๑
๑.
ไดโนเสาร์ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (TRIASSIC)
๑) ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอด
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น
กรมทรัพยากรธรณีวิทยาได้ทำการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของส่วนปลายกระดูกอิสเซียม
คือกระดูกสโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอดอยู่ในชั้นหินทรายสีแดงหมวดหินน้ำพอง
(เขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์)มีอายุประมาณ ๒๑๐ ล้านปี
นับเป็นการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ที่มีอายุในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคในภูมิภาคนี้ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ของประเภทเดียวกันที่พบในแหล่งอื่นๆทั่วโลกแล้วได้พบว่าพวก
โปรซอโรพอดที่พบในประเทศไทยนั้นมีขนาดใหญ่ แข็งแรกประมาณว่ามีความยาวได้ถึง ๘ เมตร
ไดโนเสาร์โปรซอโรพอดนี้เป็นไนโดเสาร์กินพีช
ฟันนั้นมีรอยหยักห่างๆเหมือฟันเลื่อยเท้าหน้า มีข่อนข้างค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง
เท้านั้นมีเล็บแหลมคม
๒)
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอด
อิสานโนซอรัส
อรรถวิภัชน์ชิ
คณะสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่เก่าแก่ที่สุดในชั้นหินน้ำพองที่ จ.
ชัยภูมิ ซึ่งมี
อายุอยู่ปลายยุคไทรแอสซิกประมาณ ๒๑๐ ล้านปีมาแล้ว ไดโนเสาร์ชนิดนี้ดินพืช เดิน
๔ ขา คอยาว หางยาว ลำตัวน่าจะมีความยาวถึง ๑๒
๑๖ เมตร
เป็นไดโนเสาร์และชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ตั้งชื่อว่า อิสานโนซอรัส
อรรถวิภัชน์ชิ (ISANOSOURAS ATTAVIPACHI)
๒.ไดโนเสาร์ยุคจูราสสิค (JURASSIC)
๑)
ซากดึกดำบรรพ์ของใดโนเสาร์เทอโรพอลและซอโรพอล
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศส
ได้ทำการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของฟันไดโนเสาร์อยู่ในชั้นหินหมวดภูกระดึง
(อำเภอม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์) มีอายุ ๑๙๐-๑๕๐ ล้านปี ฟันของไดโนเสาร์ที่พบมี
๒ ชนิด มีลักษณะเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย คือ
.
ฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอด เป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อ มีขอบคม
และมีหยักแบบฟันเลื่อย
.
ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด
พบฟัน ๒ ซี่
ซี่หนึ่งเหลือเป็นเศษ ซี่ที่สมบูรณ์มีลักษณะเป็นฟันใหญ่ รูปร่างเหมือนช้อน
๒.
ซากดึกดำบรรพ์กระดูกไนโดเสาร์สเตโกซอร์
คณะสำรวจฝรั่งเศส-ไทย
ได้สำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์พวกสเตโกซอร์ ในชั้นหินทรายสีเทา
มีจำนวนกว่า ๑๐ ชิ้น อยู่ห่างจากจุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่อำเภอม่วง
จ.กาฬสินธุ์ ๕๐๐ เมตร
เป็นไดโนเสาร์ชนิดที่พบครั้งแรกในประเทศไทยนอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้
ซูโนซูคัส
ไทยแลนด์ดิคัส (SUNOSUCHUS
THAILANDDICUS)
และพวกสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำในหินชุดภูกระดึงที่มีอยู่ในยุคจูราสซิกด้วย
๓..ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส (CRETACEOUS)
รอยเท้าไนโดเสาร์
อายุ ๑๔๐ ปี
ไดโนเสาร์ยุคนี้ยังไม่พบซากดึกดำบรรพ์ของกระดูก
พบอยู่นอยเท้าชั้นหินหมวดเขาพระวิหาร มีอายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปี
เพื่อศึกษาแล้วทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ นี้พบอยู่ ๔ แห่งได้แก่
๑.
รอยเท้าของไดโยเสาร์
พบที่ลานหินลาดป่าชาด
ภูเวียง จังหวัดข่อนแก่น เมื่อกันยา พ.ศ. ๒๕๓๒ นั้น
เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดเล็กหลายชนิดมีมากกว่า ๖๐ รอย
ประทับเป็นแนวทางเดินหลายทิศทางไปทางเหนือ ๒ แนว และทางใต้ ๕ แนว
บอกลักษณะของสัตว์ประเภทกินเนื้อ
เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว รอยเท้ามี ๓
นิ้วคล้ายเท้านกมีร่องรอยของปลายนิ้วที่มีเล็บแหลมคม ขนาดของรอยเท้า ๑๐ ซม.
คำนวณว่ามีความสูงระหว่าง
๕๓-๗๓ซม.
มีความเร็วในการเดินประมาณ ๑-๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าของไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย
เป็นรอยเท้า ๓ นิ้ว ไม่ปรากฏอุ้งเท้าแสดงว่ากำลังวิ่ง
๒)รอยเท้าของไดโนเสาร์
พบที่น้ำใส่ใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรีโดยสมาชิกนักนิยมธรรมชาติเมื่อ พ.ศ.
๒๕๓๕ เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่พวกทอโรพอด
และพวกซีรูซอร์นั้นวัดขนาดได้กว้าง ๒๖ ซ.ม.ยาง ๓๑
ซ.ม.พบรอยเท้าที่เห็นอยู่ชัดเจน ๗-๘ รอย
นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าขอไดโนเสาร์ขนาดเล็กพวกออร์นิโธพอดและพวกซีลูโรซอร์วัดได้
กว้าง ๑๔ ซ.ม. ยาว
๑๓.๗ ซ.ม. พบรอยเท้าที่เห็นชัดอยู่ ๗-๘ รอย
๓)รอยเท้าของไดโนเสาร์
พบที่ภูแผก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย ด.ญ.
กัลยามาศ สิงห์นาคลอง
อายุ ๑๐ ขวบกับ
ด.ญ.พัชรี ไวแสน อายุ ๑๑ ขวบ เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์
เดิน ๒ เท้า ประเภทกินเนื้อเป็นอาหาร อยู่บนชั้นหินทราย วัดรอยเท้าได้ กว้าง
๔๐ ซม. ๔๕ ซ.ม.
เมื่อสำรวจพื้นที่ได้พบว่ามีรอยเท้าไดโนเสาร์อยู่ ๒๑ รอย เดินเป็นแนวทาง ๖
แนว ต่างทิศกัน สังเกตชัดเจนนั้นมีรอยเท้า ๗ ก้าว
มุ่งหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๑๒๐ องศา รอยเท้า ๓ นิ้วขนาดโดยเฉลี่ยยาว
ประมาณ ๔๕ ซ.ม.กว้างประมาณ ๔๐ ซ.ม. ระยะก้าว ๑๒๐-๑๑๐ ซ.ม. อีก ๒ รอย
นั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๖๐ องศา รอยไม่ชัดเจน และอีก ๓ รอย
มุ่งไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๓๗ องศา รอยไม่ชัดเจนเช่นกัน
๔)รอยเท้าของไดโนเสาร์
พบที่ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อเป็นอาหารขนาดย่อมบนผิวหน้าของชั้นหินทราย
มีมากกว่า ๒๐ รอย
๔.ไดโนเสาร์สกุลใหม่ที่พบในไทย
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ของชั้นหินหมวดเสาขัว เป็นไดโนเสาร์ที่อายุประมาณ ๑๓๐
ล้านปี ได้มีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูประตูตีหมา ภูเวียง
และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้แก่
๑)ซากดึกดำบรรพ์กระดูกของไดโนเสาร์
ลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ของซอโรพอดที่พบในอเมริกาเหนือ
เป็นไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่ที่มีความยาวถึง ๑๕ เมตร โดยมีส่วนคอยาว
ส่วนหางยาวเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร
การสำรวจโดยนักธรณีวิทยาจากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนียม กรมทรัพยากรธรณีใน พ.ศ.๒๕๒๔
นั้นที่ห้วยแห้งเล็กชื่อ
ห้วยประตูตีหมานั้นได้พบกระดูกไนโดเสาร์ชนิดนี้สภาพดีทำให้ข้อมูลดังกล่าวชัดเจน
เป็นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซอโรพอด ต่อมาได้มีการขุดค้น
เพื่อศึกษาที่แหล่งดึกดำบรรพ์ที่ภูประตูตีหมา ภูเวียง
ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ตัวเดียวเป็นจำนวนมากครั้งแรกในไทย
คือพบกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกขาหน้า กระดูกสัก เป็นต้น เมื่อ
ดร.วราวุธ สธีธร นักธรณีวิทยาจากฝ่ายโบราณชีววิทยา
กลับจากการดูงานวิจัยและเทคนิคอนุรักษ์ จากฝรั่งเศสเป็นเวลา ๕ เดือนแล้ว
ได้มีการขุดค้นกระดูกที่ภูเวียงในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ใช้เวลา ๓ อาทิตย์
ที่มีรายงานสรุปว่า
การขุดครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ
๓ อาทิตย์ เราเปิดหลุมไปเป็นที่กว้างประมาณ ๖ ตารางเมตร
โดยชั้นกระดูกอยู่ลึกประมาณ ๑ เมตร
ในชั้นของหินทราย มีเนื้อปูนเป็นบางส่วน
และมีชั้นหินทรายปิดทับอยู่ตอนบน
กระดูกที่พบนั้นเป็นกระดูกขนาดใหญ่ มีกระดูกขาท่อนบนซ้ายและขวากระดูกท่อนขาล่าง
๑ ชิ้น กระดูกสะโพก ๖ ชิ้น กระดูกซี่โครงด้านซ้าย ๕ ซี่เรียงกันและอีก ๕
ซี่กระจายกันอยู่ กระดูกสันหลังส่วนกลาง ๒ ชิ้น กระดูกคอ ๓
ชิ้นลักษณะของกระดูกบอกได้ว่า เป็นกระดูกไนโดเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ มีคอยาว
หางยาว เดิน ๔ เท้า กินพืชเป็นอาหาร ที่น่าสนใจคือ
ในบริเวณกองกระดูกนี้เราพบฟันของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะแบน ปลายแหลมคม
โค้งงอเล็กน้อย ด้านข้างทั้ง ๒ ด้านเป็นลอยหยักคล้ายฟันเลื่อย
ซึ่งเป็นฟันลักษณะของฟันไนโดเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โซอร์ในยุคสมัยนั้นมีมากกว่า
๑๐ ซี่ ปนอยู่ในกองกระดูกด้วย
ซึ่งหลักฐานนี้บกบอกได้ว่าเจ้าซอโรพอดนี้ถูกฆ่าโดยคาร์โนซอร์หรือคาร์โนซอมากินซากที่ตายแล้ว
แต่ยืนยันได้คือ
ซากที่พบเห็นอยู่นี้อยู่กับหลังที่เจ้าไดโนเสาร์ตายแล้วก็ถูกกินเนื้อทำให้กระดูกบางส่วนกระจัดกระจายแล้วถูกทับถมโดยตะกอน
ซึ่งอาจจะมาจากน้ำหลากตามฤดูกาล ในภายหลังฝังกระดูกไว้ในชั้นหิน
(จากรายงานของBUFFETAUTANDSUTEETHORN
.๑๙๘๙)
นอกจากนนี้ได้มีการขุดค้นที่ ถ้ำเจียห้วยประตูตีหมา โนนสาวเอ้ บ้านหนองคอง
ซำหญ้าคาดงเค็ง และภูน้อยอีก
หลังจากที่มีการศึกษาวิจัยรายละเอียด โดยนางสาว วาเอลรี มาร์แตง
นักศึกษาปรัญญาเอก ของมหาวิทยาลัยปารีส ได้วิจัยเรื่อง
ไนโดเสาร์ซอโรพอดยุคครีเทเชียสตอนต้นของประเทสไทยโดยมี ดร.อีริค บุพโต
และดร.วราวุธ สธีธร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นั้นนำเสนอในเดือนพฤศจิกา พ.ศ. ๒๕๓๗
นั้นพบว่าในโดเสาร์ซอโรพอลที่พบในประเทศไทยนี้เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่ในโลก
ผู้วิจัยได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ขอพระราชทานราชานุญาติอัญเชิญพระนามาภิไธยของพระองค์มาเป็นชื่อของไดโนเสาร์นี้เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า
ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน(PHUWIANGGOSAURUS
SIRINDHORANE)
รายงานการวิจัยนี้ได้พิมพ์เผยแพร่ในวาระสารวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส COMPTES
RENDUS DEL ACADEMIE DES SCIENCES ปี
ค.ศ. ๑๙๙๔
๒)
ซากดึกดำบรรพ์ของฟันไดโนเสาร์เทอโรพอดสกุลใหม่ และเป็นชนิดใหม่
ยาวประมาณ ๕
ซ.ม. จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.วราวุธ สุธีธร ว่า สยามโมซอรัส สธีธรนี(SIAM
SAURUS SUTEETHORNI)
ลักษณะของฟันนี้เป็นแท่งกลวยปลายแหลม มีสันเล็กๆ
ยาวตลอดฟันเป็นฟันแบนปลายแหลมโค้งงอเล็กน้อย มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย
แตกต่างจากลักษณะฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอด
ที่มีลักษณะกลมและไม่มีรอยหยักให้เฉือนเนื้อได้
ไดโนเสาร์ชนิดนี้จึงสันนิษฐานได้ว่ามีรูปร่างเป็นลักษณะของไดโนเสาร์ที่เดินด้วย ๒
ขาหลังเนื่องจากยังไม่พบโครงสร้างกระดูกชิ้นนี้
๓)ซากดึกดำบรรพ์ของกระดูกขาหลังท่อนหลังและขาหน้าท่อนบนไดโนเสาร์พวกซีลูโรซอร์ (coelurosaur)
เป็นกระดูกขนาดเล็ก
๒ ชิ้นที่มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกได่หรือกระดูกนก เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กมาก
(เท่าไก่) ชนิดหนึ่งเดินด้วย ๒ ขาหลังและกินเนื้อเป็นอาหาร
มีลักษณะใกล้เคียงกับ ไดโนเสาร์คอมพ์ซอกนาธัสพบที่สาธารณรัฐเยอรมัน
มีขนาดยาวประมาณ ๗๐ ซ.ม. หัวยาว ๓ นิ้วคอยาวเรียว
หางยาวกว่าคอและลำตัวรวมหันวิ่งสองขอหลังได้รวดเร็ว
จากการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่มีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งที่พบไดโนเสาร์สกุลใหม่ในประเทศไทยดังกล่าวแม้จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปี
พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วก็ตามสถานที่พบนี้ได้ประกาศเป็น
อุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
สรุปแล้วเมื่อ พ.ศ.
๒๕๓๗ นั้น กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจพบซากไดโนเสาร์อีกแห่งหนึ่งที่วัดสักกะวัน
อำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็รซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้นจนต้องมีโครงการพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้นเพื่อการศึกษาเรื่องราวของไดโนเสาร์
สัตว์ดึกดำบรรพ์นี้ในประเทศไทย
และทำให้พบว่ามีไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้
การสำรวจพบซากกระดูกของไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากกว่า ๖๐๐
ขึ้นในประเทศไทยนั้นทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทยนี้มีอายุประมาณ
๑๓๐ ล้านปี ส่วนไดโนเสาร์สกุลใหม่ที่พบในประเทศไทยนั้นมีการตั้งชื่อว่า
สยามโมไท-รันนัส อีสานเอนซิสเป็นไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเด ชนิดใหม่
และพบไดโนเสาร์ซอโรพอล ที่เป็นสัตว์ชนิดกินพืช มีจำนสน ๖ ตัว
นอนตายทับถมกันอยู่ ที่ภูกุ้มข้าว ในบริเวณวัดสักวัน อำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์
ส่วนในพท้นที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ได้สำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL)
หรือกระดูกที่กลสยเป็นหินของไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส
สิรินธรเน ( Phuwiangosaurus sirindhornae)
ยาว ๑๕ ๑๘ เมตร และไซแอมซอรัสสุธีธรนิ (Siamsaurus
suteetorni) เป็นไดโนเสาร์ประเภท
ไทรันโนซอรัสหรือ ไทเร็กซ์ชนิดกินเนื้อและดุร้าย
นอกจากนี้ยังสำรวจพบรอยเท้าในหินของไดโนเสาร์ ชนิดกินเนื้อที่ป่าภูแฝก
ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บนภูหลวง จังหวัดเลย
และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
ซึ่งล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณดังกล่าวนั้นเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ประเภทไดโนเสาร์และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว
|