ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก่อนประวัติ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มมนุษย์ที่อยู่ห่างไกลนั้น
ได้เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ ๔.๐๐๐ -๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
กล่าวคือสังคมการเกษตรกรรมนั้น
มนุษย์ยุคหินใหม่ได้รู้จักการดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
ใช้งานหินขัดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
ขวานหินขัดที่ทำขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีบ่า
โดยเรียนรู้เองในชุมชนและจากชุมชนอื่น
มนุษย์ยุคหินใหม่นี้ต่างจับกลุ่มอยู่กระจัดกระจาย ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
ตามลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดีย ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย และตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ
ของจีน เป็นต้น
รูปแบบของขวานหินขัดและขวานหินมีบ่านั้น ได้มีการศึกษาถึงการแพร่กระจาย
ซึ่งปรากฏว่า เผ่ามองโกลอยด์พวกหนึ่งที่พูดภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติค
ซึ่งเป็นกลุ่มของภาษามอญ เขมร ภาษาญวน และภาษามุณฑะ
นั้นใช้ขวานหินมีบ่าและอาศัยอยู่ในจีนผืนแผ่นดินใหญ่เผ่ามองโกลลอยด์ที่เป็นกลุ่มภาษาออสโตรนิเซียน
เป็นภาษากลุ่มหนึ่งทวีปเอเชีย ใช้ขวานหินขัดมีด้านตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
อาศัยอยู่ตามเกาะที่พูดภาษาอินโดจีน และอยู่บนบกได้แก่ พวกจาม ดังนั้น
การที่ชุมชนในแถบนี้มีการใช้ขวานหินขัดและขวานหินมีบ่านั้น จึงเข้าใจว่า
น่าจะมาจากเส้นทางที่การติดต่อกันทางน้ำ
หรือทางทะเลระหว่างกลุ่มมนุษย์ที่อยู่ทางอินเดีย และมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ
ในบริเวณเอเชีย
เมื่อ ๒,๕๐๐
ปีมาแล้ว ชุมชนของมนุษย์ก่อนประวัตศาสตร์ตอนปลาย
ได้พบว่ามีการแพร่กระจายวัฒนธรรมจากแหล่งอื่น เช่น วัฒนธรรมการใช้มโหระทึก
หรือกลองกบ ในวัฒนธรรมดองชอน ที่เกิดทางเวียดนามตอนเหนือและยูนานนั้น
พบว่าได้มีการกระจัดกระจายไปยังชุมชนอื่น ๆ ในพุทธศตวรรษที่ ๑ หรือ ๕๐๐
ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น พบว่ามโหระทึก
หรือกลองกบนั้นได้แพร่กระจายเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ หมู่เกาะเอเชียตะวันออก
พบมากในมาเลเซียและหมู่เกาะซุนดา
สำหรับประเทศไทยนั้น
ได้พบกลองกบหรือมโหระทึกหลายแห่ง ดังนี้
·
ภาคเหนือ ที่อุตรดิตถ์
·
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธ์ อุบลราชธานี
·
ภาคกลาง ที่กาญจนบุรี ราชบุรี และตราด
·
ภาคใต้
ที่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
มโหระทึกหรือกลองกบนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีในสังคมเกษตรกรรม
ในพิธีขอฝนจะเห็นว่าบนหน้า
กลองนั้นมีการทำเป็นรูปกบช้อนกันอยู่ ๔ มุม
และภายหลังกลองได้ถูกนำมาใช้ในพระราชพิธีของกษัตริย์
สำหรับความเชื่อมนุษย์สมัยนี้มีความเชื่อถือในเรื่องผีหรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
ซึ่งกลุ่มมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ต่างผูกพันความเชื่อในเรื่องผีที่แตกต่างกัน
ติ่งที่มนุษย์มีความเชื่อเหมือนกันคือ งูกับกบ
ซึ่งอาจเกิดจากการแพร่ขยายความเชื่อนี้หรือนำวัฒนธรรมเข้าไปใช้ในกลุ่มชนเผ่าของตนความเชื่อเรื่องงูนั้น
มนุษย์ส่วนมากมีความเชื่อในอำนาจของสัตว์ที่มีพิษร้ายและทำให้เกิดอาการรุนแรงที่เป็นอันตราย
จนมนุษย์ถึงแก่ความตายได้ในทันที หรือยากที่จะหาวิธีแก้ไขได้ทัน
ด้วยเหตุนี้งูจึงเป็นสัตว์ที่ที่มีพิษร้ายและอำนาจ โดยเฉพาะในเขตร้อนนี้
งูจึงอาศัยอยู่ชุกชุม จนทำให้มนุษย์พากันเกรงกลัว จึงพากันบูชางู
สัตว์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
และงูนั้นแม่หลีกแหล่งอยู่ใต้ดินลึกจึงเป็นสถานที่ต้องห้ามในชื่อที่รู้จักกันว่า
บาดาล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดน้ำจำนวนมากขึ้นมาจากดิน
โดยที่งูหรือพญางูหรือพญานาคเป็นเจ้าของ ทำให้แผ่นดินได้เกิดแหล่งน้ำสำคัญ
ที่ผุดออกจากใต้ดิน (น้ำบาดาล) หรือพุพองจากใต้ดินเป็นน้ำซึม น้ำซับ
และน้ำพุ
ที่ทำให้เกิดแหล่งน้ำขนาดใหญ่บนแผ่นดินสร้างความชุ่มชื่นแก่บริเวณที่เพาะปลูก
จึงเป็นเหตุให้มนุษย์พากันเคารพนับถืองู เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์
และมีฤทธิ์ที่ทำอันตรายได้ จึงมีการจัดพิธีขึ้นเพื่อเซ่นวักงู
ให้เป็นผีที่ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์มีเดช
อย่าให้ทำอันตรายและขอให้ปกป้องคุ้มครองภัยแก่มนุษย์
ด้วยเหตุนี้สัญลักษณ์รูปงูจึงปรากฏอยู่ทั่วตามภาชนะดินเผาที่มีลายรูปงู
ประกอบกับลายเส้น
โค้งที่เป็นสัญลักษณ์ของสายน้ำด้วย
ลายเขียนสีของบ้านเชียงนั้นมีลักษณะลวดลายคล้ายจะถ่ายทอดลายน้ำและงูไว้ด้วย
ลวดลายนั้นได้มีการทำมาใช้เขียนบนภาชนะดินเผาในสมัยทราวดีด้วย
ในสมัยหลังได้มีการเขียนถึงที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้นอีก เช่น จระเข้
ทำนองเดียวกับ อียิปต์ นั้น นับถือจระเข้ เป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนต์
ส่วนความเชื่อเรื่อง
กบ นั้นเนื่องจากเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ปรับสภาพไดตาฤดูกาล ทั้ง
หน้าฝนและหน้าแล้ง
จนมนุษย์นั้นมีความเชื่อว่ากบเป็นผู้นำน้ำมาจากท้องฟ้าให้ไหลล่นลงมาบนพื้นดิน
ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์มีความต้องการน้ำ (ฝน) จากท้องฟ้าในยามที่ขาดน้ำ
และทำการเพาะปลูกทำให้กบได้รับยกย่องให้เป็นสัตว์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์
และมีฤทธิ์บันดาลน้ำให้ความสมบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร จึงพากันเซ่นไหว้กบ
(รวมถึงคางคกด้วย)
ในฐานะเป็นผีหรือเทวดาสำคัญที่ให้น้ำท่าบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนี้วิธีบูชากบจึงเกิดขึ้น
กล่าวคือ มีพิธีบูชากบ
โดยการแต่งตัวโดยเอาโคลนทาลำตัวและแขนขาให้มีลวดลายอย่างงาม
แล้วทำพิธีในท่าเต้นอย่างย่อขาสองขาทำท่าอย่างสงบ
โดยมีการเซ่นวักด้วยเครื่องมือทำมาหากินประเภท มีด พร้า ขวาน คันไถ เป็นต้น
นอกจากนี้พบว่าเครื่องประดับประเภท ตุ้มหู ทำด้วยหินสีขาว ๒ แบบ คือ
ตุ้มหูรูปสัตว์ ๒
ตัว
และตุ้มหูรูปกลมที่มีดอกไม้ตูมยื่นออกมา ๓ ตุ้ม
ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่เรียกว่า ลิง-ลิง-โอ (LING-
LING-O) ในวัฒนธรรมซาหุญ (SA HUYNH)
ของยุคโลหะที่เจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ ๑-๕ หรือ ๕๐๐-๑๐๐
ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้น ได้มีการกระจายแพร่ไปยังชุมชนต่างๆ เช่น
ในเวีนดนามตอนกลางที่บริเวณมณฑลกวงหนำ
ตานัง และมณฑลกวงงายในฟิลิปปินส์พบที่ถ้ำดูยอง และถ้ำตาบอน
ในมาเลเซียพบที่ถ้ำนีอารห์ ในประเทศไทยพบที่แหล่งโบราณคดีสามเขาแก้ว ชุมพร
อู่ทอง ดอนตาเพชร เป็นต้นด้วย
เช่นเดียวกัยลูกปัดหินประเภทหินคารเนเลียน หินโอนิกซ์ และหินอาเกต
และลูกปัดแก้วสี
ต่าง ๆ
ที่มีแหล่งผลิตอยู่ในอินเดียนั้น
ได้มีการแพร่กระจายเข้ามาอยู่ในแหล่งโบราณดคีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายแหลายแห่ง
แม้จะเป็นส่วนที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายก็ตาม
ได้สำรวจพบจากแหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นหลุมฝั่งศพพบ ลูกปัดแก้ว
ทำด้วยหินคาร์เนเลียนหินโอนิก และหินอาเกต
ชนิดที่นำทั้งแบบเรียบและแบบตกแต่งด้วยสกัดผิวก่อนแล้วฝังสีลงเป็นลวดลายสวยงาม
โดยพบในชั้นดินของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ ๓๐๐-๕๐
ปีก่อนคริสต์ศักราช
นอกจากนี้ยังได้รับความรู้และประเพณีต่างที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อีก
กล่าวคือเมื่อ ๑,๐๐๐
ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นซึ่งเป็นสมัยก่อนอารยันนั้น
ชุมชนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ก่อนมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมร่วมกันหลายด้าน ได้แก่
การทำนาโดยวิธีการทดน้ำเข้านา การเลี้ยววัวและควายใช้งาน
มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลหะและความชำนาญในการเดินเรือของกลุ่มอินโดนีเซียและชาวมลายู
การให้ความสำคัญกับผู้หญิง การปกครองอันมีระบบอันสืบจากากรเพาะปลุกที่มีการทดน้ำ
การนับถือผี การเคารพบูชาบรรพบุรุษ และเจ้าแห่งพื้นดิน
การสร้างศาสนาขึ้นบนที่สูง การฝังศพในไหหินหรืออนุสาวรีย์หิน เป็นต้น
ประเพณีในลักษณะดังกล่าวได้กระจายและเกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ หลายแห่ง
แม้จะอยู่ต่างภูมิภาคกัน
ในพุทธศตวรรษที่ ๓-๕
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคเหล็กตอนปลายของอินเดียนั้นกษัตริย์
ราชวงศ์โมริยะปกครองอินเดียตอนเหนือ ได้ส่งเสริมให้มีการค้าขายกับต่างชาติ
โดยตั้งเมืองตักษิลา อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าตามพรมแดนอินเดีย
ปากีสถาน
โดยมีเมืองท่าที่สำคัญ เช่น เมืองคูณปารกะ เมืองภรุกัจฉะ (บาริกาซา)
และเมืองตามรลิปติ (ตัมลุก)
เป็นเมืองท่าสำคัญติดต่อกับดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดังนั้นสินค้าที่พ่อค้าอินเดียนำไปนั้นมีมากมายและเสื่อมสลายได้ง่าย
จึงมีลูกปัดที่คงทนและพบว่าได้
กระจายอยู่ทั่วตามแหล่งโบราณคดีที่เคนติดต่อกับอินเดีย เช่น
·
แหล่งโบราณคดีในพม่า ที่ตวงถาเมน ในพม่า
·
แหล่งโบราณคดีในไทย ภาคกลางที่ริมแควน้อยบ้านเก่า ถ้ำองบะ ดอนตาเพชร
ศูนย์กลางทหารปืนใหญ่
ท่าแค โคระกา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านเชียง บ้านนาดี บ้านโนนเมือง
บ้านธารประสาท บ้านโตนด ภาคใต้ ที่เขาสามแก้ว ควนลูกปัด เป็นต้น
·
แหล่งโบราณคดีในกัมพูชา ที่สำโรงเสน
·
แหล่งโบราณคดีในเวียดนาม ที่โดลาญ เป็นวัฒนธรรมซาหุญ
·
แหล่งโบราณคดีในมาเลเซีย ที่ถ้ำนีอาห์
·
แหล่งโบราณคดีในอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา ชวา บาหลี และบอร์เนียว
·
แหล่งโบราณคดีในฟิลิปปินส์ ที่ถ้ำตาบอนเกาะปาลาวัน
·
แหล่งโบราณคดีในลาวที่บ้านอ่าง บ้านโชค บ้านเสือ
จากากรสำรวจลูกปัดที่เป็นวัฒนธรรมของอินเดีย
ในแหล่งโบราณคดีดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เชื่อว่า
สินค้าจากอินเดียนั้นได้แพร่กระจายในพื้นดินสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
และปรากฏมีจำนวนมากขึ้นในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเริมสมัยประวัติศาสตร์คือ
เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๕-๙ หรือ ๕๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช
ค.ศ. ๓๐๐ ซึ่งเป็นระยะที่กษัตริย์ราชวงศ์กุษาปณะปกครองอินเดียตอนเหนือ
(พุทธศตวรรษที่ ๕-๘) และมีกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะปกครองอินเดียภาคตะวันตก
(พุทธศตวรรษที่ ๔-๘)
ซึ่งเป็นช่วงทีอินเดียมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมันอย่างจริงจัง
ทำให้มีนิคมการค้าและถิ่นฐานชาวโรมันอยาตามเมืองท่าสำคัญของอินเดีย
ด้วยเหตุนี้สินค้าจากอินเดียที่ส่งมาขายยังเมืองต่าง ๆ
ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจึงมีสินค้าของอินเดียเอง คือ
ลูกปัดหินคาร์เนเลียน อาเกต มีทั้งทำแบบเรียบและลวดลาย ภาชนะสำริด หวีงาช้าง
ลูกเต๋า ทำจากงาหรือกระดูก
ส่วนสินค้าจากตะวันออกนั้นมีลูกปัดแก้วมีแถบสี ลูกปัดแก้วแบบลูกปัดมีตา
ซึ่งทำแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สินค้าจากอาณาจักรโรมัน เช่น ตะเกียงโรมัน
หัวแหวนสลักหินมีค่า ภาชนะดินเผาผิวสีแดงตกแต่งลายประทับ และแบบกดรอยยักฟันเฟือง
การสำรวจนั้นพบว่าสินค้าดังกล่าวจำนวนหนาแน่นมากในพื้นที่ภาคกลางของไทยที่พงตึก
จันเสน อู่ทอง เนินมะกอก ภาคใต้พบตั้งตาเขาสามแก้วที่ชุมพร
แหลมโพธิ์ที่สุราษฎร์ธานีไปจนถึงเกาะคอช้างที่พังงา ที่คลองท่อมที่กระบี่
แล้วยังพบลงไปจนถึงคาบมหาสมุทรมาเลเซีย ในมาเลเซียพบที่กัวลาเซลินชิง บูกิต
เตงกู เลมบู ในอินโดนีเซียพบที่เมืองโบราณตารุมา
อยู่ที่เกาะชวาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกาะบาหลีตอนเหนือ ตั้งแต่พม่า
พบที่เมืองโบก์ถไนไปจนถึงเวียดนามพบที่ออกแก้ว เป็นต้น
ทำให้รู้ว่าสินค้าจากตะวันตกนี้ได้กระจายไปตามแหล่งโบราณคดีดังกล่าว
นอกจากนี้ชาวอินเดียยังได้นำมาเผยแพร่วิทยาการที่ได้มาจากวัฒนธรรมอินเดียผสมผสานกับวัฒนธรรมชาติอื่น
เช่น กรีก โรมัน เปอร์เซีย
มาเผยแพร่ด้วยจึงทำให้ชุมชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เอาแบบอย่างทำตามเช่น
ในการใช้เหรียญกษาปณ์ตามแบบโรมันใช้เป็นสื่อกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖
กษัตริย์ที่ปกครองพื้นที่นั้นได้ทำการผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้เองแต่ยังใช้เป็นเครื่องหมายที่เป็นมงคลตามความเชื่ออย่างชาวอินเดีย
ระบบสื่อสารที่การใช้ตราประทับเป็นสื่อกลางแสดงความสำคัญของกษัตริย์ สถาบันศาสนา
และหมู่คณะเพื่อผลทางการเมือง การค้าขายและศาสนา ตามแบบชาวกรีก
ชาวโรมันและชาวเปอร์เซียนิยมใช้กันนั้นได้ถูกเผยแพร่และผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้นำผลิตคราประทับขึ้นเองและใช้เป็นสัญลักษณ์
สำหรับสื่อความหมายกับชุมชนต่อมา
การใช้อิฐและหินในการก่อสร้างศาสนาสถาน ศาสนาวัตถุ แบบชาวกรีก
และแบบเปอร์เซียที่นิยมใช้
สร้างงานศิลปกรรม
มาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลายนั้น
ได้นำมาเผยแพร่และมีการสร้างศาสนาสถานตามในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
นอกนี้ชาวอินเดียยังไม่ได้นำรูปแบบ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ
และอุปกรณ์
การกีฬามาใช้ในสถานีการค้าของตนและในสถานที่ชาวอินเดียตั้งบ้านเรือนอยู่
ต่อมาได้มีการผลิตโดยเลียนแบบโดยชาวพื้นเมือง ที่ได้รับความนิยมที่สืบทอดการมา
ระบบการปกครองที่อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากราชวงศ์อาคีเมนิคของเปอร์เซีย
และกษัตริย์
ราชวงศ์โมริยะได้นำมาปรับใช้จนสามารถสร้างรูปแบบการปกครองระบบกษัตริย์และจัดตั้งรัฐตามแบบอย่างอินเดียขึ้นนั้น
ได้นำมาเผยแพร่ในสังคมเมืองจีนมีการนำมาใช้สร้างเมืองและรูปแบบการปกครองในแถบนี้ขึ้น
ศาสนาของอินเดียที่นับถือทั้งศาสนาที่นับถือทั้งศาสนาพรมหมณ์และศาสนาพุทธนั้นได้ถูนำมาเผยแพร่ในช่วง
๕-๖ ซึ่งเป็นระยะที่อินเดียมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน )สมันอินโด
โรมัน) ทำให้พ่อค้าชาวพุทธจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในบริเวณกลุ่มแม่น้ำกฤษณาโคทาวารี
ที่ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ ๕-๘) และราชวงศ์อักษะวากุ (พุทธศตวรรษที่
๘-๑๐) ดิอุปถัทป์ต่อมาตามลำดับนั้น
ได้มีบทบาทสำคัญทางการค้าและได้เผยแพร่พุทธศาสนาไปรังบริเวณตะวันออกเฉียงใต้
รูปแบบตัวอักษรในอินเดียที่ใช้ภายใต้ในราชวงศ์ปัลลวะ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
ได้ถูกมาเผยแพร่
จึงพบว่ามีจารึกอักษรจากอินเดียอยู่ในเมืองโบราณของอินเดียในจารึกหลายหลัก เช่น
จารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในเมืองบึงโคก จ.อุทัยธานี
นอกจากนี้ภาษาสันสกฤตที่อินเดียใช้มนคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา นิกาย
มหายานนั้น
ได้ถูกนำมาใช้เป็นภาษาในอาณาจักรที่ได้รัยอิทธิพลจากอินเดียโบราณ
และภาษาบาลีที่เป็นภาษาใช้พระไตรปิฎกของพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ก็ถูกนำมาจารึกในหลักธรรมพระพุทธศาสนาในอาณาจักรทวาราวดี
สรุปแล้วสมันก่อนประวัติศาสตร์นั้นประกอบด้วยภูเขาและที่ราบ
ดังนั้นชุมชนหรือกลุ่มคนที
ทำการเพาะปลุกโดยการทดน้ำ
ก็มักจะเลือกพื้นที่ที่ทำเลใกล้แม่น้ำลำคลองสำหรับนำน้ำมาใช้ และตั้งชุมชนใกล้น้ำ
เพื่อสร้างบ้านสร้างเองและสร้างกำลังทางเศรษฐกิจและทหารให้มั่นคง
ครั้นเมื่อมีกำลังมากขึ้นก็ขยายเมืองโดยใช้กำลังทางเศรษฐกิจและการทหารให้มั่นคง
ครั้นเมื่อกำลังมากขึ้นก็ขยายเมืองโดยใช้กำลังโดยการขับไล่ชุมชนอื่นที่มีกำลังด้อยกว่าให้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาที่สูงกันดารแห้งแล้งและป่าลึก
หรือแผ่อำนาจและสร้างความเจริญให้จนเมืองอื่นยอรับเป็นพวกหรือขอพึ่งพาอาศัยอำนาจนั้นป้องกันตนเอง
การแสดงหาสินค้าและวัตถุดิบหรือติดต่อค้าขายกันนั้น
ได้ทำให้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นเส้นทางผ่านของพ่อค้า
นักเดินทางจากยุโรปและอินเดียที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศจีนเป็นเส้นทางที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณทั้งเส้นทางน้ำและทางบก
เส้นทางการเดินเรือทางทะเลไปบริเวณตะวันออกเฉียงใต้นั้น ต้องผ่านช่องแคบมะกา
ที่อยู่ระหว่าแหลมมาลายูกับเกาะสุมาตราหรือช่องแคบซุนดาอยู่ระหว่างเกาะสุมาตรากับชวา
จึงทำดินแดนที่อยู่ในเส้นทางเดินเรือดังกล่าวนั้นมีเมืองตั้งอยู่กลายแห่ง
สำหรับในเรือทะเล ใช้จอดแวะ
จึงทำให้เมืองท่าเหล่านั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหญ่
จึงสร้างเมืองให้เป็นเมืองป้อมค่ายหรืออาณาจักรปกครองตนเองได้ เช่นเมืองมะริด
เมืองตะโกลา เมืองมะละกา และอาณาจักรอะแจ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของเกาะสุมาตราตอนต้น
เนื่องจากการเดินทางสมัยก่อนนั้นนิยมการใช้เรือใบ
ซึ่งต้องอาศัยทิศทางลมที่มักจะเปลี่ยนทิศทางไปตามฤดูกาล
ดังนั้นที่พ่อค้าที่เดินทางจากอินเดียมายังเมืองมะละกา
จึงต้องเวลาในทะเลจนกว่าลมจะพัดกลับทิศทาง
เพื่อสามารถให้เรือแล่นใบกลับไปยังอินเดียได้
ประกอบกับการมีโจรสลัดชุกชุมในบริเวณช่องแคบทั้งสอง
จึงทำให้มีการใช้เส้นทางเดินบกเพ่อเดินทางลัดเข้าเส้นทางผ่านคาบสมุทร
ซึ่งเสียเวลาน้อยกว่าและไม่ต้องรอดูฤดูกาลที่ลมจะเปลี่ยนทิศทาง
เส้นทางบกที่ใช้ข้ามสมุทรนั้นมีหลายเส้นทาง ได้แก่เส้นทางระหว่ามะริด
กับเพชรบุรี
เส้นทางระหว่างตรังกับอ่าวบ้านดอนผ่านแม่น้ำตาปีเส้นทางระหว่าตรังกับนครศรีธรรมราชผ่านทุ่งสง
เส้นทางระหว่างคลองลาว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ไปทางคลองชะอุ่นออก
แม่น้ำตาปีไปบ้านดอน เส้นทางระหว่างคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ไปทางคลองสินปุน
ผ่านบ้านปางปลาตาย อำเภอพระแสงไปทางแม่น้ำตาปีออกบ้านดอน
ซึ่งเป็นท่าจอดเรือใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น
เส้นทางอื่นนอกนั้นก็มีเส้นทางระหว่างเคดาห์กับปัตตานีและสงขลา เป็นต้น
และบางเส้นทางสามารถใช้ช้างเกวียนหรือเรือเล็กเป็นพาหนะโดยใช้เส้นทางสำคัญผ่านแม่น้ำตาปีออกสู่อ่าวบ้านดอน
ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีการเคลื่อนย้ายและเดินทางไปตามเส้นทางที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นนี้
ก็ย่อมแสวงหาสถานที่ตั้งถิ่นฐาน
เมื่อพบแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มั่งคงและสามารถดำรงในสังคมนั้นได้แม้จะอยู่ในอำนาจของชนชาติอื่น
ก็รวมตัวกันสร้างชุมชนเมืองขึ้นหาหนทางเริ่มต้นเป็นอิสระที่สุด
การจัดระบบสำหรับดูแลกลุ่มคนให้อยู่ในพื้นที่ได้ต่อไปโดยรู้จักวิธีการป้องกันภัยธรรมชาติ
รู้วิธีป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และรู้จักทำมาหากินเลี้ยงตัวเองนั้น
จึงเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในการตั้งชุมชนเมือง
ส่วนการอพยพเคลื่อนย้ายจากแหล่งเดินทางตอนเหนือของดินแดนสุวรรณภูมิ
โดยเฉพาะจากมณฑลยูนานและทางแถบตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง กวางลี
และภาคเหนือของเวียตนามนั้น ได้มีเส้นทางบกที่สามารถเข้ามาได้ทุกทิศ
ที่เข้าสู่บริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำโขง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังดินแดนอื่น ๆ ต่อไป
สำหรับเส้นทางทะเลนั้น มีการเดินทางมาจากทางตะวันตก ทางใต้และทางตะวันออก
โดยลัดเลาะตามชายฝั่งทะเลโดยเรื่อเดินทะเล โดยเฉพาะเส้นทางด้านตะวันออกนั้น
มากจากแถบกวางตุ้ง กวางสี
และเวียดนามได้เดินเรือเล็กเรียบชายฝังเข้าสู่อ่าวไทยมาจนถึงที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
|