สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ - ๓๑ ส.ค.๕๓
การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงเวลารายงาน ได้แก่การเคลื่อนไหวของนักการเมือง นักวิชาการ สื่อ และผู้ที่อ้างตนว่าเป็นมลายูอิสลามได้ลดการเคลื่อนไหวเรียกร้องการแบ่งแยกการปกครองลงอย่างน่าสังเกต เช่นเดียวกับกลุ่มการก่อเหตุที่ลดความถี่ในการก่อเหตุลง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้พบว่าการก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ส.ค.๕๓ มีจำนวน ๕๓ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับในช่วงเดียวกันของ ก.ค.๕๓ ซึ่งมีจำนวน ๔๘ เหตุการณ์ และ ๕๔ เหตุการณ์ใน มิ.ย.๕๓ หากการรุกกดดัน/กำจัดไทยพุทธออกจาก ๓ จชต.อย่างแฝงเร้น โดยเฉพาะการกดดันผ่านกระบวนการยุติธรรมยังคงเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและน่าวิตกอย่างยิ่ง
ในขณะที่ กลุ่มแกนนำและ sympathizer มลายูอิสลาม ได้ลดบทบาทการปกป้อง ร้องขอและต่อต้านรัฐบาล ทหาร และไทยพุทธลง กลับปรากฏว่า รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ และngo ชื่อไทยได้อาศัยช่องว่างดังกล่าวเข้ามาเอาใจ ซื้อใจมลายูอิสลามกันอย่างขนานใหญ่ โดยใช้การเรียกร้องให้ยกเลิกการส่งทหารนอกพื้นที่ลง ๓ จชต.และการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินซึ่งเป็นมาตรการที่สามารถป้องปรามการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อเหตุอย่างได้ผล มาเป็นเครื่องมือ ซึ่งบางการกระทำดูเหมือนว่าจะส่งผลให้ความแตกแยกและความหวาดระแวงระหว่างพุทธและอิสลามร้าวลึกลงไปอีก
การป้องปรามการก่อเหตุของ จนท.ซึ่งยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิผล ในระดับที่น่าพอใจอันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาศึกรอบด้านทั้งภายในและภายนอกจนไม่มีเวลามาเอาใจและเชิดชูอิสลาม ทำให้ จนท.ทำงานสดวกขึ้น
แนวโน้มของสถานการณ์ หากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เชื่อว่าสถานการณ์ใน ๓ จชต.จะยังคงสภาพดังที่เป็นอยู่ในช่วง ๑-๒ เดือนที่ผ่านมาในแนวโน้มความรุนแรงและการเคลื่อนไหวของแกนนำที่ชะลอตัวลง ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำงานสกัดความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุได้อย่างคล่องตัว ขณะที่กำลังใจของแนวร่วมจะลดลงจากการที่ไม่มีรัฐบาลหนุนหลัง และแรงหนุนช่วยจากภายนอกโดยเฉพาะจากมาเลเซียคู่แข่งทางเศรษฐกิจของไทยซึ่งส่งผ่านมาทางรัฐบาลไทยลดลง ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องป้องกันอย่างเร่งด่วน คือ
- การขจัดคนไทยพุทธที่ บ.ลาลู ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ปลุกระดมให้อิสลามเกิดความเกลียดชังและไม่พอใจ จนอาจนำไปสู่การใช้กำลังเข้าถล่มไทยพุทธในพื้นที่นี้ได้
- การขจัดเผ่าพันธุ์ไทยพุทธที่ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งมีคนไทยพุทธอยู่ประมาณ ๘๐๐ คนเมื่อปี ๒๕๕๐ โดยในช่วงรายงานเป็นการขจัดไทยพุทธใน ม.๓ ซึ่งเป็นเขตเทศบาล จนทำให้คนไทยพุทธ ๘ ครอบครัวอพยพออกจากพื้นที่แล้ว เหลืออยู่ ๖ ครอบครัว และกำลังกดดันไล่กลไกของรัฐที่เป็นไทยพุทธและแยกอิสลามที่อยู่กับไทยพุทธที่ ม.๒ ซึ่งสำเร็จย่อมหมายถึงการล่มสลายของชุมชนพุทธ ๑ ใน ๒ ชุมชน ที่มีอยู่ในตำบลนี้ ปัญหาที่ต้องพึงตระหนัก - การรุกทำลายพื้นที่หลังพิงของไทยพุทธ ทั้งที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมและยังไม่เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ใน ๒ พื้นที่ คือ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และ อ.เบตง จ.ยะลา กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคนทั่วๆไปยังอาจไม่เห็นถึงภัยคุกคามดังกล่าว อ.โคกโพธิ์ ไทยพุทธยังไร้เดียงต่อภัยคุกคาม จึงง่ายต่อการกำจัดโดยการสร้างความหวาดกลัว โดยในช่วงรายงานมีการดักยิง สามี ภรรยาไทยพุทธในอำเภอเป็นคู่ๆทั้งในและนอกพื้นที่อย่างผิดสังเกตุ ซึ่งสามารถกดดันให้คนไทยพุทธอพยพหนีออกจากพื้นที่ได้แล้ว ที่ม.๖ ต.ควนโนรี อ.เบตง ไทยพุทธและคนไทยเชื้อสายจีนเข้มแข็งเพราะสามารถใช้กำลังได้ในทันทีที่เกิดเหตุ แนวร่วมจึงอาศัยมือของเจ้าหน้าที่รัฐทำลายความเข้มแข็งดังกล่าวลงได้อย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิ์ผลตามลำดับ สถิติและนัยการก่อเหตุ การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ส.ค.๕๓ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๕๓ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับ ๔๘ เหตุการณ์ ใน ก.ค. ๕๓ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ ที่มีการก่อเหตุ มากที่สุด ๒๑ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.กะพ้อ และ อ.หนองจิก ๒ เหตุการณ์ เท่ากัน รองลงมาคือ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๑๗ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๕ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๖ เหตุการณ์ ส่วน ส่วน จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๕๓ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๑๒ เหตุการณ์ การซุ่มโจมตี ๓ เหตุการณ์ และการเผา ๒ เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม ๖๔ คน แยกเป็น พุทธ ๓๔ คน (เสียชีวิต ๑๕ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน) อิสลาม ๓0 คน (เสียชีวิต ๑๑ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน)
ข้อพิจารณา ๑. การก่อเหตุซึ่งแม้จะมีความถี่ไม่ต่างจากช่วง ๒-๓ เดือนที่ผ่านมา หากยังมีนัยถึงแรงกดดันอย่างหนักและอย่างเจาะจงต่อคนไทยพุทธ โดยเฉพาะที่ จ.ปัตตานี อาทิ - การเข้าไปกราดยิงคนไทยพุทธในร้านซ่อมจักรยานที่ ม.๔ ต.รูสะมีแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ทำให้คนไทยพุทธบาดเจ็บสาหัส ๔ คน ไม่เว้นแม้เด็กอายุ ๔ ขวบ เมื่อ ๗ ส.ค.๕๓ - การบุกเข้าไปจ่อยิงนายสัญชัย อัครพงษ์พันธ์ รอง ผอ.โรงเรียนบ้านนอกเสียชีวิตต่อหน้าภรรยาและลูกในบ้านที่ ม.๓ เขตเทศบาลตำบลปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เมื่อ๑๗ ส.ค.๕๓ -การไล่ยิงสามีภรรยาไทยพุทธจาก ม.๖ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ เสียชีวิตในพื้นที่ เมื่อ ๒๓ ส.ค.๕๓ -การไล่ยิงสามีภรรยาไทยพุทธจาก ม.๓ ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี บาดเจ็บสาหัส ๑ คน ในพื้นที่ เมื่อ ๒๗ ส.ค.๕๓ - การไล่ยิงสามีภรรยาไทยพุทธจาก ม.๒ ต.คอกกระบือ เสียชีวิตที่ ม.๓ ต.พ่อมิ่ง จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๓ ซึ่งส่งผลให้จำนวนความสูญเสียของไทยพุทธสูงกว่าอิสลาม(ไม่นับรวมความสูญเสียด้านทรัพย์สินและธุรกิจ) ๒. เป็นที่น่าสังเกตุว่าการก่อเหตุในช่วงเวลารายงานมีการกระทำต่อเป้าหมายกลไกของรัฐที่เป็นอิสลามหลายเหตุการณ์ อาทิ - การกราดยิงกำนันและสารวัตรกำนัน ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ เสียชีวิตและ ผช.ผญบ.ม.๒ ตำบลเดียวกันบาดเจ็บสาหัส ที่ บ้านไอร์กลูแป ม.๒ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ เมื่อ ๓ ส.ค.๕๓ - การยิงผช.ผญบ.ม.๒ ต.บาโรย อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เสียชีวิตบนถนนสาย ๔๒ ปัตตานี-นราธิวาส ม.๔ ต.กระหวะ อ.มายอ เมื่อ ๑๗ ส.ค.๕๓ - การยิงผช.ผญบ.สะปอม เสียชีวิตที่ ม.๓ ต.ปะแต อ.ยะหา - การยิงผช.ผญบ.หน้าโรงเรียนบ้านโคกขี้เหล็ก ม.๖ ต.เข้าตูม อ.ยะรัง เมื่อ ๒๓ ส.ค.๕๓ - การยิงพนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี บาดเจ็บสาหัสที่ บ้านปาเซ ม.๗ ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๒๗ ส.ค.๕๓ (ไม่นับรวม ชรบ.ซึ่งมีอยู่หลายเหตุการณ์) ๓. การก่อเหตุมีลักษณะของความพยายามก่อเหตุเพื่อกลบความอ่อนล้า และเพื่อให้เห็นว่ายังมีความฮึกเหิมอยู่ ด้วยการซุ่มยิงจนท.แต่ก็สามารถทำได้เพียง ๓ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยเกิดที่ จ.ปัตตานี ๒ เหตุการณ์และ จ.นราธิวาส ๑ เหตุการณ์ ที่สำคัญซึ่งเป็นการท้าทายอย่างยิ่งคือการลอบวางระเบิดดักสังหาร พ.ต.ท.สมใจ เหมืองมิ้น สว.ป.สภ.ระแงะ และพวกได้รับบาดเจ็บสาหัส ๓ นายบริเวณตรงข้ามบ้านพักของ นายนัจมุดดีน อูมา ส.ส.นราธิวาส พรรคมาตุภูมิ เมื่อ ๑๒ ส.ค.๕๓ ๔. การก่อเหตุมีลักษณะของความพยายามคงสถิติไม่ให้ตกลง ดังจะเห้นได้จากการเร่งก่อเหตุถึง ๒0 เหตุการณ์ในช่วง ๒๕-๓๑ ส.ค.๕๓ ขณะที่ในช่วง ๓ สัปดาห์แรกมีการก่อเหตุเพียง ๓๓ เหตุการณ์ เท่านั้น การเคลื่อนไหวของแกนนำและ sympathizer นักการเมือง นักวิชาการ สื่อ และผู้ที่อ้างตนว่าเป็นมลายูอิสลามได้ลดการเคลื่อนไหวเรียกร้องการแบ่งแยกการปกครองลงอย่างน่าสังเกต หากการรุกกดดัน/กำจัดคนไทยพุทธออกจาก ๓ จชต.อย่างแฝงเร้น โดยเฉพาะการกดดันผ่านกระบวนการยุติธรรมยังคงเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและน่าวิตกอย่างยิ่ง - การเร่งสลายไทยพุทธ ใน ม.๒ และในเขตเทศบาล (ม.๑และม.๓ )ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ ของนายสะมาอูน เวาะเย็ง อิหม่ามมัสยิดบ้านนาพร้าว/แกนนำแนวร่วม ใน ม.๒ ต.ปะนาเระ โดยการฆ่าขับไล่ชาวบ้านและก่อเรื่องทะเลาะวิวาทเพื่อปลดนาย สมพร ผญบ.ไทยพุทธ ม.๒ พร้อมๆไปกับการกดดันให้เกิดการยอมรับให้บริเวณมัสยิดเป็นพื้นที่ปลอดอำนาจรัฐ อันจะกลายมาเป็นตัวอย่างแก่มัสยิดอื่นๆ - การสลายพลังของไทยพุทธใน อ.เบตง จ.ยะลาผ่านกลไกของรัฐ ซึ่งจะทำให้คนไทยพุทธและคนไทยเชื้อสายจีนอ่อนแอลงจนกลายมาเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อเหตุดังเช่นพื้นที่อื่นๆในที่สุด บทความ เมื่อ"ตำรวจ"วิพากษ์"ตำรวจ" จุดอ่อนงานสอบสวนและอันตรายจากการติดอาวุธประชาชน ซึ่งตีพิมพ์ในสื่อสถาบันอิศรา เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๓ ......ในความเห็นของผมคิดว่ากองกำลังภาคประชาชนที่เข้ามาทำงานด้วยจิตอาสาถือว่า เป็นเรื่องที่ดี
แต่ช่วงหลังๆ ภาครัฐเริ่มให้หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เช่นมอบอาวุธ มีสิทธิพิเศษต่างๆ...ในความเห็นของผมคิดว่า....เป็นปัจจัยที่สร้างปัญหา และสร้างความแตกแยกให้กับชุมชน
.. ตัวอย่างที่ผ่านมาก็เคยเกิดเหตุ อรบ. (อาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน) ยิงเด็กวัยรุ่นมุสลิมเสียชีวิต
.. - การเตรียมสลายชุมชนไทยพุทธ บ้านลาลู ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยใช้การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ปลุกระดมให้มีการต่อต้านคนไทยพุทธในพื้นที่นี้ สำหรับแนวร่วมและ sympathizer ที่ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะ ปกป้อง ร้องขอ และต่อต้านอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะการชี้นำให้เห็นความไม่เป็นธรรมที่อิสลามได้รับและการแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยการแบ่งแยกการปกครอง และที่สำคัญคือการปลุกระดมให้ต่อต้านการประกอบอาชีพของคนไทยพุทธ - สถาบันอิศรา ลงบทความ ฟังความรู้สึกของ"คนสิ้นอิสรภาพ" และร่วมบริจาคในเดือนถือศีลอดช่วยผู้ต้องขังคดีความมั่นคง เมื่อ ๑๔ ส.ค.๕๓ ซึ่งเป็นการออกสัมภาษณ์ผู้ต้องขังโดยการตั้งคำถามนำ เพื่อนำสู่คำตอบที่กำหนดไว้แล้วคือ การแบ่งแยกการปกครองแบบมลายูเพื่อมลายู บทความ เมื่อ"ตำรวจ"วิพากษ์"ตำรวจ" จุดอ่อนงานสอบสวนและอันตรายจากการติดอาวุธประชาชน เมื่อ๑๕ สิงหาคม ๕๓ ซึ่งเป็นการออกสัมภาษณ์นายตำรวจอิสลามเพื่อให้ได้ผลสรุปออกมาว่า การที่คนไทยพุทธมีอาวุธป้องกันตนเอง ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ บทความ สมัชชาปฏิรูปชุด"หมอประเวศ"เสนอรัฐ "งดใช้ พ.ร.ก.- ถอนทหาร ๓ เดือน" ทดลองดับไฟใต้! เมื่อ ๒๕ ส.ค.๕๓ ซึ่งชี้นำให้มีการหยุดส่งทหารลง ๓ จชต.และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน - มุสลิมไทยดอทคอม กำลังปลุกระดมให้มีการต่อต้านการประกอบอาชีพของคนไทยพุทธที่บ้านลาลู ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ ผู้สื่อข่าวมุสลิมไทย ได้สอบถามกับแหล่งข่าวหลายๆคน ก็สร้างความประหลาดใจกับข่าว นำลองกอง ไปผลิตไวน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งผลิตอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ไวน์ เป็นเครื่องดื่มมึนเมา ที่ผิดหลักการศาสนบัญญัติ (หรือฮาราม) แหล่งข่าวกล่าวว่าไม่ควรที่จะผลิตสินค้าฮารามในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะเหล้าหรือไวน์ เลย อีกทั้งมุสลิมในพื้นที่หากทราบข่าวคงไม่มีความสุข.....สำนักข่าวมุสลิมไทยจะเกาะติดไวน์บ้านลาลู ต่อไป... - เพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑๕ (๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้) ให้สัมภาษณ์ สิ่งที่ทุกคนต้องการคือการดูแลด้านจิตใจ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลของภาครัฐ ฉะนั้นถึงแม้การทำงานของราชการจะทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ในบางมิติที่สำคัญก็ยังไม่ได้ทำ เช่น บุตรของผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ยังไม่มีโครงการใดที่มุ่งเยียวยาและปลูกฝังสิ่งที่ถูกต้องให้กับพวกเขา หมอไม่อยากให้รัฐมองว่าคนเหล่านี้เป็นครอบครัวของผู้ก่อการ แต่อยากให้มองว่าพวกเขาอีกชีวิตหนึ่งในผืนแผ่นดินไทย
.สถาบันอิศรา เมื่อ ๘ ส.ค.๕๓ - ปัทมา หีมมิหน๊ะ แกนนำกลุ่มด้วยใจ ...กล่าวอีกว่า ขณะนี้จัดกิจกรรมเยี่ยมครอบครัวผู้ต้องขังไปแล้วจำนวน ๑๒๐ ครอบครัว แยกเป็น ๔ จังหวัด จังหวัดละ ๓๐ ครอบครัว รวม ๑๒๐ ครอบครัว โดยของเยี่ยมที่จะไปมอบให้ครอบครัวผู้ต้องขัง มีทั้งอินทผลัม ข้าวสาร น้ำตาลทราย น้ำมันพืช และอื่นๆ ใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๕๓,๒๐๐ บาท ปัญหาที่พบในขณะนี้คือครอบครัวผู้ต้องขังมีมากถึง ๔๐๐-๕๐๐ ครอบครัว แต่ของบริจาคมีอยู่จำกัด เกรงว่าจะช่วยเหลือไม่ครบทุกครอบครัว จึงอยากขอให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคด้วย
ปฏิบัติการการซื้อใจอิสลามของรัฐ ข้าราชการและ ngo ชื่อไทย นักการเมือง ข้าราชการ และ ngo ชื่อไทยได้อาศัยช่องว่างที่กลุ่มแกนนำและ sympathizer มลายูอิสลามลดการเคลื่อนไหวลง เข้ามาประจบซื้อใจมลายูอิสลามกันอย่างขนานใหญ่ โดยใช้การเรียกร้องให้ยกเลิกการส่งทหารนอกพื้นที่ลง ๓ จชต.และการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือ ซึ่งบางการกระทำดูเหมือนว่าจะส่งผลให้ความแตกแยกและความหวาดระแวงระหว่างพุทธและอิสลามร้าวลึกลงไปอีก - ยธ.อนุมัติเงินประกันตัวล็อตแรก ๑๕ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง อัยการสั่งถอนฟ้องเหยื่อ จีที ๒๐๐......นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ลงนามในคำสั่งที่ ยธ.๒๒๔/๕๓ เรื่องตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีความมั่นคงและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือเรื่องการขอประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องขังคดีความมั่นคงอย่างเป็นระบบ.... - โครงการวันแม่...รู้เท่าทันลูก นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผอ.ศอ.บต. เป็นประธานเปิดโครงการวันแม่...รู้เท่าทันลูก เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ ส.ค. ๕๓ โดยมีองค์กรเอกชน ๑๖ แห่ง นพ.แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ ส.ส.นราธิวาส และประธานที่ปรึกษาสถาบันอันมะหะดีย์ นายการุณ ไทยสนิท นายกอบต.กะลุวอเหนือ รวมทั้งแม่บ้านชาวไทยมุสลิม ๑๓ อำเภอกว่า ๔,๐๐๐ คน เข้าร่วมโครงการ - ที่ประชุมสมัชชาปฏิรูปที่มี นายประเวศ วะสี เป็นประธาน เมื่อ ๒๕ ส.ค.๕๓ ได้สรุปแนวทางการทำงานรวม ๕ ด้าน โดยหนึ่งในนั้นคือข้อเสนอแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการทดลองงดใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) และงดส่งทหารลงพื้นที่เป็นเวลา ๓เดือน ซึ่งปรากฏว่านายกรัฐมนตรีได้ผลีผลามตอบรับเห็นด้วยในทันที - คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา ซึ่งมี พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ ประธาน ได้นำคณะกรรมาธิการและผู้เกี่ยวข้องประมาณ ๕0 คน เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อ ๒๕ ส.ค.๕๓ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสรุปได้ว่า......ทุกความขัดแย้งจะสามารถยุติลงได้จากการริเริ่มพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk) กับกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐ และให้รัฐบาลเร่งรัดให้มีการสะสางคดีต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจและไม่ได้รับความเป็นธรรม อาทิ กรณีการเสียชีวิตของประชาชนจากการสลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๕ ต.ค.๔๗ เป็นต้น - คณะธรรมยาตราเดินเท้ารณรงค์สร้างสันติวิธี ๑,๑๐๐ กม.สู่ปัตตานี นำโดยนายโคทม อารียาได้เดินเท้าจากศาลายา จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๑๑ ก.ค.๕๓ โดยมีผู้ร่วมเดินทางตลอดเส้นทาง ๖ คน จนถึงขณะนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเดินรวม ๑๖ คน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมเดินเท้าให้ถึงมัสยิดกลางปัตตานีในวันที่ ๑ ก.ย.๕๓ นี้ ให้สัมภาษณ์ ต่อสื่อเมื่อ ๖ ส.ค.๕๓
การก่อเหตุใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนเองมองว่าเกิดจาก ๒ ประเด็นหลัก คือ ความอยุติธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนในพื้นที่ และเรื่องความเป็นอัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ... - พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยังแสดงความไม่พอใจโครงการใช้เงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศประกันตัวผู้ต้องขังคดีแบ่งแยกดินแดนของยธ. .... กรณีให้สิทธิ์ผู้ต้องขังประกันตัวเองได้ โดยสามารถใช้เงินจากกองทุนยุติธรรม ปัญหาก็คือต้องให้เจ้าหน้าที่สามฝ่ายรับรอง ได้แก่ ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมาก เพราะคนเหล่านี้ถูกจับจากความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่สามฝ่าย แล้วจะให้เจ้าหน้าที่สามฝ่ายรับรองให้ประกันตัวได้อย่างไร
............................................
|