สรุปสาระความรู้
สรุปสาระความรู้
บรรพบุรุษของมนุษย์แถบเอเชียตะวันออกมีการพบฟอสชิลขอโฮโมอิเลคตัสพบ(มนุษย์ปักกิ่ง)
ถ้ำโจวโกวเทียน ประทศจีน และพบมนุษย์ ชวา ที่แหล่งโบราณคดี ซางจิรานในเกาะชวา
ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงบรรพบุรุษ
มนุษย์ระดับโฮโมอิเลคตัสในภูมิภาคนี้
แต่ความแตกต่างกะโหลกศีรษะทำให้ลักษณะทางกายนั้นแตกต่างจากลุ่มอื่น ๆ ในราว
๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบ(มนุษย์ซาราวัก) บรรพบุรุษชนิด
สยามโมพิเคทัสอีโอซีนิค
คือลิงมีลักษณะคล้ายลิงอุรังอุตัง เกิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ ๓๕-๔๐ ล้านปี
ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์เดียวมนุษย์วานร และพบเครื่องมือหินกะเทาะ คือ
·
๔๐๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว
พบแหล่งโบราณคดีที่มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากแกนหินจากหินกรวดขนาดใหญ่จากแม่น้ำ
·
๔๐,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ ปี
ได้มีการทำเครื่องมือหินกะเทาะจากสะเก็ดหินที่กะเทาะมาจากหินกรวดและหินภูเขา
·
๑๒,๐๐๐
ปีมาแล้วได้มีการทำเครื่องมือหินกะเทาะจากแกนหินและสะเก็ดหินจากหินกรวดในแม่น้ำ
ทำเป็นเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน
·
๖,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีการใช้เครื่องมือหินขัดขึ้น
เมื่อราว
๕,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้นมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
บางกลุ่มได้รวมพวกตั้งหลักหาล่งขึ้นเป็น
กลุ่ม
ขึ้นดำรงชีวิตอยู่ตามวิ๔ทางธรรมชาติ รู้จักปลุกสร้างทีอยู่อาศัย (บ้าน)
โดยอาศัยเป็นเครื่อง
ผูก
มีเสาสูง รู้จักการปลูกข้าว (ข้าวเมล็ดป้อมตระกูลข้าวเหนียว หรือข้าวไร่)
รู้จักทำนาน้ำท่วม
เลี้ยงสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นต้น รู้จักทำเครื่องมือจากหิน
และขัดแต่งขวานหินขัดให้มีผิวเรียบ
ทำภาชนะดินดิบและดินเผา ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม รู้จักเครื่องประดับเครื่องราว
ลูกปัดดิน
เผา
กระพรวนดินเผา แวดินเผา ถักทอเปลือกไม้เป็น
มนุษย์นั้นทำหน้าที่เป็นเหมือนหมอผีที่ติดต่อกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์และทำหน้าที่เป็นผู้นำชุมชน
หรือหัวหน้ากลุ่ม ที่ให้ผู้หญิงเป็นใหญ่
นัยว่าผู้หญิงนั้นเป็นที่กำเนิดมนุษย์หรอขยายพันธุ์จึงมี
อำนาจดูแล
เช่น เดียวกับวัฒนธรรมหยางสาว ในจีน
·
๔,๕๐๐
๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการตั้งถิ่นฐานในบางภูมิภาคสร้างเป็น
หมู่บ้านถาวรขึ้น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และฝังศพ
ดำรงชีพด้วยการเพาะปลุกและเลี้ยงสัตว์
เมื่อราว
๔,๐๐๐ ปีนั้นมาแล้วนั้น
กลุ่มมนุษย์ถิ่นฐานที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบตามหุบเขา ริม
หนองคลองบึง
ตามแควน้อยแควใหญ่ในกาญจนบุรี (วัฒนธรรมฟิงน้อย) ได้รู้จักทำภาชนะดินเผา
ขึ้นหลายรูปแบบ โดยใช้ดินดำดินเหนียวบ้าง ปั้นขึ้น
และพบว่าแบบภาชนะดินผาสามขาขึ้น มี
การสร้างเครื่องมือจับสัตว์น้ำ
และมีการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์กลุ่มอื่นที่อยู่ใกล้อ่าวไทยและ
ชายทะเล
ลงไปถึงตอนใต้แหลมมาลายูด้วย จึงทำให้พบว่าสัคว์ทะเลบางชนิดเช่น หอย ถูกนำมา
เป็นอาหารของกลุ่มมนุษย์แถบนี้ในระเวลาใกล้กันนั้น
คนบางกลุ่มมีความก้าวหน้าจนสามารถ
รู้จักการหลอมโลหะจึงพบว่า
มนุษย์ในแถบดังกล่าวนั้นรู้จักที่จะทำเครื่องมือเครื่องใช้โลหะขึ้นใช้
ในการดำรงชีวิต เช่น ทำขอเบ็ดสำหรับตกปลา ทำหอกแหลมหรือฉมวก สำหรับแทงสัตว์ ทำ
ใบมีดสำหรับฟันตัดเนื้อสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพบในพื้นที่ บ้านเก่า ในกาญจนบุรี
และบ้านเชียง ใน
อุดรธานี
โดยรู้จักทำเครื่องมือเหล็กและรู้จักการผสมโลหะเป็นสำริด
จากการใช้ทองแดงกับดีบุกหรือตะกั่ว
ขึ้นซึ่งเป็นโลหะที่พบอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ
·
๓,๕๐๐
ปีมาแล้ว ชุมชนเกษตรกรรมรุ่นแรกนั้น
มีการใช้ภาชนะดินเผาที่มีรูปทรงหลายแบบประชากรได้แยกกลุ่มชาติพันธ์และทีวัฒนธรรมของตนเองขึ้น
เครื่องเครื่องใช้ที่มีลักษณะเหมือนกันนั้นมีขวานหินขัด
เครื่องประดับที่ทำมาจากหินและโลหะ โดยเฉพาะ กำไลข้อมือ
ลูกปัดนั้นทำมาจากหินปละหอยทะเล
ซึ่งแสดงว่าประชากรแต่ละชุมชนมีการติดต่อกันถึงและไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว
ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีการพัฒนาการด้านโลหะกรรม
มีการใช้สำริดทำเครื่องมือ
เครื่องใช้และเครื่องประดับอย่างแพร่หลายกว่าในภูมิภาคอื่นๆ
ในขณะที่ภาคกลางนั้นมีแหล่งผลิตทองแดงและมีการแลกเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องใช้กับชุมชนในภูมิภาคอื่น
สำหรับเครื่องมือสำริดที่สำคัญนั้นคือ ฆ้องกบ
(มีกบอยู่บนหน้าฆ้อง)
หรือมโหระทึกนั้นถือเป็นลักษณะของวัฒนธรรมในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่มีวัฒนธรรมการใช้มโหระทึกหรือ ฆ้องบั้งหรือ กลองทองแดง หรือกลองกบ
นี้ได้แพร่กระจายไปยังแผ่นดินใหญ่ในตอนเหนือมณฑลยูนานและเกาะต่าง ๆ
อยู่ในหมู่เกาะอินโดนีซีย
เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น
การถลุงเหล็กเพื่อทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้มีการทำขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วไป
จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปหาแหล่งที่มีธาตุคือเหล็ก และเกลือ
ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้นบริเวณที่มีเหล็กเกลือมากที่สุดนั้นคือ
ทุ่งกุลาร้องไห้
ที่พบว่าเป็นเหล็กที่มีมนุษย์พากันอพยพอาศัยอยู่ถาวรตั้งถิ่นฐานเพื่อถลุงเหล็กและต้มเกลือกันอย่างแพร่หลาย
ทำให้มนุษย์มีอยู่อยู่หนาแน่นกว่าแหล่งอื่น
ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้มีการใช้ภาษาตระกูลลาวไทย
ที่มีการเคลื่อนย้ายมาจากมณฑลกวางสีกวางตุ้ง
และทางเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของจีน
ซึ่งได้อพยพตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
โดยการอพยพนั้นได้มีการเดินไปมาหาสู่กันระหว่างถิ่นเดิมและแหล่งที่อยู่ใหม่
ซึ่งทำให้วัฒนธรรมนำความเชื่อและประกอบความเชื่อคือ มโหระทึก
นั้นได้เข้าไปมีส่วนสร้างวัฒนธรรมในสังคมนั้น คือ กลองกบหรือมโหระทึกนั้น
เป็นสัญลักษณ์ความเชื่อที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้ กบ
เป็นสัญลักษณ์ถึงความอุดมสมบูรณ์เมื่อตีให้มีเสียงคล้ายกบหรือประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะมโหระทึกนี้ยังใช้เป็นเครื่องแสดงสถานภาพของการเป็นผู้นำของกลุ่มมนุษย์หรือเผ่าพันธุ์นั้นด้วย
ด้วยเหตุนี้การนำมโหระทึกไปใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับฝนหรือความอุดมสมบูรณ์แล้ว
ยังแสดงถึงการเป็นหัวหน้าของกลุ่มคนด้วย
จึงปรากฏวัฒนธรรมนี้ไดแพร่หลายไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ
·
๒,๗๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
ชุมชนได้เริ่มมีการใช้เหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธในขณะที่สำฤทธิ์นั้นใช้เครื่องประดับ
จึงเกิดแหล่งถลุงเหล็กมากมายในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยชุมชนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประชากรต่างภูมิภาคและต่างวัฒนธรรมที่ห่างไกลกันนั้น
จึงทำให้เกิดพัฒนาการทางวัฒนธรรมและเกิดศูนย์กลางทางวัฒนธรรมใหญ่ขึ้นหลายแห่งช่วงศตวรรรษแรกพุทธกาล
นั้นได้มีการเผยแพร่ศาสนา(พราหมณ์และพุทธศาสนา)และการติดต่อค้าขายทางเส้นทางเรือ
ทำให้ชุมชนใหญ่และแคว้นเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมือท่าชายฝั่งทะเลได้รับเอาศาสนา
วัฒนธรรมและวิทยาการ เข้าไปสร้างรูปแบบเป็นธรรมสำคัญในดินแดนสุวรรณภูมิ
ดังนั้นวัฒนธรรมเกิดขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ
ในบริเวณลุ่มแม่น้ำและแหล่งน้ำสำคัญของเมือง
นั้นจึงมีบทบาทสำคัญและได้แพร่กระจายวัฒนธรรมไปยังชุมชนอื่น ๆ วัฒนธรรมนั้นได้แก่
วัฒนธรรมเทียน บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ในมณฑลยูนานของประเทศจีน
วัฒนธรรมพุกาม บริเวณลุ่มแม่น้ำอิระวดี ตอนกลางของประเทศเมียร์มาร์
วัฒนธรรมดองชอน บริเวณลุ่มแม่น้ำหม่า ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม
วัฒนธรรมจามปา บริเวณชายทะเลตอนกลางของประเทศเวียดนาม
วัฒนธรรมฟูนัน บริเวณปากแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
วัฒนธรรมก่อนเมืองพระนคร แถบทะเลสาบใหญ่เมืองเสียบเรียบ
ประเทศกัมพูชา
วัฒนธรรมทวาราวดี บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ภาคกลางของประเทศไทย
ในไม่ช้าวัฒนธรรมเหล่านี้ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างอาณาจักรต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเผยแพร่วัฒนธรรมนั้นไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป
|