ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ – ๓๑ ธ.ค.๕๓

         ในภาคใต้ รัฐบาลได้มีการปรับลดกำลังทหารและประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในบางพื้นที่ รวมทั้งการเตรียมใช้ภาษามลายูควบคู่ภาษาไทย เพื่อซื้อใจมลายูอิสลามอย่างท้าทายต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่สำคัญการกระทำของรัฐบาลได้กระตุ้นให้กลุ่มอ้างการแบ่งแยกดินแดนเร่งฉวยโอกาสก่อเหตุรุนแรงขึ้นและโหดเหี้ยมขึ้น เพื่อกดดันให้รัฐบาลยอม “ถอย” ออกจากภาวะชงักงัน ทำให้การก่อเหตุในช่วงเวลารายงานเพิ่มขึ้นเป็น ๔๘ เหตุการณ์ โดย จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ปัตตานี ๑๗ เหตุการณ์ และจ.ยะลา ๑๑ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา ๒ เหตุการณ์ โดยมุ่งเน้นต่อไทยพุทธทั้งhard และ soft targets อันเป็นผลให้ความสูญเสียของคนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ สูงกว่ามลายูอิสลามซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของพื้นที่
          ขณะที่กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดของ ๓ จชต.โดยเฉพาะนักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า กำลังใช้เงื่อนไขการแยก ๓ จชต.ไปปกครองกันเองตามวิถีอิสลาม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมมวลชนเข้าสังกัดเพื่อใช้สำหรับการต่อรองกับรัฐบาล หากนักการเมืองมลายูอิสลามกลับนิ่งสนิทรอดูทิศทาง แต่ที่น่าอันตรายยิ่ง ได้แก่การเคลื่อนไหวของกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ซึ่งกำลังใช้ประเด็นความขัดแย้งกับร.ร.วัดหนองจอก เป็นเครื่องมือปลุกระดมความเป็นหนึ่งเดียวของอิสลาม เพื่อรุกขยายออกคุกคามร.ร.อื่นๆที่มีนักเรียนอิสลามปะปนอยู่ด้วย

แนวโน้มของสถานการณ์ มุ่งให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงจากมลายูอิสลาม จะทำให้รัฐบาลพร้อมที่จะตอบสนองในทุกสิ่งที่ มลายูอิสลามต้องการ แม้กระทั่งการแยกอิสลามออกจากพุทธอย่างเด็ดขาด หรือการนำคนกลุ่มเสี่ยงจากต่างประเทศเข้ามา ทั้งนี้กลุ่มพลังที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติซึ่งกำลังปลุกระดมขยายความขัดแย้งระหว่างพุทธกับอิสลามนอก ๓ จชต.อย่างเข้มข้นโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ เช่นเดียวกับที่ต้องเตรียมรับมือกับการฉวยโอกาสอ้างการที่ผู้ก่อเหตุยึคอาวุธประจำกายของจนท.ไปด้วย เป็นเครื่องมือในการสกัดกั้นการมีอาวุธเพื่อป้องกันตนเองของไทยพุทธ สำหรับการก่อเหตุมีเจตนายึคอาวุธจากจนท.ไปด้วย ทำให้เชื่อได้ว่าการก่อเหตุน่าจะมีความเข้มข้นและความสูญเสียเพิ่มขึ้น

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
         การทีรัฐบาลแสดงการอ่อนข้อให้กับข้อเรียกร้องของกลุ่มอ้างการแบ่งแยกดินแดน ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มลดกำลังทหาร การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในบางพื้นที่ การหาทางใช้ภาษามลายูถิ่นควบคู่ภาษาไทย ได้กระตุ้นให้ผู้ก่อเหตุเกิดความฮึกเหิม ซึ่งมีทั้งการก่อเหตุในพื้นที่ที่เตรียมยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างโหดเหี้ยม/อุกอาจต่อเป้าหมายด้วยการจ่อยิงซ้ำท่ามกลางประชาชน และอย่างท้าทายด้วยการก่อเหตุต่อสัญลักษณ์ทางศาสนา
          สำหรับการก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ธ.ค.๕๓ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๔๘ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจาก ๓๘ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ พ.ย. ๕๓ ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๘ เหตุการณ์ โดย อ.ระแงะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.เจาะไอร้อง และ อ.บาเจาะ เกิดขึ้นพื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ รองลงมา คือ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๑๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๔ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.ยะหริ่ง มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ ส่วน อ.หนองจิกและ อ.โคกโพธิ์ เกิดเหตุพื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ สำหรับ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๑ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง และ อ.รามัน มีการก่อเหตพื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ และ จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ที่ อ.เทพา และ อ.จะนะ
          ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๔๘ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๒๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๗ เหตุการณ์ การซุ่มโจมตี ๕ เหตุการณ์ การก่อกวน ๔ เหตุการณ์ การฟัน/แทง ๑ เหตุการณ์ และการเผาอาคารสถานที่ ๑ เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม ๖๐ คน แยกเป็น พุทธ ๓๗ คน (เสียชีวิต ๑๑ คน บาดเจ็บ ๒๖ คน) อิสลาม ๒๓ คน (เสียชีวิต ๑๒ คน บาดเจ็บ ๑๑ คน)

ข้อสังเกตุและข้อพิจารณา
          ๑. การก่อเหตุกับ hard targets ที่เป็นไทยพุทธ มีเจตนาชัดเจนที่จะกระทำอย่างอุกอาจเพื่อแสดงความเหนือกว่าและข่มขวัญ โดยกระทำท่ามกลางสาธารณชน โดยการจ่อยิงซ้ำ และยึคอาวุธประจำกายไปด้วย อาทิ การบุกยิงทหารพราน กรมทหารพรานที่ ๔๕ บริเวณกลางตลาดนัดบ้านยานิง ม.๒ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง ทำให้ทหารพรานเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บสาหัส ๑ นาย โดยคนร้ายได้หยิบอาวุธปืนพกสั้นขนาด ๙ ม.ม.ของ ผู้เสียชีวิตไปด้วย เมื่อ ๑๖ ธ.ค.๕๓ การกราดยิงชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านไม้แก่น ผู้เสียชีวิต ๒ ศพ ที่ ม.๒ ต.เนินงาม อ.รามัน และหยิบอาวุธปืนพกสั้น ๑ กระบอก ไปด้วย เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๓ การกราดยิงและยิงซ้ำ ชุดคุ้มครองพระสงฆ์ ที่บริเวณปากทางถนนอุตสาหกรรม เขตเทศบาลนครยะลา จ.ยะลา ทำให้ ทหารเสียชีวิต ๒ นายโดยคนร้ายได้ยึคปืนพกสั้นและวิทยุมือถือ ๑ เครื่อง ไปด้วย เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๕๓ การประกบยิงอาสาสมัครทหารพรานชุดพัฒนาสันติที่ ๔๕-๓ เสียชีวิต ๒ นาย ที่บริเวณถนนหน้าโรงเรียนบ้านลูโบะกาเยาะ ม.๕ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส พร้อมกับนำอาวุธปืนอาก้า ๒ กระบอกของเจ้าหน้าที่ไปด้วย เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๕๓
         ๒. การก่อเหตุยังคงเน้นต่อเป้าหมายไทยพุทธ ทั้ง hard และ soft targets ส่งผลให้ความสูญเสียของไทยพุทธ สูงกว่าอิสลามทั้งๆที่ประชากรมีสัดส่วนประมาณ ๑๒-๑๓ % ของจำนวนประชากรทั้งหมดใน ๓ จชต. เช่นเดียวกับกลไกรัฐทั้งพุทธและอิสลาม ซึ่งมีทั้ง ส.อบต. ผญบ. ผช.ผญบ. อรบ อส. และ อส.ทพ.
          ๓. การกระทำต่อสัญลักษณ์ของพุทธศาสนานอกจากสะท้อนให้เห็นนัยของการท้าทายแล้ว ยังอาจมองได้ว่าเป็นความพยายามกดดันให้ทางการอ่อนข้อ ยุติการใช้กำลังเข้าปราบปรามในลักษณะตาต่อตา ฟันต่อฟัน ดังเช่นกรณีการกราดยิงและยิงซ้ำ ชุดคุ้มครองพระสงฆ์ ที่บริเวณปากทางถนนอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลนครยะลา จ.ยะลา ทำให้ ทหารเสียชีวิต ๒ นาย เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๕๓ และการ กราดยิงเจ้าหน้าที่ พระ และคนงานก่อสร้างวัด กำลังปฏิบัติภารกิจภายในวัดสถิตชลธาร ม.๒ ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ทำให้คนงานก่อสร้างวัดบาดเจ็บ ๑ คน เมื่อ ๒๐ ธ.ค. ๕๓
          ๔. มีการก่อเหตุในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลเตรียมยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างท้าทาย ถึง ๒ เหตุการณ์ โดยทั้ง ๒ เหตุกาณ์เกิดขึ้นในบริเวณมัสยิด ด้วย คือการยิงนายรัตน์ พรหมดำ ผช.ผญบ.ม.๔ ต.ม่วงเตี้ย เสียชีวิต และ นายเฉลิม รักษ์ซ้อน บาดเจ็บที่บริเวณริมถนนในหมู่บ้านหน้ามัสยิดดารุสสลาม ม.๔ บ้านม่วงเตี้ย ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เมื่อ ๗ ธ.ค.๕๓ และการฟันบาดคอและเผานายเฉลิมฤทธิ์ นันต๊ะฤทธิ์ จากต.ยะรม อ.เบตงและนายนะวัชชา สิริธัชกุล จาก ต.เบตง อ.เบตง ที่บริเวณกูโบว์กาแป๊ะฮูลู ม. ๒ ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา เมื่อ ๒๑ ธ.ค. ๕๓

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizer
          กลุ่มNGOs นักวิชาการ นักศึกษา กำลังสร้างผลงานโดยใช้มวลชนมลายูอิสลามเป็นเครื่องมือสำหรับการต่อรองกับรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ซึ่งกำลังใช้ประเด็นความขัดแย้งกับร.ร.วัดหนองจอก เป็นเครื่องมือปลุกระดมความเป็นหนึ่งเดียวของอิสลาม เพื่อรุกขยายการคุกคามไปยังร.ร. อื่นๆที่มีนักเรียนอิสลามปะปนอยู่ด้วยอย่างน่าวิตกยิ่ง ขณะที่กลุ่มสันติวิธีนำโดยสถาบันพระปกเกล้าใช้ประเด็นแยกการปกครอง ๓ จชต.เป็นเครื่องมืออย่างไม่ลดละ
         เปิดอบรมบุคลากรการศึกษามุสลิม ณ รีเจ้นท์รามฯ เน้นงานเชิงรุกเพื่อสังคม- …. วันอาทิตย์ที่ ๑๒ ธันวาคม เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะทำงานด้านการศึกษา กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ได้จัดโครงการอบรม "เพิ่มศักยภาพบุคลากรทางการศึกษามุสลิม ครั้งที่ ๑" ณ โรงแรมรีเจ้นท์ รามคำแหง โดยมีบุคลากรด้านการศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมประมาณ ๓๐ ท่าน …. ขณะที่เชคริฏอ อะหมัด สมะดี ประธานกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงปัญหาด้านการศึกษาของสังคมมุสลิม จากกลุ่มผู้มีอคติต่อศาสนาอิสลาม โดยยกประเด็นที่โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกได้สั่งห้ามนักเรียนอิสลามคลุมฮิญาบในโรงเรียน ทั้งที่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตแล้วก็ตาม…..ซึ่งกรณีเช่นนี้ยังคงมีอีกหลายพื้นที่ ซึ่งจำเป็นที่เราต้องทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น……
         ชาวบ้านปูโปร์เกือบ๑๐๐ ยื่นหนังสือหาตัวคนร้าย ….วันนี้ ( ๙ ธ.ค.๕๓ ) เมื่อเวลา ๑๑.๔๐ น.ชาวบ้าน หมู่บ้านปูโปร์ ต.สามัคคี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ประมาณ ๑๐๐ คน และนักศึกษาในพื้นที่ ได้รวมตัวที่หน้าศูนย์ราชการอำเภอรือเสาะ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายอำเภอรือเสาะ เพื่อเรียกร้องเร่งรัดหาตัวผู้กระทำผิด ในเหตุการณ์ยิงใส่รถกระบะทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓ ราย เมื่อวันที่ ๒๔ พ.ย.๕๓ ที่ผ่านมา… (BungarayaNews)
         อีกครั้งกับ “นครปัตตานี” ๘ ความคาดหวังของคนพื้นที่ต่อรูปแบบการปกครองใหม่ จากเวที “นครปัตตานีภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความจริงหรือความฝัน” เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคมปีที่แล้ว ....ที่ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) โดยมีองค์กรขับเคลื่อนชุดเดิม คือเครือข่ายภาคประชาสังคม ๒๓ องค์กรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ บรรยากาศโดยรวมคึกคักไม่แพ้ปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง (สถาบันอิศรา ๑๕ ธ.ค ๕๓)

การซื้อใจมลายูอิสลามของรัฐบาล
          พฤติกรรมการหาเสียงกับมลายูอิสลามของรัฐบาลเป็นไปอย่างเข้มข้น ท้าทายต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ของประเทศ และหนักมือขึ้นโดยไม่คำนึงว่ามาตรการที่ทำนั้นกำลังเป็นการแยกอิสลามออกจากพุทธโดยเด็ดขาด หรือจะเป็นอันตรายต่อผู้บริสุทธิ์ทั้งพุทธและอิสลามมากขึ้น ก็ตาม ที่สำคัญคือมีการอ้างและนำแนวทางพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาใช้เพื่อเอื้อประโชน์และเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ความเหนือกว่าให้กับมลายูอิสลาม
         มทภ.๔ เตรียมยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังบางพื้นที่สถานการณ์ไม่รุนแรง ..วันนี้ ๘ ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ ๔ กล่าวกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ผ่านเอ็มบีแชนแนล โดยยอมรับขณะนี้หน่วยงานความมั่นคง กำลังพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีแนวโน้มเป็นไปได้ ที่จะยกเลิก แต่ขณะนี้ ไม่ได้ข้อสรุป เพราะบางพื้นที่ ก็ยังจำเป็นต้องใช้อยู่ ขณะที่บางพื้นที่ ก็ไม่จำเป็นแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี และ อ.แว้ง จ.นราธิวาส และยังมีหลายอำเภอ หลังประเมินสถานการณ์แล้ว ไม่มีความรุนแรง
         อย่างไรก็ตาม หากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ได้มีแผนหรือการใช้กฎหมายอื่นรองรับ หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยมีการหารือร่วมกัน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วย(เดลินิวส์ ๘ ธ.ค.๕๓)
         เบตง-แม่ลาน-แว้ง-สุคิริน" ลุ้นเลิก พ.ร.ก. "ถาวร"ลั่นพร้อมฟังข้อเสนอใช้ภาษามลายู-เพิ่มอำนาจท้องถิ่น...... นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี อ.แว้ง และอ.สุคิริน จ.นราธิวาส โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมตำรวจ ทหาร และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในเร็ววันนี้…. (สถาบันอิศรา ๑๐ ธ.ค.๕๓)
         นายกฯแย้มเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพิ่มที่สุคิริน-กาบัง …… นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขณะนี้จะเริ่มต้นที่อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ซึ่งจะดำเนินการได้ก่อนที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯจะหมดอายุในวันที่ ๑๙ ม.ค. โดยตนขอให้ดูพื้นที่ต่อไปทันทีคือที่อ.สุคิริน จ.นราธิวาส และอ.กาบัง จ.ยะลา เพราะกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า ๒ พื้นที่นี้น่าจะได้รับการพิจารณา ส่วนระยะเวลาในการยกเลิกจะทิ้งช่วงห่างจากอ.แม่ลานขนาดไหนนั้นก็จะดูว่าทางหน่วยงานอื่นมีความเห็นอย่างไร อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็ดูให้หมดให้ครอบคลุมแล้วก็มีการเสนอที่นี่มาก่อน แต่ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยก็อยากจะเห็นว่าทุกจังหวัดเริ่มต้นได้เขาจึงเสนอ ๒ อำเภอนี้เข้ามา “ที่อ.แม่ลานขณะนี้ทุกหน่วยมีความพร้อม มีความมั่นใจ ส่วนอีก ๒ อำเภอจะไปตรวจสอบอีกที”นายกฯ กล่าว …(nationchannel.com ๒๕ ธ.ค.๕๓)
         ปรับลดกำลังทหารอ.แม่ลานหลังเลิกพ.ร.ก. ....วันนี้(๒๘ ธ.ค.)ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึกใน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีแล้ว จะมีการปรับลดกำลังทหารในพื้นที่ แล้วนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มาใช้แทน ขณะที่ในวันที่ ๓๐ ธ.ค. พ.ร.บ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานในพื้นที่ภาคใต้ มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง และ ศอ.บต. มีเลขาธิการ ศอ.บต.รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาในพื้นที่ ตามหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ส่วนคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครม.ภาคใต้) จะหมดหน้าที่ไปในวันที่ ๓๐ ธ.ค. โดยจะถ่ายโอนภารกิจให้ ศอ.บต.มาทำหน้าที่แทนทั้งหมด คาดว่าภายในเวลา ๒ ปี กลไกระบบการทำงานจะเข้าที่. (เดลินิวส์ ๒๘ ธ.ค.๕๓)
         ผบ.ตร. ยึดแนวทางพระราชดำรัสฯ สั่ง สน.ภาคใต้ ทำห้องละหมาด ด่วน!.....พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ในส่วนของตำรวจได้มีการปฏิบัติงานด้านชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้.....พร้อมกันนี้จะมีการปรับปรุงเจ้าหน้าที่ตำรวจให้สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้…….จัดทำห้องละหมาดให้กับประชาชนชาวมุสลิมอีกด้วย (มุสลิมไทยดอทคอม ๑๑ ธ.ค.๕๓)
         ๑๖ ผู้ร่วมพัฒนายะลารายงานตัว....วันนี้ (๓๐ ธ.ค.) ที่ห้องประชุมหลักเมือง ศาลากลางจังหวัดยะลา (หลังเก่า) นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ รองผวจ. เป็นประธานในพิธีรับมอบราษฎรมาแสดงตนเพื่อเข้าร่วมพัฒนาจังหวัดยะลา ตามโครงการ “ยะลาสันติสุขตามแนวทางการดำเนินงานน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” จำนวน ๑๖ คน .....ซึ่งจังหวัดยะลาได้ออกหนังสือรับรองเพื่อนำไปใช้ประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวจากพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการและศาลจังหวัดยะลา ซึ่งในขณะนี้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว จำนวน ๗ ราย ....(เดลินิวส์ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๓)
         สปน.แจ้งส่งเรื่องมัธยมวัดหนองจอกห้ามคลุมฮิญาบให้ สพฐ.จัดการแล้ว..สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ตอบหนังสือร้องเรียนของนายซักรียา (สายัญ) สุขจันทร์ ที่ร้องเรียนผู้อำนวยการ และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรณีที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบที่ไม่ยอมให้นักเรียนมุสลิมะฮฺของโรงเรียนคลุมฮิญาบในโรงเรียน….
         โดยหนังสือเลขที่ นร.๐๑๐๕.๐๔/๘๖๙๕๕ ได้ระบุว่า ตามที่ท่านมีหนังสือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการแต่งกายนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรุงเทพมหานคร กรณีการห้ามไม่ให้นักเรียนมุสลิมแต่งกายตามหลักการศาสนาอิสลาม เข้าเรียนในโรงเรียนโดยเด็ดขาดตามที่ร้องเรียน
         สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับทราบ และส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา กับแจ้งผลให้ท่านทราบโดยตรงแล้ว นอกจากนี้ในเอกสารยังระบุอีกว่ากรณีดังกล่าวทางสปน.ได้มอบหมายให้นาย สารีหัน อิหม่ำเหม เป็นผู้ประสานงาน โดยมีรหัสของเรื่องคือ : นร.๐๑๕๓๐๐๒๑๗๓๐ (ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๘ ธ.ค.๕๓)
         ไทยหวังดันมอ.ปัตตานี เป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาโลก ….ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความชื่นชมที่มหาวิทยาลัยจัดการประชุมวิชาการด้านอิสลามศึกษาขึ้น ….. "เราต้องเข้าใจว่าอิสลามไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างศาสนากับการศึกษา หลักสูตรทั่วไป เนื่องจากมีส่วนเสริมซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้นผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเพียรพยายามอย่างสูง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามแนวทางของอิสลามได้อย่างถูกต้อง นักศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาความรู้ด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปกับความสนใจและความสามารถส่วนตัวด้วย อิสลามศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องกับการศึกษาด้านอื่นๆ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถแข่งขันในตลาดงานที่มีผล ตอบแทนสูงได้ จึงจำเป็นต้องมีทักษะที่เหมาะสมและคุณสมบัติพิเศษร่วมด้วย" นายกรัฐมนตรี ...(thailandnewsdarussalam.com ๒๒ ธ.ค.๕๓)

                                               ............................................



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์