ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สุวรรณภูมิยุคโลกดึกดำบรรพ์

สุวรรณภูมิยุคโลกดึกดำบรรพ์

 

                แผ่นดินของโลกเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้วพบว่าในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้นบริเวณแหลมอินโดจีนหรือแหลมทองที่เรียกว่าสุวรรณภูมิแห่งนี้  (ที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน)  เคยเป็นแหล่งเกิดวิวัฒนาการของพืชและสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวของโลกยุคดึกดำบรรพ์ในแหล่งอื่น ๆ

               

การสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่า  แผ่นดินบริเวณแหลมทองและอ่าวไทยนั้นเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซเหลวอยู่ใต้พื้นทะเล  เนื่องจากมีการขุดพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซในพื้นที่ดังกล่าว  คือ  พบแหล่งน้ำมันดิบที่อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่  แหล่งน้ำมันดิบที่แหล่งสิริกิติ์  อำเภอลานกระบือ  จังหวัดกำแพงเพชร  แหล่งก๊าซธรรมชาติที่อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น  และแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้ทะเลกลางอ่าวไทย  เป็นต้น

               

บริเวณสุวรรณภูมินั้น  เป็นแผ่นดินผืนใหญ่ของโลกที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  กล่าวคือ  โลกเกิดการระเบิดของภูเขาไฟนับร้อยนับพันไปทั่วทุกแห่ง  ภูเขาไฟพ่นลาวาไหลออกมาคลุมผิวโลก  จนทำให้ผิวโลกเกิดการไหวตัวอย่างรุนแรงจนทำให้ผิวตัวแตกแยกออกจากกันเกิดร่องลึกและเกิดเขาหินดันพื้นดินให้โผล่ขึ้น  จนพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เคยอาศัยอยู่บนผิวโลกนั้น  ร่วงตกลงไปอยู่ใต้ดินแล้วลาวาหรือโคลนดินไหลทับถมอัดแน่นอยู่นานวัน

               

เมื่อสรรพสิ่งต่าง ๆ  ถูกทับถมอยู่เป็นเวลานานนับล้านปี  แรงกดดันที่ต่อเนื่องเป็นเวลานานล้านล้านปีนั้น  มีความแน่นสนิทนานจนทำให้ซากของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดการแปรสภาพเป็นก๊าซธรรมชาติและหลอมเหลวกลั่นกลายเป็นน้ำมันดิบแทรกอยู่ตามช่องว่างใต้ดินเป็นเวลานานพันล้านปีต่อมา

               

ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวนั้น  ต่อมามนุษย์ได้รู้วิธีขุดเจาะพื้นดินเพื่อนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นเชื้อเพลิง  ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าและเป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย

               

ครั้นสำรวจทางธรณีวิทยาก็พบว่าบริเวณแหล่งสุวรรณภูมิแห่งนี้ในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้นได้เคยเป็นบริเวณที่มีภูเขาไฟเกิดขึ้นมาก่อน  คือ  บริเวณพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์  ได้สำรวจพบว่าภูเขาพระอังคาร  ภูเขากระโดง  และภูเขาพนมรุ้ง  ที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้งนั้น  เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน  แต่ได้ดับลงมานานนับล้านปีแล้ว  และบริเวณเขาฝาละมี  เขาพนมฉัตร  ที่อยู่ในจังหวัดลพบุรีนั้นได้สำรวจพบว่ามีหินอัคนีอันเกิดจากเถ้าถ่านของลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟอยู่ตามพื้นดินเชิงเขา  ดังกล่าว 

               

สิ่งมีชีวิตในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้น  จึงมีลักษณะเช่นเดียวกับแหล่งดึกดำบรรพ์ในพื้นที่อื่น ๆ  กล่าวคือ  บริเวณพื้นผิวโลกแห่งนั้น  ในระยะแรกเป็นแหล่งของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เซลเดียวในทะเล  เช่น  จำพวกหอย  ปลา  เป็นต้น  ต่อมาสัตว์เซลเดียวนั้นได้วิวัฒนาการชีวิตมาตามลำดับและพัฒนาการจนมีสัตว์หลากหลายชนิด  เช่น  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  และสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่รู้จักกันดีในชื่อ  “ไดโนเสาร์”  คือสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีรูปร่างใหญ่โตแผ่นดินส่วนที่มีสัตว์และพืชเหล่านี้จึงเป็นโลกของสัตว์ดึก

ดำบรรพ์แต่ละชนิดที่ยึดครองพื้นที่โลกมานานนับล้านปี  ก่อนมีวิวัฒนาการของมนุษย์ขึ้น

 

                ดังนั้นพื้นที่ในประเทศไทยหลายแห่งจึงพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ (FOSSIL)  ฝังอยู่แน่นในก้อนถ่านหินลิกไนต์  ซึ่งพบที่เขตอำเภอแม่เมาะ  จังหวัดลำปาง  อำเภอลี้จังหวัดลำพูน  และบ้านหนองปูดำ  อำเภอเหนือคลอง  จังหวัดกระบี่  ล้วนแล้วเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า

 

                แผ่นดินไทยบนแหลมอินโดจีนหรือสุววรณภูมิแห่งนี้เป็นแหล่งสำคัญของโลกยุคดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง  กล่าวคือโลกยุคนั้นบริเวณดังกล่าวนี้เป็นป่าไม้ผืนใหญ่ที่มีต้นไม้ใบหญ้าเติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์

               

ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้น  ภูเขาฟได้ระเบิดอย่างรุนแรงไปทั่วทุกแห่งแล้วพ่นลาวาออกมา  ทำให้ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และแน่นทึบเหล่านั้นถูกลาวาเผาไหม้  จนต้นไม้กลายเป็นเถ้าถ่าน  และทับถมอยู่นานนับหมื่นล้านปี  ในที่สุดถ่านไม้เหล่านั้นได้กลายเป็นซากหินแข็งในที่สุด

               

บริเวณพื้นที่ในประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น  สำรวจพบว่ามีต้นไม้กลายเป็นซากหินฝังอยู่ใต้ดิน  ซึ่งเกิดจากต้นไม้และพืชได้ถูกฝังถมอยู่ใต้ดินมาเป็นเวลานานนับหมื่นปีถึงหลายร้อยล้านปีจนทำให้สารละลายของน้ำใต้ดินซึ่งมีแร่ธาตุนั้นได้ซึมเข้าไปตกตะกอนหรือตกผลึก  ในที่สุดก็ซึมเข้าไปแทนที่เนื้อไม้ที่สลายตัวตามธรรมชาติจนกลายเป็นซากหินแข็งในรูปลักษณะของต้นไม้นั้น  เมื่อสำรวจได้พบว่าซากหินแข็งนี้มีอยู่จำนวนมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

               

แหล่งดึกดำบรรพ์ที่พบต้นไม้กลายเป็นซากหินแข็งนั้นมีอยู่หลายแหล่ง  ได้แก่  บ้านกุดตะขอน  ตำบลท่าช้าง  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดนครราชสีมา  และบริเวณของจังหวัดต่าง ๆ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น  ขอนแก่น  บุรีรัมย์  ชัยภูมิ  สุรินทร์  อุบลราชธานี  และกาฬสินธุ์  เป็นต้น 

                แผ่นดินของสุวรรณภูมิของประเทศไทยปัจจุบันนี้  ในโลกยุคแรกนั้นเป็นสภาพป่าไม้ที่เกิดขึ้นในโลกดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง  ด้วยปรากฏพื้นที่นั้นมีแร่ธาตุต่าง ๆ  ทับถมอยู่มานานหลายสิบล้านปี  จนทำให้แหล่งกำเนิดแร่ธาตุสำคัญอยู่มากมาย  แหล่งแร่ธาตุที่มีการสำรวจพบแล้ว  ได้แก่

 

·        แหล่งแร่ทองคำ  พบที่อำเภอบางสะพาน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พบที่บ้านหนองสังข์  อำเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี  พบที่หาดคำริมแม่น้ำโขง  จังหวัดหนองคาย  พบที่เมืองโต๊ะโม๊ะ  อำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส  พบที่ตำบลเขาหลวง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  พบที่เขาพนมพา  จังหวัดพิตร  และพบที่อำเภอสระแก้ว  จังหวัดปราจีนบุรี

·        แหล่งแร่ดีบุก  วุลแฟรม  โคลัมไบท์  และแหล่งแร่แทนทาลัม  (tatalum)  (สำหรับทำหัวจรวจและยานอวกาศที่ต้องทนความร้อนสูง)  พบที่จังหวัดภูเก็ต  ระนอง  พังงา  นครศรีธรรมราช  (เขาศูนย์)  พบบนดอยหมอกที่เชียงราย และดอยโง้มที่แพร่

·        แหล่งทองแดง   โบราณขนาดใหญ่พบที่เขาพุคา  เขาพระบาทน้อย  แขวงพระจันทร์  จังหวัดลพบุรี

และที่ภูโล้น  ริมแม่น้ำโขง  พบที่ตำบลม่วง  อำเภอสังคม  จังหวัดหนองคาย  ซึ่งมีการขุดทองแดงมาถลุงตั้งแต่สมัยพุทธกาล

·          แหล่งแร่เหล็ก  พบที่เขาทับควาย  ลพบุรี  พบที่บ่อเหล็กน้ำพี้กับบ่อพระแสง  จังหวัดอุตรดิตถ์  พบที่ เขาต้นน้ำลำพัน  ตำบลตลิ่งชัน  อำเภอบ้านด่านลานหอย  จังหวัดสุโขทัย และพบที่จังหวัดบุรัมย์

·        แหล่งแร่โปแตส  สำหรับทำปุ๋ย  พบที่อำเภอบำเหน็จณรงค์  จังหวัดชัยภูมิ

·        แหล่งแร่สังกะสี  พบที่บ้านผาแดง  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก

·        แหล่งแร่ตะกั่ว  พบที่บ้านคลิตี้  อำเภอศรีสวัสดิ์  จังหวัดกาญจนบุรี  นอกจากนี้ยังมีพลอยและหินสีมีค่า  พบที่กาญจนบุรี  จันทบุรี  และตราด

 

จากการพบแหล่งแรธาตุที่สำคัญในประเทศไทยดังกล่าวนี้  เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า  ตั้งแต่สมัย

ประวัติศาสตร์  ยุคโลหะ  ยุคเหล็ก  มาจนถึงสมัยทวาราวดี  (พ.ศ. ๓๕๐ -๑๒๐๐)  สมัยศรีวิชัย  (พ.ศ.๑๒๐๐-๑๕๐๐)มาจนถึงสมัยสุโขทัยนั้น  ได้มีการใช้โลหะมาก่อนแล้ว  จนรู้จักที่สร่งเครื่องมือและสิ่งของด้วยโลหะ  โดยเฉพาะแหล่งทองคำนั้นได้พบว่า  มีบ่อทองอยู่หลายแห่ง  ในบริเวณพื้นที่ของเมืองเชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  แพร่  สุโขทัย  เป็นต้น  ดังนั้นความมั่งคั่งจากการมีธาตุดังกล่าวทำให้สมัยกรุงศรีอยุธยามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ทองคำ  ทองแดง  ตะกั่ว  รวมไปถึงอัญมณี  พลอยสีต่าง ๆ ด้วย

               

ใน พ.ศ.  ๒๐๖๑  แผ่นดินในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒    กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ทำสัญญาพระราชไมตรีกับโปรตุเกส  ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่อาณาจักรสยามได้ติดต่อกับชาวต่างชาติ  ดังนั้นโปรตุเกสจึงเป็นชาติแรกที่ซื้อขายแร่ดีบุกจากทางใต้  โดยเฉพาะเมืองนคารศรีธรรมราช และภูเก็ตหรือจังซีโหลน  ถือว่าเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ใช้เป็นสินค้าออกอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนแล้ว

 

                ต่อมาพ่อค้าชาวต่างชาติในทวีปยุโรปจึงเดินทางมาค้าขายแร่ดีบุกในอาณาจักรสยามมากขึ้น  คือมีฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  ซึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น  แร่ดีบุกเป็นสินค้าขาออกสำคัญ  และมีการทำสัญญาค้าขายกับชาวต่างประเทศด้วย

               

จากจดหมายเหตุของลาลูแบร์  ราชทูตฝรั่งเศส  ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น  ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับแร่ธาตุในแผ่นดินสยามไว้ว่า

 

“ไม่มีประเทศใด  จะมีชื่อเสียงในความสมบูรณ์ทางแร่  มากกว่าสยาม  ดังจะเห็นได้จาก  พระพุทธรูปและเครื่องโลหะหล่อจำนวนมหาศาลและการที่ชาวสยามสกัดทองคำได้จำนวนมาก  ซึ่งมิใช่จะใช้ประดับพระพุทธรูปที่มีอยู่จำนวนมากมายเหลือคณานับเท่านั้น  แม้ในอาคารสถานที่  เช่น  ฝาผนังห้อง  เพดาน  และหลังคา  โบสถ์ยังคาดด้วยทองคำอีกด้วย  มีบ่อแน่ทองคำเก่าพบกันอยู่ทุกวัน  และยังมีซากเตาถลุงอยู่จำนวนมาก  ซึ่งเชื่อว่าถูกทอดทิ้งไปเพราะสงครามกับพม่ามานานแล้ว”

 

การทำเหมืองแร่ดีบุกนั้นน่าจะเริ่มต้นจนเป็นสินค้านั้นน่าจะเกิดที่เมืองถลาง (จังซีโหลน))  จนทำให้มี

การเรียกว่า  ภูเก็ต  ขึ้น  โดยนำมาจากคำว่า  บูกิต  หมายถึงตะกั่วดำ  แล้วทำให้เกิดเมืองท่าค้าขายแร่ดีบุก  ในที่สุดก็เป็นตลาดใหญ่จนเป็นชื่อของพื้นที่ว่า  ภูเก็ต  แทนเมืองถลางในที่สุด

 

พ.ศ. ๒๑๘๓  นอกจากมีแร่ดีบุกเป็นสินค้าออกแล้ว  ยังพบบ่อแร่อื่น ๆ  ขึ้นหลายแห่งและมี

การสร้างเตาอยู่ทั่วไป  มีแร่ทองคำ  เงิน  ทองแดง  ตะกั่ว  เหล็ก  พลวง  และพลอย  ทำให้อาณาจักรสยามเป็นแหล่งแร่ที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน  จนสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์  ความรู้การทำเหมืองแร่ และการหล่อโลหะก็ทรุดโทรมลง  จนถึงปี  พ.ศ.  ๒๒๙๐  แผนดินของสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  ได้มีการพบแร่ทองคำขึ้นที่  ตำบลบางตะพาน  เมืองกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จึงเป็นเรื่องที่สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรสยามสมกับคำที่เรียกว่า  สุวรรณภูมิ หรือแผ่นดินแหลมทอง

 

                ความอุดมสมบูรณ์แร่ธาตุของแผ่นดินสุวรรณภูมินั้น  ในวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยา  เรื่องขุน

ช้างขุนแผน  ยังมีข้อกล่าวถึงโลหะ  หรือแร่ธาตุสำคัญไว้ด้ว  ตอนขุนแผนได้นำโลหะมาใช้เป็นดาบฟ้าฟื้น  มีความตอนหนึ่งว่า 

 

                                “จะจัดแจงตีดาบไว้ปราบศึก                                                ตรองตรึกเหล็กไว้หนักหนา

                                ได้เสร็จสมอารมณ์ตามตำรา                                 วางไว้ในมหาสาตราคม

                                เอาเหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ                            ยอดปราสาททวารามาประสม

                                เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม                                               เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร

                                หอกสัมฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก                                เหล็กปฏักสลักประตูตะปูเห็ด

                                พร้อมเหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด                            เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้

                                เอาเหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง                   เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่

                                ทองคำสัมฤทธิ์นากอะแจ                                      เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงคง

                                เอามาสุมคุมควบเข้าเป็นแท่ง                                                เผาให้แดงตีแผ่แผ่นแช่ยาผง

                                ไว้สามวันซัดเหล็กนั้นเล็กลง                                               แต่ยังคงพองามตามตำรา”

               

ความจากวรรณกรรมเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าสังคมไทยในอดีตนั้นมีความรู้เรื่อง  วิชาเล่นแร่แปรธาตุมาช้านาน  ในคำกลอนนี้ได้กล่าวถึงโลหะที่เกิดจากบ่อพระแสงและบ่อน้ำพี้  ซึ่งเป็นบ่อแร่เหล็กคุณภาพดีของจังหวัดอุตรดิตถ์  ส่วนมาก  อะแจ  คือโลหะที่เรียกว่านาก  เป็นโลหะผสมที่ใช้ทองคำผสมกับทองแดง  ที่มีการนำมาจากแหล่งผลิตคือเมืองอะแจหรืออาเจห์  (ACEH)  ตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา  ประเทศอินโดจีน

               

ด้วยเหตุนี้  การที่แผ่นดินสุวรรณภูมิมีโลหะจากแหล่งแร่ธาตุต่างพื้นที่เข้ามาในอาณาจักรนั้นก็เนื่องจากสมัยบารณนั้นได้มีเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขายกับเมืองดังกล่าวมาก่อนนั่นเอง  กล่าวคือ  อาณาจักรศรีวิชัยกับกรุงศรีอยุธยานั้น  ต่างใช้เส้นทางเรือสินค้าเส้นนี้เดินทางติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้านี้แล้ว

               

ต่อมาเมืออาณาจักรสยามมีสงครามขึ้นกับพม่า  การเหมืองแร่ก็หยุดชงักไปตั้งแต่ปลายอยุธยา  ถึงต้นรัตนโกสินทธ์  สมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้า  รัชกาลที่ ๓  นั้น  เหตุการณ์สงครามสงบลง  ทำให้มีการปรับปรุงการทำมาหากินทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม  โดยเฉพาะเรื่องการถลุงแร่    ที่เมืองรนองนั้นมีการทำเหมืองแร่ดีบุกด้วยวิธีทำเหมืองแล่นและเหมืองหาบ  ที่เมืองอุทัยธานีมีการถลุงแร่เหล็กที่บ้านท่าซุงสำหรับส่งเป็นสินค้าออก  จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔  การทำเหมืองแร่ดีบุกได้เจริญรุ่งเรือง  แต่ขุดแร่ทองคำนั้นน้อยลง  จนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ

               

ในปี  พ.ศ. ๒๔๐๕  นั้นได้มีการนำแร่ต่าง ๆ  เช่น  ทองคำ  เงิน  ดีบุก  และทองคำ  ได้มีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น  กล่าวคือก่อนหน้านั้นได้มีการสร้างโรงกษาปณ์  (เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓)  เพื่อทำเงินตราโดยใช้โลหะต่าง ๆ  นั้นมาสร้างเหรียญ และมีพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่รัตนโกสินทร์ศก  ๑๒๐  ทำให้มีการนำแร่ที่อยู่ใต้ดินมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมากมาย

               

ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น   ได้มีบันทึกของมิสเตอร์เกรแฮม  ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๕

และรัชกาลที่ ๖  กล่าวถึง  แหล่งทองคำในสยาม  ไว้ใน  หนังสือสยามแปลว่า  “เมล็ดทองคำละเอียดในหาดทราย  มีอยู่ในเกือบจะทุกลำธารน้ำในประเทศสยาม”

               

ปัจจุบันในประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีแหล่งธาตุอุดมสมบูรณ์มีผลผลิตแร่สำคัญได้แก่  ดีบุก  ลิกไนต์  สังกะสี  หินปูน  ยิปซั่ม  ฟลูออไรต์  ตะกั่ว  แบไรต์  หินดินดาน  เฟลส์สปาร์  ดินขาว  ทังสะเตน  ทรายแก้ว  และโคลัมไบด์  แทนทาไลด์  เป็นต้น  ล้วนมีประสิทธิภาพในการอุตสาหกรรม  นอกจากนี้ยังมีรัตนชาติหรืออัญมณี  โดยเฉพาะ  ทับทิม  และแซปไฟร์  เป็นสินค้าออกในรูปอัญมณีสำเร็จรูป

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สุวรรณภูมิยุคโลกดึกดำบรรพ์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์