มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินให
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่
(Neolithie
Period หรือ New Stone Age)
อายุราว ๗.๐๐๐
๕,๐๐๐ ปี
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่นิยมที่จะเรียกที่อยู่ตามริมแม่น้ำ
หรือบริเวณเชิงเขาและที่ราบสูงที่น้ำท่วมไม่ถึง
มากกว่าการเดินทางเร่ร่อนหรืออาศัยอยู่ตามถ้ำเหมือนสมัยหินเก่า
มนุษย์สมัยนี้รู้จักการทำขวานหินขัดเรียบชนิดมีบ่า หรือขวานฟ้า
ที่มีฝีมือประณีตแทนเครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบแบบสมัยหินเก่า
รู้จักนำไม้หรือขวานสัตซืมาทำเป็นด้ามผูกติดกับขวานหิน รู้จักเพาะปลูกข้าวสาลี
ข้าวเจ้า ทำไร่ และปลูกต้นม้ รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดสีดำขัดมัน
เป็ยภาชนะรูปแบบต่าง ๆ เช่น หม้อ ไห จาน
ภาชนะบางชิ้นทำเป็นภาชนะดินเผามีสามขา
แต่ยังไม่รู้วิธีหลอมโลหะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
มนุษย์สมัยนี้รู้จักทำหินขัดและเปลือกหอยกาบ เปลือกหอยแครง มาทำเป็นอาวุธ เช่น
หัวหอม หัวลูกศร มีด เคียวและรู้จักทำเครื่องประดับ เช่น กำไล แหวน ลูกปัด
หวี ตุ้มหู และปิ่นปักผม
สมัยนี้มนุษย์รู้จักการเรียนรู้ปรุงอาหาร ด้วยวิธีการจุดชุดไฟเพื่อใช้เผา ปิ้ง
อบ อาหารให้สุกก่อนกิน มีการนำสัตว์มาเลี้ยง เช่น หมา หมู แพะ แกะ ไก่
และวัวควาย และการหาปลาโดยใช้เบ็ดเกี่ยวเหยื่อล่อแลละฉมวก
รู้จักวิธีขุดต้นไม้เป็นเรือ รู้จักการทอผ้าและเข็มเย็บหนัง
หรือผ้าจากกระดูกสัตว์ รู้จักสร้างที่อยู่เป็นแบบกระท่อมดิน มุงหลังคาด้วยใบไม้
และทำกำแพงล้อมรอบหมู่บ้าน ซึ่งมีการรวมกลุ่มคนอยู่รวมกันราวพันคน
คนกลุ่มนี้อายุไม่ยืน
เพราะจากการตรวจโครงกระดูกในหลุมฝังศพได้พบมีมนุษย์อายุประมาณ ๓๐-๔๐
ปีเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาฟันของโครงกระดูกของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
พบว่ามนุษย์สมัยนี้รู้จักการถอนฟัน และแต่งฟันแล้ว
แหล่งโบราณคดีของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่นั้นพบว่ามีความเจริญมากอยู่ที่บริเวณตะวันออกกลางที่เรียกว่า
เมโสโปเตเมีย นับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์
แม่น้ำไทรกริส และยูเฟรติส ใกล้ประเทศอียิปต์และอิรัก
สำหรับแหล่งอารยธรรมที่สำคัญในแถบตะวันออกนั้นคือ ประเทศจีน และดินแดน
แหลมทองหรือสุวรรณภูมิ
การสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์สมัยหินใหม่ในแผ่นดินไทยได้พบว่ามีอยู่หลายแห่ง
แหล่งโบราณคดีนี้ส่วนใหญ่พบโครงกระดูกและเครื่องมือหินชนิดขวานหินขัด
ที่เรียกกันว่าขวานฟ้า ซึ่งพบจำนวนมากจังหวัดกาญจนบุรี
ได้แก่แหล่งสำรวจที่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ที่กองผสมเทียมกรมการสัตว์ทหารบก ที่โกดังองค์การเหมืองแร่ใกล้วัดใต้
ที่ใกล้โรงงานกระดาษ กาญจนบุรี ที่ถ้าเขาสามเหลี่ยม อำเภอเมือง
บริเวณห้วยแมงรัก ห้วยหินและใกล้แม่น้ำแควน้อย เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณมนุษย์ก่อนปรพวัติศาสตร์นั้น มีการสำรวจและขุดค้น
เพื่อการศึกษาแล้ว พบว่ามีมากมายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วประเทสได้แก่
·
จังหวัดราชบุรี พบที่บ้านหนองแซ่เสา ตำบลหินกอง อำเภอเมือง
·
จังหวัดนครสวรรค์ พบที่ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง
·
จังหวัดอุทัยธานี พบที่เชิงเขานาคริมแควตากแดด อำเภอเมือง บ้านเหลุมเข้า
อำเภอหนองขาหย่าง
และภาพขียนสีที่หน้าผาบนเขาปลาร้า อำเภอลานสัก
·
จังหวัดลพบุรี พบที่บ้านโคกเจริญ ตำบลมะกอกหวาน อำเภอไชยบาดาล
·
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบที่ถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม
·
จังหวัดกระบี่ พบกระดูสัตว์เผาไฟ สำหรับเป็นอาหารและขวานหินที่เขาขนาบน้ำ
ถ้ำาสระ เพิงผา
หน้าชิง ถ้ำเสือ
และที่คลองท่อม
·
จังหวัดอุบลราชธานี พบที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม แหล่งภาพเขียนสีบนเพิงผา
·
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบขวานหิน โครงกระดูก และหม้อดินเผา ในถ้ำที่บ้านวลัย
อำเภอหนองพลับ อำเภอหัวหิน
สรุปว่าแผ่นดินไหวในแระเทศเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐
๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมานั้น
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่งมาก่อนที่มีการรวมตัวเป็นชุมชน
พื้นที่ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งเก่าครั้งสมัยดึกดำบรรพ์นั้น
สามารถจัดเป็นกลุ่ศึกษา ดังนี้
·
กลุ่มบ้านเชียงอยู่บริเวณราบลุ่มตอนบนของแอ่งสกลนครริมแม่น้ำสงคราม
·
กลุ่มทุ่งสำริด อยู่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำมูลในแอ่งโคราช เช่น ที่ลุ่มแม่น้ำชีตอนบน
·
กลุ่มโนนชัยและกลุ่มทุ่งกุลา อยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง เช่น
แม่น้ำแสลงพัน ตำบลแกใหญ่ บ้านพระปีด ตำบลแร่ และบ้านสลักได ตำบลสลักได
จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
·
กลุ่มแม่น้ำบางประกง อยู่ที่บ้านท่าแค บ้านโคกพนมดี บ้านหนองนอร์ บ้านลุ่มเก่า
และเนินอุโลก จังหวัดชลบุรี
สำหรับแหล่งโบราณคดีที่บ้านพนมดี อำเภอพนัสนิคม
จังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้สำรวจพบเปลือก
หอยแครงและหอยทะเลจำนวนมาก อัดซ้อนอยู่ในชั้นใต้ดิน
เป็นหลักบานที่แสดงว่าสถานที่นั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน
ยังพบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ขวานหินลูกปัด และกำไรข้อมือหิน
ที่แสดงถึงอารยธรรมของคนสมัยหินที่เชื่อมต่อมาถึงสมัยโลหะ
นับเป็นแหล่งมนุษย์ใช้ทาหากินอยู่ตามชายฝั่งทะเล เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีแล้ว
พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยนั้นได้พบว่าเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อายุว่ามีเรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ
๓,๐๐๐
๕,๐๐๐ ปี ปีทีผ่านมาเช่นเดียวกัน ได้พบว่ามีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
อาศัยอยู่แล้ว คือมนุษย์ในสมัยนั้นได้อาศัยอยู่ในถ้ำผีหัวโต หรือถ้ำหัวกะโหลก
อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และถ้ำอื่น ๆ
ในบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งในถ้ำเขาเขียนและเขาระย้า ที่ตำบลเกาะบันหยี อำเภอเมือง
จังหวัดพังงา
แหล่งโบราณคดีนี้ได้พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำดังกล่าว
มีภาพเขียนเป็นรูปมือ คน ปลา กุ้ง นก วัว แพะ ตะกวด
และภาพเขียนเป็นลายเรขาคณิต รูปสัตว์บางรูปเขียนแบบเอกซเรย์ใส
ขีดเป็นเส้นเหมือนกระดูกหรือก้างปลา
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ลักษณะเช่นนี้ได้
มีการพบอีกหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ถ้ำผามือแดงเขาจอมนางบ้านท่าส้มป่อย
ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ถ้ำผามือบ้านหินล่อง
ตำบลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ถ้ำมือแดง และถ้ำผาแต้ม จังหวัดนครพนม
ที่เขาจันทร์งาม ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่ผาฆ้อง
ถ้ำลายแทง ภูผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ภูถ้ำมโหฬาร จังหวัดเลย
ที่ถ้ำลายมือภูผาผึ้งใกล้บ้านห้วยม่วง จังหวัดเลย ตำบลหนองห้าง
อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธ์ ถ้ำคนวัดพระพุทธบาทบัวบก ถ้ำลาย
ถ้ำโนนเสาเอ้ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
นอกจากนี้ยังสำรวจพบภาพทรงเรขาคณิตจำหลักบนหินทรายผนังถ้ำ ที่ผากระดานเลข
เขาผาแดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และถ้ำมิ่ม ตำบลโนนสัง
จังหวัดอุดรธานี พบภาพมือแดง เต่า ปลาและสัตว์ต่าง ๆ อายุ กว่า ๓,๐๐๐ ปี
ที่ผาแต้ม ภูผาขาม บ้านกุ่ทตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ในภาคกลางพบภาพเขียนสีถ้ำรูปเขาเขียว ตำบลลุ่มลุ่ม อำเภอไทรโยค
จังหวัดกาญจนบุรี และภาพเขียนสีที่หน้าผาบนเขาปลาร้า อำเภอลานสัก
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
สำหรับหลักฐานสำคัญของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่
คือหม้อดินเผาสามขาโบราณ พบว่าในประเทศไทยได้รู้จักทำขึ้นแล้ว
ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า กายจนบุรี อยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐-๓,๓๐๐ ปี
มีรูปแบบคล้ายคลึงกับภาชนะดินเผาที่พบในบริเวณลุงซานนอยด์ ในจีน
และมีการพบชิ้นส่วนของหม้อสามขา ที่เขาขนาบน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ที่ถ้ำกาซี อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ้ำเขาปินะ อำเภอเมือง
จังหวัดตรัง และเขารักเกียรติ อำเภอรัตตภูมิ จังหวัดสงขลาอีกด้วย
เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งแสดงถึงอารยธรรมที่มีการเดินทางมาจากแหล่งเดียวกัน
หรือความคิดสร้างงานนี้ตรงกัน
|