ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

 

 

 

 

สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

(PREHISTORY  SOCIETY)

 

                เนื่องจากแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน  ถือว่าเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นก่อนแล้วในยุคโลกยุคแรกที่มีสัตว์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่  ด้วยปรากฏว่ามีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์  ช้างดึกกำบรรพ์อาศัยอยู่มาก่อน  ครั้นเมื่อบรรพบุรุษหรือมนุษย์วานรเกิดขึ้นและได้วิวัฒนาการจนถึงยุคแรกนั้น  บริเวณดังกล่าวนี้จึงพบว่ามีร่องรอยมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  (PREHISTORY)  อาศัยอยู่เช่นเดียวกัน

               

การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี  พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๔  นั้นได้พบว่ามีเรื่องราวมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เกิดขึ้นถึง  ๔  สมัยเช่นกัน  คือ  สมัยหินเก่า  (PALAEOLITHIC)  สมัยหินกลาง  (MESOLITHIC)  สมัยหินใหม่  (NEOLITHIC)  และสมัยโลหะ  (METAL  AGE)  ซึ่งมีการแบ่งออกอีกเป็นสมัยสำริด  (BRONZE  AGE)  และสมัยเหล็ก  (IRON  AGE)

               

ครั้นเมื่อมีการกำหนดมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาศึกษาแล้วก็ปรากฏว่า  มนุษย์ก่อนสมัยประวัติศาสตร์  ไนสมัยต่างๆ  ที่เคยกำหนดเอาเครื่องมือหินและเครื่องมือโลหะเป็นหลักในการแบ่งยุคสมัยนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่

               

กล่าวคือ  จากการศึกษาความเกี่ยวข้องเรื่องอายุสมัย  และเทคโนโลยี  การดำรงชีวิตการตั้งถิ่นฐานสภาพแวดล้อมแล้ว  ปรากฏว่ามนุษย์ได้ความสัมพันธ์ที่คาบเกี่ยวสมัยกันยังใช้เครื่องมือหินและเครื่องมือโลหะร่วมสมัยกัน  จึงทำให้มีการแบ่งสมัยตามยุโรปโดยนำเอาเกณฑ์การสร้างสังคมมนุษย์ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแบ่งตามความเจริญทางวัฒนธรรมของสังคมที่เกิดขึ้น  โดยแบ่งเป็น  ๒  สังคมได้ดังนี้

 

                สังคมการล่าสัตว์(HUNTING  AND  FOOD-GATHERING  SOCIETY)และ

            สังคมการกสิกรรม(VILLAGE  FARMING  SOCIETY)

               

สังคมล่าสัตว์

(HUNTING  AND  FOOD-GATHERING  SOCIETY)

                สังคมล่าสัตว์ เป็นสังคมสมัยหินเก่าและหินกลางที่มีความเป็นอยู่คล้ายคลึงกันแตกต่างก็เพียงลักษณะเครื่องมือ ซึ่งพบว่าเครื่องมือสับตัดในสมัยหินเก่ากับเครื่องมือกะเทาะหน้าเดียวในสมัยหินกลางของวัฒนธรรมโหบีเนียน  ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่มีความประณีตกว่า  ทำให้ต้องรวมสังคมในสมัยหินเก่าและหินกลางไว้เป็นสังคมล่าสัตว์เหมือนกัน  ลักษณะเครื่องมือในวัฒนธรรมโหบิเนียนนั้นมีการทำจากสะเก็ดหิน  เข้าใจว่าใช้ติดกับไม้เช่นหัวธนูและใบหอก  ที่ติดกับไม้ไผ่และเครื่องมือแกนหินกะเทาะหน้าเดียว 

               

กลุ่มของวัฒนธรรมของโหบิเนียนนี้ได้กระจายแพร่หลายในแถบเอเชียอาคเนย์และหมู่เกาะต่างๆ  ตั้งแต่

๑๐,๐๐๐-๕,๐๐๐  ปีก่อนคริสต์ศักราช  ต่อมาประมาณ  ๕,๐๐๐-,๐๐๐  ปีก่อน

               

คริสต์ศักราช  กลุ่มชุมชนเหล่านนั้นได้ทำเครื่องมืออย่างใหม่ขึ้นและแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ  ซึ่งพบว่ามีแหล่งโบราณคดีอยู่  ๔  แห่ง  ซึ่งมีอายุแต่งต่างกันเช่น  ในมาเลเซียพบที่กัวเคอชัว  (GUA  KECHIL)  อายุ

,๘๐๐ปี  (ก่อนหลัง  ๘๐๐  ปี)  มาแล้ว  ในไทย  ที่ถ้ำผี  (SPIRIT  CAVE)  อายุประมาณ  ๗,๖๒๒  ปี  (ก่อนหลัง  ๓๐๐  ปี)  มาแล้วและถ้ำปุงฮุง  (BANYAN  VALLEY  CAVE)  อายุ  ๑,๑๐๐  ปีมาแล้ว  ในกัมพูชาพบที่แลงเสปียน (LEANG  SPAENG)  อายุ  ,๒๔๐  ปี  (ก่อนหลัง  ๗๐  ปี)  มาแล้ว  จากการศึกษาของ  ดร.เชสเตอร์  เอฟ  กอร์แมน  (CHESTER  F  GORMAN)  นักโบราณคดีชาวอเมริกันได้พบว่า  มีข้อสนับสนุนเรื่องมนุษย์ในสมัยนั้นเริ่มรูจักทำนาเป็นครั้งแรกในบริเวณที่ราบเอเชียอาคเนย์  (ที่โนนนกทา)  และบ้านเชียง  ซึ่งมีอายุ  ๔,๕๐๐-๕,๕๐๐ ปีมาแล้ว  ในชั้นดินที่ ๑  นั้นพบพืชจำพวกน้ำเต้า  บวบ  พืชประเภทถั่ว  พริกไทย  และถั่วพันธุ์เมล็ดแบนกว้าง  ซึ่งคนกลุ่มวัฒนธรรมโหบีเนียนมีความคุ้นเคยและอาจนำมาปลูกและพบว่ามีการสัตว์  ในบริเวณแถบที่อยู่อาศัย  กวาง  ลิง  หมู  วัวตามทุ่งหญ้า  ค้างคาวในถ้ำ  ปลาและหอยที่อาศัยอยู่ในลำน้ำใกล้กับแหล่งโบราณคดี

               

แหล่งหินทำเครื่องมือหินนั้นพบอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง  อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย  และแหล่งนายกองศูน  ตำบลในเขตอำเภอดอนตาล  จังหวัดนครพนมซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง  เช่น  ส่วนแหล่งที่อยู่อาศัยที่ต้องใช้-หรือเพิงผาบริเวณริมน้ำนั้น  ถือว่าน่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนในสังคมล่าสัตว์นั้น  ยังไม่พบในภาคนี้  แต่ในภาคจะพบวัฒนธรรมโหบีเนียนอยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นถ้ำต่างๆมากมาย  เช่น  ถ้ำผี  อยู่เหนือแม่ฮ่องสอนไป  ๖๐  กิโลเมตร  อายุประมาณ  ๑๑,๔๕๐  ปี  (ก่อนหรือหลัง  ๒๐๐  ปี)  ซึ่งสำรวจพบว่า  มีการทบถมของชั้นดิน  ๕  ชั้น

ระหว่างชั้นดินนั้นพบชั้นดินที่เป็นวัฒนธรรมโหบีเนียน  ชั้นดินที่อยู่อาศัยล่าสุดที่อายุ  ๖๐๐๐  ปีก่อนคริสต์ศักราช

และชั้นที่อยู่ในสมัยเพลสโตซีนตอนปลาย  และถ้ำองบะมีอายุ  ๙๒๓๐  ปี  (ก่อนหรือหลัง  ๑๖๐  ปี)  ก่อนคลิสต์ศักราช

               

ชุมชนวัฒนธรรมของโหบีเนียน  (HOABINHIAN)  นั้นมีการรู้จักใช้พืชและมีการล่าสัตว์มาใช้ในการดำรงชีพ  จึงมีพื้นฐานของการล่าสัตว์  จับปลา  และเก็บสะสมอาหาร  โดยเฉพาะการรู้จักการอาศัยธรรมชาติรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น  ฤดูแล้งรู้จักล่าสัตว์  ฤดูฝนมีการจับปลาและเก็บพืชพันธุ์นานาชนิดเป็นอาหาร  ที่มนุษย์เลือกบริเวณ  ๒  แห่งคือ  เพิงหินที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน  ซึ่งอยู่ใกล้ลำธารเล็กและป่าบนเขา  เช่น  ถ้ำเขาในเขตเพชรบูรณ์  และบริเวณที่อยู่ใกล้ชายน้ำชายฝั่งทะเล  เช่น  ริมแม่น้ำโขง  เป็นแหล่งของชุมชนที่ดำรงชีวิตในสังคมล่าสัตว์

               

ชุมชนนี้รู้จักการล่าสัตว์  การจับปลาและเก็บสะสมอาหาร  บางกลุ่มอาจจะรู้วิธีปลูกพืชแล้ว  เช่น  เผือก  มัน  และพืชที่ปลูกง่ายไม่ต้องดูแล  เป็นต้น  ซึ่งเป็นพืชที่ให้คาร์โบรไฮเดรทที่คนต้องการ  เพราะจะอาศัยแต่โปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นย่อมไม่เพียงพอ  สัตว์ที่ถูกล่ามี  วัวป่า  หมูป่า  กวาง  ส่วนสัตว์ที่ใช้วิธีดักจับได้แก่  กระต่าย  พังพอน  ชะมด  อีเห็น  และสัตว์น้ำที่จับมีหอย  ปลาชนิดต่างๆ  ซึ่งพบว่าภาพสัตามผนังถ้ำหลายแห่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์สังคมล่าสัตว์ในภาคอีสานนั้นเริ่มเมื่อ  ๑๒,๐๐๐-๑๔,๐๐๐  ปีมาแล้ว  แล้วน่าจะสิ้นสุดเมื่อ๕,๐๐๐  ปีมาแล้ว

 

สังคมการกสิกรรม

VILLAGE  FARMING  SOCIETY) (

               

สังคมกสิกรรม  เป็นสิ่งที่มีความหลากหลาย  และไม่อาจสรุปว่าเป็นสมัยหินใหม่และสมัยโลหะได้  ซึ่งพบว่ามือเครื่องมือขวานหินขัดและโลหะปะปนกันอยู่  ซึ่งพบทั้งมีเหล็กกับสำริดปนกัน  กับพบว่าบางแห่งมีการแยกสำริดกับเหล็ก  เช่นที่  บ้านเชียง  บ้านนาดี  เป็นต้นและพบว่าบางแห่งมีขวานหินขุดอยู่ด้วย

               

ชุมชนของสังคมกสิกรรมพบในมากภาคอีสาน  เป็นชุมชนที่เริ่มต้นเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มากกว่า  ๕,๐๐๐  ปีมาแล้วเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้รับอิทธิพลภายนอกชุมชนนี้นอกจากการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์แล้วยังรู้จักแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้า  ซึ่งมีการแยกแรงงานออกมาทำอาชีพเฉพาะเช่น  ช่างปั้นภาชนะดินเผา  ช่องทอผ้า  ช้างทำเครื่องมือจากโลหะ  ชาวนาและพวกเลี้ยงสัตว์  ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับงานเหล่านี้

               

การเพาะปลูกในชุมชนนั้นส่วนใหญ่ปลูกข้าว  พบที่แหล่งโบราณคดีที่โนนนกทาและที่บ้านเชียง  มีวิธีปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย  (SWIDDEN  RICE  CULTIVATION)  โดยแต่ละช่วงปีนั้นจะอาศัยน้ำจากน้ำฝนและพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์  โดยหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่มีการพลวนหรือไถ่ดิน  (หรืออาจจะมีการขุดไถก็ได้)  เมื่อปลูกข้าวได้สักปีสองปีก็ต้องหาพื้นดินใหม่เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์  เหมือนเร่ร่อนทำนาไปตามที่ต่าง  วนเวียนไปรอบๆ  ที่อยู่อาศัยหลังจาก  ๓,๖๐๐-๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว  ชุมชนสังคมกสิกรรมได้รู้จักการปลูกข้าวด้วยวิธีการกักเก็บน้ำ  (INUNDATION  SYSTEM)  ซึ่งรู้จักการทำนาด้วยเหล็กเป็นทำเครื่องมือมาถากถางขยายพื้นที่ทำนา  และรู้จักเลี้ยงมาใช้งานเครื่องทุนแรงโดยมีไถ่พรวนดินและอาจจะหว่านเมล็ดข้าวลงไป  แทนวิธีการทำนาแบบเลื่อนลอย  คอยย้ายที่ดินมาใช้วิธีกักเก็บน้ำใส่ไว้ในดินหรือหาแอ่งน้ำเป็นแปลงทำนาข้าว  โดยเฉพาะรู้จักยกคันดินกั้นน้ำเป็นคันนา  ทำให้ชมชนนั้นไม่ต้องเคลื่อนย้ายที่ดินเพาะปลูกบ่อยๆ  แต่ต้องเลี้ยงควายใช้เป็นแรงงานไถนาและขนย้ายพืชพันธุ์ธัญญาหาร

               

ข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของชุมชนในภาคอีสานหลายพันปี  การเพาะปลูกข้าวนั้นน่าจะเริ่มมาจากประเทศจีนตอนเหนือนั้นนิยมปลูกข้าวฟ่างแล้วจึงแพร่ขยายลงมาทางภาคอีสาน  ซึ่งหลักฐานจากร่องรอยจากแกลบข้าวหรือเมล็ดข้าวประทับอยู่เหนือบนภาชนะเศษดินเผาที่พบจากแหล่งโบราณคดีบนที่ราบ  และแกลบที่ฝั่งในสนิมเหล็กซึ่งอยู่บนอาวุธที่ทำด้วยเหล็กสมัยก่อนประวัติศาสตร์

               

การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนานั้น  น่าจะสืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากรที่มีมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องหาวิธีการทำนาเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มเพียงพอกับจำนวนกับประชากรที่เพิ่มขึ้น

               

ส่วนการเลี้ยงสัตว์  สำรวจพบว่าพบโครงกระดูกวัว  กรามของหมู  ที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา  พบกระดูกหมาที่แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง  เป็นหลักฐานว่าชุมชนนี้มีการเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย  เลี้ยงหมู  เลี้ยงหมา  สำหรับหมานั้นเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ไม่ได้มีในพื้นที่เป็นสัตว์ที่นำมาจากที่อื่น  (อินเดียหรือจีน)  มาเลี้ยงเมื่อ  ๒,๕๐๐-๓,๖๐๐  ปีมาแล้ว  สำหรับการล่าสัตว์นั้นพบว่า  การล่าสัตว์ดักสัตว์และจับสัตว์น้ำ  ได้ทำกันมากเมื่อ  ๕,๖๐๐-๓,๖๐๐  ปีมาแล้วช่วงเวลาที่ถัดมาตั้งแต่  ๓,๖๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้วการล่าสัตว์และจับสัตว์ก็ยังมีแต่ลดลง 

เนื่องจากประชากรในระยะนั้นมีความเป็นอยู่ดีขึ้นและสามารถปลูกข้าวที่มีผลผลิตเพียงพอ  จึงไม่จำเป็นต้องล่าสัตว์หรือดักจับสัตว์  จับปลากันมากมายนัก  ประกอบกับระยะเวลาที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย  ทำให้สัตว์ป่าหาแหล่งอพยพหากินใหม่

               

ในชุมชนกสิกรรมนั้นภาคอีสานรู้จักทำโลหะขึ้นก่อนแหล่งโบราณคดีอื่นในประเทศไทยคือเมื่อ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐  ปีรู้จักทำสำริด  และเมื่อ  ๒,๕๐๐-๓,๖๐๐  ปีมาแล้วรู้จักทำเหล็ก  ต่อมาให้แหล่งโบราณคดีอื่นก็พบว่ามีการทำโลหะเช่นเดียวกัน  สำหรับแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงนั้นพบว่าเริ่มทำสำริดจากการนำทองแดงผสมกับดีบุก  เมื่อประมาณ  ๓,๒๐๐  ปีมาแล้วก่อนการทำเหล็กจะเข้ามาแทนที่เมื่อประมาณ  ๓,๖๐๐  ปีมาแล้ว  ทำให้สำริดนั้นได้เปลี่ยนรูปแบบจากอาวุธเป็นเครื่องประดับหรืออย่างอื่นแทน  ส่วนการทำอาวุธนั้นใช้เหล็กทำ

               

ดังนั้นแถบเอเชียตะวันออกเฉยงใต้  ได้แก่  ไทย  ลาว  จีน  พม่า  และกัมพูชา  จึงเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีแร่ทองแดง  ดีบุก  และเหล็กจำนวนเพียงพอจึงทำให้มีการพัฒนาโลหะและภาคอีสานนั้นถือว่าเป็นแหล่งทำสำริดที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง

               

สังคมกสิกรรมนั้นเป็นชุมชนที่มีชุมชนที่มีการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ประเพณีการฝังศพ  ทำเครื่องมือ  เครื่องใช้ด้วยหิน  รู้จักการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนอื่นๆ  ตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นบาน  ในการขุดสำรวจที่แหล่งโบราณคดี  บ้านเชียง  โนนนกทา  และบ้านนาดี  นั้นพบว่าดินชั้นล่างสุดพบเครื่องสำริด  ซึ่งเป็นส่วยผสมระหว่างทองแดงกับดุบุก  นอกจากนี้ยังพบว่าแหล่งดีบุกนั้นที่อยู่ที่ลาวและแหล่งทองแดงอยู่ที่จังหวัดเลย  จึงทำให้เข้าใจต้องมีการแลกเปลี่ยนโลหะทั้งสองแหล่งมาใช้ทำสำริดตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นฐาน  เช่นเดียวกันก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าอื่นๆ สังคมกสิกรรมในภาคอีสานเริ่มเมื่อประมาณ  ๖,๐๐๐  ปีมาแล้ว  และสิ้นสุดเมื่อประมาณ  ๒,๐๐๐  ปีมาแล้ว

               

แหล่งโบราณคดีของสังคมกสิกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือ  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานีและแหล่งโบราณคดีบ้านโนนนกทา  อำเภอภูเวียง  จังหวัดข่อนแก่น  มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานในชุมชนนี้  ไม่มีหลักฐานที่มา  (น่าจะมาจากแหล่งอื่น)  แต่เข้ามาอาศัยพื้นที่ราบทำการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำเครื่องมือสำริดเลยเวลาต่อมาจึงมรการติดต่อกับชุมชนอื่น  แล้วขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางจนทำให้การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น  จำนวนในแหล่งโบราณคดีของกสิกรรมที่สำคัญในช่วง  ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว  ๓,๐๐๐  ปีมาแล้วนั้นตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของภาคอีสานเรียกว่า  แอ่งสกลนคร  นับว่าเป็นถิ่นฐานของสังคมกสิกรรมที่เก่าแก่  ด้วยพื้นดินแอ่งนี้มีลักษณะของดินที่สามารถอุ้มน้ำทำให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวได้และมีจำนวนฝนที่ตกชุกเกินกว่า  ๑,๒๕๐  มิลลิเมตรต่อปี  ซึ่งเหมาะสำหรับที่ราบขั้นต่ำใกล้แม่น้ำลำธาร  และชนิดของดิน

               

สินค้าที่ชุมชนแต่ละแห่งใช้แลกเปลี่ยนกันนั้นคือ  แร่ทองแดง  แร่ดีบุก  และแร่เกลือ  ที่ใช้รักษาเนื้อสัตว์และอาหาร  มีแหล่งเกลือหลายแห่งในบริเวณรอบหนองหาน  และกุมภวาปี  ซึ่งมีอายุราว  ๒,๕๐๐-๒,๐๐๐  ปีมาแล้ว  เป็นยุคที่กสิกรรมได้ขยายตัวมากขึ้นกว่าสังคม  กสิกรรมในระยะแรกเมื่อ  ๖,๐๐๐ -๓,๐๐๐  ปี  มาแล้ว

               

แหล่งโบราณคดีของสังคมกสิกรรมในช่วง  ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี  มาแล้วนั้นตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอีสาน  เรียกว่า  แอ่งโคราช  ซึ่งเป็นถิ่นของสังคมกสิกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  เช่น  รู้จักวิธีทพนาโดยใช้แรงงานสัตว์เลี้ยงมาช่วยทุ่นแรง  คือ  เลี้ยงควายไว้สำหรับไถ่นาทำไร่  รู้จักสร้างเครื่องมือเหล็กมาช่วยถากถางป่าขยายพื้นที่เพาะปลูก  รู้จักระบบกักเก็บน้ำมาใช้ในการปลูกข้าว  เนื่องจากดินในพื้นที่นี้ไม่ค่อยอุ้มน้ำ  มีเกลือปนและมีเกลือวึมซาบของน้ำมาก  จำนวนน้ำฝนที่ตกลงมานั้นน้อยกว่า  ต่อมาชาวนาทำนาในบริเวณแอ่งสกลนครได้พากันอพยพมาทำนาที่แอ่งโคราชทำให้เรียนรู้การทำนาใหม่ที่ให้ผลผลิตมากกว่า  โดยเฉพาะทำนาด้วยวิธีกักเก็บน้ำ (ยกคันนา)  และใช้ควายช่วยในการทำงานและเป็นเครื่องทุ่นแรงโดยวิธีไถ่พรวนดิน  ซึ่งเป็นการทำนาโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยการทำนาในที่ราบชั้นบันไดชั้นกลางและสูง

               

การติดต่อและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนอื่น ๆ  นั้นในแหล่งโบราณคดีได้พบว่ามีแร่ทองแดง  แร่ดีบุก  ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว  ลูกปัดหอยมือเสือและเกลือ  เป็นต้น  ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงแนวโน้มว่า  ชุมชนกสิกรรมที่พบนั้นมีการติดต่อกับชุมชนแหล่งอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากัน  ซึ่งเป็นสินค้าชนิดใดบ้างนั้นต้องศึกษาแหล่งผลิต  เช่น  ลูกปัดแก้วและลูกปัดหินสีนั้นพบหลายแห่งในภาคอีสาน  น่าจะเชื่อว่าพื้นที่นี้น่าจะมีการติดต่อกับแหล่งอารยธรรมของอินเดีย  หรือ  มีการนำติดต่อมาจากชุมชนอื่น

 

                สรุปได้ว่าสังคมกสิกรรมของชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น  ได้มีตั้งถิ่นฐาน  ครั้งแรกในบริเวณที่ราบขั้นบันไดหรือตะพักลำน้ำขั้นต่ำ  ใกล้แม่น้ำลำธารที่มีลักษณะของดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมากทำให้ขุมชนขยายตัวออกไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณที่ราบขั้นบันไดหรือบนตะพักลำน้ำขั้นกลางขั้นสูง  และที่ราบน้ำท่วมในบริเวณอื่น  โดยอาศัยเทคโนโลยีที่สูงกว่ามาช่วย  ทำให้ชุมชนสมัยนั้นมีรูปแบบการดำรงชีวิต  โดยรู้จักการเลี้ยงสัตว์  ปลูกข้าวเป็นอาหาร  แล้วพัฒนาวิธีการล่าสัตว์  ดักสัตว์ และจับสัตว์น้ำมาเป็นอาหารด้วยเครื่องมือจับสัตว์และรู้จักติดต่อกับชุมชนอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าของชุมชน  ซึ่งมีการขยายตัวการติดต่อไปยังบริเวณอื่น ๆ มากมาย

 

สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ในสังคมล่าสัตว์และกสิกรรมนั้น  ได้พบว่ามีการพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยี  กล่าวคือสังคมกสิกรรมยุคแรกนั้นมีการใช้เครื่องมือหินคือขวานหินขัด  ซึ่งอาจมีเครื่องมือสำริดปนอยู่บ้าง  ซึ่งต่อมาได้มีเครื่องมือที่ทำด้วยด้วยสำริด และเมื่อมีการทำเครื่องมือด้วยเหล็ก  โลหะผสมสำริดจึงถูกนำไปใช้เครื่องประดับและพิธีกรรมทางศาสนาแทน  เช่น  กำไร  แหวน  ตุ้มหูห่วงสำริด  เครื่องราง  เป็นต้น  ในภาคอีสานพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนนกทา  เป็นต้น

 

                พิธีกรรมของสังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สำรวจพบนั้นคือ  การฝังศพ  ซึ่งมีประเพณีมาตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นฐานแล้ว  โดยการฝังศพนั้นค้นพบว่ามีการขุดหลุมก่อนแล้วจึงใส่ศพลงไป  ในหลุมฝังศพนั้นส่วนมากมักมีการวางสิ่งของไว้เป็นเครื่องเซ่น  และเป็นภาชนะดินเผาขนาดต่าง ๆ  เหมือนสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัวผู้ตายเช่นเดียวกับขวานหินขัด  สร้อยลูกปัด  กำไล  สำริด  แหวน  อื่น ๆ  เหมือนเป็นประเพณีฝังศพที่ต้องใส่สิ่งของเหล่านี้ให้ผู้ตายซึ่งมีจำนวนมากหรือน้อยตามฐานะของคนตาย  ความเช่นในการฝังศพนั้น  เชื่อว่าผู้ตายไปแล้วย่อมต้องการอาหารและสิ่งของเครื่องใช้  ดังนั้นผู้เป็นญาติที่มีชีวิตอยู่ต้องทำพิธีกรรมนำสิ่งของไปใส่อุทิศให้  เพื่อให้เกิดความพอใจแก่ผู้ตาย  หากไม่ทำกิจจะทำให้เกิดความทุกข์ยากบันดาลให้น้ำท่วมฝนแล้งวันหน้าได้  บางแห่งไม่พบว่าสิ่งของอะไร  ข้อที่น่าสังเกตก็คือ  การวางศีรษะไปตามทิศทาง  ซึ่งพบว่าการาวงศีรษะการหลายทิศทาง  แต่ยังไม่พบว่ามีการฝังศพไปทางทิศใดทิศหนึ่งให้แน่นอน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์