ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การพัฒนาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสต

การพัฒนาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

 

เมื่อมนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิ  เมื่อก่อนหน้า  ๑๐,๐๐๐  ปีมาแล้วนั้นมนุษย์ยังเป็นสังคมเดี่ยวเป็นประชากรที่ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ป่า  จับสัตว์น้ำ  หาพืชผักผลไมที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาเป็นอาหาร  ต้องพึ่งพาตนเองและออกหากินเรื่อยไปไม่เป็นหลักแหล่ง  อาศัยหลบร้อนหลบฝนไปตามถ้ำเชิงผา  ไม่รู้จักทำการเพาะปลูก  ไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์  ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติทีมี  ฝนตก  ฟ้อร้อง  น้ำท่วม  ฟ้าผ่า  ไฟป่าไหม้  ภูเขาไฟระเบิด  เป็นต้น  ภัยอันตรายที่อยู่เหนือการป้องกันเหล่านี้  ทำให้มนุษย์ล้มตาย  จนกลายเป็นความเกรงและสร้างความเชื่อของมนุษย์ในที่สุด  จนทำการร้องขอสิ่งลึกลับอันตรายที่หาคำตอบไม่ได้เป็นที่พึ่ง  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์  มีการยกสัตว์ที่ทำร้ายให้ตาย  เป็นเทพเจ้าบูชา  เช่น  งูมีพิษ  จระเข้  เหยี่ยว  เป็นต้น  ต่างพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นได้  ด้วยการสวดอ้อนวอน  ร้องขอ  และเซ่นบูชา  มากกว่าหาวิธีแก้ไขหรือควบคุมสภาพธรรมชาติ  ดังการเกิดโรคระบาดหรือความตายเกิดขึ้นก็จะพากันทิ้งถิ่นหาที่อยู่ใหม่  เคลื่อนย้ายไปตามเส้นทางที่ไม่ห่างจากแม่น้ำ  และอาศัยแม่น้ำเป็นหลักในการอยู่อาศัยในที่สุด

               

เครื่องมือป้องกันตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้ช่วยในการบ่าสัตว์และป้องกันตนเองนั้นในระยะแรกน่าจะค้นหาวิธีการใช้ไม่ปลายแหลมมาก่อนการใช้ก้อนหินเป็นหลัก  ต่อมาเมื่อรู้ก้อนหินมีน้ำหนักและแข็งจนทำอันตรายได้  ก็มีการค้นหาวิธีใช้  แม้ในระยะแรกจะใช้ก้อนหินพอเหมาะมือเป็นเครื่องมือมาก่อน  ต่อมารู้วิธีที่กะเทาะก้อนหินให้มีความแหลมคม  สำหรับใช้งานตามต้องการได้

               

เครื่องมือหินกะเทาะจึงมีวิธีทำการแกนหิน (หินกรวดจากแม่น้ำที่มีเปลือกหุ้มกะเทาะเอาแกนหินใช้)  นั้นมีความแหลมคมโดยรอบนั้น  วิธีกะเทาะนั้นเอาก้อนหินกรวดอีกก้อนมากะเทาะส่วนที่ต้องการออก  โดยตีเป็นสะเก็ดหินออกตามรูปแบที่ต้องการ  คือกะเทาะทั้งสองด้านตรงกันให้สะเก็ดที่กะเทาะออกนั้นสร้างส่วนแหลมคม  เพื่อความคมนั้นบาดหรือแทงได้  เครื่องมือหินจึงรูปแบบแตกต่างกันตามขนาดของหินเรียก  “ขวานหินกะเทาะ”

               

ส่วนสะเก็ดที่กะเทาะออกถ้ามีขนาดเล็กและบางหากมีความคมอยู่ก็นำมาใช้เป็นเครื่องมือแล่หนังหรือเนื้อสัตว์ได้  หากมีขนาดย่อมก็ทำเป็นขวานหินตามขนาดใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของสะเก็ดหินที่ถูกกะเทาะออก

               

ดังนั้นจุดกะเทาะให้เกิดความคม  จึงต้องมีวิธีการและกำหนดจุดกะเทาะอย่างมีรูปแบบ  เพื่อให้เกิดรอยแตกต่อเนื่อง  คือทำให้ความคมที่สุดสำหรับตัด  เฉือน  แล่  และขูดสิ่งต่าง ๆ ได้  สำหรับขวานหินกะเทาะทีมีขนาดย่อมนั้นจะผูกติดกับไม้มีง่ามและท่อนไม้ผ่าซีกแล้วมัดด้วยเชือกปอหรือเส้นหนังสัตว์  โดยใช้ส่วนที่เหลือของไม้ง่ามหรือท่อนไม้  เป็นด้ามถือตามต้องการ  ส่วนหินก้อนใหญ่นั้นน่าจะกะเทาะให้พอเหมาะกับมือที่จะใช้ทุบให้แตกมากกว่าใช้ความคม

               

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และช่วงเวลานั้น  ได้มีการพัฒนาตนเองในหลายเรื่อง  เช่น

 

ที่พักอาศัย

               

กลุ่มมนุษย์เมื่อก่อนหน้า  ๑๐,๐๐๐  ปีมาแล้ว  นิยมที่จะออกล่าสัตว์เป็นอาหารนั้น  ไม่นิยมการสร้างที่อยู่อาศัยถาวร  มีการย้ายที่พักไปตามแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ  โดยอาจจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนที่พักตามสภาพธรรมชาติ  ที่มีช่วงของฤดูแต่ละปี และสอดคล้องกับแหล่งอาหารทั้งพืชและสัตว์  ซึ่งพบว่ามีการจัดเพิงพักชั่วคราว  ตามที่โล่งหรือพักอาศัยตามถ้ำ  เพิงผา  ซึ่งบางแห่งพบมีการเขียนภาพบนผนังถ้ำเรื่องราวต่าง ๆ  เป็นรูปสัตว์  พิธีกรรม  และเครื่องหมายต่าง ๆ 

               

ในฤดูร้อนนิยมทำเป็นเพิงพักตามที่โล่งไม่ไกลจากแหล่งน้ำ  ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะเข้าไอยู่ตามถ้ำหรือพิงผาที่สามารถหลบกำบังลมและฝนได้  มนุษย์สมัยนี้น่าจะนินมอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ  และเป็นครอบครัวที่อาจจะเป็นครอบครัวเดียวกันได้

               

สำหรับการอาศัยถ้ำหรอเพิงผาสำหรับพักอยู่ต่อเนื่องค่อนข้างนานวันนั้นช่วงเวลาประมาณ  ๑๐,๐๐๐ -๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว  พบว่าในถ้ำหรอเพิงผานั้นมีการอยู่อาศัยที่ไม่สูงนักและมีร่องรอยหนาราว  ๒-๓  เมตร  ส่วนมากนิยมอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ  ลำห้วย  และชายทะเล  ซึ่งพบว่ามีภาพเขียนสีปรากฏอยู่หลายแห่งและยังมีการใช้เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียอยู่

               

แต่มนุษย์บางกลุ่มนั้นก็ยังมีการเคลื่อนย้ายที่พักอาศัยหมุนเวียนตามฤดูกาลและแหล่งอาหารเช่นเดิมอยู่  จนช่วงเวลา  ๔,๐๐๐ -๒๕,๐๐  ปีมาแล้ว ชุมชนที่เป็นเกษตรกรรมขนาดกลางได้มีประชากรเพิ่มขึ้นจนต้องขยายชุมชนเป็นหมู่บ้าน  แต่ยังคงอิสระต่อการปกครองตนเองแต่ก็มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้นจนทำให้หัวหน้าชุมชนนั้นมีฐานะเด่นขึ้นมีเครื่องมือเครื่องประดับตกแต่งมากกว่าสมาชิกของชุมชน  โดยเฉพาะมีช่างฝีมือทำการผลิตชิ้นงานที่ประณีต  มีแหล่งโลหะผลิตทองแดง  แหล่งผลิตขวานหิน  แหล่งผลิตเครื่องประดับแหล่งผลิตภาชนะดินเผา  เป็นต้น

               

ดังนั้นเมื่อชุมชนมีการเกษ๖รกรรม  การเลี้ยงสัตว์  และแหล่งผลิตฝีมือ  จึงทำให้ความสำพันธ์กับการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  ได้พบว่ามีร่องรอยการขุดเสาสร้างที่พักในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  ซึ่งมีผังที่พักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  เชื่อว่าน่าจะยกเสาสูงเพื่อใช้ที่ว่างใต้ถุนบ้านทำกิจกรรม  หรือทำคอกเลี้ยงสัตว์หรือเก็บเครื่องมือใช้สอยขึ้น  นอกจากนี้ยังพบว่ามีพื้นที่สำหรับใช้อยู่อาศัยมากขึ้นกว่าที่แหล่งเป็นชุมชนเก่ากว่า  ทำให้เชื่อว่าชุมชนนั้นได้มีการรวมกลุ่มกันสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นหมู่บ้านถาวรขึ้นแล้ว

               

ในช่วงเวลา  ๒,๕๐๐  ปีมาแล้วนั้นได้มีร่องรอยการรวมกลุ่มสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่และมีชุมชนเกิดขึ้นกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ  มากขึ้น  โดยเฉพาะการกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ลุ่ม  พื้นที่ดอน  และพื้นที่ลานตะพักน้ำระดับต่าง ๆ  หลายภูมิภาคของประเทศชุมชนบางแห่งนั้นมีขนาดใหญ่กว่าชุมชนอื่น ๆ  ด้วยพบว่าแหล่งโบราณคดีนั้นมีปริมาณโบราณวัตถุจำนวนมาก  ดังนั้นในช่วงเวลา  ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐  ปีมาแล้ว  จึงมีชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นร่วมสมัยชุมชนขนาดเล็ก  ทำให้เข้าใจว่าชุมชนขนาดใหญ่นั้นน่าจะเป็นศูนย์กลางชุมชนขนาดเล็กเท่านั้นหรือเป็นชุมชนบริวาร

 

การทำมาหากิน

               

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในระยะแรกนั้น  ส่วนมากดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า  ออกล่าสัตว์  จับสัตว์น้ำอยู่  เมื่อประมาณ  ๑๐,๐๐๐  ปีมาแล้ว

                       

ดังนั้นในช่วง  ๑๐,๐๐๐ -๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว  ได้พบกระดูกของสัตว์ป่าขนาดกลาง  เช่น  วัวป่า  กวาง  เก้ง  และหมูป่า  ในแหล่งโบราณคดี  เช่น  ถ้ำผีแมน  พบกระดูกวัวป่าและแรด

               

การล่าสัตว์ขนาดใหญ่ในป่า  มนุษย์สมัยนี้น่าจะมีการร่วมมือล่าสัตว์  เพราะสัตว์ป่าเหล่านั้นมีลักษณะปราดเปรียว  วิ่งเร็ว  และแข็งแรง  ลำพังมนุษย์คนเดียวไม่สามารถล่าได้  การรวมกลุ่มคนเพื่อช่วยล่าสัตว์นั้น  ทำให้เชื่อว่ามนุษย์ได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นแล้วหรือไม่ก็รวมตัวกันบางฤดูกาลที่มีการล่าสัตว์ขนาดใหญ่

               

สำหรับการล่าสัตว์เล็กที่มีความว่องไว  เช่น  ลิง  กระรอก  ที่อาศัยตามต้นไม้ก็เชื่อว่าน่าจะจักการดักสัตว์  และมีการสร้างมีเครื่องมือยังสัตว์ในระยะไกลประเภทเดียวกับ  ธนูที่ใช้ลูกกระสุน  และหน้าไม้ที่ใช้ไม้ซางทำเป็นลูกอก  ซึ่งมีการพบลูกกระสุนดินเผาปนอยู่ในแหล่งโบราณคดี  และกระดูกสัตว์ที่เสี้ยมปลายแหลมเป็นหัวธนู

               

การเพาะปลุกนั้นน่าจะเกิดจากการเรียนรู้โดยธรรมชาติจากสัตว์ที่กินเมล็ดพืชแล้ว  ถ่ายมูลออกมาให้เมล็ดพืชเติบโต  และเมล็ดพืชได้ปลิวไปตกในที่ชุมชื้นแล้วงอก  เป็นต้น  การสำรวจโบราณคดีที่ถ้ำผีแมนนั้น  พบว่ามีเมล็ดพืชในกลุ่ม  น้ำเต้า  แตงกวา  และถั่วบางชนิดซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นพื้นที่ถากถางวัชพืชออก  จึงเชื่อว่าในราว  ๖,๐๐๐ – ๙,๐๐๐  ปี  มาแล้ว  มนุษย์ได้รู้จักปลูกพืชในพื้นที่ที่ถูกถากถางและกำจัดวัชพืชแล้ว  และทำการเพาะปลูกที่มีการขุดดินถางหญ้าในเวลาต่อมา  แม้จะพบว่าในระยะนั้นมนุษย์ยังใช้เครื่องหินหินกะเทาะแบบฮัวบิเนียนและดำรงชีพด้วยการเข้าป่าล่าสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารก็ตาม  มนุษย์ก็จะรู้จักปลูกพืชและควบคุมดูแลให้มีผลผลิตมากขึ้น

               

ต่อมาราว  ๔,๕๐๐ – ๔,๐๐๐  ปีมาแล้วกลุ่มประชากรบางกลุ่มได้รู้จักการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์บางชนิด  เช่น  วัว  หมู  ไก่  แม้ว่าจะผลิตอาหารเองได้บ้าง  ก็ยังอาศัยการเข้าป่าล่าสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารอยู่เช่นเดิม  แหล่งโบราณคดีที่พบว่ามีการเพาะปลูกเป็นชุมชนเกษตรกรรมนั้น คือ  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  และแหล่งโบราณคดีโนนนกทาซึ่งเป็นเมล็ดข้าวที่ถูกเผาจนเป็นถ่านสีดำและมีแกลบข้างผสมในเนื้อดินที่ทำภาชนะดินเผา  โดยมีส่วนผสมที่มีปริมาณมาก  จนน่าจะเชื่อว่ามีการปลูกข้าวขึ้นแล้ว  และน่าจะมีทั้งข้าวที่ขึ้นตามดอนและข้าวที่เป็นผลผลิตจาก  วิธีปลูกข้าวในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำขัง  ในลักษณะนาเลื่อนลอย  เมื่อราว  ๒,๗๐๐ – ๒,๕๐๐   ปีมาแล้วนั้น  มนุษย์จึงรู้จักวิธีปลูกข้าวแบบนาดำที่มีการยกคันดินทดน้ำเข้านา  และน่ารู้จักใช้แรงสัตว์เข้าช่วยในการไถนาเพาะปลูกข้าวด้วย

               

เมื่อชุมชนมีข้าวมีพืชมากพอก็เกิดกาติดต่อแลกเปลี่ยนของและผลิตของพื้นที่ระหว่างชุมชนในภูมิภาคเดียวกันและต่างพื้นที่  ที่พบว่ามีลูกปัดและกำไลจากเปลือกหอยทะเลได้เข้ามาใช้ในพื้นที่แล้ว

 

เครื่องประดับ

 

                ในช่วงเวลา  ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐  ปีมาแล้วนั้น  ชุมชนก่อนประวัติสาสตร์ที่มีการใช้เหล็กเป็นเครื่องมือนั้น  ไดมีลูกปัดแก้วลูกปัดหินทำจากดมราหรือหินคาร์นีเลียน  หินโมกุล  หรือหินอาเกต  และผลึกคว๊อทสีต่าง ๆ  ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  และช่วงเวลา  ๒,๓๐๐ – ๒,๐๐๐  ปีมาแล้ว นั้นการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนนั้นมีบทบาทต่อชุมชนที่ห่างไกลมากขึ้น  พบว่ามีลูกปัดที่ทำมาจากหินกึ่งอัญมณีรุ่นแรกในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง  เช่น  คลองท่อม  จังหวัดกระบี่  เป็นต้น  ลูกปัดนี้เป็นเครื่องประดับที่ผลิตด้วยเทคนิควัฒนธรรมอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิ  ที่มีการติดต่อค้าขายกันมากกว่า  ๒,๐๐๐  ปีมาแล้ว

 

เครื่องมือหินและโลหะ

               

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์รู้จักที่จะคิดทำเครื่องมือจากก้อนหินเพื่อใช้งานต่าง ๆ  และมีการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมตามการใช้งานซึ่งมีการสร้างเครื่องมือหินจากแกนหินและเครื่องมือหินจากสะเก็ดหิน  กล่าวคือ

               

เมื่อราว  ๖๐๐,๐๐๐ -๔๐๐,๐๐๐  ปีมาแล้วได้มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะแบบง่าย  โดยทำจากหินกรวดแม่น้ำ   โดยนำมากะเทาะโดยตรงจากค้อนหิน (ก้อนหิน)  ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดรอยแตกแยกต่อเนื่องกันไม่กี่แห่งเพื่อให้มีคมที่ขอบก้อนหินนั้น  สำหรับใช้ขุด  ทุบ  สับ  ตัด  และเขียน

               

เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากกรวดแม่น้ำรุ่นแรกนี้เป็นประเภทเครื่องมือแกนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือขุดสับและสับตัด  มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะประเภทนี้คือ  มนุษย์โฮโมอิเลคตัส  ชนิดโฮโม  เซเปียนส์เซเปียนส์  ที่มีชีวิตอย่เมื่อ  ๔๐,๐๐๐  ปีมาแล้ว

               

ต่อมาราว  ๔๐,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ปี  ได้มีการทำเครื่องมือหินกะเทาะแบบใหม่ขึ้น  มีขนาดเล็กกว่าเครื่องมือหินรุนแรก  โดยใช้สะเก็ดหินชิ้นใหญ่มาตกแต่ด้วยก้อนหินให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ อย่างต่อเนื่องและตามรรูปแบบที่กำหนด  จนทำให้เกิดความคมกว่ามีประสิทธิภาพใช้ตัดและเฉือนได้  เรียกว่า  เครื่องมือสะเก็ดหิน  ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างและไม่มีรูปแบบแน่นอน

               

เมื่อประมาณ  ๑๒,๐๐๐-๑๐,๐๐๐  ได้มีการสร้างเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน  พบที่เมืองฮัวบินห์ในเวียดนามครั้งแรก  เป็นเครื่องมือกะเทาะประเภทแกนหินที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ  แต่มีรูปแบบแตกต่างไปจากเครื่องมือหินกรวดรุ่นแรก  คือมีลักษณะประกอบด้วย

               

๑.เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว  เหลือผิวหินเดิมไว้  ส่วนหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง  จึงมีรูปทรงรูปไข่  ทรง

    สามเหลี่ยม  ทรงแผ่นกลมแบน  สำหรับเครื่องมือหินทรงรูปไข่  ทรงสามเหลี่ยม  ทรงแผ่นกลมแบน 

    สำหรับเครื่องมือหินทรงรูปไข่ที่กะเทาะผิวเดิมออกด้านเดียวจนหมด  โดยเหลือผิวของก้อนหินด้าน

    หนึ่งไว้นั้นเรียกว่า  เครื่องมือหินแบบสุมาตราลิทล์

                ๒.เครื่องมือหินกะทำทั้งสองด้านที่มีรูปทรงแตกต่างกันทั้งรูปไข่  สามเหลี่ยมและทรงกลม

                ๓. เครื่องมือหินที่เป็นหัวขวาน  (SHOT AXES) หรือขวานสั้นโดยกะเทาะหน้าเดียวหรือสองหน้า  ให้

     กะเทาะแนวขวางให้ปลายด้านซ้ายหักออกเพื่อใช้ให้เป็นด้ามของเครื่องมือ

๔.เครื่องมือหินกะเทาะที่ขัดฝนเฉาะส่วนคมเพื่อใช้งาน  คือกะเทาะเป็นรูปหัวขวานที่มีการขัดฝนด้านคม

    เท่านั้น  ไม่ขัดเรียบทั้งสิ้น

๕.เครื่องมือหินกะเทาะแบบอื่น ๆ  มีรูปทรงต่าง ๆ  เป็นเครื่องมือสะเก็ดหิน  เครื่องมือแกนหิน  และ

     ค้อนหิน

               

ต่อมาภายหลังประมาณ  ๖,๐๐๐  ปีล่วงมาแล้ว  ได้มีการสร้างเครื่องมือหินขัดขึ้นอย่างแพร่หลายด้วยการรู้จักนำเครื่องหินกะเทาะมาขัดให้มีรูปร่างต่างกัน  เมื่อประมาณ  ๕,๐๐๐ -๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว  ชุมชนเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้พบว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำวัสดุ  เช่น  หิน  ดินเผา  กระดูก  และเปลือกหอย  โดยเฉพาะเครื่องมือหินรูปหัวขวานนั้นได้มีการทำอย่างประณีตมีการขัดจนเรียบ  เรียกว่า  ขวานหินขัด  และถูกนำไปใช้ทำงานในลักษณะตัดเฉือน  แบบมีด  และต่อด้ามยาวเป็นเสียมขุด  หรือต่อด้ามสั้นเป็นสิ่ว

 

ต่อมาเมื่อ  ๒,๗๐๐ – ๒,๕๐๐  ปีมาแล้วมนุษย์รู้จักหลอมโลหะสำริดและการถลุงเหล็ก  เพื่อนำมาหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ  เช่น  หัวขวาน  ใบหอก  มีด  หัวลูกศร  เป็นต้น  ส่วนสำริดนั้นได้มีการนำมาใช้ทำเครื่องประดับแทน  เช่น  กำไร  ต่างหู  แหวน  เป็นต้น

 

ดังนั้นช่วงต่อมา  ๒,๕๐๐ – ๒,๓๐๐    ปีมาแล้ว  ไดมีการพัฒนาด้านโลหะกรรม  คือผสมสำริดที่มีลักษณะดีบุกผสมอยู่ปริมาณอยู่มากกว่า  ๒๐  เปอร์เซนต์  ทำให้สำริดชนิดใหม่นี้มีความแข็งมากจนเปราะง่ายขึ้น  สามารถผสมสีออกเป็นสีคล้ายสีทองไปจนคล้ายสีเงิน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณดีบุกที่ใช้ผสมการหล่อสำริดที่มีความแข็งและเปราะนั้นทำให้สิ่งของออกมาใช้ไม่ได้

 

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำวิธีการตีเหล็กมาใช้กับการตีโลหะผสมหรือสำริด  กล่าวคือ  ใช้วิธีการเผาสำริดแล้วตีในขณะที่โลหะผสมกำลังร้อนจนเป็นสีแดง  เมื่อตีได้รูปร่างที่ต้องการแล้วก็เผาวัตถุที่ดีขึ้นจนได้ที่แล้วให้ร้อนเป็นสีแดงอีกครั้ง  แล้วชุบไปในน้ำเย็นทันที  จึงทำให้สามารถสำริดทำเป็นเครื่องประดับและภาชนะสำริดมีความแข็งแกร่งทนทานได้  และมีผิวสำริดที่สวยกว่าการหล่อสำริดแบบเดิมอีกด้วย

 

ในช่วงเวลา  ๒,๕๐๐ – ๑,๖๐๐  ปีมาแล้วนั้นได้มีการผลิตเหล็กและเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และมีการผลิตทองแดงมากขึ้นจนเกินว่าจะใช้ในชุมชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี  เป็นการแสดงว่า  ได้มีการส่งสินค้าแลกเปลี่ยนปรือซื้อขายกับชุมอื่น ๆ  ที่อยู่ต่างภูมิภาค

 

ภาชนะดินเผา

 

                สำหรับภาชนะดินเผานั้น  แม้มีการสร้างมาตั้งแต่ระยะแรก ๆ   บ้างก็เป็นเพียงนำมาใช้งานในการฝังศพ  เมื่อประมาณ๕,๐๐๐-๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว  การทำภาชนะดินเผาได้เกิดมากมายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีที่เป็นชุมชนเกษตรกรรม  ซึ่งภาชนะดินเผาเหล่านี้มีความหลากหลายทางรูปแบบของการใช้งาน  ซึ่งมีวิธีการตกแต่งผิวนอกภาชนะ  การเตรียมดิน  เทคนิคการเผา  ภาชนะ  ซึ่งปรากฏว่าทุกชุมชนมีภาชนะดินเผาขึ้นใช่เองทั่วไป  และมีลักษณะขององถิ่นอยู่บ้าง  ต่อมามีการแพร่กระจายไปตามชุมชนอื่น ๆ  หรือตามรูปแบบกัน

               

ครั้นเมื่อ  ๔,๐๐๐  ปีมาแล้ว  มนุษย์ได้รู้จักโลหะผสมคือ  นำทองแดงราว  ๑๐-๘๐ %   ทำเป็นโลหะสำริดขึ้น  และยังนำสำริดผสมผสมเพิ่มลงไป  จึงมีการสร้างภาชนะที่เป็นสำริดมาแทนภาชนะดินเผา

 

                ในช่วงเวลา  ๒,๕๐๐ -๑,๖๐๐  ปีมาแล้วนั้น  ได้มีการสร้างกลองมโหระทึก  สำริดและวัตถุสำริดที่มีรูปทรงและตกแต่งตามแบบวัฒนธรรมดองชอน  ที่พบในเวียดนาม

 

การฝังศพ

               

ในแหล่งโบราณคดีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการฝังศพมาช้านานในชุมชนเกษตรกรรมรุ่นแรกนั้นพบว่ามีพื้นที่ฝังศพอยู่เสมอ  การจัดรูปแบบของประเพณีของชุมชนเกี่ยวกับการฝังศพขึ้น  กล่าวคือ  การฝังศพนั้นมีการวัดข้อมือข้อเท้าศพและห่อก่อนฝัง  มีการตกแต่งร่างกายของผู้ตายด้วยเครื่องประดับ  และมีการจัดเครื่องเซ่น  ที่เป็นอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอยโดยเฉพาะภาชนะดินเผา

               

ต่อช่วงเวลาประมาณ   ๕,๐๐๐ – ๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว  ได้พบการฝังศพมีการวางสิ่งของเครื่องประดับฝังอยู่ด้วยในปริมาณที่แตกต่างกันตามฐานะของสมาชิกชุมชน  พบว่ามีเครื่องประดับเป็นสิ่งของมีค่าที่ผลิตมาจากชุมชนอื่นฝังอยู่ด้วย  เป็นการแสดงว่าสิ่งของหรือเครื่องประดับนั้นมีการแลกเปลี่ยนมาจากที่อื่น  เป็นของมีค่าที่สมาชิกหรือบุคคลบางคนหรือบางครอบครัวมีสิทธิครอบครองได้ปริมาณมากกว่าครอบครัวอื่น

 

ภาพเขียนสี

               

มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นได้รู้จักการเขียนภาพไว้บนผนังถ้ำหรือเพิงหินผา  ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นชื่อว่า   น่าจะเป็นสถานที่ซึ่งถูกใช้เป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีกรรมร่วมกันในกลุ่มของตนหรือของชุมชน  ดังนั้นหินผาหรือผนังถ้ำจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถมองเห็นและถือเป็นที่หมายเพื่อพิธีกรรมร่วมกัน  ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือบริเวณใกล้เคียงกัน

               

การชุมนุมเพื่อทำพิธีกรรมร่วมกันนั้น    ได้มีการร่วมเขียนภาพด้วยสีจากธรรมชาติ  ยางไม้  และดินสีเพื่อแสดงถึงภาพความเชื่อถือ  และสะท้องวิถีชีวิต หรือสิ่งที่มีความหมาย  เช่นภาพคน  สุนัข  กบ  วัว  ควาย  ปลา  เต่า  สัตว์คล้ายลิง  เป็นต้น  ส่วนใหญ่มักเขียนด้วยดินสีแดง  และเส้นสีดำ  บางแห่งเขียนเป็นรูปมือแสดงถึงความเป็นเจ้าของสถานที่ หรือลวดลายทรงเรขาคณิต

               

ภาพเขียนส่วนใหญ่มักแสดงถึง  การเพาะปลูก  การล่าสัตว์  พิธีกรรม  เซ่นไหว้ขอความหวังในการหาปลา  ล่าสัตว์  หรือทำนา  มีภาพเขียนปรากฏขึ้นบนผนังถ้าหลายแห่งทั่วประเทศ  ภาะเขียนสีที่สำคัญได้แก่  ภาพเขียนที่ผาแต้ม  อำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี  ภาพเขียนที่ประตูผา  อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  ภาพเขียนที่เขาปลาร้า  อำเภอลานสัก  จังหวัดอุทัยธานี  ภาพเขียนที่เขาจันทร์งาม  อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา  ภาพเขียนที่ถ้ำตาด้วง  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  ภาพเขียนที่เขาสามยอด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

               

ดังนั้น  ภาพเขียนสีที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เขียนไว้ที่ผนังถ้ำเพิงหินผานั้น  จึงเป็นภาพที่สามารถถ่ายทอดให้รู้ถึงเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี  จึงถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การพัฒนาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์