สัตว์โลกดึกดำบรรพ์สูญพันธุ์
สัตว์โลกดึกดำบรรพ์สูญพันธุ์
ครั้นเมื่อช่วงปลายยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS)
เมื่อประมาณ ๖๕ ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว
ไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่จึงได้สูญพันธุ์ไปจนหมดโลก
หลังจากที่ไดโนเสาร์สูญสิ้นพันธุ์ไปจากโลกถึง ๖๐ ล้านปีแล้ว
โลกจึงปรากฏต้นตระกูลของมนุษย์วานรขึ้นเมื่อ ๕ ล้านปี
มนุษย์วานรนี้ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน
ไดโนเสาร์มีขนาดเล็กนั้นได้วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สกุลต่าง ๆ
มากมาย ซึ่งมีการค้นคว้าและได้ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ (สัตว์เลื้อยคลาน) อีก
โดยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
ปัจจุบันได้มีการสำราจหาไดโนเสาร์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตจนทำให้มีการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล
สภาพภูมิอากาศ และการะเบิดจากนอกโลก (SUPEMOVE)
และอื่นอีกมากมาย แต่ได้รับความสนใจและต่างมีเหตุผลที่พอรับฟังได้ คือ
@..ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย
(Asteroidimpact)
ที่ทำให้เกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นจนฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ม่านมืดบดบังแสงอาทิตย์
จนเป็นผลทำให้เกิดความมืดมิดและควาหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่เป็นเวลานานนับเดือนจนไดโนเสาร์นั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกได้
ด้วยเหตุที่มีสภาพแวดล้อมที่รุนแรงดังกล่าว
หลักฐานที่นำมาอ้างข้อสรุปนี้คือ การพบธาตุ อิริเดียม (IRIDIUM)
จำนวนมากกว่าปกติในชั้นดิน
บาง ๆ (CLAY)
ที่มีอายุอยู่ในช่วงลอยต่อระหว่างยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS)
และ (TERTIARY (K-T BOUNDARY)
ในบริเวณต่าง ๆ ของโลก
นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าโลกนั้นเคยเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่แหลมในประเทศเมกชิโก
เรียกว่า โครงสร้าง CHICXULUB ATRUCTURE
๒.ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการระบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคาน (DECCAN)
ของ
ประเทศอินเดีย (DECCAN
TRAPS VOLCANISM)
ซึ่งถือว่าเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของการกำเนิดโลก
ด้วยเป็นการระเบิดที่รุนแรง อันเนื่องมาจาก MANTLE PLUME
และHOTSPOT
ที่อยู่ใต้พื้นโลกจนทำให้เกิดลาวาชนิด BASALTIC (BASALTIC
LAVA)
จำนวนมหาศาลดันเปลือกโลกขึ้นมาแล้วไหลลงมาคลุมพิ้นโลก
มีพื้นที่ถูกลาวาคลุมมากกว่า ๑ ล้านตารางไมล์ และมีความหนากว่า ๑ ไมล์
จนเกิด MANTLE DEGASSING ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์
และไอน้ำ ถูกความร้อนจนระเหยขึ้นบนผิวโลกด้วยอัตราที่มากจนผิดปกติ
จนก่อให้เกิดชั้น GREENHOUSE GASES
ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลก
ทำให้ไม่มีการถ่ายเท จนอุณภูมิสูงขึ้น อันเป็นผลให้วัฏจักของคาร์บอนไดออกไซด์
และออกซิเจนเปลี่ยนแปลงไป จนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ส่วนสาเหตุที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์นั้นสันนิษฐานว่า
ไดโนเสาร์นั้นอาจจะสูญพันธุ์ไปจากสิ่งแวดล้อมบน
โลกไม่เอื้ออำนวยการดำรงชีวิตอยู่ โดยเฉพาะ อาหารเป็นพิษ
และเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรงในทุกพื้นที่ทั่วโลก
ดังนั้นไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปจากโลก
เนื่องจากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าวขึ้นบนพื้นโลกในยุคเตอร์ติอารี
เมื่อประมาณ ๖๕-๒.๕ ล้านปีมาแล้ว
เมื่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง ร่างของไดโนเสาร์จึงถูกทับถมไปกับดิน
ส่วนที่เป็นเนื้อหนังก็พุหลุดไปตามสภาพ จึงเหลืออยู่แต่ส่วนที่แข็ง คือ กระดูก
และฟัน ที่ถูกหินดินโคลนทรายถูกทับถมอยู่นับล้านปีจนเป็นซากดึกดำบรรพ์
ในชั้นดินของโลกที่เป็นโคลนทรายในยุคดึกดำบรรพ์นั้น
ได้ทับถมไดโนเสาร์แล้วอัดแน่นจนเป็นหินและผนึกแผ่นในชั้นหินธรรมชาติ ดังนั้น
เมื่อพื้นผิวโลกมีการปรากฏตัวตามธรรมชาติ จึงมีการยกชั้นหินบางส่วนให้สูงขึ้น
แล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินจากความร้อนของดวงอาทิตย์ จากความเย็นของน้ำแข็ง
ฝน และลม ในที่สุดได้ทำให้ชั้นที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่นั้นถูกดันขึ้นมาบนพื้นโลก
จนซากดึกดำบรรพ์นั้นปรากฏขึ้นในพื้นที่บางส่วนให้นักสำรวจโลกดึกดำบรรพ์และนักธรณีวิทยาได้ค้นพบและทำการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น
การทับถมในครั้งนั้นได้เกิดอย่างรวดเร็วจนโคลนทรายพากันไหลเข้ากลบร่างของสัตว์ดึกดำบรรพ์
เช่น ไดโนเสาร์ให้ตายในทันที
โครงกระดูกก็จะปรากฏเรียงรายอยู่อุดมสมบูรณ์ในตำแหน่งที่ถูกโคลนทรายกลบ
แต่ถ้าหากการทับถมนั้นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ คือ โคลนทรายค่อย ๆ
ไหลทำให้ไดโนเสาร์ไม่ตายในทันที
ก็จะมีการดิ้นรนก่อนตายทำให้โครงกระดูกมีโอกาสที่จะอยู่กระจัดกระจายแล้วยังไปปะปนไปกับโคลนหินดินทรายด้วย
ด้วยเหตุที่โคลนทรายนั้นมีแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลไซด์ เหล็กซัลไฟต์และซิลิก้า
เมื่อมีการทับถมบนร่างของไดโนเสาร์ก็จะซึมเข้าสู่เนื้อ กระดูก
แล้วเข้าไปอุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ จนทำให้กระดูกนั้นแกร่งขึ้น
จนสามารถรับน้ำหนักของหินดินทรายที่ทับถมกันต่อมาภายหลังได้ดี
เมื่อทับถมนานวันนับล้าน ๆ ปี เช่นนี้
ด้วยเหตุมีอาการของออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปถึงซากของไดโนเสาร์ได้
นานวันไดโนเสาร์ก็จะกลายเป็นสภาพจากกระดูกแข็งเป็นหินโดยธรรมชาติ
เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคงอยู่ในลักษณะเดิมให้ได้ศึกษา
เมื่อมีการค้นพบตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ ๖๕ ล้านปีนี้
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงให้เป็นหินแข็งของไดโนเสาร์นั้นคือ ฟัน
ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดจึงคงสภาพเดิมอยู่
สำหรับโครงกระดูกของไดดนเสาร์นั้น
แม้ว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดเข้าไปกัดกร่อนทำลายกระดูกและทั้งลักษณะของกระดูกไว้เป็นโพรงก็ตาม
ได้มีการค้นพบว่าโพรงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแม่พิมพ์
ที่ทำให้เก็บร่องรอยอื่น ๆ ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ
เมื่อมีแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ในโพรงนั้นก็ทำให้เกิดรอยรูปหล่อของรอยผิวหนัง
ที่ทำให้ได้ข้อมูลเรื่องผิวหนังของกระดูกไดโนเสาร์ด้วย
บางแห่งพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้เคยถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
การสำรวจได้มีการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหิน
ซากดึกดำบรรพ์นี้เดิมเป็นดินโคลนที่มีร่องรอยเท้าของไดโนเสาร์
เมื่อมีการทับถมนานวันก็มีการรักษารอยเท้านั้นไว้ตามธรรมชาติของการอัดแน่นของดินหินทราย
ซึ่งทำให้เรียนรู้ถึงชนิดของไดโนเสาร์ ลักษณะของการเดินของสัตว์ขนาดใหญ่นี้ว่า
เดิน ๒ ขา เดิน ๔ ขา ด้วยอาการเชื่องช้าหรือว่องไว
อยู่เป็นกลุ่มหรืออยู่ตัวเดียว
นอกจากนี้บางแห่งยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ในส่วนอื่น ๆ เช่น
มูลที่ถ่ายทิ้งเรียก คอบโปร์ไลท์ ที่ทำให้รู้ถึงขนาดและลักษณะของลำไส้
ไข่ที่ทำให้ไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่
บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด
บางแห่งพบโครงกระดูกอยู่ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง
จึงได้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดมี การดูแลและการฟักไข่ด้วยตัวเอง
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์บกที่มีชีวิตอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ ๒๔๕
๖๕
ล้านปีมาแล้ว คือ ช่วงยุคตรีเอซิค (TRIASSIC)
ถึงยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS) ดังนั้น
ซากดึกดำบรรพ์จึงพบอยู่ในชั้นหินตระกอนที่สะสมบนพื้นดินในช่วงยุคตรีเอซิค (TRIASSIC)
ถึงยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS)
วึ่งเป็นชั้นหินในยุคเมโสโซอิก (MESOZOIC)
สำหรับเรื่องราวดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยา
ได้พบว่าแผ่นดินในประเทศไทยนั้นมีชั้นหิน เมโสโซอิก (MESOZOIC)
โผล่ขึ้นมาตามบริเวณที่ราบสูงโคราช ที่ราบสูงภาคอีสานบางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้
ชั้นเหล่านี้ประกอบด้วยชั้นหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและหินกรวดมน
ซึ่งส่วนมากเป็นหินสีน้ำตาลแดง
ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและหินยิบซั่มอยู่ด้วย
เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกว่า ชั้นหินตะกอนแดง (RED
BED) หรือกลุ่มหินโคราช
หินกลุ่มโคราชนี้
มีความหนากว่า ๔,๐๐๐ เมตร ดังนั้นจึงทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์
และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ จึงมีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมาย
เช่นภูเวียง ภูพาน และภูหลวง เป็นต้น
ถือเป็นแหล่งที่อยู่ไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์
ดังนั้น
การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์จากการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรุนแรง
ทำให้เปลือกโลกปกคลุมรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้ศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน
|