ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑

                ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน จชต.ระหว่าง ๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑ ยังคงได้แก่การก่อเหตุซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๑๑๘ เหตุการณ์ โดย จ.ปัตตานีมีการก่อเหตุมากที่สุดคือ ๓๙ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส และ ยะลามีการก่อเหตุเท่ากันคือ จังหวัดละ ๓๗ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลามีการก่อเหตุเพียง ๕ เหตุการณ์ ทั้งนี้พบว่าการก่อเหตุที่ดูเหมือนจะมุ่งเน้นการลอบวาง  ระเบิดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัยที่สุดในการเพิ่มสติถิ โดยเพิ่มการลอบวางระเบิดต่อเป้าหมายซึ่งเป็น soft target ที่เป็นไทยพุทธด้วย โดยไม่คำนึง หากจะมีคนอิสลามเข้ามาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตด้วยในลักษณะของความย่ามใจ/ได้ใจ ดังที่เคยเกิดขึ้นใน ต.ค.๔๙ ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่มีการยยึดอำนาจการปกครองเมื่อ ๑๙ ก.ย.๔๙
            แกนนำแนวร่วมและ sympathizer อิสลาม กำลังเร่งสร้างประเด็นความไม่เป็นธรรม มาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างบทบาทตนเองด้วยการนำเสนอและยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งในบางประเด็นได้กลายมาเป็นการตอกย้ำความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการชี้นำให้เห็นว่ารัฐเอื้อไทยพุทธมากกว่ามลายูอิสลาม การแสดงความข้องใจ/ไม่ไว้วางใจกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง หรือการแสดงการเป็นตัวแทนอิสลามต่อรองกับรัฐบาล ที่สำคัญคือ มีการรวมตัวเป็นกลุ่มพลังร่วมอาชีพอันจะมีผลต่อการต่อรองและการตัดสินใจของรัฐบาล ขณะที่พบว่าชาวบ้านอิสลามมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรต่อทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไม่อาบน้ำศพผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้ จนท.เข้าไปตรวจสอบผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้ปากคำต่อ จนท.ของผู้บาดเจ็บ และการไม่ยอมให้ทหารพัฒนาตั้งฐานในพื้นที่
            อย่างไรก็ตามปรากฎว่ารัฐบาลก็ยังคงมุ่งมั่นซื้อและรักษาน้ำใจอิสลามต่อไป ทั้งโดยการประกาศจะดูแลกันเป็นการพิเศษ การตัดสินปล่อยตัวผู้ต้องหา และการเตรียมนำผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนอิสลามให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารและการปกครองพื้นที่ของตนเอง ขณะที่การตรวจค้น/จับกุม ในช่วงรายงานยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้การจับกุมและวิสามัญแกนนำและแนวร่วมคนร้ายได้อย่างน่าพึงพอใจ
            แนวโน้มของสถานการณ์
            แนวโน้มของสถานการณ์ใน จชต. ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเชื่อว่าน่าจะเลวร้ายลง เมื่อพิจารณาจาก
            ๑. น่าจะมีความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทหารผ่าน กอ.รมน.กับหน่วยงานพลเรือนผ่านการตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) จะทำให้การประสานแก้ปัญหา   จชต.ที่กำลังได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมต้องสะดุดลงอย่างน่าเสียดาย
            ๒. กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาลกำลังเน้นใช้มลายูอิสลามเป็นเครื่องมือสะท้อนความไม่เป็นธรรมเพื่อ discredit  รัฐบาล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ความเด็ดขาดต่อแนวร่วมอิสลาม ที่กำลังสัมฤทธิ์ผลอยู่
            ๓. การเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับการหนุนช่วยจากอิสลามผ่าน พธม.น่าจะทำให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์ทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย จะส่งผลกระทบต่อขวัญ กำลังใจทำให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เกิดความลังเลและไม่กล้าตัดสินใจ

สถิติและนัยของการก่อเหตุ<
            การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๑๑๘ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจาก ๑๐๐ เหตุการณ์ใน พ.ย.๕๑โดยเป็นการก่อเหตุกระจายกันไป ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดย จ.ปัตตานีมีการก่อเหตุสูงสุด ๓๙ เหตุการณ์ ทั้งนี้ อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๕ เหตุการณ์ และ อ.สายบุรี ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ และ อ.รือเสาะ ๗ เหตุการณ์ เท่ากับ จ.ยะลา การก่อเหตุ ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๓ เหตุการณ์ และ อ.รามัน ๑๑ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๕ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๘ เหตุการณ์ (เป็นการวางระเบิด Hard Target   ๑๗ เหตุการณ์) การซุ่มโจมตี (hard target  ) เกิดขึ้น ๑๗ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา  ๑๐ เหตุการณ์ และการก่อกวน เหตุการณ์ อาทิ การถอดน๊อตเสาไฟฟ้า หมุดรางรถไฟ ยิงกราดบ้านเรือน เผาเรือน โยนระเบิดใส่รถ ๗ เหตุการณ์
            ข้อสังเกตุของการก่อเหตุใน ธ.ค.๕๑ พบว่ามีลักษณะของ
            ๑. การรุกเพื่อเป็นฐานพลังให้กับแกนนำที่เป็นนักการเมืองและที่แอบแฝงอยู่ในรูปขององค์กรเอกชน/  หากมีข้อเสนอต่อรองจากรัฐบาล
            ๒. ความย่ามใจ/ได้ใจ ในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเกือบตลอดปี ๒๕๕๐
            ๓. การวางระเบิดโดยเฉพาะการมุ่งเป้าต่อ soft traget   ที่เป็นไทยพุทธ โดยไม่คำนึงหากจะมีคนอิสลามเข้ามาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตด้วย ในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดใน ต.ค.๔๙
            ๔. การกระจายการกอ่เหตุใน ๓ จชต.ให้มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหากจะเกิดการจต่อรองใด ๆ ขึ้น น้ำหนักการต่อรองจะได้ครอบคลุมทั้ง ๓ จังหวัด
            ๕. การสูญเสียของ จนท.ในช่วงรายงานสูงขึ้นอย่างน่าวิตกดังเช่นกรณีการหลอกล่อให้ จนท.ไปติดกับโดนระเบิด ที่ร้านขายของชำ ม.๑ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม ๕ ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจและชาวบ้านบาดเจ็บ ๑๒ ราย เมื่อ ๕ ธ.ค.๕๑ กรณีการลอบวางระเบิดข้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บูกิต หมู่ ๑๒ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง ทำให้ทหารบาดเจ็บ ๘ ราย เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๒๕๕๑ กรณีการซุ่มยิง จนท.ทหารร้อย ร.๑๕๒๒ ที่ ม.๙ ต.ปะแต อ.ยะหา เป็นเหตุให้ทหารเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๓ นาย เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๑ กรณีการสดักซุ่มยิง จนท.ทหารสังกัดร้อย ร.๘๐๑๓ ที่ ม.๕ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ซึ่งทำให้ทหารเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๖ นาย เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๑

การตรวจค้น/จับกุม
            การตรวจค้น/จับกุม ในช่วงรายงานยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้การจับกุมและวิสามัญแกนนนำและแนวร่วมคนร้าย ได้อย่างน่าพึงพอใจ ทั้งนี้ การตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญ อาทิ
            - การจู่โจมตรวจค้นบ้านของนายดอเลาะ โต๊ะโมง ที่หมู่ ๕ ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ เมื่อ ๔ ธ.ค.๕๑จนสามารถจับกุมนายนาซรูดิง มาเยาะกาเซะ ผู้ต้องหา คดีสังหาร น.ส.จูหลิง ปงกันมูล ครูโรงเรียนบ้านกูจิงรือปะ ต.เฉลิม อ.ระแงะ คดียิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนังงานรถไฟเสียชีวิตบนขบวนรถไฟสายนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๑ และคดียิงนางลัดดา สุทธามณี เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า หลังสถานีรถไฟลาโล๊ะ อ.รือเสาะ เสียชีวิตเมื่อ ๒ พ.ย.๕๑
            - การจับกุมตัว นายตูรีคี มะตง และนายมะรอเซะ ดือราแม ผู้ต้องหา คดีลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ที่บริเวณลานจอดรถตลาดกลางผลไม้และหน้าร้านน้ำชาตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อ ๔ พ.ย.๕๑
            - การปิดล้อมหมู่บ้าน ปะกาลือสง หมู่ ๖ ต.ตุยง อ.หนองจิก เมื่อ ๑๒ ธ.ค.๕๑ ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาและผุ้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงได้จำนวน ๖ คน ซึ่งในจำนวนนี้คือ นายมูหามัด เจะและ แกนนำในพื้นที่
            - การปิดล้อมการตรงวจพื้นที่ บ้านลำดา ม.๓ ต..ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา และได้เกิดยิงปะทะกับกลุ่มคนร้าย เป็นเหตุให้ จนท.ตร.ได้รับบาดเจ็บ ๑ นาย คนร้ายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ๑ คน และสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ ๘ คน เมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๑
            ข้อสังเกต ของการตรวจค้นและจับกุม
            ๑. การจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยในบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ โดยผู้ถูกจับกุมบริเวณที่เกิดเหตุทั้งหมด ไม่เคยมีหมายจับและไม่มีประวัติและไม่ใช่แกนนำแนวร่วม ขณะที่การโปรยตะปูเรือใบหรือตัดต้นไม้ขวางทางเพื่อสะกัดกั้นการติดตามของ จนท.กลับไม่ค่อยพบ
            ๒. การมอบตัว/แสดงตัวของผู้หลงผิด ซึ่งมีทั้งชาวบ้าน ผู้นำศาสนา และผู้นำท้องถิ่น รวม ๑๕๘ คน จากพื้นที่ ๖ หมู่บ้านของ ๒ ตำบล คือ ต.สาวอ ๕๘ คน และ ต.บาตง จำนวน ๑๐๐ คน เมื่อ ๑๑ ธ.ค.๕๑ นำมาโดยแกนนำแนวร่วมจาก ต.สาวอ

ความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizer อิสลาม
            นักวิชาการ/NGO /ทนายความอิสลาม ได้ฉวยโอกาสที่รัฐบาลยังตั้งตัวไม่ติด ระดมเสนอข้อเรียกร้องต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของกลุ่ม และเพิ่มความเข้มข้นของมลายูอิสลาม ซึ่งในบางประเดินได้กลายมาเป็นการตอกย่ำความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการชี้นำให้เห็นว่ารัฐเอื้อไทยพุทธมากกว่ามลายูอิสลาม การแสดงความข้องใจ/ไม่ไว้วางใจกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง หรือการแสดงการเป็นตัวแทนอิสลามต่อรองไม่ให้มีการตั้งหน่วยทหารพัฒนาในที่ดินอิสลาม ที่สำคัญคือมีการรวมตัวเป็นกลุ่มพลังร่วมอาชีพ อันจะมีผลต่อการต่อรองและการตัดสินใจของรัฐบาล ขณะที่ ชาวบ้านอิสลามมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรต่อทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไม่อาบน้ำศพผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบผู้เสียชีวิตและไม่ยอมให้ทหารพัฒนาตั้งฐานในพื้นที่
            การเคลื่อนไหวของแกนนำ และ sympathizer
            - ผศ.....อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) กล่าวหาว่ารัฐลำเอียงเข้าข้างไทยพุทธ โดยยกตัวอย่างการสนับสนุนอาวุธป้องกันตนเองว่า หมู่บ้านชาวไทยพุทธได้รับการสนับสนุนอาวุธจากทางการ ขณะที่ชุมชนอิสลามไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน
            - สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย นำโดยนาย.....ตัวแทนทนายความ - นาย.....หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และ น.ส.....ผู้ประสานงานโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมมือกับตัวแทนทนายความหลายประเทศในอาเซียน เตรียมจัดตั้ง "สมาคมทนายความมุสลิมอาเซียน" ที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างพลังในการเรียกร้องสิทธิและความถูกต้องให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้
            - นาย ....หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)แสดงความไม่เชื่อมั่นว่าการใช้กฎหมายความมั่นคงแล้วจะไม่มีการละเมิดหลักการตามกฎหมาย การเบี่ยงเบนคดีและความโปร่งใสตรวจสอบได้
            - น.ส....ผู้ประสานงานโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอให้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการอิสระเพื่อการตรวจสอบศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดนโยบายการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน" ขึ้น
            - นาย .....เลขาธิการศูนย์ทหารความมุสลิม ต้องการให้มีองค์กรอิสระที่ไม่ใช่รัฐอยู่ในกระบวนการพิจารณาเบี่ยงคดีตามมาตรา ๒๑ เช่น สภาทนายความ เป็นต้น
            - สถาบันอิศรา ตีพิมพ์บทความ ๓ บทความ เพื่อปลุกให้คนอิสลามเกลียดชัง/หวาดระแวงทหารมากขึ้น ได้แก่ บทความเรื่องเหยี่อไฟใต้ฝากการบ้านถึงรัฐบาล ปชป. เรื่องกระสุนจากความหวาดระแวง..นาทีชีวิตของพ่อลูกบนรถเบรคแตกพุ่งชนด่านตรวจ และเรื่องศาลยกคำร้องคดีประวัติศาสตร์ภารโรงหายตัวลึกลับภรรยาเหลี่ยร่ำไห้ลั้นขอสู้ต่อ
            - นาย....แห่งโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิและอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ เสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งสรุปได้ว่า ให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอำนาจในการออกกฎระเบียบใด ๆ เพื่อใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐจะต้องจัดสรรให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐โดยเฉพาะต้องมีศาล ชารีอะฮฺเพื่อตัดสินคดีความที่มีมุสลิมเป็นคู่กรณี แยกจากศาลทั่วไป
            - รายการ "ดีสลาตัน ณ แดนใต้ ซึ่งริเริ่มโดยนาย.....ผู้อำนาวยการ ส.ส.ท.เป็นความพยายามรวมตัวกันของผู้แทนทั้งภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อท้องถิ่น เพื่อนำเสนอข้อมูลชายแดนใต้ และโดยเฉพาะข้อมูลจากโลกภายนอกที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมในภูมิภาคอื่น ๆ และข่าวสารของประเทศมุสลิมเพื่อบ้าน
            การเคลื่อนไหวของชาวบ้าน
            - ชาวบ้านได้ให้เด็กปิดกั้นทางไม่ให้ จนท.เข้าไปภายในบ้านที่นายมูฮำหมัด บือโต จาก ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ จนท.ไม่สามารถทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้ เมื่อ ๑ ธ.ค.๕๑
            - ชาวบ้าน หมู่ ๕ ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี กว่า ๑๐๐ คน รวมตัวกันต่อต้านการตั้งฐานปฏิบัติการของทหารพรานในพื้นที่บ้านลานช้าง โดยมีนักศึกษาและนักสิทธิมนุษยชนจากคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพของนาง .....เข้าร่วมแสดงบทบาทนำในการเจรจาจนเป็นผลสำเร็จ
            - นายรุสลัน กาซอ นายมูฮำหมัดรุสลี ยีดา และ นายบือราเฮง มูนะ ซึ่งถูกยิงบาดเจ็บ เมื่อ ๒๖ ธ.ค.๕๑ ที่ ม.๒ ต.หนองจิก จ.ปัตตานี ไม่ยอมให้การกับเจ้าหน้าที่
            - ญาติของนายดาโอ๊ะ เจ๊ะนิ ซึ่งอยู่ในสังกัดของนาย....ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๑ ไม่ได้มีการอาบน้ำศพ ตามที่นายดาโอ๊ะ เคยสั่งไว้ก่อนเสียชีวิต

การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล
            ๑. รัฐบาลเตรียมจัดตั้งองค์กรใหม่ โดยให้ผู้นำศาสนา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.เทศบาล อบต. กำนัน ผุ้ใหญ่บ้าน และผุ้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนอิสลามเข้าร่วมในการหยุดวงจรความไม่สงบและพัฒนาพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
            ๒. ผู้สมัครผู้ว่า กทม.สังกัด ปชป. ประกาศจะให้ความสำคัญกับอิสลามมากขึ้น โดยจะสนับสนุน
                 ๑. จัดให้มีการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรีบยนที่มีนักเรียนมุสลิม ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป 
                 ๒.พัฒนาบุคลากรอิสลามศึกษา
                 ๓. พิจารณาปรับอัตราค่าตอบแทนกับบบุคลากรอิสลามศึกษาและ ๔. เพิ่มโครงการบ้านหนังสือประจำมัสยิด เพื่อให้ชาวบ้านมุสลิมและเยาวชนสามารถเข้ารับการบริการได้สะดวก และส่งเสริมความรู้ด้านต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีมาตรการส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรมค้าอุตสาหกรรมฮาลาล คือส่งเสริมการขายและส่งออกอาหารมุสลิม เพื่อให้แม่บ้านชาวมุสลิม ประกอบอาหารที่มีรสชาติ สามารถค้าขายในตลาดสากลได้
            ๓. ยกฟ้อง นายกอเซ็ง หรืออูเซ็ง หรือมะนาเซ หรือชาการิม เจาะเลาะ หรือเจาะเลาะ หรือเจ๊ะเล๊าะ "ซาการิม (pulo) จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฎเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร สะสมกำลังพลและอาวุธ สมคบกันเพื่อเป็นกบฎ และสมคบกันเป็นช่องโจร เพื่อกระทำความผิด เมื่อ ๑ ธ.ค.๕๑

แนวโน้มของสถานการณ์
            สถานการณ์ใน จชต.มีแนวโน้มน่าจะเลวร้ายลง เมื่อพิจารณาจาก
            ๑. การสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่าง หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุม/แก้ไขปัญหาใน ๓ ๑ จชต. โดยเฉพาะสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ที่จะตั้งขึ้นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ กับ กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า ที่มีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งแย่งอำนาจและงบประมาณอันจะนำไปสู่การเป็นศัตรูกันระหว่างหน่วยงาน ของทหารกับพลเรือนอย่างน่าวิตก
            ๒. กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาลกำลังเน้น "ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม" ในการต่อสู้กับรัฐบาล ดังนั้นจึงเชื่อว่า จะต้องมีการโหมกระพือประเด็นความไม่เป็นธรรมโดยการยกกรณีอิสลามใน ๓ จชต.มาใช้ในการ   รัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ความเด็ดขาดต่อแนวร่วมอิสลาม ที่กำลังสัมฤทธิ์ผลอยู่
            ๓. พธม. ซึ่งสามารถชุมนุมยือเยื้อได้ก็เพราะแรงหนุนจากอิสลามจากชายแดนใต้ ดังนั้นจึงน่าจะมีการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการฉวยโอกาสเรียกร้องต่อรองจาก   และนักการเมืองอิสลาม ทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ในเรื่องการปกครองแบบพิเศษตามวิถีอิสลาม ที่มีศาลศาสนาเป็นของบตนเอง อันจะส่งผลกระทบทำให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เกิดความลังเลและความไม่กล้าตัดสินใจ



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์