ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในไทย
ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในไทย
ดินแดนในประเทศไทยหรือสุวรรณภูมิในอดีตนั้น
นอกจากมีการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์แล้ว
ยังมีการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์อีกจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลในเขตจังหวัดนครราชสีมา
บริเวณแหล่งดึกดำบรรพ์แห่งนี้คือพื้นที่ในตำบลท่าช้างและตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระ
เกียรติ
จังหวัดนครราชสีมามีการพบซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL)
ที่เป็นกระดูก ฟัน งา จำนวนมาก เป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณพื้นที่ประมาณ ๖
พันไร่ นั้น ในโลกยุคก่อนเมื่อ ประมาณ ๒๕ ล้านปี
บริเวณนี้เป็นแหล่งที่อยู่ของช้างดึกดำบรรพ์มาก่อน และ
พบว่ามีหลายสกุลที่สูญพันธ์ไปแล้วอยู่จำนวนมาก คาดว่ามีไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เชือก
ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชิ้นส่วนของซากโบราณนั้นได้มาจากบ่อทรายหลายแห่งในพื้นที่ตำบลท่าข้างและตำบลช้างทอง
จากการตรวจสอบโดยศาสตราจารย์ จัง จาคส์ นักโยราณคดีชีววิทยา จากประเทศฝรั่งเศส
ดร.วราวุธ สุธีธร และดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักโบราณชีววิทยา
ของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา
พบว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ชิ้นส่วนของช้างโบราณที่เป็นส่วนกระดูก งา
ขากรรไกรและฟันกรามของช้างสกุลต่าง ๆ ได้แก่
·
ช้างกอมโพธิเรียม
ช้างโบราณที่มี ๔ งา มีอายุ อยู่เมื่อ ๒๕
๑๓ ล้านปี
·
ช้างสเตโกโลโฟตอน
ช้างบารณมีงาคู่บน ๑ คู่ มีอายุอยู่เมื่อ ๒๕
๕ ล้านปี
·
ช้างไดโนธีเลียม
ช้างโบราณที่มีงา 1 คู่อยู่ด้านล่าง ในลักษณะงาจอบ มีอายุอยู่เมื่อ ๒๕
๑.๗ ล้านปี
·
ช้างสเตโกตอน
ช้างโบราณ ที่มีงาคู่บน ๑ คู่ มีอายุอยู่เมื่อ ๕
๐.๐๑ ล้านปี
·
ช้างพาลีโอโซคอน
และช้างเอลิฟาน ช้างโบราณที่เป็นสกุลของช้างในยุคปัจจุบันอีกด้วย
นอกจากนี้ยังได้พบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชิ้นส่วนของช้างโบราณพื้นที่อื่น ๆ
อีกคือพบในเหมืองถ่าน
หินจังหวัดลำปาง
ลำพูน พะเยา เป็นต้น
ทำให้มีข้อมูลว่าพื้นที่แหล่งนี้เคยเป็นพื้นที่อยู่ของช้างดึกดำบรรพ์เช่นกัน
แต่มีจำนวนน้อยกว่าที่พบในจังหวัดนครราชสีมา
เช่นเดียวกับพื้นทีบ่อทรายที่มีระดับความลึก ๕-๓๐
เมตรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติที่พบซากดึกดำบรรพ์ของชิ้นส่วนช้างโบราณนั้น
ยังพบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชิ้นส่วนของสัตว์หลายประเภทและมีจำนวนมาก
ได้แก่สัตว์จำพวกแรดโบราณได้แก่ ชิโลธิเลี่ยม
บลาชิโบลิเธี่ยมแกนดาธิเลี่ยมสัตว์จำพวกม้าและยีราฟได้แก่ฮิปปาเรียน
ชิวาทิเลี่ยมบามาเลี่ยม สัตว์จำพวกจระเข้โบราณ เต่าโบราณ หอยหินขนาดใหญ่
ต้นไม้และไผ่ที่กลายเป็นหิน
และโครงกระดูกของมนุษญ์สมัยดึกดำบรรพ์ที่มีสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์และยุคช้างดึกดำบรรพ์มาจนถึงยุคมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
การศึกษาเรื่อง
โลกดึกดำบรรพ์นั้น นอกจากจะพบไดโนเสาร์และช้างดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกแล้ว
ยังพบว่าบริเวณที่อื่น ๆ นั้นได้มีการพบซากซากดึกดำบรรพ์ประเภทอื่น ๆ อีก เช่น
บริเวณส่วนที่เป็นพื้นที่ชายทะเลในอ่าไทยนั้นได้สำรวจพบว่าเคยเป็นแหล่งน้ำจืดมาก่อน
จากหลักฐานสุสานหอยที่พบบริเวณ ชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ปรากฏว่าเป็นซากของหอยขม สกุลวิวิพารัส
ซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำจืดเมื่อครั้งโลกยุคดึกดำบรรพ์ซึ่งมีจำนวนมากซึ่งทับถมันเป็นแผ่นอยู่บนชั้นถ่านหิน
มีอายุอยู่ประมาณ ๒๕
๗๕ ล้านปี
|