การตั้งชุมชนเมือง
การตั้งชุมชนเมือง
ในสมัยโบราณนั้น
กลุ่มมนุษย์ที่อยู่ทางภาคอีสานตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบสูงและเทือกเขา
ต่อมาจึงได้พากันอพยพย้ายลงมาตังถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำชี
ชุมชนแรกที่ตั้งถิ่นฐานนั้นอยู่ลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง
เมื่อราว ๒,๐๐๐
๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนที่ไดใช้ภาชนะดินเผาเคลือบสีแดง
และมนุษย์ในชุมชนนี้ได้ปลูกข้าวแบบงาดำ
มาตั้งแต่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบภาคอีสาน
เช่นแหล่งโบราณคดีรอบบริเวณหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ต่อมามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเกิดการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้หนองหานมากกว่าชุมชนแรก
ทำให้สามารถศึกษาได้ว่าชุมชนมนุษย์รู้จักพัฒนาการด้านชลประมานนำน้ำมาช่วยในการเพาะปลุก
สาเหตุหนึ่งมาจากที่ชุมชนมีประชากรมากขึ้น
และพากันอพยพไปอยู่ทางตอนใต้ของภาคอีสาน
ซึ่งปรากฏว่ามีเมืองโบราณในทางตอนเหนือและภาคตะวันออกของภาค
คือบริเวณแอ่งสกลนครและเทือกเขาเพชรบูรณ์ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าเมืองโบราณในบริเวณแอ่งโคราชที่มีมนุษย์พากันอพยพเข้าไปอยู่จนหนาแน่นตามที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี
มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนอีสานนั้น มีความเชื่อเรื่องพญางู
ซึ่งปรากฏเรื่องเล่าในตำนานหรือชิทานพื้นบ้านของอีสานหลายแห่ง
โดยกล่าวถึงพญานาคสร้างลำน้ำต่าง ๆ
และบ้างก็ว่าพญานาคเป็นผู้มาตัดสินข้อพิพาทในเรื่องดินแดนจนมีการแบ่งเขตแดน
โดยมีการขุดดินทำลำน้ำเป็นแนวจนเกิดแม่น่าน และสร้างเมืองน่านขึ้น
ชุมชนแถบอีสานดังเดิมนั้นนับถือผีและเทวดาท้องถิ่น มาก่อนแล้วหลังพุทธศตวรรษที่
๑๐ เมื่อศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธได้เข้ามาเผยแพร่
จึงทำให้มนุษย์ในชุมชนดังกล่าวพากันนับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธแทน
ซึงมีนิทานกล่าวถึง
เรื่องพระพุทธเจ้าทรงทรมารพญานาคจนทำให้พระองค์ต้องเสวยพระชาติเป็นพญานาค
และยังมีความเชื่อตามคัมภีร์คือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ได้ทำการรบชนะนาค
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ความเชื่อนี้มีอิทธิพลในการนับถือศาสนาทั้งสองโดยถือว่า
พญานาคนั้นเป็นผู้คุ้มครองพระพุทธศาสนาและมีการนับถือพญานาคอยู่ทั่วไป
ต่อมได้มีชุมชนกลุ่มใหม่พากันอพยพเดินทางลงมาจากทางตอนเหนือ
มนุษย์กลุ่มนี้ใช้มีความรู้ทางเทคโนโลยีสูงกว่าชนพื้นเมืองดั้งเดิม
ทำให้การนำวิธีของตนเข้ามาใช้ในชุมชนแห่งนี้
ทำให้สังคมกสิกรรมมีการพัฒนาการเพาะปลูกขึ้น
เรื่องนี้จึงมีตำนานเล่าถึงพรพญาแถนที่อยู่เมืองบน (สวรรค์)
ได้อบรมสั่งสอนวิทยาการแก่ปู่ลาวเชิง ขุนเด็ก ขุนคาน
ซึ่งเป็นคนในเมืองลุ่ม(โลก)
และพญาแถนได้ส่งขุนบูฮมมาช่วยเหลือคนในเมืองลุ่มพร้อมกับควายตัวหนึ่งและยังได้ส่งเทวบุตร
๘ องค์ ลงมาสั่งสอนคนในเมืองลุ่มให้รู้จักการทำนา ทำไร่ ทอผ้า หล่อโลหะ
เป็นต้น ทำให้เมืองลุ่มได้รับความเจริญขึ้นมาจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งมีคำกล่าวว่า
เหตุฟ้าแล่นมาแต่งแบ่งให้จึงเป็นบ้านเมืองแล
การขยายตัวในชุมชนภาคอีสานเกิดจากการเคลื่อนย้ายของประชากรหลายกลุ่ม มีมนุษย์
(ชนชาติขอม)
ได้อพยพจากทางตอนเหนือมาตามลำน้ำโขงแล้วกระจายออกไปตั้งชุมชนอยู่ไปตามลุ่มแม่น้ำต่าง
ๆ จึงถึงปากแม่น้ำโขง มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภายหลังชนชาตินี้ได้ตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น คือ อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ
และอาณาจักรขอม ดังนั้นภาคอีสานจึงเป็นดินแดนของอาณาจักรดังกล่าวมาก่อน
ตั้งพุทธศตวรรษที่
๑๑
ได้มีชาวอินเดียเดินทางติดต่อค้าขายทางทะเลกับบ้านเมืองอยู่ชายทะเลปากแม่น้ำโขง
จึงทำให้ศาสนาฮินดูเป็นอารยธรรมอินเดียโบราณได้แพร่เข้ามาทางภาคอีสาน
โดยผ่านเข้ามาตามแม่น้ำโขง ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒
วัฒนธรรมฮินดูได้เดินทางแพร่เข้ามาตามช่องเขาเทือกเขาพระยาเย็น
และเทือกเขาเพชรบูรณ์ เข้ามายังลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูล
การแพร่วัฒนธรรมฮินดูและอารยธรรมอินเดียโบราณนั้นไดทำให้ชุมชนต่าง ๆ
ได้รับความรู้ความเชื่อไปใช้
เมื่อความรู้นั้นไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมืองแก่เจ้าของวัฒนธรรมแต่อย่างใด
จึงทำให้มีการรับเอาความรู้นั้นมาใช้ในท้องถิ่นของตนอย่างเร็ว
โดยถือว่าภาษาสันสกฤตนั้นเป็นภาษาของผู้รู้จากวัฒนธรรมอินเดีย
ดังนั้นการเดินทางของชาวอินเดียเข้ามาชุมชนแถบนี้นั้น
จึงมีการศึกษาสาเหตุที่ชาวอินเดียเข้ามายังบริเวณนี้ ซึ่งมีสาเหตุที่เชื่อกัน ๓
ประการ คืออินเดียได้ขยายอำนาจโดยยกกองทัพเข้ามาบุกรุกแล้วยึดครองดินแดนแหลมทอง
ต่อมาก็มีชาวอินเดียบางส่วนอพยพเข้ามาในดินแดนที่ยึดครองได้แห่งนี้
เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าอินเดียไม่มีข้อมูลว่าจะยกทัพมายึดครองและภาษาถิ่นของคนแถบนี้เป็นภาษามอญ
และขอม
ซึ่งมีความแตกต่างกันกับภาษาอินเดียรวมทั้งลักษณะของชนชาติพื้นเมืองไม่มีเค้าชาวอินเดียเลย
ดังนั้นจึงทำให้มองว่าพ่อค้าชาวอินเดียหรือนักบวชในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์และพระเถระนั้นได้มีการเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแพรศาสนาของตนให้กับท้องถิ่นที่ติดต่อได้
เรื่องนี้ปรากฏว่ามีกลุ่มพ่อค้าจากอินเดียพากันเดินทางเข้ามาค้าขายกับชนพื้นเมืองในแถบเอเชียอาคเนย์จำนวนมาก
โดยมีพ่อค้ท้องถิ่นโดยเฉพาะพ่อค้าจากแหลมมาลายูได้เดินทางไปค้าขายกับอินเดีย
แล้วก็รับเอาวิทยาการและวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาเผยแพร่ให้พวกเดียวกัน
โดยรู้จักเลือกสรรให้เหมาะสม หรือมีการนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของตน
การเดินทางของพ่อค้าจากมาลายูเข้าไปยังดินแดนทางตอนใต้หรือเมืองนครศรีธรรมราช
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เชื่อว่าชุมชนนั้นไดมีการนับถือศาสนาพราหมณ์และรับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามา
เช่น ผ้าทอ เครื่องประดับ เงินตรา เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ดินแดนต่าง ๆ จึงรับวัฒนธรรมของชาติที่เจริญกว่า
หรือประทศที่มีสิ่งที่ดีกว่าเข้าไปเผยแพร่เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการเอื้อแระโยชน์ต่อมาหาแหล่งที่อาศัยทำกินหรือหาทรัพยากรในพื้นที่แลกเปลี่ยนกันต่อไป
|