ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๑ ต.ค.๕๑

           ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน จชต. ใน ต.ค.๕๑ ยังคงได้แก่ การก่อเหตุซึ่งดูเหมือนจะลดพลังลง หากยังมีความพยายามที่จะรักษาระดับความถี่ของการก่อเหตุเอาไว้ ขณะที่การตรวจค้นและจับกุมอย่างต่อเนื่อง ยังคงสามารถสกัดกั้นการเคลื่อนไหว และการก่อเหตุของแนวร่วมได้อย่างน่าพอใจ จนทำให้แกนนำ แนวร่วมและผู้อุปถัมภ์ (sympathizers)  อิสลาม ต้องพยายามขัดขวางพร้อม ๆ ไปกับการ ทำลายความน่าเชื้อถือ (discredit)  รัฐบาล และการเพิ่มความแปลกแยก / ความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลามใน ๓ จชต. ด้วยการเพิ่มรูปธรรมของความแตกต่างด้านเชื้อชาติ และศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่รัฐบาลก็ยังมุ่งมั่นซื้อใจอิสลามอย่างไม่ลดละ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น  ทำให้ครูไทยพุทธซึ่งเป็นผู้สืบสานของวัฒนธรรมไทยพุทธ โดยเฉพาะภาษาไทยต้องถอยร่นออกจาก ๓ จชต.อย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มของเหตุการณ์ในสภาวะที่การต่อสู้ของการเมือง นอกสภากำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดุลยภาพ และดูเหมือนว่าฝ่ายรัฐกำลังจะได้เปรียบนั้น ระดับความรุนแรง หรือการคลี่คลายปัญหาใน จชต. น่าจะขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ และน่าจะคุมสภาพได้หากหน่วยงานที่รับผิดชอบ สามารถประสานความร่วมมือกันได้อย่างจริงใจ

           สถิติและนัยของการก่อนเหตุ  การก่อเหตุในช่วง ต.ค.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ แม้จะไม่ครบถ้วน แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะทำให้นัยสำคัญของเหตุการณ์ผิดพลาดไปนั้น สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๘๒ เหตุการณ์ ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๙๕ เหตุการณ์ ใน ก.ย.๕๑  ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.
บาเจาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๓๓ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุน้อยผิดปกติ ๑๐ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๒ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๑๓ เหตุการณ์  (เป็นการวางระเบิดต่อ เป้าหมายที่สามารถป้องกันตนเองได้ (Hard Target)  ๘ เหตุการณ์) การซุ่มโจมตีเกิดขึ้น ๑๒ เหตุการณ์ การวางเพลิง / เผา ๗ เหตุการณ์
            การก่อเหตุ ดูเหมือนจะลดลง หากยังมีความพยายามที่จะรักษาระดับความถี่ของการก่อเหตุ โดยเฉพาะที่ จ.ปัตตานี ซึ่งแกนนำแนวร่วมดูเหมือนจะสันทัดการเมืองมากกว่า จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส นั้น พบว่าการก่อเหตุเริ่มถี่ผิดปกติ ในช่วงตั้งแต่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ เช่นเดียวกับ จ.นราธิวาส  ขณะที่ จ.ยะลา ก็ได้มีความพยายามก่อเหตุ เพื่อชดเชยกับความถี่ที่ลดลง ด้วยการลอบวางระเบิดบริเวณตลาดสดพิมลชัย ในเขตเทศบาลนครยะลา ทำให้มีทหารบาดเจ็บสาหัส ๓ นาย และพลเรือน บาดเจ็บอีก ๕ คน เมื่อ ๒๙ ต.ค. ๕๑ นอกจากนี้ ยังพบความพยายามจะแสดงศักยภาพต่อ เป้าหมายที่สามารถป้องกันตนเองได้ (Hard terget) เพื่อคงไว้ซึ่งความฮึกเหิมและศรัทธาของแนวร่วม ด้วยการลอบวางระเบิด และซุ่มโจมตีชุดลาดตระเวนของทหาร ๒๐ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับ ๒๓ เหตุการณ์ใน ก.ย.๕๑ ทั้งยังเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง และด้วยการก่อเหตุให้ได้หลายครั้งต่อวัน ดังเช่นความพยายามก่อเหตุถึง ๗ เหตุการณ์ เมื่อ ต.ค.๕๑ ซึ่งทั้งหมดเป็นการเผาสถานที่ และการลอบยิงตัวบุคคล

           การตรวจค้นและจับกุมของเจ้าหน้าที่  ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอย่างสัมฤทธิผล ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ จำนวน ๙ ครั้ง สามารถสกัดกั้นการก่อเหตุ และการก่อเหตุครั้งใหญ่ ด้วยการวางระเบิดได้หลายครั้ง อีกทั้งยังมีการจับกุมและกำจัดแนวร่วม คนสำคัญได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจค้นที่ ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ๒ คน  เมื่อ ๑๔ ต.ค.๕๑  การตรวจค้น ๓ จุด ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหา ระดับปฎิบัติการ RKK ๑ คน พร้อมของกลาง เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นที่ ต.ดอน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งคนร้ายถูกยิงเสียชีวิต ๑ คน และสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้จำนวน ๖ คน เมื่อ ๑๖ ต.ค.๕๑  การตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ๖๐ แห่ง ที่ อ.รือเสาะ และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส  ซึ่งสามารถจับกุมตัวแกนนำฝ่ายเศรษฐกิจของกลุ่ม RKK ได้ ๑ คน  พร้อมผู้ต้องสงสัยอีก ๗ คน เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นที่ ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งคนร้ายเสียชีวิต ๒ คน เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นเป้าหมาย ๕ จุด ที่ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส พบแหล่งประกอบวัตถุระเบิด พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ ๕ คน เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๑  การตรวจค้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จำนวน ๒ จุด สามารถตรวจยึดอาวุธปืนสงคราม เครื่องกระสุน และวัตถุประกอบระเบิด ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๑
            อย่างไรก็ตามการปฎิบัติการ จะต้องรอบคอบ เนื่องจากมีการเฝ้าจับผิดเพื่อแข่งขันสร้างผลงานขององค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งในช่วงรายงาน ได้ออกมาส่งนัย ความไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวแล้ว

            ความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและผู้อุปถัมภ์ (sympathizers) อิสลาม  ที่น่าสนใจในช่วงรายงานมีทั้งการพยายาม  รัฐบาล และทั้งความพยายามเพิ่มความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลาม ใน ๓ จชต. ดังนี้
           การทำลายความน่าเชื่อถือ (discredit)  รัฐบาล  ด้วยการเข้าไปร่วมล้มล้างรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาล  รวมทั้งการโหมซ้ำเติมเมื่อรัฐเกิดความผิดพลาด และพลาดพลั้ง และการรื้อฟื้นเหตุการณ์ตากใบ ดังนี้
            -  ได้ออกแถลงการณ์ประฌามการใช้ความรุนแรง ในการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา โดยอ้างว่า เป็นการปิดโอาสในการเจรจาเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติ เช่นรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการใช้ความรุนแรง และคัดค้านการยกเลิกการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ลงในวันที่ ๑๘ เม.ย.๒๕๔๔ โดยอ้างว่า จะเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐ ใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งยังเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
            -  ประฌามการใช้ความรุนแรงของภาครัฐ ในการสลายการชุมนุม รวมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทบทวนบทบาท และเป้าหมายในการชุมนุม
            -  จัดงานรื้อฟื้นเหตุการณ์ตากใบ เพื่อตอกย้ำความแตกต่างของ จนท.ไทยพุทธ กับชาวบ้านมลายูอิสลาม
            -  นำภาพเหตุการณ์ที่ตากใบ มาเปิดเผย เพื่อสรุปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ประเทศหนึ่งของโลก
            -  ให้ความเห็นว่า รัฐพยายามถ่วงเวลาในการดำเนินคดีกับ จนท.
           ความพยายามในการเพิ่มความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลามใน ๓ จชต.   ของผู้อ้างว่าเป็นมลายูอิสลาม ยังเป็นไปอย่างมุ่งมั่น มั่นคง และต่อเนื่อง ดังนี้
            -  กำลังผลักดันให้รัฐบาลส่งมลายูอิสลามจาก ๓ จชต. ไปศึกษาวิชาแพทย์ต่อในต่างประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จ ในการส่งมลายูอิสลามเข้าศึกษาในสถาบันแพทย์ทั่วประเทศ ด้วยวิธีพิเศษมาแล้ว
             -  อ้างความพร้อมของอิสลามใน ๓ จชต. เตรียมเดินทางไปศึกษาการดำเนินการของศาลชารีอะฮ์ ในต่างประเทศ มุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม
            -  พยายามกีดกันและต่อต้านการเคลื่อนย้ายของคนไทยจากภาคอื่น และผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เข้าไปตั้งรกรากอยู่อาศัย และประกอบอาชีพใน ๓ จชต. ....ในขณะที่การส่งเสริมให้อิสลามใน ๓ จชต. กระจายตัวออกไปตั้งรกรากทั่วทุกแห่งของประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา

           ความเคลื่อนไหวของรัฐ  นอกเหนือจากการป้องปรามการก่อเหตุ ได้แก่ ความพยายามซื้อใจอิสลาม ทั้งการสร้างงาน การออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำพิธีทางสาสนา และการเตรียมให้ผู้หลงผิดเข้ามอบตัว โดยไม่ต้องโทษ
            - 
กอ.รมน.  ได้จำทำโครงการสร้างงานให้อิสลาม ๖๐,๐๐๐ คน ระหว่าง กันยายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๒  ซึ่งก็น่าจะเป็นปัญหาอยู่ เพราะการว่างงานของคนอิสลามส่วนหนึ่งอยู่ที่ ความไม่ต้องการจะทำงาน และไม่มีงานที่ต้องการจะทำให้ทำ
            -  ศอ.บต. ได้นำเงินงบประมาณร่ายจ่ายแผ่นดิน มาเป็นค่าเดินทางให้กับอิสลามทั้ง ๙๔ คน ๆ คนละประมาณ ๑๓๕,๐๐ บาท / คน เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจจ์ ซึ่งน่าจะเป็นการเพิ่มความรู้สึกถึง ความไม่เป็นธรรมให้แก่ศาสนิกชนของศาสนาอื่น ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย
            -  สมช. ให้ความเห็นชอบที่จะให้นำ มาตรา ๒๑ ของกฎหมายความมั่นคง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิด ด้านความมั่นคง เข้ามอบตัว และจะไม่ถูกดำเนินคดีเอาผิด ในลักษณะคล้าย ๆ กับการอภัยโทษอย่างอ่อน เหมือนกับนโยบาย ๖๖/๒๓ ที่แก้ปัญหาคอมมิวนิสต์ในอดีตด้วย มาใช้

           การเคลื่อนไหวของคนไทยพุทธใน ๓ จชต.  ในช่วงรายงานพบว่า คนไทยพุทธทั้งชาวบ้าน และข้าราชการยังคงถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
            -  พบว่าเด็กวัยรุ่นไทย ในพื้นที่อิสลามกำลังประสบปัญหาการถูกหลอกล่อให้เข้าสู่วงการค้ายาเสพติด และมีพฤติกรรมมั่วสุมกับอบายมุข ที่สำคัญคือ มีการใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมือหากิน อย่างน่าวิตกโดยกรณีแรกมักพบที่ อ.เบตง ส่วนกรณีหลังพบที่ ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา
            -  ข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑ ยื่นความจำนงเข้าร่วมโครงการเออร์ลี่ รีไทร์ ๙๕ คน แต่ทางสำนักงานเขตพื้นที่ ฯ สามารถพิจารณาให้เข้าโครงการได้เพียงร้อยละ ๕๐ ของจำนวนข้าราชการทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีครูที่ต้องการขอย้ายตัวเอง ออกจากพื้นที่อีกจำนวน ๒๓๖ คน อีกด้วย
            -  นายก อบต.ยะรม อ.เบตง จ.ยะลา  ซึ่งได้รับการเลือกตั้งด้วยใบแดง เมื่อ ๓๑ ส.ค.๕๑ ได้จัดม๊อบขับไล่ ปลัด อบต. เพราะไม่พอใจที่การเลือกตั้งครั้งนี้ มีคนไทยพุทธได้รับเลือกเข้ามาถึง ๙ คน และตนเองต้องใบแดง จนเป็นผลสำเร็จทำให้ ปลัด อบต. ต้องถูกโยกย้าย ภายใน ๒ พ.ย.๕๑

           แนวโน้มของปัญหา
            จุดรวมความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชน ได้ถูกการเมืองฉุดลากลงมาทำลายแล้ว อย่างสิ้นเชิง ทำให้การแพ้ชนะการทางเมือง ต้องไปขึ้นอยู่กับพลังของกลุ่มที่เอาด้วย กับกลุ่มของตนเองเป็นสำคัญ อันจะทำให้การแพ้ชนะทางการเมืองต้องยืดเยื้อต่อไป ระดับความรุนแรงของปัญหา ใน จชต. จึงขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งหาก จนม.สามารถประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยรับผิดชอบได้ ก็เชื่อว่าน่าจะคลี่คลาย / ควบคุม สถานการณ์ได้พอสมควร
            อย่างไรก็ตาม การปลุกปั่น / ยุแยกให้ชาวบ้านเกลียดชังตำรวจ และไม่ไว้ใจทหาร รวมทั้งการฉุดดึงสถาบันลงมาคลี่คลายภาวะความจนตรอก ได้มีส่วนทำให้ขวัญ / กำลังใจ จนท./ ข้าราชการและศรัทธาของประชาชนใน จชต. ถอถอยลง จนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ที่ดูเหมือนกำลังได้เปรียบ แนวร่วมถดถอยลงอย่างน่าเสียดาย และปัยหาราคายางพาราตกต่ำ น่าจะเป็นอีกปัญหาที่พรรคการเมือง จะเข้าไปแสวงประโยชน์ นำมาใช้แทรกแซง/ก่อความสับสนเพื่อ ทำลายความน่าเชื่อถือ (discredit)  รัฐบาล อันจะทำให้กระบวนการแก้ปัญหาการป้องปราม การเคลื่อนไหวของแนวร่วมมีอุปสรรคเพิ่มขึ้น
            อนึ่ง พบว่าการก่อเหตุใน จ.ยะลา ในช่วงเวลารายงานเกิดขึ้นน้อยอย่างผิดปกติ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุใน จ.นราธิวาส และ จ.ปัตตานี ดังนั้น จึงเชื่อว่าแนวร่วมจะกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมก่อเหตุ และน่าจะมีการก่อเหตุมากขึ้น ในช่วงเวลาต่อไป



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์