สรุปสถานการณ์ใน
จชต.๑ - ๓๐ มิ.ย. ๕๑
แนวร่วมและ sympathizer ฉวยโอกาสจากการที่ทั้งรัฐบาลและสาธารณชนกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับ
สถานการณ์ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า
ทางการเมือง โดยเฉพาะการปลุกระดมก่อความร้าวฉานกับกัมพูชา ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การใช้กำลังในการแก้ไขปัญหารุกหนักเพื่อปลดปล่อย
๓ จชต.ทั้งโดยการก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๘๐ เหตุการณ์ อันมีลักษณะของการก่อเหตุที่เพิ่มความโหดเหี้ยมและการท้าทายมากขึ้น
การเร่งกระจายรูปธรรมความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนาจาก จชต. ผ่านการเสนอให้ใช้ภาษามลายูกลางเป็นภาษาต่างประเทศที่
๒ ในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ
การเปิดทางให้มีการก่อเหตุอย่างคล่องตัวขึ้น โดยการเรียกร้องให้ทบทวนการต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.๒๕๔๘ ซึ่งสามารถสกัดการเคลื่อนไหวของแนวร่วมได้อย่างมีผลน่าพอใจ หลังจากได้มีความพยายามชี้นำให้ประชาพิจารณ์การถอนทหารมาแล้ว
เมื่อ พ.ค.๕๑
ทั้งนี้การเคลื่อนไหวที่น่าจับตาอย่างยิ่งใน ๒ ประเด็น ประเด็นแรกการแทรกซึมเข้าร่วมอยู่ในม็อบพันธมิตร
ฯ อย่างเปิดเผยและท้าทายของอิสลามจาก ๓ จชต.และประเด็นที่สอง
การลงพื้นที่ ๓ จชต.เพื่อทำหน้าที่รัฐบาลเงาของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง
ซึ่งเป็นพรรคที่เสี้ยมให้มีความขัดแย้ง/หวาดระแวงระหว่างไทยพุทธกับอิสลาม
ร้าวลึกลงตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่แนวร่วมกำลังรุกคืบอย่างสัมฤทธิ์ผล
รัฐบาลก็ยังคงรอมชอมและสานไมตรีกับมลายูอิสลามอย่างไม่ลดละ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการที่ไม่รู้จริงในปัญหา
ไม่มีเวลา
และความต้องการที่จะเปิดศึดด้านเดียว รวมทั้งความพยายามที่จะเอาตัวรอดจากความอึมครึมทางการเมืองของข้าราชการ
อาทิการมีมติให้นำ model อาเจ๊ะห์ ที่ยังมีหลายมิติของปัญหาที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะการมีผู้ที่ต่างเชื้อชาติและศาสนาปะปนอยู่ในพื้นที่ด้วย มาใช้แก้ปัญหา
จชต. แต่ที่อันตรายอย่างยิ่งคือการเข้าไปใช้เงื่อนไขมลายูอิสลาม
เพื่อคงและเสริมสร้างบทบาทให้กับตนเองของบุคคลสำคัญในสังคมไทย จนน่าจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการป้องปรามการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้อ้างการรื้อฟื้นรัฐปัตตานี
การตรวจค้น/จับกุม
ซึ่งเป็นมาตรการที่แนวร่วมและ sympathizer ได้พยายามขัดขวางอย่างเต็มที่ ก็ยังคงเป็นไปอย่างยต่อเนื่องและมีผลสัมฤทธิ์ในระดับที่ทำให้ชาวบ้านในบางพื้นที่มีความมั่นใจจนกล้าที่จะแจ้งเบาะแส
เมื่อพบการเข้ามาของคนจากต่างพื้นที่ จนทำให้การตรวจค้นและจับกุมของ จนท.แม่นยำมากขึ้นและสามารถจับเป็นและจับตายแกนนำ
แนวร่วมทั้งที่ไม่มีและเคยมีค่าหัวนำจับ (แต่ยกเลิกหลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบายอนุรักษ์สายพันธุ์โจร
ระหว่างปลายปี ๒๕๔๙ - ปลายปี ๒๕๕๐) ได้หลายคน อีกทั้งยังทำให้ความสัมพันธ์ของชาวบ้านไทยพุทธและอิสลามในบางพื้นที่ดีขึ้น
ซึ่งในช่วงรายงายพบที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
สำหรับแนวโน้มของสถานการเชื่อว่า ตราบเท่าที่การต่อสู้/แย่งอำนาจการปกครองประเทศ
ระหว่างคน ๒ กลุ่ม ยังไม่ปรากฎผลแพ้ชนะอย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาดนั้น แนวร่วมและ
sympathizer จะต้องเร่งแสวงประโยชน์จากช่องว่างตรงนี้ ส่งออกรูปธรรมความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติและศาสนาไปทั่วประเทศ
พร้อม ๆ ไปกับการเร่งก่อเหตุเพื่อขับไล่ไทยพุทธและสยบอิสลามใน จชต. แต่ที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือความพยายามขยายและดึงความร้าวฉานระหว่างไทย
- กัมพูชา เข้าสู่ จชต. "อย่างจริงจัง" ของผู้ที่เรียกตัวเองว่าคนมลายูที่นับถือศาสนา
ซึ่งไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมของคนที่ต่างเชื้อชาติ/ศาสนาได้
ซึ่งต่างจากการเล่นเกมส์หลอกล่อมวลชนที่ฉลาดน้อยกว่าไปวัน
ๆ ของพันธมิตร ฯ และ ปชป.ใน กทม. อย่างไรก็ตามระดับความรุนแรงหรือความคลี่คลายของสถานการณ์ใน
จชต.จะขึ้นอยู่กับประการแรก ผู้ที่อยู่เบี้ยงหลัง/หนุนช่วยม็อบพันธมิตร จะตระหนักถึงความผิดพลาดและระงับอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการหาทางลงไม่ได้ของพันธมิตรได้เร็วเพียงใด
และประการที่สอง ความหนักแน่นในจุดยืนของผู้ปฏิบัติในพื้นที่
ในการจะไม่อ่อนข้อให้กับกลุ่มผู้ละเมิดกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประเทศ
สถิติและนัยของการก่อเหตุ
ซึ่งสะท้อนถึงความรุนแรงและการท้าท้ายที่เพิ่มขึ้น
การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๒๕ มิ.ย.๕๑
เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๘๐ เหตุการณ์ แม้จะมีจำนวนใกล้เคียงกับ
พ.ค.๕๑หากนอกจากจะมีลักษณะของการก่อเหตุที่ไม่มีการก่อกวน
เข้ามาปะปนอยู่ด้วยแล้วยังเริ่มกลับมากลับมามีความโหดเหี้ยมอุกอาจ
และท้าทายอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ผ่อนคลายลงในช่วง ๒ - ๓ เดือนที่ผ่านมาโดยเฉพาะการมุ่งกระทำต่อชุดลาดตระเวนและชุดคุ้มครองครู
ได้เกิขึ้นถึง ๒๐ เหตุการณ์ ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักอาทิการวางระเบิดที่
ม.๓ ต.ปากู อ.ทุ่งยางแดง เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๑ ซึ่งทำให้นายตำรวจระดับนายพันและลูกน้อง
เสียชีวิตรวม ๒ นาย ส่วนอีก ๕ นายบาดเจ็บสาหัส ขณะที่การซุ่มโจมตีที่ ม.๒
ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา เมื่อ ๒๐ มิ.ย.๕๑ ทำให้พลร่มจากค่ายนเรศวร เสียชีวิต
๑ นาย และบาดเจ็บสาหัสอีก ๕ นาย ซึ่งมีระดับนายพันรวมอยู่ด้วย และเมื่อ ๒๕
มิ.ย.๕๑ ก็ได้ลอบวางระเบิดคณะรอง ผบ.ฉก.๑๔ จ.ยะลา ขณะเดินทางไปเปิดอบรม ชรบ.ที่
ม.๗ ต.ปะแต อ.ยะหา ซึ่งทำให้นายทหารระดับนายพัน บาดเจ็บ ๑ นาย พร้อมกับทหารอีก
๔ นาย นอกจากนี้ยังมีการลอบเข้าไปกราดยิงในฐานที่ตั้งของ จนท.ที่สำคัญคือการขึ้นไปกราดยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รถไฟถึงบนรถ
เมื่อ ๒๑ มิ.ย.๕๑ ที่ ม.๑ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จนเป็นผลให้ จนท.เสียชีวิต ๔ นาย
และบาดเจ็บสาหัสอีก ๑ นาย
ทั้งนี้พื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุดคือ
จ.ยะลา
ซึ่งมีการก่อเหตุ ๓๕ เหตุการณ์ โดย อ.ยะหา และ อ.บันนังสตา เป็นพื้นที่ที่มีการก่อเหตุมากที่สุด
และจนท.เสียหายมากที่สุด รองลงมาคือ จ.นราธิวาส
๒๓ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ และ อ.ระแงะ เป็นพื้นที่ที่มีการก่อเหตุมากที่สุด
และ จนท.เสียหายมากที่สุด ขณะที่ จ.ปัตตานี
เกิดเหตุ
๒๑ เหตการณ์ โดย อ.ยะหริ่ง และ อ.มายอ เป็นพื้นที่ที่มีการก่อเหตุอย่างเด่นชัด
หากการก่อเหตุที่มุ่งกระทำต่อ จนท.กระจุกตัวอยู่ที่ อ.ทุ่งยางแดง ส่วน จ.สงขลา
มีการก่อเหตุ เพียง ๑ เหตุการณ์เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิง ๔๔ เหตุการณ์
รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๒ เหตุการณ์ การซุ่มยิง ๑๐ เหตุการณ์ และการวางเพลิง/เผา
๔ เหตุการณ์ อนึ่ง พบว่าการก่อเหตุต่ออิสลามนั้นนอกจากจะมุ่งกระทำต่อกลไกรัฐแล้ว
ยังพบว่าการบุกเข้าไปยิงเป้าหมายในบ้านเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก ขณะที่การกระทำต่อไทยพุทธเพิ่มขึ้น
หากสถานที่เกิดเหตุจะอยู่ระหว่างการเดินทาง
อีกทั้งยังเริ่มมีการกระทำต่อเป้าหมายครูอีกครั้งหนึ่ง
แกนนำแนวร่วมและsympathizer ยังเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยพื้นที่และกระจาย ความเป็นมลายูอิสลามออกจาก
จชต.
แกนนำแนวร่วมและsympathizer เร่งฉวยโอกาสจากการที่ทั้งรัฐบาลและสาธารณชนมุ่งสนใจการต่อสู้ทางการเมือง
และการเร่งสร้างความร้าวฉานระหว่างไทย - กัมพูชา ของพันธมิตรและ ปชป. เคลือนไหวปูทางไปสู่การรื้อฟื้นรัฐปัตตานีและการส่งออกความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา
จาก จชต.อย่างมุ่งมั่น โดยในช่วงรายงานได้แก่
๑. แกนนำแนวร่วมก็ได้วางแผนส่งความเป็นมลายูอิสลาม ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมของคนต่างเชื้อชาติศาสนาได้ออกทั่วประเทศ
โดยเมื่อ ๔ มิ.ย.๕๑ นาง...ประธานอนุกรรมการด้าน.....ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้เสนอให้บรรจุภาษามลายูกลางเป็นภาษาต่างประเทศที่
๒ ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ในปีการศึกษา
๒๕๕๓ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน ใน ๓ จชต. มีโอกาสไปเรียนต่อยังประเทศมาเลเซีย
อินโดนีเซีย บรูไน ซึ่งปัญหาที่จะตามมาคือการเปิดสถานศึกษาอิสลามกระจายออกทั่วประเทศ
เนื่องจาก นศ.เชื้อชาติ/ ศาสนาอื่น ๆ จะถูกกดดันให้ถอยร่นออกจากสถานศึกษานั้น
ๆ ดังที่เกิดขึ้นแล้วใน ๓ จชต.หรือในหลาย ๆ สถาบันการศึกษาในกรุงเทพ ฯ อาทิ
รามคำแหง
วิทยาลัยเกริก
๒. นายกสมาคม...แห่งประเทศไทย และอดีตรองประธานกรรมการ...... จ.ยะลา ได้ให้สัมภาษณ์
กลาง มิ.ย.๕๑ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน
พ.ศ.๒๕๔๘ ออกไปอีก ๓ เดือน โดยอ้างว่าไม่สามารถยุติความรุนแรงได้ ทั้งยังได้ส่งสัญญาณชี้นำว่า
ในทุกครั้งที่มีการประกาศขยายเวลาแนวร่วมมักจะปฏิบัติการรุนแรงตอบโต้ทุกครั้งเช่นกัน
๓. รองประธานกรรมการ....จ.ปัตตานี ได้สั่งการให้นาย...ครูศาสนา ร.ร..... .ม.๑
ต.ควน อ.ปะนาเระ จัดส่งวัยรุ่นชายหญิง ๘ คน จาก ม.๑ ม.๒ ม.๓ ต.กระหวะ ไปฝึกการสู้รบที่
อาเจ๊ะห์ อินโดนีเซีย
๔. องค์กรอิสลามหลายองค์กร ได้แก่ สนง.คณะกรรมการ... จ.ยะลา สถาองค์การ...แห่งประเทศไทย
สภายุว...แห่งประเทศไทย มูลนิธิวัฒนธรรม...แห่งประเทศไทย มูลนิธิ...ชุมชน
และศูนย์ทนายความ... ได้ฉวยโอกาสจากการที่พันธมิตรและ ปชป.ร่วมกันปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
ร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อชี้นำให้เห็นว่า รัฐบาลกัมพูชามีเจตนากลั่นแกล้งกล่าวหาคนมลายูอิสลาม
๒ คน ที่ไปถูกจับกุมว่าเป็น J.I ซึ่งเป็นการขยายความบาดหมางระหว่างงไทยกัมพูชา
สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของ ปชป.และพันธมิตรที่กรุงงเทพ ฯ หากเป็นการกระทำที่มุ่งหวังให้เกิดความร้าวฉานอย่างจริงจัง
การตรวจค้นและจับกุมยังเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
การเคลื่อนไหวที่สำคัญที่แนวร่วมและsympathizer ได้พยายามขัดขวางอย่างต่อเนื่องคือการตรวจค้นและจับกุม
ซึ่งสัมฤทธิผลในระดับที่ทำให้ชาวบ้านในบางพื้นที่มีความมั่นใจจนกล้าที่จะแจ้งเบาะแสเมื่อพบการเข้ามาของคนจากต่างพื้นที่
จนทำให้การตรวจค้นและจับกุมของ จนท.แม่นยำมากขึ้น
โดยในช่วงรายงานนั้นพื้นที่ที่มีการตรวจค้น/จับกุมมากที่สุดคือ จ.นราธิวาส
ทั้งนี้รูปธรรมของสัมฤทธิผลดังกล่าวอาทิ การตรวจค้นที่ ม.๗ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ
จ.นราธิวาส เมื่อ ๖ มิ.ย.๕๑ ซึ่งทาง จนท.สามารถจับตายแกนนำแนวร่วมคือนายอัลอินซาน
นิกาจิ ซึ่งเคยมีค่าหัวนำจับ ๑ ล้านบาท ได้ ๑ คน และจับกุมได้อีก ๒ คนคือ
นายบอเฮง ยามา และนายนิอาแซ คอแม ซึ่งเคยมีค่าหัวนำจับคนละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ขณะที่การตรวจค้นที่
ม.๓ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๕๑ ซึ่งทาง จนท.สามารถจับตายแกนนำแนวร่วมได้ถึง ๖ คน อาทิ นายมะกอเซ็ง/มะสือดี
อภิบาลแบ นายอิสมาแอ อาลีมามะ นายมาหามะสุกรี กาโบะ ส่วนที่ จ.ปัตตานี
ปรากฎว่าเมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๑ สามารถจับกุมแกนนำแนวร่วมคนสำคัญคือนายอับดุลเลาะ
สะแต ซึ่งเคยมีค่าหัวนำจับถึง ๑ ล้านบาท ได้ที่ ม.๒ ต.เกาะเปาะ อ.หนองจิก
พร้อมกับนายมูฮัมหมัดอามีน หะยีดือราแม
นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจค้นและบจับกุมอย่างต่อเนื่อง สามารถกดดันให้แนวร่วมหลบหนีออกจากพื้นที่ได้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของชาวบ้านไทยพุทธและอิสลามในหลาย
ๆ พื้นที่ดีขึ้น ซึ่งในช่วงรายงานพบที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งปรากฎว่าหลังจากมีกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาประจำอยู่ในพื้นที่
โดยเฉพาะที่ ม.๒ บ้านกล้วย/บ้านควน ทำให้แนวร่วมบางส่วนหลบหนีออกจากพื้นที่
ขณะที่บางส่วนที่ยังอยู่ก็ต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำให้คนไทยพุทธและอิสลามในพื้นที่เริ่มกล้าที่จะไปมาหาสู่และทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว
แม้ว่าจะต้องระวังตัวขณะเดินทางเข้าออกตำบลที่ต้องผ่านหมู่บ้านอิสลาม
และความไม่เป็นมิตรของเยาวชนในโรงเรียนมูลนิธิ...ซึ่งมีนักเรียนมาจากนอกพื้นที่อยู่บ้างก็ตาม
อีกทั้งยังทำให้ ผญบ.ม.๘ กล้านำผู้ที่เรียกกันว่าผู้หลงผิดออกมามอบตัวได้อีกด้วย
รัฐบาลยังคงรอมชอมและหยิบยื่นไมตรีให้กับมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลยังคงรอมชอมและหยิบยื่นไมตรีให้กับมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงรายงานได้มีมติให้นำ
model อาเจ๊ะห์ มาใช้แก้ปัญหา จชต. มีการนำเด็กมลายูอิสลามจาก ร.ร.สอนศาสนาเด็กเล็กไปทัวร์ภูเก็ตและการเข้าสานสัมพันธ์กับ
รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม
๑. เมื่อ ๓ มิ.ย.๕๑ ครม.มีมติให้นำ model อาเจ๊ะห์มาใช้แก้ปัญหา จชต.
ทั้งที่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันอยู่มาก อาทิ
- ใน จชต.มีคนต่างเชื้อชาติศาสนาคือไทยพุทธปะปนอยู่ด้วย อันจะเป็นปัญหาหากมีการนำกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้
- ปัญหาภาคใต้มีหลายมิติปนกัน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันควรที่จะต้องมีการเจรจาสงบศึก/แบ่งแยกการปกครอง
ด้วยสาเหตุเหล่านี้
- การก่อเหตุใน จชต.ไม่มีผู้ประกาศตัวรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่สามารถหาตัวผุ้ที่จะมาเจรจา/ตกลงกันได้
- อาเจ๊ะห์ เป้นปัญหาระดับนานาชาติ ขณะที่ไทยยืนยันปัญหา จชต.เป็นปัญหาภายในของประเทศ
๒. เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๑ พล.ต.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ฉก.นราธิวาส ได้พบปะสร้างสัมพันธ์กับเจ้าของ
รร.อิสลามบูรณะโต๊ะนอ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ม.๔ ต.มะนังตายอ อ.เมือง จ.งนราธิวาส
๓. เมื่อ ๑๕ มิ.ย.๕๑ พ.อ.วีรพงษ์ สรวงสร หน.ศูนย์กิจกรรมพลเรือน กองกำลังสันติสุข
กองทัพบก ได้นำเด็ก ๘๔ คน จาก ร.ร.ศอนศาสนาเด็กเล็ก ๘๔ คน จาก ๓ จชต.ไปเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวที่ภูเก็ต
การเข้าไปแสวงประโยชน์จากมลายูอิสลามเพื่อเสริมสร้างและเพิ่มบทบาทของคนสำคัญในสังคมไทย
นอกเหนือจากความพยายามรอมชอมและหยิบยื่นไมตรีให้กับมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลแล้ว
ยังพบว่าบุคคลสำคัญในสังคมไทยยังได้เข้าไปให้แสวงประโยชน์จากความเป็นมลายูอิสลาม
เพื่อเสริมสร้างบทบาท ความเด่นดัง และเพื่อเตือนย้ำความยังมีตัวตนของคนสำคัญในสังคมไทย
ซึ่งการกระทำของ
บุคคลดังกล่าวในบางกรณี
นอกจากจะเป็นการสั่นคอนขวัญกำลังใจของสุจริตชนแล้ว ยังกลายมาเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานของ
จนท.ในพื้นที่ ดังเช่นกรณีการเข้าไปเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับสถาบันการศึกษาแนวร่วม
ดังนี้
๑. เมื่อ ๑๖ มิ.ย.๕๑ ได้มีผู้ไปตรวจเยี่ยมและแสดงความชื่นชมเป็นอย่างยิ่งต่อการก่อสร้างปอเนาะ
ต้นแบบที่สถาบันปอเนาะอิสลามศาสน์
ดารุสลาม ม.๓ ต.ตาเซะ อ.เมือง จ.ยะลา
๒. ขณะที่ทหาร/ตำรวจกำลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วง มิ.ย.๕๑ กลับปรากฎว่าได้มีผู้เดินทางไปให้กำลังใจมอบของขวัญและเลี้ยงอาหารกลางวัน
แก่ครูและนักเรียน ๔๐๐ คน ของ ร.ร.ธรรมวิทยามูลนิธิ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็น
ร.ร.แนวร่วม แและที่สำคัญคือได้ยอมรับเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้แก่ ร.ร.แห่งนี้อีกด้วย
เมื่อ ๒๖ มิ.ย.๕๑ ...การที่มีผู้มาเป็นเกราะป้องกันโจร จะทำให้การเข้าตรวจค้น/จับกุมแนวร่วมที่เข้ามาหลบซ่อนอยู่ในสถานที่แห่งนี้
ซึ่งเคยทำได้ยากอยู่แล้ว อาจทำไม่ได้อีกเลย โดยเฉพาะการปรามการปลุกระดมและการปลูกฝังแนวคิดการรื้อฟื้นรัฐปัตตานี
|