. ดนตรี
เป็นเครื่องบรรเลง ซึ่งมีเสียงดังทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รักโศก
และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง
คำว่า ดนตรี ตามตัวอักษรก็แปลว่า สิ่งมีสายซึ่งหมายถึง เครื่องบรรเลงที่มีสาย
เช่น ซอ ซึ่งสีเป็นเสียงหรือกระจับปี่ จะเข้ ซึ่งดีดเป็นเสียง ดังนั้น ในสมัยโบราณจึงใช้คำว่า
ดนตรี เฉพาะแต่เรียกวงเครื่องสายเท่านั้น เช่น ประโคมดุริยดนตรี หมายความว่า
ประโคมทั้งปี่พาทย์ และเครื่องสาย
แต่เนื่องจากจินตกวี ได้นำคำว่าดนตรีไปใช้กับการบรรเลงต่าง ๆ จนทำให้ความหมายกลายไป
ปัจจุบันคำว่า "ดนตรี" หมายถึง เครื่องบรรเลงทุกอย่าง
หน้า ๖๙๖๘
๑๙๓๖. ด้วง ๑
เป็นชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า การที่ได้ชื่อเช่นนั้น เพราะมีลักษณะคล้ายตัวด้วงตัวเล็ก
ๆ นิยมใช้เป็นขนมเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่อย่างหนึ่ง
ขนมที่อยู่ในเครือเดียวกันมี ขนมครองแครง ขนมไข่เต่า ขนมเรไร ขนมเล็บมือนาง
ขนมนกกระจอก ขนมหูช้าง เพราะผสมแป้งอย่างเดียวกัน
หน้า ๖๙๖๙
๑๙๓๗. ด้วง ๒
เป็นเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ สัตว์ที่ดักได้ส่วนมากเป็นพวกแย้
มีใช้กันมากในภาคอีสาน
หน้า ๖๙๗๑
๑๙๓๘. ด้วง ๓
เป็นแมลงพวกหนึ่งมีปีกคู่แรก หรือปีกคู่หน้า หนา และแข็งมาก เป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตของการเจริญเติบโต
แบบสมบูรณ์คือ มีการวางไข่ ไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอน มีการเข้าเป็นดักแด้ ก่อนที่จะออกมาเป็นตัวเต็มวัย
เท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน ด้วงมีจำนวนมากกว่า ๒๕๐,๐๐๐ ชนิด กล่าวได้ว่า มีจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่
ของแมลงทั้งหมด
หน้า
๖๙๗๓
๑๙๓๙. ด้วง ๔ - ซอ
(ดู ซอ - ลำดับที่ ๑๘๐๙)
หน้า ๖๙๗๖
๑๙๔๐. ดวด
เป็นชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินแต้ม ผู้เล่นมีสองฝ่าย โดยใช้เบี้ยทอดห้าตัว
และเบี้ยเดินแต้มฝ่ายละสามตัว เบี้ยที่ใช้ทอดนั้น ส่วนใหญ่ใช้เบี้ยจั่น มีกระดานสำหรับเดินแต้ม
คล้ายกระดานหมากรุก แต่มีสองด้าน
การเล่นให้มีเมืองสองเมือง เป็นการเดินจากเมืองของตนเข้าไปในเมืองของอีกฝ่ายหนึ่ง
และถ้าสามารถกลับมาเมืองของตนได้ก่อนจะชนะ เริ่มต้นเล่นด้วยการทอดเบี้ยโดยตกลงกันก่อนว่า
จะถือเบี้ยคว่ำหรือเบี้ยหงายเป็น "ดวด" ปกติจะถือว่าเบี้ยหอยหงายหนึ่งตัวเป็น
"ดวด" ผู้ที่ทำการทอดได้ดวด
ก็จะทำให้เบี้ยของตนเกิดได้หนึ่งตัว และจะทอดได้ต่อไปอีก การเดินนั้นเมื่อทอดได้เท่าใด
ก็เดินเบี้ยของตนไปเท่านั้น แต่ละฝ่ายจะเดินเบี้ยของตนไปตามหมายเลข ผ่านเมืองของตนไปเข้าเมืองของอีกฝ่ายหนึ่ง
แล้วกลับมาเข้าเมืองของตน จนถึงตาสุดท้ายที่ทำเครื่องหมายเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ เรียกว่า "คลัก"
ในระหว่างเดินอยู่นั้น ถ้าเบี้ยของฝ่ายหนึ่งเดินมาตก ณ ที่เบี้ยอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว
ฝ่ายหลังเป็นผู้ตีได้ ฝ่ายแรกต้องตกไป และต้องไปเริ่มใหม่ เว้นแต่เบี้ยฝ่ายแรกไปตกอยู่
ณ มุมของกระดาน หรือมุมเมืองเรียกว่า "โย"
แล้วฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตี หรือเข้าไปแย่งที่ได้ เมื่อทอดเบี้ยได้จำนวนพอเหมาะที่จะออกไปซึ่งเรียกว่า
"สุก" ฝ่ายใดได้สุกก่อน
ก็เป็นฝ่ายชนะ
หน้า
๖๙๗๖
๑๙๔๑. ดอกคำใต้
อำเภอขึ้น จ.เชียงราย ภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีทุ่งนาสองข้างทาง มีป่าเป็นบางตอน
เมื่อแรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ขึ้น อ.พะเยา ยกฐานะเป็นอำเภอเมือง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
หน้า ๖๙๘๐
๑๙๔๒. ดอกดิน
เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะเหมือนกาฝากของพันธุ์ไม้จำพวกหญ้า ในเมืองไทยมีอยู่สามชนิด
หน้า ๖๙๘๐
๑๙๔๓. ดอกไม้ - การจัด
การจัดดอกไม้ของไทย เริ่มต้นจากขั้นทำดอกไม้ ใบไม้ ให้เป็นดอกไม้ตามรูปทรงที่ต้องการเสียก่อน
แล้วจึงนำมาจัดเข้าหมวดหมู่ ตามประโยชน์ใช้สอย การจัดดอกไม้ของไทย อาจแบ่งออกได้ดังนี้
๑. จัดเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนา และงานต่าง ๆ อันเนื่องกับประเพณีไทย มักใช้ดอกไม้ใบไม้
ตามธรรมชาติมาร้อยกรองให้เป็นรูปอื่นได้แก่ จัดพุ่ม พาน กระทง ร้อยเป็นมาลัย
อุบะ
๒. จัดเพื่อใช้ในการตกแต่งอาคารโดยเฉพาะวัด และวัง ใช้ต่างม่าน และตกแต่งประตูหน้าต่าง
ได้แก่ มาลัย และกระเช้า เป็นต้น รวมเรียกว่า เครื่องแขวน
หน้า ๖๙๘๑
๑๙๔๔. ดอกไม้ไฟ
เป็นวัสดุสำหรับจุดในงานต่าง ๆ ทำด้วยกระดาษไม้อ้อ หรือไม้ไผ่ เป็นต้น บรรจุดินดำไว้ข้างใน
มีชื่อต่าง ๆ กันตามชนิดและตามท้องถิ่น เช่น กรวด พลุ ตะไล ไฟพะเนียง บั้งไฟ
ลูกหนู อ้ายตื้อ เป็นต้น
ดอกไม้ไฟนี้ เมื่อจุดติดแล้วจะพ่นไฟ ออกมาเป็นลักษณะต่าง ๆ บางครั้งก็อยู่กับที่
บางครั้งก็เคลื่อนที่ได้ และมีสีต่าง ๆ กัน บางครั้งก็มีเสียงด้วย
ประเพณีการจุดดอกไม้ไฟ มีมาแต่สมัยสุโขทัย นอกจากจะเป็นการจุดเนื่องในงานสมโภชบูชาแล้ว
ยังจุดในงานศพด้วย
หน้า ๖๙๘๔
๑๙๔๕. ดอกสร้อย ๑ - ต้น
เป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เป็นสกุลใหญ่ โดยมากเป็นพันธุ์แอฟริกา และมีอยู่ทั่วไปในเขตร้อน
พบในเมืองไทยทางภาคเหนือ
หน้า ๖๙๘๖
๑๙๔๖. ดอกสร้อย ๒
เป็นชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนสักวา จึงมักเรียกว่า ดอกสร้อยสักวา
เป็นคำร้อยกรองประกอบการเล่นอย่างหนึ่ง อันสืบเนื่องมาแต่สมัยอยุธยา สืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ฯ แล้วค่อย ๆ เสื่อมลง
ลักษณะเล่นดอกสร้อย กับสักวาผิดกันที่ดอกสร้อยเล่นกันแต่สองวง ชายวงหนึ่ง
หญิงวงหนึ่ง และร้องรำต่าง ๆ ร้องยากกว่าสักวา ส่วนสักวานั้น เล่นกันกี่วงก็ได้
หน้า ๖๙๘๗
๑๙๔๗. ดอง ๑
หมายถึง กิริยาอาการที่แช่ หรือหมักของอย่างใดอย่างหนี่งไว้ ในการถนอมอาหาร
วิธีปฎิบัติคือ หมักอาหารไว้กับเกลือระยะหนึ่ง เมื่อได้ที่แล้วก็บริโภคได้
ในการนี้เกลือทำหน้าที่รักษาคุณภาพของอาหารไว้ ไม่ให้เสียโดยเกลือจะทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
ที่เป็นสาเหตุของการเสียของอาหารหยุดชะงักลง แต่บัคเตรีบางพวกยังคงเจริญเติบโตต่อไปได้
บัคเตรีพวกหลังนี้มีส่วนช่วยในการถนอมอาหารด้วย เพราะสามารถผลิตสารเคมีบางชนิดขึ้นมา
เช่น กรดแลกติก กรดน้ำส้ม และเอทิลอัลกอฮอล์ เป็นต้น สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยถนอมอาหาร
และทำให้เกิดรสเปรี้ยวในผักดอง
หน้า ๖๙๙๐
๑๙๔๘. ดอง ๒
หมายถึง การห่มผ้าของพระภิกษุ สามเณร คือ การห่มเฉวียงบ่า การห่มดองคือ การห่มอยู่กับที่
หรืออยู่ในบริเวณวัด
การครองผ้าของพระภิกษุ สามเณร มีสองอย่างคือ ห่มคลุม และห่มดอง ห่มคลุมคือ
ห่มเมื่อเข้าละแวกบ้าน
ห่มดอง มีสองแบบคือ ห่มปิดขวาอย่างเดิม และห่มปิดซ้าย ถ้าห่มดองทำกิจที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หรือที่อื่นที่เป็นการหลวง ที่เป็นภายในวัด ต้องห่มดอง พาดสังฆาฎิ คาดรัดประคดอก
เหมือนกันหมดไม่ว่าห่มแบบไหน
หน้า ๖๙๙๓
๑๙๔๙. ด้อง - ปลา
เป็นปลาจัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ซึ่งมีอยู่ราวแปดสกุล แต่ในสกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
ที่เรียกว่า ปลาด้อง
หน้า ๖๙๙๙
๑๙๕๐. ดองดึง - เถา
บางทีเรียกว่า ดาวดึงส์ เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีหัวลักษณะคล้าย ๆ กับหัวขมิ้นขาว
หรือรากกระชาย ใบเป็นรูปหอกคล้ายใบข้าว ปลายแหลมเรียว แล้วขมวดเป็นมือจับคล้ายหนวดผีเสื้อ
ดอกออกตามซอกใบขนาดใหญ่งามมาก
หน้า ๖๙๙๙
๑๙๕๑. ดอนโขง
เป็นหาดทรายที่ยื่นออกตามแนวแม่น้ำโขง ตอนในแม่น้ำโขงตั้งแต่เขต จ.เชียงราย
ถึงเขต จ.อุบลราชธานี มีอยู่ถึง ๑๔๑ ดอน มีชื่อเรียกต่างกันไปเป็นดอนเส้า
ดอนกาม ดอนหนู ดอนแพง ดอนพิมาย และดอนบุ่งแก้ว เป็นต้น
หน้า ๗๐๐๐
๑๙๕๒. ดอนเจดีย์
อำเภอขึ้น จ.สุพรรณบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง แรกตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๐๕ ขึ้น อ.ศรีประจันต์ ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
อ.ดอนเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงสร้างเป็นที่ระลึก
เมื่อทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา เมืองหงสาวดี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕
หน้า ๗๐๐๓
๑๙๕๓. ดอนตูม
อำเภอขึ้น จ.นครปฐม ภูมิประเทศเป็นป่าไม้ไผ่ และไม้เบญจพรรณ บางแห่งเป็นหนองบึง
เดิมเป็นตำบลขึ้น อ.บางเลน ขึ้น อ.บางเลน เคยเป็นเมืองเก่า ครั้งสมัยทวารวดี
ยังมีซากปรักหักพัง และกำแพงเมืองปรากฎอยู่ ต่อมายุบแล้วตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
ที่ตำบลสามง่าม ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
หน้า ๗๐๐๓
๑๙๕๔. ดอนเมือง
เป็นชื่อท่าอากาศยานอันเป็นศูนย์กลางการบินของไทย เป็นชื่อสถานีรถไฟสายเหนือแห่งหนึ่ง
และเป็นชื่อวัดราษฎรวัดหนึ่ง ทั้งหมดอยู่ในท้องเดียวกันคือ ในตำบลบางเขน อำเภอบางเขน
กรุงเทพ ฯ กับเป็นชื่อของหนองน้ำใน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย และเป็นชื่อของเนินดินใน
ต.คำพระ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
หน้า ๗๐๐๕
๑๙๕๕. ดอนยายหอม
เป็นชื่อตำบลหนึ่ง ขึ้น อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นชื่อซากโบราณสถาน ที่ใหญ่โตแห่งหนึ่งในตำบลนี้
บางครั้งเรียกว่า เนินพระ
อยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กม. และเป็นชื่อวัดวัดหนึ่ง
ซึ่งอยู่ใกล้ดอนยายหอมนั่นเอง
ตำนานของดอนยายหอม เป็นตำนานเดียวกันกับตำนานการสร้างพระปฐมเจดีย์ ในเรื่องของพระยากง
กับพระยาพาน
ส่วนข้อสันนิษฐานทางโบราณคดีนั้นมีว่า ดอนยายหอม หรือเนินพระนั้น น่าจะเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่ง
ที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสมัยทวารวดี (พ.ศ.๑,๐๐๐ - ๑,๒๐๐) เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙
ได้มีการขุดพบเสาศิลาแปดเหลี่ยม สูงประมาณ ๔ เมตร มีลายจำหลักที่ปลายเสา คล้ายกับเสาประตูสัญจิเจดีย์ของพระเจ้าอโศก
และรูปกวางหมอบหนึ่งตัว พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีหนึ่งองค์ กับธรรมจักร ที่ชำรุด
หน้า ๗๐๑๐
๑๙๕๖. ดอยสะเก็ด
อำเภอขึ้น จ.เชียงใหม่ ภูมิประเทศตอนเหนือเป็นภูเขา และป่าไม้กระยาเลย ตอนใต้เป็นที่ราบต่ำกว่าตอนเหนือ
ทำนาได้ดี หน้า
๗๐๑๓
๑๙๕๗. ดอลลาร์
เป็นชื่อของเงินเหรียญที่ใช้กันในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ สหรัฐอเมริกา เริ่มใช้เหรียญดอลลาร์
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๗ แคนาดา ไลบีเรีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย
ใช้เหรียญดอลลาร์เหมือนกัน
หน้า ๗๐๑๕
๑๙๕๘. ดะโต๊ะ
เป็นคำภาษามลายูที่นำมาใช้ในหมู่คนไทย ที่นับถือศาสนาอิสลาม ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
และเป็นคำที่ทางราชการนำมาบัญญัติใช้ ทางฝ่ายตุลาการในสี่จังหวัดภาคใต้คือ
ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ที่เรียกว่า ดะโต๊ะยุติธรรม
คำว่า ดะโต๊ะ หมายถึง ผู้ใหญ่ ผู้มีหน้าที่ในราชการ ปู่ ตา (ผู้ควรเคารพนับถือ
ผู้เฒ่า) เช่น โต๊ะครู ผู้สอนศาสนาอิสลาม
คำว่า ดะโต๊ะยุติธรรม
เป็นคำที่ทางราชการนำมาใช้ในทางศาล หรือฝ่ายตุลาการ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ก่อนหน้านั้นใช้คำว่า
โต๊ะกาลี และโต๊ะกาซี
ดังในประกาศกฎข้อบังคับ สำหรับปกครองเจ็ดหัวเมือง พ.ศ.๒๔๔๔ ส่วนที่ว่าด้วยโรงศาลข้อ
๑๒ มีความว่า "ให้ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งปวง ในความอาญา และความแพ่ง แต่ความแพ่งซึ่งเกิดด้วยศาสนาอิสลาม
เรื่องผัวเมียก็ดี และเรื่องมรดกก็ดี ซึ่งคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นทั้งโจทก์จำเลย
หรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาและพิพากษา และให้โต๊ะกาลี ซึ่งเป็นผู้รู้และเป็นที่นับถือในศาสนาอิสลาม
เป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลามนั้น"
ในสารตรากระทรวงยุติธรรม พ.ศ.๒๔๖๐ มีข้อความว่า ถ้าบุคคลผู้ถือศาสนาอิสลามพิพาทกัน
ด้วยความแพ่งลักษณะผัวเมีย และทรัพย์มรดก ให้ตุลาการพึงพิจารณา และบังคับคดี
โดยลัทธิประเพณีอิสลาม ฯลฯ ให้ตั้งโต๊ะกาซี เป็นผู้ปรับบังคับคดีตามประเพณีนิยมนั้น
ฯลฯ ให้เรียกตุลาการนี้ว่า ดะโต๊ะยุติธรรม เทียบคำเสนายุติธรรม ในมณฑลพายัพ
ฯลฯ
ดะโต๊ะยุติธรรม สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม
ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล ซึ่งมีผลให้ศาลในสี่จังหวัดดังกล่าว
กลับไปใช้กฎหมายอิสลามในคดีแพ่ง เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก อีก
กฎหมายอิสลาม ที่ว่าด้วยครอบครัวและมรดก ซึ่งอนุมัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมใช้เป็นหลัก
พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เอามาจากคัมภีร์กีตับ ในศาสนาอิสลาม
หน้า ๗๐๑๖
๑๙๕๙. ดักแด้
เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีการเจริญเติบโต ตั้งแต่วางไข่และเปลี่ยนแปลงไปจนตัวเต็มวัยนั้น
นับว่าเป็นวิธีการที่แปลก และแตกต่างไปจากสัตว์อื่นมาก
ส่วนใหญ่ของแมลงนั้น เริ่มต้นแต่วางไข่ ซึ่งภายหลังจะกลายเป็นหนอนเรียกว่า
ตัวอ่อน ตัวอ่อนนี้ก็เจริญเติบโตจนถึงวัย ที่ชักใยห่อหุ้มตัวเปลี่ยนรูปเป็นดักแด้
เรียกว่า ตัวแก้ว เมื่อตัวแก้วเจริญก็จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัว เหมือนอย่างเต็มวัย
หน้า ๗๐๒๓
๑๙๖๐. ดั้ง - จมูก
คือ ส่วนของกระดูกที่ติดต่อกับหน้าผากตรงแสกหน้า ระหว่างหัวคิ้วทั้งสอง และหัวตาทั้งสอง
มีกระดูกเนสัล เป็นโครงร่างสำคัญ
หน้า ๗๐๒๔
๑๙๖๑. ดัดผม
คือ การเปลี่ยนสภาพเส้นผมให้เป็นไปตามที่ต้องการ มีผู้คิดเครื่องดัดผมด้วยไฟฟ้าขึ้น
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๙ มีการดัดผมถาวรด้วยน้ำยาเคมีเป็นครั้งแรก
หน้า ๗๐๒๔
๑๙๖๒. ดันดัน
เป็นชื่อเมืองเล็กแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากเมืองกัลกัตตา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ประมาณ ๑๑ กม. การขบถครั้งใหญ่ในอินเดียได้เริ่มต้น ณ เมืองนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐
แล้วแผ่ขยายไปยังเมืองอื่น ๆ
หน้า ๗๐๒๖
๑๙๖๓. ดา - แมลง
เป็นแมลงซึ่งชอบเล่นไฟ มีผู้จับไปดองน้ำปลา หรือใช้ตำน้ำพริก เพราะตัวผู้มีกลิ่นรุนแรง
หน้า ๗๐๒๔
๑๙๖๔. ด่าง - น้ำ ด่าง
คือ เบสที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะอัลกาไล ซึ่งละลายน้ำได้ดี
น้ำด่างมีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่ ผสมกับไขมันได้สบู่ เปลี่ยนสีอินติเกเตอร์
เช่น ลิสมัส จากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ทำปฎิกิริยากับกรด ได้เกลือกับน้ำ เป็นตัวนำไฟฟ้า
หน้า ๗๐๒๕
๑๙๖๕. ดาดตะกั่ว ๑ - ต้น
เป็นชื่อพันธุ์ไม้ประเภทที่ใบมีสีพื้นเป็นสีหนึ่ง แล้วมีสีฉาบหน้าอยู่สีหนึ่ง
เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยตามผิวดิน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับประเภทไม้ใบ
หน้า ๗๐๒๘
๑๙๖๖. ดาดตะกั่ว ๒
เป็นชื่อของไข้ทรพิษแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบที่ออกเป็นผืนหนา ติดกันเป็นพืด มองดูเหมือนเป็นสีดำ
นับเป็นชนิดที่รุนแรงมาก
หน้า ๗๐๒๘
๑๙๖๗. ด่าน
หมายถึง สถานที่ซึ่งไปตั้งอยู่ปากทาง สำหรับคอยกัก ตรวจตรา คอยระวังเหตุ และป้องกันช่องทางที่จะผ่านเข้ามา
ในสมัยโบราณมีหัวหน้าผู้รักษาด่านเรียกว่า ขุนด่าน
ปัจจุบันได้แยกด่านตรวจคน กับด่านตรวจของออกจากกันคือ ด่านตรวจคนเข้าเมือง
และด่านศุลกากร
ในแง่ความหมายของคำ ด่านในความหมายเดิม แปลว่า แดน เช่น ด่านช้าง ไปตรวจด่านคือ
ไปตรวจแดน หน้า
๗๐๓๐
๑๙๖๘. ด่านขุนทด
อำเภอขึ้น จ.นครราชสีมา ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกเป็นที่ลุ่ม ทางด้านตะวันตกเป็นป่าโคก
ไปถึงเขาพังเพย เดิมอำเภอนี้เรียก อ.พันชนะ
หน้า ๗๐๓๓
๑๙๖๙. ด่านซ้าย
อำเภอขึ้น จ.เลย ภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้าง เป็นป่าดงและเขาบ้าง มีพื้นที่ราบตามช่องเขา
ยืดยาวอยู่สองแห่ง เรียกว่า ร่องทึง และร่องหมัน
อ.ด่านซ้าย เดิมเป็นเมืองแล้วลดเป็นอำเภอ แต่มีฐานะคล้ายจังหวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖
ดินแดนที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ตกไปเป็นของฝรั่งเศส ต้องย้ายที่ว่าการไปตั้งที่บ้านนาขามป้อม
และลดลงเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้น อ.หล่มสัก เมื่อฝรั่งเศสคืนดินแดนแล้ว จึงกลับตั้งเป็นอำเภอ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ อำเภอนี้มีโบราณสถานอยู่แห่งหนึ่งคือ พระธาตุศรีสองรัก
สร้างในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ สมัยอยุธยา
หน้า ๗๐๓๓
๑๙๗๐. ดาบลาว ท้องพล ฝักพร้า - ปลา
จัดอยู่ในวงศ์ย่อยที่มีท้องเป็นสัน ไม่มีหนวด ตัวยาว เกร็ดละเอียด ปลานี้อยู่ที่ชวา
สุมาตรา บอร์เนียวและอินโดจีน อย่างเดียวกับเมืองไทย อาศัยอยู่ตามแม่น้ำใหญ่
เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดของวงศ์ ย่อยนี้ ยาวกว่าครึ่งเมตร
หน้า ๗๐๓๕
๑๙๗๑. ดาบส
โดยรูปคำแปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะคือ การเผากิเลส เป็นเนมิตกนามของพวกฤาษี
นักบวชพวกฤาษี มีการถือเพศโดยขมวดผมมวยเป็นกลุ่มสูง เรียกว่า ชฎา และไว้หนวดเครายาวรุงรัง
มีการบำเพ็ญเพียรคือ ตบะ โดยทรมานกาย ใช้จิตเพ่งวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่
เรียกว่า กรรมฐาน เพื่อให้จิตแน่วแน่เป็นสมาธิ จนสามารถบรรลุฌานสมาบัติ และอภิญญาหกประการ
หน้า ๗๐๓๖
๑๙๗๒. ดามพนรก
เป็นชื่อยมโลกนรกขุมที่สี่ ในยมโลกนรกสิบขุม ที่เรียกชื่อนี้ด้วยมีหม้อเหล็กต้มน้ำทองเแดง
อยู่มากมายกับมีก้อนกรวดก้อนหินอยู่ด้วย สัตว์นรกใดตกมาอยู่ในขุมนี้ จะถูกให้นอนหงายบนแผ่นเหล็ก
อันโชติช่วงด้วยเปลวไฟ แล้วเอาน้ำทองเแดงพร้อมทั้งก้อนกรวด ก้อนหินที่ร้อนจัดนั้นกรอกปาก
หน้า ๗๐๔๓
๑๙๗๓. ดายัก
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคนพื้นเมืองดั้งเดิม ของเกาะบอร์เนียว แบ่งออกเป็นดายักบก
และดายักน้ำ
หน้า
๗๐๔๔
๑๙๗๔. ดารา
เป็นชื่อที่ผู้นับถือพุทธสาสนาฝ่ายมหายานส่วนใหญ่ หมายถึง ศักติ หรือเทวี
หรือชายา คู่พระบารมีของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในจีนเรียกว่า โตโล (ตาลา)
บ้าง กวนอิม บ้าง กวนซีอิม บ้าง กวนอิมเนี้ย บ้าง
๑๙๗๕. ดารารัศมี - เจ้า
ทรงเป็นพระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเป็นพระธิดา ของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์
พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่เจ็ด ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ ได้โดยเสด็จพระชนกลงมากรุงเทพ
ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙ และทรงอยู่รับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมมาแต่บัดนั้น ได้รับโปรดเกล้า
ฯ ให้สถาปนาเป็นพระราชชายา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ และเสด็จกลับเชียงใหม่ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๕๗ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖
หน้า ๗๐๔๙
๑๙๗๖. ดาราศาสตร์
เป็นวิชาวิทยาศาสตร์สาขาที่กล่าวถึง สภาวะในธรรมชาติซึ่งปรากฎต่ออายตนะ และอุปกรณ์ของมนุษย์
นับตั้งแต่ในบรรยากาศชั้นสูง เหนือโลก จนถึงไกลออกไปสุดเท่าที่จะกระทำสังเกตุการณ์ได้
สิ่งที่ศึกษากันในดาราศาสตร์ มีเป็นต้นว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร ดาวเคราะห์
ดาวฤกษ์ กลุ่มดาวกาแลคซีเอกภพ ฯลฯ มีการพิจารณาถึงสภาพวิวัฒนาการกำเนิดดั้งเดิม
และอนาคตของสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว กับทั้งกฎเกณฑ์ของการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้
การสังเกตุการณ์ในทางดาราศาสตร์จากโลก กระทำโดยการตรวจสอบวิเคราะห์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง
ๆ ซึ่งวัตถุในเอกภพแผ่รังสีออกจากตัว และเดินทางมาถึงอุปกรณ์ที่อยู่บนโลก
หน้า ๗๐๕๕
๑๙๗๗. ดาไล ลามะ คำ
ดาไล เป็นภาษามองโกล แปลว่า กว้างใหญ่ มหาสมุทร คำ ลามะ เป็นภาษาทิเบต แปลว่า
ทรงศักดิ์ ยิ่งใหญ่ เป็นชื่อของนักบวชในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อันเนื่องด้วยลัทธิพุทธตันตระ
(ดู พุทธตันตระ - ลำดับที่ ๒๒๐๕, ๒๒๐๖) คำว่า ดาไล ลามะ เป็นคำเรียกนามนักพรต
ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่ในประเทศทิเบต
องค์ดาไล ลามะ ทรงมีฐานะทางศาสนาเท่ากับสกลมหาสังฆปรินายก และฐานะทางอาณาจักรเท่ากับ
พระราชา จึงทรงดำรงศักดิ์เป็นทั้งพระสังฆราช
และพระราชา
ความเป็นไปทางศาสนา มีพระเถระชาวอินเดียรูปหนึ่งชื่อ คุรุปัทมสมภพ
เป็นอาจารย์ ฝ่ายนิกายพุทธตันตระโยคาจาร อยู่ในมหาวิทยาลัยนาลันทา เดินทางเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนา
ณ ประเทศทิเบต ตามคำอาราธนาของพระเจ้าแผ่นดินทิเบต เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๙๐
ได้นำหลักคำสอนเกี่ยวกับสาธยายเวทมนต์ ไล่ภูตผีปีศาจ การบำเพ็ญญาณ ใช้อำนาจลึกลับทางจิตแสดงอิทธิอำนาจ
นอกระบบพุทธศาสนาดั้งเดิม เข้าผสมกับลัทธิชามาน หรือลัทธิบอนปะ คือ การนับถือภูตผีปีศาจ
อันเป็นลัทธิพื้นเมือง กลายเป็นลัทธิลามะ ขึ้นในครั้งนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๗๔๙ เจงกิสข่าน
มหาราช ชาวมองโกล มีอำนาจในแผ่นดินจีน และทิเบต เลื่อมใสในลัทธิลามะ และค้ำชูนักบวชในนิกายนี้
ลัทธิลามะมาความเจริญเฟื่องฟูมากขึ้นในสมัยกุบไลข่าน (พ.ศ.๑๘๐๓ - ๑๘๓๗)
ได้ทรงเลือกเอาพุทธศาสนานิกายลามะ ยกขึ้นเป็นสรณะ ยกย่องลามะไว้ในตำแหน่งอาจารย์ทางศาสนา
และมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ทำพิธีราชาภิเษก ให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน (มองโกลต่อมา)
นิกายลามะ ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสมัยนั้นคือ นิกายเกลุกปะ
แปลว่า ธรรมนิกาย
ได้แก้ไขลัทธิเดิมคือ นิกายกาดัมปะ
แปลว่า วินัยนิกาย
เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๐ เศษ นิกายนี้รวมอำนาจการปกครอง และการปฎิบัติธรรมไว้ได้ทั่วประเทศ
เดิมชาวทิเบต เรียกประมุขลามะของตนว่า กยัลวา
รินโปเจ สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จนถึงปี
พ.ศ.๒๑๙๓ นักวันโลสัง ลามะ ประมุขลามะนิกายเกลุกปะ ได้รับพระราชทานฐานะและศักดิ์
จากพระเจ้ากรุงจีนว่า ดาไล ลามะ
มีพระราชวังโปตาละ เป็นที่ประทับ ณ กรุงลาซา
เมืองหลวงของทิเบต ดาไล ลามะ ได้รวบรัดเอาวัดวาอารามของนิกายอื่น เข้ามาไว้ในครอบครอง
แล้วประกาศคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ และลึกลับขึ้นใหม่ว่า ดาไล ลามะ เป็นอวตารจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
หรือกวนอิม
ดาไล ลามะ ได้มอบให้ลามะชั้นผู้ใหญ่ ในเมืองทาษิ มณชิกัตเส ดำรงตำแหน่ง ปันเชน
ลามะ มีอำนาจอยู่ในมณฑลอื่น เป็นที่สองรองลงมา
ต่อมา ปันเชนลามะ ได้ยกตนเองเป็นอวตารของพระอมิตาภะโพธิสัตว์ อันเป็นพระโพธิสัตว์สำคัญ
อีกองค์หนึ่งของลัทธิมหายาน
หน้า ๗๐๕๗
๑๙๗๘. ดาว
เราเรียกจุดสว่าง ที่ปรากฎบนท้องฟ้าเวลากลางคืนว่า ดาว ดาวมีอยู่หลายชนิด
จำแนกตามลักษณะที่ปรากฎและธรรมชาติที่แท้จริงของมันคือ ดาวฤกษ์
เป็นกลุ่มกาซร้อนจัดมีความร้อน และแสงสว่างในตัวเอง เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์
หากแต่ว่าดวงที่อยู่ไกลออกไป จนปรากฎเป็นจุด ดาวเคราะห์
เป็นก้อนวัตถุทรงกลมที่มีคุณภาพต่ำ
พื้นผิวเป็นของแข็ง อาจมีบรรยากาศห่อหุ้ม ถ้าขนาดและมวลใหญ่พอที่จะดึงดูดโมเลกุล
ของกาซไว้ได้ ดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โลกของเราก็เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
ในจำนวนเก้าดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
โดยสาเหตุที่ดาวฤกษ์ต่าง ๆ เหมือนดวงอาทิตย์ จึงอาจมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร
เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ อยู่อีกเป็นจำนวนมาก แต่มนุษย์ยังไม่มีอุปกรณ์ ซึ่งสามารถตรวจพบดาวเคราะห์
ของบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหลายได้
ดาวตกหรือผีพุ่งใต้
ปรากฎบนท้องฟ้าเป็นแนวสว่างวาบชั่วขณะ คล้ายกับว่าดาวที่อยู่บนท้องฟ้านั้น
ล่วงลงสู่พื้นดิน แท้จริงสิ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ เป็นก้อนวัตถุขนาดต่าง
ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ เมื่อถูกโลกดึงดูดก็เคลื่อนที่ พุ่งเข้าหาโลก เมื่อผ่านเข้ามาในบรรยากาศ
เกิดการเสียดสีกับโมเลกุลของกาซจนร้อนจัด ระเบิดกลายเป็นไอสว่างจ้า ถ้ามีขนาดใหญ่อาจเหลือชิ้นส่วนตกถึงพื้นดินเรียกว่า
อุกาบาต
หน้า ๗๐๖๔
๑๙๗๙. ดาวกระจาย
เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ดอกเล็กสีม่วงอ่อน และดอกใหญ่ สีเหลืองส้ม เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกประดับกันมาก
หน้า ๗๐๖๕
๑๗๘๐. ดาวดึงษาราม - วัด
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ ต.บางยี่ขัน อ.บางกอกน้อย จ.กรุงเทพ
ฯ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า
วัดขรัวอิน
หน้า ๗๐๖๕
๑๙๘๑. ดาวดึงส์
เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่สองของสวรรค์หกชั้น เป็นสวรรค์ที่พระอินทร์ครอง (ดู
ฉกามาพจร - ลำดับที่ ๑๕๔๐ ประกอบด้วย) สวรรค์ชั้นนี้เดิมเป็นที่อยู่ของพวกอสูร
มีท้าวเวปจิตติเป็นผู้ครอง
ต่อมาท้าวสักเทวราช คือพระอินทร์
กับเทพสหจร รวมสามสิบสามองค์ ไปเกิด ณ ที่นั้น จึงเป็นสถานที่รุ่งเรือง เรียกตามจำนวนพระอินทร
ผู้ครองและทวยเทพ รวมทั้งสามสิบสามองค์ นั้นว่า ดาวดึงส์ ตรัยตรึงษ์ หรือไตรตรึงษ์
ไตรทศ มีเวชยันต์ตปราสาท มีสุธรรมาเทวสถาน
ที่ประชุมเทวดา มีสวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัลย์ และมีสระสุนันทาโบกขรณี เกิดด้วยบุญญานุภาพของท้าวสักเทวราช
และพระมเหสีสามองค์คือ พระนางสุธรรมา พระนางสุจิตรา พระนางสุนันทา ส่วนพระนางสุชาดาในชั้นแรกว่า
ไม่ได้ทำกุศลไว้ จึงไม่มีทิพยสมบัติเช่นเทพธิดาอื่น
นอกจากนี้สวรรค์ชั้นนี้ยังมี พระจุฬามณีเจดีย์
ที่บรรจุพระเมาฬี พระเวฐนพัสตร์ และพุทธทักษิณฑาฒธาตุของพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่
ดาวดึงส์ เป็นที่ตั้งเมืองสวรรค์ชื่อ เทพนคร
มีกำแพงล้อมมีเชิงเทินและหอรบพร้อม มีช้างเอราวัณสามเศียร เป็นพระคชาธาร เป็นช้างที่เอราวัณเทพบุตร
จำแลงขึ้น มีเวชยันต์ราชรถ มีพระมาตุลีเทพบุตร เป็นสารถี มีต้นปาริฉัตตกะ
เป็นต้นไม้ประจำพิภพ มีพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลา
หน้า ๗๐๗๐
๑๙๘๒. ดาวเรือง ๑
เป็นพรรณไม้ล้มลุกของอเมริกา ซึ่งมีคนไปปลูกแพร่หลายทั่วโลก ดอกออกตามปลายกิ่งสีเหลือง
สีส้มหรือส้มอมแดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
หน้า ๗๐๗๕
๑๙๘๓. ดาวเรือง ๒
เป็นพระนามเดิมของพระมหาชนนี พระอัครชายาในสมเด็จพระบรมมหาาชนก ผู้เป็นต้นพระบรมราชจักรีวงศ์
หน้า ๗๐๗๕
๑๙๘๔. ดาวเรือง ๓
เป็นชื่อตัวเอกในเรื่องดาวเรือง บทกวีนิพนธ์ ที่จัดอยู่ในประเภทกลอนสด ไม่มีชื่อผู้แต่ง
และวันเดือนปีที่แต่ง เป็นหนังสือตัวเขียนที่เขียนไว้ในสมุดไทยสามเล่มจบ ตอนต้นเรื่องเป็นคำไหว้ครูบาอาจารย์
บิดามารดา แล้วกล่าวถึงต้นเรื่องเดิมว่า เป็นนิทานชาดก แสดงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
สมัยเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นบุตรเศรษฐี ในเมืองพาราณสี แล้วดำเนินเรื่อง
ลักษณะของการแต่งเรื่องได้แต่งเป็นสุรางคนาง ฉบัง ยานี พิลาป สลับกันไปตลอดทั้งเรื่อง
และตอนใดที่เห็นเป็นคติธรรม ก็แทรกข้อความลงไปเป็นตอน ๆ ตอนจบของเรื่องยังมีข้อธรรมะ
และคติธรรมของไทยสมัยก่อน ๆ สรุปหลักอันเป็นแก่นสารของเรื่อง เพื่อสอนผู้อ่านอีกมาก
หน้า ๗๐๗๙
๑๙๘๕. ดาวหาง
เป็นดาวที่มีลักษณะแตกต่างจากดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ กับทั้งการปรากฎ และการเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้า
ก็แตกต่างไปด้วย
นับตั้งแต่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์เป็นต้นมา มีผู้เห็นและสังเกตการณ์ดาวหางประมาณ
๑,๖๐๐ ดวง องค์ประกอบที่สำคัญของดาวหางคือ
ก. จุดใจกลางของหัว มักเป็นจุดสว่างคล้ายดาว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
๕ - ๑๐ กม. มวลหรือเนื้อสารส่วนใหญ่ของดาวหาง รวมกันอยู่ในจุดใจกลางนี้ ซึ่งปรากฎแสงสว่าง
เพราะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์
ข. กลุ่มกาซสว่างหุ้มใจกลาง เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ กาซและไอน้ำจากส่วนหัว
จะระเหยออกห่อหุ้มกลุ่มใจกลางนั้นไว้ ปรากฎเป็นกลุ่มกาซสว่าง มีขนาดประมาณ
๒,๐๐๐ กม.
ค. ส่วนหัว กาซและไอห่อหุ้มใจกลางขยายตัวแผ่ออกมาในอวกาศ มีการปะทะกับธารอนุภาคที่หลั่งไหล
ไม่ขาดสายจากดวงอาทิตย์โดยรอบด้าน การกระจายตัวของกาซและไอนี้ จึงมีรูปลักษณะขึ้นอยู่กับสภาพของอวกาศ
ในบริเวณที่ดาวหางกำลังโคจรอยู่ หัวของดาวหางอาจปรากฎเป็นดวงฝ้า ไม่มีโครงสร้างรายละเอียด
หัวดาวหางแผ่กระจายออกกินที่กว้างในอวกาศใหญ่ถึงเรือนหมื่น และแสนกิโลเมตร
ขนาดของหัวดาวหางเปลี่ยนแปรไปตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ เมื่ออยู่ห่างหัวจะเล็ก
และจะค่อยโตขึ้นจนมีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กม. เมื่ออยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากับระยะจากโลก
ถึงดวงอาทิตย์เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์กว่านั้น หัวจะกลับเล็กลง
ง. ส่วนหาง หางของดาวหางปรากฎเบนชี้ออกจากทิศทางของดวงอาทิตย์เสมอ ไม่ว่าขณะที่ดาวหางโคจรเข้าหา
หรือออกจากดวงอาทิตย์
ในกรณีสามัญหางดาวหาง อาจยาวได้ถึง ๑๐.๐๐๐.๐๐๐ กม. ในกรณีดาวหางใหญ่ หางของดาวหางยาวถึง
๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ กม. มีความกว้างเฉลี่ย ๑,๐๐๐,๐๐๐ กม. มึความหนาแน่น
๑๐ - ๑๐๐ โมเลกุล ต่อ ลบ.ซม. นับว่าเจือจางมาก
หน้า ๗๐๘๖
๑๙๘๖. ดาหลัง ๑
คือ คนที่ทำหน้าที่พากย์หนัง หรือพากย์ละคร หรือพากย์หุ่นชวา ในการพากย์นั้นดาหลังคิดแต่ง
คำพากย์ขึ้นเองเป็นร้อยกรอง และพากย์บรรยายเรื่องด้วยทำนองอันไพเราะ ในการแสดงหนัง
บางครั้งดาหลังจะเป็นผู้ตั้งเชิดตัวหนัง ตามลำดับที่จัดเตรียมไว้แล้วพากย์ไปด้วย
ชาวชวาถือว่าดาหลัง สำคัญยิ่งกว่าตัวหนังและเครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการพากย์
หน้า ๗๐๘๙
๑๙๘๗. ดาหลัง ๒
เป็นชื่อวรรณคดี บทละครเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อกันว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล ทรงนิพนธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในสมัยอยุธยา ดำเนินเรื่องตามเค้าโครงนิทานปันหยีชื่อ
นางข้าหลวง ชาวมลายู เล่าถวายเป็นบทละครใน ที่คู่กับอิเหนา ซึ่งเป็นบทละคร
แต่พระนิพนธ์ดังกล่าวมิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ที่ปรากฎอยู่เป็นหลักฐานคือ ดาหลังบทละครพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
ฯ พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้กวีในราชสำนักช่วยกันแต่งบทละครเรื่องนี้ขึ้น
โดยชำระรวบรวมบทเดิม ครั้งกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้บริบูรณ์
หน้า ๗๐๘๙
๑๙๘๘. ดาหา ๑
เป็นชื่อนครสำคัญของอาณาจักรชาวตะวันออก หรือชวาโบราณสมัยอยู่ใต้อิทธิพลฮินดู
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กะดีรี มีเรื่องปรากฎในพงศาวดารว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่
๑๖ พระเจ้าไอรลังคะ ผู้ครองชวาตะวันออก เวนราชสมบัติให้โอรสสององค์
โดยแบ่งอาณาจักรออกเป็นสองภาค ให้โอรสครององค์ละภาค ภาคหนึ่งคือ ดาหา อยู่ทางตะวันตกของเขากาวี
อีกภาคหนึ่งคือ กุเรปัน หรือจังคาล อยู่ทางตะวันออกของเขากาวี ดินแดนทั้งสองภาคนี้
กลับรวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันอีกครั้ง ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗
ดาหาเจริญรุ่งเรืองที่สุด ในรัชสมัยพระเจ้าชยาภัย (พ.ศ.๑๖๗๘ - ๑๗๐๐)
ซึ่งโปรดให้กวีแต่งพงศาวดารชวาชื่อ ภารตยุทธ ขึ้น ความรุ่งเรืองของดาหาสิ้นสุดลง
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘
หน้า ๗๐๙๑
๑๙๘๙. ดาหา ๒
เป็นชื่อนครของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวา ในนิทานปันหยี ซึ่งเป็นนิทานอิงประวัติศาสตร์ชวาโบราณ
สืบเนื่องมาจากความชื่นชมยกย่องพระเจ้ากาเมศวร
หน้า ๗๐๙๒
๑๙๙๐. ดาหา ๓
เป็นชื่อนครของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวา ในบทละครเรื่องดาหลัง และอิเหนาของไทย
หน้า ๗๐๙๒
๑๙๙๑. ดำ ๑ - ทะเล
เป็นทะลภายในอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียน้อย ชายฝั่งด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นดินแดนของประเทศรุสเซีย ชายฝั่งด้านใต้เป็นประเทศตุรกี ด้านตะวันตกคือ
ประเทศบัลเกเรีย และรูเมเนีย ทะเลดำมีพื้นที่ประมาณ ๔๔๐,๓๓๐ ตารางกิโลเมตร
ความลึกเฉลี่ย ๑,๑๘๐ เมตร ตอนลึกที่สุดลึก ๒,๒๐๕ เมตร
ทะเลดำ ติดต่อกับทะเลอาซอฟ ซึ่งอยู่ทางเหนือผ่านทางช่องแคบเดิช ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับทะเลมาร์มะรา โดยผ่านช่องแคบบอสฟอรัส และจากทะเลมาร์มะรา มีช่องแคบดาร์ดะแนลส์ เป็นทางผ่านไปติดต่อกับทะเลเมดิเตอเรเนียน
มีแม่น้ำหลายสายไหลลงทะเลดำ ได้แก่ แม่น้ำดานูบ ดนิสเตอร์ บัก ดนีเปอร์ คูบัน
ไหลมาจากทวีปยุโรป ทางด้านตุรกีในเอเชียมีแม่น้ำคิซิล และสคาร์ยา ในทะเลดำไม่มีเกาะ
แต่มีคาบสมุทรไครเมีย อยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือ
หน้า ๗๐๙๓
๑๙๙๒. ดำ ๒ - แม่น้ำ
อยู่ในเวียดนามเหนือ มีชื่อในภาษาเวียดนามว่า ซองโย ยอดน้ำอยู่ห่างจากทะเลสาบเออร์ไฮมา
ทางใต้ประมาณ ๘๐ กม. อยู่ตอนกลางของมณฑลยูนนาน ทางภาคใต้ของประเทศจีน แม่น้ำดำไหลขนานมากับแม่น้ำแดง
ประมาณ ๘๐๐ กม. แล้วบรรจบกับแม่น้ำแดง ใกล้เมืองเวียดตรี
หน้า ๗๐๙๕
๑๙๙๓. ดำ ๓ - แมลง
แมลงนี้เมื่อโตเต็มที่แล้วดูคล้ายแมลงสีดำตัวเล็ก ซึ่งมีหลังแบนและตอนนหัวต่ำลงทำให้เป็นเหมือนเรือคว่ำ
แมลงนี้จะใช้งวงเจาะเข้าไป ในลำต้นข้าวใกล้รากมากที่สุดแล้วดูดกินน้ำจากลำต้นข้าวนั้น
ทำให้ต้นข้าวตายได้ ต้นไม้อื่นที่เป็นอาหารของแมลงดำนี้ได้แก่ หญ้าและกก
หน้า ๗๐๙๕
๑๙๙๔. ดำ ๔ - มด
เรามักเรียกมดที่มีลำตัวสีดำตลอดว่ามดดำ โดยไม่จำกัดชนิด มดดำในคำไทยจึงมีอยู่มากมายหลายชนิด
หน้า ๗๐๙๖
๑๙๙๕. ดำดง - ต้น
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕ - ๒๐ เมตร ลำต้นตรง ดอกสีขาวแกมเขียว
ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกสั้น ๆ ตามง่ามใบ ผลกลมคล้าย ๆ ผลตะโกหรือผลมะพลับ
มีรสฝาด
หน้า ๗๐๙๘
๑๙๙๖. ดำแดง - ไข้
เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อบักเตรี เชื้อนี้มีอยู่หลายชนิด แต่จะทำให้เกิดโรคนี้ได้ก็เฉพาะชนิดที่สร้างทอกซินหรือพิษเท่านั้น
โรคนี้ จะพบบ่อยในประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นและพบน้อยในเขตร้อน เป็นโรคติดต่อ
รักษาให้หายขาดได้โดยใช้ยาจำพวกปฏิชีวนะ ในระหว่างมีการระบาดของโรคนี้นิยมฉีดเซรุ่มแอนติทอกซินให้แก่ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคอื่นประจำตัวอยู่
หน้า ๗๐๙๘
๑๙๙๗. ดำเนินสะดวก ๑
อำเภอขึ้น จ.ราชบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม
อำเภอนี้เดิมชื่อ อ.คลองแพงพวย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ แล้วย้ายไปตั้งที่
ต.หลักหก จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๔ จึงย้ายไปตั้งที่ ต.ท่านัด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕
ได้ย้ายมาตั้งที่ ต.ดำเนินสะดวก เรียกว่า อ.ดำเนินสะดวก
หน้า ๗๑๐๑
๑๙๙๘. ดำเนินสะดวก ๒
เป็นชื่อคลองใน อ.ดำเนินสะดวก ยาว ๓๕ กม. ขุดใน รัชกาลที่สี่ เชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง
หน้า ๗๑๐๓
๑๙๙๙. ดำรงราชานุภาพ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยา ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
ฯ ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๔ พระนามเดิมพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาหนังสือไทย
ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาทหาร วิชารัฐประศาสนศาตร์ โบราณคดี
เมื่อโสกันต์แล้ว ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารหนึ่งพรรษา
และทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ จำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติหนึ่งพรรษา
เมื่อลาผนวชจากสามเณรแล้วได้เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นนักเรียนนายร้อย เป็นนายร้อยตรี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๙ ได้ดำรงตำแหน่งทางทหาร และเลื่อนยศขึ้นตามลำดับ พ.ศ.๒๔๒๓
เป็นนายพันตรี ทรงว่าการกรมกองแก้วจินดา (ปืนใหญ่) พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นพนักงานใหญ่
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายพลตรี พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นผู้กำกับการกรมธรรมการ
พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลาถึง
๓๑ ปี พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นอภิรัฐมนตรี และพ.ศ.๒๔๖๙
เป็นองคมนตรี กับนายกราชบัณฑิตยสภา
พระอิสริยยศ ทรงเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ เลื่อนเป็นกรมหลวง
(พ.ศ.๒๔๔๒) เป็นกรมพระ (พ.ศ.๒๔๕๔) เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา (พ.ศ.๒๔๗๒)
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ แล้วประมาณ ๑ ปี พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่ปินังเป็นเวลาเกือบ
๑๐ ปี จึงเสด็จกลับประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ พระชันษา ๘๑
ปี
พระองค์ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่รัฐบาล และประชาชนคนไทย กับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมสหประชาชาติ (ยูเนสโค) ได้ร่วมจัดงานเฉลิมพระเกียรติขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕
หน้า ๗๑๐๓
๒๐๐๐. ดำหัว
เป็นประเพณีทางเหนือ ซึ่งกระทำในวันปีใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือและรักใคร่
เป็นการนำเอาสิ่งของและน้ำที่ใส่เครื่องหอมเช่น น้ำอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ
และขอให้ท่านรดน้ำใส่หัวของตน เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ผู้ใหญ่จะให้ศีลให้พร
นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องแสดงว่าผู้น้อยขอขมาลาโทษผู้ใหญ่ ก็แสดงอาการยกโทษให้
หน้า ๗๑๑๒
๒๐๐๑. ดิถี
มีคำนิยามว่า "วันตามจันทรคติ ใช้คำว่าค่ำหนึ่ง สองค่ำ ใช้ว่าคฤถีก็มี" วันของจันทรคติทิน
หมายถึง ระยะเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์โคจรทางทิศตะวันตก ไปสู่ทิศตะวันออก โดยวัดจากจุดใดจุหนึ่งหรือในขณะใดขณะหนึ่งเป็นหลัก
บรรจบรอบและเมื่อบรรจบรอบนี้ต่างกัน ระยะเวลาของเดือนหนึ่ง ๆ จึงต่างกันคือ
จากอามาวสีถึงอามาวสี (วันดับถึงวันดับ) ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
เดือนชนิดนี้ กำหนดให้มี ๓๐ ดิถี ทุกเดือนไป แต่ใน ๓๐ ดิถี เมื่อนำไปเทียบกับเดือนทางสุริยคติทิน
ต้องกำหนดให้เดือนที่มี ๒๙ วัน เดือนคู่มี ๓๐ วัน เว้นแต่ปีใดมีอธิกวาร จึงกำหนดให้เดือนเจ็ดมี
๓๐ วัน (เฉพาะปีนั้น) เป็นการเพิ่มวันในปีของดวงจันทร์ที่หย่อนอยู่ ๑๑ วันใน
๑ ปี เพื่อผ่อนผันให้เข้ากับทางโคจรของสุริยยาตร และอนุโลมให้เข้ากับแบบแผนทางพุทธศาสนา
เกี่ยวกับเข้าพรรษาด้วย
ประเทศไทยได้นิยมใช้เดือนจันทรคติทิน หรือจันทรคติกาล มาแต่ปางบรรพ์ ถือเป็นประเพณีนิยมและเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรมตามหลักศาสนา
ปีของจันทรคติ กำหนดให้มี ๑๒ เดือน เท่ากับ ๓๖๐ ดิถี แต่ปีตามดวงจันทร์ที่โคจรในปีปรกติมาสวารมี
๓๕๔ วัน ปีปรกติมาสอธิกวารมี ๓๕๕ วัน ปีอธิกมาศมี ๓๘๔ วัน
การเติมอธิกวาร เพิ่มอธิกมาส ลงในเดือนจันทรคติเป็นการกระทำเพื่อรักษาฤดูกาล
วันขึ้นแรมให้คงที่ไว้ใกล้เคียงกับเดือนสุริยคติ
เดือนของจันทรคติทินนั้น กำหนดให้มีสองปักษ์ ปักษ์ละ ๑๕ วัน (บางปักษ์อาจมี
๑๔ วัน ถ้าเป็นเดือนคี่) ปักษ์หนึ่งเรียก ชุณหปักษ์
คือปักษ์ข้างขึ้น ปักษ์ที่สองเรียกกาฬปักษ์คือ
ปักษ์ข้างแรม
หน้า ๗๑๑๔
๒๐๐๒. ดิน ๑
เป็นวัตถุที่ถมปกคลุมเป็นชั้นบาง ๆ อยู่บนส่วนใหญ่ของพื้นผิวโลก ประกอบด้วย อนินทรีย์วัตถุและอินทรีย์วัตถุต่าง
ๆ ปะปนกัน ในสภาพของแข็ง ของเหลว และกาซ ผสมผสานกัน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช
ดินแบ่งออกได้เป็นสองประเภทกว้าง ๆ คือ อินอนินทรีย์ และดินอินทรีย์ ดินทั่ว
ๆ ไปมักจะเป็นดินอนินทรีย์ หรือดินแร่ธาตุ ดินที่มีอินทรีย์สารมาผสมด้วยมากกว่าร้อยละ
๒๐ โดยน้ำหนักจึงเรียกว่า ดินอินทรีย์
เนื้อดินเป็นลักษณะของดินซึ่งกำหนดจากขนาดของวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นเนื้อดินได้แก่ ทราย
ทรายแป้ง และดินเหนียว แยกออกได้เป็นสามชนิดคือ
ดินทราย
ได้แก่ ดินที่มีปริมาณทรายตั้งแต่ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป โดยน้ำหนักจะร่วนซุยอยู่เสมอไม่ว่าเปียกหรือแห้ง
จัดเป็นดินเนื้อหยาบหรือเนื้อเบา
ดินเหนียว
เป็นดินที่มีปริมาณดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ ๔๐ ขึ้นไป โดยน้ำหนัก เป็นดินเนื้อละเอียดหรือเนื้อหนัก
เมื่อเปียกและเหนียว เมื่อแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็ง
ดินร่วน
ได้แก่ ดินที่ประกอบด้วยทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินเหนียวและทรายไม่มากนัก
หน้า ๗๑๒๓
๒๐๐๓. ดิน ๒
เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างกลม ๆ ยาว ๆ เหมมือนงู ชอบอาศัยอยู่ตามรูในดิน
จึงพากันเรียกว่า งูดิน
มีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือ ชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกเรียกเป็นชื่อสามัญว่างูดิน
อีกชนิดหนึ่งพบที่ตอนใต้ของประเทศไทย พบที่ปัตตานีและบางนารา
หน้า ๗๑๓๐
๒๐๐๔. ดิพทีเรีย หรือโรคคอตีบ
เป็นโรคติดต่ออันตรายต่อเด็ก ต้นเหตุของโรคคือ บัคเตรี มีรูปร่าง เป็นท่อนกลมยาว
ปลายข้างหนึ่งโตดูคล้ายกระบอง และจัดเรียงตัวกันระเกะระกะ ดูคล้ายตัวอักษรจีน
เหตุตายเพราะโรคนี้ที่สำคัญคือหัวใจวาย เพราะพิษนี่เอง เพราะเชื้อโรคนี้สามารถสร้างทอกซินหรือพิษซึมเข้าไปในกระแสโลหิต
อวัยวะที่เกิดอันตรายเมื่อถูกพิษคือ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ของตับ ไต ต่อมหมวกไต
และเส้นประสาท
การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารก โดยการฉีดวัคซีน จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อเด็กทุกคน
หน้า ๗๑๓๑
๒๐๐๕. ดิศราชา - พระเจ้า
เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงหงสาวดี
องค์ที่ ๑๗ และเป็นองค์สุดท้ายในตำนานกรุงหงสาวดี ตอนที่ ๑ (พ.ศ.๑๑๖ - ๑๖๐๐)
กษัตริย์ ๑๖ องค์ ของหงสาวดีล้วนแต่ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
แต่พระเจ้าดิศราชาไม่ได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แต่ไปเลื่อมใสในลัทธิเดียรดีย์
นับถือเทพารักษ์ จนถึงกับให้เก็บพระพุทธรูปในพระอุโบสถ และพระอารามไปทิ้งแม่น้ำจนหมด
ในครั้งนั้นได้มีธิดาเศรษฐีแห่งเมืองหงสาวดีคนหนึ่งชื่อ ภัทรา
เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ครั้งนั้นพบพระพุทธรูปทองคำจมน้ำในแม่น้ำองค์หนึ่ง
จึงสั่งให้พวกทาสีช่วยกันงมต่อไป ก็พบพระพุทธรูปอีกหลายหนึ่ง จึงนำเอาไปประดิษฐานบนศาลาเพื่อบูชา
พระเจ้าดิศราชาทรงทราบก็พิโรธ โปรดให้ราชบุรุษเอาตัวมาซักถาม ได้ความจริง
จึงโปรดให้ประหารชีวิต ครั้งแรกใช้ให้ช้างตกมันวิ่งเข้าแทง แต่นางไม่เป็นอันตราย
จึงให้ขุดหลุมฝังนางไว้ครึ่งตัว แล้วเอาฟางสุมข้างบนใช้ไฟเผานาง ก็ไม่เป็นอันตรายอีก
จึงรับสั่งให้นางสั่งให้พระพุทธรูปลอยขึ้นไปในอากาศ พระพุทธรูปก็ลอยขึ้นจากศาลามาปรากฎเฉพาะพระพักตร์
พระเจ้าดิศราชาเห็นความอัศจรรย์เกิดพระราชศรัทธา โปรดให้สถาปนานางภัทรา เป็นพระมเหสี
แล้วโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปที่หักพังทั้งหมด มากองไว้ด้วยกันแล้วสร้างพระเจดีย์
สวมองค์พระเหล่านั้นอัญเชิญพระเกศธาตุ มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ด้วย เพื่อทรงสักการบูชา
เจดีย์องค์นี้ไทยเรียกว่า พระเจดีย์ร้อยอ้อม
มอญเรียกว่า กะยัดกลอมปอม ยังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้
หน้า ๗๑๓๓
๒๐๐๖. ดี
มีคำนิยามว่า "เครื่องในคนและสัตว์ เป็นถุงบรรจุน้ำข้นสีเขียว มีรสขม ออกมาจากตับ
สำหรับช่วยย่อยอาหาร" ปริมาณของน้ำดี ที่ขับลงมาในลำไส้คนมีประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐
มิลลิลิตรต่อวัน ปริมาณน้ำดีจะเพิ่มขึ้นหลังกินอาหารได้ ๒ - ๓ ชั่วโมง น้ำดีประกอบด้วยสารหลายอย่าง
ธรรมดาตับ จะขับน้ำดีออกมาตลอดเวลา แต่น้ำดีจะใช้ประโยชน์ต่อเมื่อมีการย่อยเท่านั้น
ฉะนั้น น้ำดีที่ถูกขับออกจากตับ จึงต้องมีที่พักไว้ก่อน และถูกกระทำให้ข้นขึ้น
อวัยวะที่น้ำดีพักอยู่ระหว่างเวลาอาหารคือ ถุงน้ำดี
หน้า ๗๑๓๘
๒๐๐๗. ดีเกลือ ดีเกลือ หรือมักเนเซียม ซัลเฟต
เป็นยาถ่ายหรือยาระบาย จำพวกเพิ่มปริมาณในลำไส้ ทำให้อุจจาระที่ถูกขับออกมา
มีลักษณะเป็นน้ำเป็นส่วนใหญ่
ดีเกลือ เป็นส่วนประกอบในน้ำเค็มธรรมชาติหลายชนิด แยกได้เป็นผลึกครั้งแรกจากน้ำเค็ม
ที่ได้มาจากบ่อน้ำพุ ที่เมืองเอปซอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๑๘ นอกจากนั้นยังพบได้อีกในน้ำทะเล
หรือตามถ้ำที่มีตะกอนน้ำเค็ม มาตกจับอยู่เป็นชิ้น ๆ หรือได้จากแร่ธาตุหลายชนิด
ดีเกลือบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นผลึกเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายเข็มไม่มีสี เมื่อเอามาละลายน้ำ
จะเกิดความเย็น มีรสขมเฝื่อน และมีปฎิกิริยาเป็นด่าง
หน้า ๗๑๔๓
๒๐๐๘. ดึง - ต้น
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐ - ๒๐ เมตร ใบเป็นช่อ ดอกเป็นช่อ ช่อดอกยาวประมาณ
๑๘ ซม. ออกตามปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาว ผลรูปรี
ดึง พบขึ้นทั่ว ๆ ไป ตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ทุกส่วนมีรสขม เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง
ใช้เปลือกต้มกินเป็นยาแก้ไข้
หน้า ๗๑๔๔
๒๐๐๙. ดีซ่าน
ภาวะดีซ่าน มีอาการตัวเหลืองซึ่งเกิดกับผู้ป่วย โดยมี บิลิรูปบิน ในเลือดสูงกว่าระดับปรกติ
ในคนธรรมดา มีปริมาณ บิลิรูบิน ในเลือด ๑ มิลลิกรัม ใน ๑๐๐ ลูกบาศก์เซ็นติเมตร
อาการตัวเหลืองนั้น จะเห็นได้ก่อนที่ตาขาวของนัยน์ตา ถ้ามีมากขึ้นจะเห็นได้จากสีของปัสสาวะ
ที่เข้มขึ้น และสุดท้ายจะเห็นได้ตามผิวหนังทั่ว ๆ ไป
หน้า ๗๑๔๔
๒๐๑๐. ดีดขัน - กุ้ง
เป็นกุ้งขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ของกุ้งดีด พบอยู่ตามพื้นที่เป็นทราย ตามแนวน้ำลง
หรือตามหิน และสาหร่ายทะเล เมื่อน้ำลด กุ้งจะขุดหลุมฝังตัวอยู่ในทราย สีของกุ้งย่อมเปลี่ยนไปตามที่อยู่
เพื่อช่วยตัวให้พ้นภัย
ในอ่าวไทยมีกุ้งนี้อยู่ราวห้าชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ กุ้งดีดขัน กุ้งดีด
และกุ้งยิง เป็นต้น
|