สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ ๓๑ ต.ค.๕๔
สรุปสาระสำคัญ
กลุ่มแอบอ้างการรื้อฟื้นรัฐปัตตานีและกลุ่มที่เข้าไปแสวงประโยชน์หากมีการแยกการปกครอง ๓ จชต.กำลังฉวยโอกาสจากการที่รัฐบาลและคนไทยทั้งประเทศมุ่งให้ความสนใจกับวิกฤติน้ำท่วมประเทศ ดำเนินการสร้างในสิ่งที่มีลักษณะเป็นรัฐปัตตานี อย่างเร่งด่วน ทั้งการเปิดทางให้แกนนำขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลับเข้ามาตั้งสำนักงานต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนอย่างถูกต้อง การกดดันให้มีการถอนทหาร การเรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการดึงองค์กรอิสลามโลกเข้ามาควบคุมกลไกการทำงานของไทย โดยการสนับสนุนของกลไกรัฐระดับสูงของไทย แต่ที่สำคัญคือขณะนี้ได้มีการเปิดกระจายเสียงการละหมาดในลักษณะเดียวกับการเปิดกระจายเสียงเพลงชาติไทยในบางพื้นที่ของจ.ยะลาในช่วงเวลาเดียวกันหรือก่อนเวลาเคารพธงชาติไทย ขณะเดียวกันยังมีการเคลื่อนไหวกดดันไทยพุทธออกจากพื้นที่ด้วยกดดันให้มีการลดมาตรการคุ้มครองชีวิต/ทรัพย์สินและการตัดตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยพุทธโดยการตั้งร้านที่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแต่โฆษณาว่าเป็นสินค้าฮาลาลขึ้นประกบกับร้านค้าธรรมดาที่ไทยพุทธเป็นลูกค้า ซึ่งทำให้ร้านค้าที่ไทยพุทธซื้อหาสินค้าต้องปิดตัวลงในที่สุดดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นในตัวเมืองอ.รือเสาะ หรือการวางระเบิดร้านจินไถ่ ถนนพิชิตบำรุง เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส เมื่อ ๒๓ ต.ค.๕๔ เนื่องจากเป็นร้านคู่แข่งของร้าน super ๔ ของนายทุนอิสลาม จ.ปัตตานี
สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อเหตุใน ๓ จชต. ก็ดูเหมือนว่าเป็นไปอย่างสอดคล้อง โดยได้หันมาเน้นการก่อเหตุกับเจ้าของธุรกิจไทยพุทธอย่างชัดเจน และอย่างผิดปกติที่ จ.นราธิวาส ซึ่งตามปกติมักจะก่อเหตุกับเป้าหมายทหาร ขณะที่เป้าหมายตัวบุคคลจะคละกันระหว่างพุทธ-อิสลาม พร้อมๆไปกับการก่อเหตุกับอิสลามที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้านค้าไทยพุทธ เพื่อกดดันไม่ให้อิสลามเข้าร้านค้าไทยพุทธ แต่ที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ การแต่งกายเลียนแบบทหารออกลาดตระเวนล่าสังหารเหยื่อไทยพุทธที่อยู่โดดเดี่ยว ตามเส้นทางไม่มีการตั้งด่านตรวจหรือการลาดตระเวนของทหาร รวมทั้งยังมีการแต่งกายเป็นสตรีอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวก่อเหตุเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จ.ยะลาซึ่งมีการก่อเหตุ ในลักษณะเพิ่มสถิติด้วยการลอบวางระเบิดอย่างง่ายๆแต่เสียหายหนักถึง ๓๒ เหตุการณ์ เมื่อ ๒๕ ต.ค.๕๔ มีการก่อเหตุรวม ๔๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ซึ่งมีการก่อเหตุ ๔๔ เหตุการณ์ โดยมีการเพิ่มสถิติด้วยการลอบวางระเบิดอย่างง่ายๆแต่เสียหายหนักถึง ๑๔ เหตุการณ์ เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๔ และ จ.ปัตตานี ซึ่งผู้ว่ามลายูอิสลามเพิ่งเกษียณอายุราชการเมื่อ ๓๐ ก.ย.๕๔ มีการก่อเหตุ ๒๙ เหตุการณ์ น้อยที่สุดใน ๓ จังหวัดเป็นครั้งแรกในรอบ ๑๐ เดือนที่ผ่านมา สำหรับ ๔ อำเภอใน จ.สงขลา มีรายงานการก่อเหตุเหตุกับไทยพุทธที่ อ.นาทวีเพียงเหตุการณ์เดียว ทั้งนี้ความสูญเสียของคนไทยพุทธก็ยังสูงกว่าอิสลาม โดยมีการสูญเสียรวมทั้งสิ้น ๗๕ ราย แยกเป็น เสียชีวิต ๒๐ ราย บาดเจ็บ ๕๕ ราย ขณะที่อิสลามสูญเสียรวมทั้งสิ้น ๕๐ ราย แยกเป็นเสียชีวิต ๒๓ ราย และบาดเจ็บ ๒๗ ราย
แนวโน้มของสถานการณ์ สถานการณ์น้ำท่วมที่ดูเหมือนจะหนักหนากว่าที่ควรจะเป็น ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปแล้ว น่าจะถูกดึงให้ยืดเยื้อออกไปอันจะทำให้รัฐบาลต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดเข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะตามมาด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ จนไม่มีเวลาสำหรับปัญหาอื่นๆ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ที่ทำมาหากินกับความรุนแรงใน ๓ จชต.ไม่ว่าจะเป็นแกนนำแนวร่วม ผู้ก่อเหตุ กลุ่มองค์กรเอกชนและกลไกรัฐระดับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ เข้าไปแสวงประโยชน์และสร้างความได้เปรียบเพื่อการต่อรองผลประโยชน์ในอนาคต อันจะส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและความอยู่รอดของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่กลไกรัฐในพื้นที่ต้องทำตัวให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับมลายูอิสลามซึ่งมีผลประโยชน์ที่สวนทางกับไทยพุทธ ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าน่าจะมีการอพยพหนีตายออกจาก ๓ จชต. ของไทยพุทธโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง
ความเคลื่อนไหวของแกนนำและแนวร่วม
แกนนำแนวร่วมกำลังเร่งสร้างความเป็น รัฐปัตตานีในทุกรูปแบบ ทั้งการให้แกนนำขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลับเข้ามาตั้งสำนักงานต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนอย่างถูกต้อง การกดดันให้มีการถอนทหารและยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการดึงองค์กรอิสลามโลกเข้ามาควบคุมกลไกการทำงานของไทย โดยการสนับสนุนของกลไกรัฐระดับสูงของไทย แต่ที่อันตรายอย่างยิ่งที่สำคัญคือขณะนี้ได้มีการเปิดกระจายเสียงการละหมาดในลักษณะเดียวกับการเปิดกระจายเสียงเพลงชาติไทยในบางพื้นที่ของจ.ยะลาในช่วงเวลาเดียวกันหรือก่อนเวลาเคารพธงชาติไทย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มแรงกดดันให้คนไทยพุทธออกจาก ๓ จชต. ด้วยการกดดันให้มีการลดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการตัดตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยพุทธโดยการตั้งร้านที่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแต่โฆษณาว่าเป็นสินค้าฮาลาลขึ้นประกบกับร้านค้าธรรมดาที่ไทยพุทธเป็นลูกค้า ซึ่งทำให้ร้านค้าที่ไทยพุทธซื้อหาสินค้าต้องปิดตัวลงในที่สุด
- แกนนำพูโลยุโรปตั้งศูนย์ถาวรที่จ.ยะลา...... เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา แกนนำกลุ่มพูโลภาคพื้นยุโรปได้ทำการเปิดศูนย์ประชาอาสาพัฒนาแก้ไขปัญหา สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นที่แยกโรงพยาบาลจังหวัดยะลา โดยการสนับสนุนของ ศอ.บต. .....ในการนำบุคคลอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีรายชื่อในบัญชีทางการไทย กลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะตรงกับนโยบาย พาคนกลับบ้าน ของ กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า ของ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ...(สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ๒๗ ก.ย.๕๔)
- มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เมื่อ ๕ ต.ค.๕๐ ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวที่หน้าศูนย์ทนายความ มุสลิมจังหวัดปัตตานี อ.เมืองปัตตานี พร้อมแจกจ่ายแถลงการณ์ที่มีเนื้อความระบุว่า มูลนิธิศูนย์
ทนายความมุสลิมเป็นองค์กรหนึ่งที่เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย พิเศษที่บังคับใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
.. (สถาบันอิศรา ๖ ต.ค.๕๔)
- กลุ่มอินเซาท์ (INSouth) หรือเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ ๒๒ ต.ค.๒๕๕๔ ได้จัดกิจกรรม Classic Rally Say No Emergency Decree; คาราวานรถโบราณรณรงค์คัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ภายใต้สโลแกน ร่วมขับไล่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อขับเคลื่อนสันติภาพที่ PATANI โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๑๐๐ คน และรถโบราณจำนวน ๘๐ คัน
.นายลีโอ เจ๊ะกือลี นายกอินเซาท์ กล่าวว่า เหตุผลสำคัญที่จัดการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพราะไม่อาจทนฟังเหตุผลที่รัฐอ้างมาโดยตลอดว่าต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการยิง ระเบิด ฆ่ากันตาย และการก่อเหตุร้ายรายวัน เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐ สร้างความมั่นคงของชาติ ปกป้องชีวิตทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชน และเพื่อให้สังคมมีความสงบ.....(สถาบันอิศรา ๒๓ ต.ค.๕๔)
- ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้....พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เปิดเผยว่า .... ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้เตรียมที่จะเสนอต่อพล.ต.อ.โกวิท ให้ทยอยยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
. (ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ๘ ต.ค.๕๔)
- คณะกรรมการเยียวยาเหยื่อไฟใต้....รัฐไฟเขียวตั้งคณะกรรมการเยียวยาเหยื่อไฟใต้ "ประชา พรหมนอก" นั่งประธาน ดึงทุกฝ่ายร่วมทั้งภาครัฐ ศอ.บต.เอ็นจีโอ ประชาชน เคาะตัวเลขรายละ ๕ ล้าน ยึดคำสั่งศาลคดี "อิหม่ามยะผา" เป็นบรรทัดฐาน เผยทำหน้าที่คล้าย กอส.ในอดีต ชงแนวทางดับไฟใต้ แถมเชิญทูตจากประเทศมุสลิมในโอไอซีร่วมวงประชุมด้วย (สถาบันอิศรา-pinonlines.com ๙ ต.ค.๕๔)
- เปิดเสียงละหมาด......ในบางพื้นที่ของจังหวัดยะลาได้มีการเปิดเสียงละหมาดในลักษณะเช่นเดียวกับการเปิดเพลงชาติไทย โดยจะเปิดในช่วงเวลาเดียวกันหรือก่อนเปิดเพลงชาติไทย
- ย้ายฐานทหารออกจากโรงเรียนตามสั่งของ ngo
.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ออกคำสั่งด่วนที่สุดให้ กอ.รมน.ภ.๔ สน. แจ้งฐานปฏิบัติการทหารที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่โรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส และ ๔ อำเภอ ใน จ.สงขลา ย้ายออกภายใน ๑๐ วัน (๑-๑๐ ต.ค. ๕๔) หลังกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน หรือ NGO ใช้เป็นเงื่อนไขในการโจมตีการปฏิบัติงานของทหารว่า เป็นเหตุทำให้โรงเรียนไม่มีความปลอดภัย โดยร้องเรียนไปยังองค์กรต่างประเทศ.... (pastnews.org/?p=๑๑๐๘#more-๑๑๐๘ ๗ ต.ค.๕๔)
สถิติและนัยของการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ต.ค. ๕๔ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๑๑๙ เหตุการณ์ ซึ่งสถิติที่สูงขึ้น เพราะมีการโหมก่อเหตุอย่างง่ายๆคือการวางระเบิด ๓๓ เหตุการณ์ที่ จ. ยะลา เมื่อ
๒๕ ต.ค.๕๔ และการวางระเบิด ๑๔ เหตุการณ์ ที่ จ.นราธิวาส เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๔ ส่งผลให้เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของกันยายน ๒๕๕๔ แล้วเพิ่มขึ้นถึง ๕๗ เหตุการณ์ โดยจ.ยะลา ซึ่งมีการก่อเหตุต่ำกว่าปกติมาอย่างต่อเนื่อง มีการก่อเหตุรวม ๔๕ เหตุการณ์ แยกเป็นการก่อเหตุใน อ.เมือง สูงสุด ๓๗ เหตุการณ์ ซึ่งเกือบทั้งหมด คือ ๓๔ เหตุการณ์ เป็นการลอบวางระเบิด รองลงมาคือ จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ซึ่งมีการก่อเหตุสูงสุด ๔๓ เหตุการณ์ แยกเป็นการก่อเหตุที่ อ.รือเสาะมากที่สุด ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.เจาะไอร้อง และ อ.ระแงะ มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๖ เหตุการณ์ ส่วน อ.จะแนะ และอ.เมืองนราธิวาส มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่าหลังจากที่ ผวจ.อิสลามได้เกษียณไปแล้วเมื่อ ๓๐ ก.ย.๕๔ มีการก่อเหตุ ๒๙ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง อ.มายอ อ.ยะรัง มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๕ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.โคกโพธิ์ และอ.ปะนาเระ มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ส่วน ๔ อำเภอ ของ จ.สงขลา มีรายงานการก่อเหตุ ๑ เหตุการณ์ โดยเป้าหมายคือไทยพุทธใน อ.นาทวี
ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๑๑๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๕๓ เหตุการณ์ การซุ่มยิงจนท./ฐาน ๑๐ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๒ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๗๖ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๐ ราย และบาดเจ็บ ๕๖ ราย สูงกว่าอิสลาม ซึ่งมีการสูญเสียรวม ๕๐ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๓ ราย และบาดเจ็บ ๒๗ ราย นอกจากนี่ยังมีผู้เสียชีวิตที่ยังไม่สามารถระบุเชื้อชาติและศาสนาอีก ๔ ราย
ข้อพิจารณา
๑.การก่อเหตุมีลักษณะของการตัดทางทำมาหากินด้วยการเข่นฆ่าเจ้าของธุรกิจไทยพุทธซึ่งในช่วงรายงานเกิดถี่อย่างผิดสังเกตุ พร้อมๆไปกับการตัดตลาดสินค้าไทยพุทธโดยการตั้งร้านที่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแต่โฆษณาว่าเป็นสินค้าฮาลาลขึ้นประกบกับร้านค้าธรรมดาที่ไทยพุทธเป็นลูกค้า ซึ่งจะทำให้อิสลามไม่กล้าเข้าร้านที่ไม่มีฮาลาลขณะที่มีร้านฮาลาลอยู่ในพื้นที่ด้วย ร้านค้าที่ไทยพุทธซื้อหาสินค้าจึงต้องปิดตัวลงในที่สุด นั่นก็คือการที่คนไทยพุทธจะไม่มีตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคให้ซื้อหา สภาวะเช่นนี้พบได้ที่เขตเทศบาลรือเสาะ
- ๑๓ ต.ค.๕๔ คนร้ายยิงนายอติกร อึ่งรังษี อายุ ๕๕ ปี นางอุไร อึ่งรังสี อายุ ๕๔ ปีเป็นภรรยา และนางสุณี อึ่งรังสี อายุ ๕๗ ปี เป็นพี่สาว เสียชีวิตทั้ง ๓ คน ที่ร้านรับซื้ออาหารทะเล ใจกลางเมืองเทศบาลตำบลปะนาเระ ย่านชุมชน ม.๑ ถนนปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
- ๑๔ ต.ค.๕๔ คนร้ายยิงนายสำเริง พยนต์รัตน์ อายุ ๕๖ ปี เจ้าของแพปลาศิริรัตน์ บาดเจ็บสาหัส บนถนนวัฒนธรรม หน้าวิทยาลัยอาชีวะศึกษาปัตตานี เขตเทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี
- ๒๓ ต.ค.๕๔ คนร้ายยิงนายประดิษฐ์ ไล้ภาพร เจ้าของโรงงานเลื้อยไม้ยาง เสียชีวิตและนายประพันธ์ ไล้ภาพร อายุ ๓๖ ปี ลูกชาย บาดเจ็บสาหัสที่ หมู่ที่ ๓ ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา
- ๒๓ ต.ค.๕๔ คนร้ายลอบวางระเบิดจนเกิดไฟไหม้ที่หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นซุ่ยฮั้วพานิช นราธิวาส ถ.จำรูญ ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นเหตุให้ราษฏร เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย คือนายพิชยุทธ ธนจิรัฏฐ์ และไม่ทราบชื่ออีก ๑ ราย ส่วนนางณัฐพุฒ ธนกิจรัตน์ อายุ ๗๘ ปี และนายมะรอกิ ดอเลาะ บาดเจ็บ
- ๒๓ ต.ค.๕๔ คนร้ายลอบวางระเบิดที่จินไถ่ ถนนพิชิตบำรุง เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ทำให้ดญ.อามีกีม ดือเร๊ะ นายอุสมาน ชาติกา น.ส.สุรียานี เปาะแต น.ส.รุซีนา เจะแว บาดเจ็บ
- ๒๕ ต.ค.๕๔ คนร้ายลอบวางระเบิด ร้านค้าไทยพุทธในบริเวณตลาดเก่าและในอ.เมือง ถึง ๒๗ แห่ง
- ๓๐ ต.ค.๕๔ คนร้ายยิงนายศรีทอง มาสิ อายุ ๗๕ ปี เจ้าของบ้าน นางมาลิ มาสิ อายุ ๔๙ ปี ลูกสะใภ้นายศรีทอง และนายธีระพงศ์ แซ่ลิ้ม อายุ ๔๒ ปี เสียชีวิตที่หน้าบ้านเลขที่ ๑๓๗ บ้านโคกตีแต ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งเปิดเป็นปั๊มน้ำมันหลอด และร้ายชำ
- ๓๐ ต.ค.๕๔ คนร้ายลอบวางระเบิดร้านค้าไทยพุทธ ๗ แห่งใน อ. ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงปาดี ตากใบ และรือเสาะ
๒. แต่งกายเลียนแบบทหารและสตรี ผู้ก่อเหตุได้ฉวยโอกาสจากการที่ไม่มีการตั้งด่านตรวจหรือการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่สวมรอยเป็น จนท. ออกล่าเหยื่อไทยพุทธอย่างน่าวิตกเช่นเดียวกับการแต่งกายเลียนแบบสตรี ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวก่อเหตุคล่องตัวยิ่งขึ้น อาทิ
- ๒๐ ต.ค.๕๔ คนร้ายแต่งชุดเลียนแบบทหารติดอาวุธ ออก ลว.เส้นทาง และได้ชิงรถของ ผอ.หญิงซึ่งทำงานอยู่ในพื้นที่อำเภอรามัน จ.ยะลา ขณะที่ขับรถเดินทางกลับจากที่ทำงานกำลังมุ่งหน้ากลับบ้านที่ยะลา
- ๒๑ ต.ค. เวลา ๑๓.๔๐ น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน แต่งกายเลียนแบบทหารพราน ขับรถยนต์กระบะไม่ทราบรุ่นทะเบียนมาจอดบนถนน แล้ววิ่งเข้าไปภายในห้องทำงานปลัด อบต.เชิงคีรี ในอบต.เชิงคีรี บ้านตามุง หมู่ ๒ อ.ศรีสาคร ใช้อาวุธปืนยิงใส่นายธนษรเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังได้ขโมยปืนพกและรถยนต์ของผู้เสียชีวิตไปด้วย
- ๒๓ ต.ค.๕๔. คนร้ายประมาณ ๑๐ คน แต่งกายคลุมผ้าปิดใบหน้าคล้ายผู้หญิงขับกระบะ ๓ คัน พร้อม อาวุธสงครามครบมือ บุกถล่มจุดตรวจร่วม ๓ ฝ่าย ทหาร ตำรวจ และ อส.จุดตรวจบ้านกาเสาะ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมือง นราธิวาส จนเกิดการปะทะกันขึ้นนานกว่า ๕ นาที
- ๒๓ ต.ค.๕๔ คนร้ายแต่งกายแบบผู้หญิงมุสลิมประกบยิงนายประดิษฐ์ ไล้ภาพร เสียชีวิตและนายประพันธ์ ไล้ภาพร อายุ ๓๖ ปี ลูกชาย บาดเจ็บสาหัส ที่ ๓ ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา
............................................
|