ศิลปะถ้ำ
ศิลปะถ้ำ
:
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นได้มีการเขียนภาพไว้บนผนังถ้ำ หรือ หน้าผาหิน
ศิลปะถ้ำ หรือภาพเขียนสีบนหิน (ROCK
PAINTING)
ถือเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์ที่เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นการดำรงชีวิต
หรือ ความเชื่อต่าง ๆ ของพวกตน
ในประเทศไทยนั้นเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๖๗ นายเอ เอฟ จี แคร์ (A.F.G.KERR)
ได้ค้นพบภาพเขียนสีครั้งแรกที่ ถ้ำมือแดง บ้านส้มป่อย ตำบลสีบุญเรือง
อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เป็นภาพที่นำขึ้นโดยวิธีใช้มือจุ่มสี
แล้วประทับบนผนังถ้ำหรือเขียนเป็นภาพมือขึ้น ซึ่งมีทั้งมือสีแดงและสีเทารวม ๑๐
มือด้วยกัน และยังมีการเขียนภาพคนยืนอีก ๖ คน
ต่อมาได้มีการสำรวจและค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำกันมากขึ้น ในเขตภาคอีสาน
ได้แก่จังหวัดอุดรธานี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์
ภาาพเขียนสีบนผนังถ้ำนี้ ยังปรากฏว่าใน ภาคกลาง ภาคเหนือ
ภาคใต้นั้นได้พบว่ามีการเขียนบนผนังถ้ำด้วยเช่นกัน ได้แก่
ภาพเขียนสีบนเขาปลาร้า อ.ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ภาพเขียนสีบนเขาสามร้อยยอด
อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
เมื่อศึกษาวิธีการเขียนภาพบนฝาผนังถ้ำแล้ว
พบว่าผนังหินที่ใช้เขียนส่วนใหญ่เป็นหินทรายส่วนที่พบเป็นพนังหินปูน ที่ภูผาฆ้อง
อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
การที่เลือกใช้ฝาผนังหินทรายนั้นเนื่องจากมีผิวข่อนข้างเรียบหากมีการแยกตัวออกจากกันก็มีรอยแตกที่เป็นเส้นตรง
ส่วนวิธีเขียนบนผนังถ้ำที่ภาคอีสานนั้นพบมีลักษณะดังนี้
เริ่มต้นจากการเขียนเป็นโคลงร่างของภาพก่อนแล้วจึงระบายสีทึบ
เป็นภาพที่ไม่ต้องแสดงรายละเอียด พบบางภาพยังเป็นเส้นร่างระบายสีทึบไม่หมด
เส้นร่างมักเป็นสีดำ ส่วนสีแดงหรือสีน้ำตาลมักใช้ระบายเป็นสีทึบมักเขียนเป็นภาพคน
ซึ่งเขียนเป็นกลุ่มเหมือนจะบอกเหตุการณ์ของยุคสมัย และภาพสัตว์ที่พบอยู่ในสมัยนั้น
ได้แก่ วัว หมา
สัตว์เลี้ยง เพื่อจะบอกลักษณะของสัตว์หรือวิธีการล่าหรือจับสัตว์
หรือบอกบริเวณนั้นมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ เช่น กลุ่มภาพที่ผาแต้ม อำเภอโขงแต้ม
บางแห่งเขียนเพื่อแสดงพิธีกรรมบางอย่างเช่น ภาพเขียนที่เขาปลาร้า
จังหวัดอุทัยธานี มีภาพคนสวมหัวนก
ในภาคอื่นนั้นพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นและมีเส้นขวางหรือประจุดอยู่กลางลำตัวเรียก
ภาพเอกซเรย์ พบที่เขาปลาร้า อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นภาพคน วัว
ควาย และหมา เป็นต้น
การเขียนภาพสัตว์น่าจะเขียนเพื่อที่จะล่าสัตว์ชนิดนั้น โดยสมมุติภาพขึ้นก่อน
และเขียนภาพใช้ประกอบพิธีกรรม เช่นภาพหมาที่เขาจันทร์งาม อำเภอสี่คิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา หรือภาพหมา ควาย ที่เขาปลาร้าอยู่กับคนเป็นต้น
เขียนเป็นเส้นภาพโดยไม่มีการร่าง
ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิตพบมากที่สุดในภาคอีสานไม่ทราบความหมาย หรือ สัญลักษณ์
ที่จะบอกอะไร
เขียนเป็นภาพมือไว้บนผนังหิน ซึ่งมีวิธีทำ ๓ วิธีกล่าวคือ
ใช้ฝ่ามือวางทาบบนผนังหินแล้วเขียนเป็นเส้นรอบฝ่ามือนั้น
หรือใช้ฝ่ามือชุบสีเสียก่อนแล้วนำไปทาบบนผนังหิน
จึงทำให้บริเวณข้อต่อและอุ้งมือไม่มีสีติดบนผนังหิน ซึ่งพบวิธีนี้ที่ภูผาฆ้อง
บ้านห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
และใช้ฝ่ามือทาบลงบนผนังหินแล้วเอาปากอมสีพ่นไปรอบมือ
ภาพมือนี้มีที่ผาฆ้องบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ผาแต้มและผาหม่อน อำเภอโขงเจียม
จังหวัดอุบลราชธานี น่าจะทำขึ้นเพื่อความแสดงการเป็นเจ้าของที่พักตามถ้ำชั่วคราว
ไม่ได้ใช้แสดงการเยี่ยมเยือนอย่างภาพมือที่พบในยุโรป
หรือใช้สัญลักษณ์แสดงเป็นแหล่งอาศัยถาวรจนเป็นชุมชน
สำหรับสีที่ใช้เขียนนั้น ส่วนมากเป็นสีแดง นอกนันก็มีสีส้ม สีเลือดหมู
สีน้ำตาล สีดำ และสีขาว สำหรับสีแงมีการศึกษาที่มาของสี พบว่าแร่เหล็ก
(เฮมาไทด์) มีจำนวนมากในภาคอีสานหาได้ง่าย
จึงสันนิษบานเป็นเบื้องต้นว่าได้นำแร่ชนิดนี้มาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำหรือยางไม้ทำเป็นสีใช้เขียนผนังถ้ำ
ส่วนเครื่องมือในการเขียนในเบื้องต้นน่าจะใช้เปลือกไม้ทุบปลายให้เป็นเส้นทำเป็นพู่กันเขียนหรือใช้วัตถุที่ยืดหยุ่นซึมซับสีได้
เช่น หางหรือขนสัตว์ และแท่งไม้ และการใช้ของแข็งหรือสิ่งที่มีคมเขียน
อย่างไรก็ตามการเขียนพนังหินนั้นจะมีน้ำหนักเท่ากันข้อเท็จจริงนั้นเรื่องแหล่งที่มาของสีและเครื่องมือที่ใช้เขียนภาพผนังนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก
สำหรับการใช้สีแดงเขียนภาพผนังถ้ำนั้น ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี
ได้กล่าวไว้ในหนังสือคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยว่า
สีแดงมีความสำคัญในความเชื่อของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
โครงกระดูกที่ได้จากการขุดค้นที่ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค
จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น
เป็นโครงกระดูกของคนสมัยหินกลางพบว่าดินตอนเหนือศีรษะและร่างมีดินสีแดงคลุมอยู่แสดงว่า
ครั้งนั้นได้มีพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพแล้ว โดยใช้สีแดง (ดินเทศ) ซึ่งหมายถึง
สีเลือดและชีวิต โปรายลงบนร่างของผู้ตาย
ประเพณีนี้ในสมัยหินกลางทำกันมาตลอดแหลมมาลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ในทวีปยุโรปการฝังศพในคนก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินเก่าตอนปลายและสมันหินกลาง
นอกจากจะมีดินสีแดงโปรยไว้หนือโครงกระดูกคนแล้ว
บางครั้งยังใช้สีแดงทาไว้ที่กระดูกคนตายด้วย
ศาสตราจารย์สุด
แสงวิเชียร ได้กล่าวถึงการใช้สีแดงในพีธีฝังศพไว้ในหนังสืออดีต ว่า
ชาวบ้านเชียง สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลังจากทำหม้อไหสำหรับเป็นเครื่องเซ่นได้อย่างดีแล้ว ก็คงคิดดัดแปลงวิธีทำ
คือแทนที่จะใช้สีแดงโรยลงไปในศพกลับใช้สีทา ลงไปบนผิวหม้อทั้งใบ
ทำให้หม้อมีสีแดงสวยงามมากและปรากฏว่านอกจากหม้อไหที่มีลายเขียนสีแดงแล้ว
ชาวบ้านเชียงสมันนั้นได้อาศัยเอาก้อนสีแดงใส่ไว้ในหม้อวางกับศพด้วย
สีแดงจึงเป็นสีสำคัญที่ใช้ในสังคมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
ทั้งพิธีศพและการใช้เขียนภาพผนังถ้ำ
โดยเฉพาะเป็นสีที่มความสดและเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล
และยุคสมัยศิลปะถ้ำที่พบในภาคอีสานนั้น นักโบราณคดี
สันนิษฐานว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เขียนขึ้นในสังคมกสิกรรมหรือยุคโลหะอายุไม่เกิน
๓,๖๐๐-๓,,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงระยะที่มีความเจริญเติบโต
และมีผลการเกษตรด้ววิธีการเพาะปลูกในระบบกักเก็บน้ำรู้จักใช้เหล็กสร้างเครื่องมือการเกษตรและใช้ควายไถ่นาพรวนดิน
จึงทำให้ประชากรในสังคมกสิกรรมมีความเป็นอยู่ดีและการขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกไปทั่วภาคอีสาน
ชุมชนกสิกรรมนี้รู้จักนำสีแดงมาเขียนบนภาชนะดินเผาแทนลายเชือกทาบที่มีมาแต่เดิม
ดังจะเห็นได้จาก ภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
|