ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ

 

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ

(Metel  Age)  อายุ  ๕,๐๐๐ -๓,๐๐๐  ปี

 

                มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะนั้น  เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่ธาตุโลหะขึ้นมาจากดินและสกัดจากหินมาถลุงหลอมใช้  เช่น  เหล็ก  ทองแดง  รู้จักที่นำโลหะหลายชนิดมาหลอมรวมกันด้วยความร้อนจนเกิดเป็นโลหะชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าเดิม คือ  สำริด  (หรือสัมฤทธิ์)  ซึ่งเป็นโลหะผสมของทองแดง  ๘๕กับดีบุก  ๑๕%  และอาจมีตะกั่วปนแทรกเข้าไปในบางครั้ง

               

คุณสมบัติของสำริดนั้นทำให้มนุษย์สามารถนำมาหลอมหรือทุบตีเป็นเครื่องมือสำริดได้ดีกว่า  เหล็กที่ใช้อยู่เดิม  เครื่องมือสำริดจึงมีรูปลักษณะแตกต่างกัน  เช่น  ขวานทำเป็นป้องสำหรับใส่ด้าม  หอก  กำไล  เบ็ด  ใบหอก  ถ้วยหรือขัน  และกลองมโหระทึก  ที่มีการสร้างตัวกบซ้อนกันและทำลวดลายบนตัวกลอง  ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใบใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับบุคคลสำคัญของชุมชนซึ่งจะพบว่ามีการทำลวดลายกำไร

เครื่องประดับสำริด  เช่น  แหวน  ลูกกระพรวน  ตุ้มหู  เป็นต้น

               

ส่วนเครื่องมือที่ทำจากเหล็กนั้นนิยมใช้อยู่โดยการถลุงแร่เหล็กแล้วนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้โดยตรง  เช่น  ใบหอก  ดาบ  มีด  ขวาน  ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแกร่งกว่าสำริด  เหมาะสำหรับใช้งานล่าสัตว์มากกว่า

               

มนุษย์สมัยโลหะนิยมการฝังศพ  โดยให้หันหัวไปทางทิศเหนือนอนหงายเหยียดตรงรู้จักขุดหลุมสร้างบ้านใต้ถุนสูง  มีหลักแหล่งที่อยู่ค่อนข้างถาวรไม่เดินทางร่อนเร่เหมือนมนุษย์สมัยเครื่องมือหิน  รู้จักเก็บเมล็ดพันธุ์  สำหรับเพาะปลูกข้าวและปลูกฝ้ายในที่ลุ่ม  รู้จักการทอผ้า  การหล่อสำริด  การทำลูกปัดจากหินเป็นเครื่องประดับ  ทำเครื่องปั้นมีลวดลายเขียนสีสำหรับใช้ในพิธีฝังศพ  รู้จักเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและไว้เป็นอาหาร

 

                แหล่งที่เป็นถิ่นฐานของมนุษย์สมัยใช้เครื่องมือโลหะในแผ่นดินไทยนั้นพบว่ามีอยู่หลายแห่ง  ได้แก่  แหล่งโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีพบโครงกระดูกของมนุษย์ที่มีอาวุธ  กลองสำริด  เครื่องประดับที่ทำด้วยสำริด  และพบโลงศพที่ขุดต้นไม้ให้เป็นรูปเรือ  อยู่ในถ้ำองบะ  อำเภอศรีสวัสดิ์  และบ้านดอนตาเพชร  อำเภอพนมทวน  (อายุราว  ๔,๐๐๐  ปี)

 

·        จังหวัดลพบุรีนั้นพบแหล่งถลุงเหล็กและทองแดงโบราณหลือขนาดใหญ่  ที่บ้านโคกเจริญ  บ้าน

ท่าแค  บ้านเนินป่าหวาย  โนนหมากลา  นิลกำแหง  เขาวงพระจันทร์  บ้านถลังเหล็ก  บ้านตีลัง  และที่อ่างเก็บน้ำพิบูลสงคราม  ซึ่งอยู่ในบริเวณศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี    

·        จังหวัดอุดรธานีพบโครงกระดูก  ภาชนะดินเผาลายเขียนสี  เครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก  ที่บ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  โดยได้พบที่ฝังศพใต้ถุนบ้านหรือบริเวณเดียวกับบ้านมีภาชนะลายเขียนสีและเตรื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสำริดและเหล็ก  อยู่ในที่ฝังศพ  พบกระดูกสัตว์ต่างๆ  กว่า  ๖๐  พันธุ์  เช่น  ปลา  กบ  เต่า  หอย  วัว  ควาย  เสือและเก้ง  เป็นต้น

·        จังหวัดสกลนคร  พบกำไร  หัวลูกศร  ขวานและกระดึงสำริดที่บ้านดอนธงชัย และบ้านพันนา  อำเภอสว่างแดนดิน

·        จังหวัดหนองคาย  พบแหล่งแร่ทองแดงที่ภูโล้น  ริมแม่น้ำโขง  อำเภอสังคม

·        จังหวัดมุกดาหารพบกลองมโหระทึกสำริด  อายุราว  ๒,๐๐๐ ปี  ที่บ้านดอนตาล

·        อำเภอดอนตาล  จังหวัดขอนแก่นพบดครงกระดูกมนุษย์  จำนวน  ๒๑๗  โครงและเครื่องประดับเครื่องใช้ทำจากสำริดผสทดีบุก  เช่น  กำไร  ตุ้มหู  ขวานมีบ้อง และเบ้าหลอมสำริด  ทำจากหินทราย  อายุราว 

     ๔,๕๐๐  ปี  ที่โนนนกทา  ตำบลบ้านโคก  อำเภอภูเวียง  (มีแหล่งทำสำริดโบราณ  อายุราว  ๕,๐๐๐  ปี)

·        จังหวัดเชียงใหม่  พบที่  ถ้ำงวงช้าง  อำเภอเชียงดาว

·        จังหวัดราชบุรีพบที่บ้านโคกพลับ  ตำบลโพธิ์หัก  อำเภอบางแพ

·        จังหวัดน่าน  พบเครื่องมือรูปพร้าทำด้วยสำริด

·        จังหวัดเลยพบขวานสำริด และจังหวัดอุบลราชธานีพบกลองมโหระทึกสำริดที่บ้านชีทวน  เป็นต้น

 

บริเวณประเทศใกล้เคียงกับดินแดนสุวรรณภูมินั้นได้มีการสำรวจพบเครื่องใช้สำริดที่ชุมชนดองซอน  ในแคว้น  ตังเกี๋ย  ประเทศเวียดนาม  เรียกว่า  วัฒนธรรมของดองซอน  พบที่บริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว  และพบในแคว้นเปรัก  ของประเทศมาเลเซีย  ทำให้เชื่อว่า  วัฒนธรรมการใช้เครื่องมือสำริดนั้น  ได้มีการเดินทางติดต่อกันระหว่างดินแดนต่างๆดังกล่าวมาก่อน

 

สำหรับแหล่งโบราณคดีที่เชื่อว่า  น่าจะเป็นชุมทางการติดต่อของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เครื่องมือเหล็กต่อเนื่องมาในถึงพุทธศตวรรษที่  ๑๘-๑๙  นั้นก็คือ  บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย  ที่กาญจนบุรี  เมืองสิงห์  และเมืองลพบุรี

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์