อาคารประกอบพิธี
แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาทรงไทย ขนาดกว้าง
๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีสำคัญของชาติ มีสิ่งสำคัญดังนี้
๑. ดวงโคมนิรันดร์ประภา
๒. พระบรมรูปมหาราช ๙ พระองค์
๓. บทโคลงพระราชนิพนธ์
๔. ภาพการก่อตั้งราชธานี
๕. ภาพมงคลแปด
๖. ภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ดวงโคมนิรันดร์ประภา
เป็นประติมากรรมรัตนชาติ ทำด้วยแก้วผลึกที่มีกำเนิดในประเทศไทย เจียระไนเป็นรูปกลีบบัวครึ่งซีกแปดกลีบ
ล้อมรอบแก้วผลึกสีขาวขนาดใหญ่ ภายในมีไฟฟ้าให้แสงสว่างอยู่เป็นนิจ ดุจดวงประทีปนพรัตน์
อันเป็นสัญลักษณ์แทนดวงวิญญาณบริสุทธิ์ของวีรชนไทยผู้เสียสละชีวิต และเลือดเนื้อเพื่อประเทศชาติ
ในการต่อสู้กับอริราชศัตรูมาตั้งแต่บรรพกาล ซึ่งจะสิงสถิตอยู่ ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
และอยู่ในความทรงจำของปวงชนชาวไทยตลอดไป
ดวงโคมนิรันดร์ประภานี้ตั้งอยู่ในครอบแก้วใส บนฐานหินอ่อนสีขาว ภายในบรรจุดินที่ได้กระทำพิธีบวงสรวง
และอัญเชิญมาจาก
ดินแดนสมรภูมิสำคัญ ในแต่ละภาค รวม ๑๐ แห่งคือ
๑.
สมรภูมิการรบไทยขับไล่ขอม จังหวัดสุโขทัย
๒. สมรภูมิการสงครามยุทธหัตถี จังหวัดสุพรรณบุรี
๓. สมรภูมิการรบที่ค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
๔. สมรภูมิการรบที่ค่ายโพธิ์สามต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕. สมรภูมิการรบที่บางแก้ว จังหวัดราชบุรี
๖. สมรภูมิการรบที่ทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี
๗. สมรภูมิการรบที่เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต
๘. สมรภูมิการรบไทยขับไล่พม่า จังหวัดเชียงใหม่
๙. สมรภูมิการรบไทยขับไล่พม่าที่เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
๑๐. สมรภูมิการรบที่ทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา
พระบรมรูปมหาราช
๙ พระองค์
เป็นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ขนาดเท่าพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์รมดำ
พระบรมรูปมหาราช ทั้ง ๙ พระองค์ คือ
|
(๑)
พระเจ้าพรหมมหาราช
ปฐมพงศ์พรหมราชเจ้า
รวมเหล่านิกรไกร
ขับขอมประลาตไป
"โยนกนาคนคร"
แคล้ว
ทรงธรรมดำริสร้าง
"ไชยปราการ"
เพื่อราษฎร
เฉลิมพระยศปรากฏตั้ง |
จอมไทย
แกว่นแกล้ว
จากเขต
คลาดพ้นภัยมหันต์
นคร
อยู่ยั้ง
แต่นั้นสืบมา |
|
(๒)
พระเจ้าเม็งรายมหาราช
เม็งรายมหาราชเชื้อ
เถลิงราชย์ล้านนาคง
ผูกมิตรมั่นไมตรีตรง
รามราชงำเมืองแม้น
สร้างเชียงรายแล้วก่อสร้าง
รังสรรค์นพบุรีราม
ปราษฎร์ทนุศาสน์ตาม
พระเกียรติเกริกกำจรจ้า |
ลวะวงศ์
จกราชเฮย
เขตแคว้น
ตรีกษัตริย์
หนึ่งท้าวไทเดียว
กุมกาม
เวียงนา
รุ่งฟ้า
ทศพิธ
ธรรมพ่อ
จรัสเรื้องเมืองเหนือ |
|
(๓)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
รามคำแหงมหาราชก้อง
ครองพิภพสุโขทัย
ร่วมมิตรร่วมสมัย
ร่วมจิตคิดร่วมสร้าง
ผดุงราษฎร์บำรุงศาสน์ด้วย
ดุจปิตุเรศทรงนำ
ประดิษฐ์อักษรไทยสำ
-
จารึกหลักศิลาไว้ |
เกียรติไกล
ถิ่นกว้าง
ร่วมกลุ่ม
ไทยแฮ
สุขให้ไทยเกษม
คุณธรรม
หน่อไท้
หรับราษฎร์
เรียนนา
สืบรู้บูรพการณ์ |
|
(๔)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นเรศวรมหาราชเจ้า
เอกาทศรถอนุช
ชไมราชร่วมคชยุทธ
กู้อิสรภาพให้
ขยายประเทศแผ่เขตแคว้น
มอญม่านเขมรลาวกราน
กฤษฏาภินิหาร
พสกสุขทุกค่ำเช้า |
จอมอยุธ
- ยาเฮย
เอกไท้
สยบม่าน
มลายแฮ
ผ่านพ้นภัยตะเลง
ไพศาล
นบเกล้า
ทั่วทศ
ทิศนา
ชุ่มชื้นใจเมือง |
|
(๕)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
นารายณ์มหารราชเจ้า
เถลิงรัชโดยปราบดา-
รบรานม่านมลา-
ปกรัฐดั่งฉัตรแก้ว
เชี่ยวชาญการรบทั้ง
จัดทูตเจริญไมตรี
พูนเพิ่มพระบารมี
เกริกพระเกียรติไทยท้าว |
อยุธยา
ภิเษกแล้ว
วประเทศ
ร่มเกล้าชาวประชา
กาพย์กวี
ต่างด้าว
บพิตร
ทั่วทั้งธรณี |
|
(๖)
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อยุธยาทุรยุคย้ำ
พินาศเพราะพม่าเกิน
ศาสน์กษัตริย์รัฐเผชิญ
ตากสินมหาราชแท้
แปดเดือน อิสรภาพกู้
ด้วยพระบรมเดชา-
สร้างธนบุรีราชธา-
ทรงพระคุณล้ำล้น |
ยับเยิน
กว่าแก้
ภัยอนาถ
นักเอย
ดำริฟื้นคืนนคร
กลับมา
นุภาพพ้น
นีใหม่
ศิรเกล้าชาวไทย |
|
(๗)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธยอดฟ้าฯ มหาราชเจ้า
รังสฤษฏ์รัตนโกสินทร์
รังรักษ์แผ่นปถพิน
จักรีบรมนาถไท้
ปราบม่านรานกัมพุชแพ้
แผ่พระเดชภูบดี
สังคายน์ปิฎกตรี
กฎหมายตราสามดวงเข้า |
จอมนรินทร์
สืบไว้
สยามประเทศ
ธิราชผู้ทรงคุณ
พ่ายหนี
ปกเกล้า
ภาคพุทธ
พจน์พ่อ
เล่มไว้เป็นปฐม |
|
(๘)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปิยะมหาราช
จุฬาลงกรณ์บรมราชเจ้า
ทวยราษฎร์เฉลิมพระนาม
"ปิยมหาราช"
เพราะความ
ทรงดำริริเริมให้
เลิกทาสปรับราชกิจถ้วน
นำประเทศเจริญไกล
ป้องกันมหันตภัย
พระเดชพระคุณล้นฟ้า |
จอมสยาม
แต่ไท้
รักดุจ
บิดรเอย
ทุกสิ่งล้วนเลิศดี
ทันสมัย
รุดหน้า
ต่างชาติ
เพียบพื้นภูวดล |
|
(๙)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาธีรราชเจ้า
มหาวชิราวุธมงกุฎเกล้า
บรมกษัตริย์รัตนกวิน
ครองราชย์ปกแผ่นดิน
ด้วยพระบรมราโชบายซ้ำ
ตั้งลูกเสือเสือป่าขึ้น
จัดส่งทหารอาสาไป
เปลี่ยนธงชาติเป็นไตร-
พระมหาธีรราชเจ้า |
สยามมินทร์
วิเศษล้ำ
สยามประเทศ
ส่งให้ไทยเกษม
ปลุกใจ
ประชาเอย
ยุโรปด้าว
รงค์แรกเริ่มนา
เทิดไท้ทรงธรรม |
(๑๐) พระมหาเจษฎาราชเจ้า
(ขณะนี้ยังไม่มีพระบรมรูปของพระองค์)
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
"พระมหาเจษฎาราชเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า พระมหาราชเจ้า ผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ
มหาราชองค์ที่ ๑๐ นี้ ยศ.ทหาร จะได้พิจารณาดำเนินการสร้างพระบรมรูปของพระองค์
และประดิษฐานรวมกับพระบรมรูปมหาราช ๙ พระองค์ ต่อไป