จากหนังสือพิมพ์ < จากเอกสารวิชาการ
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
๙. มุมมองและข้อสังเกต ๙.๑ ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง เรื้อรังมานาน ไม่ใช่เรื่องที่ปั้นแต่งขึ้นมาของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ (ท้องถิ่น) มีแนวโน้มเป็นปัญหาระหว่างประเทศ มีการเตรียมนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมของสหประชาชาติ ๙.๒ การทำความเข้าใจปัญหา สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะละเว้นการเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะข้อมูลดังกล่าว เหมือนแสงสว่าง ที่ส่องให้เห็นลู่ทางที่จะเข้าไปถึงปัญหา ๙.๓ วิกฤตกาลที่เกิดมาแล้วในอดีตหลายครั้ง สาเหตุและรูปการณ์เป็นไปทำนองเดียวกัน กับปัญหาที่เผชิญอยู่ปัจจุบัน ๙.๔ ยุคใดผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน หรือมีความยุ่งยากทางการเมือง หรือบ้านเมืองอ่อนแอพวกคิดแยกดินแดนจะฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ๙.๕ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูโดยผิวเผินเหมือนมีความสงบเรียบร้อยดี แต่ความจริงกลับตรงกันข้ามคือมีสถานการณ์คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งรุนแรง บางครั้งเบาบาง บางครั้งสงบ แต่ส่วนลึกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ โดยต่อเนื่องคล้ายคลื่นใต้น้ำ ๙.๖ การต่อสู้ของขบวนการโจรก่อการร้าย เน้นหนักการใช้เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีให้เกิดการขัดแย้งระหว่างไทยพุทธ - ไทยอิสลาม ๙.๗ ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายา มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน คือ โจรคอมมิวนิสต์มลายา ต้องการปลดปล่อยมาเลเซีย ส่วนขบวนการโจรก่อการร้าย พยายามแยกดินแดนโดยได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายา เคยขัดแย้งหรือประทะกันด้วยอาวุธ ต่างคนต่างอยู่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลย ๙.๘ ปกติไทยพุทธกับไทยอิสลามนั้นต่างคนต่างอยู่ มีอยู่น้อยที่เป็นชุมชนผสมผสาน หรืออยู่ร่วมกัน มักไม่มีกิจกรรมอะไรร่วมกันนัก ชุมชนไทยอิสลามบางแห่ง อยู่ไกลชุมชนไทยพุทธมาก ตลอดทั้งปีจะไม่เคยแม้กระทั่งเห็นชาวพุทธเลย ส่วนในเมืองแตกต่างกันออกไป จึงมีการติดต่อกันพอสมควร แม้ไม่สนิทสนมกันมาก ในเมืองแบ่งออกเป็นสองพวกคือ ไทยอิสลามเก่ากับไทยอิสลามใหม่ ไทยอิสลามเก่าเคร่งครัดศาสนา ไม่คบค้าสมาคมกับไทยพุทธ ไม่เคยมีกิจกรรมอะไรร่วมกัน แต่ไทยอิสลามใหม่มีการคบค้าสมาคมกับไทยพุทธค่อนข้างสูง และมีกิจกรรมร่วมกันพอสมควร ๙.๙. พ.ศ.๒๔๘๘ จัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federation of Malaya) พ.ศ.๒๕๐๖ สิงคโปร์ ซาบาห์และซาราวัคได้เข้ามารวม และก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย สิงคโปร์แยกตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ๙.๑๐ หลังจากเหตุการณ์วุ่นวายระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๔๙๓ สงบเรียบร้อยแล้วเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ได้ลางเลือนไปจากความทรงจำของผู้คนจนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๐ มาเลเซียได้รับเอกราชได้ปรากฏ ขบวนการโจรก่อการร้าย กลุ่มต่าง ๆ คุกคามประชาชน โดยเฉพาะไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะแรกเข้าใจว่าเป็นโจรผู้ร้ายธรรมดา กว่าจะรู้ว่าเป็นการกระทำของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ก็เกือบสายเกินแก้ ๙.๑๑ ภัยสำคัญที่สุดของมาเลเซียคือ โจรคอมมิวนิสต์มลายาซึ่งมีฐานปฏิบัติการในไทย มาเลเซียขอร้องไทยให้ปราบโจรคอมมิวนิสต์ ไทย - มาเลเซีย ได้ทำข้อตกกองบัญชาการอยู่ในกลันตัน มาเลเซียรู้เรื่องดี ๙.๑๒ ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผิดแผกแตกต่างไปจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าไม่ได้อพยพเข้ามาเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ แต่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นมาแต่โบราณกาล ดังนั้นนโยบายรัฐบาลจึงมิได้กำหนดเป็นพิเศษ นอกจากมีข้อยกเว้นบางประการ ๙.๑๓ สภาพทางสังคมจิตวิทยาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผิดแผกแตกต่างจากภาคอื่นโดยสิ้นเชิง คือ มีเอกลักษณ์ทางศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ ๙.๑๔ การก่อการร้ายโดยแท้จริงแล้วหวังผลทางการเมือง มิได้เกิดจากกลไกของรัฐเป็นฝ่ายสร้างเงื่อนไข ๙.๑๕ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลือกปฏิบัติการเฉพาะครูของโรงเรียนรัฐบาลที่สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา แต่บรรดาโรงเรียนราษฎรสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) อยู่อย่างปกติสุข ๙.๑๖ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อหมู่บ้าน และตำบล ส่วนมากเป็นภาษามาเลย์ ที่เป็นภาษาไทยมีน้อย ไทยอิสลามนิยมตั้งชื่อตัว และชื่อสกุลตามวัฒนธรรมอิสลาม ตั้งชื่อเป็นภาษามาเลย์ และภาษาอาหรับ ๙.๑๗ ไทยมุสลิมไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการต่อสู่โจรคอมมิวนิสต์มลายาด้วย แม้ไทยมุสลิมไม่ได้สนับสนุนโจรคอมมิวนิสต์มลายา แต่ไม่ได้ต่อต้าน ขบวนการโจรก่อการร้าย บางพื้นที่ร่วมมือกับโจรคอมมิวนิสต์มลายา ๙.๑๘ ไทยอิสลามใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีไม่เกินร้อยละ ๕ ที่ให้การสนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้าย เพราะเป็นญาติพี่น้องกัน ไม่ใช่ด้วยอุดมการณ์เหมือนกัน ร้อยละ ๕ ไม่ชอบร้อยละ ๙๐ วางเฉย ๙.๑๙ การศึกษาในปอเนาะ ถ้ามองให้ลึกอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแยกตัวออกจากสังคมไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว อารยธรรมภายนอกไม่มีทางเข้าไปปะปนได้ ๙.๒๐ ปัญหาโจรก่อการร้าย จะใช้การเจรจาอย่างเดียวเช่น โจรคอมมิวนิสต์มลายา ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นไปได้ยาก เนื่องจากโจรก่อการร้ายมีหลายกลุ่ม ไม่มีเอกภาพ มีการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การเมือง ศาสนา และองค์กรมุสลิมโลก ๙.๒๑ มีการสังหารผู้ที่ไม่ยินยอม ไม่ยอมเป็นพวก ไม่สนับสนุน ขัดขวางขบวนการ สงสัยทรยศหรือหักหลัง แม้คนมุสลิมก็สังหาร ๙.๒๒ ปี พ.ศ.๒๕๓๑ รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำลัทธิชาตินิยมหรืออุดมการณ์รัฐนิยมมาใช้ เพื่อก่อให้เกิดการประสมประสานทางวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนจะไร้ผลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๒๓ รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้ประกาศมาตรการหลายประการ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การแยกดินแดนเช่น พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันขึ้นหลายระดับ ทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เช่น ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี สถาบันศึกษาศาสนาอิสลาม คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย และประจำจังหวัด ที่มีประชาชนนับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก ๙.๒๔ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม ใช้คำว่าประชาชนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามแทนที่จะเรียกว่า ผู้นับถือศาสนามุฮัมหมัด และไทยอิสลามอย่างแต่ก่อน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นไทยมุสลิม ๙.๒๕ สำหรับชาวมาเลย์มุสลิม คำว่ามลายูกับคำว่ามุสลิม มีความหมายอย่างเดียวกัน ส่วนคำว่าไทย หรือสยามกับคำว่าพุทธก็เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน การเรียกว่าไทยอิสลาม จึงไม่สามารถที่จะเป็นไทยทั้งพุทธ (ไทย) และมุสลิม (อิสลาม) นี่เป็นเหตุผลของไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้บางส่วน ๙.๒๖ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม กำหนดให้ผู้นำศาสนาของไทยอิสลาม ต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลาง เป็นการขัดกับความรู้สึกของคนบางกลุ่มบางพวก สถาบันต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งใหม่ จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบริหาร และประสานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างที่หวัง ๙.๒๗ กฎหมายครอบครัวและมรดกฝ่ายอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกเมื่อ ๙ พ.ค.๘๙ ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร ดาโต๊ะยุติธรรม ที่กำหนดให้เลือกตั้งจังหวัดละ ๒ คน ไม่ได้รับความนิยมจาก ประชาชนการปรึกษาคดีเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกยังคงเป็นไปนอกสถาบันศาล ไทยอิสลามจะแสวงหาผู้นำทางศาสนา ที่มีชื่อเสียง เพื่อขอคำปรึกษา แนะนำตามรูปแบบ และธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณถึงปัจจุบัน ๙.๒๘ ข้อเรียกร้องของ หะยีสุหรง ๗ ประการคือ การจัดตั้งดินแดนที่มีความเป็นตัวของตัวเองในทางวัฒนธรรม ไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง อย่างเด็ดขาด เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุดที่ไทยอิสลามต้องการ เขาถูกจับตัวดำเนินคดี ก่อให้เกิดการจลาจลที่นราธิวาส คือ กบฎคุซงยอ เมื่อ ๒๖ - ๒๘ เม.ย.๙๑ นับเป็นการต่อต้านรัฐบาลที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทยอิสลาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๒๙ มีการจัดตั้งสาธารณรัฐปัตตานีหรือสหพันธรัฐปัตตานี ดำเนินการโดยนักการเมืองทั้งในและนอกประเทศ โดยอาศัยความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ขนบประเพณี โครงร่างปรากฎชัดในปี พ.ศ.๒๕๑๐ มีโจรก๊กใหญ่หลายก๊ก เก็บภาษีเถื่อน ปิดสวนยาง ปิดบริษัทการค้า ปิดโรงเรียน ฆ่าครู จับคนไปเรียกค่าไถ่ เหยื่อส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ หรือไทยอิสลามที่ไม่ยอมจ่ายเงิน หรือไม่ยอมทำตามคำเรียกร้องของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ขบวนการโจรก่อการร้ายมีเครื่องแบบสนามชุดเขียว เสื้อและหมวกปักดาวแดง และอักษรมลายู โจรแต่ละก๊กขึ้นตรงต่อหัวหน้าคือ เปาะเยะ ๙.๓๐ การแก้ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ปี ๑๕) รัฐบาลแก้ปัญหาที่เนื่องจากโจรผู้ร้ายเท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาด้านอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ๙.๓๑ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในกิจกรรมมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกิจกรรมนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา รู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากชาวไทยอิสลาม หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อพช.ดีเด่น ๙.๓๒ ระดับบริหารไม่มีนโยบายการปราบปรามที่แน่นอนต่อเนื่อง เมื่อเริ่มปราบปรามครั้งแรกในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม ได้ทำการปราบปราม ขบวนการโจรก่อการร้าย ทำเยี่ยงผู้ร้ายธรรมดา พอเห็นส่อว่าเป็นโจรการเมืองก็หมดสมัยเสียก่อน ๙.๓๓ สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มีปัญหาเฉพาะหน้ามาก การปราบปรามชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้แต่งตั้ง พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา เป็นผู้รักษาความสงบภาคใต้ (กอ.รสต.) การปราบปรามจึงเริ่มใหม่ ใช้กำลังทหารร่วมกับตำรวจ ๙.๓๔ สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีนโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้ายเข้ามอบตัว และให้หยุดการปราบปรามไว้ชั่วระยะหนึ่ง ๙.๓๕ ต้นปี พ.ศ.๒๕๑๗ มีการตั้งกลุ่มขบวนการโจรก่อการร้ายขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก มี การก่อการร้ายขึ้นอย่างรุนแรงกว้างขวาง โดยเฉพาะจับคนเรียกค่าไถ่มากที่สุด เป็นประวัติการณ์ ๙.๓๖ การปล่อยตัวคนร้ายที่เข้ามามอบตัว หรือปล่อยตัวคนร้ายหลังจากได้รับการอบรมจาก เจ้าหน้าที่ ประชาชน หวาดเกรงพวกนี้มาก ๙.๓๗ ขบวนการโจรก่อการร้าย เดิมเรียก ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต่อมาเห็นว่าทำให้ไทยอิสลามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องสะเทือนใจ นอกจากนั้นชื่อดังกล่าวยังเป็นการรับรองสถานภาพทางการเมืองของขบวนการดังกล่าว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) เมื่อ ๒๗ ม.ค.๑๘ ๙.๓๘ ประสบการณ์จากอดีตได้บทเรียนว่าการวางแนวนโยบายกับการนำไปปฎิบัตินั้น บางทีไม่เป็นไปเหมือนที่คาดหวัง ความล้มเหลวของนโยบายบางอย่าง ส่งผลร้ายให้เกิดขึ้น และมีผลเสียยืดเยื้อจนแก้กันไม่ทั่วถึง ทำให้กล่าวได้ว่านโยบายที่ไม่ดีพอนั้น ไม่มีนโยบายเสียเลยดีกว่า ๙.๓๙ การนิยมไปแสวงบุญที่เมกกะ แต่ละปีมีจำนวนมาก ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของไทยอิสลาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เสียไปปีละเป็นจำนวนมาก ๙.๔๐ นโยบายการปราบปรามของหน่วยเหนือรวนเร ไม่แน่ชัดว่าจะให้ปฎิบัติอย่างไร ขาดความต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ต่างหน่วย ต่างดำเนินงานกันเอง แต่ละจังหวัด เอาตัวรอดเฉพาะตน ๙.๔๑ ขบวนการโจรก่อการร้าย ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นชาวไทยอิสลามทั้งสิ้น ย่อมได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากชาวไทยอิสลามด้วยกัน และได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมด้วย ๙.๔๒ การแก้ปัญหาระยะเริ่มแรกเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้พิจารณาว่าขบวนการโจรก่อการร้าย คือใคร ทำให้การแก้ปัญหาผิดทิศทาง มักจะพิจารณาว่า เป็นปัญหาอาชญากรรมธรรมดา มุ่งเน้นในเรื่องกฎหมายและตัวบุคคลเช่น ผู้ร้าย ๙.๔๓ ไม่สามารถแยกขบวนการโจรก่อการร้ายออกจากประชาชนในหมู่บ้าน มีจุดอ่อนด้านการข่าว เพราะไม่เข้าใจภาษาท้องถิ่น ทำปฏิบัติการจิตวิทยา ไม่ได้ผล เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาไทย และไม่ไว้วางใจคนศาสนาอื่น ๙.๔๔ รัฐบาลไม่อาจตั้งมวลชนขึ้นต่อสู้กันเองได้ เนื่องจากประชาชน ในพื้นที่ผูกพันกับ ขบวนการโจรก่อการร้าย มากกว่า ๙.๔๕ ขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายาเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน แต่รัฐบาลจัดความสำคัญในการปราบปรามเป็นอันดับสอง รองจากโจรคอมมิวนิสต์มลายา ๙.๔๖ รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดนโยบายการประชาสัมพันธ์ สำหรับชนกลุ่มน้อย (ไทยอิสลาม) ไว้อย่างชัดเจน ๙.๔๗ ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย มีสาเหตุจากด้านสังคมจิตวิทยา อันเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี และกลายมาเป็นปัญหาทางการเมือง ๙.๔๘ การที่จะสลายแนวความคิดในการแบ่งแยกดินแดนเป็นเรื่องยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีการสืบทอดเจตนารมณ์ต่อกันมาตลอด ๙.๔๙ ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาสังคม วัฒนธรรม จารีตประเพณี ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคง ฯ ๙.๕๐ กำลังประชาชน ยังไม่มีขีดความสามารถป้องกันตนเอง เนื่องจากขาดการชี้นำ และการวางแผนที่ดี ประชาชนมองไม่เห็นความสำคัญของกำลังที่ฝึกมาแล้ว ๙.๕๑ ประเทศมุสลิมมีการแบ่งกลุ่มและขัดแย้งกันเอง บางครั้งใช้ ประเทศไทยเป็นเวทีในการแข่งขันการแผ่อิทธิพล และแสวงประโยชน์ ๙.๕๒ เดิมรัฐบาลมุ่งจัดการศึกษาเป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙.๕๓ พื้นฐานลักษณะโครงสร้างของประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อื่น ๆ ๙.๕๔ รัฐเห็นสังคมไทยอิสลามมีความเปราะบาง จึงปล่อยให้ไทยอิสลามจัดการเกี่ยวกับการศึกษากันเอง โดยรัฐคุมอยู่ห่าง ๆ คอยให้ความช่วยเหลือตามแต่จะร้องขอ ๙.๕๕ โครงสร้างและธรรมนูญของขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นจุดแข็งประการหนึ่งของ ขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๕๖ ถ้าแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ถูกจุด อาจล่อแหลมกลายเป็นปัญหาระหว่าง ประเทศได้ง่าย เพราะเหตุการณ์เกิดคาบเกี่ยวระหว่างไทย - มาเลเซีย ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นปัญหาของชนกลุ่มใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๙.๕๗ นโยบายบางอย่างขัดกับหลักศาสนาอิสลาม จึงไม่ได้รับความร่วมมือจากไทยอิสลาม และขบวนการโจรก่อการร้าย ถือเป็นเงื่อนไขในการโฆษณาชวนเชื่อ โจมตีเจ้าหน้าที่ ไทยอิสลามเชื่อว่าการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ที่เป็นไทยพุทธ ถือว่าผิดหลักศาสนาถือว่าเป็น ซีริค ๙.๕๘ ขบวนการโจรก่อการร้าย ทำทุกอย่างที่มีลักษณะขัดต่อศาสนาอิสลาม เช่นขัดขวางการรณรงค์ให้รู้ภาษาไทย ขัดขวางไม่ให้บุตรหลานไทยอิสลาม เรียนรู้ภาษาไทย โดยเผาโรงเรียน จับครูไปเรียกค่าไถ่ เรียกค่าคุ้มครองจากครูไทยพุทธ ๙.๕๙ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มักปฏิบัติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายก็ยุติ ทำให้ขบวนการโจรก่อการร้าย ฉวยโอกาสเข้าทำการอีก ๙.๖๐ ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ มี พระราชบัญญัติ ผู้อำนวยการรักษาความสงบภายในประเทศ ออกมาใช้ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาได้มีการยกเลิกอำนาจของพระราชบัญญัติดังกล่าว ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ทำให้การใช้กำลังฝ่ายทหารขาดอำนาจทางกฎหมายมารองรับ ๙.๖๑ การใช้นโยบาย ๖๖/๒๓ ยุติโจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ได้เกือบสิ้นเชิง แต่สำหรับขบวนการโจรก่อการร้ายเพียงซบเซาเท่านั้น ๙.๖๒ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม ประเทศมุสลิมโดยเฉพาะ มาเลเซีย. ๙.๖๓ คำสั่ง สร. ที่ ๖๖/๒๓ ซึ่งใช้ในการปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ยังไม่มีรายละเอียดด้านปฏิบัติการจิตวิทยา ๙.๖๔ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษโดยให้ทหารมีบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาจน สถานการณ์ดีขึ้น ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีการปรับบทบาทฝ่ายทหาร กับฝ่ายพลเรือนใหม่ โดยลดบทบาทฝ่ายทหารลง จนปี ๔๕ ได้ยกเลิก หน่วยงานพิเศษทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน ให้หน่วยปกติรับผิดชอบต่อไป ๙.๖๕ มุมมองเจ้าหน้าที่ของรัฐ สมัยก่อนมองปัญหาเป็นเพียงผู้ร้ายธรรมดา ใช้กำลังปกติเข้าปราบปราม ระยะต่อมา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถแยกขบวนการโจรก่อการร้าย ออกจาก ประชาชน ได้ มวลชนในพื้นที่กลายเป็นแนวร่วม และสนับสนุนในทุก ๆ ด้านเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพิทักษ์พื้นที่ถาวรได้ ๙.๖๖ ทุกครั้งที่มีการปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย ระดับนำและสมาชิกส่วนหนึ่งจะหนีไปอยู่มาเลเซีย ๙.๖๗ โครงการพัฒนาเพื่อความหวังใหม่ (พวม.) ผลงานส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับในความสำเร็จเพียงระดับหนึ่ง ๙.๖๘ ปัญหาขบวนการโจรก่อการร้ายมีลักษณะเหมือนโจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้กาอการร้ายคอมมิวนิสต์มลายา แต่ปัญหามีความละเอียดอ่อน และสลับซับซ้อนกว่า ๙.๖๙ พตท.๔๓ มีภารกิจหลักในการต่อสู้เอาชนะขบวนการโจรก่อการร้าย แต่ไม่ได้ทำภารกิจหลักคือ เปิดแผนยุทธการต่อขบวนการโจรก่อการร้ายน้อยมาก ในบางปี เช่นปี พ.ศ.๒๕๒๘ ไม่ได้เปิดแผนยุทธการต่อ ขบวนการโจรก่อการร้าย เลย ๙.๗๐ ฝ่ายทหารจัดทำโครงการเพื่อความหวังใหม่ เริ่มปี พ.ศ.๒๕๓๒ ในสายงาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคง (กอ.รมน.) ทำให้มุสลิมเข้าใจรัฐบาลมากขึ้น ไม่สามารถหาสมาชิกเพิ่มประชาชนไม่ให้การสนับสนุนเช่นแต่ก่อน ๙.๗๑ แนวทางยุทธศาสตร์ และนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องอาศัยทฤษฎียอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือว่า มนุษย์อาจผิดแผกแตกต่างกัน ในทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การแต่งกาย และอื่น ๆ แต่สามารถครองชีวิตอยู่ในสังคมเดียวกันได้อย่างสันติ ๙.๗๒ นโยบายการกลมกลืนทางวัฒนธรรมสำเร็จยากใช้เวลาหลายชั่วอายุคน นโยบายพหุนิยมทางวัฒนธรรม มีลักษณะผ่อนปรนคนกลุ่มใหญ่ยอม ให้คนกลุ่มน้อยดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมเดิม ๙.๗๓. การบริหารราชการขาดเอกภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่มีอำนาจแท้จริง มีหน่วยงานซ้ำซ้อน ขาดการประสานงานกัน ยังไม่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น บริการประชาชน ล่าช้า ๙.๗๔ การปราบ ๆ หยุด ๆ ไม่มีนโยบายที่ต่อเนื่องแน่นอน ทำความลำบากใจแก่ผู้ปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ ขบวนการโจรก่อการร้ายตั้งตัวกลายเป็นศึกยืดเยื้อ ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ขาดหลักประกัน จำต้องยอมอยู่ใต้อิทธิพล ขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๗๕ นโยบายให้ขบวนการโจรก่อการร้าย มอบตัวขัดแย้งกับฝ่ายปราบปรามในทางปฏิบัติ ๙.๗๖ ในระดับเจ้าหน้าที่ปราบปราม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายไม่แน่นอน การปราบปรามก็ทำเพียง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผลักขบวนการโจรก่อการร้าย ให้พ้นท้องที่ของตนออกไป ๙.๗๗ มีคนไม่น้อยกล่าวว่า การเข้าถึงประชาชน เท่ากับหาเรื่องใส่ตัวเอง เพราะทำให้เกิดความสัมพันธ์ส่วนตัว ประชาชน มาขอความช่วยเหลือ ทำให้ตนต้องเดือดร้อน ดังนั้นหลักการเข้าถึงประชาชน จึงเป็นทฤษฎีที่ปฏิบัติได้ยากเพราะฝ่ายรับไม่รู้จักขอบเขต ๙.๗๘ รัฐบาลให้สิทธิชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการปฏิบัติตามประเพณีทางศาสนามากกว่าประชาชน ในภาคอื่น แต่ยังมีมุสลิมบางคน บางกลุ่ม บิดเบือนข้อเท็จจริง โฆษณาว่ารัฐบาลไทยไม่ให้ความเป็นธรรมไทยอิสลาม ยุยงปลุกปั่นให้ก่อความไม่สงบ หลายครั้งหลายหนตั้งแต่สมัย ร.๕ ๙.๗๙ ความเข้มข้นของการต่อต้านแม้ว่าจะลดน้อยลงด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่จะทำให้หมดไปได้ยาก เพราะการสนับสนุนจากประชาชน เชื้อสายเดียวกันทำให้อนุมานได้ว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเผ่าพันธ์ชาตินิยม ๙.๘๐ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธกับไทยอิสลาม เป็นความสัมพันธ์ระดับประชาชน ต่อ ประชาชน โดยทั่วไปค่อนข้างดี ไทยอิสลามส่วนหนึ่งมีความกังวลใจว่า จากเหตุการณ์และพฤติกรรมของคนจำนวนน้อยนั้น จะทำให้ชาวไทยพุทธมีความไม่ไว้วางใจต่อคนไทยอิสลามส่วนใหญ่ ๙.๘๑ มีหลายจุดที่ข้าราชการไทยได้รับความไว้วางใจจากชาวไทยอิสลามอย่างแท้จริง และเป็นขวัญใจของชาวไทยอิสลามอย่างไม่เสื่อมคลาย เพราะทำตนให้สนิทสนมกับไทยอิสลามมีความเข้าใจในวิถีชีวิต ให้ความเคารพในสิ่งที่ไทยอิสลามนับถือ ๙.๘๒ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชน ในกิจกรรมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่า กิจกรรมนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนา และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนารู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจาก ประชาชน หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมุ่บ้านตัวอย่างของกรมการพัฒนาชุมชน และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อพป. ดีเด่น ๙.๘๓. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธกับไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะทางลบมากกว่าบวก นับวันจะมีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น ๙.๘๔ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลยังขาดความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของปัญหา ทำให้เกิดความผิดพลาดในการดำเนินนโยบาย และปฏิบัติในการสร้างความเข้าใจ และสัมพันธ์อันดีต่อไทยอิสลาม ๙.๘๕ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถทำให้ ประชาชน เกิดความศรัทธา และร่วมมือในการรักษาความสงบ ยังไม่สามารถทำให้ ประชาชนกล้าแสดงออก ในการต่อต้านขบวนการโจรก่อการร้าย ๙.๘๖ เงื่อนไขปัญหาพื้นฐานยังมีอยู่ สามารถหยิบยกขึ้นมา เพื่อชี้นำชักจูงมวลชนได้ตลอดเวลา เป็นเสมือนคลื่นใต้น้ำพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ๙.๘๗ ส่วนใหญ่ชาวไทยอิสลามยอมรับว่าทางราชการให้ความเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของ ประชาชนภาคใต้ และชาวไทยอิสลามให้โอกาสด้านการศึกษา และรับราชการมากขึ้น ๙.๘๘ นโยบายความมั่นคง ฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากไม่ถูกต้องแล้วยังผิดพลาดทั้ง ๓ ฉบับ มีจุดอ่อนขาดยุทธศาสตร์ มองปัญหาเพียงบางด้านคือ ด้านสังคมจิตวิทยาและเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ได้มองปัญหาอธิปไตย ทั้งที่ปัญหาเกิดจากประวัติศาสตร์ทางการเมือง การปกครอง โจรก่อการร้ายมีกองกำลัง ติดอาวุธ มีธรรมนูญปกครองไว้ชัดเจน เพียงเพื่อแบ่งแยกดินแดน มีการสืบทอดเจตนารมณ์เป็นช่วง ๆ มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ๙.๘๙ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังถูกบิดเบือนประเด็น กำลังสร้างภาพให้สังคมหลงประเด็น หากผู้ใดขาดข้อมูล และมิได้ติดตามสถานการณ์ และแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องแล้ว วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ผิดพลาด ปัญหาที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข ๙.๙๐ ปัญหาแบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ระดับผิวหน้า เช่น ความยากจน ยาเสพติด การก่อการร้ายการศึกษา อิทธิพล การปฏิบัติตัวของขบวนการโจรก่อการร้าย ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้มีอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศปัญหาระดับโครงสร้าง ของสังคม เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม ระเบียบกฎหมาย บางอย่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมุสลิมปัญหาระดับวัฒนธรรม หมายถึงทั้งหมดของการดำเนินชีวิตที่ถูกหล่อหลอมของสังคม มีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความคิด ๙.๙๑ การที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนในกิจกรรมมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา รู้เข้าใจ จะได้รับความร่วมมืออย่างสูงจากชาวไทยอิสลาม หมู่บ้านไทยอิสลามเคยได้รับรางวัลการพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง และเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน อชพ.ดีเด่น
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |