ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสต

 

แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในประเทศไทยนั้น  ได้แก่

               

แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี   เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญมาแห่งหนึ่ง  เพราะมีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีที่ใช้ระบบมาตรฐานสากลขึ้นเป็นครั้งแรก

 

แหล่งโบราณคดีแห่งนี้อยู่ริมลำห้วยที่  ที่เป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย  บ้านเก่า  ซึ่งเป็นชุมชน

ที่มีอายุประมาณ  ๓,๘๐๐ – ๔,๐๐๐  ปีมาแล้วเชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนที่มีการทำดกษตรกรรม  โดยรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  พบภาชนะดินเผาที่ทีรูปแบบและทรงต่าง ๆ มากมาย  รวมทั้งวิธีการตกต่งผิวด้านนอกแตกต่างจากภาชนะดินเผาจากที่แห่งอื่น  ส่วนใหญ่เป็นภาชนะสีดำ  สีเทาเข้ม และสีน้ำตาลเข้ม  แหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบภาชนะที่สร้างลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ  ภาชนะดินเผาสามขา 

 

ชุมชนแห่งนี้มีประเพณีการฝังศพโดย  การฝังลักษณะนอนหงายเหยียดตรง  และมีการวางภาชนะดินเผาหลายใบพร้อมกับสิ่งของ  เครื่องมือเครื่องใช้  เช่น  ขวานหินขัด  แวปั่นด้าย  ดินเผา  และเครื่องประดับ  เช่น  กำไล  ลูกปัด  ชุมชนนี้ยังไม่มีการใช้โลหะทำเครื่องมือหิน  ซึ่งส่วนมากพบขวานหินขัดและเครื่องประดับ  เช่น  กำไล  ลูกปัด  ที่ทำมาจากหินและเปลือกหอยทะเล

                 

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่พบร่องรอยของชุมชน  เกษตรกรรมที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายช่วงสมัยเป็นเวลายาวนานนับพันปี  กล่าวคือ

               

เมื่อราว  ๓,๐๐๐ – ๖,๐๐๐  ปีมาแล้วนั้นดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ได้เกิดชุมชนโบราณขึ้นที่บริเวณบ้านเชียง  ใกล้วัดโพธิ์ศรใน  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรราชธานี  มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ถือว่า  มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูง  รู้จักวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะท้องที่ คือ  การเขียนลายเชือกทาบ  เป็นลวดลายเฉพาะ  ไม่เหมือนแหล่งโบราณคดีที่ใดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

               

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนี้รู้จักการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องประดับ  สร้างรูปแบบมีด  หอก  ขวาน  หัวลูกศร  ฯลฯ  ได้เมื่อ  ๔,๙๐๐ -๕,๖๐๐  ปีมาแล้ว  รู้จักถลุงเหล็กแล้วนำมาหลอมตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้  เมื่อ  ๓,๒๐๐ – ๓,๖๐๐  ปีมาแล้ว  รู้จักปลูกข้าว  เลี้ยงสัตว์   (ควาย  และทอผ้าไหมได้  ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นเศษผ้าไหมบนกระดูกมนุษย์โบราณในหลุมสำรวจ

               

มนุษย์กลุ่มบ้านเชียงนี้มีหลักแหล่งอยู่ในดินแดนดังกล่าวมากกว่า  ๖,๐๐๐  ปี  (จากการตรวจสอบอายุภาชนะดินเผา  โดยสถาบัน  MASCA  แห่งสหรัฐอเมริกา)  มีความก้าวหน้าเช่นเดียวกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศจีน  อินเดีย  หรือในตะวันออกกลาง  ที่นักโบราณคดีให้ความเชื่อมาว่าเป็นแหล่งอารยธรรมเจริญมาก่อน

                ในการขุดค้นโบราณคดีใน  พ.ศ.  ๒๕๑๐  ได้พบภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชนที่นิยมเรียกกันว่า  ลายบ้านเชียง  ซึ่งพบเป็นครั้งแรก และโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  เมื่อมีการนำเศษภาชนะลายดินเผาลายเขียนสีแดงตรวจสอบด้วยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเนล์  ที่มหาวิทยาลัย  เพนซิลเวเนีย  สหรัฐอเมริกา  จึงมีผลการตรวจหาอายุว่ามีอายุระหว่าง  ๗,๐๐๐ – ๕,๐๐๐  ปี  มาแล้ว  ญี่ปุ่นว่ามีอายุ  ประมาณ  ๖,๐๐๐  ปี  ทำให้เกิดกระแสนิยมสะสมโบราณวัตถุบ้านเชียง  จนต้องมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับลงวันที่  ๒๓  กรกฎาคม  ๒๕๑๕  ห้ามขุดและลักลอบ  ขุดแหล่งโบราณคดีในเขต  ๘  ตำบล คือ  ตำบลบ้านเชียง  ตำบลบ้านธาตุ  ตำบลศรีสุทโธ  ตำบลบ้านชัย  ตำบลอ้อมกอ  จังหวัดอุดรธานี และตำบลม่วงไข่  ตำบลแวง  ตำบลพันนา  จังหวัดสกลนคร  ในภายหลังได้มีการสรุปผลว่า  ภาชนะดินเผาบ้านเชียงนั้นมีอายุเพียง  ๒,๓๐๐ -๑,๘๐๐  ปีเท่านั้น

               

แหล่งโบราณคดีนอกจากพบที่บ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี  แล้วยังพบว่า  มีแหล่งโบราณคดีที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกันอีกหลายแห่งในอำเภอต่าง ๆ  ของจังหวัดอุดรธานี  ได้แก่  ตำบลบ้านดุง  ตำบลศรีสุทโธ  ตำบลบ้านชัย  ตำบลบ้านอ้อมกอ  เขตอำเภอบ้านดุง  บ้านเมืองพรึก  ตำบลแซแล  เขตอำเภอกุมภวาปี  บ้านตอง  บ้านนาตี  บ้านผักตบ  ในตำบลผักตบ  บ้านโนนนาสร้าง  บ้านสะแบงในตำบลสะแบง  และที่โนนขี้กลิ้งที่บ้านหนองสระปลาในตำบลบ้านยา  เขตอำเภอหนองหานในตำบลเตาไห  บ้านโพนในตำบลบ้านธาตุ  เขตอำเภอเพ็ญ  ที่ศาลเจ้าปู่บ่อใต้  ในตำบลสร้างคอม  เขตอำเภอสร้างคอม  ตำบลม่วงไข่  เขตอำเภอพังโคน  โดยเฉพาะที่ตำบลสะแบงเขตอำเภอหนองหานนั้น  มีแหล่งถลุงสำริดขนาดใหญ่ที่บ้านนาดี  จังหวัดสกลนคร  พบที่บ้านโคกคอน  ตำบลโคกสี  ตำบลพันนา  ตำบลแวงเขตอำเภอสว่างแดนดิน  บ้านสร้างดู่  บ้านโนนโคกยาง  ตำบลคำบ่อและ  ที่เนินโรงเรียนบ้านม้า  ตำบลทรายมูลเขต  อำเภอวาริชภูมิ  เป็นต้น

               

ในช่วงระหว่าง  ๔,๓๐๐ – ๓,๐๐๐  ปีมาแล้วนั้น  บ้านเชียงเป็นชุมชนเกษตรกรรมทีมีผู้คนอาศัยทำการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์  โดยเลี้ยงวัวและหมู  ซึ่งพบว่าประเพณีการฝังศพของมนุษย์ชุมชนแห่งนี้มีรูปร่างแบบต่างๆ  ดังนี้  ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนงอเข่า  ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนงอเข่า    ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว  และสำหรับศพเด็กนั้นใช้วิธีบรรจุศพใส่ในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่แล้วนำไปฝังดิน  เป็นต้น  สรุปแล้วชุมชนแห่งนี้มีการฝังศพในระยะแรกนั้น  ได้นิยมนำภาชนะดินเผาวางลงในหลุมฝังศพและมีการใช้เครื่องประดับตกแต่งร่างกายให้ผู้ตายด้วย  ภาชนะดินเผาที่ใช้ฝังไปกับศพนั้นต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือ

               

ระยะแรกใช้ภาชนะดินเผาที่เป็นสีดำ  และสีเทาเข้ม  มีเชิงหรือฐานเตี้ย  ส่วนปากสูงปลายกว้างหรือปากบานออก  ตัวภาชนะส่วนบนเขียนด้วยลายขีดเป็นเส้นคดโค้ง  ตกแต่งด้วยลายกดประทับเพิ่มเติมเป็นจุดหรือเส้นสั้น ๆ  บนพื้นที่ว่างของเส้นคดโค้ง  มีเส้นขอบตรงกลางโดยรอบ  ส่วนช่วงล่างนั้นตกแต่งด้วยลายเชือกทาบที่กดประทับบนผิวด้วยเส้นเชือก

               

ระยะต่อมาการใช้ภาชนะดินเผาแบบใหม่ให้มีขนาดใหญ่รูปร่างทรงกลมยาว  กันกลมมนขนาดใหญ่ขึ้น  มีปากแคบมีทั้งแบบคอสั้นและคอยาว  สำหรับใช้บรรจุศพเด็กลงในภาชนะแล้วนำไปฝังดิน  ส่วงนภาชนะดินเผาที่ฝังกัยศพยังใช้ขนาดะรรมด่ที่มีการตกแต่งมากกว่าระยะแรก ๆ  ระยะต่อมาได้มีการสร้างรูปแบบใหม่ที่เป็นทรงกระบอกเพื่อให้มีตัวภาชนะด้านข้างตรงถึงเกือบตรง  แต่ยังมีลักษณะเป็นหม้อก้นกลม  คอถาชนะนั้นสั้นปากบานออก  เชิงสั้นตั้งตรง  ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบาตลอดทั้งใบ  และช่วงสุดท้านนั้นได้มีการสร้างภาชนะประเภทหม้อกลม  โดยมีการตกแต่งส่วนบริเวณไหล่ของภาชนะด้วยลายเส้นขีดผสมกับการระบายสีแดง  บนพื้นตัวภาชนะถัดลงมานั้นเป็นลายเชือกทาบ  ภาชนะ  แบบนี้พบมีหนาแน่นที่บ้านอ้อมแก้ว  จึงเรียกว่า  แบบบ้านอ้อมแก้ว

               

สรุปชุมชนบ้านเชียงนี้ยังไม่มีการใช้โลหะ  เครื่องมือมีคมใช้ขวานหินขัด  ทำเครื่องประดับจากหินและเปลือกหอย  ต่อมาราว  ๔,๐๐๐  ปีมาแล้วจึงได้เริ่มรู้จักใช้โลหะสำริดทำเครื่องประดับและอาวุธ  ได้แก่  แหวน  กำไล  หัวขวาน  ใบหอก  เป็นต้น

               

ในช่วงระหว่าง  ๓,๐๐๐ – ๒,๓๐๐ ปีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงได้รู้จักการทำการเกษตร  โดยใช้โลหะผสมเป็นเครื่องมือและเครื่องประดับ  คือรู้จักทำสำริดที่ผสมระหว่างทองแดงและดีบุกเป็นหลัก  จนถึงช่วงระยะเวลา  ๒.๗๐๐ – ๒.๕๐๐  ปี  ชุมชนบ้านเชียงจึงรู้จักใช้เหล็กเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้น  สำหรับรูปแบบการฝังศพนั้นใช้ฝังโดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดตรง  บางศพนั้นมีการนำภาชนะดินเผาวางมากกว่า ๑ ใบ  แต่ทุบให้แตกแล้วใช้เศษภาชนะนั้นโรยคลุมทับบนศพ  รูปแบบภาชนะในระยะนี้ได้มีการทำภาชนะขนาดใหญ่ทรงกลมให้ส่วนไหล่นั้นหักเป็นมุมหรือโค้งมากจนเป็นมุม  ก้นภาชนะนั้นทรงกลมและก้นแหลมจนวางกับพื้นไม่ได้ต้องวางบนที่รองภาชนะบางใบมีการตกแต่งลายขีดผสมกับลายเขียนสีบริเวณปากภาชนะ  ภายหลังได้มีการตกแต่งปากภาชนะด้วยการทาสีแดง  ส่วนตัวภาชนะนั้นมีผิวนอกสีขาว

               

ในช่วงระหว่าง  ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐  ปีมาแล้ว  ชุมชนบ้านเชียงแห่งนี้ได้มีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก  สำหรับสำริดนั้นใช้ทำเครื่องประดับที่มีลักษณะประณีตและลวดลายมากขึ้น  การฝังศพนั้นยังคงใช้วางนอนหงาย และวางภาชนะทับบนศพ  ภาชนะช่วงนี้มีการเขียนลายสีแดงบนสีขาวนวลของภาชนะ  และมีการเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง  สุดท้ายภาชนะดินเผานี้มีการทาน้ำดินแล้วทำการขัดมันขึ้น

 

                ปัจจุบันบริเวณที่มีเป็นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้นได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

 

            แหล่งโบราณคดีอำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง 

 

            พบเครื่องมือหินกะเทาะรุ่นเก่า  ที่ทำจากหินกรวดในแม่น้ำ  พบอยู่ในชั้นของหินกรวดที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นหินบะ๙อลท์  อายุประมาณ  ๔๐๐,๐๐๐ – ๖๐๐,๐๐๐ หรือถึง  ๘๐๐,๐๐๐ ปี

นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔  นายสมศักดิ์  ประมาณกิจและคุณวัฒนา  ศุภวัน  ได้พบชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของมนุษย์โฮโมอิเลคตัส  อายุประมาณ  ๕๐๐,๐๐๐  ปี  ที่บริเวณอำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปางด้วย

               

แหล่งโบราณคดีสบคำ  อำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย  ใน พ.ศ.  ๒๕๑๔ 

 

นักศึกษาโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทำการขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะทำจากกรวดแม่น้ำที่สบคำริมแม่น้ำโขงใกล้อำเภอเชียงแสน  เครื่องมือหินแบบนี้มีเทคนิคการทำและรูปแบบเครื่องมือมีลักษณะเหมือนเครื่องหินเก่าในเอเชียสรุปว่าบริเวณอำเภอเชียงแสนนั้น  เป็นแหล่งมนุษย์สมัยหินเก่าอาศัยอยู่เมื่อประมาณ  ๑๐๐,๐๐๐  ปีแล้ว

                 

แหล่งโบราณคดีที่ถ้ำหลังโรงเรียน  จังหวัดกระบี่ 

 

 ดร.ดักลาส  แอนเดอร์สัน  นักโบราณคดีได้ขุดพบเครื่องมือหินกะเทาะที่เพิงผาเขาหินปูนเป็นเครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหิน  ที่มีอายุประมาณ  ๓๗,๐๐๐-๒๗,๐๐๐  ปีมาแล้ว  ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์โฮโม  เซเปียนส์  เซเปียนส์  ปรากฏขึ้นแล้ว  คือพบในถ้ำนีอาห์บนเกาะบอร์เนียว  รัฐซาลาวัก  ประเทศมาเลเซีย  ดังนั้นจึงเป็นหลักบานที่แสดงว่าในป่าฝนเมืองร้อนทางใต้ของไทยนั้นเมื่อ  ๔๐,๐๐๐  ปีได้มีมนุษย์ได้อาศัยอยู่แล้ว  และรู้จักการทำเครื่องมือหินกะเทาะ  โดยทำเครื่องมือหินกะเมาะจาดสะเก็ดหิน  เพิ่มจากการทำเครื่องมือจากแกนหินของเก่า  ต่อมาประมาณ  ๙,๐๐๐ -๗,๕๐๐  ปี  มาแล้วนั้นได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียน  ต่อมาราว  ๖,๐๐๐ – ๔,๐๐๐  ปี  จึงเริ่มใช้เครื่องมือหินขัด  และมีการใช้ภาชนะดินเผาขึ้น

               

แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว  จังหวัดกระบี่ 

 

 เป็นเพิงผาหินปูนไม่ไกลแหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน  ดร.  สุรินทร์  ภูขจร  ได้สำรวจพบร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เป็นระยะตามลักษณะเครื่องมือหินที่พบว่า  เมื่อประมาณ  ๒๕,๐๐๐ – ๒๖,๐๐๐  ปี  มาแล้วมีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะทำมาจากหินกรวดชนิดกะเทาะหน้าเดียว  ต่อมาช่วงหลังก่อน  ๒๔,๐๐๐ ปี  มีการใช้เครื่องหินกะเทาะที่ทำมาจากกรวดแม่น้ำชนิดเป็นแกนหินและสะเก็ดหินชิ้นใหญ่  และพบว่ามีการใช้สะเก้ดหินขนาดเล็กปริมาณมากกว่า  ตาอมาราว  ๑๑,๐๐๐ -๘,๐๐๐  ปี  ได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะหลายชนิด  เช่น  เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวดชนิดหน้าเดียว และชนิดสองหน้าที่ทำจากหินเซิร์ท  (CHERT)  และหินเจสเปอร์  (JASPER)  และเครื่องหินจากสะเก็ดหิน  ในราว  ๗,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี  มาแล้วได้มีเครื่องมือหินแบบใหม่คือขวานหินกะเทาะ  (FLAKED)  และขวานหินขัด

               

แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน  อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

 

เป็นถ้ำที่พบหลักฐาน  ว่ามีมนุษย็เข้ามาอาศัยในถ้ำนี่  เมื่อประมาณ  ๑๑,๐๐๐ -๑๒,๐๐๐  ปีมาแล้ว  เนื่องจากพบว่ามีเครื่องมือแบบฮัวบิเนียน  ที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ  นอกจากนี้ในระหว่าง  ๖,๐๐๐ – ๙,๐๐๐  ปี  ได้พบชิ้นส่วนของเมล็ดพืช  จำพวกพริกไทย   น้ำเต้า  ถั่ว  และผักบางชนิด  ที่ทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ในยุคนั้นได้รู้จักใช้พืชบริโภค  หรืออาจจะรู้จักนำมาเพาะปลูก

                       

แหล่งโบราณคดีโนนนกทา  หมู่บ้านนาดี  อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น 

 

 เป็นเนินดินที่สำรวจพบหลุมฝังศพมนุมนุษย์ไม่ต่ำกว่า  ๒๐๕  แห่ง  และพบภาชนะดินเผามากมายทั้งสมบูรณ์และชิ้นส่วนและประมาณ  ๘๐๐  ใบ  จากการศึกษาลักษณะของภาชนะดินเผาและรูปแบบการฝังศพนั้นพบว่า  แหล่งนี้มีการพัฒนาการ  ๓  ช่วง  กล่าวคือ  ในช่วง  ๕,๐๐๐ – ๔,๕๐๐  ปีมาแล้วนั้นได้มีการใช้แกลบข้าวผสมในเนื้อดินทำภาชนะดินเผา  ส่วนใหญ่ภาชนะทำเป็นก้นกลมตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ  ตกแต่งด้วยลายขีดเขียนที่ซับซ้อน  และพบกระดูกกวาง  กระดูกสัตว์ป่าหลายนิด  อยู่ด้วย  ซึ่งแสดงว่าแหล่งโนนนกทานั้นได้มีการเพาะปลูกข้าวแล้ว  และทำการล่าสัตว์ป่า  และอาจมีการเลี้ยงสัตว์จำพวกวัว  สุนัข  หมู  ด้วย  ส่วนเครื่องนั้นพบขวานหินขัด  เศษสำริด  หัวขวานโลหะ  ต่อมาช่วง  ๔,๕๐๐ – ๑,๘๐๐  ปีมาแล้ว  ได้ปรากฏว่ามีการใช้สำริดอย่างแพร่หลาย  พบเบ้าหลอมโลหะและแม่พิมพ์หินทราย  ซึ่งแสดงว่ามีการหล่อหินสำริดขึ้น  การฝังศพนั้นมีการใช้เครื่องหมายแสดงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนและในช่วงเวลา  ๑,๐๐๐  ปี  มาแล้ว  แหล่งโบราณคดีโนนนกทาแห่งนี้ได้ถูกทอดทิ้งร้างไประยะหนึ่ง  จนกระทั่งช่วงปลายจึงมีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็กและนิยมเผาแทนการฝังแบบเดิม

 

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท  ตำบลธารประสาท  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนคร ราชสีมา

 

ตั้งอยู่ริมลำน้ำธารประสาท  เป็นเนินดินรูปยาวรี  มีความยาวแนวตามทิศตะวันออก-ตะวันตก  ประมาณ  ๗๕๐  เมตร  กว้างประมาณ  ๔๕๐  เมตร  สูงประมาณ  ๕  เมตร  จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์  ผู้ชาย  ผู้หญิง  และเด็ก  ๖๐  โครง  ซึ่งมีการฝังศพโดยมีภาชนะดินเผาและเครื่องประดับฝังรวมไปด้วย  ภาชนะดินเผาที่พบเป็นภาชนะดินเผาและเครื่องประดับฝังรวมไปด้วย  ภาชนะดินเผาที่พบเป็นภาชนะดินเผาทรงปากแตร  และพบเครื่องประดับ  เช่น  แหวน  กำไล  ต่างหู  กระพรวน  เป็นต้น  ซึ่งทำจากสำริด  หิน  และเปลือกหอย  ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่นำมาจากต่างพื้นที่  โดยชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นซึ่งสรุปได้ว่า  แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มรมนุษย์อาศัยอยู่เมื่อประมาณ  ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐    ปีมาแล้ว  และดำรงชีวิตต้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หลายชนิด  เช่น  วัว  ควาย  หมู  และสุนัข  เป็นต้น และน่าจะมีการอาศัยอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงระยะเวลา  ๑,๐๐๐  ปีมาแล้ว  ด้วยปรากฏว่ามีการสร้างศาสนาสถานขึ้นบริเวณนี้  เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลวดลายปูนปั้นศิลปะ

ทราวดี  และมีพระพุทธรูปสมัยเดียวกันใน  ศาสนาสถานที่เรียกว่า  กู่ธารปราสาท  ด้วย

               

แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว  ตำบลห้วยขุนราม  อำเภอพัฒนานิคม  จังหวัดลพบุรี

 

เป็นพื้นที่ดอนมีลักษณะเป็นลอนลูกคลื่นเชิงเขา  ที่มีห้วยสวนมะเดื่อเป็นเส้นทางน้ำธรรมชาติ  จากการขุด

พบว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  ซึ่งพบโครงกระดูกมนุษย์ผู้ชาย  ผู้หญิง  และเด็ก  ฝังอยู่ลึก  จากผิวดินปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ  ๔๐  เซนติเมตร  ในลักษณะวางนอนหงาย  เหยียดตรงอย่างเป็นระเบียบ  การฝังนั้นมีการทุบภาชนะดินเผาหลายใบมาปูรองบริเวณที่ฝังศพก่อนวางศพ  แล้วจึงนำดินมากลบทับศพแต่ละศพนั้นมีการวางภาชนะดินเผา  เครื่องมือหรืออาวุธที่ทำด้วยเหล็ก  เครื่องประดับทำมาจากวัสดุชนิดต่าง ๆ  เช่นต่างหูทำด้วยแก้ว  ต่างหูทำด้วยหินอ่อน  แหวนสำริด  เครื่องประดับหน้าอกที่เป็นแผ่นกลมแบนทำจากส่วนหน้าอกของเต่าทะเล  โครงกระดูกหลายชนิดมีการวางปลายเท้าของหมูเป็นเครื่องเซ่นไว้ด้วย  นับว่าเป็นสุสานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

               

ชุมชนบ้านโปร่งมะนาวในช่วงระยะเวลาแรก  เมื่อประมาณ  ๓,๕๐๐—๓,๐๐๐  ปีมาแล้วนั้นมีมนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่โดยยังไม่เป็นชุมชนที่ใหญ่นัก  มีการใช้ขวานหินขัด  เครื่องประดับแผ่นกลมเจาะรู  ลูกปัดและกำไรข้อมือจากหินอ่อน  สีขาวบ้าง  ทำจากเปลือกหอยทะเลบ้าง  ต่อมาระหว่าง  ๒,๕๐๐-๒,๓๐๐  ปี  นั้นชุมชนแห่งนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนใหญ่โต  จนถือว่าน่าจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนและประชากรที่ไปมาหาสู่กัน  มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นและมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมของตนเอง  ดังนั้นจะเห็นว่ามีการจัดพื้นที่บางส่วนไว้เป็นสถานที่เฉพาะสำหรับฝังศพ  มีการจัดระบบของชุมชน  ซึ่งพบว่ามีโครงการดูกฝังอยู่นับร้อย  และพบว่าโบราณวัตถุบางชิ้นที่ฝังศพนั้นได้มาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนจากแหล่งอื่น  จึงถือว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง

               

                        สรุปแล้วเนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีนั้น  ได้พบว่ามีแหลางโบราณคดีอยู่มากมายหมายหลายแห่ง  เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณแห่งนี้เป็นแหล่งที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอยู่อาศัยมากมายเมื่อประมาณกว่า  ๔,๐๐๐  ปีมาแล้ว  ตั้งแต่นั้นมาบริเวณแห่งนี้ได้มีมนุษย์พากันเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น  พร้อมกับมีการพัฒนาการอยู่อาศัยตลอดจนสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่อเนื่องกันมา  จนสามารถสร้างชุมชนขึ้นใหม่ในยุคสมัยต่อมา

               

สังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้น  นอกจากจะรู้จักที่จะดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม  รู้จักเพาะปลุกเลี้ยงสัตว์  เข้าป่าล่าสัตว์  รู้จักจับสัตว์แล้ว  การรู้จักประดิษฐ์คิดทำ  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหิน  เครื่องมือโลหะ  เป็นอาวุธใช้แล้ว  การรู้จักปั้นภาชะดินเผา  การทอผ้า  การทำเครื่องประดับจากวัสดุต่าง ๆ  ที่หาได้นับว่าเป็นการพัฒนาการที่มีต่อเนื่องมา  สำหรับวิทยาการที่สำคัญคือการเรียนรู้วิธีหลอมโลหะเพื่อใช้งานนั้น  ก็มีวิธีการหลอมทองแดงและดีบุกเป็นสำริด  และรู้จักการถลุงเหล็กเพื่อใช้ทำเครื่องก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้  ซึ่งมีการสำรวจพบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่ทำการหลอมโลหะและทำการถลุงเหล็กอยู่แล้ว

 

แหล่งโบราณคดีของการถลุงเหล็ก

 

                เมื่อประมาณ  ๓,๖๐๐  ปีก่อน  มนุษย์ได้รู้จักถลุงเหล็กโดยสกัดเอาเนื้อเหล็กออกแร่ดิบแบบทางตรง  (DIRECT  PROCESS)  ด้วยการนำแร่เหล็กไปเผาในกองไฟในลักษณะที่เป็นก้อนแข็งอยู่  (BLOOMERY  PROCESS)  มีบันทึกของชาวตะวันตกกล่าวไว้ว่า  “มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกุย  ใกล้เทือกเขาพนมเด็คในกัมพูชา  ได้นำแร่ที่มีอยู่ใกล้หมู่บ้านนำมาถลุง”

                แต่การถลุงที่บ้านดงพลอง  จังหวัดบุรีรัมย์  ใช้วิธีขุดเตาเป็นหลุมทรงกระบอกลึกลงไปในดินเหนียวประมาณ  ๒๐  เซนติเมตร  เตาถลุงเหล็กมีขนาดกว้าง  ประมาณ  ๒๕  เซนติเมตร  ผนังเตาเป็นดินเหนียว  บางเตามีท่อลมดินเผา  สำหรับสูบลมด้วยมือที่มีเครื่องสูบลมที่ทำด้วยไม้  ด้านข้างของเตานั้นทำเป็นช่องระบายขี้ตระกรันที่เหลือจากการถลุงให้ไหลลงไปในหลุม  ซึ่งขุดไว้ด้านข้าง  วิธีการถลุงเหล็กนั้น  ให้นำก้อนแร่มาทุบย่อยให้ได้ขนาด   แล้วทำความสะอาดผสมด้วยถ่านกับสารีช่วยเกิดตระกรันหรือฟลักซ์  (Flux)  เช่น  กระดูกและเปลือกหอยป่นละเอียดในสัดส่วนพอเหมาะ  แล้วใส่เข้าไปในเตาที่ทำด้วยดินเหนียว  นำเชื้อเพลิงจากถ่านไม้มากองสุม  จุดไฟแล้วสูบลมด้วยมือให้พ่นลมเร่งความร้อนให้ได้อุณหภูมิประมาณ  ๑,๒๐๐  องศาเซลเซียส  จนเหล็กหลอมละลายเหลวไหลออกมา  เมื่อทิ้งให้เย็นลงเหล็กจะแข็งเป็นแท่ง  ต่อจากนั้นจึงนำแท่งเหล็กหล่อที่ได้มาทำการตีหรือทุบ  ให้เศษขี้แร่สิ่งเจือปนหลุดออกไป  แล้วเผาให้ร้อนแดงอีกครั้ง  แล้วนำออกมาตีขึ้นรูปของเครื่องมือใช้ที่ต้องการ เช่น  มีด  ดาบ  เสียม  ตะปู  ฯลฯ

               

แหล่งโบราณคดีสำรวจพบแร่เหล็กและทองแดง  แล้วนำมีการไปถลุงทำโลหะขึ้นแบบเดียวกันนั้น  ได้แก่ 

               

แหล่งแร่เหล็ก        เป็นแหล่งถลุงเหล็กและที่ผลิตเครื่องมือเหล็กโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งอยู่บริเวณเขาต้นน้ำลำพันในเขตตำบลตลิ่งชัน  อำเภอบ้านด่านลานหอย  จังหวัดสุโขทัย  พบว่าในบริเวณดังกล่าวมีการผลิตลูกปัดแก้วและดินเผาตั้งแต่สมัยประวัติสาสตร์ยุคเหล็กมาจนถึงสมัยทวาราวดี

               

แหล่งแร่เหล็กและแร่ทองแดง             อยู่บริเวณทิศเหนือและตะวันออกแยงเหนือของตังจังหวัดลพบุรี  ในรัศมีราว  ๗๕  กิโลเมตร  เป็นแหล่งแร่เหล็กทองแดงและแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและทองแดงที่สำคัญในแผ่นดินไทยตั้งแต่เมื่อราว  ๔,๐๐๐  ปีมาแล้ว

               

เหมืองแร่ทองแดงโบราณใต้ดิน          ที่เขาพุคา  เขาวงพระจันทร์  และเขาพระบาทน้อย  ใกล้สนามบินโคกกระเทียมประมาณ  ๑๐ กิโลเมตร  อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรีนั้น  พบว่ามีแร่ทองแดงในหินแอนดีไซต์พอร์พีรีและฮอร์นแบลนด์  ส่วนแร่เหล็กนั้นพบที่เขาทับควาย  อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี  เป็นต้น  ดังนั้นดินแดนสุวรรณภูมิจึงเป็นแหล่งโลหะที่สำคัญทำให้ยุคต่อมาจึงการเดินทางค้นหาแร่สำคัญในภูมิภาคนี้

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม แหล่งโบราณคดีสมัยก่อยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในประเทศไทย

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์