สรุปสถานการณ์ใน จชต.
๑ - ๓๐ กันยายน
๒๕๕๑
การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน จชต. ในช่วง ๑ - ๓๐ ก.ย.๕๑ อันดับแรก
ได้แก่ การก่อเหตุซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ จำนวน ๙๕
เหตุการณ์ สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการก่อเหตุ
๓ ประการ ได้แก่ ประการแรก
การโหมก่อเหตุที่มุ่งแสดงศักยภาพต่อตำรวจ/
ทหาร ซึ่งจะเห็นได้จากการก่อเหตุที่กระทำต่อเป้าหมายดังกล่าวถึง ๒๓ เหตุการณ์
ประการที่ ๒
ความมุ่งมั่นต่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไทยพุทธ
ดังจะเห็นจากการลอบยิงตัวบุคคล อย่างซ้ำซากจนเสียชีวิตในที่สุด หรือการทะยอยฆ่าจนหมดทั้งตระกูล
และอย่างเหี้ยมโหด จนส่งผลให้ความบาดหมางระหว่างพุทธกับอิสลามร้าวลึก จนยากแก่การเยียวยา
ดังจะเห็นจากการยกพวกตีกันของนักโทษพุทธและอิสลาม ในเรือนจำกลาง จ.ยะลา และประการที่
๓ การสร้างความหวาดกลัว เพื่อปรามการเอาใจออกห่างของคนไทยอิสลาม
ทั้งนี้ พบว่า จ.ยะลา เป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุด ๓๗ เหตุการณ์ รองลงมา
ได้แก่ จ.ปัตตานี ๓๐ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส ๒๖ เหตุการณ์ และ จ.สงขลา
๒ เหตุการณ์
ขณะที่การตรวจ/ค้น จับกุมเพื่อป้องปรามการเคลื่อนไหว และการก่อนเหตุ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และอย่างสัมฤทธิ์ผล ซึ่งนอกจากจะสะกัดไม่ให้แนวร่วม เคลื่อนไหวได้อย่างเสรี
และการป้องปรามการก่อนเหตุครั้งใหญ่พร้อม ๆ กัน ได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังสามารถจับกุมและกำจัดแกนนำแนวร่วม
และแนวร่วมได้หลายราย หากยังมีอุปสรรคจากการพยายามเอาใจโจร
ในช่วงฤดูโยกย้าย แต่ที่สำคัญที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งคือ
ความพยายามผลักดันให้ ๓ จชต.
มีการปกครองกันเองตามวิถีอิสลาม
ดังนั้น การเดินทางไปเจรจาแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน จชต. ระหว่างกลุ่มที่อ้างว่า
เป็นสภาที่ปรึกษาปัตตานีมาเลย์ กับคณะ โดยไม่ผ่านการรับรู้ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ที่อินโดนิเซีย ระหว่าง ๒๐ - ๒๑ ก.ย.๕๑ จึงน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอยู่บ้าง
ส่วนความเคลื่อนไหวอื่นที่พึงให้ความสนใจ ได้แก่ การเคลื่อนไหวเรียกร้อง ขอความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของครูในสังกัด กศน. และกลุ่มครู สังกัดสมาพันธ์ครู จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพียงพอ จนทำให้มีครูถูกลอบทำร้ายอย่างต่อเนื่อง
และการเคลื่อนไหวเรียกร้องของนักธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน
และการหยุดเดินรถไฟ ซึ่งได้ซ้ำเติมให้สถานการณ์ในพื้นที่เลวร้ายลงไปอีก
นอกจากนี้ ยังพบความเคลื่อนไหวในลักษณะเร่งสร้างความแตกแยก และความแตกต่างระหว่างไทยพุทธ
และไทยอิสลาม เพื่อกดดันให้คนไทยพุทธ ถอยออกจากสถาบันการศึกษาใน
๓ จชต. ของนักศึกษา มอ.ปัตตานี อันเป็นความพยายามต่อเนื่อง
ในทุกครั้งที่มีจังหวะอันเหมาะสม และความพยายามยกระดับฐานะของกลุ่มอ้างการรื้อฟื้นปัตตานี
จากระดับท้องถิ่นภายในประเทศ ให้ขึ้นสู่ระดับภูมิภาค
และระดับโลก เพียงเพื่อความต้องการเสริมสร้างบทบาทให้กับตนเอง ของคนบางคน
และสิ่งที่ต้องพึงระวังคือ ความไม่เป็นธรรมจากโครงการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน จชต. ของ พม. อันเป็นผลมาจากความเกรงกลัวอิสลาม
ของข้าราชการใน จชต.
แนวโน้มของเหตุการณ์ เชื่อว่าความยุ่งยาก และความขัดแย้งทางการเมือง จะทำให้ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานจากส่วนกลาง
ไม่สามารถให้ความสนใจแก้ปัญหา จชต. ได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้
จชต.จึงอยู่ในสภาพปลอดอำนาจรัฐจากส่วนกลาง ในลักษณะที่ปล่อยให้ "คนในพื้นที่จัดการแก้ปัญหากันเอาเอง
" ดังนั้น ระดับความรุนแรงและความถี่ในการก่อเหตุ
จึงน่าจะขึ้นอยู่กับการจัดการของทหาร ที่รับผิดชอบพื้นที่เป็นสำคัญ
การก่อเหตุที่มุ่งเน้นการแสดงศักยภาพต่อ
hard target ทำลายล้างไทยพุทธ และปรามไทยอิสลาม
การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๐ ก.ย.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อนเหตุ
๙๕ เหตุการณ์ สูงกว่าการก่อเหตุจำนวน ๖๗ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ - ๒๕ ก.ค.๕๑
โดย จ.ยะลา ซึ่งมีการโหมก่อเหตุในช่วงสัปดาห์สุดท้าย มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๗
เหตุการณ์ โดยมี อ.รามัน เป็นพื้นที่เกิดเหตุสูงสุด ๑๓ เหตุการณ์ รองลงมาคือ
จ.ปัตตานี ๓๐ เหตุการณ์ โดยมี อ.ยะรัง เป็นพื้นที่ ที่เกิดเหตุมากที่สุด ๖
เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๑ เหตุการณ์ โดยมี อ.ระแงะ เป็นพื้นที่
ที่เกิดเหตุมากที่สุด ๑๐ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์
ซึ่งการก่อนเหตุทั้งหมดดังกล่าว แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๖๗ เหตุการณ์
(รวมการฟัน ๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๑๑ เหตุการณ์ การซุ่มโจมตี/ยิง
๑๑ เหตุการณ์ การวางเพลิง / เผา ๖ เหตุการณ์ โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม
๑๐๘ คน แยกเป็นไทยพุทธ ทั้ง จนท. และชาวบ้านเสียชีวิต ๑๗ คน บาดเจ็บ
๓๘ คน รวม ๕๕ คน ขณะที่ไทยอิสลามเสียชีวิต ๓๐ คน บาดเจ็บ ๒๙ คน รวม ๕๓ คน
ทั้งนี้ การก่อเหตุใน ก.ย.๕๑ แสดงให้เห็นถึง การโหมก่อเหตุที่มุ่งแสดงศักยภาพต่อตำรวจ/ทหาร
ความมุ่งมั่นต่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไทยพุทธ การสร้างความหวาดกลัวเพื่อปรามการเอาใจออกห่างของคนไทยอิสลาม
การก่อเหตุมีลักษณะของการมุ่งแสดงศักยภาพต่อเป้าหมาย
ทหาร/ ตำรวจ ซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒๓ เหตุการณ์
โดยแยกเป็นการก่อเหตุใน จ.ยะลา ๑๕ เหตุการณ์ จ.ปัตตานี ๕ เหตุการณ์ และ จ.นราธิวาส
๓ เหตุการณ์ โดยมีการลวง จนท.เข้าไปติดกับ ๑ ครั้ง ที่ ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร
เมื่อ ๑๓ ก.ย.๕๑ อาทิ การลอบวางระเบิดขณะ จนท.ทหารร้อย ร.๗๕๓ ชป.รปภ.ครู
ลาดตระเวนเส้นทาง ที่ ม.๑ ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง เมื่อ ๓ ก.ย.๕๑ การลอบวางระเบิด
จนท.ทหารชุดสันติสุข ๑๐๖ กรมรบพิเศษที่ ๑ จ.ลพบุรี ขณะลาดตระเวนที่ ม.๒ ต.คลองใหม่
อ.ยะรัง เมื่อ ๖ ก.ย.๕๑ การลอบระเบิด/ซุ่มยิง ทหารร้อย ร.๑๕๔๑ ขณะลาดตระเวน
รปภ.ครูโรงเรียนบ้านเตียง ที่ ม.๗ ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา และ จนท.ตร. / อส.อ.หนองจิก
ขณะลาดตระเวนที่ ม.๗ ต.ปูโละปุโย อ.หนองจิก เมื่อ ๙ ก.ย.๕๑ การลอบวางระเบิดชุด
รปภ.ครู ของตำรวจ ที่ ม.๑๐ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ ซึ่งทำให้ จนท.ตร. บาดเจ็บสาหัส
ถึง ๑๑ นาย เมื่อ ๑๒ ก.ย.๕๑ การลอบวางระเบิดทหารจากร้อย ร.๔๓๐๘ ขณะลาดตระเวนที่
ม.๕ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งทำให้ อส.ไทยพุทธ เสียชีวิต ๑ นาย และบาดเจ็บ
๑ นาย เมื่อ ๒๓ ก.ย.๕๑
การก่อเหตุที่มีลักษณะของการมุ่งมั่นทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไทยพุทธ
และอย่างเหี้ยมโหด ได้แก่ การลอบยิง
นายคทาวุธ จอมงูเหลือม จาก ต.สะแตง อ.เมืองยะลา จนเสียชีวิตในที่สุด เมื่อ
๖ ก.ย.๕๑ หลังจากที่ได้เคยลอบยิงมาก่อนหน้านี้แล้ว หรือการไล่ล่ากำจัด สมาชิกตระกูลศรีสุวรรณ
ซึ่งอยู่ที่ ต.เนินงาม อ.รามัน อย่างต่อเนื่อง จนเสียชีวิตไป ๓ ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก
๑ ราย โดยรายล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อ ๒๗ ก.ย.๕๑ ซึ่งนอกเหนือจากการลอบยิง/ประกบยิงแล้ว
ยังมีการตัดคอคนไทยพุทธอีกด้วย ๒ เหตุการณ์ ได้แก่ การยิงและตัดคอ นายอัฐพงศ์
ก้อนลม ปลัด อบต.สะดาวา จาก ต.สะดาวา อ.ยะรัง ที่ ม.๓ ต.สะดาวา อ.ยะรัง เมื่อ
๙ ก.ย.๕๑ และการยิงและตัดศีรษะ นายประทีป สมบัติ จาก ต./ อ. สุคิริน ที่ ม.๓
ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร เมื่อ ๒๒ ก.ย.๕๑
การก่อเหตุในลักษณะปรามการเอาใจออกห่างของคนไทยอิสลาม
ได้แก่ การยิง นายแวอาแซ หะยีสะมะแอ รองนายก อบต. ลิดล อ.เมือง จ.ยะลา เสียชีวิตเมื่อ
๕ ก.ย.๕๑ การยิง นายรุสตี มะลี ผช.ผญบ. ม.๗ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ บาดเจ็บ เมื่อ
๑๓ ก.ย.๕๑ การยิง นายเซ๊ะ อภิบาลแบ ผญบ. ม.๑๑ ต.บันนังสตา เสียชีวิต เมื่อ
๑๗ ก.ย.๕๑ การยิง นายยาหารียา มูเล็ง ผช.ผญบ. ม.๕ ต.สะเอะ อ.กรงปินัง บาดเจ็บสาหัส
เมื่อ ๒๑ ก.ย.๕๑ การยิง นายดอเลาะ มือลอ สมาชิก อบต.บาโงสะโต อ.ระแงะ บาดเจ็บสาหัส
เมื่อ ๒๓ ก.ย.๕๑ การยิง นายอารง ยูโซะ ผญบ. ม.๔ ต.เฉลิม อ.ระแงะ เสียชีวิต
เมื่อ ๒๘ ก.ย.๕๑ และการยิง นายรอซะ อีซอมูซอ ผญบ. ม.๒ ต.เนินงาม อ.รามัน เสียชีวิต
เมื่อ ๒๙ ก.ย.๕๑
การตรวจค้น
/ จับกุม ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การตรวจค้น / จับกุม เพื่อป้องปรามการเคลื่อนไหวและการก่อเหตุ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และอย่างสัมฤทธิ์ผล ซึ่งนอกจากจะสะกัดไม่ให้แนวร่วมเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี
และการป้องปรามการก่อเหตุครั้งใหญ่ พร้อม ๆ กัน ได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังสามารถจับกุมและกำจัดแกนนำแนวร่วม
และแนวร่วม ได้หลายราย อาทิ
- ๑๘ ก.ย.๕๑ ปิดล้อมพื้นที่ ม.๖ บ.บ่อเจ็ดลูก และบ้านทุ่งยามู ต.ยุโป อ.เมือง
จ.ยะลา เพื่อป้องปรามการก่อเหตุรุนแรงครั้งใหญ่ ใน ๒๐ ก.ย.๕๑ ซึ่งสามารถกำจัดแกนนำแนวร่วมได้
๒ ราย คือ นายอิสมาแอล ปะจู แกนนำระดับปฎิบัติการณ์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการประกอบวัตถุระเบิดเป็นอย่างมาก
กับ นายมะโซ แวกาจิ
- ๑๘ ก.ย.๕๑ ปิดล้อมพื้นที่หมู่ ๕ ต.ปุละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี สามารถจับกุม
นายมะสุกรี สาและ หรือ "ไฟซอล" อายุ ๒๖ ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคง
จำนวน ๙ คดี ได้พร้อมของกลาง อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ได้อีกจำนวนมาก
- ๑๘ ก.ย.๕๑ ปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายซึ่งเป็นบ้านของกลุ่มผู้ต้องสงสัยในพื้นที่
๑๓ อำเภอของ จ.นราธิวาส หลังสืบทราบว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีมีแผนเตรียมก่อเหตุร้ายใน
๑ ต.ค.๕๑ ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีความมั่นคงได้ ๑๓ ราย ได้แก่
นานัจมูดิน รอนิ นายรอมือลี บี และนายมะนอรี สะนิโซะ
- ๒๑ ก.ย.๕๑ ปิดล้อมเพื่อตรวจสอบหลังโรงเรียนแสงธรรมวิทยา ต./อ.สุไหงโก-ลก
จ.นราธิวาส ได้คนร้าย ๑ คน
- ๒๒ ก.ย. ปิดล้อมตรวจค้นขนำกลางสวนยางพารา หมู่ ๗ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา
จับกุมผู้ต้องหาคดีวางระเบิดธนาคารในพื้นที่ อ.เบตง จำนวน ๕ แห่ง เมื่อปี
๒๕๔๙ ได้จำนวน ๓ คน ได้แก่ นายมุกตาร์ มะหะ อายุ ๒๕ ปี นายถวัลย์ศักดิ์ แปแนะ
อายุ ๒๔ ปี และนายอาซัน หะมะ อายุ ๒๕ ปี พร้อมของกลางอาวุธปืนและกระสุน ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง
๓ คน และนางกอกายะ ลาเตะ อายุ ๒๕ ปี ภรรยานายมุกตาร์ ไปสอบสวน
- ๒๓ ก.ย.๕๑ ตรวจค้นพื้นที่ กูจิงรือปะ ม.๔ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส สามารถกำจัดคือนายซูลกิพลี
สะอิ อยู่บ้านเลขที่ ๖ ม.๒ ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ผู้ต้องหาตามหมายจับ
ที่ ฉฉ.๒๔/๒๕๔๙ (สภ.รือเสาะ)
- ๓๐ ก.ย.๕๑ ปิดล้อมและตรวจค้นพื้นที่บ้านปาตาปาเซ ม.๖ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง
จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถควบคุมตัวนายอยุบ มะเซ็ง และกำจัดนายอับดุลฮาเซ็ม มูดออาแซ
ได้
แนวร่วมและ sympathizer
ยังคงเคลื่อนไหวสร้างความแตกแยกและความสับสนอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงรายงานพบความเคลื่อนไหวในลักษณะเร่งสร้างความแตกแยก และความแตกต่างระหว่างไทยพุทธ
และไทยอิสลาม เพื่อกดดันให้คนไทยพุทธถอยออกจากสวถาบันการศศึกษาใน ๓ จชต. ของนักศึกษา
มอ.ปัตตานี อันเป็นความพยายามต่อเนื่องในทุกครั้งที่มีจังหวะอันเหมาะสม
และความพยายามยกระดับฐานะของกลุ่มอ้างการรื้อฟื้นปัตตานี จากระดับท้องถิ่นภายในประเทศให้ขึ้นสู่ระดับภูมิภาค
และระดับโลก เพียงเพื่อความต้องการของคนบางคน
การชุมนุมขอเพิ่มวิถีอิสลามใน มอ.ปัตตานี
กลุ่มนักศึกษามุสลิม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี)
ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ในนามองค์การบริหารองค์การนักศึกษาและองค์กรร่วม ได้รวมตัวชุมนุมประท้วงปิดประตูทางเข้าออกของมหาวิทยาลัย
และอาคารเรียนรวม ๑๙ เพื่อมิให้มีการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ช่วงเช้า ๑๘
ก.ย.๕๑ เพื่อเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หยุดการเรียนการสอนเป็นเวลา
๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๙ ก.ย. ถึง ๓ ต.ค.๔๑ ซึ่งเป็นช่วงเฉลิมฉลองหลังสิ้นสุดเดือนถือศีลอดของอิสลาม
อีกทั้งยังได้กล่าวหามหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ความเคารรพ และไม่เข้าใจถึงวิถีชีวิตอิสลาม
และประณามนโยบาย "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ของรัฐว่าเป็นเพียงแต่ตัวนโยบาย ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในพื้นที่นั้นยังมีคติ
และมีทัศนคติที่เป็นลบต่อสภาพสังคมและวิถี
ต่อมาผู้บริหารมหาวิทยาลัยนำโดยนายนิฟาริศ ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม
ได้ออกมารับข้อเรียกร้องโดยเฉพาะการกำหนดให้วันที่
๒๙ ก.ย.ถึงวันที่ ๓ ต.ค.๒๕๕๑ เป็นวันหยุดรวม
๕ วัน และจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมยกร่างระเบียบของมหาวิทยาลัย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
ทำให้กลุ่มนักศึกษาพึงพอใจและยอมสลายการชุมนุม เมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกัน สำหรับข้อเรียกร้องทั้ง
๕ ประการของนักศึกษา ได้แก่
๑. ขอให้ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ยุติการสอบในช่วงระหว่างวันที่
๒๙ กันยายน ๒๕๕๑ จนถึงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ รวมระยะเวลา ๕ วัน เพื่อเคารพในวิถีชีวิต
และวัฒนธรรม ประเพณี ตามหลักการของศาสนาอิสลาม
๒. ขอให้ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประกาศให้วันตรุษอิดิลฟีตรี
และวันตรุษอิดิลอัฎฮา
บรรจุเป็นกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยว่าจะต้องหยุดไม่น้อยกว่า
๔ วัน
๓. ขอให้ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทุกท่านเคารพและสร้างความเข้าใจที่ดีต่อหลักการศาสนา
วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีและยังเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างนักศึกษา
ผู้ปกครอง และชุมชนต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
๔. ในการออกมาเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาในครั้งนี้ถือว่ามีความชอบธรรม ไม่ขัดต่อกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไม่สามารถที่จะเอาผิดกับนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องความชอบธรรมในกรณีดังกล่าวได้
การเจรจาแก้ไขปัญหา จชต.กับกลุ่มอ้างการร้อฟื้นรัฐปัตตานี
ที่อินโดนีเซีย
ในขณะที่การเจรจาสันติภาพอาเจะห์ของอินโดนีเซียมีปัญหาอยู่มาก และในขณะที่กลุ่มอ้างกลุ่มขบวนการรื้อฟื้นรัฐปัตตานีของไทย
ยังมีอยู่หลายกลุ่มที่เชื่อว่ายังไม่สามารถคุมกันได้ และไม่สามารถคุมเซลล์
ที่ถูกปลุกความเป็นชาตินิยมมลายูอิสลาม
ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในประเทศได้นั้น กลับปรากฎความพยายามเข้าไปสร้างภาพเจรจาแก้ไขปัญหากับกลุ่มอ้างเป็นตัวแทนกลุ่มก่อความไม่สงบของคนบางคน
ล่าสุดคือการเดินทางไปเจรจากับกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ผู้นำสภาที่ปรึกษาปัตตานีมาเลย์
(Pattani Malay Consultative Congress ; พีเอ็มซีซี) ที่พระราชวังโบกอร์
ทำเนียบประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ในชวาตะวันตก ระหว่าง ๒๐ - ๒๑ ก.ย.๕๑ โดยมีรองประธานาธิบดียูซุฟ
กัลลา ของอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ทั้งยังมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยพารามาดินาของอินโดนีเซีย
และนักสังเกตการณ์ทางการเมือง รวมถึงนายเอ็ม ฮัตตา เอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย
ประจำประเทศไทยเข้าสังเกตการณ์ด้วย... ซึ่งการกระทำดังกล่าว นอกจากไม่น่ามีผลสัมฤทธิ์ใด
ๆ แล้วยังดูเหมือนจะเป็นความพยายามเสริมบทบาท ของขบวนการกลุ่มดังกล่าว จากระดับประเทศออกสู่ระดับภูมิภาค
และระดับโลกอีกด้วย
การส่งโครงการเยียวยาลง จชต.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ให้ความเห็นชอบโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถาการณ์ทั้ง
๔ จังหวัด (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ อำเภอของ จ.สงขลา) จำนวน ๑๗ โครงการ
จำนวนเงิน ๗,๒๖๘,๔๙๐ บาท แยกเป็นโครงการจาก จ.ยะลา ๓ โครงการ คือ ๑.โครงการสัมมนาสตรีหม้าย
"ภาระคือพลังทางรอดครอบครัวสตรีหม้าย" ๒.โครงการร้อยรัก ถักทอ ไม่ย่อท้ออุปสรรค
๓.โครงการเสริมสร้างความเข็มแข็งครอบครัว เด็กกำพร้าตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปี ๒๕๕๒ โครงการจาก จ.ปัตตานี ๖ โครงการ คือ ๑.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่ อ.ยะรัง ๒.โครงการสร้างเสริมความหยุ่นตัวในกลุ่มหญิงหม้าย
จ.ปัตตานี ปี ๒๕๕๒ ๓.โครงการซับน้ำตาเสริมพลังใจสู่ครอบครัวเข็มแข็ง
๔.โครงการสนับสนุนคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าและกลุ่มสตรีหม้าย โรงพยาบาลทุ่งยางแดง
๕.โครงการเสริมกำลังใจ พัฒนาอาชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบ อ.โคกโพธิ์ ๖.โครงการสื่อสารสร้างสรรค์
สุขภาพจิตครอบครัวดีถ้วนหน้า อ.หนองจิก และเป็นโครการจาก จ. นราธิวาส ๒ โครงการ
คือ ๑.โครงการเยี่ยมเยียนเด็กกำพร้าและสตรีหม้าย โดยผู้นำสตรี
๒.โครงการรักษ์สุขภาพรอตันบาดู
รูปธรรมความขัดแย้งจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ/ศาสนายังปรากฎต่อเนื่อง
การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ไทยพุทธที่เป็นไปอย่างไม่ลดละและอย่างเหี้ยมโหด ทำให้ความบาดหมางของคนต่างเชื้อชาติ/ศาสนา
ยังคงเป็นไปอย่างบยากที่จะเยียวยาได้ ล่าสุดได้แก่ การที่ผู้ต้องขังพุทธ และอิสลามภายในเรือนจำกลางจังหวัดยะลา
ซึ่งบาดหมางกันตลอดมา ได้ยกพวกเข้าปะทะกัน จนบาดเจ็บสาหัส ๕ รายคือ นักโทษชาย
(นช.) สุวรรณ วงศ์วิริยะกิจ นช.เผด็จการ ปาทาน นช.อัตวดี แวคือราแม
นช.วรันธร ทองลม และ นช.มะนาบี ยูโซ๊ะ
การเรียกร้องของผุ้ที่ได้ผลกระทบจากการก่อเหตุ
การเรียกร้องของกลุ่มครู
จากการที่มีครูถูกลอบทำร้ายอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มองค์กรครูต้องออกมาเคลื่อนไหว
เรียกร้องให้รัฐเพิ่มความคุ้มครอง และขวัญกำลังใจอยู่เป็นระยะ ล่าสุด ได้แก่
การเคลื่อนไหวของกลุ่มครูในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เมื่อ ๑ ก.ย.๕๑
และกลุ่มครูสังกัด สมาพันธ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ ๒๖ ก.ย.๕๑
กลุมครูในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กลุ่มครูในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนประมาณ ๒๐๐ คน ซึ่งได้นัดประชุมร่วมกันหลังจากที่นายทศทิศ
สมิตะมุกสิก ครูอาสา กสน. ประจำ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ที่ถูกคนร้ายลอบยิงจนเสียชีวิต
เมื่อ ๑ ก.ย.๕๑ โดยที่ประชุมได้เสนอข้อเรียกร้อง ๔ ข้อ ได้แก่
๑. ให้ผู้บริหารระดับจังหวัด และระดับประเทศช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวของนายทศทิศ
โดยเร็วที่สุด
๒. ภรรยาของนายทศทิศจะต้องมีหน้าที่การงานมั่นคง หรือบรรจุเป็นบุคลากรของ
กศน.
๓. เพิ่มสวัสดิการเพื่อ้เป็นขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรของ
กศน.ที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
๔. ต้องมีมาตรการดูแลความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเช่นนี้อีก และต้องจับกุมผุ้ที่ก่อเหตุยิงนายทศทิศ
ให้ได้โดยเร็วที่สุด
สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เรียกประชุมตัวแทนครูจาก จ.ปัตตานี
ยะลา และนราธิวาส จำนวน ๓๐ คน เพื่อหารือถึงข้อเสนอเรื่องสวัสดิภาพและสวัสดิการของครูในพื้นที่
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเรียกร้องให้ กษ.พิจารณาการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ปฎิบัติงาน
โดยเฉพาะประเด็นวิทยาฐานะ ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินครู
การเรียกร้องของกลุ่มนักธุรกิจ
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เปิดเผลถึงผลกระทบจากการที่รถไฟสายใต้จากกรุงเทพ
ฯ ปลายทางสุไหงโก - ลก รวมถึงขบวนท้องถิ่นทั้งหมดยังคงหยุดวิ่งต่อกันเป็นวันที่
๙ ทำให้ จังหวัดชายแดนใต้สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างคงวามเดือดร้อนหนักแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชน
และประชาชน เนื่องจากการตัดขาดเส้นทางคมนาคม ขนส่งหลักในพื้นที่ โดยเฉพาะการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของงภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าข้ามแดนเช่น
ด่านชายแดนสุไหงโก - ลก จ.นราธิวาส ปลายทาง อ.หาดใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงโดยเฉพาะประชาชนใน อ.สุไหงโก
- ลก ต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทาง รถตู้ และรถทัวร์แทน ซึ่งมีอุปสรรคในการเดินทางอย่างมาก
อีกทั้งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขี้นจากเดิมมากขึ้น
....................................................................
|