ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


 

๑๐. ข้อเสนอแนะ
๑๐.๑  การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสลับซับซ้อน มีประเด็นปลีกย่อยมากมาย จึงต้องเอาประเด็นสำคัญก่อน เพื่อให้สถานการณ์ผ่อนคลาย นำไปสู่การแก้ปัญหาในลำดับรองต่อไป
            ๑๐.๒  นโยบายแก้ปัญหาที่ผ่านมาขาดความชัดเจน ขาดเอกภาพ ขาดการมุ่งสู่การแก้ปัญหาให้เกิดผลแท้จริง การแก้ปัญหาต้องเริ่มด้วยคิดถูกทำถูก
            ๑๐.๓  ปัญหาแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับสากล ระดับชาติ และะระดับท้องถิ่น
               - ระดับสากล บทบัญญัติอิสลาม กำหนดให้มุสลิมไม่ว่าเป็นชนชาติใดต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงเป็นหน้าที่ของประเทศมุสลิมทั่วโลก จะช่วยเหลือมุสลิมที่ประสบทุกข์ยาก โดยเฉพาะการกดขี่จากรัฐบาลต่างศาสนา
                -  ระดับชาติ  มีทั้งด้านการเมืองทั้งภายในและภายนอกระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การก่อการร้ายปัญหาต่าง ๆ เชื่อมโยงกันใกล้ชิด สลับซับซ้อนละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เกินขีดความสามารถของหน่วยราชการระดับพื้นที่จะแก้ไขได้ตามลำพัง
                - ระดับพื้นที่  เป็นปัญหาชี้ขาด หากแก้ได้ผลก็จะแก้ปัญหาระดับชาติ และระดับสากลได้
            ๑๐.๔  การแก้ปัญหาวนเวียนอยู่กับเรื่องเก่า ๆ แล้วไปลงที่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน แต่ไม่ได้วิเคราะห์เจาะลึกว่าปัญหาแก่นแท้คือ ปัญหาใด ผู้กำหนดนโยบาย และแนวทางแก้ปัญหา ขาดความเข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริง ต่างคนต่างทำขาดเอกภาพ
            ๑๐.๕  สาเหตุที่การแก้ปัญหาไม่ประสบผลเนื่องจาก ขาดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหา อย่างที่แก้ปัญหาไม่มีพื้นฐานความคิดที่เป็นสากล การแก้ปัญหาไม่ครบวงจร
            ๑๐.๖  การแก้ไขปัญหาต้องมีการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่ที่แน่นอน
            ๑๐.๗  ควรสร้างความเข้าใจระหว่างกัน โดยให้ผู้นำมุสลิมมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา สร้างความเข้าใจกับ ปชช.
            ๑๐.๘  ควรศึกษาถึงองค์กรศาสนาอิสลามว่ามีวัตถุประสงค์และการดำเนินการที่เกื้อกูลหรือเป็นภัยต่อบ้านเมืองอย่างไร และปฏิบัติต่อองค์กรนั้น ๆ ตามเหมาะสม
            ๑๐.๙  ควรส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ให้คนไทยอิสลามมีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้นำทางศาสนา ให้มีการเผยแพร่ไปในทางเดียวกัน
            ๑๐.๑๐  จัดหาผู้มีความรู้ทางศาสนาออกเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชน เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ให้เข้าใจหลักคำสอนที่แท้จริง ถูกต้อง คลายอิทธิพลของบรรดาโต๊ะครูต่าง ๆ
            ๑๐.๑๑  ควรตั้งสภาหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพื่อคอยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ชาวไทยอิสลาม และรัฐบาลถกเถียง วางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด
            ๑๐.๑๒  ควรสร้างเอกลักษณ์ชนชาติไทย ให้เกิดแก่ไทยอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดขึ้น
            ๑๐.๑๓  ควรจัดหาผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ มาเรียบเรียงประวัติศาสตร์ ในส่วนนี้เสียใหม่ให้ชัดเจน ว่าเขาหล่านี้ไม่ใช่ชาวมลายู แต่เป็นคนไทยที่ผสมผสานกับชาวพื้นเมืองเดิม ภาษาพูดไม่ใช่ภาษามลายูแท้เป็นภาษาอินโดนีเซีย
            ๑๐.๑๔  ควรสอดส่องบุคคลที่จะชักนำชาวไทยมุสลิมให้กระด้างกระเดื่อง หรือสร้างความเข้าใจผิดต่อ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง
            ๑๐.๑๕  ต้องทบทวนนโยบายรัฐบาลเสียใหม่ นโยบายที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามยึดถือคือ คำสั่ง สร. ที่ ๖๖/๒๓ ซึ่งไม่ใช่นโยบายเกี่ยวกับขบวนการโจรก่อการร้าย โดยตรง ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย ไม่เหมือน โจรคอมมิวนิสต์มลายา
            ๑๐.๑๖  สังคมชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นสังคมปิด การเข้าถึงประชาชนต้องเข้าไปหา ไม่ใช่ดึงเอามาจากสังคมของเขา มาสู่สังคมของประเทศโดยส่วนรวม
            ๑๐.๑๗  ควรเน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแทนการพัฒนาที่ตัวคน
            ๑๐.๑๘  การเข้าถึงใจกลางของสังคมมุสลิมต้องเข้าไปทางอ้อมคือ เข้าไปทางสภาวะแวดล้อมของสังคมเช่น ต้องพัฒนาพื้นที่นำสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งบำรุงความสุข และอารยธรรมแปลกใหม่ที่ไม่ขัดหลักศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีเข้าไปในพื้นที่
            ๑๐.๑๙  ควรริเริ่มกิจกรรมร่วมไทยพุทธ - ไทยอิสลาม ที่ไม่ใช่เรื่องเชื้อชาติ ศาสนาและขนบประเพณี เช่น การเล่นกีฬา การพัฒนาสาธารณประโยชน์
            ๑๐.๒๐  ใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางประชาสัมพันธ์ ระหว่างขบวนการโจรก่อการร้าย กับ ประชาชนทุกหมู่เหล่าโดยการใช้ภาษาไทย และภาษามลายูท้องถิ่น
            ๑๐.๒๑  การประชาสัมพันธ์ พิจารณาปรับปรุงรายการวิทยุ โทรทัศน์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ให้สอดคล้องกับความต้องการขนบประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ให้มีเรื่องของศาสนาอิสลาม ภาษาท้องถิ่น และวิชาการใช้กิจกรรมบันเทิง ภาพยนตร์ ดนตรี หนังตะลุง การละเล่นพื้นเมือง ฯลฯ  เป็นเครื่องมือเผยแพร่ภาษาไทย จูงใจให้เรียนภาษาไทย
            ๑๐.๒๒  ควรจัดให้กำลังพลได้รับการศึกษาอบรม หลักสูตรความมั่นคงของชาติทุกระดับ และเรียนรู้เรื่องศาสนาอิสลาม ขนบประเพณีของไทยอิสลาม
            ๑๐.๒๓  ควรใช้สื่อมวลชนทุกประเภททำประชาสัมพันธ์ ชักจูงประชาชน ให้มาสนับสนุนรัฐบาล หาทางให้ชาวไทยอิสลามเป็นสังคมเปิดโดยเร็ว
            ๑๐.๒๔  เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องให้บริการประชาชน ต้องใช้ภาษาไทยโดยไม่ผ่านล่าม เพื่อให้ประชาชนต้องใช้ภาษาไทยมากขึ้น เพื่อลดผลตอบแทนที่เขาได้รับ
            ๑๐.๒๕  รัฐบาลควรนำการศึกษาภาคบังคับมาใช้กับเยาวชนมาบังคับใช้กับเยาวชนไทยอิสลามใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
            ๑๐.๒๖  ควรปรับหลักสูตรที่ใช้อยู่ในโรงเรียนทุกประเภทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์แท้จริงของสังคม ด้วยการให้เรียนหนังสือไทย กับอักษรยาวีควบคู่กันไป และควรบรรจุวิชาเกี่ยวกับหลักศาสนวัฒนธรรม ประเพณี ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลามไว้ในหลักสูตร
            ๑๐.๒๗  พระบรมราโชวาท เมื่อ ๑๐ ต.ค.๓๑ แก่นายกรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่คือ การวางแผนงานใหญ่ ๆ ไม่ค่อยได้ผลควรวางแผนพัฒนาเป็นส่วน ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป การสอนภาษาไทยต้องใช้วิธีการแนบเนียนใช้วิทยุโทรทัศน์ช่วย โดยใช้ภาษาไทยปนภาาาท้องถิ่น (ยาวี) การปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ ในการเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เคยชิน และเอิ้อต่อการพัมนา ต้องประสานกันให้ได้ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานต้องเข้าใจไทยอิสลาม เข้าใจหลักศาสนา ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่
            ๑๐.๒๘  การแก้ไขควรใช้วิธีค่อยทำค่อยไป เพื่อให้ ประชาชน คุ้นเคยไปทีละเล็กละน้อย และสามารถปรับตนเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ โดยไม่รู้ตัว
            ๑๐.๒๙  ควรสร้างทัศนคติที่ดี สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ทุกฝ่ายทุกกลุ่ม
            ๑๐.๓๐  รัฐบาลไม่สามารถปราบขบวนการโจรก่อการร้าย ให้หมดสิ้นได้ เพราะไม่ได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริงจากมาเลเซีย
            ๑๐.๓๑  เงื่อนไขการเจรจาปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายา ไทยควรเอามาเป็นเครื่องต่อรองกับมาเลเซีย
            ๑๐.๓๒  ควรสร้างหมู่บ้าน ปชด. ตลอดแนวแขตแดนไทย - มาเลเซีย  เพื่อป้องกันการเข้าออกของ ขบวนการโจรก่อการร้าย
            ๑๐.๓๓  ควรจัดนิคมสร้างตนเองให้ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งชาวไทยจากภูมิภาคอื่นเข้าไปทำมาหากินในนิคมนั้นด้วย
            ๑๐.๓๔  การแก้ไขปัญหาขบวนการโจรก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไข เพื่อสร้างทัศนคติที่ต่อชาวไทยอิสลามในพื้นที่ นอกจากการปราบปราม และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน แล้วจะต้องมีการปฏิบัติการด้านการเมืองในเชิงรุกกับมาเลเซียควบคู่กันไปด้วย
            ๑๐.๓๕  ควรรวมจังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นภาคการปกครองของกระทรวงมหาดไทย คือ จัดผู้ว่าราชการจังหวัดภาคคุม ๖ จังหวัด ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี
            ๑๐.๓๖  การปกครองแผ่นดินปัตตานี ซึ่งเป็นสังคมหลากหลาย ควรยึดแบบอย่างของบ้านเมืองนานาชาติเป็นแนวปฎิบัติ ควรเอาแบบสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศสังคม ที่มีการอยู่ร่วมกันแบบหลายชาติ หลายภาษา อย่างมีเสรีภาพ และมีประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง ภายใต้การปกครองเดียวกันของประเทศ
            ๑๐.๓๗  ควรจัดตั้งกรรมการที่ปรึกษาแผ่นดินปัตตานี ที่แต่งตั้งจากผู้นำ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนกลุ่มชน หรือกลุ่มอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ หรือช่วยแนะนำการพัฒนา
            ๑๐.๓๘  ควรสร้างกิจกรรมสันติสุข (สันตินิมิตร) เช่น กีฬา การร่วมขนบประเพณี หมู่บ้านไทยพุทธ ไทยอิสลาม อยู่ในที่เดียวกัน
            ๑๐.๓๙  ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้นำ และพัฒนาคุณภาพประชาชน
            ๑๐.๔๐  ส่งเสริมการเล่นกีฬา  เนื่องจากไทยอิสลามนิยมเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ในระดับตำบล
            ๑๐.๔๑  จัดสถานศึกษาให้อยู่ในลักษณะที่เด็ก ๆ ในแต่ละหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กันได้มีโอกาสเรียนร่วมกัน จะได้สนิทสนมไปมาหาสู่กัน
            ๑๐.๔๒  การผสมผสานทางสังคม ถือหลักประเพณีที่มีพิธีกรรมทางสังคมมาก จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดการผสมผสานทางสังคมมาก เช่น ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณีของชาวไทยทั้งสองกลุ่มให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา ส่งเสริมการพัฒนาสาธารณประโยชน์ร่วมกันตามความจำเป็น และความต้องการของ ปชช. ในท้องถิ่น
            ๑๐.๔๓  ส่งเสริมผู้นำทางศาสนาจัดสัมมนาผู้นำทางศาสนา เพื่อส่งเสริมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทางโลก เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตโดยไม่ขัดหลักศาสนา
            ๑๐.๔๔  ธรรมจาริกทางศาสนาอิสลาม ควรคัดเลือกจากผุ้นำศาสนาในท้องถิ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้  ให้ดำเนินการเอง
            ๑๐.๔๕  ด้านการศาสนา ควรขอความร่วมมือจากจุฬาราชมนตรี และ กก.อิสลามทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้   จัดระบบการศึกษาศาสนาอิสลามเสียใหม่ ให้เป็นไปตามคำสอนที่ถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน
            การปฎิบัติทางศาสนาและการปฎิบัติทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสังคม และเศษฐกิจสมัยใหม่เช่นเดียวกับประเทศมุสลิมที่เจริญแล้ว
            ๑๐.๔๖  นโยบายการกลมกลืนทางวัฒนธรรมสำเร็จยากใช้เวลาหลายชั่วอายุคน นโยบายพหุนิยมทางวัฒนธรรม (พ.ศ.๒๕๓๒) มีลักษณะผ่อนปรนคนกลุ่มใหญ่ ยอมให้คนกลุ่มน้อยดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมเดิม
            ๑๐.๔๗  ในฐานะที่ปอเนาะและโต๊ะครู เป็นที่รวมแห่งจิตใจของประชาชนอยู่แล้ว จึงควรใช้ปอเนาะให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชน ทั้งด้วยการพัฒนาปอเนาะโดยตรง และการใช้นักศึกษาของปอเนาะช่วยประชาชนพัฒนาชุมชน
            ๑๐.๔๘  ควรจัดการปกครองท้องถิ่นให้ดีที่สุด ให้อำนาจอิสระ (ATOMOMY) ให้มาก การให้อำนาจอิสระต้องไม่มาก จนมีผลกระทบกระเทือนต่ออำนาจอธิปไตย
            ๑๐.๔๙  แนวคิดในการป้องกันและปราบปราม พยายามศึกษาและเข้าถึงจิตใจประชาชน ให้ได้
            ๑๐.๕๐  ควรจัดตั้งตู้รับคำร้องเรียนประจำหมู่บ้าน
            ๑๐.๕๑  แนวทางแก้ปัญหากับเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกระดับ ความเร่งด่วนสูงสุดคือ การสร้างเอกภาพในความคิด และเอกภาพในการปฎิบัติ รวมทั้งการให้ความรู้ การทำความเข้าใจนโยบายแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อมวลชน องค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
            ๑๐.๕๒  การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่เกือบทุกปัญหา ประการสำคัญต้องแก้ไขให้ตรงจุด มีความต่เนื่องจริงจัง และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยมีโครงการที่แน่นอน
            ๑๐.๕๓  ปัญหาโจรก่อการร้ายจะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากโจรก่อการร้าย มีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อยโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก จึงต้องกำหนดยุทธวิธีกันทีละคำ ทำให้เป้าหมายเบาบางลง จกร.มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ต้องแก้ไขพร้อม ๆ กันคือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง
            ๑๐.๕๔  แนวทางแก้ไขต้องสร้างกลยุทธหลักในการพัฒนาภาคใต้ จำเป็นต้องมีแผนรับ และแผนรุกควบคู่กันไปตามข้อเสนอของ ศอ.บต. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ คือ
                - แผนรับ  เพื่อแก้ปัญหาที่สร้างสมมานาน  การเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน เป็นปัญหารอง
                - แผนรุก  เป็นแผนที่จะกลายเป็นขบวนการร่วมกันของคนในภาคใต้  ที่สามารถใช้พลังรุกได้หลายทาง เพราะทางภาคใต้มีทรัพยากรมาก โครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สงขลา โครงการสร้างท่าเรือชายฝั่งที่ปัตตานี โครงการนิคมอุตสาหกรรมที่สงขลาและปัตตานี ฯลฯ
            ๑๐.๕๕  ควรปรับปรุง ศอ.บต.ให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการของจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง และควรมีอำนาจพอที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉับพลัน
            ๑๐.๕๖  ควรใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคง ฯ ดังนี้
                - ลดอิทธิพลขบวนการโจรก่อการ้าย  กดดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้กลุ่มโจรออกไปจากพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และควบคุมอาวุธสงครามอย่างจริงจัง เปิดโอกาสให้ ขบวนการโจรก่อการร้าย กลับใจเข้ามอบตัว ดึงผู้นำท้องถิ่นมาร่วมมือกับราชการลงโทษเจ้าหน้าที่ ของรับที่ช่วยเหลือขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างรุนแรง โดยเฉพาะตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง สร้างความสัมพันธ์อันดีกับมาเลเซีย โดยใช้เงื่อนไขโจรคอมมิวนิสต์มลายา ประชาสัมพันธ์ ต่อประเทศมุสลิมให้เข้าใจ สะกัดกั้นไม่ให้ขบวนการโจรก่อการร้ายแสวงหาเด็ก และเยาวชนในหมู่บ้านไทยอิสลาม เพื่อส่งไปเรียนต่อในกลุ่มประเทศอาหรับ ทางราชการาควรรับเด็ก และเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ที่กำพร้าและยากจนมาไว้ในอุปการะ โดยตั้งศูนย์สงเคราะห์เด็กภาคใต้ขึ้นกำกับดูแล ปอเนาะ มัสยิด และสถานที่ประกอบศาสนกิจอย่างใกล้ชิด สำรวจทะเบียนให้ครบถ้วน ติดตามสอดส่องการเดินทางออกนอกประเทศของบุคคลบางคนบางกลุ่ม ที่จะก่อให้เกิดผลเสียแก่ชาติ
                - การพัฒนาพื้นที่  ทำทั้งแผนรับและแผนรุก  โดยทำแผนพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น ๓ ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัด ประการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน ฝึกประชาชน เป็นหลักโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เป็นบุคคลกลุ่มเป้าหมาย ยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
            ๑๐.๕๗  ทุกครั้งที่ขบวนการโจรก่อการร้ายปฎิบัติการร้าย ทำให้ไทยอิสลามเสียชีวิต และบาดเจ็บ ควรชี้นำให้ไทยอิสลามเห็นว่าขบวนการโจรก่อการร้าย มิได้ปฎิบัติตามคำสอนของคัมภีร์กุรอ่าน ที่ทำร้ายประชาชน แสดงว่าไม่จงรักภักดีต่อประเทศ อันเป็นแผ่นดินเกิด ซึ่งศาสนาอิสลามถือว่าเป็นบาป
            ๑๐.๕๘  ควรจัดชุดปฏิบัติการจิตวิทยา ขยายผลให้มีการประณามการกระทำที่โหดร้ายทารุณของ ขบวนการโจรก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ถูกทำร้ายโดยทันที เพื่อให้ ประชาชน เอาใจออกห่าง ขบวนการโจรก่อการร้าย
            ๑๐.๕๙  ควรจัดชุดปฎิบัติการขนาดเล็กลาดตะเวนในพื้นที่ล่อแหลมอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดัน ขจก. ไม่ให้มีเสรีในการปฎิบัติ
            ๑๐.๖๐  ควรหาความคุ้มครองราษฎรไทยพุทธให้สามารถประกอบอาชีพใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างปลอดภัย เพื่อมิให้อพยพทิ้งถิ่นฐานออกจากพื้นที่ จัดตั้งหมู่บ้านป้องกันชายแดน (ปชด.) บริเวณชายแดนด้านกลันตัน
            ๑๐.๖๑  ควรจัดชุดปฎิบัติการสกัดกั้นเส้นทางหนีทั้งทางบก และทางทะเล โดยเฉพาะบริเวณชายแดนติดต่อกลันตัน ตั้งจุดตรวจทุกเส้นทางที่จะไปชายแดนกลันตัน ตัดเส้นทางส่งกำลังทั้งภายในและภายนอก ชี้แจงสื่อมวลชนว่าขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นอาชญากร ที่ทำร้ายประชาชน ประฌามการกระทำทีป่าเถื่อน ระดมกำลังทุกรูปแบบ เข้าปราบปรามอย่างทันท่วงที ให้ขบวนการโจรก่อการร้าย ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบแต่แรก ทำให้ผู้สนับสนุน หมดกำลังใจ ประชาชนที่เป็นพลังเงียบ จะหันมาช่วยเจ้าหน้าที่มากขึ้น เพราะทุกคนอยากมีส่วนร่วมกับผู้ชนะ
            ๑๐.๖๒  การไล่ล่าขบวนการโจรก่อการร้าย แบบกัดไม่ปล่อยของกองทัพภาคที่ ๔ ถือว่าเป็นการกดดันขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างได้ผล
            ๑๐.๖๓  เรื่องที่สำคัญาคือ ด้านสังคมจิตวิทยา และการสนับสนุนจากต่างประเทศ หากแก้ไขปัญหาสำคัญได้ปัญหาอื่นจะหมดไป หรือเบาบางลง
            ๑๐.๖๔  ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นปัญหาใหญ่ต้องแก้ไขทันที และทำอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กันทุกปัญหาคือ ความโน้มเอียงทางเชื้อชาติและศาสนา
            ๑๐.๖๕  ปัญหาโจรก่อการร้ายจะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นไปได้ยากเนื่องจากโจรก่อการร้ายมีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก จึงต้องกำหนดยุทธวิธีกินทีละคำ ทำให้เป้าหมายเบาบางลง โจรก่อการร้ายมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ต้องแก้ไขพร้อม ๆ กันคือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง
            ๑๐.๖๖  แนวทางแก้ปัญหากับเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกระดับ ความเร่งด่วนสูงสุดคือ การสร้างเอกภาพในความคิด และเอกภาพในการปฎิบัติ รวมทั้งการให้ความรู้ การทำความเข้าใจนโยบายแก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อมวลชน องค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์