ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ – ๓๑ ต.ค.๕๓

          ความยุ่งยากทางการเมืองและภาวะน้ำท่วมหนักทั่วประเทศ ทำให้รัฐบาลไม่มีเวลาสำหรับการกดดันจากกลุ่มพลังภาคใต้ ส่งผลให้กลุ่มการเมือง กลุ่มสิทธิมนุษยชน และกลุ่มศาสนาอิสลามดูต้องลดความเคลื่อนไหวลง ที่สำคัญพบว่ากระแสข่าวที่ว่ากลุ่มประเทศอาหรับกำลังรุกคืบเข้าซื้อที่ดินจากชาวบ้านอิสลาม กำลังทำให้มลายูอิสลามบางส่วนโดยเฉพาะชาวบ้านที่มีความใกล้ชิดกับคนพุทธ และนักวิชาการเกิดความตื่นตัว หันกลับมาปกป้องไทยพุทธในชุมชนและใน ๓ จชต.ให้อยู่ในพื้นที่ต่อไปให้ได้ เพื่อคงการดูแลจากรัฐบาลไทยเอาไว้ ยกเว้นความพยายามกดดันให้มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯและการถอนทหาร ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะมีแนวโน้มการตอบรับที่ดีจากนรม.และหน่วยงานของรัฐ
         อย่างไรก็ตาม สื่ออินเตอร์เนตของอิสลาม กลับพยายามเสริมสร้างบทบาทด้วยการเร่งปลุกระดมฟื้นความแค้นมลายูอิสลาม และใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างความหวาดระแวงและความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื้อชาติและศาสนา ที่สำคัญคือพยายามรุกเข้าควบคุมวิถีชีวิตและการทำมาหากินของมลายูอิสลามโดยการใช้ศาสนาเข้าปลุกระดมเพื่อให้มีการใช้กำลังเข่นฆ่าผู้ที่ไม่อยู่ในกรอบที่พวกตนกำหนดไว้อย่างน่าวิตกยิ่ง เช่นเดียวกับกลุ่มนักศึกษาที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะโยนหินถามทางทดสอบท่าทีของคนไทยและหน่วยงานความมั่นคงว่าจะมีการขยับตัวบ้างหรือไม่กับปฏิบัติการกระทบฟ้าของพวกตน

สำหรับการก่อเหตุในช่วงระหว่าง ๑-๓๑ ต.ค.๕๓    เท่าที่รวบรวมได้ จำนวน ๗๕ เหตุการณ์ มีลักษณะของความพยายามต้าน/ยันและตอบโต้การรุกของจนท.ด้วยการใช้ชีวิตผู้บริสุทธิ์โดยเฉพาะชาวพุทธมาเป็นเครื่องมือต่อรอง ความพยายามเพิ่มสถิติด้วยการก่อเหตุกับเป้าหมายที่อ่อนแอ การหลีกเลี่ยงความสูญเสียและการเผชิญหน้าด้วยการลอบวางระเบิดและฝังกับระเบิด และความพยายามแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพในการประสานงานด้วยการใช้วันสัญลักษณ์ ๒๕ ต.ค.๕๓ ในการลงมือก่อเหตุกับคนไทยพุทธพร้อมๆกัน ๓ จังหวัด หากดูเหมือนจะสำเร็จได้ในระดับอำเภอของจ.นราธิวาส เท่านั้น ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุความรุนแรง เท่าที่รวบรวมได้ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๗๗ ราย แยกเป็นไทยพุทธ ๔๖ คน และอิสลาม ๓๑ คน โดย จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ปัตตานี ๒๔ เหตุการณ์ จ.ยะลา ๑๕ เหตุการณ์ และ จ.สงขลา ๒ เหตุการณ์

แนวโน้มของถานการณ์     การก่อเหตุใน ต.ค.๕๓ ที่มีการก่อเหตุพร้อมๆกันถึง ๑๙ จุด ในวันสำคัญ น่าจะเป็นความพยายามสูงสุดที่กลุ่มก่อเหตุจะทำได้แล้ว ดังนั้นหากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เชื่อว่าการก่อเหตุอย่างแท้จริงโดยไม่นับการก่อกวนน่าจะทำได้ในระดับ ๖๐-๗๐ เหตุการณ์/เดือน และอาจลดลงได้หากเกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ต้องพึงตระหนักถึง ประการแรก การก่อเหตุที่ลดน้อยลงผิดปกติใน จ.ยะลา และประการที่ ๒ การรุกคืบเข้าก่อเหตุใน ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดูเหมือนว่าพุทธ-อิสลามสามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนมายาวนาน เพื่อส่งนัยของการคุกคามไปยังการอยู่ร่วมกันของพุทธ-อิสลามในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งยังมีอยู่อีกหลายพื้นที่โดยเฉพาะในปัตตานี อนึ่ง การเตรียมยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในบางพื้นที่ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นนั้น ต้องพึงตระหนักด้วยว่าการไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนไทยพุทธใกล้เคียงกับอิสลาม และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีมาตรการป้องปรามที่มีประสิทธิภาพคุมสภาพพื้นที่อยู่อยู่ ดังนั้นการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯอย่างไม่รอบคอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีไทยพุทธจำนวนน้อยปะปนอยู่ เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุกเข้าควบคุมอิสลามในพื้นที่ได้ เช่นเดียวกับการยกเลิก ศอ.บต.และพตท.๔๓ เมื่อประมาณปี ๒๕๔๖ มาแล้ว โดยเฉพาะต้องระวังการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในอ.เบตง ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีลักษณะของ“ภัยคุกคามที่มองไม่เห็น แต่สัมผัสได้” ด้วย

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ต.ค.๕๓ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๗๕ เหตุการณ์ ซึ่งต่ำกว่า ๙๔ เหตุการณ์ (เป็นการก่อกวน ๓๘ เหตุการณ์)ในช่วงเดียวกันของ ก.ย.๕๓ ทั้งนี้ จ.นราธิวาส ที่มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๔ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุ มากที่สุด ๙ เหตุการณ์ นอกนั้นมีการก่อเหตุอำเภอละ ๑-๓ เหตุการณ์ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๔ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ยะรัง และ อ.สายบุรี มีการก่อเหตุ พื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา ๑๕ เหตุการณ์ โดย อ.รามัน มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๐ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๗๕ เหตุการณ์ แยกเป็น การลอบยิงตัวบุคคล ๓๘ เหตุการณ์ การวางระเบิด ๓๒ เหตุการณ์ การซุ่มโจมตี ๒ เหตุการณ์ และการเผาสถานที่ ๒ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๑ เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เท่าที่รวบรวมได้จำนวน ๗๗ คน แยกเป็น ไทยพุทธ ๔๖ คน (เสียชีวิต ๑๖ คน บาดเจ็บ ๓๐ คน) อิสลาม ๓๑ คน (เสียชีวิต ๑๔ คน บาดเจ็บ ๑๗ คน)

ข้อพิจารณา
         ๑.การก่อเหตุแสดงนัยชัดเจนถึงความพยายามที่จะต้าน/ยันการรุกไล่ของ จนท. ด้วยการใช้ชีวิตของผู้บริสุทธิ์ไทยพุทธเป็นเครื่องมือต่อรอง ส่งผลให้คนไทยพุทธสูญเสียถึง ๔๖ ราย สูงกว่าการสูญเสียของอิสลาม
         ๒.การก่อเหตุมีลักษณะของการรักษาสถิติการก่อเหตุไม่ให้ตกลง โดยการก่อเหตุต่อเป้าหมายที่อ่อนแอ ซึ่งเดินทางตามลำพัง และการใช้วันที่ ๒๕ ต.ค.๕๓ โหมการก่อเหตุถึง ๑๙เหตุการณ์ ในวันเดียว
         ๓.การก่อเหตุมีลักษณะของความพยายามที่จะแสดงศักยภาพ โดยการก่อเหตุพร้อมๆกัน ๓ จังหวัด แต่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จเฉพาะใน จ. นราธิวาส เท่านั้น โดยมี อ.รือเสาะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยัง อ.รามัน จ.ยะลา เพียง ๑ จุดคือที่ต.ตะโละหะลอ สู่ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อีก ๑ จุดที่ ต.กะรุบี เท่านั้น และกระจายไปยังอำเภอต่างๆรอบๆ ได้แก่ อ.ระแงะ อ.ยี่งอ อ.บาเจาะ อ.ศรีสาคร ..
         ๔. การก่อเหตุแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความพยายามหลีกเลี่ยงความสูญเสีย และการเผชิญหน้า ทำให้การลอบวางระเบิดและการโจมตีต่อ hard target ลดลงเหลือเพียง ๕ เหตุการณ์ เท่านั้น หากหันไปลอบวาง/ฝังระเบิดต่อเป้าหมาย soft target แทนถึง ๒๗ เหตุการณ์
         ๕. กลุ่มก่อเหตุกำลังทำลายภาพลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างพุทธ-อิสลาม ในพื้นที่ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งมีทั้งการวางระเบิดตลาด และการยิงผู้ใหญ่บ้านไทยพุทธ อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน ๒ เดือน เพื่อส่งนัยเตือนให้เห็นถึงอันตรายของการอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธ-อิสลาม ไปยังพื้นที่อื่นๆ

การเคลื่อนไหวของแกนนำและ sympathizer
         เนื่องจากความยุ่งยากทางการเมืองและอุทกภัยอย่างหนักทั่วประเทศ ทำให้กลุ่มการเมือง กลุ่มสิทธิมนุษยชน และกลุ่มศาสนาอิสลามไม่มีช่องทางกดดันรัฐบาลได้ จนต้องลดความเคลื่อนไหวลง (ยกเว้นกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ) จึงเกิดช่องว่างให้สื่ออินเตอร์เนตของอิสลามแทรกเข้ามาปลุกปั่นสร้างความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื้อชาติและศาสนาทั้งในและนอก๓ จชต.อย่างน่าวิตกยิ่ง เช่นเดียวกับการปลุกกระแสชาตินิยมอิสลามเพื่อแยกอิสลามออกจากโลกภายนอก โดยเฉพาะสื่อไทยแลนด์นิวส์ดารุสลาม ขณะที่กลุ่มนักศึกษามลายูอิสลามกำลังทดสอบมาตรการและความจริงใจของคนไทยและหน่วยงานของรัฐต่อสถาบันกษัตริย์ อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก
          การปลุกปั่นสร้างความแตกแยกระหว่างพุทธ-อิสลาม
         - วัดย่านหนองจอก ขวางนร.คลุมฮิญาบในโรงเรียน (thailandnewsdarussalam.com ๘ ต.ค.๕๓)
         - มุสลิมเพื่อสันติแถลงการณ์ ๖ ปีตากใบ จี้รัฐคืนความยุติธรรมสู่ชายแดนใต้ (ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๒๕ ต.ค.๕๓)
         - ความยุติธรรมเดินช้า "คดีอัสฮารี-อิหม่ามยะผา-ไอร์ปาแย" ยังไม่เห็นแสงสว่าง!.(สถาบันอิศรา ๒๓ ต.ค.๕๓)
         - ปฏิบัติการสังหารหมู่ชาวมลายูมุสลิม.....ลอบเผาบ้านชาวไทยพุทธลางร้าย......สงครามเชื้อชาติ “ (bungarayanews.com ๙ ต.ค.๕๓)
          การนำศาสนามาเป็นเครื่องมือควบคุมวิถีชีวิตอิสลาม
         - ชาวรือเสาะกว่า ๑ พันคน ร่วมพิธีทางศาสนา?!? ขอให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ - (ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๓๐ ต.ค.๕๓)
         - มิวสิควีดีโอจับสาวสวยคลุมหิญาบ(แต่งกายมุสลิม) เต้นสายสะโพกยั่วน้ำลาย (มุสลิมไทยดอทคอม ๑๐ ต.ค. ๕๓)
         การถอนทหารและการยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน
         - เสนอรัฐถอนทหาร๓จว.ตั้งเขตปกครองพิเศษแก้ปัญหา (เนชั่นทันข่าว ๕ ต.ค. ๕๓)
         - ชำแหละ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เปิดช่องละเมิดสิทธิ-สวนทาง รธน. (สถาบันอิศรา ๓๑ ต.ค.๕๓)
          การรุกคืบดึงสถาบันฯเข้าสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและศาสนา
         - ๒๐๐นักศึกษาใต้รำลึกตากใบ ‘ตะโกนบอกฟ้า’องค์กรฯสิทธิออกแถลง (bungaraya ๒๖ ต.ค.๕๓)
         - รำลึก ๖ ปีตากใบ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ วันแรกที่ “เหยื่อแดนใต้.... เริ่มกำพร้า” (BungarayaNews ๒๗ ต.ค.๕๓)
         - ๖ ปีตากใบ เมื่อกระบวนการยุติธรรมมิอาจให้ความเป็นธรรม (thailandnewsdarussalam .com ๒๗ ต.ค.๕๓)

ความเคลื่อนไหวของรัฐบาล
         หน่วยงานของรัฐยังคงมุ่งซื้อใจมลายูอิสลามอย่างไม่ลดละ โดยในช่วงรายงาน พบว่านอกเหนือจากการจัดงบประมาณสำหรับประกันตัวผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่เป็นมลายูอิสลามพร้อมการจัดหาอาชีพให้แล้ว ยังมีความพยายามที่จะยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯ ในบางพื้นที่ ดังเช่น ในพื้นที่ อ.เบตง หรือ อ.กาบัง จ.ยะลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

ข้อพึงพิจารณา
         ๑. พื้นที่ทั้ง ๔ อำเภอดังกล่าวนั้น เมื่อดูเผินจะมีความคล้ายกันคือการก่อเหตุในพื้นที่มีน้อย หากเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่าทั้ง ๔ อำเภอยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดย ๒ อำเภอ คือ อ.เบตงและอ.แม่ลาน เป็นพื้นที่ซึ่งกลไกรัฐและประชากรพุทธ-อิสลามมีจำนวนใกล้เคียงกัน จึงยังสามารถถ่วงดุลกันได้ ส่วนอีก ๒ อำเภอ คือ อ.กาบังและ อ.แว้ง เป็นพื้นที่ซึ่งมีคนไทยพุทธจำนวนน้อยโดยเฉพาะ อ.กาบัง มีเพียง ๑๕.๗% เท่านั้น แต่อำเภอนี้คนไทยพุทธ-อิสลามแยกกันอยู่คนละตำบลจึงสามารถดูแลชุมชนของตนเองได้ ขณะที่อ.แว้งนั้นในบางพื้นที่ คนไทยพุทธมีจำนวนน้อยอย่างน่าอันตรายปะปนอยู่กับอิสลาม ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน มีการก่อเหตุน้อยเหมือนกัน คือ มาตรการป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของแนวร่วมทั้งในและนอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯและการมีกำลังทหารนอกพื้นที่ ๓ จชต.เข้ามาประจำอยู่ ดังนั้นการยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯย่อมส่งผลกระทบต่อความสงบของพื้นที่ดังกล่าวอย่างแน่นอน
         ๒. พื้นที่ซึ่งดูเหมือนว่าคนพุทธ-อิสลามสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ คือเป้าหมายการรุกทำลายของแนวร่วม ดังนั้น ความพลั้งพลาดด้วยการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยขาดความรอบคอบ ขาดการพิจารณาสภาพแวดล้อมที่แตกต่างของแต่ละพื้นที่ และไม่มีมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพ ย่อมเป็นการเปิดทางรุกให้กับฝ่ายตรงข้ามในทันที่

ผนวก

         วัดย่านหนองจอก ขวางนร.คลุมฮิญาบในโรงเรียน ...นักเรียนมุสลิมมะฮฺร้องเรียน หลังพบว่าวัดหนอกจอกซึ่งเป็นผู้อุทิศที่ดินในการก่อสร้างโรงเรียน พยายามแทรกแซงการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน ขัดขวางการอนุญาติให้นักเรียนมุสลิมะฮฺ คลุมฮิญาบในโรงเรียน ทนายฮานีฟ หยงสตาร์ประธานคณะทำงานด้านกฏหมาย กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ เปิดเผยกับสำนักข่าว TND ว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนล่าสุดเกี่ยวกับปัญหาการคลุมฮิญาบของนักเรียนมุสลิมะฮฺ ในโรงเรียน ซึ่งเป็นกรณีที่แตกต่างจาก หลายกรณีที่มีการร้องเรียนผ่านมาทางคณะทำงานด้านกฏหมายของกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ และมีการดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งกรณีก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาพบว่าปัญหาเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของ เจ้าหน้าที่ เมื่อทำการชี้แจงเรื่องหลักการศาสนาเกี่ยวกับการคลุมฮิญาบ และด้านกฏหมาย แล้วก็จะได้รับการตอบรับที่ดีและอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน นักศึกษา มุสลิมในการปฏิบัติศานกิจมาโดยตลอด
          แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด พบว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการแทรกแซงจากภายนอกของคณะผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งทางนักเรียน และผู้ปกครองได้มีการดำเนินการในการส่งเอกสารชี้แจงเรื่องการคลุมฮิญาบ กับ ทางโรงเรียน แล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบรับจากทางโรงเรียน จึงได้ร้องเรียนเพื่อให้ทางกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติเข้าไปช่วยในการชี้แจง และแก้ปัญหาดังกล่าวหลังพบว่ามูลเหตุที่ทำให้ทางโรงเรียน ยังไม่ยอมอนุญาติให้นักเรียนมุสลิมะฮฺคลุมฮิญาบไปเรียนได้เนื่องจากถูกแทร แซงจากทางวัด ซึ่งเป็นผู้อุทิศที่ดินในการก่อสร้างโรงเรียนดังกล่าว ไม่อนุญาติให้มีการคลุมฮิญาบในโรงเรียนได้ ทั้งที่โดยหลักการศาสนา และข้อกฏหมาย แล้วโรงเรียนมีหน้าที่ต้องส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัติ และยึดมั่นในหลักการของศาสนา และฮิญาบก็เป็นหลักการหนึ่งในศาสนา และระเบียบการแต่งการของกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ระบุชัดเจนถึงการอนุญาติให้มีการแต่งกายคลุมฮิญาบตามหลักกรศาสนาอิสลามได้
          และในทางกฏหมายแล้ว ทางวัด หรือจะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลใดก็ตาม ที่มีการอุทิศ หรือยกที่ดินให้ในการก่อสร้างโรงเรียน ก็ไม่ได้ทำให้คน หรือกลุ่มคนเหล่านั้นเข้ามามาสิทธิเหนือผู้บริหารของโรงเรียน ในการกิจการของโรงเรียน ให้เป็นไปตามกรอบของกฏหมาย ซึ่งหลังจากนี้ทางคณะทำงานด้านกฏหมาย จะมีดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ เพื่อปกป้องสิทธิในการปฏิบัติศาสนกิจของพี่น้องมุสลิมอย่างถึงที่สุดต่อไป (thailandnewsdarussalam.com ๘ ต.ค.๕๓)
         มุสลิมเพื่อสันติแถลงการณ์ ๖ ปีตากใบ จี้รัฐคืนความยุติธรรมสู่ชายแดนใต้...กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ องค์เอกชนที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิของพี่น้องมุสลิมที่ถูกละเมิดสิทธิฯ ทั้งในและต่างประ- เทศ ภายใต้การนำของเชคริฏอ อะหมัด สมะดี ได้ออกแถลงการณ์ในวาระครบรอบ ๖ ปีเหตุกาณ์ตากใบโดยระบุว่า
         สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจากหน่วยต่างๆ ถูกระดมมาเพื่อสลายผู้ชุมนุมชาวมุสลิมที่มารวมตัวกันอยู่หน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผู้ชุมนุมประท้วง ๗ คนถูกยิงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะที่ผู้ชุมนุมประท้วงอีก ๗๘ คนขาดอากาศหายใจ หรือถูกทับจนเสียชีวิตระหว่างที่ถูกขนย้ายไปยังสถานที่ควบคุมตัว การดูแลทางการแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในช่วงเวลาหลายวันที่ผู้ชุมนุมประท้วงกว่า ๑,๒๐๐ คนอยู่ในความควบคุมของทหาร ทำให้มีผู้ประท้วงจำนวนมากมีอาการบาดเจ็บรุนแรง และต้องถูกตัดแขน หรือขา ……….
         กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลในฐานะของประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีความจริงใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการดำเนินการทั้งทางวินัย และอาญากับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าเหตุ จนเป็นเหตุให้มีการสูญเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมากในเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาติสมาชิกในสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อันจำนำมาซึ่งความสมานฉันท์ จากความเข้าใจในเหตุการณ์ เข้าถึงจิตใจของผู้เสียหาย และพัฒนาไปสู่สันติสุขในพื้นที่อย่างแท้จริง (ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๒๕ ต.ค.๕๓)
         ความยุติธรรมเดินช้า "คดีอัสฮารี-อิหม่ามยะผา-ไอร์ปาแย" ยังไม่เห็นแสงสว่าง!. ....พลิกแฟ้มคดีคาใจคนชายแดนใต้ ทั้ง “อัสฮารี-อิหม่ามยะผา-ไอร์ปาแย” แทบไม่มีความคืบหน้า ทั้งๆ ที่คดีเกิดมากว่า ๓ ปี ๒ ปี และ ๑ ปีตามลำดับ …..
         - ๓ ปีที่รอคอยของครอบครัว “อัสฮารี สะมาแอ”…..
         - ครอบครัว“อิหม่ามยะผา”ลุ้นศาลรับฟ้อง…..
         - คดีกราดยิงในมัสยิดไอร์ปาแยนิ่งสนิท…..(สถาบันอิศรา ๒๓ ต.ค.๕๓)
         ปฏิบัติการสังหารหมู่ชาวมลายูมุสลิม.....ลอบเผาบ้านชาวไทยพุทธลางร้าย......สงครามเชื้อชาติ “.....เป็นเหมือนมุ่งประสงค์ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์และเจาะจงศาสนาโดยใช้วิธีอุจอาจเพื่อเขย่าขวัญให้คนทั้งสองกลุ่มศาสนาเกิดความหวาดกลัวจนนำไปสู่ความระแหวงต่อกัน ระแหวงจนชาวมุสลิมไม่กล้าผ่านในหมู่บ้านไทยพุทธ และไทยพุทธไม่กล้าไปมาหาสู่คนมุสลิม…..ยิ่งเป็นการเพิ่มความระแวงของชาวมุสลิมต่อเจ้าหน้าที่รัฐกรณีเหตุการณ์ไอร์ปาแยและการลอบสังหารครอบครัวอิหม่านคอลอกาปะ ดูเหมือนไม่สามารถจัดการกับคนร้ายได้ แต่การสังหารชาวไทยพุทธที่ฮูแตยือลอไม่ทันข้ามวันผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นแกนนำอาร์เคเคก็ถูกออกหมายจับ....
          เมื่อสถานการณ์เปราะบางเช่นนี้ รัฐยังไปจัดตั้งกลุ่มกองกำลังป้องกันหมู่บ้านเพื่อฝึกการใช้อาวุธพร้อมมอบอาวุธให้ครอบครองในหมู่บ้านชาวไทยพุทธเพื่อหวังที่จะให้กองกำลังประชาชนชาวไทยพุทธดูแลตนเอง… เป็นเงื่อนไขความขัดแย้งที่พร้อมจะผลัดประชาชนผู้ถูกผลกระทบจากเงื่อนไขดังกล่าวและประชาชนที่ไม่เห็นด้วยต่อการปกครองโดย แยกชาติพันธุ์แล้วปกครอง เป็นแนวร่วมมุมกลับกับขบวนการที่มองไม่เห็นที่ครั้งหนึ่งหน่วยข่าวของรัฐรายงานว่ามีกองกำลังรบ RKK อยู่ ๓,๐๐๐ คน และ แนวร่วมสนับสนุน ๓๐๐,๐๐๐ คน หรือว่ามันยังจะเพิ่มอีก…….” (bungarayanews.com ๙ ต.ค.๕๓)
         ชาวรือเสาะกว่า ๑ พันคน ร่วมพิธีทางศาสนา?!? ขอให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ …….วานนี้ (๒๙ ต.ค.) เมื่อเวลา ๑๔.๓๐ น.พล.ต.สุภัช วิชิตการ รองแม่ทัพภาค ๔ พร้อมด้วยนายธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ร่วมเป็นประธานในพิธีละหมาดฮายัต และสวดมนต์ขอพรให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความสงบสุข โดยมีชาวบ้านในพื้นที่อำเภอรือเสาะ กว่า ๑,๐๐๐ คน ประกอบด้วย ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น จาก ๗๒ หมู่บ้าน ร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธ และมุสลิม ซึ่งได้จัดขึ้นพร้อมกันบริเวณหอประชุมสวนกาญจนาภิเษกอุปการประชากร เขตเทศบาลรือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
         สำหรับกิจกรรมภายในพิธีนั้นชาวไทยมุสลิมได้ร่วมละหมาดฮายัต และสวดดุอาร์ เพื่อขอพรให้พื้นที่เกิดความสงบสุข ขณะที่ชาวไทยพุทธ พระภิกษุได้ร่วมสวดมนต์ เพื่อขอให้พื้นที่เกิดความสงบสุขเช่นกัน ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นเนื่องจากในระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเกิดเหตุความไม่สงบขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยการลอบวางระเบิดชนิดเหยียบ เพื่อลอบทำร้ายกลุ่มเกษตรกรทำให้ได้รับบาดเจ็บรวม ๑๕ ราย …… ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวอีกด้วยว่า แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐนั้นจะยังคงยืนหยัดเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อให้พื้นที่เกิดความสงบสุขโดยเร็ว
          ทั้งนี้ การละหมาดฮายัด เป็นพิธีกรรมที่ไม่มีหลักฐานในศาสนาอิสลาม เป็นการกระทำของคนบางกลุ่มและพยายามทำให้เชื่อว่าเป็นพิธีกรรมในศาสนาอิสลาม ( ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๓๐ ต.ค.๕๓)
          มิวสิควีดีโอจับสาวสวยคลุมหิญาบ(แต่งกายมุสลิม) เต้นสายสะโพกยั่วน้ำลาย …… “ สืบเนื่องจากมีสมาชิกในเว็บบอร์ดมุสลิมไทย ได้เห็นมิวสิควีดีโอแล้วรู้สึกหดหู่รันทดใจ กับภาพที่ปรากฏในมิวสิควีดีโอดังกล่าว....โดยให้แดนซ์เซอร์แต่งกายคลุมหิญาบแล้วเต้นแบบเดียวกับนักร้อง หาความเหมาะสมไมได้เลย ทำแบบนี้เป็นการดูถูกอิสลาม๗๔มาก เพราะมุสลิมนอกจากจะแต่งกายปกคลุมร่างให้เรียบร้อยแล้วยังต้องมีกริยาที่สำรวมด้วย ไม่ใช่มาเต้นเป็นแดนเซอร์ออกทีวีแบบนี้ …. ทั้งนี้เจ้าของเพลงหรือผู้ผลิตมิวสิควีดีโอดังกล่าวนี้ ไม่ควรนำสตรีซึ่งคลุมหิญาบมาร่วมในการเป็นแดนเซอร์ด้วย ถึงแม้ว่าเธอพวกนั้นจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม..... ดังนั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าองค์กรต่างๆหรือแม้แต่คณะกรรมการกลางฯ ควรกระทำการใดๆ สักอย่างเพื่อหยุดหยั่งไม่ให้มิวสิควีดีโอดังกล่าวนี้ เผยแผ่สู่สาธารณะชน หรือให้เยาวชนมุสลิมดูเป็นอันขาด......ขอประณามการบ่อนทำลายอิสลาม ” (มุสลิมไทยดอทคอม ๑๐ ต.ค. ๕๓)
          เสนอรัฐถอนทหาร๓จว.ตั้งเขตปกครองพิเศษแก้ปัญหา นายกริยา กิจจารักษ์ ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการกลางอิสลาม ๑๕ จังหวัดภาคใต้ กล่าวถึง ความรุนแรงสถานการณ์ใต้ภายหลังเปลี่ยนตัวแม่ทัพภาคที่ ๔ คนใหม่ว่า สถานการณ์ใต้เวลานี้แก้ไม่ได้ด้วยทหาร แต่ต้องแก้ด้วยสันติวิธี ยืนยันว่าสถานการณ์ใต้แก้ได้หากทำตาม ๓ ประการ คือ ถอนกำลังทหารให้หมด ปล่อยให้ดูแลกันเองในรูปแบบปกครองพิเศษ ไม่ใช่เป็นการแยกที่เป็นเอกเทศจากรัฐ แต่ให้ปกครองกันเองในเรื่องการเป็นอยู่ ให้ความเป็นธรรมกับคนในสังคมตามหลักศาสนาอิสลาม เมื่อทหารออกหมดแล้วพี่น้องยังฆ่ากัน รัฐบาลออกมาประกาศได้เลยว่าทหารตำรวจออกจากพื้นที่หมดแล้วเมื่อยังมีเหตุการณ์ฆ่ากันก็ประกาศไปเลยว่าพวกเขาฆ่ากันเองไม่ใช่ตำรวจทหารฆ่า “ถัดมาคือการเร่งจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาราล เพื่อรองรับเศรษฐกิจของคน ๓ จังหวัดภาคใต้ สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่นี้ และท้ายสุดคือการประกาศเป็นเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมศาสนาอิสลาม ทั่วโลกก็จะได้เดินทางมาดูวัฒนธรรมอิสลามประเทศไทยในพื้นที่เหล่านี้ อยากดูวัฒนธรรมตะวันตกก็ไปแวะที่ จ.สงขลา ภูเก็ต เกาะสมุย ประกาศให้ต่างชาติรู้ ประกาศให้ทูตรู้ก็จะดึงการท่องเที่ยวเข้ามาได้ ” นายกริยา กล่าว ….(เนชั่นทันข่าว ๕ ต.ค. ๕๓)
          ชำแหละ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เปิดช่องละเมิดสิทธิ-สวนทาง รธน..... หลายคนคงกำลังลุ้นด้วยใจระทึกว่า สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีสิทธิพ้นจาก "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ที่ประกาศมาแล้วกว่า ๕ ปี ๓ เดือนโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ซึ่งต่ออายุทุกๆ ๓ เดือนมาแล้วถึง ๒๑ ครั้ง ตามที่ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จุดพลุขึ้นมาหรือไม่…..ต้องให้เครดิตรัฐบาลชุดนี้เช่นกันว่า เป็นผู้นำร่องยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน ๔ อำเภอของ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปีที่แล้ว เพื่อเปิดทางให้ใช้มาตรการตาม "กฎหมายความมั่นคง" หรือพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งว่ากันว่ามี "ดีกรี" อ่อนกว่าแทนฉะนั้นโอกาสในการนำร่องยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางอำเภอของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ต้องบอกว่ายังพอมีหวัง... สาวตรี สุขศรี อาจารย์จากภาควิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย -ธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “ปัญหาสิทธิมนุษยชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี เมื่อไม่นานมานี้ว่า สิทธิของผู้ต้องหาตาม ป.วิอาญา นั้น ถูกกระทบโดย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งๆ ที่มีบทบัญญัติการคุ้มครอง “สิทธิของผู้ -ต้องหาหรือจำเลย” รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นหลักสากล ใช้กันทั่วโลก…….ทั้งหมดนี้คงไม่ต้องสรุปอีกครั้งหนึ่งว่าในความเห็นของ อาจารย์สาวตรี สมควรยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ เพราะทุกประเด็นที่หยิบยกมาคือคำตอบที่ชัดเจนยิ่งในตัวเอง! (สถาบันอิศรา ๓๑ ต.ค.๕๓)
         ๒๐๐ นักศึกษาใต้รำลึกตากใบ ‘ตะโกนบอกฟ้า’องค์กรฯสิทธิออกแถลง…. วันที่ ๒๕ ต.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ประมาณ ๒๐๐ คนได้รวมตัวกันที่วงเวียนหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เพื่อร่วมรำลึก ๖ ปี เหตุการณ์ตากใบ ….
          งานรำลึก ๖ ปีตากใบเป็นการทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ นำโดยนายกริยา มูซอ เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) กิจกรรมในงานรำลึก ๖ ปีตากใบ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น. หลังจากการรวมตัวกันละหมาดฮายัตในตึกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา มอ.ปัตตานี ของนักศึกษาจากหลายสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๒๐๐ คน ก็เริ่มทยอยกันเดินมายังวงเวียนหน้ามหาวิทยาลัย
          ….. “ตะโกนให้ถึงฟ้า” เป็นกิจกรรมที่สอง เป็นการตะโกน.....ส่งเสียงให้แก่คนระดับผู้นำได้รับทราบ ..... โดยใช้นักศึกษาประมาณ ๑๐ คน ในการร้องตะโกน.....อย่าง “วีรชนของฉันหายไปไหน ฉันจะไม่ลืมวีรชนของฉัน” ...(bungaraya ๒๖ ต.ค.๕๓)
         รำลึก ๖ ปีตากใบ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ วันแรกที่ “เหยื่อแดนใต้.... เริ่มกำพร้า” ไลลา เจะซูเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กลุ่ม INSouth)….NO truth ! NO justice! NO PEACE! วาทกรรมที่กลุ่มนักศึกษาชายแดนใต้รณรงค์เพื่อทวงคืนความยุติธรรมแก่ “เหยื่อ” ผู้ชุมนุมโดยสงบ สันติวิธีและปราศจากอาวุธ ณ สถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ ผ่านคำมั่นสัญญาว่า “เราจะดูแล จะพิทักษ์ จะเยียวยาทุกคนที่เป็น “เหยื่อความรุนแรง” ในฐานะนักศึกษาปัญญาชน ตราบใดที่ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินนี้ ”
         ไฮไลท์ของงานประกอบด้วยกิจกรรมเดินรณรงค์ ตู้ไปรษณีย์ขยะ ปิดหู ปิดตา ปิดปากและปิดใจ ตลอดจนกิจกรรมเขียนจดหมายถึงฟ้า….. • สวัสดีฟ้า! รู้จักประชาชนไหม รู้จักตากใบไหม! (BungarayaNews ๒๗ ต.ค.๕๓)
         ๖ ปีตากใบ เมื่อกระบวนการยุติธรรมมิอาจให้ความเป็นธรรม....กลุ่มนักศึกษาร่วม ๒๐๐ คนที่เคลื่อนไหวจัดกิจกรรมรำลึก ๖ ปีตากใบ มาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ซึ่งประกอบด้วย ม.อ.ปัตตานี ม.อ.หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ……แต่ละกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่น้อย เริ่มจาก "ตะโกนให้ถึงฟ้า" ที่ได้เชิญตัวแทนนักศึกษาของแต่ละสถาบันออกมาตะโกนประโยคสั้นๆ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเรียกร้องความยุติธรรม เช่น ความยุติธรรมของประชาชนอยู่ที่ไหน, เมื่อไหร่จะจริงใจกับผมครับฟ้า, ความเป็นธรรมมีจริงหรือไม่ ทำไมไม่เห็นสักที ฯลฯ…… ". เมื่อบอกใครไม่ได้เราก็ต้องตะโกนบอกให้ฟ้ารับรู้……. “การต่อสู้ด้วยสันติวิธีอาจมองไม่เห็นความสำเร็จในเร็ววัน แต่จะเกิดขึ้นได้จริงในอนาคตแน่นอน ภารกิจของเรายังไม่สิ้นสุด ตราบใดที่ความยุติธรรมยังไม่ปรากฏบนแผ่นดินนี้” ตัวแทนนักศึกษา ให้คำมั่น
         ขณะที่ กริยา มูซอ เลขาธิการ สนน.จชต. กล่าวถึงเหตุระเบิดกว่า ๒๖ จุดในวันครบรอบ ๖ ปีตากใบว่า เป็นการก่อเหตุที่ตรงกับวันแห่งความสูญเสียพอดี ....... แต่เมื่อความรุนแรงยังคงเกิดขึ้น ก็อยากให้เจ้าหน้าที่ได้ทบทวนว่าเป็นความรุนแรงซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากที่ ทหารได้ทำกับประชาชนตากใบเมื่อ ๖ ปีก่อนหรือไม่ และหากยังไม่แก้ไขหรือคืนความเป็นธรรมในวันนี้ แล้ววันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะอนาคตย่อมเป็นผลของการกระทำในวันนี้ด้วยเช่นกัน ….(thailandnewsdarussalam.com ๒๗ ต.ค.๕๓)
         มท.๓ แนะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ บางอำเภอ ใน ๓ จชต.
         นาย ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.)แถลงว่า จากการที่รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้มาระดับหนึ่ง พบว่า มีความรุนแรงลดลงจาก ๒,๐๐๐ กว่าครั้งต่อหนึ่งปี เหลือไม่ถึงพันครั้ง ดังนั้น จะหารือกับ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑๐ ส่วนหน้า ( ผบช.ภ.๑๐ ) แม่ทัพภาคที่ ๔ ( มท.ภ.๔ ) นายกรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ( พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ) นำร่องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางอำเภอ โดยใน จ.ยะลา กำลังเลือกระหว่างการยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน อ.เบตง หรือ อ.กาบัง ซึ่งถ้าประกาศใน อ.เบตง ก็จะจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวได้บ้าง จ.นราธิวาส จะยกเลิกที่ อ.แว้ง จ.ปัตตานี จะยกเลิกที่ อ.แม่ลาน โดยในวันจันทร์ที่ ๑ พ.ย.นี้ ตนจะเชิญจุฬาราชมนตรี ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัด ๕ จังหวัดภาคใต้ เพื่อหารือแนวทางยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ที่มัสยิดกลาง จ.สงขลา จากนั้น ในวันพุธ จะหารือกับนายอำเภอเป้าหมาย จากนั้น จึงจะหารือกับฝ่ายความมั่นคง
         “ ถ้าเห็นว่า ยกเลิกแล้วปลอดภัย ก็จะตัดสินใจยกเลิก และใช้กระบวนการกฎหมายปกติในพื้นที่ที่ยกเลิก คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความทางอาญา ( ป.วิอาญา ) ทั้งนี้ การยกเลิกต้องรอดูผลการหารือ ไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๒ พ.ย.นี่ ” รมช.มหาดไทย กล่าวและว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือให้อำนาจพิเศษเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติราชการ ถ้าบางพื้นที่ไม่เห็นด้วย เราก็ต้องฟัง แต่เท่าที่หารือ ทาง ผอ.ศอ.บต.เห็นด้วย และเรารับฟังความเห็นรอบด้าน โดยเฉพาะความปลอดภัยครู ต้องทำอย่างเข้มข้นขึ้น นอกจากนี้ ในพื้นที่อื่นๆ เราจะมุ่งใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายใน โดยเฉพาะ ม.๒๑ เช่นที่ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา ที่เอาบุคคลที่หลงผิดเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ ทั้งนี้ ถ้ายกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วก็ยกเลิกตลอด เพราะสิ่งที่กระทบกับประชาชนใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือการเอาผู้ต้องสงสัยมากักตัว ๓๐ วันเพื่อสอบได้ แต่ถ้ากักตัวสอบผิดคน ก็จะส่งผลกระทบกับประชาชนและรัฐบาล ดังนั้น ถ้าใช้กฎหมายธรรมดาได้ ก็ใช้กฎหมายธรรมดา ส่วนพื้นที่ที่ยังเกิดความรุนแรงนั้น จะมีการเคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ ถ้าจุดไหนประชาชนเผลอ ก็จะเกิดเหตุความรุนแรง ดังนั้น การควบคุมสถานการณ์ ไม่ว่าพื้นที่ใด อยู่ที่ประสิทธิภาพของการบังคับบัญชา และประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที(breakingnews.nationchannel.com ๒๙ ต.ค.๕๓)
         ศาลให้ประกันล็อตแรก ๑๔ ผู้ต้องขังคดีมั่คง เพื่อนร่วมชะตาอิหม่ามยะผาได้อิสรภาพ ศาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทะยอยให้ประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยในคดีความมั่นคงที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำระหว่างรอการพิจารณาคดีแล้ว อันเป็นไปตามโครงการช่วยเหลือของกระทรวงยุติธรรมที่อนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนยุติธรรมเป็นหลักทรัพย์ในารยื่นประกันตัวผู้ต้องขังกลุ่มนี้ ซึ่งมีอยู่ถึง ๕๑๔ คนในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ต.ค.ที่ผ่านมา กระทั่งถึงวันที่ ๒๘ ต.ค. มีผู้ต้องขังคดีความมั่นคงได้รับการปล่อยตัว ๑๔ คน เป็นการปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งศาลอนุมัติตามหลักทรัพย์ที่กระทรวงยุติธรรมใช้เงินจากกองทุนยุติธรรมยื่นกับทางศาลจำนวน ๑๒ คน และอีก ๒ คน พนักงานอัยการมีความเห็นไม่ยื่นอุทธรณ์คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ นายบัญญัติ วงศ์สว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงของ จ.นราธิวาส ที่ได้รับการอนุมัติเงินประกันตัวจากกองทุนยุติธรรมมีทั้งหมด ๑๙ ราย ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ๙ ราย และจากการติดตามผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่ได้รับการประกันตัว ทราบว่าทั้ง ๙ รายลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย ท่ามกลางความดีใจของครอบครัว พี่น้อง และญาติๆ“จากที่ได้เห็นความรู้สึกของทุกคนที่ได้รับการประกันตัว ทำให้คิดว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์มาก ล่าสุดญาติพี่น้องของทั้ง ๙ คนได้โทรศัพท์มาหาผม และบอกว่าขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่นำโครงการนี้มาให้พวกเขา และทำให้พวกเขาได้รับความเป็นธรรม และจะต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป"
         นายนพดล นมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา กล่าวว่า จ.ยะลามีผู้ต้องขังคดีความมั่นคงได้รับอุดหนุนเงินประกันตัวจากกองทุนยุติธรรมจำนวน ๒ ราย และได้รับการประกันตัวไปแล้ว โดยทั้งสองเป็นราษฎรจาก อ.ยะรัง จ.ปัตตานี "ตอนนี้ยุติธรรมจังหวัดมีนโยบายสร้างอาชีพให้กับผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่ได้รับอิสรภาพ เพื่อให้ทุกคนอยู่ดีมีความสุข และต้องมีความปลอดภัยในชีวิตและครอบครัวด้วย จึงคิดว่าทางยุติธรรมจังหวัดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งเข้าไปสร้างอาชีพให้กับบุคคลเหล่านี้" นายนพดล กล่าว (สถาบันอิศรา ๒๙ ต.ค.๕๓)

                                               ............................................



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์