อาณาจักรเก่าในสุวรรณภูมิ
อาณาจักรเก่าในสุวรรณภูมิ
สังคมมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังใช้ชีวิตเร่ร่อนไปอยู่ไปตามริมน้ำบ้างตามป่าเขา
ตามถ้ำ อาศัยการปรับตัวกับธรรมชาติอยู่นานวัน จากอยู่คนเดียวจนมากขึ้นเป็นสองคน
และมาขมขึ้นในไม่ช้าก็จับกลุ่มกันอยู่ เพื่อหนีภัยธรรมชาติร่วมกันหาสัตว์ด้วยกัน
หาที่อยู่อาศัยแห่งเดียว และตั้งเป็นชุมชนขึ้นตามเผ่าพันธุ์
ในที่สุดได้รวมเผ่าพันธุ์สร้างชนชาติของตนสร้างอาณาจักรขึ้นดูแล
ดังนั้นการกำหนดสังคมของคน
จึงอาศัยความเชื่อและการสร้างอำนาจเข้าควบคุมดูแลบ้านเมืองให้รวมตัวการเป็นศูนย์กลาง
ทำให้เกิดสังคมของเมืองและพัฒนาสังคมนั้นจนสามารถสร้างเป็นอาณาจักรของชนชาติได้ที่สุด
ผู้ปกครองหรือผู้นำของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์
จึงพยายามนำสิ่วที่เป็นความเจริญมาใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างอาณาจักรให้กว้างใหญ่ไพศาล
แพยายามที่จะแพร่อำนาจเข้าไปครอบครองแผ่นดินที่อ่อนแอหรือด้อยกว่า
ผู้นำของอาณาจักรจึงนิยมที่จะยึดเอาแบบอย่างความเจริญจากประเทศที่เจริญมาก่อน
โดยเฉพาะดารนำความเชื่อทางสิทธิศาสนาและวิทยาการความรู้ต่าง ๆ
มาเรียนรู้เพื่อใช้หรือปรับใช้ในบ้านเมืองของตน
การขยายอำนาจของผู้ครองอาณาจักรโดยการทำสงครามสู้รบแย่งชิงผู้คน
และแผ่อิทธิพลทางการเมืองเข้าไปยังดินแดนอื่นนั้น
ได้ทำให้ผู้คนล้มตายด้วยการแย่งชิงเข้าปลาอาหารและผู้คนเป็นกำลังหรือทาส
ตลอดจนการขยายดินแดน ทำให้เกิดความเดือดร้อนอยู่บ่อยครั้ง
และเกิดเหตุการณ์ผลัดเปลี่ยนอาณาจักรอิสระในสมัยโบราณจึงสามารถที่จะเกิดได้และล้มสลายไปได้เช่นกัน
ดังนั้นการแก้ปัญหาความเดือกร้อนจากเกิดสงคราม
การสร้างความเป็นปรึกแผ่นให้อาณาจักรเป็นอิสรภาพอย่างมีมั่นคงนั้น
ผู้ครองประเทศมักใช้ศาสนาเป็นหลักในพระธรรมนูญบรรดานักปราชญ์ในหลายประเทศต่างค้นหาหลักการปกครองและนำศาสนาธรรมมาควบคุมสังคมหรือบ้านเมืองให้อยู่ร่วมกันด้วยความสุข
การเผยแพร่ศาสนาและสร้างลัทธิความเชื่อต่าง ๆ
ขึ้นนั้นเป็นวิธีการหนึ่งของผู้เป็นต้นแบบอารยธรรมหรือผู้ชนะนั้น
สร้างขึ้นเพื่อใช้เชื่อมสัมพันธ์ แห่งมนุษย์ชาติให้มีฐานะและรูปแบบสังคมเดียวกัน
ในที่สุดการคบหาสมาคมและร่วมเป็นไมตรีทางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
อาณาจักรทั้งหลาย
ได้ใช้ศาสนธรรมเป็นหลักในการกำหนดสังคมชาติ
ศาสนาที่สามารถเผยแพร่หลักธรรมหรือคำสั่งสอนไปรังดินแดนต่าง ๆ นั้นมี
ศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม เป็นต้น
ค่านิยมในศาสนานั้นเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดสังคมประเทศ
สร้างศิลปวัฒนธรรมอันเกิดจากศาสนา ทำให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณี
ตลอดจนรูปแบบศิลปกรรมที่เหมาะสมกับชนชาติของตนมากขึ้น
จนสามารถสร้างภูมิปัญญาและสร้างค่านิยมของชนชาติหรือเอกลักษณ์ของชาติในที่สุด
เมื่อความเชื่อทางศาสนานั้นมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเช่นนี้
การเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ
จึงถือเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่นับถือศาสนานั้น ๆ
เพราะการแพร่อำนาจโดยการใช้ศาสนาเป็นหลักชัยนั้นสามารถสร้างสังคมเดียวกันให้กว้างไพศาล
เป็นสังคมโลกที่มีศาสนาเป็นหลักในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กษัตริย์ผู้นำอาณาจักรที่ใช้ศาสนาเป็นหลักชัยในการปกครองประทศนั้น
ย่อมได้รับความยกย่องถึงความเป็นพระมหาจักรพรรดิ
ที่สามารถแพร่ธรรมมานุภาพและพระเดชานุภาพไปทั่วสารทิศ
จนโลกมีศาสนาที่นำไปสู่ความสุขทั่วกัน
ศาสนาที่ได้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนและใช้หลักชัยในการสร้างอาณาจักรนั้นมีหลายศาสนาและหลายลัทธิ
โดยเฉพาะอิทธิพลจากแหล่งอารยธรรมของโลก ๔ แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำไนล์ (อียิปต์)
ลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟติส (อิรัก) ลุ่มแม่น้ำสินธุ (อินเดีย)
และลุ่มแม่น้ำฮวงโห
อารยธรรมอินเดียจากลุ่มแม่น้ำสินธุและอารยธรรมจีนจากลุ่มแม่น้ำฮวงโหนั้นได้ถูกนำมาพร้อมเรือสินค้าที่เดินทางติดต่อค้าขายไปยังชุมชนเมืองต่าง
ๆ ที่อยู่ตามเส้นทางอินเดีย
การเผยแพร่นั้นนอกจากจะมีการนำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนแล้ว
ได้มีความรู้วิทยาการและศาสนาธรรมไปเผยแพร่พร้อมกันด้วย
นักบวชหรือผู้เผยแพร่เข้าไปสร้างศาสนาธรรมหรือสร้างชุมชนนั้น
ในที่สุดศาสนาก็มีบาบาทสำคัญต่อชุมชนนั้น
|