ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


 

            เอกสารชิ้นนี้ได้เรียบเรียงโดยแบ่งเป็นวัน ๆ รวมเจ็ดวัน หรือเจ็ดขั้นตอนดังนี้
           วันที่ ๑  ปลุกใจให้ฮึกเหิม ให้เห็นว่าการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน เป็นการต่อสู้ในทางศาสนา เช่นเดียวกับการต่อสู้ของท่านนบีมูฮัมมัด โดยอ้างบทบัญญัติ ๘:๖๕, ๔:๗๕, ๓:๑๓๒, ๕:๕๙, ๔:๕๘ ที่ได้แสดงให้เห็นถึงศัตรูของอิสลามคือบรรดาคนนอกศาสนา (กาฬิร) ทั้งคนนอกศาสนา และมุสลิมผู้ทรยศคือ ศัตรูของการต่อสู้ ที่จะต้องขจัดให้หมดสิ้นไป
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้าง ในวันที่ ๑
                    บทบัญญัติ ๘:๖๕ (ซูเราะฮ์ ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๖๕)
                    "และถ้าหากเจ้าได้ถามพวกเขา แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่าแท้จริงพวกเราเป็นเพียงแต่พูดสนุก และพูดเล่นเท่านั้น จงกล่าวเถิด (มูฮัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮ์ และบรรดาบทบัญญัติของพระองค์ และรอซูลของพระองค์กระนั้น หรือที่พวกท่านเย้ยหยันกัน"
                    บทบัญญัติ ๔:๗๕ (ซูเราะห์ ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ ที่ ๗๕)
                    "มีเหตุใดเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ ที่พวกเจ้าไม่สู้รบในทางของอัลลอฮ์ ทั้ง ๆ ที่บรรดาผู้อ่อนแอ ไม่ว่าชายและหญิงและเด็ก ๆ ต่างกล่าวกันว่า พระเจ้าของเรา โปรดนำพวกเราออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองเป็นผู้ข่มเหงรังแก และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเรา ซึ่งผู้คุ้มครองคนหนึ่งจากที่พระองค์ และโปรดให้มีขึ้นแก่พวกเรา ซึ่งผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งจากที่พระองค์"
                    บทบัญญัติ ๓:๑๓๒ (ซูเราะห์ ที่ ๓  อาละอิบรอน  อายะฮ์ที่ ๑๓๒)
                    "และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา"
                    บทบัญญัติ ๔:๕๘ (ซูเราะห์ที่ ๔  อัน - นิซาด์ อายะฮ์ที่ ๕๘)
                    "แท้จริงอัลลอห์ ใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮ์ แนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ พวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ แท้จริงงอัลลอห์เป็นผู้ได้ยินและเห็น"
           วันที่ ๒  ปลุกใจให้คนที่ต่อสู้ว่าอย่าได้กลัว เพราะคนที่ต่อสู้เพื่อให้ได้ดินแดนคืนมา หากเขาตายก็จะตายอย่างนักรบ ศักดิ์สิทธิ์หรือชะฮีด โดยอ้างบทบัญญัติ ๓,๑๔๕, ๓:๑๕๐, ๓:๑๖๙, ๔:๘๔, ๔:๙๔, ๓:๑๒๕ และอ้างหะดิษที่ว่า ด้วยเรื่องการทวงสิทธิ์คืน โดยเปรียบเทียบว่า ปัตตานีคือดินแดนที่ถูกปล้นไป เป็นหน้าที่ของลูกหลานเชื้อสายมลายูต้องทวงคืน
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้าง ในวันที่ ๒
                    บทบัญญัติ ๓:๑๔๕ (ซูเราะห์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๔๕)
                    "และไม่เคยปรากฎแก่ชีวิตใดที่จะตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอห์เท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่กำหนดไว้ และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในโลกนี้ เราก็จะให้เขาจากโลกนี้ และผู้ใดต้องการผลตอบแทนในปรโลก เราก็จะให้แก่เขาในปรโลก และจะตอบแทนแก่ผู้กตัญญูทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๓:๑๕๐ (ซูเราะห์ ที่ ๓  อาละอิบรอม  อายุฮ์ที่ ๑๔๕)
                    "แต่ทว่าอัลลอห์ต่างหากคือ ผู้ช่วยเหลือพวกเจ้า และพระองค์เป็นผู้ที่ดีเยี่ยมในบรรดาผู้ช่วยเหลือทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๓:๑๕๔ (ซูเราะห์ที่ ๓  อาละ อิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๕๔)
                    "แล้วพระองค์ก็ให้ความปลอดภัยแก่พวกเจ้า หลังจากความโศกเศร้านั้นคือ ให้มีการงีบหลับครอบคลุมกลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งวนั้น ตัวของพวกเราเองทำให้พวกเขากระวนกระวายใจ พวกเขากล่าวหาอัลลอฮ์ โดยปราศจากความเป็นธรรมอย่างพวกสมัยงมงาย (อัลญาฮิลียะฮ์) พวกเขากล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของพวกเราบ้างไหม จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงกิจการนั้นทั้งหมด เป็นสิทธิของอัลลอฮ์เท่านั้น พวกเขาปกปิดไว้ในใจของพวกเขา สิ่งซึ่งพวกเขาไม่เปิดเผยแก่เจ้า พวกเขากล่าวว่าหากปรากฎว่า มีสิ่งหนึ่งวสิ่งใดเกิดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราแล้ว พวกเราก็ไม่ถูกฆ่าตายที่นี่ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าแม้พวกท่านอยู่ในบ้านของพวกวท่าน แน่นอนบรรดาผู้ที่การฆ่าได้ถูกกำหนดแก่พวกเขาก็จะออกไปสู่ที่นอนตายของพวกเขา และเพื่ออัลลอฮ์จะทดสอบ สิ่งที่อยู่ในหัวอกของพวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้รอบรู้สิ่งที่อยู่ในหัวอกทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๓:๑๖๙  (ซูเราะห์ที่ ๓  อาละอิบรอน  อายะฮ์ที่ ๑๖๙)
                    "และเจ้าจงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่า บรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮ์นั้นตาย มิได้ พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระเจ้าของพวกเขาในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ"
                    บทบัญญัติ ๔:๘๔ (ซูเราะห์ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ที่ ๘๔)
                    "เจ้าจงสู้รบในทางของอัลลอฮ์เถิด โดยที่เจ้ามิได้ถูกบังคับ (ให้เกณฑ์ผู้ใด) นอกจากตัวของเจ้าเอง และจงปลุกใจบรรดาผู้ศรัทธาด้วย เป็นไปได้ว่าอัลลอฮ์จะยับยั้งกำลังรบของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้น และอัลลอฮ์เป็นผู้มีกำลังรบที่เข้มแข็งกว่า และเป็นผู้ที่มีการลงโทษที่รุนแรงกว่า"
                    บทบัญญัติ ๔ : ๙๔ (ซูเราะห์ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ที่  ๙๔)
                    "ผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในทางของอัลลอฮ์ ก็จงให้ประจักษ์ชัดเสียก่อน และจงอย่ากล่าวแก่ผู้ที่กล่าวสลามแก่พวกเจ้าว่าท่านมิใช่เป็นผู้ศรัทธา โดยแสวงหาสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวแห่งชีวิต ความเป็นอยู่ในโลกนี้ แต่ ณ ที่อัลลอฮ์นั้น มีปัจจัยยังชีพอันมากมาย ในทำนองเดียวกันนั้น พวกเจ้าก็เคยเป็นมาก่อน แล้วอัลลอฮ์ได้โปรดปรานแก่พวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงให้ประจักษ์เสียก่อน แท้จริงอัลลอฮ์นั้นรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้าทำอยู่"
                    บทบัญญัติ ๘:๖๐ (ซูเราะห์ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๖๐)
                    "และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับ (ป้องกัน) พวกเขา สิ่งที่พวกเจ้าสามารถอันได้แก่กำลังอย่างหนึ่งอย่างใด และการผูกม้าไว้ โดยที่พวกเจ้าจะทำให้ศัตรูของอัลลอฮ์ และศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วยสิ่งนั้น และพวกอื่น ๆ อีก อื่นจากพวกเขา ซึ่งพวกเจ้ายังไม่รู้จักพวกเขา อัลลอฮ์รู้จักพวกเขาดี และสิ่งที่พวกเจ้าบริจาคในทางของอัลลอฮ์นั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นจะถูกตอบแทนแก่พวกเจ้าโดยครบถ้วน โดยที่พวกเจ้าจะไม่ถูกอธรรม"
                    บทบัญญัติ  ๔:๑๒๔ (ซูเราะห์ที่ ๔  อัน - นิซาฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๒๔)
                    "ผู้ใดที่ต้องการสิ่งตอบแทนในโลกนี้ ก็ที่อัลลอฮ์นั้นมีสิ่งตอบแทนในโลกนี้ และปรโลก และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ได้ยินผู้เห็น"
                    บทบัญญัติ  ๓:๑๒๕ (ซูเราะห์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๒๕)
                    "เพียงพอแน่นอนหากพวกเจ้าอดทนและยำเกรง และพวกเขาจะมายังพวกเจ้าในทันทีทันใด แล้วพระเจ้าของพวกเจ้า ก็จะหนุนกำลังแก่พวกเจ้าอีก ด้วยจำนวนมลาอิกะฮ์ห้าพัน โดยมีเครื่องหมาย"
            วันที่ ๓  ขยายผลจากวันที่ ๒ ในแนวคิดเกี่ยวกับคนทรยศ (มุนาฟิก) ชี้ให้เห็นว่ามุสลิมคนใดก็ตาม แม้จะเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนาเพียงใด แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้ ตามแนวทางของพวกเขา เขาเหล่านั้นก็หาใช่ผู้ศรัทธาที่แท้จริง ไม่เขาเป็นแค่คนทรยศ หรือมุนาฟิก (คนกลับกลอก) ซึ่งที่อยู่ของมุนาฬิกตามทัศนะของผู้เขียนคือ การตกนรก โดยอ้างคัมภีร์กุรอานบทบัญญัติ ๒:๒๑๖, ๘:๖๐, ๔:๑๓๙, ๔:๑๔๕, ๙:๒๓, ๙:๔๘, ๙:๗๓, ๕:๔๗, ๘:๑๒
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้างในวันที่ ๓
                    บทบัญญัติ  ๒:๑๒๖  (ซูเราะห์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๒๖)
                    "การสู้รบนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่รังเกียจแก่พวกเจ้าและอาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งดีแก่พวกเจ้า และอาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้าชอบสิ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายแก่พวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นรู้ดี แต่พวกเจ้าไม่รู้"
                    บทบัญญัติ ๘:๖๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๖๐)
                    "และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับ (ป้องกัน) พวกเขา สิ่งที่พวกเจ้าสามารถอันได้แก่ กำลังอย่างหนึ่งอย่างใด และการผูกม้าไว้ โดยที่พวกเจ้าจะทำให้ศัตรูของอัลลอฮ์ และศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วยสิ่งนั้น และพวกอื่น ๆ อีกอื่นจากพวกเขา ซึ่งพวกเจ้ายังไม่รู้จักพวกเขา อัลลอฮ์รู้จักพวกเขาดี และสิ่งที่พวกเจ้าบริจาค ในทางของอัลลอฮ์นั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นจะถูกตอบแทนแก่พวกเจ้าโดยครบถ้วน โดยที่พวกเจ้าจะไม่ถูกอธรรม"
                    บทบัญญัติ  ๔:๑๓๙  (ซูเราะอ์ที่ ๔  อัน - นิซาอ์   อายะฮ์ที่ ๑๓๙)
                    "บรรดาผู้ที่ยึดเอาบรรดาผู้ปฎิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากผู้ศรัทธาทั้งหลายนั้น พวกเขาจะแสวงหากำลังอำนาจ ที่พวกเขากระนั้นหรือ แท้จริงกำลังอำนาจนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ทั้งหมด"
                    บทบัญญัติ  ๔:๑๔๕  (ซูเราะฮ์ ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ที่ ๑๔๕)
                    "แท้จริงบรรดามุนาฟิกนั้นอยู่ในขั้นต่ำสุดจากนรก และเจ้าจะไม่ได้พบผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับพวกเขาเป็นอันขาด"
                    บทบัญญัติ  ๙:๒๓  (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๒๓)
                    "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าได้ถือเอาบิดาของพวกเจ้าและพี่น้องของพวกเจ้าเป็นมิตร หากพวกเขาชอบการปฎิเสธ ศรัทธาเหนือการอีมาน และพวกใดในหมู่พวกเจ้าให้พวกเขาเป็นมิตรแล้ว ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือ ผู้อธรรม"
                    บทบัญญัติ ๙:๔๘  (ซูเราะฮ์ ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๔๘)
                    "แท้จริงนั้น พวกเขาได้แสวงหาความวุ่นวายมาก่อนแล้ว และวางแผนต่าง ๆ นานา เพื่อต่อต้านเจ้า จนกระทั่งความจริงได้มา และคำสั่งของอัลลอฮ์ได้ประจักษ์ขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่พอใจ"
                    บทบัญญัติ  ๙:๗๓  (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๗๓)
                    "นบี จงต่อสู้บรรดาผู้ปฎิเสธศรัทธาและบรรดาผู้กลับกลอกในการศรัทธา (มุนาฟิกกีน)  และจงเฉียบขาดแก่พวกเขา และที่อยู่ของพวกเขานั้นคือ นรกญะฮันนัม และที่กลับไปนั้น ชั่วช้าจริง ๆ "
                    บทบัญญัติ ๕:๔๗  (ซูเราะฮ์ที่ ๕  อัล - มาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่ ๔๗)
                    "และบรรดาผู้ที่ได้รับ อัล - อินญีล  ก็จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ให้ลงมาในนั้น และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วย สิ่งที่อัลลอฮ์ได้ให้ลงมาแล้ว ชนเหล่านั้นคือ ผู้ที่ละเมิด "
                    บทบัญญัติ  ๘:๑๒   (ซูเราะฮ์ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๑๒)
                    "จงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของเจ้าให้บทบัญญัติแก่มลาอิกะฮ์ ว่า แท้จริง ข้านั้นร่วมอยู่กับพวกเจ้าด้วย ดังนั้น พวกเจ้าจงทำให้บรรดาผู้ศรัทธามั่นคงเถิด  ความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ปฎิเสธศรัทธาแล้ว พวกเจ้าจงฟันลงบนก้านคอ และจงฟันทุก ๆ ส่วนปลายของนิ้วมือ จากพวกเขา"
             วันที่ ๔  ได้เสนอแนวทางการปฏิบัติตน เริ่มตั้งแต่การปฏิบัติต่อผู้ร่วมดำเนินการการเชื่อฟังผู้นำ ความกล้าหาญในการฆ่าศัตรู และให้มีความอดทนในการก่อการต่าง ๆ โดยอ้างบทบัญญัติ ๓:๑๕๑, ๓:๒๘, ๓:๑๑๘, ๘:๔๖, ๔:๑๙, ๒:๑๙๐, ๒:๑๙๑,๒ : ๑๙๓, ๒:๑๙๕, ๙:๒๐, ๓:๒๐๐ แกนสำคัญของเรื่องคือ แนวคิดทางประวัติศาสตร์ ว่าปัตตานีถูกปล้น จึงต้องต่อสู้เอาคืนมา การต่อสู้เพื่อให้ได้ดินแดนคือการญีฮาด หรือการต่อสู้ในทางศาสนา
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้างในวันที่ ๔
                    บทบัญญัติ  ๓:๑๕๑  (ซูเราะฮ์ ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๕๑)
                    "เราจะโยนความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ที่ปฎิเสธศรัทธาเหล่านั้น เนื่องจากการที่พวกเขาให้มีภาคีแก่อัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่อัลลอฮ์มิได้ให้หลักฐานใด ๆ มายืนยันในสิ่งนั้น และที่อยู่ของพวกเขาคือ ขุมนรก ช่างเลวร้ายจริง ๆ ซึ่งที่อยู่ของบรรดาผู้อธรรม "
                    บทบัญญัติ ๓:๒๘  (ซูเราะฮ์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๒๘)
                    "ผู้ศรัทธาทั้งหลายนั้นจงอย่าได้ยึดเอาบรรดาผู้ปฎิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากบรรดามุมิน และผู้ใดทำเช่นนั้น เขาย่อมไม่อยู่ในสิ่งใดที่มาจากอัลลอฮ์ นอกจากพวกเจ้าจะป้องกัน (ให้พ้นอันตราย)  จากพวกเขาจริง ๆ เท่านั้น และอัลลอฮ์เตือนพวกเจ้าให้ยำเกรงในอัลลอฮ์ และยังอัลลอฮ์นั้นคือ การกลับไป (ของพวกเจ้า)
                    บทบัญญัติ ๓:๑๑๘  (ซูเราะฮ์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๑๘)
                    "ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าได้ยึดเอาเพื่อนสนิทที่รู้เห็นกิจการภายในอื่นจากพวกของเจ้าเอง ซึ่งเขาเหล่านั้น จะไม่ลดละแก่พวกเจ้า ในการก่อความเสียหายให้เกิดขึ้น พวกเขาชอบการที่พวกเจ้าลำบาก แท้จริงความเกลียดชังต่าง ๆ ได้เผยออกมาแล้ว จากปากของพวกเขา และสิ่งที่หัวอกของพวกเขาซ่อนไว้นั้น ใหญ่ยิ่งกว่าแน่นอน เราได้แจกแจงบรรดา บทบัญญัติไว้แก่พวกเจ้าแล้ว หากพวกเจ้าใช้ปัญญากัน"
                    บทบัญญัติ ๘:๔๖   (ซูเราะฮ์ที่ ๘  อัล อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๔๖)
                    "และจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และรอซูลของอัลลอฮ์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน จะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำความเข็มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ  ๔:๑๙  (ซูเราะฮ์ ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ที่ ๑๙)
                    "ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้า การที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกัน การที่พวกเจ้าจะขัดขวางบรรดานางเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง นอกจากว่าพวกนางจะกระทำสิ่งลามก อันชัดแจ้งเท่านั้น และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันอัลลอฮ์ก็ให้มีในสิ่งนั้น ซึ่งความดีอันมากมาย"
                    บทบัญญัติ ๒:๑๙๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๙๐)
                    "และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ชอบบรรดาผู้รุกราน"
                    บทบัญญัติ ๒:๑๙๑  (ซูเราะฮ์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๙๑)
                    "และจงประหัตประหารพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา และจงขับไล่พวกเขา ออกจากที่ ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออก และก่อความวุ่นวายนั้น ร้ายแรงยิ่งกว่าการประหัตประหารเสียอีก และจงอย่าสู้รบกับพวกเขา ณ อัล - มัสยิดิลฮะรอม จนกว่าพวกเขาจะทำร้ายพวกเจ้าในที่นั้น หากพวกเขาทำร้ายพวกเจ้าแล้ว ก็จงประหัตประหารพวกเขาเสีย เช่นนั้นแหละคือ การตอบแทนแก่ผู้ปฎิเสธศรัทธา"
                    บทบัญญัติ ๒:๑๙๓  (ซูเราะฮ์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๙๓)
                    "และจงสู้รบกับพวกเขา จนกว่าการก่อความวุ่นวาย จะไม่ปรากฎขึ้น และจนกว่าการ อิบาดะฮ์ ทั้งหลายจะเป็นสิทธิของอัลลอฮ์เท่านั้น แต่หากพวกเขายุติ ก็ย่อมไม่มีการเป็นปฎิปักษ์ใด ๆ นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมเท่านั้น"
                    บทบัญญัติ ๒:๑๙๕  (ซูเราะฮ์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๑๙๕)
                    "และพวกเจ้าจงบริจาคในทางของอัลลอฮ์ และจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศและจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ชอบผู้ทำดีทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๙:๒๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๒๐)
                    "บรรดาผู้ที่ศรัทธา และอพยพ และต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ ทั้งด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขา ย่อมเป็นผู้มีลำดับชั้นยิ่งใหญ่กว่า ณ ที่อัลลอฮ์ และชนเหล่านยี้แหละพวกเขาคือผู้มีชัยชนะ"
                    บทบัญญัติ ๓:๒๐๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๓  อาละอิบรอน  อายะฮ์ที่ ๒๐๐)
                    "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จะมีความอดทนและจงต่างอดทนซึ่งกันและกัน และจงประจำอยยู่ชายแดน และพึงเกรงกรัวอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าบจะได้รับความสำเร็จ"
            วันที่ ๕  เป็นการปลุกความรู้สึกการต่อสู้และชี้ให้เห็นถึงโทษ หรือบาปของผู้ที่ไม่ยอมออกไปต่อสู้ร่วมกับพวกเขา พยายามปลุกให้ฮึกเหิม โดยให้เชื่อว่าการต่อสู้ของพวกเขานั้น พระเจ้าจะอยู่ข้างพวกเขา และท่านนบีจะดุอา (ขอพร) ให้การต่อสู้ของพวกเขา และพระเจ้าจะส่งมลาอิกะฮ์ (เทวทูต) มาช่วยในการต่อสู้ของพวกเขา โดยอ้างบทบัญญัติจากคัมภีร์กุรอาน ๗:๑๙๖, ๙:๓๙, ๙:๓๘
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้างในวันที่ ๕
                    บทบัญญัติ ๗:๑๙๖  (ซูเราะฮ์ที่ ๗  อัล - อะอ์รอฟ  อายะฮ์ที่ ๑๙๖) "แท้จริงผู้คุ้มครองฉันนั้นคือ อัลลอฮ์ ผู้ให้คัมภีร์ลงมา และในขณะเดียวกันอัลลอฮ์ ก็คุ้มครองบรรดาผู้ประพฤติดีทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๙ :๓๙  (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๓๙)
                    "ถ้าหากพวกเจ้าไม่ออกไป อัลลอฮ์ก็จะลงโทษพวกเจ้าอย่างเจ็บปวด และจะให้พวกหนึ่งอื่นจากพวกเจ้ามาแทน และพวกเจ้าไม่สามารถ จะยังความเดือดร้อน ให้เแก่อัลลอฮ์ได้แต่อย่างใด และอัลลอฮ์นั้นมีเดชานุภาพเหนือจากสิ่งทุกอย่าง"
                    บทบัญญัติ ๙:๓๘  (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาฮ์  อายะฮ์ที่ ๓๘)
                    "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย มีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ เมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงออกไปต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ พวกเจ้าก็แนบหนักอยู่กับพื้นดิน พวกเจ้าพึงวพอใจต่อชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ แทนปรโลกกระนั้นหรือ สิ่งอำนวยความสุขแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้นั้น ในปรโลกแล้วไม่มีอะไร นอกจากสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น"
            วันที่ ๖  เป็นการปลุกให้เตรียมตัวเตรียมใจก่อนออกปฏิบัติการ โดยเริ่มตั้งแต่การขออภัยโทษในความผิดบาปของตน (เตาบะฮ์) ให้มีความรู้สึกรักการตายในหนทางของศาสนา ไม่มีความเกรงกลัวภัยใด ๆ เพราะได้รับความคุ้มครองจากพระเจ้าแล้ว ส่วนผู้ที่ไม่กล้าออกไปร่วมปฏิบัติการพร้อมพวกเขา เพราะไม่เข้าใจหลักคำสอนที่แท้จริงของอิสลามปลุกให้เห็นว่า หมดเวลาที่จะรอคอยแล้ว ถึงเวลาที่จะเสียสละชีวิตในหนทางของศาสนา โดยอ้างบทบัญญัติจากคัมภีร์กุรอาน ๔:๗๐, ๘:๑๕, ๘:๔๕, ๙:๔๑, ๒:๒๑๖, ๑๔:๓
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้างในวันที่ ๖
                    บทบัญญัติ ๔:๗๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๔  อัน - นิซาอ์  อายะฮ์ที่ ๗๐)
                    "ความกรุณาดังกล่าวนั้น มาจากอัลลอฮ์และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮ์เป็นผู้รอบรู้"
                    บทบัญญัติ ๘:๑๕ (ซูเราะฮ์ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๑๕)
                    "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าพบบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาเคลื่อนมา พวกเจ้าจงอย่าหันหลังหนีพวกเขา"
                    บทบัญญัติ ๘:๔๕ (ซูเราะฮ์ที่ ๘  อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๔๕)
                    "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าพบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็จงยืนหยัดเถิด และจงรำลึกถึงอัลลอฮ์มาก ๆ  เพื่อว่าพวกวเจ้าจะได้รับความทสำเร็จ"
                    บทบัญญัติ ๙:๔๑ (ซูเราะฮ์ที่ ๙  อัต - เตาบะฮ์  อายะฮ์ที่ ๔๑)
                    "พวกเจ้าจงออกไปกันเถิด ทั้งผู้ที่มีสภาพว่องไวและผู้ที่สภาพเชื่องช้า และจงเสียสละทั้งด้วยทรัพย์ของพวกเจ้า และชีวิตของพวกเจ้าสในทางของอัลลอฮ์ นั่นแหละคือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้"
                    บทบัญญัติ ๒:๒๑๖ (ซูเราะฮ์ที่ ๒  อัล - บะเกาะเราะฮ์  อายะฮ์ที่ ๒๑๖)
                    "การสู้รบนั้นได้กำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว ทั้งที่นั่นเป็นที่รังเกียจแก่พวกเจ้า และอาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นดีสำหรับพวกเจ้า และกว็อาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้าชอบ สิ่งหนึ่งทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งเลวร้ายแก่พวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นรู้ดี แต่พวกเจ้าไม่รู้"
                    บทบัญญัติ ๑๔:๓ (ซูเราะฮ์ที่ ๑๔  อิบรอฮิม  อายะฮ์ที่ ๓๘)
                    "บรรดาผู้พอใจเลือกเอาชีวิตในโลกนี้เหนือปรโลก และปิดกั้นจากทางของอัลลอฮ์ และต้องการที่จะให้มันคดเคี้ยว ชนเหล่านั้นอยู่ในการหลงทางที่ห่างไกล"
            วันที่ ๗  สร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติการว่า อาจมีมุสลิมบางคนไม่เห็นด้วย ก็ขออย่าได้กังวล เพราะพระเจ้าได้ประทับตราให้หัวใจพวกเขามืดบอด ไม่สามารถเห็นสัจธรรมได้ ไม่ต้องกังวลต่อการฆ่าคนนอกศาสนา และให้ปฏิบัติดีต่อมุสลิม โดยอธิบายว่า การฆ่าคนนอกศาสนา และแม้แต่การฆ่าญาติพี่น้องพ่อแม่ ก็สามารถทำได้ พราะเป็นการสร้างความโปรดปรานแก่พระเจ้า
            เมื่อได้ชัยชนะแล้ว หรือยึดดินแดนได้แล้ว พวกเขาจะจัดการปกครองตามแนวคิดว่า
                ๑. เนื่องจากดินแดนบริเวณดังกล่าว เคยถูกปกครองด้วยพระราชาที่สืบเชื้อสายมาจากกลันตัน จึงเป็นการเหมาะสม ที่จะสถาปนาราชวงศ์กลันตันขึ้นปกครอง ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนนีมัชฮับซาฟีอี (สำนักความคิดสายอิหม่ามซาฟีอี)
                ๒. ควรมีสภาสูงสุด ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการมุสลิม ผู้นับถือแนวทางมัชฮับซาฟีอี และตัวแทนบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ สภานี้มีอำนาจสูงสุดในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้นำ
                ๓. ให้มีสภาประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง จากประชาชนบริหารประเทศ สุดท้ายได้มีการอ้างบทบัญญัติต่าง ๆ สลับกับคำปลุกระดมโดยอ้างบทบัญญัติ ที่เคยอ้างมาแล้วคือ ๓:๑๓๙ , ๓:๑๕๐, ๕:๔๗, ๘:๑๗, ๔:๕๘, ๕:๙
                บทบัญญัติในคัมภีร์กุรอ่านที่นำมาอ้างในวันที่ ๗
                    บทบัญญัติ ๓:๑๓๙  (ซูเราะฮ์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๓๙)
                    "และพวกเจ้าจงอย่าท้อแท้ และจงอย่าเสียใจ และพวกเจ้านั้นคือ ผู้ที่สูงส่งยิ่ง หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา"
                    บทบัญญัติ ๓:๑๕๐  (ซูเราะฮ์ที่ ๓  อาละอิมรอน  อายะฮ์ที่ ๑๕๐)
                    "แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากคือผู้ช่วยเหลือพวกเจ้า และอัลลอฮ์เป็นผู้ดีเยี่ยมในบรรดาผู้ช่วยเหลือทั้งหลาย"
                    บทบัญญัติ ๕:๔๗  (ซูเราะฮ์ที่ ๕  อัล - มาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่ ๔๗)
                    "และบรรดาผู้ที่ได้รับ อัล - อินญีล  ก็จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ให้ลงมาในนั้น และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วย สิ่งที่อัลลอฮ์ได้ให้ลงมาแล้ว ชนเหล่านั้นคือ ผู้ที่ละเมิด "
                    บทบัญญัติ ๘:๑๗  (ซูเราะฮ์ที่ ๘ อัล - อัมฟาล  อายะฮ์ที่ ๑๗)
                    "พวกเจ้ามิได้ฆ่าพวกเขาแต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ฆ่าพวกเขา และเจ้ามิได้ขว้าง ขณะที่เจ้าขว้าง แต่ทว่าอัลลอฮ์ต่างหากที่ขว้าง และเพื่อว่าวอัลลอฮ์จะทดสอบบรรดาผู้ศรัทธาอย่างงดีงามจาออัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นได้ยิน รอบรู้"
                    บทบัญญัติ ๔:๕๘  (ซูเราะฮ์ที่ ๔  อัน - มิซาอ์  อายะฮ์ที่ ๕๘)
                    "แท้จริงอัลลอฮ์ใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮ์แนะนำด้วยเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ได้ยินและเห็น"
                    บทบัญญัติ ๕:๙  (ซูเราะฮ์ที่ ๕  อัล - มาอิดะฮ์  อายะฮ์ที่ ๙)
                    "และอัลลอฮ์ได้สัญญาแก่บรรดาผู้ที่ศรัทธา และประกอบสิ่งที่ดีงามทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นคือการอภัยโทษ และรางวัลอันยิ่งใหญ่"
                ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว เป็นภาพรวมของเอกสารที่ชื่อว่า เบอร์ญีฮาด ดิ ปัตตานีที่เขียนขึ้น เพื่อปลุกความรู้สึกชาติพันธุ์นิยม โดยนำเอาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และคำสอนของศาสนา มาเป็นเครื่องมือในการสร้าง หรืออธิบายความชอบธรรม ในการปฎิบัติการประกอบกับกระแสของโลกที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิม มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น
                การต่อสู้กับการปฎิบัติการของคนกลุ่มนี้ นอกเหนือจากการปฎิบัติในเชิงกายภาพ เพื่อหยุดยั้งการกระทำอันโหดเหี้ยมแล้ว เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ที่จะช่วยกันเป็นกำลังสำคัญในการอธิบายความเข้าใจที่ถูกต้อง ของหลักคำสอนของอิสลามในเรื่องนี้


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์