ลิงดึกดำบรรพ์ที่พบในไทย
ลิงดึกดำบรรพ์ที่พบในไทย
บริเวณแผ่นดินบริเวณเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ที่บ้านหนองปูดำ อำเภอเหนือคลอง
จังหวัดกระบี่นั้นได้มีกีขุดพบชิ้นส่วนของลิงดึกดำบรรพ์ที่กลายเป็นซากหินแข็ง (FOSSIL)
แล้วปรากฏว่าเป็นลิงชนิด สยามโมพิเธคัสอีโอซีนิค
(Siamopithecus) คือลิงมีลักษณะคล้ายลิงอุรังอตัง
เกิดขึ้นบนโลก เมื่อประมาณ ๓๕
๔๐ ล้านปี ซึ่งถือว่าเป็นสายเดียวกับมนุษย์วานร
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นประเภทลิงชิ้นนี้
เป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียวที่มีอายุเก่แก่ชิ้นเดียวกับมนุษย์ดึกดำบรรพ์
ซึ่งก่อนนั้นได้มีการขุดพบกะโหลกมนุษย์ชวาที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ขุดพบโครงกระดูกและกะโหลกของมนุษย์ปักกิ่ง ที่ประเทศจีน
และกะโหลกมนุษย์ที่ถ้ำนิอะห์ เมืองซาราวัคของมาเลเซีย
ต่อมาคณะสำรวจในโครงการการร่วมมือสำรวจและศึกษาซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไทย
ฝรั่งเศส นั้นได้สำรวจซากดึกดำบรรพ์ ของสัตว์ประเภทลิง อายุ ๑๓.๕ ล้านปี
ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
มีอายุเก่าแก่กว่าซากดึกดำบรรพ์ของลิงที่พบมาแล้ว
ถือว่าเป็นการพบลิงที่เก่าแก่ที่สุด
ซากดึกดำบรรพ์
นี้เป็นบรรพบุรุษลิงอิรุงตุงนัง ที่ให้ชื่อว่า ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส (LUFENG
PITHECUS CHINGMUANENSIS)
ที่พบเป็นครั้งแรกของโลก ซากดึกดำบรรพ์นี้เป็น ฟัน จำนวน ๑๘ ซี่
ลักษณะเป็นฟันที่มีขนาดใหญ่ คือมีน้ำหนัก ๕๐-๗๐ กิโลกรัม มีอายุอยู่ในราว
๑๓.๕ ล้านปี -๑๐ ล้านปี ฟัน ๑๘ ซี่นี้พบกระจัดกระจายกัน โยพบในบริเวณเดียวกัน
๑-๓ ซี่ เป็นฟันของตัวผู้และตัวเมีย แต่ละซี่มีขนาดหนาและความย่นของเคลือบฟัน
ตลอดจนการสึกกร่อนคล้ายกับลูแฟงพิเธคัส
ที่พบในบริเวณทางใต้ของจีนที่แตกต่างกันก็เฉพาะฟันด้านหน้า และฟันกรามซี่ในสุด
ฟันที่พบนี้เป็นลูแฟงพิเธคัสชนิดใหม่ของโลก
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับลิงอุรังอุตังมากขึ้น
การตรวจสอบนั้นพบว่าเป็นพันของลิงชนิดที่ไม่มีหางขนาดใหญ่ หรือวานร (APE)
ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้แก่ลิงอุรังอุตัง ลิงแซมแปนซี ลิงกอริลล่า และมนุษย์
ในการพบซากดึกดำบรรพ์นี้ทำให้เชื่อว่าลิงบรรพบุรุษของลิงอุรังอุตังนั้นได้เคยอาศัยอยู่ในแถบดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มาก่อนในโลกยุคน้ำแข็ง คือ เมื่อประมาณ ๒ แสนปีมาแล้ว แต่ยังไม่พบหลักฐานใด ๆ
ของบรรพบุรุษอุรังอุตังยุคก่อนหน้านั้นในพื้นที่แถบนี้เลย
การสำรสจพบลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส
ทางตอนเหนือครั้งนี้จึงสอดคล้องกับการค้นพบของสัตว์การเลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงคือพวก
ไพรเมท (PRIMATE)
ที่เป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ ซึ่งมีการค้นพบในเหมืองถ่านหิน อำเภอเหนือคลอง
จ.กระบี่มาก่อนแล้ว
ฌอง ฌาคส์ ฌาเช่
ศาสตรจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดึกดำบรรพ์วิทยา (PALEONTOLOGY)
ของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย่ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ร่วมขุดค้นนั้นกล่าวว่า
การค้นพบฟอสซิลเอป (APE)
มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันของลิงอุรังอุตังมาก
และเชิ่ว่าการพบครั้งนี้จะช่วยคลี่คลายปัญหาถึงวิวัฒนาการของลิง
ที่อาจจะเป็นไปได้ว่าลิงในแอฟริกากับลิงในเอเชียนั้นมีวิวัฒนาการแตกต่างกัน
จากการค้นพบลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส
ซึ่งมีลักษณะของลิงที่เดินสี่เท้าในขณะที่บรรพบุรุษลิงขนาดใหญ่นั้นจะโหนไปมาตามกิ่งไม้
ในปัจจุบันมีการสันนิฐานว่าลิงขนาดใหญ่นั้นมีวิวัฒนาการมาหลายร้อยล้านปีก่อนโดยแยกเป็นสองพวก
กล่าวคือ ลิงส่วนหนึ่งได้วิวัฒนาการเป็นบรรพบุรุษ
ของลิงอุรังอุตังนั้นพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะบริเวณเกาะสุมาตรา
และเกาะบอร์เนียวส่วนลิงที่วิวัฒนาการมาเป็นบรรพบุรุษของลิงแซมแปนซี
ลิงกอริลล่านั้นพบในทวีปแอฟริกา
สำหรับซากดึกดำบรรพ์ที่พบในไทยนั้นมีลักษณะของการปรับตัวกว่าบรรพบุรุษที่ลิงเลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงที่เคยพบ
การปรับตัวนี้มีวิวัฒนาการคู่ขนานกับลิงแอฟริกา
บริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์ ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส นั้น
อาจจะเป็นพื้นที่ทะเลสาบหรือแหล่งน้ำที่ฝูงลิงขนาดใหญ่มารวมตัวกันหาอาหาร
โดยเฉพาะชมพู่สุขแล้วลงไปกินน้ำ ซึ่งมีจระเข้อยู่ในน้ำคอยซุกซ่อนรอตะครุบจับลิง
หรือถูกเสือลายพาดกลอนงับจับกินเป็นอาหาร
ด้วยพบว่าซากดึกดำบรรพ์ของฟันบางชิ้นมีลักษณะเป็นลูกของลิงขนาดใหญ่จมอยู่ใต้ทะเลสาบก่อนแปรสภาพเป็นชาวดึกบรรพ์
นายปีเตอร์ แอนดรูว์
จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ได้ให้ความเห็นว่า
การพบซากดึกดำบรรพ์ ลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส
ครั้งนี้เป็นการเปิดโลกใหม่และเป็ดจุดเริ่มต้นการค้นหาสายพันธุ์ลิงอีกมากมายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายเจย์ เคลลี่
มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ นครชิคาโก้ ได้ให้ข้อสังเกตว่า
การเปรียบเทียบฟันของสัตว์อาจไม่จำเป็นว่าจะใช้เทียบเคียงสายพันธุ์เดียวกันได้
เนื่องจาดลักษณะของฟันนั้นแม้จะเหมือนกัน แต่ก็มีสายพันธุ์แตกต่างกันได้
ซึ่งก็พบโครงกระดูกที่จีนตอนใต้นั้นมีลักษณะไม่เหมือนลิงอุรังอุตัง
แต่โครงกระดูกมีอายุน้อยกว่าลูแฟงพิเธคัส เชียงม่วนเอนซิส ที่พบในเชียงม่วน
เมื่อเดือนสิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๔๕ นายพิริยะวาชจิตพันธ์
ได้พบซากดึกดำบรรพ์เป็นชิ้นส่วนกรามล่างที่มีความยาว ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร
และฟันจำนวน ๑๑ ซี่ อยู่ในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
เมื่อทำการตรวจสอบแล้วสรุปได้ว่าเป็น ชากดึกดำบรรพ์ประเภทลิงอุรังอุตัง
ที่เป็นสายพันธุ์ใหม่ จึงตั้งชื่อว่าโคราช พิเธคัส พิริยะอิ
ลิงสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นลิงไม่มีหาง มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๖๕๗ ล้านปี
ลักษณะที่บอกว่าเป็นพันธุ์แปลกก็คือเป็นสัตว์ที่ไม่มีในโลก
คือไม่พบรอยกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับช่วยในการปิด
เปิดใต้กรามส่วนหน้า
ซึ่งได้พัฒนาให้มีถุงลมขนาดใหญ่ใช้สำหรับส่งเสียงกู้ร้องถึงกัน
ซึ่งไม่พบลักษณะนี้ในลิงอุรังอุตัง
ทำให้ทฤษฎีเดิมที่ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์อยู่ในอาฟริกามาก่อนบริเวณนั้นน่าจะมีลิงมีลักษณะเป็นมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว
คือมีฟันกรามล่างที่เป็นรูปตัวยูใกล้เคียงกับกรามของมนุษย์มาก
พื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
แห่งนี้ได้มีกี่พบซากหินของสัตว์ดึกดำบรรพ์มากมายเช่น ช้าง ๔ งา ช้างงาจอบ
แรดโบราณ ม้าโบราณ ยีราฟโบราณ และพบซากหินกระดองเต่า กระต่าย ที่ จ.พะเยาด้วย
นับเป็นแหล่งดึกดำบรรพ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ในโลกยุคดึกดำบรรพ์นั้นน่าจะเป็นศูนย์กลางการกำเนิดและวิวัฒนาการของไพรเมทชั้นสูงที่พัฒนามาเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ได้
|