มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหิน
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยหินกลาง
(Mesolithic
Period) อายุ ๑๐,๐๐๐
๗,๐๐๐ ปี
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในสมัยหินกลางนั้น รู้จักทำเครื่องมือหิน
ฝีมือประณีตกว่าสมัยหินเก่า
เครื่องหินหินนั้นได้มีการกะเทาะคมหินทั้งสองด้านสำหรับใช้งานแตกต่างกันและยังรู้จักขัดตัวขวานหินให้เรียบ
นอกจากนี้ยังมีการเอากระดูกสัตว์ ก้างปลา และเปลือกหอย มาใช้เป็นเครื่องมือ
เช่น หัวธนู ฉมวก หอก และยังรู้จักทำเครื่องประดับจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์
เช่น กำไล จี้ สร้อยคอ ตุ้มหู
มนุษย์สมัยนี้ชอบอาศัยอยู่ในถ้ำที่สูง และเพิงผาใกล้ห้วยลำธารแม่น้ำ
เดินทางเรร่อนไปตามที่ต่าง ๆ หากินด้วยการล่าสัตว์ เช่น หมู กวาง หมี ลิง
หนู หอยกาบ ปู ปลา เต่า โดยยังไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์
เก็บผลไม้ใบไม้มากินเป็นอาหาร
รู้จักขุดต้นไม้ทำเป็นเรือและหาปลาเก่งกว่ามนุษย์สมัยหินเก่า
เมื่อมนุษย์ตายลงญาติจะนำศพฝังใต้ที่อยู่ทีพัก ซึ่งมีวิธีฝังในลักษณะนอนหงาย
งอเข่าขึ้นมาถึงคาง บางศพใส่เครื่องมือ (ขวานหิน) และเครื่องประดับ
จี้หอยคออยู่ข้างศพด้วย
มนุษย์พวกนี้รู้จีชักก่อไฟและหุงหาอาหาร พักกินอยู่ในถ้ำ
มีการเพาะปลูก
สะสมอาหารและเก็บพืชมากักตุนเป็นอาหาร เช่น ข้าว ท้อ สมอไทย สมอภิเพก หมาก
ถั่วแขก ถั่วลันเตา น้ำเต้า แตงกวา และล่าสัตว์มาเก็บและปรุงเป็นอาหาร
ซึ่งการขุดค้นเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์
ในพื้นที่หลายแห่งนั้นได้สำรวจพบซากพืชและสัตว์ เช่น วัวป่า และแรด
ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอายุราว ๙,๐๐๐ ปี ในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เป็นหลักฐานที่ทำให้สันนิษฐานว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหมื่นปีที่แล้วมารู้จักหาพืชและสัตว์เป็นอาหาร
สำหรับแหล่งของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินกลางนั้น
ได้มีการสำรวจพบเรื่องราวแล้วหลายแห่งในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ถ้ำพระ อำเภอไทรโยค
จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้ำจันเด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้าองบะ
อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในถ้ำผี และถ้ำอื่น ๆ ในอำเภอเมือง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในถ้ำงวงช้าง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณอำเภอเขาย้อย
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และที่ถ้ำพระงาม จังหวัดสระบุรี เป็นต้น
ส่วนแหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียอาคเนย์นั้น
ได้สำรวจพบในบริเวณที่เรียกว่า ฮัวบินเฮียนหรือโหบิเนียน
หรือจังหวัดฮัวบินห์ในเวียตนามแล้วยังสำรวจพบในพื้นที่ภาคเหนือของเวียตนาม ลาว
ฟิลิปปินส์ เกาะฟอร์โมซา และฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา อีก
|