ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


สรุปสถานการณ์ใน ๓ + ๑จชต.
๑ - ๓๑ ม.ค.๕๒

           จากสถานการณ์ที่ผ่านมา พรก.ฉุกเฉิน เป็นส่วนสำคัญในการจำกัดความเคลื่อนไหวของแนวร่วม จนทำให้สถิติทั้งการก่อเหตุและการสูญเสียชีวิตในปี ๒๕๕๑ ลดลงจากปี ๒๕๕๐ อย่างน่าพึงพอใจ แม้จะมีความผิดพลาดในการปฏิบัติการระดับบุคคลอยู่บ้างก็ตาม
          การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จะยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้แกนนำแนวร่วม sympathizer  และกลุ่มผู้ก่อเหตุกลับมามีความฮึกเหิมและมีกำลังใจในการพยายามก่อเหตุถึง ๙๗ เหตุการณ์ (ในจำนวนนี้พบว่าเป็นการก่อเหตุในลักษณะการก่อกวน ชิงทรัพย์และส่วนตัว ๑๔ เหตุการณ์) เพื่อแสดงพลัง ผ่านจำนวนคนไทยพุทธที่ตกเป็นเหยื่อเพิ่มขึ้น โดย จ.ปัตตานืเป็๋นพื้นที่ที่มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา ๒๖ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส  ๒๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา ๕ เหตุการณ์
          การสร้างกระแสกดดันให้ทหารลดบทบาทในการดูแลความสงบใน ๓ จชต.และการกำลังรุกคืบสู่การขอกำหนดานโยบยการบริหารและการปกครองตามวิถีอิสลามอย่างน่าวิตก เพราะจะส่งผลกระทบยต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธ โดยเฉพาะเมื่อมีการเผาทำลายซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ในเขตเทศบาล ต.บางปู อ.ยะหริ่ง และการวางระเบิดพระสงฆ์ที่ตลาดโกตาบารู อ.รามัน และการรวมตัวประท้วงของชาวบ้านอิสลามอย่างมีนัยแล้ว

แนวโน้มของสถานการณ์
           ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เชื่อว่าสถานการณ์ใน จชต.น่าจะคงงสภาพความเลวร้ายอยู่ต่อไป ตราบเท่าที่ต้องตอบแทนอิสลามจากการช่วยผลักดันให้ได้มีโอกาส ดังนั้นหากทหารยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนที่จะรับผิดชอบในการรักษาความสงบในพื้นที่ ๓ + ๑ จชต.ต่อไปเช่นที่ผ่านมาในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าน่าจะเกิดความระส่ำระสายในหมู่ประชาชนที่ไม่ใช่แนวร่วมโดยเฉพาะชาวบ้านไทยพุทธ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหลักของการคงอยู่ในพื้นที่ จชต.คือการปกป้อง/คุ้มครองจากทหารจากนอกพื้นที่

สถิติและนัยการก่อเหตุ
            การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๑ ม.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุการณ์ ๙๗ เหตุการณ์ ลดลง ๓ เหตุการณ์ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุการณ์ ๑๐๐ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุถมากที่สุด ๔๑ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๖ เหตุการณ์ โดย อ.เมืองมีการก่อเหตุสูงสุด ๑๐ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.บันนังสตาที่ดูเหมือนจะมีการยกเลิก curfew  แล้วมีการก่อเหตุเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการกอ่เหตุ ๒๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๕ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิง ๕๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๑ เหตุการณ์ (เป็นการวางระเบิดต่อ Hard Target  เกือบทั้งหมด) การซุ้มยิง/ซุ่มโจมตี เกิดขึ้น ๖ เหตุการณ์ การวางเพลิง / เผา ๒ เหตุการณ์ การชุมนุม ๓ เหตุการณ์ และอื่น ๆ อาทิ การเผายางรถยนต์ ตู้โทรศัพท์ การฟัน/แทงในลักษณะที่น่าจะเป็นการชิงทรัพย์และเรื่องส่วนตัว รวมทั้งการตัดฟันต้นยางพารา รวม ๑๔ ครั้ง

ข้อพิจารณา
            ๑. การก่อเหตุจำนวน ๙๗ เหตุการณ์ พบว่ามีการก่อเหตุในลักษณะของการก่อกวนอย่างง่าย ๆ เช่นการเผายางรถยนต์/ตู้โทรศัพท์ และกาฆ่าชิงทรัพย์และเรื่องส่วนตัวถึง ๑๔ เหตุการณ์
            ๒. การก่อเหตุมีลักษณะเป็นการมุ่งสร้างสถิติที่ จ.ปัตตานี เพื่อส่งนัยชี้นำให้เห็นว่า แนวร่วมประสบความสำเร็จหรือเชื่อว่าประสบความสำเร็จในการควบคุมพื้นที่ ด้วยการกดดันไทยพุทธให้ถอยร่นออกจากพื้นที่ จ.นราธิวาส แล้ว และกำลังสำเร็จใน จ.ยะลา เป็นอันดับต่อไป จึงหันมาโหมรุกที่ จ.ปัตตานี อันจะทำให้การต่อรองขอบริหารและการปกครองตามวิถีอิสลามมีน้ำหนักครอบคลุมมาถึง จ.ปัตตานี ด้วย
            ๓. การก่อเหตุมีลักษณะของความพยายามคงสถิติ เพื่อชี้นำให้เห็นว่าการปฏิบัติการทางทหารไม่สามารถยะติการก่อเหตุได้ เพื่อให้สอดประสานนกัน การเรียกร้องให้ทหารลดบทบาทการ รปภ.ลง และส่งมอบหน้าที่ให้ภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชาวบ้านไทยพุทธในพื้นที่ ๓ จชต. ซึ่งทุกวันนี้ยังคงอยู่ได้เพียงเพราะการปกป้อง/คุ้มครองจากทหารไทยพุทธจากนอกพื้นทื่เท่านั้น
            ๔. การก่อเหตุใน ม.ค.๕๒ ดูเหมือนจะเจาะจงกระทำต่อไทยพุทธมากขึ้น อันเป็นปรากฎการณ์ปกติ มักเกิดขึ้นในช่วงที่แนวร่วมเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่กล้าใช้ความเด็ดขาดในการสยบความรุนแรง
            ๕. การก่อเหตุเพื่อหลอกล่อให้ จนท.มาติดกับโดนระเบิด หรือโดนซุ่มโจมตีเกิดขึ้นใน ๓ เหตุการณ์ และทำความสูญเสียให้กับกำลังพลอย่างไม่คุ้มค่า ได้แก่
                - การหลอกล่อ ให้ชุดปฏิบัติการพิเศษตั้งจุดตรวจจุดสสกัดที่สามแยกบ้านเจาะไอร้อง เข้าไปตรวจเหตุระเบิดในร้านซ่อมรถ จยย. ที่ ม.๑ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง แล้วจุดชะนวนระเบิดซึ่งซุกซ่อนไว้ในรถ จยย.จอดไว้ที่หน้าเพิงขายอาหารริมถนน ซึ่งทำให้ทั้ง จนท.และชาวบ้านบาดเจ็บรวม ๔ คน เมื่อ ๑ ม.ค.๕๒
                - การหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ระแงะ เข้าไปตรวจเหตุระเบิดที่บริเวณคอสะพาน หมู่ ๒ ต.เฉลิม อ.ระแงะ และจุดชนวนระเบิด ที่ซุกซ่อนไว้ในรถยนต์เก๋งยี่ห้อมิตซูบิชิ ริมถนนเทศบาล ๘ ขณะ จนท.ชุดดังกล่าวกำลังเดินทางกลับ จนมี จนท.บาดเจ็บ ๔ นาย และชาวบ้านอีก ๓ คน เมื่อ ๒ ม.ค.๒๕๕๒
                - การหลอกล่อให้ จนท.เข้าไปตรวจเหตุระเบิดบริเวณก่อนถึงที่ทำการ ผญบ. ม.๘ บาละ อ.กาบัง และซุ่มยิง เมื่อ ๘ ม.ค.๕๒
            ๖. สำหรับการก่อเหตุที่ดูเหมือนจะมุ่งเป้ามาที่คนไทยพุทธอย่างอุกอาจและท้าทายอำนาจรัฐอย่างยิ่ง ได้แก่
                - การกราดยิงคนงานรับจ้างกราดยางและถางป่า ที่ ม.๔ ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา เป็นเหตุใให้มีผู้เสียชีวิต ๓ คน และได้รับบาดเจ็บ ๒ คน เมื่อ ๑๑ ม.ค.๒๕๕๒
                - การลอบวางระเบิดบริเวณที่จอดรถหน้า รพ.ศูนย์ยะลา เทศบาลนครยะลา ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน ๖ คน เมื่อ ๑๕ ม.ค.๕๒
                - การบุกยิงคนงานสร้างสะพานเสียชีวิต  ๔ ศพ ที่บ้านตือระ หมู่ ๘ ต.บันนังสะตา และได้ยยึดเอาปืน ๙ มม.ที่ผู้ตายพกติดตัวไว้ป้องกันตัวไปด้วย เมื่อ ๒๔ ม.ค.๕๒
                - การกราดยิง จนท.ตร.มว.ฉก.ตชด.๒๔๐๑ ที่ประจำจุดตรวจจุดสกัดบริเวณสี่แยก ม.๑ ต.คุซงญอ อ.จะแนะ และเดินเข้าไปยิง จนท.ตร.จนเกิดการยิงปะทะต่อสู้ ซึ่งส่งผลให้ จนท.ตร.ตชด.ได้รับบาดเจ็บล ๓ นาย คนร้ายเสียชีวิต ๒ คน เมื่อ ๒๕ ม.ค.๕๒
                - ลอบวางระเบิดขณะที่ จนท.ทหาร ชป.รปภ. พระบิณฑบาต บริเวณถนนสายยะลา - โกตาบารู หน้าบานเลขที่ ๒๙๔ ตลาดโกตาบารู เขตเทศบาลตำบลโกตาบารู ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งออก ลว.เส้นทางด้วยการเดินเท้าล่วงหน้า เพื่อปกป้องคุ้มครองพระสงฆ์ เป็นเหตุให้บ้านเรือนของราษฎรได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๒ ราย เมื่อ ๒๘ ม.ค.๕๒

การตรวจค้นและจับกุม
            กาารตรวจค้นและจับกุมอย่างต่อเนื่อง สามารถสกัดกั้นความเคลื่อนไหวและการก่อเหตุของแนวร่วมอย่างได้ผล ดังจะเห็นได้จากรายงานของสถาบันอิศรา ซึ่งเปิดเผยสติถิเปรียบเทียบตัวเลขการก่อเหตุและการสูญเสียของปี ๒๕๕๑ กับปี ๒๕๕๒ ที่แสดงให้เห็นว่าการก่อเหหตุของปี ๒๕๕๑ ลดลงจากปี ๒๕๕๐ เกือบครึ่ง ขณะที่การสูญเสียชีวิตลดลงเหลือ ๑ ใน ๓ เท่านั้น ซึ่งฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน ทำให้ จนท.สามารถเข้าตรวจค้น/จับกุม ได้โดยคนร้ายไม่ทันรู้ตัว จนแกนนำแนวร่วมและsympathizer  อิสลามต้องโหมเร่งหาทางสสกัดกั้นด้วยการสร้างกระแสกดดันให้มีการถอนทหารอย่างหนัก สำหรับการตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญในช่วงรายงาน อาทิ
            - ๒๖ ม.ค.๕๒ ตรวจค้นบ้านเลขที่ ๘/๑ บ.อาแนโต๊ะอีแย ม.๑๐ ต.บองอ อ.ระแงะ ซึ่งสามารถจับกุมนายสะแปอิง บินสุหลง แกนนำเครือข่ายกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเชื่อว่าร่วมโจมตีป้อมจุดตรวจของ ตชด.บนถนนสายดุงซงญอ - จะแนะ ท้องที่หมู่ ๑ บ้านตุซงญอ อ.จะแนะ ใกล้กับตลาดนัด เมื่อ ๒๕ ม.ค.๕๒
            - การปิดล้อมตรวจค้นบ้านเลขที่ ๓๐/๑ ม.๒ ต.เปาะเส้ง อ.เมือง จ.งยะลา จนสามารถวิสามัญนายอัสรี โต แนวร่วมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ต.เปาะเส้ง ฯ และเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.เมืองยะลา หลายครั้ง เมื่อ ๒๖ ม.ค.๕๒
            - การตรวจค้น บ.สาเลาะ (บ้านย่อยบ้านบาโงบู) ม.๖ ต.บองอ อ.ระแงะ จนสามารถวิสามัญ นายอิมราน บินมะเย็ง ชื่อจัดตั้ง "เปาะรง" แกนนำ RKK  ซึ่งรับผิดชอบการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ๔ ตำบลของ อ.ระแงะ (มีหมายจับ จำนวน ๕ หมายจับ และสามารถควบคุมแนวร่วมได้ ๑ คน คือ นายมูฮำมัดฮำบาลี มะสา ที่อยู่ ๑๕ ม.๒ ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ (มีหมาย พรก.ฯ ที่ ฉฉ.๒๔๑/๒๕๔๙ ลง ๑๖ เม.ย.๔๙) เมื่อ ๒๘ ม.ค.๕๒

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizer
            ในช่วงรายงานปรากฎความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizer  อิสลาม โดยเฉพาะสถาบันอิศรา ทั้งโดยรื้อฟื้นเหตุการณ์ในอดีต เหตุการณ์ที่ยังคลุมเครือ และเหตุการอิสราเอลโจมตีปาเลสไตน์ หรือแม้กระทั่งกรณีการลักลอบเข้าประเทศของอิสลามโรฮิงยา มาเป็นเครื่องมือปลุกเร้าความเป็นหนึ่งเดียวกันของมลายูอิสลาม โหมสร้างกระแสการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหาร เพื่อกดดันให้มีการถอนทหารออกจาก ๓ จชต.  อย่างสอดประสานกับการเรียกร้องให้คนในพื้นที่ ดูแลกันเองพร้อม ๆ ไปกับการเรียกร้องขอบริหารและปกงกันเอง ตามวิถีอิสลาม ดังนี้
            สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)  นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลแล้ว ยังโหนกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการปลดปล่อย ๓ จชต. ดังนี้
            ๑.  รัฐบาลต้องเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยทางตรง......โดยการส่งเสริมให้เกิดองค์กรภาคประชาชน ตามสิทธิเสรีภาพ และความต้องการของตนเอง... และต้องให้ "การทหารตามการเมือง"  ให้ได้อย่างแท้จริง.......พร้อมยกเลิกกฎอัยการศึก ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ )
            ๒.  ส่งเสริมการประกอบอาชีพของชาวบ้านที่มีรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตนเอง
            ๓.  ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ เกี่ยวกับภาษาและการแต่งกาย
            ๔.  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในสถาบันปอเนาะ ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา โดยคนในพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการ และกำหนดหลักสูตร ปราศจากการแทรงแซงจากภาครัฐ
            นาย....... อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ แสดงความเหนือกว่า ด้วยการกดดันให้รัฐบาลเร่งประนามอิสราเอล และสนับสนุนการชุมนุมต่อต้านอิสราเอลของบรรดานักศึกษา ทั้งคุกคามหากรัฐบาลไม่ทำตาม อาจจะเกิดการลุกฮือของมลายูอิสลามใน ๓ จชต.
            ผศ. ...... รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ส่งนัยชี้นำให้เห็นว่า ทหารคือ อุปสรรคของนโยบายการเมืองนำการทหาร
            นาย.........  นักวิชาการอิสลาม อดีตรองประธานคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดยะลา กดดันให้รัฐบาลเร่งประฌามอิสราเอล เพียงประการเดียว
            มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาล และหน่วยงานความมั่นคงตรวจสอบคลิปวีดีโอ ที่เป็นภาพบุคคลแต่งการคล้ายทหาร ทำร้ายร่างกายเยาวชนแต่งกาย คล้ายชาวบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเผยแพร่ทางสื่ออินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ยูทูบ
            สถาบันอิศรา โหมลงบทความ discredit  ทหารอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การแพร่กระจายบทความ "เปิดคำสั่ง ศาลนรา ฯ  อิหม่ามยะผาถูกซ้อมเสียชีวิต " เมื่อ ๖ ม.ค.๕๒  บทความ " ๕ ปี ไฟใต้ (๘)  .........สงครามความรู้สึกระหว่างรัฐกับชาวบ้าน " เมื่อ......ม.ค.๕๒  บทความ "องค์การนิรโทษกรรมสากลแฉรัฐยังซ้อมทรมานทหารโวยดิสเครดิต เอ็นจีโอไทยจี้สอบคลิปซ้อมชาวบ้านว่อนเน็ต"  เมื่อ ๑๔ ม.ค.๕๒ บทความ "สบ.ชต. บทพิสูจน์ประชาธิปัตย์ใต้เงาทหาร " เมื่อ ๑๒ ม.ค.๕๒  บทความ " นักศึกษายะลาฟ้อง ทบ.อ้างถูกจับไปทรมาน แม่ทัพ ๔ แจงวิสามัญ ฯ ที่เมาะมาวี ไม่เกินกว่าเหตุ " เมื่อ ๒๑ ม.ค.๕๒  บทความ เกาะกระแส "โรฮิงญา" ไขปมนักรบจ้างแดนใต้?  เมื่อ ๒๒ ม.ค.๕๒  บทความ ๕ ปีไฟใต้ (๙)  "ไม่กลัวกฎหมาย แต่กลัวผู้ใช้กฎหมาย"  เมื่อ ๒๓ ม.ค.๕๒  บทความ ค้นความจริงที่เมาะมาวี สางปมเจ้าหน้าที่ยิงคนพิการ?  เมื่อ ๒๖ ม.ค.๕๒  บทความชำแหละงบดับไฟใต้แสนล้าน ๕ ปี ยังเปะปะ - กอ.รมน. อ่วมเบี้ยเลี้ยงกำลังพล เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๒ บทความกังขายิงอิหม่ามดับหน้ามัสยิดที่สายบุรี เพิ่งพ้นคุกหลังศาลยกฟ้องคดีความมั่นคง เมื่อ ๓๐ ม.ค.๕๒  บทความ "เสียงปืนแผดก้องที่สายบุรี ......... อีกครั้งที่รัฐถูกตั้งคำถาม " เมื่อ ๓๑ ม.ค.๕๒
            องค์การนิรโทษกรรมสากล เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ไทยปิดศูนย์กักกันทั้งหมดในภาคใต้ แล้วปล่อยให้ผู้ถูกคุมขัง สามารถเข้าถึงทนายและสมาชิกในครอบครัวได้ รวมทั้งถอนสิทธิคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรมาน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ซึ่งอ้างว่าให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป
            องค์กรเครือข่ายประชาชนพิทักษ์มนุษยชน  ประสานนำ นักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามจากสถาบันอุดมศึกษา ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งประชาชนทั่วไปจำนวนประมาณ ๒,๐๐๐ คน รวมตัวแสดงพลังต่อต้านอิสราเอล และจุดไฟเผาธงชาติอิสราเอล และอเมริกา รวมทั้งภาพถ่ายของ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อ ๒๐ ม.ค.๕๒
            นาง.......นักสิทธิมนุษยชนจาก "มูลนิธิผสานวัฒนธรรม " ในฐานะผู้ประสานงานโครงการ เข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย พยายามชี้นำให้เห็นว่า จนท.ละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีความบกพร่องในการไต่สวน รวมทั้งได้พยายามอ้างสถิติที่ไร้ที่มา ถึงการวิสามัญฆาตกรรมของ จนท.อีกด้วย
            ขณะทื่ชาวบ้านอิสลามก็มีปฎิกิริยาต่อต้านทหารแรง และชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยมีสถาบันอิศราเป็นแรงกระตุ้น ทั้งนี้ในช่วงรายงาน พบว่า
            -  เมื่อ ๑๕ ม.ค.๕๒  ชุดพัฒนาสันติได้ออกไปช่วยซ่อมแซมอาคาร รร.เด็กเล็กดารุลฟุรกอน ที่ ม.๑ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก ซึ่งนอกจากไม่มีชาวบ้านออกมาร่วมกิจกรรมแล้ว ยังเขียนข้อความต่อต้าน " กูไม่ร่วมมือกับมึง ของมึงให้มึงเอากลับไป"  ไว้บนฝาผนังของ รร.อีกด้วย
            -  เมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๒  เด็กชาย และชาวบ้าน ม.๔ ต.เมาะมาวี จำนวนหนึ่งถือแผ่นป้ายเขียนข้อความโจมตีการกระทำของ เจ้าหน้าที่ว่า "ทหารยิงผู้บริสุทธิ์ "  และ "ทหารยิงคนพิการ "  ระหว่างนำศพ นายอับดุลอาซิ คงเสถียร ซึ่งเสียชีวิตจากการต่อสู้กับ จนท.ไปฝัง
            -  เมื่อ  ๓๐ ม.ค.๕๑   ชาวบ้าน ต.ตะลุบัน ได้แห่ศพของ นายอับดุลการิม ยูโซ๊ะ อิหม่ามมัสยิดกาหยี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตที่หน้ามัสยิดกาหยี ถนนตะลุบัน ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี ประท้วงเนื่องจากถูกทำให้เชื่อว่า จนท. ของรัฐเป็นผู้ยิง นายอับดุลการิม อีกทั้งยังไม่มีการอาบน้ำศพอีกด้วย

มาตรการซื้อใจอิสลาม 
            นรม.  ส่งนัยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถสกัดกั้นการก่อเหตุ ตามปกติให้ลดลงได้อย่างน่าพอใจ เพียงแต่มีจุดอ่อนอยู่ที่การปฎิบัติที่ไมีรอบคอบของ จนท. ซึ่งกลายเป็นเงื่อนไขให้ NGO /  ศูนย์อิศรา นำมากดดันให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ดังกล่าว อย่างต่อเนื่อง
            รมว.กต. มีความพยายามจะลดกำลังทหารในการรักษาความปลอดภัย บนถนนให้มีความเป็นทหารน้อยลง ตามแรงกระตุ้นของนักข่าวมาเลเซีย
            รอง นรม. เห็นว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องเน้นในเรื่องของการสร้างงาน โดยเฉพาะกรณีผู้ที่จบการศึกษาด้านศาสนา จากต่างประเทศต้องการจะสอนหนังสือ ในโรงเรียนเอกชน รัฐบาลจะต้องเร่งสนับสนุน
            ผอ.ศูนย์ปฎิบัติการการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ กำลังเร่งตามหา ทายาทผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตากใบ สะบ้าย้อย กรือเซะ อีกประมาณ ๑๐ คน ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือให้ได้ (ให้ความดูแลอยู่แล้วจำนวน ๑๒๗ คน)
            ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  ร่วมกับกรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการบริการจัดทำหนังสือเดินทาง แก่ผู้ประสงค์ไปประกอบพิธีฮัจญ์ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ประจำปี ๒๕๕๒ โดยจะเปิดให้บริการ ตั้งแต่ วันที่ ๒๖ ม.ค.๕๒ ถึงวันที่ ๖ ก.พ.๕๒



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์